ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกา

(VOVWORLD) -การประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-สหรัฐฯ ที่มีขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม ด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย รวมถึงการฉลองครบรอบ 45 ปีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ถือเป็นโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์อันดีงามเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมสร้างแรงผลักดันในการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ในช่วงเวลาข้างหน้า

 

 

ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกา
นาย ฝ่ามกวางวิงห์ อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐฯ (ภาพ Nguyễn Hồng)

45 ปีสำหรับความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ในตลอด 45 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงและสันติภาพ รวมถึงการส่งเสริมในด้านการลงทุน เศรษฐกิจ และการค้าระหว่างกัน

ในฐานะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค อาเซียนได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนต่างๆ รวมถึงสหรัฐฯ ในการธำรงสันติภาพ ความมั่นคง และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยสหรัฐฯ ได้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง-ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรม ซึ่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนนั้นไม่เพียงแค่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกเท่านั้น แต่ยังสร้างพลังร่วมของภูมิภาคที่มีประชากรกว่า 630 ล้านคน

สำหรับอดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐฯ ฝ่ามกวางวิงห์ ความสัมพันธ์พหุภาคีระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ได้มีส่วนร่วมต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นอย่างมาก โดยการผลักดันความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงอาเซียนนั้น จะเอื้อประโยชน์ต่อสหรัฐฯ ทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ เนื่องจากอาเซียนได้มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคพร้อมมีจุดยืนที่สำคัญในกระบวนการพหุภาคี รวมถึงการดำเนินกระบวนการต่างๆ ของอาเซียนอีกด้วย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศหุ้นส่วนที่สำคัญอื่นๆ
บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ

ความร่วมมือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาคก็ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยสหรัฐเป็นประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ รวมถึงการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในระดับภูมิภาค ทั้งความมั่นคงรูปแบบดั้งเดิมและแบบใหม่

ทั้งนี้ ภูมิภาคอาเซียนได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆ รวมถึงสหรัฐฯ ซึ่งมีส่วนช่วยให้อาเซียนสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรต่างๆ พร้อมนำผลประโยชน์มาสู่สหรัฐฯ อีกด้วย โดยล่าสุด สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนวัคซีนและอุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญให้แก่ภูมิภาคอาเซียน รวมถึงให้กับแต่ละประเทศสมาชิก

ยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ให้ขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่

ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในระดับภูมิภาคและโลก ซึ่งทำให้อาเซียนต้องแสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางของตน โดยสหรัฐฯ ต้องสนับสนุนบทบาทสำคัญดังกล่าวของอาเซียนอย่างแข็งขัน พร้อมทั้งส่งเสริมอาเซียนในการสร้างประชาคมที่เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิผล สำหรับภารกิจหลักคือการส่งเสริมการรักษาความมั่นคง สันติภาพ ความร่วมมือและการพัฒนาบนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์อันชอบธรรมของทุกฝ่าย

นอกจากนี้ ความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของโลกก็ยิ่งทำให้ทุกฝ่ายจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อความต้องการด้านสันติภาพ ความร่วมมือและการพัฒนา รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุภาคีนิยม ซึ่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ บนพื้นฐานของความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นจะพัฒนาก้าวไปอีกขั้นในการประชุมครั้งนี้ โดยทั้งสองฝ่ายได้ออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ในอนาคตที่มีความความครอบคลุม รวมถึงลักษณะเชิงกลยุทธ์

สถานะใหม่ของเวียดนาม

สำหรับเวียดนาม การเข้าร่วมการประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-สหรัฐฯ ของนายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงห์ชิงห์ ที่สหรัฐฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสให้เวียดนามปฏิบัติแนวทางการต่างประเทศจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ สมัยที่ 13 อย่างแข็งขัน โดยพรรคและรัฐเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายที่จะนำประเทศไปสู่การพัฒนาในระดับที่สูงกว่าจนถึงปี 2030 และมีวิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เวียดนามได้มีการพัฒนาอย่างมั่นคง มีการรับมือกับวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก ซึ่งได้รับการชื่นชมอย่างมากจากมิตรประเทศทั่วโลก นอกจากนั้น การที่เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีส่วนช่วยในเรื่องความมั่นคงและการพัฒนาของอาเซียน รวมถึงความคืบหน้าของการประชุมนานาชาติต่างๆ ทั้งหมดนี้ได้สร้างสถานะใหม่ให้แก่เวียดนาม

เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้จนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 หนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ของเวียดนามคือการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ควบคู่กับการควบคุมโรค การฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ในเชิงสัญลักษณ์ การเยือนสหรัฐฯ ได้ยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นของเวียดนามเกี่ยวกับบทบาทของการทูตพหุภาคีและระบบพหุภาคี โดยเฉพาะสหประชาชาติ ท่ามกลางสถานการณ์ที่องค์กรนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างซับซ้อนที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามคือการเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือและเป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของประชาคมโลก.

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา สหรัฐฯ ชื่นชมมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo-Pacific) และยินดีที่ทัศนะของอาเซียนกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ นั้นมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งชื่นชมแนวทางระดับภูมิภาคของพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา สหรัฐอเมริกามีเจตจำนงยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราปกป้องอำนาจอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกาในด้านความร่วมมือรูปธรรมใน 4 สาขาตามมุมมองของอาเซียน อันได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางทะเล และความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงนั้น สัมพันธภาพแห่งความร่วมมือกับสหรัฐฯ พัฒนาใกล้ชิดยิ่งขึ้น

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

  • ในปี 2561 การค้าสองฝ่ายทั้งสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนมีมูลค่า 334,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 123,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียนมูลค่าสูงถึง 271,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งสูงกว่าการลงทุนของสหรัฐฯ ในจีนและญี่ปุ่นรวมกัน
  • สหรัฐอเมริกาและเลขาธิการอาเซียนประกาศเปิดการเจรจาเพื่อเชื่อมโครงการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) เข้ากับระบบสภาพแวดล้อมเชิงพาณิชย์อัตโนมัติ (Automated Commercial Environment หรือ ACE) ของสหรัฐฯ ซึ่งระบบ ACE นี้ควบคุมการค้าผ่านแดนสหรัฐฯ ทั้งหมด การเชื่อมโยงทั้งสองระบบนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกยิ่งขึ้นให้แก่การค้าขายสินค้าสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนมูลค่า 272,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • การหารืออาเซียน-สหรัฐฯ เกี่ยวกับนโยบายไซเบอร์ (U.S.-ASEAN Cyber Policy Dialogue) ครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมาในงาน Singapore International Cyber Week ส่งเสริมแนวทางที่ทั้งสองฝ่ายดำเนินลักษณะเดียวกันในการจัดการความมั่นคงปล
    อดภัยทางไซเบอร์ การค้าดิจิทัล และ 5G

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยั่งยืน

  • สหรัฐอเมริกากำลังดำเนินความร่วมมือกับชาติอื่นๆ เพื่อจัดตั้ง Blue Dot Network ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหลายภาคส่วนที่จะดำเนินการอนุมัติอันเป็นที่ยอมรับทั่วโลกสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง
  • กองทุนให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ (Transaction Advisory Fund) ของเครือข่ายการดำเนินงานและความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (Infrastructure Transaction and Assistance Network) หรือ ITAN ซึ่งประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2561 จะบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและมอบความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ชาติสมาชิกอาเซียนเพื่อประเมินศักยภาพของโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ จะประกาศภายในปลายปี 2562 ในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลงทุนใน ITAN มูลค่า 47.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • โครงการหุ้นส่วนการเชื่อมโยงด้านดิจิทัลและความมั่นคงทางไซเบอร์ (Digital Connectivity and Cybersecurity Partnership) หรือ DCCP ให้การสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารผ่านความร่วมมือที่มีภาคเอกชนเป็นแกนหลักโดยส่งเสริมนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ที่โปร่งใสสำหรับตลาดแข่งขันที่เปิดกว้าง โครงการ DCCP ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพของหุ้นส่วนให้สามารถแก้ไขภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีร่วมกัน พร้อมทั้งด้านการดำเนินการสร้างศักยภาพและกิจกรรมพาณิชย์ต่าง ๆ โดยในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ USAID มอบเงินทุนมูลค่า 26.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการ DCCP

ความร่วมมือทางทะเล

  • การฝึกร่วมผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน–สหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Maritime Exercise) ครั้งแรก ที่สหรัฐฯ กับไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดนั้นมีเรือจากกองทัพเรือและกองกำลังรักษาชายฝั่ง 8 ลำและบุคลากรกองเรือกว่า 1,000 นายจาก 11 ประเทศเข้าร่วมฝึก
  • ในเดือนธันวาคมนี้ การประชุมระดับผู้บัญชาการในกรอบความร่วมมือ Southeast Asia Maritime Lane Enforcement Initiative (SEAMLEI) จะมีผู้บัญชาการกองกำลังรักษาชายฝั่งจากประเทศในภูมิภาคนี้เข้าร่วมอภิปรายและประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็นต่างๆ คือ การปฏิบัติการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันผ่านศูนย์บูรณาการข้อมูลข่าวสารทางทะเลในภูมิภาค และการปฏิบัติการต่อต้านภัยคุกคามความมั่นคงทางทะเล
  • เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริการ่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลเป็นครั้งแรก ตลอดจนการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะว่าด้วยความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)
  • สหรัฐอเมริกาโดยความร่วมมือจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศของสหประชาชาติจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยบนท่าเรือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายทางทะเลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

ความเชื่อมโยง

  • โครงการ U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership หรือ USASCP ซึ่งรองประธานาธิบดีเพนซ์ประกาศเปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์ประสานการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของสหรัฐฯ กับ 26 เมืองในเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network) เพื่อแก้ไขปัญหาจากการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว ด้วยเงินลงทุนเบื้องต้นในโครงการนี้จำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากสหรัฐฯ โครงการ USASCP กำลังพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาเมืองอัจฉริยะ พร้อมกับเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความสามารถและศักยภาพเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของภูมิภาค
  • กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการ USASCP กำลังดูแล 5 โครงการที่ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างเมืองในสหรัฐฯ กับเมืองในอาเซียนเพื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ โดยปลายปี 2562 นี้จะทำการประกาศรายชื่อคู่เมืองอาเซียน-สหรัฐฯ ที่ได้รับคัดเลือก 5 คู่ และโครงการจะเริ่มดำเนินการต้นปี 2563
  • โครงการ Water Smart Engagements (WiSE) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในต้นปีพ.ศ. 2563 จะจับคู่เมืองจากเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียนกับเมือง เขต และสาธารณูปโภคของสหรัฐฯโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำในภูมิภาคอาเซียน
  • องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) ประกาศเปิดตัวโครงการ ASEAN Policy Implementation (API) ด้วยเงินลงทุนเบื้องต้นในโครงการจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ USAID จะเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ความเป็นแกนกลางของอาเซียนด้วยการสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินการตามนโยบายอาเซียนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน USAID จะระบุและดำเนินตามความจำเป็นและโอกาสที่เป็นรูปธรรมสำหรับการดำเนินการตามนโยบายอาเซียนที่ตั้งเป้าไว้ในระดับประเทศสมาชิก
  • สหรัฐอเมริกาได้ประกาศเปิดตัว U.S.-ASEAN Innovation Circle หรือกลุ่มนักนวัตกรรมและผู้นำทางความคิด 24 คน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียน ติมอร์-เลสเต และสหรัฐฯ จัดส่งประเทศละ 2 คน นักคิดกลุ่มนี้จะดำเนินการแข่งขันระดับรากหญ้าเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาคในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ความเป็นผู้ประกอบการของสตรีและธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจเกิดใหม่
  • การประชุม Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) ครั้งที่ 6 ที่ภูเก็ต ประเทศไทย มีผู้นำรุ่นใหม่เข้าร่วมประชุม 150 คนจากทั่วภูมิภาค ผู้ชนะเลิศการแข่งขันนำเสนอโครงการเพื่อชุมชนเพื่อรับเงินทุน คือ WeAble จะนำเงินทุนตั้งต้นไปจัดอบรมวิชาชีพให้กับบุคคลทุพพลภาพ 1,000 คนใน 4 เมืองในอินโดนีเซีย
  • โครงการนักศึกษาฝึกงานสหรัฐฯ-อาเซียน ปัจจุบันมีนักศึกษาฝึกงาน 372 คนในบริษัทอเมริกัน 12 แห่งใน 7 ประเทศอาเซียน และจำนวนนักศึกษาฝึกงานนี้คงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ความเชื่อมโยงในลุ่มน้ำโขง

สหรัฐอเมริกายังคงส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านโครงการที่เปิดตัวภายใต้ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ สหรัฐฯ มีส่วนร่วมในการช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งมุ่งมั่นเพิ่มและขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมของเรา เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีปอมเปโอได้ประกาศเพิ่มทรัพยากรในการขยายการมีส่วนร่วมของเราในภูมิภาคนี้ โดยทรัพยากรที่เพิ่มนี้มีมูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

  • หุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S. Mekong Power Partnership) หรือ JUMPP ได้ลงเงิน 29.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืนและอยู่บนพื้นฐานของหลักการ
  • สหรัฐฯ มอบเงิน 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
  • ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นในการดำเนินงานตรวจสอบความปลอดภัยเขื่อน 55 แห่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • สหรัฐฯ สนับสนุนโครงการด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการเกี่ยวกับที่ตั้งสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวและโครงการแปลงก๊าซเป็นพลังงานในเวียดนาม ตลอดจนพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์
  • ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับสาธารณรัฐเกาหลีในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อประเมินแนวโน้มการเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง อันเป็นการให้ความสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
  • สหรัฐฯ สนับสนุนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนา และช่วยจัดปรับการดำเนินงานข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่างและโครงการอื่น ๆ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากยุทธศาสตร์ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายของ ACMECS

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ [email protected] หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอาเซียนที่ https://asean.usmission.gov/

โดย U.S. Mission Thailand | 6 พฤศจิกายน, 2019 | ประเภท: Exclude, การค้าระหว่างประเทศ, ธุรกิจ, นโยบาย, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข้อเท็จจริง, โอกาสทางการค้า

อาเซียนและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในด้านใด

ความร่วมมือระหว่างอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ด้านสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนและสหรัฐฯ มีความร่วมมือในหลายด้าน ได้แก่ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการจัดการภัยพิบัติสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาและการแลกเปลี่ยนเยาวชน

อาเซียนกับสหรัฐอเมริกามีการประชุมกันครั้งแรกที่ใด

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษครั้งแรกที่ซันนีแลนด์ ที่ประชุมได้ออก "ปฏิญญาซันนีแลนด์" (Sunnylands Declaration) ซึ่งเป็นแถลงการณ์ร่วมระบุหลักการสำคัญในการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ทั้งหมด 17 ข้อ การประชุมสมัยพิเศษครั้งนี้ก็จะมีรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมเช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ...

อาเซียนมีความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจากี่ประเทศ

ปัจจุบัน อาเซียนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ 10 คู่เจรจา (Dialogue Partner) ซึ่งประกอบด้วย 9 ประเทศ คือ อาเซียน – ญี่ปุ่น อาเซียน – ออสเตรเลีย อาเซียน – นิวซีแลนด์ อาเซียน – สหรัฐอเมริกา อาเซียน – แคนาดา อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียน – อินเดีย อาเซียน – จีน อาเซียน – รัสเซีย และ 1 องค์กรระดับภูมิภาค คือ อาเซียน – ...

ประเทศใดเป็นประเทศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในฐานะประเทศคู่เจรจา

ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ กับอาเซียนในฐานะประเทศคู่เจรจา เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๗