การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

เคมี - การจัดเรียงอิเล็กตรอน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

จำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงาน  = 2n2 
เมื่อ n แทนลำดับพลังงาน (มีค่า = 1, 2, 3, …..ตามลำดับ)

ระดับพลังงาน  n = 1   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 2 ตัว

ระดับพลังงาน  n = 2   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 8 ตัว

ระดับพลังงาน  n = 3   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 18 ตัว

ระดับพลังงาน  n = 4   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 32 ตัว

     แต่สูตรการหาจำนวนอิเล็กตรอนดังกล่าวใช้ใด้กับระดับพลังงาน n = 1 ถึง  4 เท่านั้น เพราะในระดับพลังงานต่อ ๆ ไปจะมีอิเล็กตรอนไม่เกิน 32 นอกจากนั้นการศึกษาค่าพลังงานไอออไนเซชัน โดยเรียก อิเล็กตรอนวงนอกสุดว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน

การจัดเรียงอิเล็กตรอน แบบใช้หลัก  2  8  18  32  (สำหรับธาตุหมู่ 1A ถึงหมู่ 8A)

  1. ให้จัดอิเล็กตรอนทั้งหมด โดยเรียงจำนวนตามขั้นบันไดขึ้นด้านบน
  2. เมื่อไม่สามารถจัดอิเล็กตรอนขั้นถัดไป ให้จัดอิเล็กตรอนในบันไดขั้นเดิมได้ 1 ครั้งหรือขั้นที่ลดลงมา   โดยอิเล็กตรอนหลักสุดท้ายจะต้องมีจำนวนอิเล็กตรอนไม่เกิน 8 ตัว เสมอ

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

  • เลขหมู่ จะตรงกับเลขหลักสุดท้ายของการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนั้น ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
  • จำนวนหลักของระดับพลังงาน จะตรงกับเลขของคาบ ดังนั้น ธาตุในคาบเดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยต้องอาศัยหลักการต่าง ๆ ดังนี้

1. หลักกีดกันของเพาลี ในการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลซึ่งจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ … ส่วนอิเล็กตรอนจะใช้ลูกศร เช่น ↑ สำหรับสปินขึ้น และ ↓ สำหรับสปินลง ถ้าออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนอยู่เต็มจะเขียนแทนด้วยรูปภาพ ↥⤓ เรียกอิเล็กตรอนทั้งสองว่า อิเล็กตรอนคู่ ถ้ามีอิเล็กตรอนเพียงครึ่งหนึ่ง นิยมเขียนเป็นสปินขึ้น ↥ และเรียกว่า อิเล็กตรอนเดี่ยว

2. กฎของฮุนด์กล่าวว่าลักษณะที่ทำให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้” ถ้าทุกๆ ออร์บิทัลในระดับพลังงานเดียวกันนั้น มีอิเล็กตรอนอยู่เต็ม (2 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) เรียกว่าเป็น การบรรจุเต็ม (full-filled configuration) แต่ถ้ามีอิเล็กตรอนอยู่เพียงครึ่งเดียว (1 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) เหมือนกันหมด เราเรียกว่าเป็น การบรรจุครึ่ง (half-filled configuration)

3. หลักอาฟบาว กล่าวว่า การบรรจุอิเล็กตรอนลงในแต่ละออร์บิทัลจะต้องบรรจุลงในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุดก่อน แล้วจึงบรรจุอิเล็กตรอนลงในออร์บิทัลถัดไปที่มีพลังงานสูงขึ้นตามระดับพลังงานต่ำไปสูง ซึ่งไปตามแผนผังดังนี้

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

มีบทต่อไป ->

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

วิเคราะห์เก่ง แก้โจทย์เป็น เห็นเป็นภาพ

ดร.ณัฏฐพล อิสรเสรีรักษ์ (อ.นัท)
-ป.ตรี-ป.เอก จุฬาฯ-

฿4,000

TAG:
TCAS, เรียนออนไลน์, เรียนTCAS, เรียนพิเศษTCAS, ติวสอบแพทย์, ติวเข้าแพทย์, ติวสอบหมอ, ติวเข้าหมอ, ติวโอเน็ต, ติวสอบonet, ติว9วิชาสามัญ, คอร์สติวpat2, คอร์สpat2, เรียนพิเศษเคมี, เรียนพิเศษเคมีออนไลน์, เรียนเคมี, ติวเคมีออนไลน์

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

จากการเรียงอิเล็กตรอนของธาตุในระดับพลังงานหลักทำให้ทราบว่า

1.    จำนวนระดับพลังงานหลักของอิเล็กตรอน ทำให้ทราบว่าธาตุนั้นอยู่คาบใด ถ้าธาตุมีจำนวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนเท่ากัน แสดงว่าธาตุนั้นอยู่ในคาบเดียวกัน เช่น

Mg มีเลขอะตอม 12 มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8, 2   Mg มี ระดับพลังงาน
มีเลขอะตอม 16 มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8, 6   S มี 3  ระดับพลังงาน
แสดงว่า Mg และ อยู่ในคาบเดียวกัน

2            จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน หรืออิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุด ทำให้ทราบหมู่ของธาตุ ถ้าธาตุมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน แสดงว่าธาตุนั้นอยู่ในหมู่เดียวกัน เช่น
Na    มีเลขอะตอม 11     มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8, 1    Na   มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
K   มีเลขอะตอม  19     มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8,8, 1   K มี เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ
 แสดงว่า ธาตุ Na และ อยู่ในหมู่เดียวกัน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย

            การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก ทำให้แต่ละระดับพลังงานมีจำนวนอิเล็กตรอนมากจึงเกิดปัญหาว่าอิเล็กตรอนเหล่านั้นอยู่ในระดับพลังงานเดียวกันได้อย่างไร ทำไมจึงไม่ผลักกัน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับระดับพลังงานย่อยเพื่อกระจายอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานหลัก เข้าสู่ระดับพลังงานย่อย โดยอาศัยรูปแบบโคจรของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสเป็นเกณฑ์ในการแบ่งอิเล็กตรอนเป็นกลุ่มย่อย ๆ และเรียกรูปแบบวงโคจรนี้ว่าออร์บิทัล (Orbital) โดย ออร์บิทัลจะมีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน อิเล็กตรอน ระดับพลังงานย่อยมี ระดับ คือ s, p, d, f โดยระดับพลังงานย่อยมี

มี ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด อิเล็กตรอน

มี ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด อิเล็กตรอน

มี ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด 10 อิเล็กตรอน

f  มี ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด 14 อิเล็กตรอน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย

1.       จัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยต่าง ๆ จะต้องจัดเข้าในระดับพลังงานย่อยที่มีพลังงานต่ำสุดก่อนแล้วจึงจัดเข้าสู่ระดับพลังงานย่อยที่มีพลังงานสูงขึ้น(ตามหลักของเอาฟบาว) ดังแผนผังต่อไปนี้

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

จากแผนภาพจัดเรียงอิเล็กตรอนเข้าสู่ระดับพลังงานย่อยได้ดังนี้

1s    2s   2p  3s   3p  4s  3d  4p   5s   4d    5p   6s   4f    5d   6p    7s

เช่น  17Cl  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
1s2   2s2   2p6   3s2   3p5

21Se  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
1s2   2s2   2p6   3s2   3p6   4s2   3d1

2.     อิเล็กตรอน ตัว ที่อยู่ในออร์บิทัลเดียวกัน จะต้องมีทิศทางการเคลื่อนที่สวนทางกันโดยแสดงทิศทางด้วยลูกศร
ตามหลักการของเพาลี

3.    การจัดอิเล็กตรอนเข้าสู่ระดับพลังงานย่อย        ถ้าอิเล็กตรอนบรรจุอยู่กึ่งหนึ่งหรือบรรจุเต็มออร์บิทัลจะมีโครงสร้างแบบเสถียร    เช่น

                          24Cr  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย ดังนี้

                          1s2   2s2   2p6   3s2   3p6   4s1   3d5  ไม่ใช่ 1s2   2s2   2p6   3s2   3p6   4s2   3d4      

       เพราะโครงสร้างแบบแรกเสถียรกว่า เพราะ 4s และ 3d จะบรรจุกึ่งหนึ่ง
      
 หรือเขียนโครงสร้างของอิเล็กตรอนแบบย่อ ๆ ได้ว่า (Ar) 4s1   3d5 

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

ข้อสังเกตที่ได้จากการใช้จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

1.       เลขอะตอมคู่จะอยู่ในหมู่คู่ เลขอะตอมคี่จะเป็นธาตุในหมู่คี่ เช่น

ธาตุ 14Si  จะเป็นธาตุในหมู่ 4

ธาตุ 11Na จะเป็นธาตุในหมู่ 1

2.       ธาตุหมู่ IA และ IIA ตั้งแต่คาบ ขึ้นไป จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา ชั้นเป็น เสมอ เช่น

       11Na จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 1         12Mg จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 2

       19K จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 1     20Ca จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 2

3.       ธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIIA   ตั้งแต่หมู่ที่ IIIA คาบ เป็นต้นไป    จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา ชั้นเป็น 18 เสมอ  เช่น

       31Ga  2, 8, 18, 3  (หมู่ คาบ 4)

      33As  2, 8, 18, 5  (หมู่ คาบ 4)

4.       ถ้าธาตุนั้นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามข้อ และ คือมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา ชั้น มีค่าตั้งแต่ 9 – 18  แต่วงนอกสุดมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1หรือ นักเรียนก็ทำนายได้ทันทีว่าเป็นธาตุแทรนซิชัน เช่น

29Cu 2, 8, 18, 1 ไม่ใช่เป็นธาตุหมู่ แต่เป็นธาตุแทรนซิชันจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8,18, 1

23V 2, 8, 8, 5 ไม่ใช่เป็นธาตุหมู่ แต่เป็นธาตุแทรนซิชันจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8,11, 2

      หมายเหตุ ธาตุแทรนซิชันที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 21 – 30 จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น ยกเว้น Cu กับCr จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

Author: Tuemaster Admin

ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)