ติดแบล็คลิสกับติดบูโรเหมือนกันไหม

" ติดเครดิตบูโร (Credit Bureau) ติดแบล็คลิสต์ (Blacklists) "ความเข้าใจผิดของผู้ขอสินเชื่อ

เพียร์ พาวเวอร์ เคยเล่าวิธีการทำงานของศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโรไปแล้ว เพื่อให้คุณได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครดิตบูโร  และเรามักจะพบว่ามักมีคำถามตามมา เกี่ยวกับผลกระทบจากข้อมูลการชำระหนี้ที่เครดิตบูโรเก็บไว้ นั่นคือการปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยตีความเอาว่าเกิดจากการ "ติดเครดิตบูโร" หรือ "ติดแบล็คลิสต์" ซึ่งหลายคนก็จะมีคำถามต่อมาว่า มันคืออะไร และใครเป็นคนทำบัญชีแบล็คลิสต์นั้นขึ้นมา

"ติดเครดิตบูโร" หรือ "ติดแบล็คลิสต์" ตามความเข้าใจของคนทั่วไป

การที่สถาบันการเงินจะไม่อนุมัติสินเชื่อมีเหตุผลอยู่ไม่กี่ข้อ เช่น คุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ มีภาระหนี้ที่เกินตัว หรือ มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้บ่อยครั้ง ที่แสดงถึงความไม่มีวินัยทางการเงิน ที่ส่งผลถึงความเสี่ยงในการเบี้ยวหนี้กับสถาบันการเงินด้วย ซึ่งข้อมูลการชำระหนี้จะอ้างอิงจาก ข้อมูลของศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(Credit Bureau) หลายคนจึงเรียกการไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อด้วยเหตุผลดังกล่าวว่า เป็น "การติดเครดิตบูโร" และหนักกว่านั้นหลายคนเรียกว่าเป็นการถูกขึ้นบัญชีดำ หรือ "ติดแบล็คลิสต์" ซึ่งทำให้เชื่อมโยงไปอีกว่า มีการจัดทำบัญชีคนที่มีประวัติการชำระหนี้ล่าช้าไว้รวมกัน โดยศูนย์ NCB เพื่อที่สถาบันการเงินจะเข้ามาตรวจสอบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

นี่เป็นความเข้าใจที่ผิด ถ้าอ่านวิธีการทำงานของศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติแล้ว จะพบว่า หน้าที่ของศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ คือ การรวบรวมประวัติการชำระหนี้จากสมาชิก และจัดทำรายงานของข้อมูลที่ได้มาเท่านั้น แต่การพิจารณาสินเชื่อ เป็นเรื่องของธนาคาร และสถาบันการเงินที่มีหลักเกณฑ์พิจารณาเอง ศูนย์ข้อมูลเครดิตไม่มีหน้าที่จัดทำรายงานเฉพาะบุคคลที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดีแต่อย่างใด

การติดเครดิตบูโร หรือ การติดแบล็คลิสต์ จึงเป็นเรื่องที่คนคิด และเข้าใจกันเอาเอง

ติดเครดิตบูโรไม่มีจริง แล้วทำไมจึงขอกู้ไม่ผ่าน?

ตามที่บอกไปข้างต้นว่าเหตุผลในการปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินนั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง ถ้าไม่ใช่เหตุผลด้านคุณสมบัติ ก็เป็นภาระหนี้ หรือ วินัยทางการเงิน ซึ่งธนาคารที่ปฏิเสธการให้สินเชื่อต้องมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าเหตุผลในการไม่อนุมัติ คือ การชำระหนี้ล่าช้าโดยอ้างอิงข้อมูลจากรายงานของศูนย์เครดิตบูโร หากผู้ขอสินเชื่อเกิดความข้องใจในข้อมูล ก็สามารถนำจดหมายดังกล่าวยื่นขอตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ย้อนหลังที่ศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้ด้วยตัวเอง เพื่อดูว่าประวัติที่แสดงขึ้นมานั้นถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องท่านสามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ต่อไป

ติดเครดิตบูโรแก้ไขได้อย่างไร

หากท่านมีประวัติผิดนัดชำระหนี้ กับองค์กรที่เป็นสมาชิกข้อมูลศูนย์ข้อมูลเครดิต ข้อมูลจะไปปรากฏในรายงานข้อมูลเครดิต ซึ่งมันจะปรากฏอยู่แบบนั้นไม่หายไป เพราะเราแก้ไขอดีตไม่ได้นั่นเอง แต่สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อ จะตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่จะย้อนหลัง 6 เดือน ในกรณีสินเชื่อบุคคล ถ้าคุณรอเวลาได้ และชำระหนี้ตรงเวลาหลังจากนั้น จนถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร ข้อมูลเดิมก่อนหน้านั้นก็จะไม่ถูกนำมาประกอบการพิจารณาอีกต่อไป โอกาสที่คุณจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อก็จะเป็นไปได้ นี่คือสิ่งที่ง่ายที่สุดที่ทำได้เพื่อให้ประวัติการชำระหนี้ของคุณกลับมาดี หรือ ที่หลายคนเรียกว่า แก้การติดเครดิตบูโร

แต่ถ้าเป็นหนี้มาก และไม่สามารถจ่ายได้ตามที่กำหนดไว้ คุณต้องเริ่มวางแผนการชำระหนี้และการบริหารการเงินใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้

วิธีวางแผนชำระหนี้

ติดแบล็คลิสกับติดบูโรเหมือนกันไหม

วางแผนชำระหนี้ กรณีที่ยังมีสภาพคล่อง

           
  • สรุปรายการหนี้ที่ยังคงค้างชำระ เพื่อตั้งงบประมาณรายรับรายจ่ายได้อย่างเหมาะสม โดยสรุปว่า เป็นหนี้กับสถาบันการเงินใด จำนวนเท่าไร ดอกเบี้ยเท่าไร ต้องผ่อนชำระต่อเดือนเท่าไร
  •        
  • ผ่อนชำระหนี้ให้ตรงเวลาทุกงวด เพราะข้อมูลการชำระหนี้ล่าช้า คือสิ่งที่กลายเป็นคำพูดติดปากว่า ติดเครดิตบูโรของใครหลาย ๆ คน ควรเก็บหลักฐานการชำระหนี้ทุกอย่างไว้ เพราะสามารถนำ statement ที่ชำระตรงเวลานี้ไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ดู เมื่อถึงเวลาขอสินเชื่อใหม่
  •        
  • นำเงินก้อนมาปิดชำระหนี้สินเช่น เงินโบนัส คอมมิชชั่น หรือรายได้จากทรัพย์สินที่มี
  •        
  • รีไฟแนนซ์ จ่ายหนี้เดิมให้หมดโดยขอสินเชื่อใหม่มาโปะ โดยการรีไฟแนนซ์ที่คุ้มค่า คือ รีไฟแนนซ์แล้วได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า การรีไฟแนนซ์ช่วยแก้ปัญหาการลืมจ่ายหนี้หลายเจ้าได้อีกด้วย

จัดการหนี้ กรณีรายจ่ายมากกว่ารายรับ

           
  • เจรจากับสถาบันการเงิน ว่าสามารถเพิ่มระยะเวลาการชำระหนี้ได้ไหม หรือ เจรจาขอปรับโครงสร้างการชำระหนี้ แสดงให้สถาบันการเงินเห็นว่า เรามีความตั้งใจจะใช้หนี้ หลายคนกลัวที่จะเจรจา แต่ในความเป็นจริงแล้ว สถาบันการเงินส่วนใหญ่มักไม่อยากให้เกิดหนี้สูญ ฉะนั้น การเจรจาจึงเป็นวิธีที่ไม่น่ากลัวแบบที่หลายคนคิดครับ
  •        
  • ขาย หรือ ปล่อยเช่าหนี้สินรายการใหญ่ เช่น รถยนต์ บ้าน เป็นต้น เนื่องจากหนี้พวกนี้ เป็นหนี้ก้อนใหญ่ และมักมีเวลาผ่อนชำระยาว ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูงด้วย หากคุณมีความจำเป็นจริง ๆ คุณควรพิจารณาเคลียร์หนี้สินส่วนนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายรายเดือนของคุณ
  •        
  • หยุดชำระหนี้ และเริ่มออมเงินครั้งใหญ่ วิธีนี้ให้ใช้เฉพาะตอนที่ถึงทางตันแล้วเท่านั้น คือ รอจนหนี้เป็นหนี้เสีย แล้วเราค่อยติดต่อสถาบันการเงิน และเจรจาลดหนี้ลงให้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย จากนั้นก็ทำเงินมาค่อย ๆ ชำระคืน

คุณควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง และเมื่อสามารถแก้ประวัติเครดิตจากแย่เป็นดีแล้ว อย่าลืมที่จะรักษาเครดิตของตนเอง และหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระ รักษาวินัยทางการเงิน เพื่อสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเองต่อไป ซึ่งจะง่ายต่อการขอสินเชื่อในอนาคต

ทั้งนี้ อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ ที่อ้างว่าสามารถช่วยปลดล็อคการติดเครดิตบูโรได้ เพราะหลังจากที่อ่านมาถึงตรงนี้คุณคงทราบแล้วว่า ไม่มีใครแก้ไขได้ สิ่งที่ทำได้คือรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีเท่านั้น การทำธุรกรรมทางการเงิน หรือ การขอสินเชื่อ ควรติดต่อสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตโดยตรงจะปลอดภัยที่สุด

เพียร์ พาวเวอร์ คือผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งระบบคราวด์ฟันดิงคือตัวกลางในการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยวิธีการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ในขณะเดียวกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงในแพลตฟอร์มได้

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุน ที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับเพียร์ พาวเวอร์

สมัคร

แบล็คลิสกับเครดิตบูโรอันเดียวกันไหม

หลายคนมักเข้าใจว่า การติดเครดิตบูโร หมายถึง การติดแบล็คลิสต์ต่าง ๆ ทำให้การกู้ขอสินเชื่อ ทำบัตรเครดิต หรือทำธุรกรรมด้านการเงินใด ๆ ลำบาก และถูกปฎิเสธได้ง่าย แต่แท้จริงแล้ว เครดิตบูโรเป็นเพียงบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติที่คอยเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการเงินตามความจริงเท่านั้น หากถามว่า เครดิตบูโร เช็คอะไรบ้าง จะเน้นไปที่ ...

แบบไหนที่เรียกว่าติดแบล็คลิส

แบล็คลิสต์ (Blacklist) คือการที่บุคคลใดก็ตามชำระหนี้ไม่ตรงกำหนด หรือติดหนี้บัตรเครดิตต่าง ๆ คงค้างเกิน 90 วัน เมื่อมีการขอสินเชื่อใหม่จึงไม่ได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงิน บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติหรือเครดิตบูโรจะคอยเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงิน เมื่อบุคคลใดยื่นทำธุรกรรมด้านการเงินจาก ...

รถติดBLคืออะไร

Blacklist คือ การมีประวัติเสียทางการเงิน จนถูกขึ้นบัญชีดำ ซึ่งหลายท่านจะคิดว่า สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อ เพราะทางบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เป็นผู้ขึ้นบัญชีดำ หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ติด Blacklist ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บรักษา รวบรวมและประมวล ...

ติด แบ ล็ ค ลิ ส ต์ กี่ ปี

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือที่เราเรียกกันว่าเครดิตบูโรนั้น จะจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน ประวัติการทำธุรกรรม ชำระหนี้ ไว้ไม่เกิน 3 ปี นั่นหมายความว่า หากชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว สถานะบัญชีจะขึ้นเป็น “ปิดบัญชี” และจะแสดงข้อมูลอยู่ในเครดิตบูโร ไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับรายงานข้อมูลการปิดบัญชี