สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
  คุณสมบัติการเป็นสมาชิก

  1. ประเภทบุคคลธรรมดา

สตรีผู้มีสัญชาติไทย และมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  และได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

  1. ประเภทองค์กรสตรี

มูลนิธิหรือสมาคมที่ทำงานด้านการพัฒนาสตรี   ที่เป็นนิติบุคคล หรือองค์กรสตรีที่ไม่เป็นนิติบุคคลที่มีหน่วยงานราชการรับรอง มีที่ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหรือจังหวัดที่ขอขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่าหกเดือน  มีผลงานเป็นที่ประจักษ์  และได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
  วิธีการสมัครสมาชิก

ประเภทบุคคลธรรมดา

  1. สมัครด้วยตนเอง

พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ยื่น ณ สำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการ กลั่นกรองฯ อำเภอ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

  1. สมัครด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์

http://womenfund.in.th/

  1. สมัครโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
  ประเภทองค์กรสตรี

  1. สมัครด้วยตนเอง

พื้นที่จังหวัดยื่นที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดในเขตพื้นที่/กทม.ยื่นที่ สกส.

  1. สมัครด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์

http://womenfund.in.th/

  1. สมัครโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
   ใบสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
  ใบสมัครองค์กรสตรี

สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564
 
สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2564

(Visited 1 times, 1 visits today)

เกี่ยวกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

เกี่ยวกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

Q1.1: ที่มาของการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

A1.1: กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เป็นนโยบายที่สําคัญของรัฐบาล โดยกําหนดเป็นวาระเร่งด่วน ที่กำหนดดําเนินการปี ๒๕๕๕ สําหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนแบบดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อการพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ และสวัสดิการให้แก่สตรี รวมถึงการพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การพัฒนาบทบาทสตรี การสร้างภาวะผู้นํา และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะทํางานร่วมกับองค์กรสตรีตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้โอกาสสตรีในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมพัฒนา เพื่อสตรีทุกคน โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสตรีต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อให้สตรีไทยได้ใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

Q1.2: วัตถุประสงค์การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

A1.2: มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการสร้างโอกาสให้สตรีเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการลงทุน เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างหรือสวัสดิภาพ หรือสวัสดิการให้แก่สตรี
2) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหาในทุกรูปแบบ การรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี
3) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทสตรี การแก้ไขปัญหาสตรีขององค์กรต่างๆ การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี
4) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการสนับสนุนโครงการอื่นๆ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสตรีตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

Q1.3: แหล่งเงินทุน

A1.3: เงินและทรัพย์สินของกองทุน
1) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
2) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3) เงินสนับสนุนอื่นๆ ที่รัฐบาลจัดสรรให้เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
5) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
6) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
7) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือกองทุนได้รับตามกฎหมายอื่น

การใช้จ่ายเงินกองทุน

1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนหรือแหล่งเงินตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารกองทุน
3) การบริหารงบประมาณแบ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียน (กู้ยืม) ร้อยละ 80 และเงินอุดหนุนโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 20 ของเงินทุนที่ได้รับการจัดสรร แต่ทั้งนี้ งบบริหารตามแผนการบริหารและการจัดการทองทุน ไม่เกินร้อยละ 3 ของส่วนที่เป็นเงินอุดหนุน

Q1.4: ประเภทสมาชิก

A1.4: สมาชิกมี 2 ประเภท ดังนี้
1) สมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา ได้แก่
1.1) สตรีผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ
1.2) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือ
1.3) เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียบบ้าน
1.4) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ขอขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 6 เดือน และ
1.5 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
2) สมาชิกประเภทองค์กรสตรี ได้แก่
2.1) มูลนิธิหรือสมาคม ที่ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหรือจังหวัดที่ขอขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีการดำเนินงานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความรับผิดชอบ เสียสละ หรือมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์แก่สังคมเกี่ยวกับการทำงาน การฝึกอาชีพ การพัฒนาช่วยเหลือ หรือการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี
2.2) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ ประเภทองค์กร

Q1.5: การขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก

A1.5: 1) สมัครสมาชิก Online ได้ที่ Website http://164.115.23.70/Register/register.php
2) สมัครด้วยตนเอง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกอำเภอ ในพื้นที่ของผู้สมัคร

Q1.6: โครงสร้างคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

A1.6:

1) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.)
คกส.จ. ประกอบด้วย คกส.ต. ในแต่ละตำบลของแต่ละอำเภอ คัดเลือกกันเองให้เหลืออำเภอละ 1 คน เป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่

(1) บริหารกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับดูแล และจัดสรรรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด
(2) จัดหาสถานที่ทำงานของบุคลากรและ คกส.จ.
(3) จัดหาทุนหรือรายได้เข้ากองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด
(4) พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนให้ คกส.ต. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด
(5) พิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(6) จัดทำบัญชีของกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(7) สำรวจและจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก รวมทั้งโครงการที่ได้ยื่นคำขอกู้ยืมจากกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(8) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งรายงานการเงินของกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานจังหวัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(10) แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คกส.ต. และคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใด ที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

2) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร (คกส.กทม.)
คกส.กทม. ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิกใน กทม.สมัครเข้าเป็นกรรมการกองทุนและเลือกตั้งกันให้เหลือจำนวน 12 คน เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นที่ปรึกษา คกส.กทม. โดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่

(1) บริหารกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับดูแล และจัดสรรรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(2) จัดหาสถานที่ทำงานของบุคลากรและ คกส.กทม.
(3) จัดหาทุนหรือรายได้เข้ากองทุนในเขตพื้นที่ กทม.
(4) พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนให้สมาชิกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด
(5) พิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนในเขตพื้นที่ กทม.ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(6) จัดทำบัญชีของกองทุนในเขตพื้นที่ กทม. ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(7) สำรวจและจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก รวมทั้งโครงการที่ได้ยื่นคำขอกู้ยืมจากกองทุนในเขตพื้นที่ กทม. เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(8) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งรายงานการเงินของกองทุนในเขตพื้นที่ กทม. เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานจังหวัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(10) แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คกส.ต. และคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใด ที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

3) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล (คกส.ต.)
3.1) ผู้แทนสมาชิกกองทุนฯ ในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนคัดเลือกกันเอง แห่งละ 1 คน
3.2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.) แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสตรี
3.3) ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล (คกส.ต.) แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.)

อำนาจหน้าที่

(1) บริหารกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับดูแล และจัดสรรรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในเขตท้องที่ตำบล
(2) จัดหาสถานที่ทำงานของบุคลากรและคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล (คกส.ต.)
(3) จัดหาทุนหรือรายได้เข้ากองทุน
(4) พิจารณาโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอกู้ยืมเงิน หรือขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(5) สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก โครงการที่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนในตำบล เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.) เพื่อพิจารณาอนุมัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
(6) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้งรายงานการเงินของกองทุนในเขตท้องที่ตำบล เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4) กรรมการทุกคณะ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
5) การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

Read more

การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

Q2.1: คุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุน

A2.1:

1) เป็นสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดาและรวมตัวกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือ
2) เป็นสมาชิกประเภทองค์กรสตรี
3) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงาน หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่ยื่นคำขอ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
4) ดำเนินงานและมีผลงานเกี่ยวกับการทำงานหรือฝึกอาชีพ การพัฒนา การช่วยเหลือคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีหรือมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม/ชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับสตรี
5) ไม่ดำเนินกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

Q2.2: หลักเกณฑ์ของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

A2.2:

1) ประเภทเงินทุนหมุนเวียน เป็นโครงการที่เป็นเงินกู้ยืมเงิน จะต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้
2) ประเภทอุดหนุน
2.1) เป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรี องค์กรสตรี หรือชุมชนในการพัฒนาศักยภาพสตรี และเครือข่ายสตรี การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี การช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหาในทุกรูปแบบ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี ตลอดจนการรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ (เงื่อนไขของโครงการจะต้องเป็นโครงการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการหรือแหล่งทุนอื่น เว้นแต่ งบประมาณไม่เพียงพอ
2.2) เป็นโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทและแก้ไขปัญหาสตรีขององค์กรต่างๆ การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต การสร้างสวัสดิภาพหรือสวัสดิการให้แก่สตรี รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี
3) โครงการที่ขอรับการสนับสนุน โครงการละไม่เกิน 200,000 บาท

Q2.3: การยื่นแผนงานโครงการขอรับการสนับสนุน / เอกสารที่เกี่ยวข้อง

A2.3:

1) ผู้แทนสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา หรือ ผู้มีอำนาจทำการแทนหรือผู้ได้รับมอบฉันทะจากสมาชิกประเภทองค์กร ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสาร ตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
2) การยื่นคำขอสำหรับสมาชิกส่วนภูมิภาค ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด
3) การยื่นคำขอสำหรับสมาชิกในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร
4) เอกสารที่เกี่ยวข้อง (แบบฟอร์มประกอบการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี) จำนวน 13 แบบ
(4.1) แบบเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(4.2) แผนการใช้จ่ายเงินโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
(4.3) ตัวอย่างสรุปงบหน้าแบบเสนอโครงการฯ
(4.4) หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
(4.5) หนังสือสัญญาค้ำประกัน
(4.6) แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงิยโครงการของผู้กู้ยืมเงิน
(4.7) แบบรายผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของ คกส.ต.
(4.8) แบบรายผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของ คกส.จ.
(4.9) แบบรายผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของ คกส.กทม.
(4.10) ตัวอย่างระเบียบข้อบังคับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด/กทม.
(4.11) ทะเบียนการโอนเงินเข้าบัญชีสมาชิกของ คกส.ต.
(4.12) แบบทะเบียนคุมลูกหนี้รายตัว
(4.13) แบบฟอร์มรายงานการประชุม
(4.14) แบบฟอร์มใบสำคัญจ่าย

Q2.4: หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการใช้งบประมาณ

A2.4:

1) ผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องนำเงินไปใช้ตามแผนงานโครงการที่ได้ยื่นขอรับเงินสนับสนุน และไม่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากแผนงานโครงการและไม่สามารถนำไปใช้นอกพื้นที่ตั้งหรือที่อยู่ของสมาชิก
2) กรณีผู้ขอรับการสนับสนุนดำเนินงานตามแผนงานโครงการแล้วเสร็จ หากมีเงินสนับสนุนเหลือ ให้ดำเนินการคืนภายใน 30 วัน นับจากโครงการแล้วเสร็จ หรือ สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมแผนงานโครงการ เพื่อดำเนินงานตามจำนวนเงินที่เหลืออยู่ได้ ยกเว้น โครงการที่เป็นการกู้ยืมเงิน ให้คืนเงินต้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
3) ผู้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต้องรายงานผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายน ยกเว้น โครงการที่ดำเนินการมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 180 วัน ให้รายงานภายใน 30 วัน นับแต่แผนงานโครงการเสร็จสิ้น
4) การจัดส่งรายงานการใช้จ่ายงบประมาณให้รายงานต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี/จังหวัด/กทม./อำเภอ แล้วแต่กรณี โดยจัดส่งรายงานด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้
5) กรณีเงินทุนหมุนเวียน เมื่อครบกำหนดสัญญาให้สมาชิกคืนเงินเข้าบัญชี “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” แล้วนำใบโอนเงินแจ้งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรตำบลทราบ เพื่อให้ออกใบเสร็จรับเงินให้สมาชิก
6) “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” โอนเงินที่ได้รับคืนเข้าบัญชี “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด” ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงินโอนคืนจากสมาชิก
7) สมาชิกที่ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว และยังไม่สามารถดำเนินการตามโครงการได้ให้สมาชิกโอนเงินคืนเข้าบัญชี “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” ภายใน 7 วันทำการ นับตั้งแต่ได้รับการโอนเงิน และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล โอนเงินคืนเข้าบัญชี “คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด” ภายใน 3 วันทำการ หรือ อาจขอแก้ไขปรับปรุงแผนงานโครงการเพื่อดำเนินการตามโครงการเดิม จำนวนงบประมาณตามที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านั้น โดยเสนอปรับปรุงแผนงานโครงการให้ “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” เห็นชอบส่งให้ “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด” พิจารณาอนุมัติ

Q2.5 หน่วยงานประสานการดำเนินงาน / ข้อมูลเชิงลึก

A2.5

1) เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี /ระเบียบ/เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อ กลุ่มอำนวยการ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โทร. 02-2829306, 02-2829310 โทรสาร. 02-2829305
2) เกี่ยวกับเว็บไซต์การลงทะเบียน ฐานข้อมูล
ติดต่อ กลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โทร. 02-1416287

Read more

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยในการสมัครสมาชิกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยในการสมัครสมาชิกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยในการสมัครสมาชิกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php

1. กรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิกครบถ้วนแล้ว กดสมัคร แต่หน้าเว็บไซต์ไม่ขึ้นอะไรเลย

ตอบ แนะนำให้ใช้โปรแกรม FireFox ในการสมัคร

2. กดสมัครแล้ว หน้าเว็บไซต์ขึ้นตัวหนังสือ “ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ”

ตอบ มี 2 กรณี

1. ข้อมูลซ้ำ ให้คีย์ข้อมูลเลขบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบว่า สมัครหรือยัง
2. อาจจะเป็นที่ระบบมีคนใช้งานเยอะ ทำให้ระบบทำงานช้ามาก จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด ต้องลองหาช่วงเวลาสมัครใหม่

3. ผู้สมัครต้องการตรวจสอบข้อมูลว่า ตนเองเป็นสมาชิกกองทุนฯ หรือยังทำอย่างไร

ตอบ

1. ผู้สมัครสามารถตรวจสอบได้เองทางเว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php หัวข้อ “ตรวจสอบสมาชิกออนไลน์” ที่อยู่บนแถบเมนูสีม่วงข้างบน โดยพิมพ์เลขบัตรประชาชน และพิมพ์ตัวอักษรที่ปรากฏลงในช่อง กดตรวจสอบผล
2. ขอเลขบัตรประชาชน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลให้ผู้สมัคร
3. หากตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อมูล แนะนำให้ผู้สมัครทำการสมัครใหม่ผ่านทางเว็บไซต์

4. การสมัครเวลากรอกข้อมูลที่อยู่ในเขตเทศบาล เมื่อใส่เลขหมู่ที่ ไปแล้ว ระบบจะขึ้นชื่อหมู่บ้านมาให้ แต่ไม่ตรงกับชื่อหมู่บ้านของตนเอง

ตอบ สามารถลบชื่อหมู่บ้านนั้น และพิมพ์ชื่อหมู่บ้านที่ถูกต้องแทนได้เลย

5. ผู้สมัครได้ยืนยันว่าตนเองได้ดำเนินการสมัครแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลสมาชิก ไม่พบข้อมูลของผู้สมัคร

ตอบ มี 2 กรณี

1. ข้อมูลของผู้สมัครอาจจะเป็นส่วนของข้อมูลที่บันทึกเป็นไฟล์ excel ที่ยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ เพราะทางกรมต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน
2. การสมัครออนไลน์จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อกด “สมัคร” แล้ว หน้าเว็บไซต์ต้องขึ้นว่า “สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสตรีเรียบร้อยแล้ว”
3. ขอ เลขบัตรประชาชน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง หากไม่พบข้อมูล แนะนำให้ผู้สมัครทำการสมัครใหม่

6. ผู้สมัครออนไลน์ที่ไม่ใช้เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน

ตอบ ผู้สมัครสามารถทำการสมัครสมาชิกออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php ที่อยู่หน้าเว็บไซต์ด้านขวามือสีชมพู และผู้สมัครต้องแนบไฟล์สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านด้วย

7. การสมัครสมาชิกกองทุนฯ สามารถทำการสมัครได้ถึงวันไหน

ตอบ สามารถทำการสมัครได้เรื่อยๆ

8. การออกรายงานข้อมูลสมาชิกกองทุนฯ

ตอบ ทำได้โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php ส่วนของรายงานข้อมูลสมาชิก ค้นห้าข้อมูลที่ต้องการแล้วสั่งปริ้นหน้าเว็บไซต์

9. การตรวจสอบข้อมูลยอดรวมผู้สมัครสมาชิกกองทุนทำอย่างไร

ตอบ ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php หัวข้อรายงานข้อมูลสมาชิก โดยใช้ Username และ Password แล้วนำข้อมูลผู้ผ่านการตรวจสอบ+ผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบ+รอการตรวจสอบ และมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่บันทึกเป็นไฟล์ excel ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ์โดยสำนักทะเบียนราษฎร์ จึงยังไม่ได้นำขึ้นระบบ 

10. ใครเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ

ตอบ กรมฯ จะส่งข้อมูลผู้สมัครให้สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ดำเนินการตรวจสอบ

11. ในการตรวจสอบข้อมูลสมาชิกใช้เวลาในการดำเนินการเท่าใด

ตอบ ประมาณ 1- 2 เดือน หรืออาจจะเร็วกว่านั้น

12. ผู้สมัครสมาชิกที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ รอประกาศหน้าเว็บไซต์ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร

13. ในส่วนของข้อมูลผู้สมัครสมาชิกกองทุนฯ ที่บันทึกเป็นไฟล์ excel ส่งให้กรมฯ นำขึ้นเว็บไซต์

ตอบ กรมฯ จะยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ให้ เพราะต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลก่อน แล้วส่งข้อมูลดังกล่าวให้ทางสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ตรวจสอบสิทธิ์ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงจะนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์

Read more