สมัครสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี

เมื่อวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2565 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมการแพทย์ จำกัด ได้ส่งคณะกรรมการ จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย

1. นางนงค์ลักษณ์  เพ็งจั่น  รองประธานกรรมการคนที่ 1

2. นายนรินทร์  เจษฎาภูริ  กรรมการและเหรัญญิก

3. นายไชยยศ  แย้มทรัพย์  กรรมการและเลขานุการ

4. นางยุพิน  แย้มทรัพย์  กรรมการ

เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด เพื่อศึกษาการดำเนินงาน และการแก้ไขปัญหาหนี้ครู เพื่อนำแนวทางการบริหารจัดการมาพัฒนาการให้บริการแก่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กรมการแพทย์ จำกัด ต่อไป

ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์คัดเลือกศึกษาธิการจังหวัด/รองศึกษาธิการจังหวัด และการย้ายครู รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ

สมัครสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี

27 ธ.ค. 65

ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์คัดเลือกศึกษาธิการจังหวัด/รองศึกษาธิการจังหวัด และการย้ายครู รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีมติที่สำคัญ ดังนี้ เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัด การกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด และการกำหนดประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องสำหรับตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด ตามที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัด (ว 11/2563)  ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด เช่น กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด ที่กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น จึงควรเปิดโอกาสให้กว้างขึ้น ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีลักษณะการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับตำแหน่งประเภทอำนวยการ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องมีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดได้ อีกทั้งในมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้ ก.ค.ศ. สามารถกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งบุคคลที่เคยมีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกก็ยังคงมีสิทธิอยู่เดิม แต่ควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี และปฏิบัติหน้าที่ ผอ.ภารกิจ หรือ ผอ.กลุ่ม หรือ ผอ.ศูนย์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดได้อีกด้วย สำหรับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด เนื่องจากมาตรฐานตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด กำหนดให้มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องสำหรับตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด ซึ่ง ก.ค.ศ. ยังมิได้กำหนดระยะเวลาของประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องสำหรับตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดในตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด ในครั้งนี้จึงเห็นควรกำหนดประสบการณ์และระยะเวลาของประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องสำหรับตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด ได้แก่ ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ – ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (1) ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ – ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่ม หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าหน่วย แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี – ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่ม หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าหน่วย แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการในกลุ่มนี้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัดได้ นอกจากนี้ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 11/2563 เฉพาะคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัด ที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ ข้อ 2 นอกนั้นคงเดิม และเห็นควรยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกฯ เพิ่มเติม ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.5/208 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ไปพร้อมกันด้วย โดยเห็นควรกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ดังนี้ “2. ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือก ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด 2) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (1) ประเภทอำนวยการ ระดับต้น มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ (2) ตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด และ 3) มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องสำหรับตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด ตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กทม. รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด 2) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (1) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี (3) ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า (1)  และ 3) มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องสำหรับตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด”  …

27 December 2565 [post-views] ครั้ง

สมัครสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี

27 Dec 65

“ตรีนุช” ขานรับ “บิ๊กตู่” ขยายผลการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน

วันนี้ (27 ธ.ค.2565) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เปิดงานเสวนา “การปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน” อำเภอเชียงของ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดย “แอนโทนี่” หรือ นายปิยชนม์ ภุมวิภาชน์ อายุ 17 ปี ได้นำเสนอเชียงรายโมเดล (เชียงรายเมืองสิ่งแวดล้อมโลก) ด้วยโมเดลการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งแอนโทนี่ได้พรีเซ็นต์อย่างฉะฉาน และที่ผ่านมาก็มีผลงานมากมาย เช่น เมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้นำเสนอกิจกรรมของโรงเรียน และชุมชนให้แก่คณบดีและอาจารย์คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำจากงาน 5 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว และไทย ซึ่งองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) จัดมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะที่มีอายุ 15 ปีได้เป็นผู้ร่วมคิดค้นเทคโนโลยี เครื่องดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วแปลงเป็นพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อแก้ไข PM 2.5 ส่งประกวดและเสนอขอการสนับสนุนจาก “อีลอน มัสก์” นักธุรกิจและประดิษฐ์ชื่อดังระดับโลก ซึ่งเปิดการประกวดจากผู้คิดค้นทั่วโลก, เข้าร่วมงานพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัยสู่การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยสร้างรายได้ให้ชุมชน และ เป็นตัวแทนเยาวชนไทย(ยุวทูต) ของ SEAMEO เป็นต้น โดยแอนโทนี่ได้ขอบคุณนายกฯ ที่สนับสนุนกิจกรรมเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย และบอกด้วยว่าที่ตนได้พัฒนามาถึงขณะนี้ เพราะการปูพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน จากโรงเรียนบ้านสันกอง จ.เชียงราย ซึ่งนายกฯ ชื่นชม และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาวิธีการจัดการศึกษาและขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ “การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอนที่โรงเรียนบ้านสันกอง นำมาใช้พัฒนานักเรียน ดำเนินงานภายใต้ โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาชุมชนย่างยั่งยืน ซึ่งสนับสนุนโดยองค์กร Asia-Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU) ประกอบด้วย 1. การศึกษาชุมชน 2. การศึกษาปัญหาเชิงลึก 3.การนำเสนอปัญหาต่อชุมชน 4. การศึกษาทางเลือกในการแก้ปัญหา 5. การวางแผนงาน/โครงการแก้ปัญหา 6. การลงมือปฎิบัติการแก้ปัญหาตามแผนงาน/โครงการ และ 7.ติดตามประเมินผล และ ชื่นชมความสำเร็จและแนวทางการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง ซึ่งดิฉันจะนำมาขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆตามคำแนะนำของนายกฯ” นางสาวตรีนุช กล่าว ทั้งนี้ เส้นทางการศึกษาของน้องแอนโทนี่ น่าสนใจมาก โดยแอนโทนี่ฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เรียนที่โรงเรียนบ้านสันกอง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ป.6 จากนั้นก็สอบได้ทุนของรัฐบาลจีน ไปเรียนที่ประเทศจีน 1 ปี ก่อนจะกลับมาเรียนต่อที่โรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์เชียงราย และสอบเทียบ ม.6 GED จาก ประเทศสหรัฐอเมริกา คะแนน IELTs Over All score 6.5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการบ่มเพาะทักษะกระบวนการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น ที่เชื่อมโยงกับบริบทของท้องถิ่นและโลก เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น”