เฉลยใบงาน การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (RENAISSANCE) เกิดในช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 คือ ปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ (TRANSITIONAL PERIOD) ของ ประวัติศาสตร์สองยุค การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเริ่มขึ้นที่นครรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งมีความ มั่งคั่งและร่ำรวยจากการค้าขาย ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่บริเวณอื่นๆ ในยุโรป

คำว่า RENAISSANCE แปลว่า เกิดใหม่ (REBIRTH) หมายถึง การนำเอาศิลปวิทยาการของ กรีกและโรมันมาศึกษาใหม่ ทำให้ศิลปวิทยาการกรีก-โรมันเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เป็นสมัยที่ ชาวยุโรปเกิดความกระตือรือร้นสนใจอารยธรรมกรีก-โรมัน จึงถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองที่ ชาวยุโรปมีสิทธิและเสรีภาพ ช่วงเวลานี้จึงถือว่าเป็นขบวนการขั้นสุดท้ายที่จะปลดปล่อยยุโรปจาก สังคมในยุคกลางที่เคยถูกจำกัดโดยกฏเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนาสาเหตุและความเป็นมาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

สาเหตุและความเป็นมาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีดังนี้

1. การขยายตัวทางการค้า ทำให้พ่อค้าชาวยุโรปและบรรดาเจ้าผู้ครองนครในนครรัฐ อิตาลีมีความมั่งคั่งขึ้น เช่น เมืองฟลอเรนซ์ เมืองมิลาน หันมาสนใจศิลปะและวิทยาการความ เจริญในด้านต่างๆ ประกอบกับที่ตั้งของนครรัฐในอิตาลีเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตก มาก่อน ทำให้นักปราชญ์และศิลปินต่างๆ ในอิตาลีจึงให้ความสนใจศิลปะและวิทยาการของโรมัน

2. ความเจริญทางเศรษฐกิจและการเกิดรัฐชาติในปลายยุคกลาง ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งด้านองค์กรทางการเมือง องค์กรทางเศรษฐกิจซึ่งต้องใช้ความรู้ความ สามารถมาบริหารจัดการ แต่การศึกษาแบบเดิมเน้นปรัชญาทางศาสนาและสังคมในระบบฟิวดัล จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ดังนั้นนักปราชญ์สาขาต่างๆ จึงหันมาศึกษา อารยธรรมกรีกและโรมัน เช่น นักกฎหมายศึกษากฎหมายโรมันโบราณเพื่อนำมาใช้พิพากษาคดี ทางการค้า นักรัฐศาสตร์ศึกษาตำราทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการทูตและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ ก็ค้นหาความจริงและสนใจ ศึกษาอารยธรรมกรีก-โรมันเช่นกัน เป็นต้น
3. ทัศนคติของชาวยุโรปในช่วงปลายสมัยกลางต่อการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป จากเดิม จากการที่เคร่งครัดต่อคำสั่งสอนทางคริสต์ศาสนา มุ่งแสวงหาความสุขในโลกหน้า ใฝ่ใจ ที่จะหาทางพ้นจากบาป และปฏิบัติทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างกุศลให้แก่ตนเอง ได้เปลี่ยนมาเป็นการ มองโลกในแง่ดี และเบื่อหน่ายกับระเบียบสังคมที่เข้มงวดกวดขันของคริสตจักร รวมทั้งมีอคติต่อ การกระทำมิชอบของพวกพระ จึงหันไปสนใจผลงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมนุษยชาติ และเห็น ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตตนเองให้ดีและมีคุณค่าขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่มาของแนวคิด แบบมนุษยนิยม (HUMANISM) ที่สนใจโลกปัจจุบันมากกว่าหนทางมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์ดังเช่นเคย
4. การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก เพราะถูกพวก มุสลิมเติร์กยึดครองใน ค.ศ. 1453 ทำให้วิทยาการแขนงต่างๆ ที่จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดไว้ หลั่งไหลคืนสู่ยุโรปตะวันตก
ความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นการศึกษาอารยธรรมกรีก-โรมัน ทั้งด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และวิทยาการด้านต่างๆ โดยให้ความสำคัญของมนุษย์กับการดำเนิน- ชีวิตในโลกปัจจุบัน ที่เรียกว่า มนุษยนิยม (HUMANISM) โดยผู้ที่มีความคิดความเชื่อเช่นนี้เรียก ตนเองว่า นักมนุษยนิยม (HUMANISTS) ซึ่งได้พยายามปลดเปลื้องตนเองจากการครอบงำของ คริสตจักรและระบบฟิวดัล ลักษณะที่ให้ความสำคัญของความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือ ถึงแม้จะเป็นความสนใจศึกษาความรู้จากอารยธรรมกรีก-โรมัน แต่มิใช่การลอกเลียนแบบ จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การศึกษาความรู้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ผลงานสำคัญ ได้แก่

1. วรรณคดีประเภทคลาสสิก นักมนุษยนิยมที่กระตุ้น จินตนาการของชาวยุโรปให้มาสนใจงานวรรณคดีและปรัชญา ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม คือ ฟรานเซสโก เพทราร์ก (FRANCESCO PETRARCA : ค.ศ. 1304-1374) ชาวอิตาลี ผู้ซึ่งชี้ความ งดงามของภาษาละตินและการใช้ภาษาละตินให้ถูกต้อง ผู้ที่สนใจและ นิยมงานเขียนวรรณคดีประเภทคลาสสิกจะค้นคว้าศึกษางานของ ปราชญ์สมัยโรมันตามห้องสมุดของวัดและโบสถ์วิหารในยุโรป แล้วนำ มาคัดลอกรวมทั้งนำวรรณคดีและแนวคิดของปรัชญากรีกมาแปลเป็น ภาษาละตินเผยแพร่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีผลงานของนิคโคโล มา- เคียเวลลี (NICCOLO MACHIAVELLI : ค.ศ. 1469-1527) เรื่องเจ้าผู้ครอง นคร (THE PRINCE) กล่าวถึงลักษณะการเป็นผู้ปกครองรัฐที่ดี และ เซอร์ธอมัส มอร์ (SIR THOMAS MORE : ค.ศ. 1478-1536) เขียนเรื่อง ยูโทเปีย (UTOPIA) กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย ซึ่งผลงานของนักมนุษยนิยมเหล่านี้นำไปสู่การต่อต้านการปกครองและ วิธีปฏิบัติของคริสตจักรที่ขัดต่อคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการ ปฏิรูปศาสนาขึ้นใน ค.ศ. 1517 ส่วนงานวรรณกรรมที่เป็นบทละคร นักประพันธ์ที่สำคัญ คือ วิลเลียม เช็กสเปียร์ (WILLIAM SHAKESPEARE: ค.ศ. 1564-1616) ซึ่งเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง คือ โรมิโอและ จูเลียต (ROMEO AND JULIET) และเวนิสวาณิช (THE MARCHANT OF VENICE)

2. ศิลปกรรม ในยุคกลางศิลปกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาโดยเฉพาะ ทำให้ ไม่สามารถถ่ายทอดจินตนาการอย่างเสรีได้ ผลงานส่วนใหญ่จึงขาดชีวิตชีวา แต่ศิลปกรรมในสมัย ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมงานศิลปะของกรีก-โรมันที่เป็นธรรมชาติ จึงให้ความสนใจความสวยงามใน สรีระของมนุษย์ มิติของภาพ สี และแสงในงานประติมากรรมและจิตรกรรมให้สมจริง สมดุล และกลมกลืนสอดคล้องมากขึ้น ศิลปินที่สำคัญ เช่น

– ไมเคิลแอนเจโล บูโอนาร์โรตี (MICHELANGELO BUONARROTI : ค.ศ. 1475-1564) เป็นศิลปินที่มีผลงานทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานประติมากรรมที่ สำคัญและมีชื่อเสียง คือ รูปสลักเดวิด (DAVID) เป็นชายหนุ่มเปลือยกาย และปิเอตา (PIETA) เป็นรูปสลักพระมารดากำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระกร ส่วน ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง คือ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้บน เพดานและฝาผนังของโบสถ์ซีสติน (SISTINE CHAPEL) ในมหาวิ หารเซนต์ปีเตอร์ ที่กรุงโรม ที่มีลักษณะงดงามมาก

เฉลยใบงาน การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ


รูปแกะสลักเดวิดประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของ ไมเคิลแอนเจโล

  – เลโอนาร์โด ดา วินชี (LEONARDO DA VINCI : ค.ศ. 1452-1519) เป็นศิลปินที่มี ผลงานเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ภาพเขียนที่มีชื่อเสียง คือ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย (THE LAST SUPPER) ซึ่งเป็นภาพพระเยซูกับสาวกนั่งที่โต๊ะอาหารก่อนที่พระเยซูจะถูกนำไปตรึงไม้กางเขน และภาพโมนาลิซ่า (MONALISA) เป็นภาพหญิงสาวที่มีรอยยิ้มปริศนากับบรรยากาศของธรรมชาติ

ภาพวาดโมนาลิซ่า งานจิตรกรรมของเลโอนาร์โด ดา วินชี

  – ราฟาเอล (RAPHAEL : ค.ศ. 1483-1520) เป็นจิตรกรที่วาดภาพเหมือนจริง ภาพที่มี ชื่อเสียง คือ ภาพพระมารดาและพระบุตร พร้อมด้วยนักบุญจอห์น (MADONNA AND CHILD WITH ST. JOHN)

   ภาพวาดพระมารดาและพระบุตร งานจิตรกรรมของราฟาเอล

3. ด้านวิทยาการความเจริญอื่นๆ ได้แก่
– ด้านดาราศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่ชาวยุโรปสนใจกันมากในช่วงเวลานี้ นัก ดาราศาสตร์ที่สำคัญ คือ คอเปอร์นิคัส (ค.ศ. 1473-1543) ได้เสนอทฤษฎีที่ขัดแย้งกับคำสอนของ คริสต์ศาสนา โดยระบุว่าโลกไม่ได้แบนและไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่เป็นบริวารที่โคจร รอบดวงอาทิตย์

– ด้านการพิมพ์ ในช่วงสมัยนี้ได้มีการคิดค้นการพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้ สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยโยฮัน กูเตนเบิร์ก ( JOHANNES GUTENBURG : ค.ศ. 1400-1468) ชาว เมืองไมนซ์ (MAINZ) ในเยอรมนี ทำให้ราคาหนังสือถูกลงและเผยแพร่ไปได้อย่างกว้างขวาง

     ผลของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปกรรมและวิทยาการต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้นส่งผล ให้คนยุโรปมีลักษณะ ดังนี้

1. ความสนใจในโลกปัจจุบัน ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ชาวยุโรปยังคงนับถือศรัทธาใน พระเจ้า แต่จากการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบมนุษยนิยม ทำให้ชาวยุโรปมีแนวคิดในการ ดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันให้ดีและสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขและความมั่นคงให้แก่ตน ทั้งหมดนี้ สะท้อนในงานศิลปกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อนสนองความพึงพอใจของตนเอง เช่น สร้างบ้าน เรือนอย่างวิจิตรสวยงาม การมีรูปปั้นประดับอาคารบ้านเรือน การวาดภาพเหมือนของมนุษย์ เป็นต้น

2. ความต้องการแสวงหาความรู้ การที่มนุษย์ต้องการหาความรู้และความสะดวกสบาย ให้แก่ชีวิต ทำให้ต้องมีการคิดสร้างสรรค์ผลงานและวิทยาการต่างๆ ดังนั้นมนุษย์ในสมัยฟื้นฟู ศิลปวิทยาการ จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การคิคค้น การทดลอง การพิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล เป็นผลให้วิทยาการด้านต่างๆ พัฒนามากขึ้น สภาพสังคมของมนุษย์ในสมัย นี้คือการตื่นตัวในการค้นหาความจริงของโลก ทำให้มนุษย์ต้องการแสวงหาความรู้และสำรวจดิน แดนต่างๆ อันนำไปสู่การปฏิรูปศาสนา การสำรวจทางทะเล และการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใน เวลาต่อมา