วัตถุเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ด้วย ความเร่ง a ณ เวลา t ใด ๆ

วัตถุเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ด้วย ความเร่ง a ณ เวลา t ใด ๆ

กรณีวัตถุตกอย่างเสรี

เมื่อปล่อยให้วัตถุตกอย่างเสรี วัตถุจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว เรียกความเร่งเนื่องจากการตกของวัตถุว่า ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (gravitational acceleration) ใช้สัญลักษณ์  g  มีค่าเท่ากับ  9.80665 m/ss เพื่อความสะดวกในการคำนวณมักใช้ค่าเป็น  9.8 m/ssหรือ  10  m/ssมีทิศดิ่งลงสู่พื้นเสมอ
2.2 กรณีที่วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่ง
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีแนวการเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ความเร็วของวัตถุจะลดลงอย่างสม่ำเสมอ แสดงว่าเคลื่อนที่ขึ้นไปด้วยความเร่งที่มีทิศตรงข้ามกับความเร็ว
เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ก็คือ การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่ง  ดังนั้นสูตรที่ใช้ในการคำนวณ จึงเหมือนกับสูตรที่ใช้คำนวณในการเคลื่อนที่ตามแนวราบ เพียงแต่เปลี่ยนค่า a   เป็น  g  เท่านี้เอง

1.  v  =  u  +  gt                เมื่อ  u = ความเร็วต้น

2.  s  =   (u+v)t/2                          v = ความเร็วปลาย

3.  s  = ut + 1/2gtt                     g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีค่า= 10 m/ss

4.  v = u + 2gs                        t = เวลา

s = การกระจัด

ข้อควรจำ

1. กำหนดให้ทิศของ u  เป็น บวกเสมอ ปริมาณใดที่มีทิศตรงข้ามกับ u ให้เป็น ลบ
2. เครื่องหมายของ     g
วัตถุเคลื่อนที่ขึ้น ค่า  g  เป็นลบ
–  วัตถุเคลื่อนที่ลง  ค่า  g  เป็นบวก
3. ปล่อยวัตถุให้ตกลงมา แสดงว่า u=0 ถ้าขว้างวัตถุ แสดงว่า u0
4. เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุด  แสดงว่า  v=0
5. เมื่อปล่อยวัตถุบนวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ เช่น ปล่อยก้อนหินอยู่บนรถ ขณะรถกำลังเคลื่อนที่  ก้อนหินจะมีความเร็วต้น เท่ากับความเร็วของรถ
6. เมื่อโยนวัตถุขึ้นไปตรง ๆ ในอากาศแล้วตกลงมา ถ้าจุดตกอยู่ต่ำกว่าระดับของจุดปล่อย ค่า s จะเป็นลบ

ตัวอย่างการคำนวณ
ปล่อยก้อนหินจากหน้าผา เมื่อเวลาผ่านไป 2 วินาที ก้อนหินจึงตกกระทบพื้น จงหาว่าหน้าผาสูงกี่เมตร
แนวคิด    วิเคราะห์โจทย์ว่า  โจทย์ให้ปริมาณใดมาบ้าง
จากโจทย์    u  =  0  เพราะปล่อยจากจุดหยุดนิ่ง
s  =  ?
t  =  2
g  = 10

เลือกสูตรที่สุดคล้องกับปริมาณที่รู้ค่า และปริมาณที่ต้องการทราบ

จะได้สูตร                                     s  = ut + 1/2gtt
แทนค่าปริมาณที่ทราบค่า            s  = (0 x 2) + 1/2x 10 x(2)
s  = 0 + 1/2x 10 x 4
=  40/2
s  =  20        m

ที่มา  :    https://sites.google.com/site/fisiks602/

สาระสำคัญ

        วัตถุที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของความเร็วคงที่ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้นหรือช้าลงในหนึ่งหน่วยเวลา แสดงว่า วัตถุนั้นมีความเร่งคงที่ 

  โดยสมการที่เกี่ยวจะมี                                       

วัตถุเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ด้วย ความเร่ง a ณ เวลา t ใด ๆ

                        เมื่อ         v   คือ  ความเร็วสุดท้ายที่เวลา  t                      มีหน่วยเป็น   เมตรต่อวินาท ( m/s )

                                     u   คือ  ความเร็วเริ่มต้น ณ เวลาใด ๆ                 มีหน่วยเป็น   เมตรต่อวินาที  ( m/s ) 

                                     a   คือ  ความเร่งคงตัวค่าหนึ่ง                          มีหน่วยเป็น   เมตรต่อ(วินาที)2  ( m/s2 )

                                      t  คือ  เวลาที่สังเกต                                             มีหน่วยเป็น  วินาที  ( s )                                                                

 การเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว

                ในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนวตรง  เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ผลจะทำให้วัตถุนั้นจะเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลง ( ความเร็วเปลี่ยนแปลง )   ดังนั้นถ้าเร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือช้าลงอย่างสม่ำเสมอในกรณีนี้แสดงว่า วัตถุนั้นมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว  เมื่อนำความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับเวลาเป็นเขียนกราฟ จะได้กราฟเส้นตรง  ความชันของเส้นตรง คือ ความเร่งนั่นเอง 

วัตถุเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ด้วย ความเร่ง a ณ เวลา t ใด ๆ

         เราสามารหาสมการของระยะทางของการเคลื่อนด้วยความเร่งคงตัว ได้จากพื้นที่ใต้กราฟนี้

                      

วัตถุเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ด้วย ความเร่ง a ณ เวลา t ใด ๆ

เนื่องจากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างความเร็วกับเวลาคือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้

                                                                พื้นที่ใต้กราฟ       =  พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู

                                                                พื้นที่ใต้กราฟ       =  x ( ผลบวกของด้านคู่ขนาน )xสูง

ตัวอย่าง 1   วัตถุหนึ่งถูกด้วยขนาด 3 เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง จากขณะที่มีความเร็ว 5 เมตรต่อวินาที  จงหาความเร็วและการกระจัดของวัตถุเมื่อเวลาผ่านไป 6 วินาที

วิธีทำ                      จาก                                              v     =    u + at

                                                                                v     =    ( 5  m/s )+ ( 3 m/s2 ) ( 6 s )

                                                                                v     =    23  m/s

                 ตอบ      ความเร็วของวัตถุเมื่อเวลาผ่านไป 6 วินาทีเท่ากับ  23  เมตรต่อวินาที

                                จาก                             

                ตอบ        การกระจัดของวัตถุเมื่อเวลาผ่านไป 6 วินาทีเท่ากับ   84  เมตร

                                                        

วัตถุเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ด้วย ความเร่ง a ณ เวลา t ใด ๆ

                ตอบ        การกระจัดของวัตถุเมื่อเวลาผ่านไป วินาทีเท่ากับ   84  เมตร       

ตัวอย่าง 2    นักกรีฑาวิ่งออกจากจุดสตาร์ทด้วยความเร็ว 6 เมตรต่อวินาที และสามารถเร่งความเร็วได้ 4 เมตรต่อ(วินาที)2  จงหาว่าเมื่อเวลาผ่านไป 5 วินาที          จะวิ่งได้ระยะทางเท่าใด

วิธีทำ                      จาก                             S             =   ut + at2   

                                                                S             =   ( 6  m/s )( 5 s ) +  ( 4  m/s2 )(  5  s )2

                                                                S             =    80    m

                ตอบ        นักกรีฑาจะวิ่งได้ระยะทางเท่ากับ   80   เมตร