ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมง

ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ

มาตรฐานอาชีพ (Occupational Standard) เป็นการกำหนดมาตรฐานของสมรรถนะ รวมทั้งความรู้และความ เข้าใจที่คาดหวังว่าบุคคลจะบรรลุสำหรับอาชีพหนึ่ง มาตรฐานอาชีพนี้ใช้เป็นฐานในการกำหนดและประเมินเพื่อให้ได้ คุณวุฒิวิชาชีพ (Vocational Qualifications:VQ) มาตรฐานอาชีพทำโดยกลุ่มอาชีพเฉพาะนั้น ๆ บางครั้งเรียกว่ามาตรฐานสมรรถนะ”  

1.1      ความเป็นมา

          การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) เดิมเป็นภารกิจของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่ และกำหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล (Internationnal Standard Classification of Occupations : ISCO) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour OrganiZation : ILO) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บสถิติด้านแรงงานและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับนานาประเทศอย่างเป็นสากล ปัจจุบันการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) เป็นภารกิจของกระทรวงแรงงาน โดยการจัดหางาน ที่เป็นหน่วยงานในการดำเนินการจัดทำข้อมูลและกำหนดรหัสหมวดหมู่อาชีพตามหลักเกณฑ์เดียวกับการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล (ISCO) ซึ่งทาง ILO ได้ทำการปรับปรุง ISCO มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือ ปี ค.ศ. 1988 ซึ่งเป็นฐานของการจัดการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพของไทยในปัจจุบัน (กรมการจัดงาน.การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย). 2554)

ภาพที่ 1.1 แสดงภารกิจของกรมแรงงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.2      วัตถุประสงค์

          การจัดทำการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1)                  เพื่อปรับปรุงข้อมูลอาชีพของประเทศไทยให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลที่ได้มีการปรับปรุงใหม่

2)                  เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลอาชีพและสะดวกแก่การนำไปใช้ประโยชน์

3)                  เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการจัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

4)                  เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลอาชีพของประเทศไทย

1.3      ประโยชน์

          กรมการจัดหางานได้ดำเนินการจัดทำการจัดประเภทอาชีพเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องอาชีพ และเพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านแรงงาน เช่น การกำหนดค่าจ้าง การแนะแนวอาชีพ การฝึกอบรม การจ้างงาน รวมถึงการวิเคราะห์การเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากอาชีพ การที่มีระบบฐานข้อมูลเดียวกันสามารถจะนำข้อมูลสถิติไปอ้างอิงและเปรียบเทียบได้ทั้งในระดับหน่วยงานและกับระดับประเทศ

ภาพที่ 1.2 ภารกิจแสดงของกรมการจัดหางานเกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพหรือการฝึกงาน

1.4      การดำเนินงาน

          เนื่องจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ISCO) ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยต้องทำการปรับปรุงข้อมูลอาชีพให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการจัดประเภทมาตรฐานสากล การจัดประเภท มาตรฐานอาชีพไทยฉบับนี้ใช้เอกสารการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล ฉบับปี ค.ศ. 1988 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นหลัก และแนวทางในการดำเนินงาน โดยกรมการจัดหางาน ได้ดำเนินการดังนี้

1)                  แปลและศึกษาข้อมูลจากเอกสาร International Standard Classification of Occupation (ISCO) ปี ค.ศ. 1988 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริง

2)                  สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลอาชีพจากกิจการและสถานประกอบการต่าง ๆ ในประเทศ

3)                  ศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น เอกสารหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับต่าง ๆ เอกสารประกอบการจัดทำโครงสร้างอัตรากำลังละตำแหน่งงาน ในหน่วยงานภาครัฐ

4)                  เอกชน รวมทั้งการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

5)                  วิเคราะห์และเขียนร่างนิยามอาชีพ

6)                  ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพเฉพาะสาขา เพื่อพิจารณาตรวจแก้ไขร่างและให้คำแนะนำรวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนำเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและอุตสาหกรรม

1.5      กรอบแนวคิด

          งาน (Job) หมายถึง ภารกิจ (Task) หรือหน้าที่ (Duties) ที่ต้องปฏิบัติงานหลายงาน ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันรวมกันเข้าเป็นอาชีพ อาชีพ ในเอกสารฉบับนี้ หมายถึง งานซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งปฏิบัติอยู่ไม่หมายถึงอุตสาหกรรม กิจการ สถานการณ์ทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงาน ของผู้ปฏิบัติงาน

          ในการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลได้นำเอาทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถในการทำงานที่ ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ มาพิจารณาโดยดูถึงระดับของ ทักษะ (Skilllevel) และทักษะเฉพาะด้าน (Skill  Specialization) แบ่งทักษะออกเป็น 4 ระดับ โดยใช้ระดับการศึกษาเป็นตัวแบ่งหรืออธิบายถึงความสามารถ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการทำงานทั้งหมดต้องได้รับการศึกษาจากสถานศึกษาหรือการศึกษาในระบบ  (Formal Education) เท่านั้น แต่อาจจะได้ทักษะจากการฝึกอบรม อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Training) หรือจากประสบการณ์ทำงาน (Experience) ก็ได้ทักษะที่ต้องการเพียงแต่สามารถปฏิบัติงานหรือทำหน้าที่ได้  โดยไม่คำนึงว่า ผู้ประกอบอาชีพนั้นจะมีทักษะในการทำงานมากหรือน้อยกว่าบุคคลอื่นที่อยู่ในอาชีพเดียวกันตามทักษะทั้ง 4 ระดับที่เปรียบเทียบกับการศึกษาของไทยแล้วเป็น ดังนี้

1)                  ทักษะระดับที่ 1 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา

2)                  ทักษะระดับที่ 2 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา

3)                  ทักษะระดับที่ 3 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาสายอาชีพ ปวช. ปวส. อนุปริญญา

4)                  ทักษะระดับที่ 4 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป

เกณฑ์การจัดแบ่งระดับการศึกษาตามการจำแนกประเภทอาชีพที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์การจัดกลุ่มเบื้องต้น มีดังนี้

หมวดใหญ่

หมวดย่อย

หมู่

หน่วย

ระดับทักษะ/การศึกษา

1 ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส ผู้จัดการ

3

8

33

-

2 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ

4

18

55

4

3 ช่างเทคนิคสาขาต่าง ๆ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4

21

73

3

4 เสมียน, เจ้าหน้าที่

2

7

23

2

5 พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า และตลาด

2

9

23

2

6 ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือด้านการเกษตรและประมง

2

6

17

2

7 ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือในธุรกิจต่าง ๆ

4

16

70

2

8 ผู้ปฏิบัติการด้านเครื่องจักรในโรงงานและผู้ปฏิบัติ

3

20

70

2

9 อาชีพงานพื้นฐาน

3

10

25

1

0 ทหาร

1

1

1

*หมายเหตุ ในหมวดใหญ่ 1 และ 0 ไม่ได้กำหนดระดับการศึกษาไว้ เนื่องจากกลุ่มอาชีพในสาขาทั้ง 2 มีความแตกต่างกันมากจนทำให้ไม่สามารถจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพได้ 

1.6      โครงสร้างการจัดประเภทอาชีพ

          กรมการจัดหางาน ได้จัดแบ่งโครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งประเภทอาชีพ เช่นเดียวกับการจัดแบ่งประเภทมาตรฐานอาชีพสากล ปี พ.ศ. 2531 (Intermational Standard Classification of Occupations 1988 : ISCO) โดย ISCO จะจัดแบ่งจัดประเภทอาชีพ ออกเป็นหมวดใหญ่ (major) หมวดย่อย (Sub major) หมู่ (Group) และหน่วย (Unit) เท่านั้น ในระดับตัวอาชีพ (Occupation) จะเป็นหน้าที่ของแต่ละประเทศในการพิจารณาจัดจำแนกและจัดทำรายละเอียดอาชีพซึ่งจะแตกไปตามโครงสร้างเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของแต่ละประเทศ

          การจัดจำแนกประเภทอาชีพจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มในระดับต่าง ๆ และกำหนดเลขรหัสในแต่ละระดับด้วยเลขตั้งแต่ 1 – 6 หลัก โดยเลขรหัสอาชีพแต่ละหลักจะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพและกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกันหลักการจัดทำโครงสร้างการจัดประเภทอาชีพและวิธีการให้เลขรหัส มีดังนี้

ชื่ออาชีพ

เลขรหัส

หมวดใหญ่

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ

      2

หมวดย่อยในหมวดใหญ่

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านฟิสิกส์,คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

21

หมู่ในหมวดย่อย

นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์

213

หน่วยในหมู่

โปรแกรมเมอร์, นักเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์

2132

ตัวอาชีพในหน่วย

นักออกแบบเว็บไซต์, เว็บมาสเตอร์

2132.20


1.6.1       
หลักการใช้เลขรหัส

          ในช่วงระหว่างการดำเนินการจัดทำการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ คือ Mr. Edwin Hoffman ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมดำเนินการปรับปรุงและจัดทำข้อมูลการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลมาให้ความรู้และอธิบายหลักเกณฑ์โครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล และได้เน้นย้ำให้ประเทศสมาชิกที่นำ ISCO ไปปรับใช้ให้กำหนดเลขรหัสตั้งแต่ระดับหมวดใหญ่ (MAJOR) ถึงหน่วย (Group) เป็นเลขรหัสเดียวกับสากล โดยแต่ละประเทศสามารถจะเพิ่มเลขตั้งแต่ระดับหมวดย่อยถึงหมู่ได้แต่ต้องไม่เป็นเลขรหัสที่ซ้ำกับเลขรหัสสากล และหากเลขรหัสในระดับใดก็ตามไม่ปรากฏกลุ่มอาชีพ ในประเทศนั้นก็จะสามารถจะคงเลขรหัสไว้หรือข้ามเลขรหัสนั้นไปได้ โดยต้องไม่นำกลุ่มอาชีพถัดไปหรือกลุ่มอาชีพที่เพิ่มเติมเข้ามาใช้เลขรหัสดังกล่าว ครั้งนี้เพื่อให้มิเกิดความสับสนของเลขรหัสที่เป็นสากล

-                   การให้เลขรหัสของการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ฉบับนี้ตั้งแต่เลขที่ระดับหมวดใหญ่ หมวดย่อย หมู่และหน่วยจะให้เลขรหัสเหมือนกับของการจัดประเภทมาตรฐาน อาชีพสากล (ฉบับปี พ.ศ. 2531) ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะและเพื่อให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกับนานาประเทศได้

-                   การให้เลขรหัสในหมู่อาชีพ (Group เลขรหัส 4 หลัก) ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 9 หมายถึง อาชีพอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถจัดประเภทไว้ในหมู่อาชีพใด ๆ จะมารวมกันไว้ในหมู่อาชีพนี้

-             การให้เลขลักษณะตัวอาชีพ ซึ่งแสดงถึงตัวอาชีพที่อยู่ในหน่วยอาชีพใดหน่วยอาชีพหนึ่งนั้น จะให้เลขรหัสเรียงไปตามลำดับ โดยปกติจะมีช่วงห่างระหว่าง 10, 20, 30 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอาชีพที่มีอยู่ในหน่วยอาชีพเดียวกัน ถ้าช่วงห่างระหว่างเลขรหัสอาชีพในหน่วยอาชีพสั้น แสดงให้เห็นว่าอาชีพเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดยิ่งกว่าอาชีพอื่น ๆ ที่อยู่ในหน่วยอาชีพเดียวกัน เช่น อาจเป็น 10, 15 หรือ 10, 12, 14, 16, 18 เป็นต้น

-                   เลขรหัสสองตัวสุดท้ายของตัวอาชีพ เลขรหัสหลักที่ 5 ที่ลงท้ายด้วย 10 แสดงให้เห็นว่า อาชีพนั้นเป็นอาชีพที่มีลักษณะงานแบบทั่ว ๆ ไปหรือลักษณะงานของอาชีพนั้นครอบคลุมไปหมดทุกอาชีพที่อยู่ในหน่วยเดียวกันไม่ได้ทำงานหรือมีความชำนาญงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ

-                   เลขรหัสสองตัวสุดท้ายของตัวอาชีพ เลขรหัสหลักที่ 5 ที่ลงท้ายด้วย 90 หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานเบ็ดเตล็ด ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีพอื่น ๆ ในหน่อยอาชีพเดียวกัน แต่เป็นงานซึ่งไม่มีความสำคัญเพียงพอที่จะจัดประเภทออกเป็นตัวอาชีพเลขรหัสหลักที่ 5 ได้

1.6.2        หลักการให้ชื่ออาชีพ

สำหรับชื่อของกลุ่มอาชีพ ตั้งแต่ระดับหมวดใหญ่ถึงหน่วยอาชีพนั้นจะใช้ตามอย่างมาตรฐานสากล คือ

หมวดใหญ่      ให้ชื่อที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะงาน ซึ่งบุคคลนั้นทำอยู่ เช่น งานจัดการ งานที่ต้องใช้วิชาชีพ งานบริการ งานเสมียน พนักงานหรือพนักงานด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ

หมวดย่อย      ให้ชื่อกลุ่มอาชีพที่จำแนกย่อยจากหมวดใหญ่โดยจะแสดงถึงลักษณะงานที่จำแนกออกเป็นส่วน ๆ ชัดเจนขึ้น

หมู่     จะเป็นชื่อกลุ่มอาชีพที่จำแนกย่อยจากหมวดย่อยและแสดงถึงลักษณะงานที่ขีดวงจำกัดขึ้น อาจใช้ชื่ออย่างเดียวกับหน่วยอาชีพซึ่งอยู่ในหมู่นั้นโดยรวม ชื่อหน่วยงานอาชีพทุกหน่วยหรือเพียงบางหน่วย

หน่วย  เป็นกลุ่มอาชีพที่จำแนกย่อยจากหมู่และชื่อจะแสดงถึงกลุ่มตัวอาชีพที่อยู่ในหน่วยงานอาชีพนั้น ๆ

ตัวอาชีพ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด จำแนกย่อยจากหน่วยอาชีพ การให้ชื่อตัวอาชีพและกลุ่มอาชีพนี้ได้ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ และเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามได้พยายามรวบรวมและใส่ชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่นหรือในตลาดแรงงานกำกับไว้ด้วย เพื่อสะดวกแก่ผู้ประโยชน์

1.6.3        หลักการเขียนนิยามอาชีพ

นิยามอาชีพของกลุ่มอาชีพในระดับ หมวดใหญ่ หมวดย่อย หมู่และหน่วยนั้น ส่วนใหญ่เป็นนิยามอาชีพที่ทำการคัดลอกจากนิยามอาชีพสากล โดยผ่านการพิจารณาและปรับให้เข้ากับสภาข้อเท็จจริงของประเทศ ซึ่งนิยามแต่ละกลุ่มจะแสดงถึงความหมายของหน้าที่และลักษณะงานของกลุ่มอาชีพนั้น

นิยามอาชีพในเอกสารฉบับนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ได้สละทั้งเวลาความรู้และความสามารถในการช่วยแก้ไขร่าง พร้อมให้ข้อเสนอแนะจนได้นิยามอาชีพแต่ละอาชีพโดยมีรูปแบบการเขียนนิยามอาชีพ ดังนี้

นิยามของตัวอาชีพแต่ละตัวจะแสดงถึงลักษณะงานอาชีพที่ต้องปฏิบัติ โดยแยกเนื้อหาออก ดังนี้ ในประโยคแรกจะเป็นการอธิบายถึงลักษณะหน้าที่งานหลักของตัวอาชีพซึ่งจะจบด้วยเครื่องหมาย : ประโยคหลังเครื่องหมาย : จะเป็นการบรรยายลักษณะงานหรือการปฏิบัติ ซึ่งในบางหน่วยอาชีพจะบรรยายตามลำดับขั้นตอนงานและแยกประโยคด้วยเครื่องหมาย , บางอาชีพมีการบรรยายถึงลักษณะงานส่วนย่อยซึ่งบางคนอาจทำงานส่วนนี้อยู่ด้วยหรือไม่ขึ้นกับขนาดของสถานประกอบการหรือองค์กร และจะขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า อาจ

ข้อสังเกต

เนื่องจากความแตกต่างทางด้านการศึกษาของผู้ประกอบการอาชีพในละประเทศ เช่น บางอาชีพในสาขาต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอนสุขอนามัยและสังคม บางประเทศจำเป็นต้องมีการศึกษาในระดับปริญญา เพื่อปฏิบัติงานในอาชีพต่าง ๆ เหล่านี้ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ อาจต้องการเพียงผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเท่านั้น ฉะนั้น ในการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลจึงได้มีการสร้างกลุ่มอาชีพขึ้น 2 กลุ่มที่ขนานกัน คือ กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ 2 และหมวดใหญ่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มช่างเทคนิคและวิชาชีพสาขาต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันในฐานการศึกษาสามารถจัดจำแนกประเภทอาชีพดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม

สำหรับหมวดใหญ่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการผลิตนั้นมีความใกล้เคียงในลักษณะงานแต่แตกต่างกันในด้านฝีมือและความสามารถที่ต้องการกล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่ 7 จะเน้นหนักไปทางด้านการใช้ฝีมือและความสามารถในการปฏิบัติงาน อาจมีเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรประกอบการปฏิบัติงานบ้าง ในขณะที่หมวดใหญ่ 8 จะเน้นหนักไปทางด้านการควบคุมและใช้เครื่องจักรในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรู้วิธีการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัยและซับซ้อน

สำหรับอาชีพบางสาขาอาชีพที่ต้องใช้หลักการทางด้านเทคนิคหรือความรู้เฉพาะ จะพิจารณากำหนดอาชีพไว้ในหน่วยอาชีพด้านเทคนิค (หมวดใหญ่ 3) แต่มีบางหน่วยอาชีพ เช่น หน่วยที่ทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และคุณภาพ ถ้าเป็นการตรวจสอบและทำงานด้านเทคนิค จะจัดไว้ในหน่วยอาชีพ 3152 แต่ถ้าเป็นการตรวจสอบคุณภาพในสายงาน (Quality Control, QC) จะจัดประเภทไว้กับผู้ปฏิบัติงานในด้านการผลิตนั้น ๆ เช่นเดียวกับการควบคุมดูแลหรือการเป็นหัวหน้างาน หัวหน้าซึ่งต้องปฏิบัติงานในสายงานด้วยจะจัดไว้ในสายงานเทคนิคหรือปฏิบัติตามประเภทงาน แต่ถ้างานหลักประกอบด้วยงานด้วยงานด้านวางแผนจัดการ จะจัดไว้ในกลุ่มอาชีพด้านการบริหารจัดการ คือ หมวดย่อยที่ 12 และ 13

สำหรับที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ เป็นการกำหนดตำแหน่งในการพิจารณาอาชีพให้พิจารณาว่าให้คำปรึกษาด้านใดหรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพใดให้จัดแยกไว้ในกลุ่มอาชีพนั้น ๆ สำหรับผู้ที่ฝึกงานได้กำหนดไว้เป็นกลุ่ม T แต่ถ้าหากจะนับรวมเป็นอาชีพให้พิจารณาว่าฝึกงานในสาขาอาชีพใดให้จัดจำแนก ไว้ตามงานอาชีพที่ทำการฝึกนั้น (http://www.doe.go.th)

หมวดใหญ่ 1 ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส ผู้จัดการ

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้บัญญัติกฎหมาย รัฐบาลแหละผู้จัดการของวิสาหกิจและองค์การต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ พิจารณาตัดสินใจ กำหนดวิทีการ กำกับดูแล หรือแนะนำเกี่ยวกับนโยบายเกี่ยวกับรัฐบาลในระดับต่างๆ หรือนโยบายขององค์กร บัญญัติกฎหมาย กฎและระเบียบสาธารณะชนต่างๆ เป็นตัวแทนของรัฐบาลหรือปฏิบัติงานแทนในนามของรัฐบาลรวมถึงพรรคการเมือง สหภาพ วิสาหกิจ และองค์กรต่างๆ

กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

11.      ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส

12.      ผู้จัดการบริษัท เจ้าหน้าที่บริหารของหน่วยงานเองชน

13.      ผู้จัดการทั่วไป (จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม :ISIC)

หมวดใหญ่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ที่ทำงานวิเคราะห์ วิจัย  รวมถึงการสร้างแนวคิดทฤษฎีใหม่ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ให้คำแนะนำความรู้ทางวิชาชีพ วิชาการด้านวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์กายภาพ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กีฬาและศิลปะ

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

21.      ผู้ประกอบวิชาชีพด้านฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

22.      ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์เกียวกับสิ่งมีชีวิตและสุขอนามัย

23.      ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการสอน

24.      ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอื่น ๆ

หมวดใหญ่ 3 ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ที่ทำงานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าวิจัย และการประยุกต์ใช้ความคิดและวิธีปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ สังคมวิทยา มนุษยศาสตร์ การศึกษา ศาสนา ศิลปะ และกีฬา รวมถึงการควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

31. ผู้ปฏิบัติงานเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์

32. ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต และสุขอนามัย

33. ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสอน     

34. ปฏิบัติงานเทคนิคที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

หมวดใหญ่ 4 เสมียน เจ้าหน้าที่

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล ตัวเลขและสถิติในเรื่องต่าง ๆ อาจเป็นเจ้าหน้าที่ในห้องสมุด ไปรษณีย์ สำนักงาน ผู้ที่ให้บริการลูกค้าทางด้านการเงินและข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการควบคุมดูแลปฏิบัติงานอื่น ๆ

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

41.   เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน เสมียนสำนักงาน

42.   เจ้าหน้าที่บริการลูกคา

หมวดใหญ่ 5 พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ให้บริการต่าง ๆ ในระหว่างการเดินทาง การดูแลบ้านเรือน การจัดเตรียมและการบริการอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ การดูแลเด็ก การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการดูแลอื่น ๆ ในบ้านเรือนหรือสถานที่ต่าง ๆ การให้บริการส่วนบุคคล เช่น การเสริมสวย การทำนายโชคชะตา การป้องกันภัยต่อบุคคลและทรัพย์สินอันเกิดจากอัคคีภัยและการกระทำผิดกฎหมาย งานแสดงแบบเพื่อการโฆษณา และงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะ การแสดงและการสาธิตสินค้าเพื่อการขาย

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

51. ผู้ให้บริการส่วนบุคคลและบริการด้านความปลอดภัย

52. นายแบบ นางแบบ พนักงานขาย และพนักงานสาธิตสินค้า

หมวดที่ 6 ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมง

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงทำงานปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ล่าสัตว์ และประมง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตสำหรับการจำหน่ายและการดำรงชีพ

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

61. ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและการประมงเพื่อการขาย

62. ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมงเพื่อการดำรงชีพ

หมวดที่ 7 ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่าง ๆ

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่ ได้แก่ ผู้ที่ใช้ฝีมือและความชำนาญเฉพาะด้านมาประยุกต์ใช้กับงานในด้านการทำเหมืองแร่ การก่อสร้าง การขึ้นรูปโลหะการติดตั้งและการปรับใช้เครื่องจักร การใช้ฝีมือในงานหัตถกรรม การพิมพ์ ละงานฝีมืออื่น ๆ รวมถึงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรหรือเครื่องมือเพื่อการใช้งานและการควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

71. ผู้ปฏิบัติงานในเหมืองแร่และงานก่อสร้าง

72. ผู้ปฏิบัติงานด้านโลหะ เครื่องจักรและงานอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

73. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ งานหัตถกรรม งานการพิมพ์และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

74. ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ฝีมืออื่น ๆ

หมวดใหญ่ 8 ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ที่ควบคุมดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ ณ จุดที่เครื่องจักรทำงานหรือโดยวิธีการควบคุมจากจุดอื่น ในงานอุตสาหกรรมและงานกสิกรรม รวมถึงผู้ที่ทำงานด้านการบังคับและขับเคลื่อนรถไฟ ยานยนต์หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การแปรูปโลหะ อุตสาหกรรม เครื่องแก้ว เซรามิก ยาง ไม้ พลาสติก กระดาษ สิ่งทอ ขนสัตว์ เครื่องหนัง และการผลิตอาหาร เป็นต้น

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

  81. ผู้ควบคุมเครื่องจักรประจำที่ภายในโรงงาน

82. ผู้ควบคุมเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ

83. ผู้ควบคุมการขับเคลื่อนยานยนต์และเครื่องจักรที่เคลื่อนที่ได้

หมวดที่ 9 อาชีพงานพื้นฐาน

          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพในหมวดใหญ่นี้ ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเรียบง่ายและเป็นประจำหรือทำซ้ำ ๆ หากมีการใช้เครื่องมือก็จะเป็นเครื่องมือแบบใช้มือถือ ไม่ซับซ้อนและใช้แรงกาย อาชีพในหมวดนี้รวมถึง ผู้ขายสินค้าและให้บริการตามท้องถนน ที่สาธารณะ บริการทำความสะอาด ซักล้าง รีดผ้า ดูแลบ้านพัก ห้องเช่า โรงแรม สำนักงานและอาคารสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ บริการรับส่งข้อมูล เอกสาร ขนสัมภาระ เฝ้าประตู ยามรักษาการณ์ในสถานที่ต่าง ๆ กวาดถนน ขนขยะ รวมถึงการปฏิบัติงานเรียบง่ายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง ล่าสัตว์ เหมืองแร่ ก่อสร้าง การผลิตและประกอบสินค้าด้วยมือ รวมทั้งการขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยแรงกาย เช่น รถเข็น สามล้อถีบ เป็นต้น

          กลุ่มอาชีพในหมวดใหญ่ มีดังนี้

91. อาชีพงานพื้นฐานต่าง ๆ ด้านการขายและการให้บริการ

92. แรงงานด้านเกษตร ประมงและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  93. แรงงานเหมืองแร่ ก่อสร้าง การผลิตและการขนส่ง