หลังถอนฟันกราม

หลังการถอนฟัน คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

อย่างที่หลายๆท่านทราบกันเป็นอย่างดีว่า การรักษาฟันที่ดีที่สุด คือการที่รักษาโดยไม่ต้องถอนฟันแท้ตามธรรมชาติ แต่หากว่าฟันซี่ที่มีปัญหานั้น เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงสิ่งที่ควรทำที่สุดที่ทันตแพทย์จะแนะนำก็คือ “การถอนฟัน” เพราะการถอนฟันคือการหยุดยั้งการลุกลามของเชื้อโรคให้แพร่กระจายไปในส่วนของฟันซี่อื่นๆ แต่ถึงอย่างไรทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยและแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับท่านแน่นอน

ซึ่งในวันนี้ทางด้าน Idol Smile Dental Clinic จะขอพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการถอนฟัน รวมถึงวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้องหลังจากการถอนฟัน เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปใช้จริงได้อย่างปลอดภัย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนการดูแลรักษาให้ถูกต้องและปลอดภัย หลังจากการถอนฟัน ?

ต้องขอบอกเลยว่าแผลจากการถอนฟันนั้นจะหายได้เองตามธรรมชาติโดยใช้ระยะเวลาไม่กี่วัน แต่การดูแลรักษาให้ถูกต้องก็จะช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นรวมถึงลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

– ให้น้ำผ้าก๊อซที่ใช้ปิดแผลมากัดไว้ตรงบริเวณปากแผลที่ทำการถอนฟัน แต่ไม่ควรกัดแรงเกินไปแค่พอให้ซับเลือดและอุดปากแผล หากว่าผ้าก๊อซเริ่มชุ่มเลือดมากเกินไปให้เปลี่ยนใหม่ เพราะทันตแพทย์จะให้มาเตรียมไว้หลายอัน โดยกัดปิดปากแผลไว้ประมาณ 45 นาที หลังจากที่ทำการถอนฟัน

– หากมีอาหารปวดให้รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ และให้นำน้ำแข็งมาประคบเย็นที่ข้างแก้มบริเวณที่ถอนฟันประมาณ 20 นาที ก็จะสามารถช่วยให้หายปวดปวมได้

– ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากการถอนฟัน ไม่ควรบ้วนปากด้วยความแรง เพราะจะทำให้ลิ่มเลือกปากแผลที่เริ่มแข็งตัวแล้วหลุดได้ ส่งผลให้เกิดเลือดไหลต่อเนื่องอีกครั้ง

– หลังจาก 24 ชั่วโมงจากการถอนฟัน สามารถให้ทำการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งบ่อยก็ยิ่งดี แต่พยายามอย่าบ้วนแรงโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ปากแผลเปิดมีเลือดไหล ส่งผลให้แผลหายช้าได้

– สามารถรับประทานอาหารได้แต่ต้องเป็นอาหารที่ไม่ต้องใช้การบดเคี้ยว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยจะค่อยๆรับประทานอาหารที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวเพิ่มมากขึ้นตามปกติได้ในระยะเวลาต่อมา แต่ในช่วงแรกๆพยายามอย่าบดเคี้ยวด้านที่ถอนฟัน

– ไม่ควรนอนราบ ให้พยายามยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัวในการนอนอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลจากแผล ส่งผลให้แผลหายช้าขึ้นไปอีก

– อย่าดูด หรือใช้ลิ้นดันหรือเล่นบริเวณแผลที่ทำการถอนฟัน เพราะอาจจะทำให้แผลหายช้า และอักเสบตามมาได้

– ไม่ควรใช้หลอดดูดน้ำในระยะแรก เพราะแรงดูดจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นแผลถอนฟัน อาจจะทำให้เลือดไหลออกมาอีกได้ แผลที่ใกล้ปิดสนิทก็จะเปิดทำให้หายช้าขึ้นไปอีก

– พยายามไม่ออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานหนักหลังจากถอนฟันเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกมาอีก

– หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่จนกว่าแผลจะหาย เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้แผลหายช้ามากยิ่งขึ้น

– สามารถแปรงฟันหรือทำความสะอาดช่องปากได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการแปรงบริเวณที่ถอนฟัน เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบ เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อหรืออักเสบได้

– หากว่ามีอาการคลื่นไส้ มีไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจไม่ออก หรือเจ็บหน้าอก รวมถึงมีเลือดไหลไม่หยุด ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมงหลังจากการถอนฟัน ให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์ในทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการถอนฟัน ?

ตามปกติแล้วการฟื้นตัวจากการถอนฟันจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน แต่หากว่าไม่หายหรืออาการไม่ดีขึ้นให้พยายามสังเกตอาการ เนื่องจากอาจจะมีผลข้างเคียงบางอย่าง ที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้รับบาดเจ็บซึ่งเกิดจากเครื่องมือของทันตแพทย์ที่ขาดความระมัดระวัง

ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยสุด คือ อันตรายต่อโครงสร้างกระดูก เช่น การแตกหักของเพดานเหงือก ฟันกราม และฟันตัดล่าง หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นทันตแพทย์จำเป็นจะต้องนำฟันที่แตกร่วมออกด้วยพร้อมฟันซี่ที่ถอน และรอจนกว่าเนื้อเยื่ออ่อนจะประสานกัน

และภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การถอนฟันกรามซี่ที่อยู่ใกล้กับโครงกระดูกโพรงจมูกบริเวณโหนกแก้ม อาจจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไซนัสอักเสบได้

หลังถอนฟันกราม

Apr
29
2016

การถอนฟัน การรักษาฟันที่รวดเร็วที่สุด

               การถอนฟัน ถือเป็นหนึ่งในการรักษาสุขภาพช่องปากไว้ค่ะ และแน่นอนว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด แต่เราก็ต้องยอมรับการสูญเสียฟันของเราไปด้วยค่ะ

สภาวะฟันที่ต้องถอน

  1. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันหรือฟันที่มีหนองปลายรากฟันและมีอาการบวมบริเวณหน้าอย่างมาก ไม่สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมด้านอื่นๆ เช่น การรักษาคลองรากฟัน
  2. ฟันที่มีโรคปริทันต์รอบๆตัวฟันที่รุนแรงอาจจะร่วมกับการเป็นหนองปริทันต์
  3. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุในลักษณะฟันหักหรือขากรรไกรหักผ่านฟันซึ่งทันตแพทย์พิจารณามาแล้ว ไม่สามารถเก็บไว้ได้
  4. ฟันคุดหรือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากตามปกติ
  5. ฟันที่มีพยาธิสภาพ เช่น เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
  6. ฟันเกินที่ขึ้นมาในลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบ
  7. ฟันลักษณะอื่นๆ เช่น ฟันที่มีรูปร่างผิดปกติหรือฟันที่ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติที่ไม่ได้ใช้งาน

การเตรียมตัวก่อนถอนฟัน

  1. เตรียมร่างกายให้พร้อมเช่น พักผ่อนหลับนอนให้เต็มที่
  2. จิตใจพร้อมที่จะถอนฟัน หากท่านกลัวหรือเครียดมากควรบอกทันตแพทย์หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบด้วย
  3. รับประทานอาหารแต่พอประมาณ อย่าปล่อยให้หิวมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้เป็นลมได้ง่ายในขณะถอนฟัน
  4. ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไปเพราะอาจเกิดปัญหาภายหลังถอนฟันได้ เช่น ทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนได้

ผู้มีโรคประจำตัวควรทำอย่างไร

ก่อนทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำการสัมภาษณ์ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย วัดความดันโลหิต ตรวจนับชีพจร ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคเลือด ควรบอกให้ทันตแพทย์ทราบอย่างละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่มี ประวัติโรคเลือดออกง่าย หยุดยาก ควรถอนฟันภายในโรงพยาบาลเพราะอาจจะต้อง เตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนถอนฟันเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดภายหลังการถอนฟัน