ปัญหาทางการเมืองของทวีปแอฟริกา

การขับเคี่ยวกันของขั้วอำนาจของโลกคือขั้วองค์การนาโตที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ กับขั้วองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ที่มีรัสเซีย จีน อินเดีย อิหร่าน เกาหลีเหนือ เป็นผู้นำ ได้ขยายวงแห่งความขัดแย้งและการช่วงชิงในทุกมิติไปทุกปริมณฑลของโลก

รวมทั้งทวีปแอฟริกา ซึ่งคนทั้งหลายจะติดภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน หรือป่าดงดิบ หรือดินแดนที่มีคนกินคน หรืออย่างดีก็นึกถึงสภาพทวีปที่เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ ในขณะที่สภาพความเป็นจริงทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามากมาย และตกเป็นเป้าหมายตาของชาติมหาอำนาจทั้งหลาย

เป็นแต่ว่าวิธีในการที่จะเข้าไปมีส่วนในทรัพยากรอันล้ำค่าของทวีปแอฟริกานั้นแตกต่างกัน บางขั้วก็ใช้วิธีการส่งออกประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นกองหน้า โดยมีสงครามกลางเมืองเป็นกองทัพหลวง ส่วนอีกบางขั้วก็ใช้วิธีร่วมมือกันค้าขายแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน และช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง

จึงทำให้สถานการณ์ในทวีปแอฟริกามีสภาพสองอย่างเกิดขึ้นควบคู่กันไป คือสภาพความขัดแย้งและสงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นผลิตผลของมหาอำนาจชาติตะวันตก และการพัฒนาการค้าส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ โดยเป็นผลิตผลของมหาอำนาจชาติตะวันออก

เพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของขั้วอำนาจแต่ละขั้ว ก็มีการปฏิบัติการที่แตกต่างกัน โดยขั้วหนึ่งได้สร้างความขัดแย้งขึ้นภายในแต่ละประเทศของทวีปแอฟริกา และส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ไปให้แต่ละฝ่ายได้ประหัตประหารกัน โดยได้รับค่าอาวุธเป็นกำไร และฝ่ายไหนชนะก็ถือเอาเป็นเจ้าบุญนายคุณ เข้าไปยึดทรัพยากรต่างๆ และในที่สุดประชาชาติของประเทศนั้นๆ ก็ทนไม่ไหว และลุกขึ้นต่อสู้ปลดแอก

ส่วนอีกขั้วหนึ่งก็ขยายกิจการค้าขายเข้าไปในทวีปแอฟริกาอย่างกว้างขวาง แทบจะเรียกว่าทุกพื้นที่ที่เคยเป็นป่าดงพงไพรและถิ่นทุรกันดารก็ถูกบุกเบิกให้มีความเจริญ มีการพัฒนา มีถนนหนทาง มีการอุตสาหกรรม มีการท่องเที่ยว และมีการส่งออกทรัพยากรต่างๆ

และเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ก็จำเป็นอยู่เองที่ต้องวางกำลังแสนยานุภาพขึ้นในจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังเช่น การจัดตั้งฐานทัพของจีนที่จิบูตี ใกล้กับปากอ่าวทะเลแดง เป็นต้น

ดังนั้นภายใต้สภาพสองกระแสที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา คือกระแสความขัดแย้งและสงครามกับกระแสแห่งสันติภาพและการพัฒนา ที่เกิดขึ้นและขับเคี่ยวกันอยู่อย่างถึงพริกถึงขิงนั้นจึงเป็นรากฐานและเหตุปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทวีปแอฟริกา

ทว่าทิศทางหลักของพัฒนาการแห่งสังคมมนุษย์นั้น ด้านหลักก็คือสันติภาพและการพัฒนา โดยด้านรองจะเป็นด้านแห่งความขัดแย้งและสงคราม และในที่สุดด้านความขัดแย้งและสงครามก็จะเป็นฝ่ายปราชัยให้แก่ด้านสันติภาพและการพัฒนา

เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกถิ่นที่ที่ใฝ่หาสันติภาพและการพัฒนาและที่จะต่อต้านความขัดแย้งและสงคราม ซึ่งมีแต่จะเดือดร้อน สูญเสีย และเสียหาย แม้ในบางช่วงเวลาจำเป็นจะต้องใช้กลไกความขัดแย้งและสงคราม แต่ในที่สุดก็ต้องหวนกลับไปหาสันติภาพและการพัฒนา

เหตุนี้สภาพการณ์อันเป็นไปในทวีปแอฟริกา กระแสแห่งสันติภาพและการพัฒนาจึงยังคงเป็นกระแสหลัก ส่วนกระแสความขัดแย้งและสงครามจะเป็นกระแสรอง ทิศทางการต่อสู้สองกระแสดังกล่าวขับเคี่ยวกันมานับสิบปีแล้ว

มาถึงวันนี้เริ่มปรากฏความชัดเจนขึ้นแล้วว่า กระแสสันติภาพและการพัฒนาได้กลายเป็นกระแสหลักของทวีปแอฟริกาไปแล้ว เป็นผลให้ทวีปแอฟริกาซึ่งใหญ่โตกลายเป็นตลาดสำคัญของกลุ่มประเทศองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ ที่สำคัญคือจีนและรัสเซีย และกำลังขยายผลไปยังมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สกุลเงิน การเมือง การปกครอง และความมั่นคง ซึ่งเชื่อมโยงขึ้นไปถึงตะวันออกกลางด้วย

ทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยูเรเซีย เอเชียใต้ ยุโรป และเอเชียตะวันออก จึงเป็นผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ที่มีประชากรกว่าค่อนโลก และก็คือตลาดที่ยิ่งใหญ่ของโลกด้วย

การทำสงครามทางการค้าของสหรัฐ แม้หนักหน่วงรุนแรงปานใด และแม้ว่าการคว่ำบาตรจะทรงอำนาจสักปานใด แต่ภายใต้สถานการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้นกลับดูเหมือนว่าการทำสงครามการค้าก็ดี การคว่ำบาตรต่างๆ ก็ดี แทนที่จะเป็นพิษเป็นภัยแก่ประเทศที่ถูกคว่ำบาตรหรือถูกประกาศสงครามการค้า ผลร้ายกลับย้อนศรตกแก่สหรัฐอเมริกามากกว่าใคร

เพราะอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้นเท่าใด ชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้บริโภคต่างหากที่ได้รับความเดือดร้อนที่แท้จริง เพราะฐานะของสหรัฐทุกวันนี้เป็นประเทศผู้บริโภค จึงต้องรับผลจากการบริโภคสิ่งของทั้งหลายในราคาที่สูงขึ้น

แม้กระทั่งการคว่ำบาตรทางการค้าที่กระทำต่อหลายประเทศ ก็เป็นผลให้ประเทศเหล่านั้นหันไปจับมือค้าขายกันเองด้วยสกุลเงินของตนเอง โดยมีตลาดกว่าค่อนโลกรองรับ ในขณะที่สหรัฐซึ่งเป็นประเทศผู้คว่ำบาตรนั้นกำลังโดดเดี่ยวมากขึ้นทุกที

และในที่สุดก็จะเป็นฝ่ายได้รับผลร้ายจากการคว่ำบาตรนั้น คือทำลายทั้งมิตรประเทศและผลประโยชน์ของชาวอเมริกันด้วย

มาตรการสงครามการค้าและการคว่ำบาตรที่เคยเปล่งอานุภาพในยุคก่อน แต่ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ผลที่เกิดขึ้นก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นเหตุให้ทวีปแอฟริกาทั้งทวีปในวันนี้กลายเป็นตลาดของกลุ่มองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ไปอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว

ก่อนที่จะมีคลองสุเอซ ใต้สุดของทวีปแอฟริกาซึ่งก็คือแหลมกู๊ดโฮป เมืองเคปทาวน์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีความสำคัญเพราะเป็นทางผ่านของเรือทุกประเภทที่เดินทางไปมาระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก

ผู้คนในทวีปแอฟริกาในอดีตถูกนำไปเป็นทาสของชาวอาหรับและคนผิวขาว เมื่อคนผิวขาวเข้าไปลงหลักปักฐานในทวีปแอฟริกาแล้ว ก็ตั้งลัทธิการปกครองที่แบ่งแยกสีผิวชัดเจน เช่น ลัทธิอะพาไทด์ ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

คนผิวขาวในแอฟริกาใต้ได้ประโยชน์และสิทธิทางการเมืองสูง ในรัฐสภามีแต่คนผิวขาว ค.ศ.1949 มีกฎหมายห้ามการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ค.ศ.1950 มีกฎหมายห้ามมีเพศสัมพันธ์ข้ามเชื้อชาติ ย้อนหลังไป ค.ศ.1912 มีกลุ่มการเมืองของคนผิวสีและคนผิวดำตั้งขึ้นชื่อว่า African National Congress หรือ ANC คนที่เด่นในการต่อสู้กับคนผิวขาวคือ เนลสัน แมนเดลา

การเลือกตั้ง 27 เมษายน 1994 พรรค ANC ของแมนเดลาชนะด้วยคะแนนเสียงอันดับ 1 ทำให้แมนเดลาเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แมนเดลาเป็นประธานาธิบดีได้ 5 ปี ก็มีประธานาธิบดีคนใหม่ ทาบอ อึมแบกี ท่านผู้นี้เป็นผู้นำอยู่นานถึง 9 ปี ตามด้วย กคาลิมา มุตลาอึนแท เป็นประธานาธิบดีได้ไม่ถึงปี

คนที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้คือ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนที่ 4 ที่ชื่อ จาค็อบ ซูมา แกชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อ ค.ศ.2009 เป็นอยู่นานจนถึง ค.ศ.2018 ก็ลาออก เส้นทางการเมืองของซูมาไม่ค่อยราบรื่น แกมักจะเจอข้อหานั้นข้อหานี้มาโดยตลอด ตั้งแต่ข้อหาข่มขืน กรรโชกทรัพย์ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ฉ้อโกง หนีภาษี ฯลฯ แต่ทุกข้อหาได้รับการยกฟ้อง ระหว่างที่เป็นผู้นำเกือบทศวรรษ แกโดนฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจมากถึง 8 ครั้ง

ซูมาเคยนำงบหลวงไปปรับปรุงบ้านพักเป็นเงินมากถึง 482 ล้านบาท ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ซูมานำเงินงบประมาณในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรการด้านความปลอดภัยมาคืน ซูมาโดนข้อหาอื่นอีกหลายคดี แต่แกขึ้นศาลเพียงครั้งเดียวเมื่อ ค.ศ. 2019 หลังจากนั้นก็ปฏิเสธการไปปรากฏตัวที่ศาล ปลายเดือนที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจึงตัดสินจำคุกซูมา 15 เดือน ข้อหาละเมิดอำนาจศาล

เสาร์ 10 กรกฎาคม 2021 ทันทีที่ซูมามอบตัว ก็เกิดการจลาจลในหลายพื้นที่ จากนั้นความรุนแรงก็ขยายบานปลายไปในเรื่องอื่น มีทั้งขโมยข้าวของ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ตอนนี้แอฟริกาใต้มีมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดโควิด-19 แต่คนที่รักชอบซูมาก็ไม่กลัวกฎหมาย ออกไปจุดไฟเผารถบนถนนหลวง จนถนนหลวงบางสายต้องปิดการจราจร

แม้จะมีคดีมากมาย แต่คนบางกลุ่มก็ยังชอบซูมา เพราะนึกถึงวีรกรรมในอดีตที่แกต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับแมนเดลา แกสู้กับคนผิวขาวจนถูกจำคุกบนเกาะร็อบเบนซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษการเมืองหลายพันคน ตอนที่ติดคุกนั้น ซูมามีอายุเพียง 21 ปี อยู่ในคุกนานถึง 10 ปี ออกจากคุกมาแล้วก็ต่อสู้ทางการเมืองต่อ

แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่ปั่นกระแสความขัดแย้งได้ง่าย เพราะผู้คนเคยถูกกดขี่และเคยชินกับการต่อสู้กับความอยุติธรรม ตอนนี้ ผู้คนที่ออกมาประท้วงก็ตะโกนก้องร้องบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุติธรรม

ปัจจุบัน คนแอฟริกาใต้ติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 2 ล้านคน ตายแล้ว 6.4 หมื่น หากมีการประท้วงจลาจล ผู้อ่านท่านคงนึกออกนะครับ ว่านอกจากความวุ่นวายทางการเมืองแล้ว ยังจะผสมด้วยความโกลาหล อลหม่านจากคนที่ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 ด้วย.

ปัญหาของทวีปแอฟริกามีอะไรบ้าง

1. ปัญหาทรัพยากรน้ำ ... .
2. ปัญหาทรัพยากรดิน ... .
3. ปัญหาขยะพลาสติก ... .
4. ปัญหาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ... .
5. ปัญหาภัยแล้ง ... .
6. ปัญหาการขยายตัวของทะเลทราย.

ทวีปแอฟริกามีการพัฒนาทางการเมืองอย่างไร

2. ทวีปแอฟริกามีพัฒนาการทางการเมืองอย่างไร ได้รับเอกราชจากการเป็นประเทศอาณานิคม ใช้รูปแบบการปกครองเหมือนเมืองแม่ แต่มีความขัดแย้งกันเอง จนนำไปสู่การใช้ระบบเผด็จการ

ปัญหาสำคัญของทวีปแอฟริกาในปัจจุบันคืออะไร

ในปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำหรับหลาย ๆ ภูมิภาค แต่ในทวีปแอฟริกากลับกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากกว่า เพราะความแห้งแล้งทำให้การเพาะปลูกเป็นได้ยาก เกิดความยากจนนำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเขตซาเฮลกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อย่างหนัก

ปัญหาด้านการเมืองที่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาต้องเผชิญคือข้อใด

เผด็จการ vs ประชาธิปไตย ไม่เพียงแค่ซิมบับเวเท่านั้น แต่หลายประเทศในแอฟริกาก็ต้องเผชิญกับรัฐประหารบ่อยครั้ง ในหลายประเทศ ทหารมีบทบาทสูงมากในการกำกับ ควบคุม ดูแลทั้งการเมืองและชีวิตของประชาชน