อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิ่ง เต็ม เรื่อง

บทที่ ๒

 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

แนวคิด

           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

  ๒.๑ ความเป็นมา

  ๒.๒ ประวัติผู้แต่ง

  ๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์

   ๒.๔ เรื่องย่อ

  ๒.๕ เนื้อเรื่อง

   ๒.๖ คำศัพท์

   ๒.๗ บทวิเคราะห์

ความเป็นมา

           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา

        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม

       เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี  พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา

       สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ประวัติผู้แต่ง

        อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก

ลักษณะคำประพันธ์

     บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”

   แผนผังและตัวอย่างบทละคร

                                 บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา

                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี

                                  เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี

                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

เรื่องย่อ

               เนื้อเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้

          ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง

         ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ

      เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง

ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป

เนื้อเรื่อง

ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและท้าวปะหมัน

                                 เมื่อนั้น                                    ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี

                    เสด็จเหนือแท่นรัตน์มณี                       ภูมีเห็นสองอนุชา

                    จึงตรัสเรียกให้นั่งร่วมอาสน์                 สำราญราชหฤทัยหรรษา

                    แล้วปราศรัยระตูบรรดามา                    ยังปรีดาผาสุกหรือทุกข์ภัย

                    ซึ่งเราให้มาในทั้งนี้                              จะไปตีดาหากรุงใหญ่

                    ระตูทุกนครอย่านอนใจ                       ช่วยเราชิงชัยให้ทันการ

                                                              ฯลฯ

                                        ท้าดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง

                                      เมื่อนั้น                                พระองค์ทรงพิภพดาหา

                        ครั้นสุริย์ฉายบ่ายสามนาฬิกา             ก็โสรจรงคงคาอ่าองค์

                        ทรงเครื่องประดับสรรพเสร็จ            แล้วเสด็จย่างเยื้องยูรหงส์

                         ออกยังพระโรงคัลบรรจง                  นั่งลงบนบัลลังก์รูจี

                         ยาสาบังคมบรมนาถ                           เบิกทูตถือราชสารศรี

                         จึงดำรัสตรัสสั่งไปทันที                     ให้เสนีนำแขกเมืองมา

                                                                   ฯลฯ

                                     ท้าวกุเรปันมีราชสารถึงอิเหนาและระตูหมันหยา

                                            เมื่อนั้น                                      องค์ท้าวกุเรปันเป็นใหญ่

                           ครั้นดะหมังเสนาทูลลาไป                          พระตรึกไตรในคดีด้วยปรีชา

                           แล้วตรัสแก่กะหรัดตะปาตี                          อันสงครามครั้งนี้เห็นหนักหนา

                           จะเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจอนุชา                          ไม่มีที่จะปรึกษาหารือใคร

                           เจ้าจงยกพลขันธ์ไปบรรจบ                           สบทบทัพอิเหนาให้จงได้

                          ชวนกันยกรีบเร็วไป                                       อย่าทันให้ปัจจามิตรติดพารา

                                                                         ฯลฯ

คำศัพท์

กระยาหงัน

วิมาน  สวรรค์ชั้นฟ้า