การเพิ่ม อินทรียวัตถุในดิน

ตรัง - นายก อบต.เกาะสุกร หวั่นผลกระทบจากดิน และหินที่ถล่มลงมา 2 จุด เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หวั่นเกรงจะเกิดอันตรายต่อชีวิตของนักท่องเที่ยวในอนาคต วอนหน่วยงานระดับสูงขึ้นไปลงมาช่วยแก้ไขโดยเร็ว ทาง อบต.ทำได้แค่ออกประกาศแจ้งเตือนเท่านั้น

ไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่า หลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และสมดุล ทั้งนี้เพราะเกษตรอินทรีย์ถือว่า “ถ้าดินดี พืชย่อมแข็งแรงและสมบูรณ์” ซึ่งการปรับปรุงดินในแนวทางเกษตรอินทรีย์นี้จะใช้แนวทางชีวภาพเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูบำรุงดินและปรับปรุงสมดุลของธาตุอาหารใน ดินไปพร้อมกัน ในการปรับปรุงดินด้วยชีววิธีนี้มีหลายวิธี อาทิ การจัดการอินทรีย์วัตถุในไร่นา (เช่น การไม่เผาฟาง), การจัดการใช้ที่ดินอย่างอนุรักษ์ (เช่น การป้องกันดินเค็ม หรือการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน) หรือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ

ความสำคัญของดินต่อการเกษตรเป็นเรื่องที่ตระหนักรับรู้กันมานาน ภูมิปัญญาพื้นบ้านมีวิธีการในการจำแนกและวิเคราะห์ดิน ตลอดจนการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรแต่ละประเภท ความสำคัญของดินต่อการเพาะปลูกนั้นไม่เพียงเพราะว่า ดินเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจนและคาร์บอน แต่ยังรวมถึงการที่ดินเป็นแหล่งกำเนิดและที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมากมายมหาศาล ตลอดจนปัญหาความไม่ยั่งยืนของการเกษตรมีสาเหตุมาจากความเสื่อมโทรมของดิน เป็นสำคัญ ดังนั้นการจัดการดินอย่างถูกต้องจึงเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ในบทนี้จึงได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับดิน ตลอดจนแนวทางการจัดการดินในระบบเกษตรอินทรีย์

การฟื้นฟูดิน

องค์ประกอบที่สำคัญของดินสำหรับการเกษตรมีอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ เม็ดดิน, น้ำ, อากาศ และอินทรีย์วัตถุ ในการปรับปรุงบำรุงดินนั้นเกษตรกรคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเม็ดดินได้มากนัก สิ่งที่เกษตรกรสามารถจัดการได้ก็คงมีเพียงแต่น้ำ, อากาศ และอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งการจัดการอินทรีย์วัตถุนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะอินทรีย์วัตถุเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดช่องว่าง(อากาศ) ในดิน และความสามารถในการเก็บกักน้ำของดิน ) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ปริมาณอินทรีย์วัตถุจะถูกใช้เป็นดัชนีสำคัญในการ บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยดินที่ดีจะมีอินทรีย์วัตถุประมาณ 5%

ดินในฟาร์มเกษตรของประเทศเขตร้อนโดยส่วนใหญ่เป็นดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีปริมาณอินทรีย์วัตถุน้อยกว่า 1% ทำให้ดินอัดแน่น ไม่มีช่องว่างอากาศสำหรับให้รากพืชหายใจ อีกทั้งยังมีความสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชน้อย แนวทางการปรับปรุงดินด้วยการใช้อินทรีย์วัตถุและการฟื้นชีวิตให้กับดินจึง เป็นสิ่งจำเป็น

(ก) อินทรีย์วัตถุในดินและฮิวมัส
อินทรีย์วัตถุในดินแบ่งออกได้เป็นอินทรีย์วัตถุที่ยังมีชีวิตและที่ไม่มี ชีวิต โดยกว่า 90% ของอินทรีย์วัตถุในดินเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, ซากจุลินทรีย์ และอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้ว หรือ ที่เรียกรวมๆ กันว่า “ฮิวมัส” ฮิวมัสยังสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ฮิวมัสทั่วไป และฮิวมัสเสถียร ซึ่งอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสจะมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่าง

ตาราง 1 อินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดิน

อินทรียวัตถุฮิวมัสทั่วไปฮิวมัสเสถียรแหล่งที่มาเศษซากพืชและสัตว์การสลายตัวของอินทรียวัตถุการสลายตัวของฮิวมัสทั่วไปและอินทรียวัตถุหน้าที่กายภาพทำให้ดินโปร่ง อากาศไหลเวียนดี, ระบายน้ำดี, เก็บความชื้นพัฒนาโครงสร้างดิน และปรับปรุงดินให้เก็บน้ำได้ดีและจับตัวเป็นก้อนพัฒนาโครงสร้างดิน และปรับปรุงดินให้เก็บน้ำได้ดีและจับตัวเป็นก้อนหน้าที่ทางเคมีให้ธาตุอาหารที่ละลายน้ำได้ โดยเฉพาะปุ๋ยคอกปล่อยธาตุอาหารให้พืช, เก็บธาตุอาหารส่วนเกินไว้ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที, ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารเก็บธาตุอาหารไว้ในระยะยาวให้กับพืช, ช่วยดูดซับสารพิษในดินเอาไว้หน้าที่ทางชีววิทยาเป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ย่อยอินทรีย์ วัตถุ, แต่ถ้ามีคาร์บอนมากไปอาจกระตุ้นจุลินทรีย์บางชนิดให้ขยายตัวมาก และแย่งธาตุอาหารจากพืชเป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ย่อยอินทรีย์วัตถุ ปล่อยวิตามิน, ฮอร์โมน, สารปฎิชีวนะ และสารชีวนะอื่นๆ ให้พืชเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน

ที่มา: Gershuny and Smillie (1995)

ในบรรดาอินทรีย์วัตถุทั้งหมด สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูดินในระบบเกษตรอินทรีย์ก็คือ ฮิวมัส ทั้งนี้ก็เพราะว่าฮิวมัสมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน เช่น

* ฮิวมัสช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินและดินอัดตัวแน่นเกินไป
ดินที่มีฮิวมัสน้อย เม็ดดินจะเป็นฝุ่นละเอียด เมื่อฝนตกลงมาเม็ดดินจะกระแทกกับหน้าดิน ทำให้เม็ดดินขนาดเล็กแยกตัวผสมกับน้ำกลายเป็นโคลน เมื่อน้ำฝนไหลลงสู่ที่ต่ำก็จะพัดพาโคลนหรือตะกอนดินตามไปด้วย เมื่อตะกอนดินไหลไปที่อื่น หน้าดินซึ่งถูกชะล้างจึงขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะตะกอนดินมีธาตุอาหารอยู่มาก แต่ดินที่มีฮิวมัส เม็ดดินขนาดเล็กจะจับตัวกันได้ดี ไม่แตกย่อยเมื่อถูกฝน และขณะเดียวกันดินก็ไม่อัดกันจนแน่นเกินไป
ดินเหนียวมักอัดตัวกันแน่น ทำให้รากพืชไม่สามารถชอนไชไปหาอาหารได้ดี แต่ฮิวมัสจะทำให้ดินร่วนและโปร่งขึ้น ช่วยให้น้ำและอากาศซึมผ่านลงดินได้ ส่วนดินทรายก็เช่นกัน ฮิวมัสจะช่วยให้ดินทรายจับตัวเป็นก้อน ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำและเก็บกักธาตุอาหารไว้มิให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปจน หมด

* ฮิวมัสช่วยป้องกันภัยแล้ง
ดินที่มีฮิวมัสจากปุ๋ยหมักสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนมาก ประมาณว่าปุ๋ยหมัก 10 กิโลกรัม สามารถเก็บน้ำได้ 19.66 ลิตร ซึ่งน้ำที่เก็บไว้จะอยู่ในรูปของฟิล์มบางๆ บนก้อนดิน ในช่วงฝนแล้งรากพืชจะดูดน้ำจากฟิล์มที่ผิวก้อนดินไปใช้ ทำให้พืชไม่ขาดน้ำ

* ฮิวมัสช่วยเก็บแร่ธาตุ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
ฮิวมัสที่มีขนาดเล็กนี้จะมีประจุขั้วลบซึ่งจะดักจับแร่ธาตุที่มีประจุขั้ว บวกได้ดี เช่น โปแตสเซียม, โซเดียม,แคลเซียม, แมกนีเซียม, เหล็ก และทองแดง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาช้าๆ ในอัตราพอดีกันกับที่พืชจะนำไปใช้ ในดินที่ไม่มีฮิวมัสนั้นธาตุอาหารจะไหลลงสู่ชั้นดินลึกด้านล่างที่รากพืช หยั่งลงไปไม่ถึง หรือไม่ก็ถูกพัดพาไปพร้อมกับน้ำ ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

* ฮิวมัสช่วยลดสารพิษในดิน
กรดอินทรีย์ในฮิวมัสจะทำปฏิกริยาเคมีจับตัวกับธาตุที่อาจเป็นพิษกับพืช เช่น อลูมิเนียม และเหล็ก ทำให้สารพิษไม่ทำอันตรายกับต้นไม้ นอกจากนี้กรดอินทรีย์ของฮิวมัสจะดักจับโลหะหนักได้เช่นเดียวกัน ทำให้โลหะหนักไม่ถูกพืชดูดซึมไปใช้

* ฮิวมัสช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
ฮิวมัสและสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุมีส่วนช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของพืชในการดูดซึมวิตามิน วิตามิน-อนาล็อกส์ และออกซิเจน

* สารอินทรีย์ทำให้สีของใบ ดอก และผลไม้สวยขึ้น
สารให้สีที่เป็นสารคลอโรฟิล และสีของดอกไม้, ผลไม้มีองค์ประกอบจากสารในดินและอากาศ ดินที่มีสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุมากจะช่วยให้พืชมีสาร องค์ประกอบของสารให้สีอย่างพอเพียงจึงทำให้สีของใบไม้ ดอกไม้ รวมทั้งผลไม้สวยงามขึ้น

(ข) ฟื้นชีวิตให้กับดิน
หลายคนมองว่าดินเป็นเพียงที่หยั่งยึดรากพืช หรือเป็นเพียงแหล่งอาหารสำหรับพืช แต่ที่จริงแล้ว ดินเองก็มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นอยู่ในดินตลอดเวลา ในดิน 1 กรัม (น้อยกว่าหนึ่งหยิบมือ) มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากถึงหลายพันล้านตัว โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือจุลินทรีย์ แต่ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมายเช่น แมลง, ไส้เดือน, สัตว์ขนาดเล็ก และรากพืช สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศดิน ทั้งในแง่ของการทำให้ดินร่วนซุย, ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมัส หรือเปลี่ยนธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนเป็นแหล่งอินทรีย์วัตถุเองเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายลง

ตาราง 2 สิ่งมีชีวิตในดิน

สิ่งมีชีวิตจำนวนอาหารบทบาทในนิเวศดินจุลินทรีย์120 ล้าน – 1,200 ล้าน ต่อดินหนึ่งกรัมอินทรียวัตถุ, ธาตุอาหารในดินย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ, ตรึงไนโตรเจน, ปลดปล่อยฟอสเฟตจากดินแมลงหนึ่งพัน-หนึ่งแสนตัว ในดินหนึ่งตารางเมตรพืชและสัตว์ขนาดเล็ก, แมลง, รากพืช, ซากพืช, อินทรีย์วัตถุพรวนดินและผสมดิน เมื่อตายก็จะเป็นอินทรีย์วัตถุ แต่อาจเป็นศัตรูพืชด้วยไส้เดือน30-300 ตัว ในดินหนึ่งตารางเมตรอินทรีย์วัตถุพรวนดินและผสมดิน มูลมีธาตุอาหารมากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่แน่นอนไส้เดือน, แมลงพรวนดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุรากพืช18 – 1,000 กิโลกรัม/ไร่สังเคราะห์แสง, ธาตุอาหารเก็บกักน้ำ, หมุนเวียนธาตุอาหารจากดินลึกชั้นล่าง, ซากพืชเป็นอินทรีย์วัตถุ

ที่มา: Gershuny and Smillie (1995)

สิ่งมีชีวิตในดินเป็นกุญแจสำคัญของการฟื้นฟูบำรุงดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ช่วยทำหน้าที่ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ สิ่งมีชีวิตในดินเหล่านี้ต้องการอาหาร, น้ำ และอากาศ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้นแนวทางหลักในการฟื้นชีวิตให้กับดิน คือ

1) อาหาร
แหล่งอาหารสำคัญของสิ่งมีชีวิตในดินก็คือ อินทรีย์วัตถุ แต่การใส่อินทรีย์วัตถุมีข้อพึงพิจารณาดังต่อไปนี้
• ดินควรมีอินทรีย์วัตถุ โดยมีสัดส่วนของคาร์บอน : ไนโตรเจน ประมาณ 25-30 : 1 ซึ่งปุ๋ยหมักที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์แล้วจะมีสัดส่วนคาร์บอน : ไนโตรเจนตามที่ต้องการ
• ในกรณีที่ใช้อินทรีย์วัตถุที่มีคาร์บอนมาก (เช่น ขี้เลื่อย) เมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุประเภทนี้ จุลินทรีย์อาจดึงไนโตรเจนจากดินเพื่อใช้ในการย่อย ซึ่งจะทำให้ดินมีปัญหาขาดไนโตรเจนได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใส่อินทรีย์วัตถุประเภทนี้ในขณะที่ปลูกพืชหรือในช่วงที่พืช กำลังต้องการไนโตรเจน เพราะจะทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุไนโตรเจน หรือมิฉะนั้นก็ควรใส่อินทรีย์วัตถุที่มีไนโตรเจนสูงให้กับดินควบคู่กันไป ด้วย
• เกษตรกรต้องเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตในดินอย่างต่อเนื่องทุกปี

2) อากาศ
อากาศเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด อาจมีจุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่ต้องการอากาศ แต่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ส่วนใหญ่ต้องการอากาศในการดำรงชีพแทบทั้งสิ้น ส่วนสิ่งมีชีวิตในดินอื่นก็ต้องการอากาศในการหายใจรวมถึงรากพืชด้วย ในดินที่ขาดอากาศนั้นรากพืชก็จะไม่เจริญเติบโตหรือตายลง ทำให้ต้นพืชขาดอาหารและอาจตายได้ในที่สุด

ในดินจะมีอากาศได้ ดินต้องโปร่งและร่วนซุย แนวทางในการทำให้ดินโปร่งและร่วนซุย คือ
– ไม่ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในบริเวณแปลงปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง
– เพิ่มเติมอินทรีย์วัตถุให้กับดิน หรือใช้ปุ๋ยหมักที่มีฮิวมัสสูง เพราะฮิวมัสมีส่วนสำคัญในการทำให้ดินโปร่งและร่วนซุย

3) น้ำ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำในการเจริญเติบโต ปริมาณน้ำในดินเพียงเล็กน้อย (แค่เพียงแผ่นฟิลม์บางๆ เคลือบเม็ดดิน) ก็เพียงพอต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในดิน

เมื่อฟื้นชีวิตให้กับดินแล้ว ต้นไม้จะแข็งแรง ปัญหาโรคและแมลงก็จะน้อยลง ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
• ดินดีทำให้ต้นไม้ได้ธาตุอาหารครบถ้วน ไม่ใช่มีธาตุอาหารแต่เพียงบางอย่างมากเกินไป เปรียบเสมือนคนที่บริโภคเฉพาะอาหารโปรตีนหรือไขมันมาก แม้จะมีชีวิตอยู่ได้แต่สุขภาพก็จะไม่แข็งแรง พืชที่ได้รับธาตุอาหารไนโตรเจนมากเกินไปก็เช่นกัน พืชจะมีลำต้นอวบแต่ไม่แข็งแรง ทำให้โรคแมลงระบาดได้โดยง่าย
• เชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์จะปล่อยสารบางอย่างออกมา เหมือนเป็นวัคซีนให้พืช ซึ่งทำให้ต้นไม้แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย
• ดินที่มีชีวิตคือ มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ซึ่งจะป้องกันไม่ให้มีโรคและแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งระบาดรุนแรง โดยปกตินั้นธรรมชาติต้องมีความหลากหลายสูงจึงอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อเราปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งก็เท่ากับลดความหลากหลายทางชีวภาพของระบบ นิเวศลง ซึ่งทำให้โรคและแมลงระบาด เพราะธรรมชาติพยายามเพิ่มความหลากหลายด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (โรคและแมลง) และขณะเดียวกันปริมาณพืชที่ปลูกก็ลดลงเนื่องจากโรคและแมลง เพื่อสร้างภาวะสมดุลใหม่ขึ้นมาแทน ดังนั้นการระบาดของโรคและแมลงจึงเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงปัญหาความไม่สมดุลของ ความหลากหลายของนิเวศเกษตร แต่ถ้าเราทำดินให้อุดมสมบูรณ์ก็เท่ากับเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน ดิน การระบาดของโรคและแมลงก็จะน้อยลง

การปรับปรุงสมดุลของธาตุอาหารในดิน
ใน แวดวงนักการเกษตรเชื่อกันว่า พืชต้องการธาตุอาหารอย่างน้อย 15 ชนิด ซึ่งธาตุอาหารบางชนิดได้จากอากาศ แต่ส่วนใหญ่แล้วพืชได้รับธาตุอาหารจากดิน สำหรับธาตุอาหารที่อยู่ในอากาศนั้นมีอยู่อย่างมากมายและสามารถหมุนเวียน ถ่ายเทกันได้สะดวก จึงไม่พบว่าพืชมีปัญหาการขาดธาตุอาหารที่ได้จากอากาศ ในทางตรงกันข้าม ธาตุอาหารในดินมักมีอยู่อย่างจำกัดและถ่ายเทได้ยาก ดังนั้นจึงมักพบว่าพืชขาดธาตุอาหารจากดินอยู่เสมอ

หลักวิธีคิดของการใช้ปุ๋ยเคมีในแนวทางเกษตรเคมีตั้งอยู่บนสมมุติฐานความ เชื่อว่า ธาตุอาหารที่มีอยู่น้อยในดินแต่พืชต้องการมากคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีจึงเน้นการให้ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการเพียง 3 ชนิด ส่วนธาตุอาหารรองอื่นๆ นั้น พืชสามารถได้รับจากดิน และเพื่อให้พืชสามารถดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีไปใช้ได้โดยเร็ว ปุ๋ยเคมีจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถละลายน้ำได้ง่าย โดยสรุปจะเห็นได้ว่าการใช้ปุ๋ยของเกษตรเคมีเป็นการให้ธาตุอาหารกับพืชโดยตรง โดยไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบของปุ๋ยเคมีที่อาจเกิดขึ้นกับดิน ตลอดจนความสมดุลของธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการ

ในทางตรงกันข้าม เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญกับดินเป็นอันดับแรก เพราะเชื่อว่าต้นไม้จะแข็งแรงและให้ผลผลิตดีได้นั้น ไม่ใช่เพราะว่าพืชได้รับธาตุอาหารหลักอย่างเพียงพอ แต่ต้องมีความสมดุลของธาตุอาหารและพืชมีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดีด้วย ทั้งนี้เพราะระบบนิเวศของดินมีส่วนสำคัญต่อความสมบูรณ์และแข็งแรงของพืช ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงเน้นที่การใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดิน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปรับสมดุลของธาตุอาหารในดิน หรือคือการให้ “อาหาร” กับดิน เพื่อที่ดินจะได้ให้ “อาหาร” กับพืชอีกทอดหนึ่ง

อินทรียวัตถุในดินเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

แหล่งที่มาของอินทรียวัตถุในดินตามธรรมชาติมาจากพืชเป็นส่วนใหญ่ การสลายตัวของเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือ ซากจุลินทรีย์ มีรูปแบบของการสลายตัวใกล้เคียงกับพืช เพียงแต่มีสารประกอบที่ย่อยสลายได้ง่ายอยู่ในปริมาณที่มากกว่า และไม่มีผนังเซลล์แบบพืชซึ่งมีเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และ ลิกนิน เป็นองค์ประกอบสำคัญ

อินทรียวัตถุมีความสําคัญอย่างไร

ประโยชน์ของอินทรียวัตถุในดิน ช่วยให้ดินจับตัวกันเป็นก้อน ทําให้ดินมีโครงสร้างทีดี ดินร่วน อากาศถ่ายเทได้สะดวก และระบายนําได้ดี ช่วยให้ดินอุ้มนําได้ดีขึน ดินทีมีอินทรียวัตถุสูง ก็จะมีความชืนอยู่ในดินได้นาน พืชก็จะสามารถนําไปใช้ในการเจริญเติบโต

อินทรียวัตถุในดิน มีอะไรบ้าง

อินทรียวัตถุในดิน คือ ส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วย 1. เศษซากพืชหรือสัตว์ที่ย่อยสลายแล้ว 2. เซลล์และเนื้อเยื่อของจุลินทรีย์ 3. สารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้น

จะแก้ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุนี้อย่างไร

การจัดการปัญหาดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ-ต่ำมาก ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อพักดิน และเพิ่มสารอินทรีย์ให้ดิน เช่น ความชื้นในดิน หรือการจัดการเกี่ยวกับไนโตรเจน เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงพักดินจากการปลูกอ้อย เป็นต้น หาสารอินทรีย์จากแหล่งอื่นมาใส่เพิ่มเติมในดิน เช่น ใส่ปุ๋ยคอก หรือกากชานอ้อย เพื่อบำรุงดิน เป็นต้น