ขั้นตอนการจัดทําบัญชี 5 ขั้นตอน

การจัดทำบัญชี คือ การจัดทำรายการทางการเงิน คัดเลือก จดบันทึก จำแนก สรุปผล ตลอดจนแปลความหมายของรายการทางการเงิน เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจต่าง ๆ ขององค์กร โดยการจัดทำบัญชีนั้นมีวัตถุประสงค์และขั้นตอนการจัดทำอย่างไรบ้าง เรามาอ่านไปพร้อม ๆ กันนะครับ

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี

1.        เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า

2.        เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์

3.        เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ในรอบระยะเวลาที่กำหนด

4.        เพื่อให้เห็นถึงฐานะทางการเงินว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการเท่าไร

5.        เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและกันการสูญหายของสินทรัพย์

6.        เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินในการตัดสินใจด้านต่างๆ

7.        เพื่อเป็นเครื่องมือในการคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายแก่รัฐ

8.        เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ

ขั้นตอนในการจัดทำบัญชี

1.        รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี

2.        บันทึกในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น

3.        ผ่านรายการไปยังสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย

4.        หายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภท และจัดทำงบทดลอง

5.        จัดทำงบการเงิน

โดยจัดทำบัญชีต่าง ๆ นั้น จะมีผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ รับรองบัญชี และตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้อง หากตรวจเจอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ก็จะดำเนินการให้ผู้ทำบัญชีนั้น ๆ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขใหม่ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเองครับ

ผู้สอบบัญชี คือ บุคคลที่องค์กรแต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบบัญชี ซึ่งได้รับการ รับรองบัญชี จากหน่วยงานควบคุมการบัญชีและการสอบบัญชี ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ผู้ตรวจสอบภายนอก หรือผู้ตรวจสอบตามกฎหมาย เป็นผู้มีหน้าที่รับรองและตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการสอบบัญชี

2. ผู้ตรวจสอบภายใน คือบุคคลที่องค์กรแต่งตั้งขึ้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพนักงานภายในองค์กร ซึ่งจะมุ่งเน้นการตรวจสอบการดำเนินงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กร

บทความแนะนำ

การจัดทำ Flow Chart มีความสำคัญอย่างไร ? : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=623

งบการเงินคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้างมาดูกัน : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=541

ทำไมต้องจ้างที่ปรึกษาเกี่ยวกับบัญชีจากบริษัทภายนอกด้วย : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=544

1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน)

3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ

4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม

5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่

5.1 งบแสดงฐานะการเงิน

5.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย

5.3 งบกระแสเงินสด

5.4 งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น

5.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

6. การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ขั้นตอนการทําบัญชี มีอะไรบ้าง

กระบานการทางบัญชีจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ (Analyzing) การบันทึก (Recording) การแยกหมวดหมู่ (classifying) การสรุปผล (Summarizing) การรายงาน (Reporting) และการแปลความหมาย (Interpreting)

การจัดทำบัญชีมี5ขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการบันทึกบัญชี.
วิเคราะห์รายการค้า.
บันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป.
ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท.
จัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง.
บันทึกรายการปรับปรุง (ณ วันสิ้นงวด).
จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุง.
จัดทำงบการเงิน.

การทำบัญชี bookkeeping อยู่ในขั้นตอนใด

การทำบัญชี (อังกฤษ: bookkeeping) เป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการบัญชีในธุรกิจ ธุรกรรมรวมถึงการซื้อ, การขาย, รายรับ และรายจ่าย โดยบุคคล หรือองค์กร/บริษัท มีวิธีการทำบัญชีมาตรฐานหลายวิธี รวมถึงระบบบัญชีเดี่ยวและระบบบัญชีคู่ ในขณะที่สิ่งเหล่านี้อาจได้รับการมองว่าเป็นการทำบัญชี "ของจริง" ซึ่ง ...

หมวดบัญชี 5 หมวด มีอะไรบ้าง

หมวดบัญชีและผังบัญชี.
หมวดสินทรัพย์.
หมวดหนี้สิน.
หมวดส่วนของเจ้าของ (ทุน).
หมวดรายได้.
หมวดค่าใช้จ่าย.