ปวดท้องหน่วงๆ เหมือนปวดขี้

อาการข้างต้น เข้าข่ายโรคที่เรียกว่า โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome : IBS) เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติ แต่พอตรวจดูกลับไม่พบความผิดปกติใดๆ ที่ลำไส้ ไม่ว่าจะทำการส่องกล้องตรวจลำไส้ หรือตรวจเลือดผิดปกติ เป็นต้น

โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโดยทั่วไปที่เป็นโรคนี้มักจะมีประวัติเป็นมานาน บางรายอาจมีอาการเป็นปีและมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นโรคที่สร้างความรำคาญ และความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยจะวิตกกังวลว่าทำไมโรคไม่หายแม้ได้ยารักษา ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รบกวนการดำเนินชีวิตและอาจทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ และพบว่าโรคลำไส้แปรปรวนมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายประมาณ 2 : 1

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน มักจะมีอาการปวดท้อง อาจปวดตรงกลางหรือปวดบริเวณท้องน้อย โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบเกร็ง มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด อาการจะไม่สัมพันธ์กับอาหาร นอกจากนี้จะมีอาการท้องโตขึ้นเหมือนมีลมในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมมากขึ้น และมีอาการถ่ายไม่ปกติ บางรายมีอาการท้องผูก บางรายท้องเสีย หรือในบางรายอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด หรือมีอาการปวดเบ่งแต่เมื่อถ่ายอุจจาระแล้วอาการดีขึ้น มักมีอุจจาระเป็นมูกร่วมด้วยได้ อาการต่างๆ เหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ มีอาการมากน้อยสลับกันได้ จะมีอาการเกิน 3 เดือน ในระยะเวลา 1 ปี

ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอนของโรคลำไส้แปรปรวน แต่จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ มี 3 อย่างที่สำคัญได้แก่

  • การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติบางอย่างในผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียได้
  • ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการได้แก่ อาหารเผ็ด กาแฟ แอลกอฮอล์ทุกชนิด ช็อกโกแลต เป็นต้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นก็ทำให้ผนังลำไส้บีบตัวผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียได้
  • มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของลำไส้ ระหว่างประสาทรับความรู้สึกที่ผนังลำไส้ ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด

ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการหลายอย่างร่วมกัน ยาที่ใช้มักจะทำให้อาการบางอย่างดีขึ้นเท่านั้น การรักษาด้วยยา แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในการให้ยาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย แต่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยจะช่วยให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นได้

           ดังนั้นถ้าครั้งหน้าคุณผู้หญิงเกิดมีอาการปวดท้องน้อยขึ้นมาอีก ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ก็อย่ารั้งรอเนิ่นนานเกินไป แวะมาคุยกับแพทย์หรือมารับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆก็น่าจะดีต่อสุขภาพของคุณนะครับ

ขอสอบถามหน่อยนะคะ พอดีแม่มีอาการปวดท้องเหมือนจะถ่าย แต่ถ่ายไม่ออก และถ่ายประมาณ 3-4รอบต่อวัน แต่อุจจาระสีและขนาดยังปกติ แม่ยังทานอาหารได้ปกติ น้ำหนักไม่ได้ลดลงแบบผิดปกตินะคะ แม่มีอาการปวดท้องบ่อยค่ะ บางครั้งก็มีอาการแสบท้องก่อนทานและหลังทานอาหารค่ะ และไม่กี่วันแม่มีอาการปวดท้องบริเวณใต้สะดือ และเมื่อประมาณปีที่แล้วแม่หนูเคยตรวจมะเร็งลำไส้จากการนำอุจจาระไปตรวจ ซึ่งไม่พบอะไรผิดปกติค่ะ หนูก็อยากจะถามคุณหมอว่าอาการที่แม่หนูเป็นคืออาการของโรคอะไรคะ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะคะ

 พญ.นรมน

แพทย์

Apr 02, 2021 at 11:57 AM

 สวัสดีค่ะคุณ Aun_Petcharat

อาการปวดท้องเหมือนจะถ่าย แต่ถ่ายไม่ออกดังกล่าวมานั้น อาจจะเกิดมาจาก การมีลำไส้แปรปรวนมักเป็นมาเรื้อรัง อาจมีถ่ายเหลวหรือท้องผูกเด่นได้ หรือเป็นจากชนิดของอาหารที่รับประทานที่ทำให้ย่อยยาก อืดท้อง ส่วนเรื่องมะเร็งลำไส้นั้นมักมาด้วยอาการท้องผูกสลับท้องเสีย หรืออาจมีถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลดเร็วผิดปกติ ปวดเบ่งตรงทวารหนักได้

ควรไปพบแพทย์ถ้าอาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดเบ่งอุจจาระตลอด ร่วมกับมีการขับถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนแปลง

ในเบื้องต้นให้ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเช่นผักและผลไม้ รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและเลือกการรับประทานอาหารที่อ่่อนๆย่อยง่าย และถ้าอายุเกิน 50 ปีแล้ว ควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกปีเช่นตรวจหาเลือดในอุจจาระ คือถ้ามีอาจจะต้องไปส่องกล้องทางเดินอาหารต่อไป

                   แนะนำควรสังเกตอาการไปก่อน หากการถ่ายอุจจาระเป็นปกติดี ไม่ได้มีการทานยาอะไร แต่อาการปวดท้องเป็นรุนแรงขึ้น หรือมีอาการปวดในช่วงที่ไม่ได้ปวดถ่ายอุจจาระด้วย หรือหลังถ่ายแล้วยังคงมีอาการปวดอีก ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุค่ะ เช่น อาจเกิดจากมีโรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่วๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย แต่หากปวดเฉียบพลัน ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดบ่อยแบบไม่ทราบสาเหตุ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวชได้


อาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างไร?

อาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) ในผู้หญิง เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว มีทั้งการปวดแบบเฉียบพลัน และการปวดแบบเรื้อรัง อาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนได้ แต่อาการปวดท้องอย่างไรที่ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเพิ่มเติม

  • ปวดเฉียบพลัน ทันที และมีอาการรุนแรง
  • อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวด
  • อาการปวดที่เป็นนานเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเป็นมานานกว่า 6 เดือน
  • อาการปวดที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด มีประวัติมีบุตรยาก
  • ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งสาเหตุของอาการปวดนั้นมีได้ทั้งจากโรคเกี่ยวกับลำไส้ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นมาจากโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ ถุงน้ำ (cyst) รังไข่


โรคทางนรีเวชที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องน้อย

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการปวดท้องประจำเดือน โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติมีบุตรยาก ปวดเรื้องรังนานกว่า 6 เดือน ปวดหน่วงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ยังรวมถึงโรค chocolate cyst อีกด้วย


เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

อาการปวดมักเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกใหญ่จนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง การบิดขั้วของเนื้องอกจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรง ปวดท้องประจำเดือน หรือ มีเนื้อตายภายในเนื้องอก


เนื้องอก หรือ ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor)

อาจเกิดการบิดขั้ว แตก รั่ว ของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบเฉียบพลัน อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือ ติดเชื้อได้ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุก เสียด ทานอาหารอิ่มง่ายได้


การตรวจและการวินิจฉัย

  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. การตรวจภายใน
  3. การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
  4. การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน

การรักษา

  1. การให้ยาแก้ปวด
  2. การรักษาด้วยฮอร์โมน
  3. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง

ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

ผ่าตัดส่องกล้อง

ข้อดีใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่มาก หรือมีการลุกลามอวัยวะข้างเคียง
  • ใช้ได้ดีในโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ เพราสามารถเห็นรอยโรคชัดเจน
  • แผลเล็ก
  • ฟื้นตัวเร็วระยะการนอนโรงพยาบาลและการพักฟื้นที่บ้านสั้น
  • เสียเลือดน้อย
  • ปวดหลังผ่าตัดน้อย
ข้อเสีย
  • เสียเลือดมากกว่า
  • เกิดพังผืดหลังการผ่าตัดมากกว่า
  • ไม่ใช้ในบางกรณี เช่น มีการติดเชื้อกระจายในช่องท้อง
  • ไม่สามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีภาวะช็อค

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการปวดท้องน้อยขึ้นมา ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยคัดกรองโรคทางนรีเวชเหล่านี้ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ไว ก็จะช่วยให้คุณกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม

อาการปวดท้องน้อยหน่วงๆเกิดจากอะไร

ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) คืออาการปวดช่องท้องด้านล่างบริเวณอุ้งเชิงกราน อาการปวดท้องน้อยอาจเป็นสัญญาณจากการติดเชื้อ การอักเสบ การบาดเจ็บที่อวัยวะภายในระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ หรืออาจเกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน แต่อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงโดยส่วนมากมักจะเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์

ทำไมเวลาปวดอุจจาระถึงปวดท้อง

อาการที่เมื่อปวดอุจจาระ แล้วจะมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย เกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนไหวเพื่อบีบไล่อุจจาระ ซึ่งการเคลื่อนไหวบีบตัวที่มากขึ้น ในช่วงก่อนการอุจจาระ ก็จะส่งผลทำให้รู้สึกปวดท้องน้อยได้ ดังนั้น อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการที่สามารถพบได้เป็นปกติค่ะ แต่หากมีอาการปวดที่มากผิดปกติ อาจเกิดจากการที่มีท้องผูก ...