ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา 9 ข้อ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย

2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป

3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน

4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น

5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล

6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี

ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา เน้นความเสมอภาคของกลุ่มคน ในสังคม โดยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ ในการปกครองอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของหลักธรรมหรือหลักคุณธรรม ที่ดีงามถือความถูกต้องเป็นใหญ่ (ธรรมาธิปไตย) ปฏิบัติตามหลักธรรมที่ดีงาม และยึดถือความเสมอภาคของคน ในสังคมเป็นหลัก ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของคนอื่น และบา ...

ข้อใดคือจุดหมายสูงสุดของลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีจุดหมายอยู่ที่ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำาคัญ พระพุทธ- ศาสนาก็เช่นเดียวกัน ยึดถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมายในการดำารงอยู่ของพระศาสนาและของ ชุมชนสงฆ์ อนึ่ง คำาว่าประชาชนในความหมายทางพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงประชาชนของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทว่ามีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึงมนุษยชาติทั่ว ...

หลักธรรมในข้อใดเกี่ยวข้องกับลักษณะของประชาธิปไตยในศาสนาพุทธ

นอกจากนั้นหลักพุทธธรรมที่มีการกล่าวถึงในในการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญที่ขอยกตัวอย่าง คือ หลักอปริหานิยธรรม ซึ่งหลักพุทธธรรมนี้เป็นหลักสำหรับใช้ในการปกครอง เพื่อป้องกันมิให้การบริหารหมู่คณะเสื่อมถอย แต่กลับเสริมให้เจริญเพียงส่วนเดียว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมู่ชนและผู้บริหารบ้านเมืองและพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้ ...

ธรรมนูญสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือข้อใด *

1) พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ ค าสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัย คือ ค าสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรง บัญญัติขึ้น เมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความส าคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบ ให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย การที่ พระพุทธ ...