ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

เรียกว่าเป็นข้อมูลสำคัญของเด็ก มัธยมปลายที่ควรรู้ เอาไว้สำหรับการวางอนาคตเลือกคณะในมหาวิทยาลัยรวมไปถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจของเหล่านักเรียนมัธยมต้นที่จะตัดสินในเลือกเรียนต่อในสายต่างๆ ในระดับมัธยมปลายอีกด้วย สำหรับ ข้อมูลแต่ละสาย แต่ละหลักสูตรในชั้นมัธยมปลาย สามารถไปสอบและเรียนต่อที่คณะไหนได้บ้าง

วันนี้ Sanook Campus เราก็ขอรวบรวม ข้อมูลการเรียนต่อ เรียนสายไหน ต่อคณะอะไรได้บ้าง มาให้เพื่อนๆ ได้สำรวจความชอบและเช็กตัวเองกันว่าเรียนจบแล้วเราจะไปทางไหนต่อดี

เรียนสายไหน ต่อคณะอะไรได้บ้าง

สายวิทย์-คณิต

  • แพทยศาสตร์
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์
  • ทันตแพทยศาสตร์
  • สัตวแพทยศาสตร์
  • เภสัชศาสตร์
  • เกษตรศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • อักษรศาสตร์
  • เทคนิคการแพทย์
  • วนศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • วิทยาการจัดการ
  • สหเวชศาสตร์
  • สัตวศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • พาณิชยศาสตร์การบัญชี
  • พยาบาลศาสตร์
  • จิตวิทยา
  • ศิลปกรรมศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • สาธารณสุขศาสตร์
  • อุตสาหกรรมเกษตร
  • วารสารศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • วิทยาศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • มนุษยศาสตร์
  • ครุศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • โลจิสติกส์

สายศิลป์-คำนวณ

  • พาณิชยศาสตร์
  • การบัญชี
  • ศิลปศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • อักษรศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • วิทยาการจัดการ
  • นิติศาสตร์
  • โลจิสติกส์
  • รัฐศาสตร์
  • ครุศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • ศิลปกรรมศาสตร์
  • จิตวิทยา (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-คำนวณในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • วารสารศาสตร์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-คำนวณในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • มนุษยศาสตร์ แพทยศาสตร์ (รอบ กสพท.)

สายศิลป์-ภาษา

  • มนุษยศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • อักษรศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • ศิลปกรรมศาสตร์
  • ครุศาสตร์
  • วารสารศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • วิทยาการจัดการ
  • จิตวิทยา (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-ภาษาในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • โลจิสติกส์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-ภาษาในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • พาณิชยศาสตร์การบัญชี
  • แพทยศาสตร์ (รอบ กสพท.)

หมายเหตุ ในสำหรับบางโรงเรียนอาจมีสายการเรียนที่แตกต่างกันไป ควรดูหน่วยกิตของสายการเรียนเพื่อมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การรับสมัครของมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะยื่นสมัคร

โหลดเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คัดลอกลิงก์

เรียนสายไหน ต่อคณะอะไรได้บ้างหลักสูตรการเรียนสายการเรียนเรียนต่อมหาวิทยาลัยคณะสายวิทย์-คณิตสายศิลป์-คำนวณสายศิลป์-ภาษาeducationเรียนต่อในประเทศEDUCATION

Natchaphon B. ผู้เขียน

มนุษย์ติดโซเชียล พร้อมพาส่องหนุ่มหล่อสาวสวยมากความสามารถ ชอบอัปเดตเทรนด์ของโลก มีอะไรปังๆ ดังๆ ก็ไม่พลาดเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

เมื่อใกล้จบม. 3 นักเรียนหลายคนอาจเริ่มกังวลใจ และยังไม่รู้ตัวเองว่าจะเข้า สายการเรียน ไหนดี การเลือกสายการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการเลือกสายเพื่อให้เข้าคณะที่ตัวเองต้องการแล้ว ยังเป็นการเลือกแผนการเรียนที่ตนเองสนใจ และได้เรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย หากนักเรียนไม่ชอบในรายวิชา หรือสายการเรียนนั้น ก็อาจทำให้การเรียน ไม่มีความสุขก็ได้ สำหรับนักเรียนคนไหนที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกสายการเรียนไหนดี วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลของสายการเรียนแต่ละสายมาแล้วค่ะ เผื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้เลือกได้สายที่ตัวเองต้องการ

 

เลือก สายการเรียน อย่างไรดี?

แน่นอนว่า เมื่อนักเรียนใกล้เรียนจบชั้น ม. 3 หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเราควรเลือกเรียนสายอะไร และควรเลือกสายการเรียนไหน ที่จะช่วยให้เราได้เรียนในคณะที่ชอบในอนาคตได้ สำหรับเทคนิคการเลือกสายการเรียนต่อนั้น มีดังนี้

  • เลือกตามความชอบของวิชาเรียน : หากนักเรียนชอบเรียน หรือถนัดวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็สามารถนำมาพิจารณาประกอบการเลือกสายการเรียนต่อได้ เพราะการที่เรามีความถนัดในวิชาที่ตนเองชอบ หรือสนใจ ก็ช่วยให้การเรียนม. ปลายของเรานั้นถนัดมากขึ้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนไม่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ แต่ชอบเรียนภาษาไทย หรือสังคมศึกษามากกว่า ก็มีแนวโน้มที่ควรจะเลือกในสายไทย-สังคม หรือศิลป์-ภาษา เป็นต้น
  • เลือกจากความถนัดของตนเอง : อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำไมเราจึงต้องพิจารณาจากความถนัดของตนเอง เพราะการเรียนในชั้นม. ปลายนั้น นักเรียนจะได้เรียนวิชาหลักของแต่ละสาย มากกว่าวิชาพื้นฐานแบบตอนม. ต้น หากนักเรียนมีความถนัดด้านการคำนวณ ก็สามารถเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต หรือศิลป์-คำนวณได้ หรือหากนักเรียนมีความถนัด และสนใจในเรื่องของภาษา ก็ควรที่จะเลือกเรียนสายศิลป์-ภาษานั่นเอง
  • เลือกจากอาชีพที่เราอยากเป็น : เทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้เราเลือกสายการเรียนให้ง่ายขึ้น คือการดูอาชีพที่เราอยากเป็น สมมติว่านักเรียนอยากเป็นแพทย์ ก็ควรเลือกสายการเรียนวิทย์-คณิต หรือหากนักเรียนอยากเป็นล่าม ก็ควรเลือกสายศิลป์-ภาษา หรือศิลป์-คำนวณ ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • เลือกจากคณะที่เราเข้าเรียนในอนาคต : การพิจารณาตามคณะที่เราอยากเรียนในอนาคต ก็สามารถช่วยให้นักเรียนเลือกสายการเรียนได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะแต่ละคณะ หรือสาขาของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ได้กำหนดสายการเรียนที่นักเรียนต้องเรียนมานั่นเอง ดังนั้น วิธีนี้จึงสามารถช่วยให้นักเรียนได้เลือกสายการเรียน ที่ตนเองอยากเรียนได้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากเป็นหมอ หรือ เรียนต่อสายแพทย์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

 

สายการเรียนทั้งหมด ของชั้นม. ปลาย มีอะไรบ้าง

สายการเรียนหลัก ๆ ในชั้นมัธยมศึกษาของประเทศไทย เริ่มต้นด้วย 4 สายการเรียนหลัก โดยจะมีสายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ สายศิลป์-ภาษา และสายไทย-สังคม หรือศิลป์อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละโรงเรียนว่ามีแผนการเรียนการสอนอย่างไร โดยข้อมูลของแต่ละสายการเรียนนั้น สามารถแบ่งได้ดังนี้

1. สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต)

เรียกได้ว่าเป็นสายการเรียนยอดฮิต สำหรับนักเรียนไทยเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องความโหดแล้ว ยังเป็นสายที่นักเรียนได้มีทางเลือกในการสอบเข้าระดับอุดมศึกษามากเป็นพิเศษ โดยในสายการเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนวิชาคณิตหลัก และคณิตเสริม หรือคณิตเพิ่มเติมนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีวิชาวิทย์พื้นฐาน ที่แบ่งออกเป็นวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมทั้งบางโรงเรียนยังมีฟิสิกส์เพิ่ม เคมีเพิ่ม ชีววิทยาเพิ่มเติมอีกด้วย เรียกได้ว่าเรียนกันให้จุใจเลยทีเดียว

สำหรับนักเรียนที่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้น เหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าเรียนในสายนี้ เพราะหากชื่นชอบเป็นทุนเดิมนั้น ก็จะส่งผลให้เราสามารถเรียนสายการเรียนนี้ได้ โดยไม่ต้องกังวล นอกจากนี้นักเรียนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกับนักเรียนสายอื่น ๆ เว้นแต่ว่าจะเลือกเรียนให้ห้องสายการเรียนพิเศษ เช่น ห้องเรียน Gifted หรือ English Program (EP) เป็นต้น โดยการเรียนในสายการเรียนวิทย์-คณิต นักเรียนจะได้ฝึกเน้นการคำนวณ การตีความ การอธิบายเหตุผล ตลอดจนการสื่อสารความหมายนั่นเอง นอกเหนือจากการเรียนในรายวิชา สำหรับการเรียนสายวิทย์-คณิต นักเรียนจะมีโอกาสได้สอบเข้าได้คณะดังต่อไปนี้

  • กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • แพทยศาสตร์-พยาบาลศาสตร์
    • เภสัชศาสตร์-ทันตแพทย์ศาสตร์
    • สัตวแพทยศาสตร์-กายภาพบำบัด
    • เทคนิคการแพทย์-สาธารณสุขศาสตร์
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ
  • กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
  • กลุ่มเกษตรศาสตร์
  • กลุ่มบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
  • กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
  • กลุ่มครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ 
  • กลุ่มศิลปกรรมศาสตร์ 
  • กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 

2. สายภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)

สายศิลป์-คำนวณ เหมาะสำหรับเด็กที่มีใจรักการคำนวณ และภาษาอังกฤษ แต่ไม่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าการเรียนในสายการเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างอัดแน่น โดยจะได้เรียนแบบเดียวกับนักเรียนสายวิทย์-คณิต รวมทั้งนักเรียนจะได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษที่จัดเต็มอีกเช่นกัน โดยจะได้เรียนทั้งการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียนนั่นเอง

นอกจากวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และอังกฤษพื้นฐานแล้ว นักเรียนจะได้เรียนคณิตเสริม หรือคณิตเพิ่ม และภาษาอังกฤษในด้านทักษะต่าง ๆ ด้วย สายศิลป์-คำนวณ จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนได้มีทักษะการคำนวณที่ดี และยังมีทักษะด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ และการจดจำรายละเอียดได้ด้วย สำหรับการเรียนสายศิลป์-คำนวณ นักเรียนจะมีโอกาสได้สอบเข้าได้คณะดังต่อไปนี้

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์-โบราณคดี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะศิลปกรรม
  • คณะวิจิตรศิลป์
  • คณะมัณฑนศิลป์
  • คณะจิตรกรรม
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์ 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ศิลป์คำนวณเรียนอะไรบ้าง ไขข้อสงสัย เด็กสายศิลป์คำนวณเรียนอะไร?

 

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

 

3. สายภาษาอังกฤษ-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)

อีกหนึ่งสายการเรียนที่ได้รับความนิยมไม่แพ้สายวิทย์-คณิต คือ สายศิลป์-ภาษา การเรียนในสายการเรียนนี้ นักเรียนเรียนจะได้เรียนภาษาที่สาม และภาษาอังกฤษแบบจัดเต็ม โดยส่วนใหญ่แล้ว โรงเรียนในประเทศไทย จะนิยมเปิดในสายภาษาจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน และเกาหลี เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะได้มีโอกาสเลือก หรือสอบเข้าในแต่ละสายภาษานั้น ๆ หากนักเรียนต้องการหลีกเลี่ยงการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ สายศิลป์-ภาษาจึงเหมาะที่กับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงวิชาเหล่านั้นอย่างยิ่ง

นอกจากการเรียนภาษาที่สามแล้ว นักเรียนจะได้เรียนรู้พื้นฐานของภาษานั้น ๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ อ่านออก หรือเขียนได้ ทั้งนี้การเรียนในสายศิลป์-ภาษาไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเป็นการเรียนภาษาต่างประเทศ ดังนั้นเด็ก ๆ จะได้เรียนภาษาที่ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษอย่างเดียวนั่นเอง การเรียนในสายการเรียนนี้ยังช่วยฝึกให้นักเรียน เกิดความรู้ และความเข้าใจในภาษา และฝึกจดจำรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อใช้เหตุผลในการวิเคราะห์อีกด้วย โดยสำหรับการเรียนในสายศิลป์-ภาษานั้น นักเรียนจะสามารถเลือกสอบเข้าคณะได้ดังต่อไปนี้

  • คณะครุศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์-โบราณคดี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรม
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะศิลปกรรม
  • คณะวิจิตรศิลป์
  • คณะมัณฑนศิลป์
  • คณะจิตรกรรม
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์ 

4. สายภาษาไทย-สังคม (ไทย-สังคม) และศิลป์อื่น ๆ

สำหรับการเรียนสายไทย-สังคมนั้น นักเรียนจะได้เรียนวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษาอย่างอัดแน่น โดยจะเรียนตั้งแต่เรื่องสังคมศึกษา ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วรรณคดี กฎหมาย และการเมือง เป็นต้น นักเรียนที่สนใจในการศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือสังคมสังเคราะห์นั้น ก็สามารถเลือกเรียนสายการเรียนนี้ได้เช่นกัน

นอกจากสายไทย-สังคมแล้ว ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่ได้เปิดสายศิลป์อื่น ๆ ด้วย เช่น ศิลป์-อุตสาหกรรม ศิลป์-พลศึกษา ศิลป์-ออกแบบ และศิลป์-ธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลักสูตร และวิชาเรียนแขนงต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้เปิดสอนนั่นเอง โดยสำหรับการเรียนในสายไทย-สังคมนั้น นักเรียนจะสามารถเลือกสอบเข้าคณะได้ดังต่อไปนี้

  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะโบราณคดี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะวารสารศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิจิตรศิลป์
  • คณะมัณฑนศิลป์
  • คณะจิตรกรรม
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรม

 

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

 

5. สายการเรียนแบบใหม่

แน่นอนว่า เมื่อรูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่เปลี่ยนไป นักเรียนไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่เรียนในสายวิทย์-คณิต หรือศิลป์ต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันมีโรงเรียนหลายแห่ง ได้เปิดสายการเรียนการสอนแบบใหม่ ซึ่งจะเน้นให้นักเรียนได้เรียนตามความถนัดเฉพาะทาง ซึ่งจะเป็นเน้นตรงต่อสายวิชาที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยนักเรียนสามารถเลือกสายการเรียนที่ตรงต่อความต้องการได้มากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตามสายการเรียนแบบใหม่ในประเทศไทยนั้น ยังเปิดเพียงแค่ไม่กี่โรงเรียน นักเรียนจึงควรศึกษาข้อมูล และหลักสูตรของแต่ละโรงเรียน ว่ามีแผนการเรียนแบบใหม่ด้วยหรือไม่ โดยส่วนหนึ่งของสายการเรียนแบบใหม่นั้น มีดังนี้

  • IP EP IEP GP วิทย์-เทคโนโลยี
  • เตรียมแพทย์-เภสัชฯ
  • เตรียมวิศวะ-สถาปัตย์
  • เตรียมนิเทศ-มนุษย์
  • เตรียมศิลปกรรม
  • เตรียมบริหารธุรกิจ-บัญชี
  • เตรียมวิทย์-คอม
  • เตรียมนิติ-รัฐศาสตร์
  • ฯลฯ

 

สายการเรียนทั้งหมด ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เป็นเพียงสายการเรียนส่วนใหญ่ และสายการเรียนหลักที่โรงเรียนในประเทศไทยนั้นจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลือกสายการเรียน ของการเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น นักเรียนควรจะหาข้อมูลของแต่ละสายเพิ่มเติม หรืออ่านหลักสูตร และรายวิชาของโรงเรียนที่ตนเองจะเรียนต่อด้วย เพื่อให้ตนเองได้ค้นหาว่าถนัดกับสายการเรียนไหนมากที่สุด และควรเลือกที่ตนเองชอบ และสนใจในสายนั้น ๆ เพื่อให้การเรียนของเราสอดคล้องกับความรู้ความสามารถ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกคณะ สาขา และมหาวิทยาลัยในอนาคตอีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

การศึกษา

รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

การศึกษา

เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

การศึกษา

มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ

ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

การศึกษา

BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ดรอปเรียนดีไหม ไปต่อหรือพอแค่นี้ ?

ม.ปลายควรรู้! ประวัติส่วนตัวมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ Portfolio น่าสนใจ

โครงการเด็กดีมีที่เรียน ของ มศว. ต้องทำ portfolio แบบไหน ควรใส่อะไรในพอร์ตบ้าง

ที่มาข้อมูล : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!