ข้อสอบวิชาเกษตร ม.1 พร้อมเฉลย

ข้อสอบกอท. ม.1

ช่วงนี้ใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาสอบปลายภาคเรียนกันแล้ว เว็บไซต์ ครูประถมดอทคอม จึงนำ ข้อสอบกอท. ม.1 มาให้ คุณครู ผู้ปกครอง ทดสอบวัดความรู้ให้กับนักเรียนค่ะ

การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1 ภาคเรียนที่ 1

ข้อสอบกลางภาค ฉบับที่ 1

ข้อสอบกลางภาค ฉบับที่ 2

ข้อสอบปลายภาค ฉบับที่ 1

ข้อสอบปลายภาค ฉบับที่ 2

การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1 ภาคเรียนที่ 2

ข้อสอบกลางภาค ฉบับที่ 1

ข้อสอบกลางภาค ฉบับที่ 2

ข้อสอบปลายภาค ฉบับที่ 1

ข้อสอบปลายภาค ฉบับที่ 2

แบบทดสอบมาตรฐานชั้นปี อจท. ม.1

แบบทดสอบมาตรฐานชั้นปี อจท. ม.1 ชุดที่ 1

ข้อสอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1

ข้อสอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 การงานอาชีพ ม.1 ปี 2557

ข้อสอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 เทคโนโลยี ม.1 ปี 2557

ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1

ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี การงานอาชีพ ม.1 ชุดที่ 1

ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี การงานอาชีพ ม.1 ชุดที่ 2

ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี เทคโนโลยี ม.1 ชุดที่ 1

ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี เทคโนโลยี ม.1 ชุดที่ 2

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ข้อสอบ  เกษตร ม. 3

1. พันธุ์ไม้ในข้อใดนิยมนำมาใช้ในการจัดสวนถาดแบบชื้น

                   1. มอส               2. พรมออสเตรเลีย             3. กระบองเพชร

                   4. ชวนชม         5. หูกระจงแคระ                 6. แก้วแคระ

                   ก. 1-2-5             ข. 1-3-4                                ค. 1-3-6                                ง. 1-4-5

2. วัสดุ-อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดสวนถาดแบบชื้นคือข้อใด

                   ก. ถาดดิน-ดินปลูก-ช้อนปลูก-ขอนไม้/หินประดับ-กระบอกฉีดน้ำ

                   ข. ถาดดิน-ดินเหนียว-ช้อนปลูก-ขอนไม้/หินประดับ-กระบอกฉีดน้ำ

                   ค. ถาดพลาสติก-ดินปลูก-ช้อนปลูก-ขอนไม้/หินประดับ-กระบอกฉีดน้ำ

                   ง. ถาดพลาสติก-ดินเหนียว-ช้อนปลูก-ขอนไม้/หินประดับ-กระบอกฉีดน้ำ

3. ใช้พันธุ์ไม้พวกกระบองเพชรหรือไม้อวบน้ำที่มีขนาดเล็ก ทราย หินประดับรูปทรงต่างๆ คือลักษณะการจัดสวนในข้อใด

                   ก. สวนถาดแห้ง สวนถาดชื้น                                        ข. สวนถาดแห้ง สวนแก้ว

                   ค. การจัดสวนในตู้ สวนถาดชื้น                                   ง. การจัดสวนในตู้ สวนแก้ว

4. พันธุ์ไม้ในข้อใด จัดเป็นพันธุ์อวบน้ำทั้งหมด

   ก. เฟิร์น มอส พรมกำมะหยี่ พลูด่าง                           ข. เฟิร์น มอส โป้ยเซียน ชวนชม 

   ค. พรมกำมะหยี่ พลูด่าง ม้าลาย กระบองเพชร        ง. โป้ยเซียน ชวนชม  ม้าลาย กระบองเพชร

5. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการจัดสวนได้ถูกต้องที่สุด

   1. ออกแบบสวน                               2. ปลูกต้นไม้                       3. เตรียมดิน  ภาชนะ  อุปกรณ์

   4. ตกแต่งผิวให้เรียบ                        5. บรรจุดินปลูกลงในภาชนะ                          6. รดน้ำพอชุ่ม

   ก. 1-2-5-3-4-6                 ข. 1-2-3-4-5-6                    ค. 1-3-5-2-4-6                    ง. 1-3-2-4-5-6

6. การเลี้ยงสัตว์  มีความหมายตรงกับข้อใด

                   . การเลี้ยงดู การให้อาหาร การบำรุงพันธุ์ และการสุขาภิบาล

                   . การที่ผู้เลี้ยงมีความรู้ความชำนาญในการเลี้ยง

                   . การเลี้ยงดูที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

                   ง. การที่ผู้เลี้ยงให้อาหารถูกต้อง

7. ข้อใดเป็นสภาพการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย

                   ก. เลี้ยงเป็นสาขาหนึ่งของการปลูกพืช                       ข. เลี้ยงเพื่อการดำรงชีพและการค้า

                   ค. เลี้ยงเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน                               ง. เลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ไปวันๆ

8. มนุษย์ใช้ประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ด้านใดมากที่สุด

      ก. ใช้แรงงานในไร่นา                 ข. ให้ความเพลิดเพลิน           ค. เป็นอาหารของมนุษย์              ง. ให้ปุ๋ยบำรุงดินที่มีคุณภาพดี

9. เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีความเหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์

      ก. มีแหล่งเงินกู้มาก     ข. มีพื้นที่ว่างเปล่ามาก       .คนไทยมีนิสัยรักสัตว์      ง. มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้ออำนวย

10. บุคคลใดต่อไปนี้เหมาะสมที่จะเป็นนักเลี้ยงสัตว์ที่ดีในอนาคต

                   ก. โตชอบไปตกปลาในวันหยุด

                   ข. ตั๊กชอบรับประทานไก่ทอด KFC

                   ค. ต้อยรักสัตว์และให้อาหารสัตว์ทุกวัน

                   ง. ตูมตามช่วยแม่เก็บไข่เป็ดไปขายตลาด

11. ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในข้อใดไม่จำเป็น สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์

                   ก. การสุขาภิบาล

                   ข. การให้อาหาร

                   ค. การจัดการเกี่ยวกับสัตว์

                   ง. ลักษณะนิสัยของเพื่อนบ้าน

12. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการผสมพันธุ์สัตว์

                 ก. เพื่อให้ได้สัตว์พันธุ์แท้

                 ข. เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีลักษณะดี

                 ค. เพื่อให้ได้สัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง

                 ง. ทำให้เกิดการถ่ายทอดเชื้อโรคจากแม่สู่ลูก

      13. ข้อใดกล่าวถึงการสุขาภิบาลสัตว์ได้ถูกต้องที่สุด 

                 ก. การป้องกันโรคสัตว์

                 ข. การประกันราคาสัตว์

                 ค. การดูแลรักษาสุขภาพสัตว์

                 ง. การระวังรักษา ป้องกันโรค ดูแลสุขภาพให้สัตว์เจริญเติบโตตามปกติ ให้ผลผลิตสูง

14. การกักกันสัตว์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

                 ก. รอการจำหน่ายสัตว์มีชีวิต

                 ข. รอเวลานำสัตว์ไปชำแหละ

                 ค. รอเวลาการซื้อขายของพ่อค้า

                 ง. สังเกตอาการสัตว์ที่สงสัยว่าป่วย

15. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วเรียงลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง

                 1. ปลานิลนิยมเลี้ยงในทั่วทุกภาคของประเทศ

                 2. สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตมกุฎราชกุมาร แห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                 3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงเมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ได้มากพอจึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎร

                 4. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปล่อยปลาในบ่อดินและเพาะเลี้ยงจนมีจำนวนเพิ่มขึ้น

                 ก. 2-3-1-4

                 ข. 2-3-4-1

                 ค. 2-4-1-3

                 ง. 2-4-3-1

16. การทำให้ปลาดุกที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์มีสีเหลือง สวย ขายได้ราคาดี ควรปฏิบัติอย่างไร

                   ก. นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวลงแช่ในบ่อก่อนจับปลา

                 ข. ละลายสีผสมอาหารสีเหลืองในบ่อเลี้ยงปลา

                 ค. ให้ปลากินกล้วยน้ำว้าสุกก่อนจับจำหน่าย

                   ง. หยดน้ำหมัก EM ลงในบ่อเลี้ยงปลา

17.“การเลี้ยงไก่พื้นเมือง  ควรมีพื้นที่กว้างขวางพอประมาณเพื่อให้ไก่หาอาหาร เดินออกกำลังกาย ถ้าเป็นชายป่าหรือทุ่งนาจะมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติมาก”คำที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงข้อใด

                 ก. ข้าวเปลือก

                 ข. พืชชนิดต่างๆ

                 ค. มด ปลวก แมลง

   ง. ปลาเล็กปลาน้อย

18. การแปรรูปอาหารจากไก่พื้นเมืองวิธีใดที่มีผู้นิยมจำนวนมากและสามารถรับประทานได้ทุกเพศ ทุกวัย

                 ก. ไก่ย่าง

                 ข. ไก่ต้ม

                 ค. แกงไก่

                 ง. ลาบไก่

19. “หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืช-สัตว์ อาหารของมันได้แก่ พืชผักต่างๆ หน่อไม้ ข้าวโพด หญ้า   ข้าวฟ่าง หัวเผือกมัน รากพืช แมลง ผลไม้ป่า งู หนู ไส้เดือน ซากสัตว์เน่า ไข่และลูกนกที่ทำรัง   บนดิน จิ้งจก กบ เขียด ปลา ปู หอย” ใจความสำคัญของข้อความข้างต้นคืออะไร

                   ก. อาหารตามธรรมชาติของหมูป่า

                   ข. หมูป่ากินพืชผักต่างๆ

                   ค. หมูป่ากินแมลง งู หนู

                   ง. หมูป่ากินซากสัตว์เน่า

20. การแปรรูปอาหารจากหมูป่าในข้อใดใช้เครื่องปรุงน้อยที่สุด

                   ก. หมูป่าย่าง

                   ข. ลาบหมูป่า

                   ค. ผัดเผ็ดหมูป่า

                   ง. แกงป่าหมูป่า

21.  ข้อใดกล่าวถึงการขยายพันธุ์พืชได้ถูกต้องที่สุด

                 ก. การเพิ่มจำนวนต้นพืชโดยการชำกิ่ง

                 ข. การเพิ่มจำนวนต้นพืชโดยการเพาะเมล็ด

                 ค. การเพิ่มจำนวนต้นพืชจากต้นเดียวเป็น 2 ต้น

                 ง. การเพิ่มจำนวนต้นพืชจากต้นเดียวให้มีปริมาณมากขึ้น

22. สถานการณ์ใดเป็นการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีอาศัยเพศ

                 ก. ณเดชกำลังชำกิ่งมะนาว

                 ข. แพนเค้กกำลังตอนกิ่งมะม่วง

                  ค. พลอยกำลังหว่านเมล็ดผักบุ้งในแปลงปลูก

                 ง. หนุ่มแยกหน่อกล้วยไปปลูกบริเวณหลังบ้าน

23. วัสดุ-อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการการขยายพันธุ์พืชโดยการปักชำคืออะไร

                   1. ดินผสมแกลบดำ

                   2. กรรไกรตัดกิ่ง

                   3. จอบ

                   4. บัวรดน้ำ

                   5. เลื่อย

                   6. ดินเหนียว

                 ก.   1-2-4 

                 ข.   1-3-5

                 ค.   3-4-5

                 ง.   4-5-6

24. ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการเก็บรักษาเครื่องมือทางการเกษตร

                 ก. จัดทำบัญชีเครื่องมือ

                 ข. เก็บเครื่องมือให้เป็นระเบียบ

                 ค. เก็บเครื่องมือพวกจอบ เสียม ไว้ในพุ่มไม้

                 ง. ซ่อมเครื่องมือให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ก่อนนำไปเก็บ

25. ถ้าต้องการปลูกมะม่วงให้ได้ผลผลิตเร็ว ระบบรากแข็งแรง ควรใช้ต้นพันธุ์ในข้อใด

                 ก. ต้นที่ได้จากการตอน

                 ข. ต้นที่ได้จากการทาบกิ่ง

                 ค. ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด

                 ง. ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

26. วัสดุชำในข้อใดไม่เหมาะสม

                 ก. หาง่าย  ราคาถูก

                 ข. ดูดความชื้นได้มาก

                 ค. โปร่ง ระบายอากาศได้ดี

ง. นำเข้าจากต่างประเทศ

27. การชำกิ่งแก่ นิยมใช้กับพืชชนิดใด

                   ก. กุหลาบ             

                 ข. มะนาว

                 ค. ชมพู่                 

                 ง. ชะอม

28. การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืช  2  ต้น เข้าด้วยกัน  โดยต้นหนึ่งเป็นต้นตอ  อีกต้นหนึ่งเป็นกิ่งพันธุ์ดี เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีใด

                 ก. การตอน

                 ข. การติดตา

                 ค. การทาบกิ่ง

                 ง. การเสียบยอด

29. ข้อใดกล่าวถึง การขยายพันธุ์โดยการเสียบยอดได้ชัดเจนที่สุด

           ก. การนำเอากิ่งพันธุ์ดีมาปักชำลงในดิน

           ข. การนำเอากิ่งพันธุ์ดีมาเสียบลงบนต้นตอที่เตรียมไว้

           ค. การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไปฝาก ให้เจริญบนต้นอื่น

           ง. การนำเอากิ่งพืชคนละสายพันธุ์มาฝากให้เจริญบนต้นตอที่เตรียมไว้

30. การขยายพันธุ์กล้วยโดยการแยกหน่อควรทำในฤดูใด

                 ก. ฤดูฝน

                 ข. ฤดูแล้ง

                 ค. ฤดูหนาว

                 ง. ทุกฤดูถ้ามีน้ำเพียงพอ

31. ภาชนะในข้อใดที่ไม่นิยมใช้ในการปลูกพืชเพื่อรอจำหน่าย

   . กระถางพลาสติก

   . ถุงพลาสติกสีดำ

   . กระถางดินเผา            

   .  กระถางโลหะ

32. การเลือกภาชนะปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อรอการจำหน่ายควรมีลักษณะอย่างไร

                 ก. เคลื่อนย้ายได้ง่าย

                 ข. ราคาไม่แพงจนเกินไป

                 ค. ขนาดพอเหมาะกับต้นพืช

                 ง. ขนาดพอเหมาะ ราคาถูก เคลื่อนย้ายง่าย

33. ดินที่นิยมบรรจุใส่ในกระถางเพื่อปลูกพืชคือ

   . ดินร่วน                                         

   . ดินทราย       

   . ดินเหนียว                    

   . ดินผสมขึ้นเอง

34. ธาตุอาหารที่เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของพืช  คือ

   . คาร์บอน (C )                              

   . ไนโตรเจน( N)

   . ฟอสฟอรัส (P)                           

   . โพแทสเซียม (K)

35. ดินที่เหมาะในการปลูกพืช มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่าไร

   .  5.5-6.0                                        

   .  6.0-6.5                        

   .  6.5-7.0                       

   .  7.0-8.0

36. ข้อใดไม่ใช่วัสดุที่ใช้ผสมดินปลูก

   . ดิน                                 

   . เศษอิฐ          

   . ปุ๋ยอินทรีย์                    

   .  อินทรียวัตถุ

37. ถ้าผลิตพันธุ์ไม้ได้จำนวนมากวิธีการจำหน่ายพันธุ์ไม้วิธีที่สะดวกที่สุดคือ

                 ก. ขายริมทาง

                 ข. ขายส่งถึงบ้าน

                 ค. ขายที่ตลาดนัดท้องถิ่น

                 ง. ขายส่งร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้

38. สถานที่ที่กลุ่มคนมาพบปะเพื่อแลกเปลี่ยน ซื้อ- ขายสินค้า  หรือบริการซึ่งกันและกัน  คือ

                 ก. ตลาด

                 ข. ศูนย์สุขภาพชุมชน

                 ค. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

                 ง. ศูนย์ฝึกอาชีพในชุมชน

39. ข้อใด ไม่ใช่ การปฏิบัติดูแลรักษาพืช

                 ก. การรดน้ำ

                 ข. การกำจัดวัชพืช

                 ค. การตกแต่งรูปทรง

                 ง. การบรรจุหีบห่อรอจำหน่าย

40. ข้อใด ไม่จัดเป็น การจัดการสินค้าเพื่อรอการจำหน่าย

                 ก. การใส่ปุ๋ย

                 ข. การคัดขนาด 

                 ค. การบรรจุภัณฑ์

                 ง. การตัดแต่งรูปทรง 

41. การคิดกำไรจากการจำหน่ายสินค้า คิดโดยวิธีใด

                 ก. ราคาขาย กำไร

                 ข. ต้นทุน กำไร

                   ค. รายรับ ต้นทุน

                   ง. กำไร ต้นทุน

42. ข้อใดไม่ใช่การเพิ่มมูลค่าพันธุ์ไม้

  ก. แต่งรูปทรงให้สวยงาม                                              

  .  จัดวางไว้ในที่กลางแจ้ง

         . บรรจุในภาชนะที่ดูดี                                 

         .  ดูแลให้พืชเจริญ  สดชื่น เป็นที่สะดุดตา

43. พันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาบูชาพระคือ

                   ก. ดอกบัว

                   ข. ดอกกุหลาบ

                   ค. ดอกดาหลา                                                  

                   . ดอกพุทธรักษา

44. ถ้านักเรียนต้องการซื้อพันธุ์กุหลาบมาปลูกต้องเดินทางไปสถานที่ใด

                   ก. ในตลาดสด                                                  

                   ข. ตามร้านค้าจำหน่ายพันธุ์ไม้

                   ค. ตามตลาดนัดเคลื่อนที่                                               

                   ง. ตามหน่วยงานของทางราชการ

45. ข้อใดไม่ใช่การเตรียมการเพื่อจำหน่ายพันธุ์ไม้

                   ก. การคัดขนาด                                                

                   . การเตรียมดินปลูก

                   ค. การติดต่อลูกค้า                                                           

                   .  การสำรวจตลาด

46. ข้อใดเป็นวิธีการการลดต้นทุนในการผลิตพันธุ์ไม้ได้ดีที่สุด

                   ก.  สั่งซื้อพันธุ์ไม้จากร้านค้าปลีก

                   ข.  ใช้วัสดุในท้องถิ่นที่หาง่าย  ราคาถูก

                   ค.  จ้างผู้มีความชำนาญเป็นผู้ดูแลกิจการ

                   ง.  เช่าร้านจำหน่ายสินค้าตามแหล่งชุมชน

47. ในการทำการเกษตรควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายใดต่อไปนี้

                   ก.  ผู้บริโภคภูมิใจในผลผลิต

                   ข.  ผู้บริโภคพึงพอใจในผลผลิต

                   ค.  ผู้บริโภคมั่นใจในผลผลิต

                 ง.  ทุกข้อที่กล่าวมา

48. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการปลูกพืช

                   ก.  สร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัว

                   ข.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                   ค.  ช่วยลดมลพิษทำให้อากาศบริสุทธิ์

                   ง.  เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง

49. จากข้อมูล ถ้าต้องการปลูกพืชแบบอนุรักษ์ดินจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอและสามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องควรปลูกในดินตามข้อใดและใช้ปุ๋ยชนิดใดจึงจะเหมาะสมที่สุด

ลักษณะของดิน

การให้ปุ๋ยให้อาหารแก่พืช

    ก. ดินหยาบ

1. ปุ๋ยเคมี

    ข. ดินเหนียว

2. ปุ๋ยคอก

    ค. ดินทราย

3. ปุ๋ยหมัก

    ง. ดินร่วน

4. ปุ๋ยพืชสด

1.                                     ก,1,2

2.                                     ข,2,3

3.                                     ค,1,4

4.                                     ง,2,3

50. ไส้เดือนดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่ เพราะอะไร

. มี เพราะเพิ่มช่องว่างในดิน

. มี เพราะเพิ่มความเป็นกรด - ด่างแก่ดิน

. ไม่มี เพราะไม่สามารถเพิ่มธาตุรองให้แก่พืช

. ไม่มี เพราะไม่สามารถเพิ่มธาตุ N P K ให้แก่พืชได้

51. การทำให้พืชออกรากโดยไม่ใช้เมล็ด เป็นหลักการของเรื่องใด

. การกลายพันธุ์

. การขยายพันธุ์พืช

. ความสมดุลทางชีวภาพ

. ความหลากหลายทางชีวภาพ

52. การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเชิงระบบมีลักษณะอย่างไร

. วางระบบในการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยเพิ่มจำนวนแรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์

. วางระบบในการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุน

. ผลิตสัตว์ให้มีปริมาณสัตว์มากขึ้น นำเศษเหลือจากการผลิตสัตว์มาใช้ประโยชน์อื่น ๆ

. ผลิตสัตว์ให้มีปริมาณสัตว์มากขึ้นโดยเพิ่มจำนวนอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์และค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์

53. อุปกรณ์ชนิดใดที่จำเป็นที่สุดในการเลี้ยงปลาสวยงาม

                   1. สวิง

                   2. กรวด

                   3. ทราย

                   4. เครื่องทำออกซิเจน

54. ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยมือควรใช้กับพืชชนิดใด

                   1. ขิงกับพริก

                   2. ข้าวโพดกับสับปะรด

                   3. มันสำปะหลังกับคะน้า

                   4. ใบโหระพากับผักบุ้ง

55.  หอยเชอรี่ระบาดในช่วงฤดูใด

                   1. ฤดูฝน

                   2. ฤดูร้อน

                   3. ฤดูหนาว

                   4. ทุกฤดูที่มีน้ำขัง

56. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยรากของต้นอื่นคือข้อใด

             ก. การติดตา                                                           

                   ข. การตัดชำ

                 ค. การตอนกิ่ง                                  

                   ง. การแยกหนอ

57. การตอนกิ่งมีจุดอ่อนเป็นอย่างไร

                   ก. ได้ปริมาณพืชต้นใหม่มากกว่าการตัดชำ

                   ข. วิธีปฏิบัติง่ายกว่าการตัดชำ

                   ค. การขนย้ายกิ่งตอนไปปลูกมีความสะดวกมาก

                   ง. กิ่งตอนไม่มีรากแก้วเช่นเดียวกับกิ่งตัดชำ

58. ปุ๋ยชนิดใดช่วยในการเจริญเติบโตของพืชในส่วนที่เป็นลำต้นและใบ

                   ก. ปุ๋ยฟอสฟอรัส

                   ข. ปุ๋ยไนโตรเจน

                   ค. ปุ๋ยโพแทสเซียม

                   ง. ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท

59.  พืชสมุนไพรชนิดใดใช้ปราบศัตรูพืชได้

                   ก. สะเดา และตะไคร้

                   ข. ใบโหระพาและใบเตย

                   ค. ใบแมงลักและผักหวาน

                   ง. ต้นชะพลูและใบทองหลาง

60. ข้อใดคือประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

                   ก. เกิดการกลายพันธุ์

                   ข. คัดพันธุ์พืชที่ดีไว้ปลูกได้

                   ค. ช่วยลดความต้านทานให้แก่พันธุ์พืช

                   ง. ผลิตพืชตรงสายพันธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาสั้น

61. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาในการประกอบอาชีพการเกษตร

                   ก. การมีประสบการณ์ในอาชีพการเกษตร

                   ข. โรคสัตว์และโรคพืช

                   ค. ผลผลิตล้นตลาด

                   ง. สภาพดินฟ้าอากาศ

62.  การเก็บผลผลิตทางการเกษตรเพื่อนำมาบ่มและทำให้มีรสชาติที่ดีควรเก็บอย่างไร

                   ก. ผลผลิตเริ่มสุกจึงเก็บ

                   ข. เก็บตอนที่ผลผลิตแก่จัดเต็มที่

                   ค. เก็บตอนเช้าผลผลิตจะไม่เหี่ยวง่าย

                   ง. เก็บตอนที่ยังดิบอยู่ทำให้เกิดสีสันสวยงาม

63.  ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ของผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตร

                   ก. รู้ว่าตนเองมีความสามารถและสนใจด้านใด

                   ข. เลือกสถานที่ประกอบอาชีพได้เหมาะสม

                   ค. รู้นโยบายจากภาครัฐบาล

                   ง. ดูเรื่องตลาดท้องถิ่นอย่างเดียว

64.  คุณสมบัติของปุ๋ยเคมีคือใด

                   ก. ทำให้รากพืชสามารถหยั่งรากลงลึก และแผ่กว้าง

                   ข. ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ ถ่ายเทน้ำ และระบายอากาศได้ดี

                   ค. สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่ละชนิดได้

                   ง. เป็นที่อยู่และเป็นอาหารแก่จุลินทรีย์ที่จะช่วยย่อยทำลายซากพืชซากสัตว์

65. อาชีพเกษตรกรรม  มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

        ก. อาชีพการผลิตพืชเป็นหลัก

        ข. อาชีพการผลิตสัตว์เป็นหลัก

        ค. อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตพืชและสัตว์

        ง. อาชีพทุกสาขาที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ

66. ข้อใด ไม่ใช่ คุณลักษณะที่สำคัญของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

        ก. ขยัน

        ข. อดทน

        ค. ฐานะดี

        ง. รับผิดชอบ

67. มนุษย์นำผลผลิตจากการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในเรื่องใดมากที่สุด

        ก. เป็นแหล่งให้ความร่มรื่นสวยงาม

        ข. เป็นงานที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร

        ค. นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัยสี่

        ง. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

68. ข้อใดกล่าวถึง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ตรงประเด็นที่สุด

          ก. เป็นปรัชญาที่กล่าวถึงการอยู่ร่วมกันของมนุษย์      

          ข. เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ของประชาชนในชนบท        

          ค. เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ของประชาชนในชุมชนเมือง                   

          ง. เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ

69. ความพอประมาณ  มีความหมายตรงกับข้อใด

          ก. ความอยากได้อยากมีของคน

          ข. การกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

          ค. การกระทำที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร                              

           ง. การคิด พูด ทำ ในลักษณะการยกตนข่มท่าน

 70. นิยามของความพอเพียง  มีความหมายตรงกับข้อใด

         ก. พออยู่พอกิน

         ข. เกิด  แก่  เจ็บ ตาย

         ค. พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี

         ง. มีเงินมีทอง มีมิตรแท้  มีความภาคภูมิใจ

71. ข้อใดไม่ใช่หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่

         ก. มีที่ดินจำนวนมาก

         ข. มีฐานะค่อนข้างยากจน

         ค. อยู่ในเขตเกษตรใช้น้ำฝน

         ง. ประหยัดและสามัคคีกับเพื่อนบ้าน

72. อัตราส่วนการแบ่งพื้นที่ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่  30 : 30 : 30 : 10  หมายถึงข้อใด

        ก. ที่อยู่อาศัย สระน้ำ นาข้าว พืชสวน

        ข. สระน้ำ  นาข้าว พืชสวน  ที่อยู่อาศัย

        . สระน้ำ นาข้าว เลี้ยงสัตว์ ที่อยู่อาศัย

        . ที่อยู่อาศัย เล้าไก่  โรงเพาะเห็ด นาข้าว

73. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรก่อให้เกิดผลดีคือ

         ก. ลดปัญหาสินค้าล้นตลาด

         ข. ช่วยให้ผลผลิตออกตามฤดูกาล

         ค. ช่วยขยายตลาดแรงงานภาคเกษตร

         ง. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

74. ภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อให้เกิดเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตพืชคือ

         ก. เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต

         ข. เป็นการนำข้อมูลที่ศึกษาจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ มาใช้เพิ่มผลผลิต

         ค. มีการนำเทคนิคต่างๆ ที่มีคนค้นคว้าไว้มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต                      

         ง. เป็นการนำความรู้จากประสบการณ์ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อนำมาพัฒนาเป็นวิธีการต่างๆในการ

            เพิ่มผลผลิต           

75. เทคโนโลยีชีวภาพ  หมายถึงข้อใด

     ก. เทคนิคการนำเอาเมล็ดพืชมาเพาะ

     ข. เทคนิคการนำเอารากพืชมาชำ

     ค. เทคนิคการนำเอาชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนา
     ง. เทคนิคการสืบค้นข้อมูลด้านต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต

76. โรงเรือนเลี้ยงไก่ที่ลงทุนน้อยที่สุดคือแบบใด

      ก. แบบหน้าจั่วกลาย

      ข.  แบบเพิงหมาแหงน

       ค. แบบหน้าจั่วสองชั้น

       ง. แบบเพิงหมาแหงนกลาย

77.ภาชนะปลูกไม้ดอกไม้ประดับในข้อใดส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

     ก. กระถางดินเผา

     ข. กระถางเคลือบ

     ค. กระถางเซรามิก

     ง. กระถางพลาสติก

78. การเพาะเมล็ด ใช้ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับในข้อใด

     ก. เข็ม บานบุรี

     ข. มะลิ กุหลาบ

     ค. บานไม่รู้โรย  กุหลาบ

     ง. ดาวเรือง  ดาวกระจาย

79. พืชสมุนไพร  เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านใด

      ก. ด้านแพทย์แผนไทย

      ข. ด้านงานประดิษฐ์

      ค.´ด้านการเกษตร

      ง. ด้านช่าง

80. ข้อใดไม่จัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

      ก. การทำขวัญข้าว

      ข. การรับจำนำข้าว

      ค. การปลูกผักกางมุ้ง

      ง. การลงแขกเกี่ยวข้าว

ตอนที่ 2  ศึกษาตัวอย่างข้อสอบ และวิธีการตอบข้อสอบ

คำชี้แจง   อ่านบทความเรื่องนักเรียนดีในบทความมีข้อความที่กำหนดซึ่งพิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้มอยู่ 8 ข้อความท้ายบทความจะมีตารางสรุปข้อความที่กำหนดซึ่งแต่ละข้อความจะมีตัวเลข 2 หลักกำกับ แล้วสรุปความเชื่อมโยงของข้อความที่กำหนดแต่ละข้อความกับข้อความอื่นๆที่เหลือ ให้สอบคล้องกับเนื้อหาใน

บทความ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

O ถ้าข้อความที่กำหนดมีข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) เป็นผลโดยตรง ให้ระบายตัวเลข 2 หลักหน้าข้อความที่เป็นผลโดยตรง แล้วตามด้วยตัวอักษร A

O ถ้าข้อความที่กำหนดมีข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) เป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ /

ลักษณะ ให้ระบายตัวเลข 2 หลักหน้าข้อความที่ เป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ / ลักษณะ  แล้วตามด้วยตัวอักษร “D”

O ถ้าข้อความที่กำหนดมีผลทำให้ข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม /ขัดขวาง ให้ระบายตัวเลข 2 หลักหน้าข้อความที่ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม / ขัดขวาง  แล้วตามด้วยตัวอักษร “F”

O ถ้าข้อความที่กำหนดไม่มีข้อความอื่น ที่เป็นผลโดยตรง หรือเป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ / ลักษณะ หรือที่ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม / ขัดขวาง ดังกล่าวข้างต้น ให้ระบายคำตอบเป็นตัวเลข “99” แล้วตามด้วยตัวอักษร “H”

                   ทั้งนี้ให้ใช้เลขกำกับข้อความที่กำหนด 01,02,03,…08 เป็นเลขข้อ 1,2,3,…8 ในกระดาษคำตอบข้อสอบแต่ละข้ออาจมีได้หลายคำตอบ หากตอบผิดจะถูกหักคะแนนคำตอบที่ผิดคำตอบละ 3 คะแนน  โดยหักจากคะแนนรวมของข้อสอบข้อนั้นๆ (ไม่หักคะแนนข้ามข้อ) ดังนั้นถ้าไม่มั่นใจ อย่าเดา

แนวข้อสอบ (การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง)

นักเรียนดี

                   นักเรียนดีเป็นอย่างไร หากจะกล่าวอย่างสั้นที่สุดก็คือ นักเรียนดีจะต้องมีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบอย่างน้อย 2 อย่าง คือ เรียนเก่ง และเป็นคนดี เหตุปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียนเป็นนักเรียนดีมีหลายอย่างเช่น พื้นฐานจิตใจนักเรียน  คุณภาพการเรียนการสอน คุณภาพอาจารย์ผู้สอน  คุณภาพสถานศึกษา  สำหรับคุณภาพการเรียนการสอนนั้น นอกจากเรื่องห้องสมุด  อาคารสถานที่  อุปกรณ์ สื่อการศึกษา ฯลฯ ยังขึ้นกับคุณภาพอาจารย์ด้วย  นอกจากนี้ จะต้องรู้จักระวังหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง เช่น การคบเพื่อนเลวเพราะย่อมสามารถลดหรือบั่นทอนความเป็นคนดีได้โดยง่าย

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

01

การคบเพื่อนเลว

05

นักเรียนดี

02

คุณภาพการเรียนการสอน

06

เป็นคนดี

03

คุณภาพสถานศึกษา

07

พื้นฐานจิตใจนักเรียน

04

คุณภาพอาจารย์

08

เรียนเก่ง

คำแนะนำวิธีการทำข้อสอบ

นำข้อความพร้อมหมายเลขกำกับที่สรุปไว้ในตารางท้ายบทความ มาร่างเป็นแผนภูมิเพื่อแสดง

ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ตามบทความเรื่อง นักเรียนดี โดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้

O เส้นที่มีหัวลูกศร (           ) ชี้จากข้อความที่กำหนดไปยังข้อความที่ เป็นผลโดยตรง หรือที่

เกิดขึ้นในลำดับถัดมา

O เส้นที่ไม่มีหัวลูกศร (          ) ชี้จากข้อความที่กำหนดไปยังข้อความที่เป็นองค์ประกอบ /

คุณสมบัติ / ลักษณะ

O เส้นที่มีหัวลูกศรและกากบาท (   ×    ) ชี้จากข้อความที่กำหนดไปยังข้อความที่ถูกลด /

ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม / ขัดขวาง

ตัวอย่างแผนภูมิ

02 คุณภาพการเรียนการสอนสอน

 

                        ´     

ข้อความ (05) นักเรียนดี มีองค์ประกอบหรือคุณสมบัติ 2 ประการ คือ (06) เป็นคนดี และ (08)

           เรียนเก่ง  ดังนั้นในแผนภูมิจึงเชื่อมโยงด้วยเส้นที่ไม่มีหัวลูกศร

ข้อความ (04) คุณภาพอาจารย์ เป็นเหตุ มีผลโดยตรงต่อ (02) คุณภาพการเรียนการสอน และ (05)

           นักเรียนดี จึงแสดงความเชื่อมโยงด้วยเส้นที่มีหัวลูกศร

ข้อความ (01) การคบเพื่อนเลว มีผลลดหรือบั่นทอน (06) เป็นคนดี จึงแสดงความเชื่อมโยงด้วยเส้นที่มี   

           หัวลูกศรและกากบาท 

จากแผนภูมิที่ร่างข้างต้น  สรุปความเชื่อมโยงของข้อความที่กำหนดกับข้อความอื่นตามเกณฑ์ เป็นรหัสคำตอบใส่ไว้ในตารางได้ดังนี้

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

ร่างรหัสคำตอบที่จะระบายในกระดาษคำตอบ

01

การคบเพื่อนเลว

06F

02

คุณภาพการเรียนการสอน

05A

03

คุณภาพสถานศึกษา

05A

04

คุณภาพอาจารย์

02A

05A

05

นักเรียนดี

06D

08D

06

เป็นคนดี

99H

07

พื้นฐานจิตใจนักเรียน

05A

08

เรียนเก่ง

99H

จากรหัสคำตอบที่ร่างไว้ในตาราง นำไประบายคำตอบในกระดาษคำตอบ ดังตัวอย่างหน้า 5

จากข้อมูลที่กำหนดให้ใช้ตอบคำถามข้อ 81-100

คำชี้แจง   อ่านบทความ 2 เรื่อง ได้แก่

1) เรื่อง การจัดสร้างสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ ในบทความนี้มีข้อความที่กำหนดซึ่งพิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้มอยู่ 10 ข้อความ ท้ายข้อความจะมีตารางสรุปข้อความที่กำหนดซึ่งแต่ละข้อความมีตัวเลข 2 หลักกำกับ ตั้งแต่เลข 01 ถึง 10 แล้วสรุปความเชื่อมโยงของข้อความที่กำหนดแต่ละข้อความกับข้อความอื่นๆ ที่เหลือให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

2) เรื่อง ผลที่ได้รับจากโครงการทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร ในบทความนี้มีข้อความที่กำหนดซึ่งพิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้มอยู่ 10 ข้อความ ท้ายข้อความจะมีตารางสรุปข้อความที่กำหนดซึ่งแต่ละข้อความมีตัวเลข 2 หลักกำกับ ตั้งแต่เลข 11 ถึง 20 แล้วสรุปความเชื่อมโยงของข้อความที่กำหนดแต่ละข้อความกับข้อความอื่นๆ ที่เหลือให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

เกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่

O ถ้าข้อความที่กำหนดมีข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) เป็นผลโดยตรง ให้ระบายตัวเลข 2 หลักหน้าข้อความที่เป็นผลโดยตรง แล้วตามด้วยตัวอักษร A

O ถ้าข้อความที่กำหนดมีข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) เป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ /

ลักษณะ ให้ระบายตัวเลข 2 หลักหน้าข้อความที่ เป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ / ลักษณะ  แล้วตามด้วยตัวอักษร “D”

O ถ้าข้อความที่กำหนดมีผลทำให้ข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม /ขัดขวาง ให้ระบายตัวเลข 2 หลักหน้าข้อความที่ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม / ขัดขวาง  แล้วตามด้วยตัวอักษร “F”

O ถ้าข้อความที่กำหนดไม่มีข้อความอื่น ที่เป็นผลโดยตรง หรือเป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ / ลักษณะ หรือที่ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม / ขัดขวาง ดังกล่าวข้างต้น ให้ระบายคำตอบเป็นตัวเลข “99” แล้วตามด้วยตัวอักษร “H”

ทั้งนี้ให้ใช้เลขกำกับข้อความที่กำหนด 01,02,03,.......20 เป็นเลขข้อ 1,2,3.......20 ในกระดาษคำตอบ

ข้อสอบแต่ละข้ออาจมีได้หลายคำตอบ หากตอบผิดจะถูกหักคะแนนคำตอบที่ผิดคำตอบละ 3 คะแนน โดยหักจากคะแนนรวมของข้อสอบข้อนั้นๆ (ไม่หักคะแนนข้ามข้อ) ดังนั้นถ้าไม่มั่นใจ ไม่ควรเดา

บทความที่ 1

การจัดสร้างสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่

สาเหตุและปัญหาของการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่

                   สาเหตุและปัญหาการขาดแคลนน้ำทางการเกษตรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าฯ ได้ทรงพบปัญหาที่เกิดขึ้น 2 ประการ

                   1. ลักษณะนิสัยของคนไทยในการใช้น้ำ ซึ่งพระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริ ว่า “…..ธรรมชาตินั้นได้ปรับตัวสร้างความสมดุลระหว่างธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์อยู่แล้วจะเห็นได้ว่าสภาพภูมิประเทศได้ปรับตัวเองให้เป็นลักษณะ หนอง คลอง บึง เพื่อเก็บกักน้ำยามน้ำหลากในหน้าฝน ซึ่งทำให้มีน้ำใช้ในยามแล้ง แต่มนุษย์กลับละเลย ไม่ดูแลสมบัติธรรมชาติอันล้ำค่านี้ และนอกจากไม่ดูแลแล้วมนุษย์ยังมีความโลภ ที่ทำลายโครงสร้างธรรมชาตินี้ด้วย หนอง คลอง บึง จึงอยู่ในสภาพตื้นเขินจนใช้การไม่ได้ หลายส่วนถูกยึดครองโดยไม่ชอบธรรม และสุดท้ายความทุกข์ยากก็เกิดขึ้น ยามน้ำหลากน้ำก็ไหลบ่า เพราะไม่มีหนอง คลอง บึง คอยรองรับเพื่อผ่อนคลายความรุนแรงและพอพ้นหน้าแล้งก็เกิดภาวะแห้งแล้ง ไม่มีปริมาณน้ำเก็บกักไว้ใช้…..”

                   2. ในพื้นที่การเกษตร ชาวบ้านได้รับความทุกข์ยากเนื่องจากไม่มีน้ำใช้ ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว เช่น ที่เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ประสบพบว่าชาวบ้านต้องเอาของแหลม ๆ ทิ่มลงในดินอันแห้งแกร่งเพื่อหยอดเมล็ดข้าว ซึ่งเติบโตขึ้นมาอย่างยากเย็นและแสนเข็ญ เพราะต้องอาศัยน้ำค้างอันน้อยนิดมาหล่อชีวิต ผลผลิตได้เมล็ดข้าวลักษณะลีบและเพียง 2 – 3 ถังต่อไร่ เพียงพอที่จะใช้ยาไส้เลี้ยงชีวิตชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น

                   เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงเริ่มประเดิมกิจกรรมมูลนิธิชัยพัฒนาและพระราชดำริการพัฒนาแบบใหม่โดยได้มีพระราชกระแสให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดซื้อที่ดินของวัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี จำนวน 16 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวาบริเวณริมถนนพหลโยธิน กม. 116–117 เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เป็นต้นแบบเพื่อสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรและเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎร รัฐ เผยแพร่อาชีพและจริยธรรมแก่ประชาชนและหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางในที่อื่นต่อไป

ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับเกษตรกรหรือชาวนาคือ ฝนแล้ง ความยากจน การเป็นหนี้สิน ทำอย่างไรจึงจะให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไป พอมีพอกิน ไม่อดอยาก

                   หลักการที่ใช้จัดหาน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่

                   การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่นั้นมีหลักการดังนี้

1.                   เกษตรกรมีพื้นที่เพื่อการเกษตรอย่างน้อยประมาณ 15 ไร่

2.                   อยู่ในพื้นที่ทำการเกษตรโดยใช้น้ำฝน ฝนตกไม่ชุก

3.                   ที่ดินมีสภาพที่สามารถขุดบ่อเก็บกักน้ำได้

4.                   ฐานะของเกษตรกรยากจน มีสมาชิกครอบครัวประมาณ 5–6 คน

                   ที่ดิน 15 ไร่จะจัดแบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ดังนี้

                   ส่วนที่ 1 พื้นที่ 5 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันของ

ครอบครัวเพื่อให้เพียงพอบริโภคตลอดปี ในฤดูแล้งจะปลูกพืชราคาดีเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่ายเช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว ปลูกหอมแดงและ กระเทียม ปลูกข้าวโพด

                   ส่วนที่ 2 พื้นที่ 5 ไร่ (30%) ใช้ปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล พืชไร่และพืชสมุนไพร ตัวอย่างพืชประเภทต่างๆ ดังนี้

                   ไม้ผล ได้แก่ มะขามหวาน มะม่วง ขนุน ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม ละมุด ส้ม ส้มโอ น้อยหน่า กระท้อน

                   ไม้ยืนต้น (ใช้สอยและเชื้อเพลิง) ได้แก่ ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ ทองหลาง จามจุรี ประดู่ ขี้เหล็ก ชิงชัน ฯลฯ

                   พืชสวน (ผักยืนต้น) ได้แก่ แคบ้าน มะรุม สะเดา สะตอ เหลียง เนียง ชะอม ผักหวาน ขจร ขี้เหล็ก กระถิน

                   พืชสวน(ผักล้มลุก) เช่น พริก กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า แมงลัก สะระแหน่ มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ ฯลฯ

                   พืชสวน (ดอกไม้) เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก ซ่อนกลิ่น ฯลฯ

                   สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝกและพืชผัก

                   ส่วนที่ 3 พื้นที่ 5 ไร่ (30%) ใช้ขุดสระเก็บน้ำเพื่อเก็บน้ำฝนในฤดูฝน มาใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ น้ำอุปโภคและบริโภค ถ้ามีน้ำพอดีในปีไหนก็สามารถที่จะประกอบการเกษตรหรือปลูกข้าวนาปีได้ ถ้าต่อไปในฤดูแล้งน้ำมีน้อยก็สามารถที่จะใช้น้ำที่กักไว้ในสระเก็บกักน้ำของแต่ละแปลงมาทำการเพาะปลูก แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ ไม่ต้องไปเบียดเบียนชลประทานระบบใหญ่ เพราะมีน้ำใช้ของตัวเกษตรกรเอง และสามารถปลูกผักหรือเลี้ยงปลาหรือทำอะไรอื่น ๆ ก็ได้ หลักการที่ใช้ในการพิจารณาขุดสระเก็บกักน้ำมี ดังนี้

                   1. การเลือกพื้นที่สำหรับขุดสระน้ำ มีความสำคัญมาก เพราะการขุดสระน้ำให้เก็บกักน้ำได้โดยมีการสูญเสียรั่วซึมน้อยและมีน้ำที่มีคุณลักษณะเหมาะต่อการอุปโภค บริโภค และการชลประทานได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ลักษณะของพื้นที่ ลักษณะของดิน และระดับน้ำใต้ดิน เป็นต้น

                   2. ตำแหน่งของสระน้ำ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถนำน้ำไปใช้ในแปลงอื่น ๆ ได้โดยสะดวกและสิ้นเปลืองน้อย ความรู้และความชำนาญของผู้ที่จะพิจารณาตัดสินใจว่าที่ใดจะขุดบ่อหรือสระเก็บกักน้ำได้หรือไม่ และถ้าขุดได้ควรจะวางตำแหน่งของสระน้ำที่ใด ตรงส่วนนี้มีความสำคัญมาก อาจต้องอาศัยความรู้ความชำนาญจากนักวิชาการของรัฐเข้ามาช่วยเหลือ ถ้าขุดสระเก็บกักน้ำแล้วเก็บน้ำไว้ใช้ไม่ได้ ก็ไม่เป็นทฤษฎีใหม่ แต่จะเป็นเกษตรกรใช้น้ำฝนตามปกติหรือในกรณีที่เกษตรกรบางรายที่มีสระน้ำขนาดเล็กอยู่แล้ว แต่ดำเนินกิจกรรมปลูกข้าว หรือพืชสวนหรือพืชไร่เพียงอย่างเดียว ก็เป็นเกษตรกรอย่างธรรมดา แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกข้าว พืชสวนพืชไร่ ในสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ 30 : 30 : 30 : 10 ก็จัดเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่

                   3. ลักษณะของดินที่มีศักยภาพเหมาะสมสำหรับขุดสระน้ำ ดินที่สามารถกักเก็บน้ำได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กรมพัฒนาที่ดินได้มีแนวทางพิจารณาสภาพดินที่เหมาะสมในการขุดสระเก็บน้ำ มี 2 ขั้นตอนดังนี้

                   การใช้ข้อมูลดินเบื้องต้น กรมพัฒนาที่ดินได้วินิจฉัยคุณภาพของดินแต่ละชุดแต่ละกลุ่มใน

ระดับความลึก 1 เมตร และปริมาณของก้อนหินที่จะมีผลต่อความยากง่ายในการขุด การลงพื้นที่เพื่อศึกษาสำรวจพื้นที่จริง การสำรวจในพื้นที่จะต้องสามารถวินิจฉัยได้ว่าดินชนิดใดที่เหมาะสม และดินชนิดใดที่ไม่เหมาะสม

                   4. ขนาดของสระเก็บกักน้ำ จากสัดส่วนที่แบ่งเป็นทำนาข้าว 5 ไร่ ต้องมีน้ำระหว่าง

ช่วงฤดูแล้ง1000 3 ต่อไร่ รวมเป็น 5000 3 พืชไร่หรือไม้ผล 5 ไร่ ต้องมีน้ำระหว่างช่วงฤดูแล้ง 1000 3 ต่อไร่รวม 5000 3 ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีน้ำไว้ใช้สำรองหน้าแล้งโดยเฉลี่ยประมาณ 10,000 3 และอัตราการระเหยของน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือสระน้ำจะมีการระเหยวันละ 1 ซม. ถ้าฝนไม่ตก 300 วันระดับน้ำในสระจะลดลง 300 ซม. หรือ 3 เมตร ถ้าขุดสระเก็บกักน้ำลึก 4 เมตรบนเนื้อที่ 3 ไร่ จะมีน้ำจุได้ 19,000 3 เมื่อนำปริมาณที่น้ำระเหยไป 3 เมตรหรือ ¾ ของ 19,000 3 คิดเป็น 3 x 4,750 3 จึงมีน้ำเหลือในสระเพียง 4,750 3 จึงต้องมีการเติมน้ำให้เพียงพออีก 5,250 3 ดังนั้นใน

                   พื้นที่ 3 ไร่ถ้าขุดลึก 5 เมตร ก็จะได้ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเกษตร หรือรับน้ำเพิ่มจากแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

                   สัตว์น้ำ ควรเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาจีน โดยเลี้ยงในสระน้ำหรือคูน้ำที่ขุดขึ้น

                   สัตว์บก ควรเลี้ยงวัวพื้นเมืองหรือวัวเนื้อ 1–2 ตัว เพื่อให้เล็มหญ้าธรรมชาติ และกินเศษเหลือของพืชที่ปลูก

                   ส่วนที่ 4 พื้นที่ 2 ไร่ (10%) ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ถนน คันดินและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น โรงเก็บวัสดุ โรงปุ๋ยหมัก โรงเห็ด ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ได้เสนอแนวทางปฏิบัติด้านการแบ่งสัดส่วน ดำเนินการ ไม่จำเป็นต้องเป็น 30:30:30:10 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ตายตัว สามารถยืดหยุ่นได้ตามสภาพของพื้นที่และขนาดของแรงงานในครัวเรือน

 http://www2.swu.ac.th/royal/book1/b1c2t4.html      

ที่ว่างสำหรับร่างแผนภูมิหรือคำตอบ

ตารางสรุปข้อความที่กำหนดและเลขกำกับของบทความที่ 1 และที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

01

ส่วนที่ 1 พื้นที่ 5 ไร่ ใช้ปลูกข้าว

02

ส่วนที่ 2 พื้นที่ 5 ไร่ ใช้ปลูกพืชยืนต้น ไม้ผล

03

ส่วนที่ 3 พื้นที่ 5 ไร่ ใช้ขุดสระเก็บน้ำ

04

ส่วนที่ 4 พื้นที่ 2 ไร่ ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

05

การเกษตรตามทฤษฎีใหม่

06

การพัฒนาแบบใหม่

07

พื้นที่เพื่อการเกษตร 15 ไร่

08

ปลูกพืช

09

เลี้ยงสัตว์

10

อุปโภค/บริโภค

เฉลย

ตารางสรุปข้อความที่กำหนดและเลขกำกับของบทความที่ 1 และที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

01

ส่วนที่ 1 พื้นที่ 5 ไร่ ใช้ปลูกข้าว

99 H

02

ส่วนที่ 2 พื้นที่ 5 ไร่ ใช้ปลูกพืชยืนต้น ไม้ผล

99 H

03

ส่วนที่ 3 พื้นที่ 5 ไร่ ใช้ขุดสระเก็บน้ำ

08 D

09 D

10 D

04

ส่วนที่ 4 พื้นที่ 2 ไร่ ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

99 H

05

การเกษตรตามทฤษฎีใหม่

01 D

02 D

03 D

04 D

06

การพัฒนาแบบใหม่

05 A

07

พื้นที่เพื่อการเกษตร 15 ไร่

05 A

08

ปลูกพืช

99 H

09

เลี้ยงสัตว์

99 H

10

อุปโภค/บริโภค

99 H

บทความที่ 2

ผลที่ได้รับจากโครงการทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร

                   เกษตรกรที่มีความพร้อมทางด้านที่ดินและแหล่งน้ำประมาณ 8,000 แห่ง ได้รับการสนับสนุนให้จัดทำกิจกรรมทางด้านการพัฒนาเกษตรในแนวทฤษฎีใหม่ โดยเน้นเพื่อเป็นการสาธิต ทั้งนี้รัฐจะให้การสนับสนุนทางด้านปัจจัยการผลิตพื้นฐานประมาณ 5,000 บาทต่อฟาร์ม ผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้วขณะนี้ ส่วนมากเป็นเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่แบบประยุกต์ หรือเกษตรกรรมวิธีอื่นๆ ซึ่งทำกันมาก่อนแล้ว แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้มีผู้เข้าใจวิธีทำเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นดังตัวอย่างต่อไปนี้

                   เกษตรกร                            นายจินดา จันทสิทธิ์

                   อาชีพเดิม                           ทำนาและรับจ้างทั่วไป

                   รายได้                 ประมาณ 20,000 บาท/ปี

                   สมาชิกครอบครัว             4 คน

                   พันธุ์ข้าว                             เดิมใช้พันธุ์พื้นเมือง (ขาวตาตั๊ว)

                   สภาพพื้นที่                        ต. รำพัน อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี มีน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน      

                                          ลักษณะดินเป็นดินชุดที่ 17 ดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเทามีจุดประสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน บางแห่งพบก้อนศิลาอ่อนและก้อนสารเคมีพวกเหล็ก และแมงกานีส ดินชั้นล่างระบายน้ำค่อนข้างเลวค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5–5.5 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2.775 มม./ปี

                   ผลผลิตข้าวที่ได้ไม่พอเพียงแก่การบริโภค

             การดำเนินการเพาะปลูกตามทฤษฎีใหม่

                   พื้นที่ 20% (2 ไร่) ปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 60 ปลูกถั่วลิสงหลังทำนา ปลูกข้าวโพดหวาน พืชผัก

                   พื้นที่ 60% (6 ไร่) ปลูกไม้ผลพวกมะม่วง มะพร้าวน้ำหอม มะนาว ละมุด ส้มโอ มังคุด และสละ พืชแซมมีฝรั่งแป้นสีทอง ชมพู่ ทับทิม กล้วย หมาก

                   พื้นที่ 10% (1 ไร่) ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกพวกไก่เนื้อและเป็ดเทศ ปลูกไม้ใช้สอย เช่น ประดู่ กระถินเทพา สะเดา ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น หมากแดง หมากเขียว เฟื่องฟ้า มะลิ เรลิโคเลีย เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

                   พื้นที่ 10% (1 ไร่) ขุดเป็นสระกักเก็บน้ำและเลี้ยงสัตว์น้ำ ขนาดของสระน้ำ 40 x 40 เมตร ลึก 1.5 เมตร รักษาระดับน้ำ 1 เมตร สาเหตุที่ไม่สามารถขุดลึก มากกว่านี้เนื่องจากพื้นที่เป็นดินพรุ ขุดลึกลงไปจะทำให้น้ำมีความเค็มและดินที่นำขึ้นมาจะไม่สามารถปลูกพืชได้เนื่องจากความเค็ม ความเป็นกรด-ด่าง หลังการขุดสระน้ำ เป็น 3.3 ค่าอัลคาไลด์เป็น 0 ค่าความเค็มเป็น 7 ppt 

                ภายหลังเติมปูนขาวลงไป 200 กก. เวลาผ่านไป 12 เดือน ทดสอบการปล่อยปลานิลและปลาหมอเทศจำนวน 100 ตัว ปรากฏว่าตายหมด  ต่อมาหว่านปูนขาว 1,400 กก. ปล่อยสระน้ำทิ้งไว้และไปขอคำแนะนำการแก้ปัญหาน้ำเค็มและน้ำเปรี้ยวให้สามารถเลี้ยงปลาได้ งานวิชาการเกษตรจึงได้แนะนำให้เพิ่มค่าอัลคาไลด์ในสระน้ำโดยใส่ปุ๋ยคอกและฟางข้าวหมัก  ในสระน้ำใส่ปุ๋ยคอก 80 กก. อีก 5 เดือนต่อมาทำการวิเคราะห์น้ำ ค่าอัลคาไลด์เพิ่มขึ้น จึงใส่ปุ๋ยคอกและฟางข้าวเพิ่ม จนค่าอัลคาไลด์เป็น 18

ค่าความเค็มเป็น 0 ความเป็นกรด-ด่างเป็น 6 ระดับน้ำในสระเป็น สูง 95 ซม.เติมน้ำเข้าสระอีก 5 ซม. แล้วปล่อยปลานิล 4,000 ตัว เพื่อให้ขยายพันธุ์เป็นอาหารของปลากะพงขาว ปลานิลอยู่รอดได้ 100% อีก 5 เดือนต่อมาน้ำลดลงเหลือ 33 ซม. จึงเติมน้ำในสระจากคลองรำพันจนถึง 100 ซม.

                   ภายหลังจากการปรับสภาพน้ำจนได้สภาวะที่เหมาะสม จึงปล่อยปลากะพงขาว 300 ตัวผลปรากฏว่ามีอัตราการอยู่รอด 100% หลังจากการเลี้ยงปลาในสระน้ำ ปลามีการเจริญเติบโตดี มีปริมาณเพิ่มขึ้น รายได้จากสัตว์น้ำมีปลากะพงขาว ปลานิล ปลาหมอเทศ และปลาสลิด และใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับครอบครัวปัจจุบันนายจินดา มีรายได้ 3,000 บาท/เดือน

ที่ว่างสำหรับร่างแผนภูมิหรือคำตอบ

ตารางสรุปข้อความที่กำหนดและเลขกำกับของบทความที่ 2 และที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

11

การดำเนินการเพาะปลูกตามทฤษฎีใหม่

12

พื้นที่ 2 ไร่ ปลูกข้าวปทุมธานี

13

พื้นที่ 6 ไร่ ปลูกไม้ผล

14

พื้นที่ 1 ไร่ ขุดสระน้ำ

15

พื้นที่ 1 ไร่ ที่อยู่อาศัย

16

ขนาดสระ 40 ม. × 40 ม. × ลึก 1.5 ม

17

การปรับสภาพน้ำ

18

ปูนขาว/ปุ๋ยคอก/ฟางข้าว

19

ความเค็มเป็น 0

20

ความเป็นกรด-ด่างเป็น 6

เฉลย

ตารางสรุปข้อความที่กำหนดและเลขกำกับของบทความที่ 2 และที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

เลขกำกับ

ข้อความที่กำหนด

ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ

11

การดำเนินการเพาะปลูกตามทฤษฎีใหม่

12 D

13 D

14 D

15 D

12

พื้นที่ 2 ไร่ ปลูกข้าวปทุมธานี

99 H

13

พื้นที่ 6 ไร่ ปลูกไม้ผล

99 H

14

พื้นที่ 1 ไร่ ขุดสระน้ำ

16 A

17 A

18 A

15

พื้นที่ 1 ไร่ ที่อยู่อาศัย

99 H

16

ขนาดสระ 40 ม. × 40 ม. × ลึก 1.5 ม

17 A

17

การปรับสภาพน้ำ

18 A

18

ปูนขาว/ปุ๋ยคอก/ฟางข้าว

19 D

20 D

19

ความเค็มเป็น 0

99 H

20

ความเป็นกรด-ด่างเป็น 6

99 H