งาน 150 ปี หลวง ปู่ มั่น

150 ปีชาตกาลหลวงปู่มั่นและพิธีถวายมุทิตาสักการะพระพรหมมุนี

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 ม.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 ต.ค. 2565

| 365 view

150 ปีชาตกาลหลวงปู่มั่นและพิธีถวายมุทิตาสักการะพระพรหมมุนี

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ร่วมกับชุมชนไทย ถวายมุทิตาสักการะแด่พระพรหมมุนี เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสเลื่อนสมณศักดิ์ โดยมีพระเทพสีลาภรณ์เป็นผู้นำพิธีฯ และมีพระสงฆ์จากวัดต่างๆ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์เข้าร่วมด้วย

พระพรหมมุนี ได้เป็นประธานสงฆ์ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์บำเพ็ญกุศลครบรอบ 150 ปี ชาตกาล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งองค์การยูเนสโกประกาศยกย่องเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ

ในโอกาสนี้ พระพรหมมุนี ให้พรแก่ชาวไทยในออสเตรเลียให้ร่วมกันทำดี และให้ประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน


จัดทั่วประเทศ-ศูนย์กลางที่วัดปทุมวนาราม ทำบทเพลงเทิดเกียรติคุณ

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า ตามที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 150 ปีชาตกาลและได้ประกาศยกย่องให้พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ในวาระปี 2563-2564 คณะกรรมการอำนวยการฯ และคณะอนุกรรมการ กำหนดกิจกรรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยในส่วนของกิจกรรมวันที่ 20 ม.ค.2563 ซึ่งตรงกับวันชาตกาล 150 ปี จะมีกิจกรรมด้านศาสนพิธีตามวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่เวลา 07.15 น. มีพิธีตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม ตามวิถีของแต่ละวัด พิธีประกาศเกียรติคุณ ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ จากนั้นในเวลา 18.15 น. จะจัดกิจกรรมเจริญสมาธิภาวนาสู่สันติภาพ 15 นาที ทั่วไทยทั่วโลก

“สำหรับการจัดนิทรรศการที่วัดปทุมฯ จะมีชีวประวัติหลวงปู่มั่น นำเสนอเรื่องราวความสมถะของท่าน ตลอดจนเนื้อหาที่ท่านธุดงค์ไปยังวัดและสถานที่ต่างๆ ส่วนวัดที่ท่านเคยธุดงค์ จะให้จัดนิทรรศการเพื่อยกย่องหลวงปู่มั่น ตามความเหมาะสม และในโอกาสนี้สภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นภาคีเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของกรมการศาสนาได้พิจารณาคัดเลือกนายไชยา มิตรชัย ทำหน้าที่ทูตพระพุทธศาสนาการจัดกิจกรรม 150 ปีชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมและเชิญชวนให้ปฏิบัติธรรม เพื่อสร้างสันติภาพด้วย” อธิบดีกรมการศาสนากล่าว

นายกิตติพันธ์กล่าวว่า ทั้งนี้ สถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดไทยทั้งในและต่างประเทศ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ศิลปินสาขาต่างๆ ชุมชนคุณธรรมทั่วประเทศ ให้การตอบรับเข้าร่วมแล้วกว่า 5,000 ราย นอกจากนี้ กรมการศาสนาร่วมกับคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำบทเพลงเทิดเกียรติคุณ 150 ปีชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เผยแพร่ประพันธ์คำร้องโดย ผอ.ส่วนบริหารการดนตรี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์และประพันธ์ทำนองโดยนาง โฉมฉาย อรุณฉาน ขับร้องโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย โดยบทเพลงนี้ได้จัดทำในภาคภาษาอังกฤษและภาษาจีนด้วย ติดตามได้ใน https://www.youtube.com/watch?v=sl-9pvtpYXU&feature=youtu.be

แบบอนุสรณ์สถานหลวงปู่มั่น 150ปี ชาตกาล ได้รางวัลผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น

งาน 150 ปี หลวง ปู่ มั่น

วันที่ 9 ธันวาคม 2564 สภาคณดีคณะสถาปัตยรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศผลการประกวดผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ "โครงการสถาบัตย์นิทรรศน์" ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 14-19 ธันวาคม 2564 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

งาน 150 ปี หลวง ปู่ มั่น

ซึ่งในปีนี้ คณะทำงานฯ จัดให้มีรางวัล "ผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น" เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นไป โดยพิจารณาจากผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 86 ผลงาน มีผู้ได้รับรางวัลผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ด้านสถาปัตยกรรมและที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 รางวลัล และรางวัลผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ด้านการออกแบบและศิลปกรรม จำนวน 2 รางวัล

โดยผลงาน อนุสรณ์สถานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 150 ปี ชาตกาล ของ อาจารย์ติ๊ก แสนบุญ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับรางวัลผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ด้านสถาปัตยกรรมและที่เกี่ยวข้อง ด้วย

สำหรับแบบอนุสรณ์สถานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 150 ปี ชาตกาล ของ อาจารย์ติ๊ก แสนบุญ เตรียมสร้างขึ้นที่ วัดศรีบุญเรือง บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ ใช้ชื่อว่า เจดีย์วิมุตติยาภูริทัตนุสรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การเผยแพร่พระพุทธศาสนา และหลักธรรมคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

งาน 150 ปี หลวง ปู่ มั่น

แนวคิดในการออกแบบ อนุสรณ์สถานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 150 ปี ชาตกาล

เปลวรัศมี สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรม ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีรูปร่างคล้ายดอกบัว หมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นดอกไม้แห่งพุทธศาสนา

การวางผัง ผังบริเวณได้แนวคิดจากหยดน้ำ ที่มีรัศมีวงกลม แผ่วงขยายเป็นวงกว้าง เปรียบได้กับบารมีหลวงปู่มั่นฯ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสายวิปัสสนากรรมฐาน

งาน 150 ปี หลวง ปู่ มั่น

บริเวณด้านข้าง บันไดทั้งสองข้างเป็นสระบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนด้านข้างบันไดมีกระเบื้องดินเผาแกะสลักนูนต่ำเล่าเรื่องราวชีวประวัติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี ชาตกาล การบรรพชาเป็นสามเณร สอดแทรกหลักธรรมคำสอน และปรัชญาธรรมที่สำคัญ

ฐานของอนุสรณ์สถาน เป็นเจดีย์แนวขันแบบยาว (ไทยอีสานล้านช้าง) และภายในเจดีย์ประดิษฐานรูปเหมือนของหลวงปู่มั่น เพื่อให้พุทธศานิกชนได้มีโอกาสสักการะรำลึกถึงคุณูปการของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

งาน 150 ปี หลวง ปู่ มั่น