Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

การสาดสีในโลกของศิลปะสมัยใหม่นั้นปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดเป็นครั้งแรกๆ ในกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะ แอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (abstract expressionism) ที่ถือกำเนิดขึ้นในนิวยอร์ก ในช่วงปี ค.ศ.1940-1950 ศิลปะในรูปแบบนี้เน้นการแสดงออกของอารมณ์ความรู้สึกผ่านการทำงานศิลปะที่ไม่ยึดติดกับความเป็นจริง และสำแดงความเคลื่อนไหวแบบฉับพลัน รุนแรงตามสัญชาตญาณ และการทำงานโดยอัตโนมัติของจิตไร้สำนึก ซึ่งเทคนิคการสาดสีนั้นเป็นการทำงานรูปแบบหนึ่งของศิลปะแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ที่เรียกว่า แอ็กชั่น เพนติ้ง (action painting) อันเป็นชื่อที่บัญญัติโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะและภัณฑารักษ์ชื่อดังอย่าง แฮโรลด์ โรเซนเบิร์ก (Harold Rosenberg) ในปี ค.ศ.1952 เพื่อนิยามการทำงานจิตรกรรมที่ใช้วิธีการวาดภาพที่แตกต่างจากการจับพู่กันวาดภาพตามปกติ หากแต่ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายแทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น แขน ไหล่ ขา ฯลฯ สำแดงท่วงทีในการใช้สีสร้างภาพให้ปรากฏขึ้นมา

ศิลปินที่โด่งดังในแนวทางนี้คือ ฟรันซ์ ไคลน์ (Franz Kline) ฟิลลิป กัสตัน (Philip Guston) ลี เครสเนอร์ (Lee Krasner) และ วิลเลิม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แจ็กสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) ผู้เป็นที่รู้จักอย่างโดดเด่นในการวาดภาพด้วยการวางผืนผ้าใบลงบนพื้นแล้วเยื้องย่างร่างกายไปรอบๆ สาด สะบัด ตวัด เทสีจากกระป๋องสีทาบ้านลงบนผืนผ้าใบด้วยท่วงทีอันเข้มแข็งเปี่ยมพลัง จนกลายเป็นภาพวาดนามธรรมอันเลื่องชื่อ (ศิลปินแอ็กชั่น เพนติ้งบางคน เอาสีใส่ลูกโป่งแล้วปาใส่ผ้าใบ หรือเทสีใส่ตัวแล้วไถลตัวใส่หรือวิ่งชนผืนผ้าใบก็ยังมี) ศิลปินเหล่านี้เชื่อว่าวิธีการเช่นนี้จะเป็นหนทางถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและแรงกระตุ้นภายในของพวกเขาลงบนผืนผ้าใบได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

แจ็คสัน พอลล็อค ขณะกำลังทำงาน แอ็กชั่น เพนติ้ง, ภาพจาก https://visual.garrytan.com/jackson-pollock-at-work

แต่ถึงแม้ศิลปะแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์จะเต็มไปด้วยความสดใหม่ สร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกับรูปแบบประเพณีและความเป็นจริง แต่ในทางกลับกัน ศิลปินแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ก็ไม่ฝักใฝ่การเมือง พวกเขาสนใจในคุณค่าทางสุนทรียะมากกว่าอุดมการณ์ทางการเมือง กิจกรรมทางการเมืองของศิลปินแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ก็มีเพียงแค่การเรียกร้องให้รัฐสภาอนุมัติให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการทางวัฒนธรรมเท่านั้น

และถึงแม้ในช่วงแรกๆ ศิลปินแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์จะได้รับอิทธิพลทางความคิดทางการเมืองแบบฝ่ายซ้ายมาจากลัทธิเซอร์เรียลลิสม์ แต่ก็มีศิลปินเพียงไม่กี่คนที่สืบทอดแนวคิดทางการเมืองเอาไว้ได้ตลอดรอดฝั่ง ในขณะที่ศิลปินส่วนใหญ่รับมาแค่แนวคิดและกลวิธีในการทำงานศิลปะเท่านั้น

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

แจ็คสัน พอลล็อค : Blue Poles (1952), ภาพจาก https://www.jackson-pollock.org/blue-poles.jsp

ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้ศิลปะแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสเคลื่อนไหวใหม่ทางศิลปะขึ้นมา ด้วยการแยกศิลปะออกจากการเมือง ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของรัฐบาลอเมริกันในช่วงสงครามเย็นพอดิบพอดี จนมีทฤษฎีสมคบคิดว่า ศิลปิน แอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ได้รับการสนับสนุนลับๆ จากองค์กรที่ทรงอำนาจของรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างสำนักข่าวกรองกลาง หรือ ซีไอเอ (CIA) ในฐานะอาวุธลับทางวัฒนธรรมเพื่อต่อกรกับคอมมิวนิสต์ในสงครามเย็นเลยทีเดียว

อากัปกิริยาการเล่นกับสี ยังปรากฏในผลงานของ อีฟว์ ไคลน์ (Yves Klein) ศิลปินชาวฝรั่งเศสผู้ทรงอิทธิพลและมีชื่อเสียงโดดเด่นอื้อฉาวที่สุดในยุคทศวรรษที่ 50-60 เขาเป็นศิลปินหัวหอกของกลุ่มนูโวเรียลลิสต์ (Nouveau réalisme) หรือ สัจนิยมใหม่ ของยุโรปในยุคหลังสงครามโลก ในผลงานศิลปะแสดงสดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขาที่มีชื่อว่า ‘Anthropométrie sans titre Anthropometry‘ (การวัดร่างกายมนุษย์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่ปราศจากชื่อ) (1961) ที่ไคลน์ปรากฏตัวในห้องแสดงงานด้วยชุดสูททักซิโด้สีดำเต็มยศ เตรียมออกท่าทางกำกับวงดนตรีออเคสตราสิบชิ้นที่กำลังจะเล่นเพลงที่เขาแต่งขึ้นในปี ค.ศ.1949 ที่มีชื่อว่า Monotone Symphony ซึ่งทั้งเพลงประกอบด้วยโน้ตแค่เพียงตัวเดียว

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

อีฟว์ ไคลน์ : Anthropométrie sans titre Anthropometry (1961) ภาพจาก http://www.creja.nl/ik-wist/yves-klein—blauw/

การแสดงเริ่มต้นขึ้นเมื่อนางแบบสามคนปรากฏกายออกมาด้วยร่างเปลือยเปล่าไร้อาภรณ์ ทันทีที่เสียงดนตรีเริ่มบรรเลงขึ้น ไคลน์ก็สั่งให้นางแบบเหล่านั้นสาด ราดรด และละเลงสีน้ำเงิน International Klein Blue (IKB) อันเป็นเหมือนเครื่องหมายการค้าของเขาลงบนร่างเปลือยเปล่าของตัวเอง และไถลเถือกเกลือกกลิ้งและแนบร่างกายเปื้อนสีลงไปบนพื้นและผนังหอศิลป์ที่ปูและปิดด้วยผืนผ้าใบและกระดาษสีขาวแผ่นใหญ่หลายแผ่นต่อกัน ประหนึ่งจะใช้เรือนร่างของพวกเธอวาดรูปต่างพู่กัน หรือเป็นแม่พิมพ์ประทับร่องรอยร่างกายของพวกเธอลงไปบนกระดาษและผืนผ้าใบเหล่านั้น

ผลงานชิ้นนี้ของเขาได้แรงบันดาลใจจากภาพถ่ายร่องรอยเงาของคนที่ประทับบนพื้นจากระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ รวมถึงอ้างอิงไปถึงผลงานของศิลปินแอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์อย่าง แจ๊กสัน พอลล็อก หากแต่การใช้ร่างกายของมนุษย์ต่างพู่กันวาดภาพของไคลน์ ท้าทายความคาดหวังของผู้ชมเกี่ยวกับกระบวนการทำงานศิลปะและสร้างแนวทางใหม่ของศิลปะแสดงสดอันน่าทึ่งขึ้นมา ด้วยการใช้เรือนกายเปลือยเปล่าของมนุษย์เป็นสื่อกลางในการสร้างงานศิลปะ ไคลน์ต้องการให้ผู้ชมของเขาได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่พวกเขาสามารถจะรู้สึกและทำความเข้าใจกับแนวความคิดทางศิลปะไปพร้อมๆ กันได้ การแสดงสดชุดนี้ถือเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับคไลน์อย่างมหาศาล และถือเป็นห้วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะเลยก็ว่าได้

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

อีฟว์ ไคลน์ : Anthropométrie sans titre Anthropometry (1961) ภาพจาก http://www.creja.nl/ik-wist/yves-klein—blauw/

อย่างไรก็ดี การใช้ร่างกายของผู้หญิงเป็นเครื่องมือในการทำงานศิลปะของไคลน์เช่นนี้ก็ไม่เป็นที่สบอารมณ์และถูกต่อต้านจากเหล่าบรรดานักสตรีนิยมหรือเฟมินิสต์ ซึ่งในภายหลัง เหล่าศิลปินเฟมินิสต์เองก็ใช้ร่างกายของพวกเธอเป็นเครื่องมือในการทำงานศิลปะด้วยตัวเอง แทนที่จะถูกศิลปินเพศชายอย่างไคลน์ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานศิลปะอย่างที่เคยทำมา

อย่างเช่นผลงานของ แคโรลี ชนีแมนน์ (Carolee Schneemann) ศิลปินผู้บุกเบิกงานศิลปะแสดงสด ศิลปะแฮ็พเพ็นนิงซึ่งเป็นกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงปลายยุค 1950s ถึงต้นยุค 1960s เน้นการแสดงสดอันแปลกแหวกแนว ที่เป็นการผสมผเสเหตุการณ์ต่างๆ หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงแบบด้นสด (Improvisation) และมักจะมีเหตุบังเอิญหรือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในระหว่างการแสดง ศิลปะการแสดงสดแฮ็พเพ็นนิง เน้นการปฏิสัมพันธ์ตอบโต้ระหว่างศิลปินกับสภาพแวดล้อม บรรยากาศ พื้นที่แสดงงาน ไปจนถึงปฏิกิริยาโต้ตอบของคนดู

นอกจากนี้ แคโรลียังบุกเบิกงานศิลปะเฟมินิสต์ (feminist art) และเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่พัฒนาวิธีการทำงานศิลปะที่สร้างบทสนทนาโต้ตอบการทำงานแบบ แอ็กชั่นเพนติ้ง ที่บุกเบิกโดย แจ็คสัน พอลล็อค ศิลปินแอบสแตรกต์เอกซ์เพรสชั่นนิสต์ผู้ทรงอิทธิพล ด้วยการผสานแนวคิดแบบเฟมินิสต์เข้าไปในกระบวนการทำงานลักษณะนี้ ชนีแมนน์สอดแทรกประสบการณ์ทางกายภาพและมุมมองของเธอเข้าไปในการทำงานศิลปะด้วยร่างกายของตัวเอ

ดังเช่นในผลงานศิลปะแสดงสด Meat Joy (1964) ที่เธอทำร่วมกับ เจมส์ เทนนีย์ (James Tenney) นักแต่งเพลงหัวก้าวหน้าชาวอเมริกันผู้เป็นสามีของเธอในเวลานั้น ซึ่งเป็นศิลปะแสดงสดประกอบดนตรีที่ดูไม่ต่างอะไรกับเซ็กส์หมู่ของเหล่าบรรดานักแสดงชายหญิงรวมถึงตัวเธอเองในชุดชั้นในน้อยชิ้น เกลือกกลิ้งกอดก่ายนัวเนียกันไปมาบนพื้นที่สาดราดรดด้วยสีแดงสดเหมือนเลือด คลุกเคล้าซากสัตว์อย่างปลา, ไก่, ไส้กรอก, ถุงพลาสติก, เชือก และเศษกระดาษนานาชนิด

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

แคโรลี ชนีแมนน์ : Meat Joy (1964), ภาพจาก https://www.anothermag.com/art-photography/8462/carolee-schneemann-on-feminism-activism-and-ageing

หรือผลงานสุดอื้อฉาวที่สุดของเธออย่าง Interior Scroll (1975) ในนิทรรศการศิลปะ Women Here and Now ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีสากลของสหประชาชาติ ในอีสต์แฮมพ์ตัน นิวยอร์ก

การแสดงเริ่มด้วยการที่เธอเข้ามาในห้องแสดงงานที่เต็มไปด้วยผู้ชมพร้อมเสื้อผ้าเต็มยศ ก่อนที่จะค่อยๆ เปลื้องออกจนหมด ราดรด ละเลงร่างกายเปลือยเปล่าของตัวเองด้วยสี และสวมผ้ากันเปื้อนสีขาวทับ บิดกายเกลือกกลิ้งบนโต๊ะ โพสท่าเลียนแบบนางแบบวาดภาพนู้ด พร้อมกับอ่านถ้อยคำจากหนังสือให้ผู้ชมฟัง ในจุดพีคสุดของการแสดง เธอปลดผ้ากันเปื้อนออก ยืนเปลือยกายล่อนจ้อนบนโต๊ะ กางขา แล้วค่อยๆ ดึงม้วนกระดาษยาวเหยียดออกจากอวัยวะเพศแล้วอ่านเนื้อหาในนั้นดังๆ ให้คนดูฟัง

‘การสาด’ นอกจากจะเป็นอากัปกิริยาที่ศิลปินใช้ในการแสดงออกทางศิลปะดังที่กล่าวมาแล้ว ยังเป็นสิ่งที่นักเคลื่อนไหวหรือองค์การทางสังคมการเมืองใช้ในการประท้วงในประเด็นต่างๆ เช่นเดียวกัน แล้วก็ไม่ได้สาดกันแต่สีเท่านั้นนะ

ดังเช่นในการประท้วงขององค์กรเรียกร้องสิทธิสัตว์ในอิตาลีอย่าง 100% Animalisti ในปี ค.ศ.2017 ที่ทำการประท้วงศิลปินร่วมสมัยชาวอังกฤษอย่าง เดเมียน เฮิร์สต์ ผู้มักใช้ซากศพจริงๆ ของสัตว์มาทำงานศิลปะจนโด่งดังและร่ำรวยมหาศาล ด้วยการขนปุ๋ยคอก (ก็ขี้นั่นแหละ) จำนวน 88 ปอนด์ (เกือบ 40 กิโลกรัม) ที่เก็บจากศูนย์พักพิงสัตว์ ไปสาดเทให้กองเหม็นหึ่งหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Palazzo Grassi ที่จัดแสดงนิทรรศการล่าสุดของเฮิร์สต์ในเวนิส พร้อมกับทิ้งป้ายที่มีใจความว่า “Damien Hirst Go Home! Beccati Questa Opera D’arte! 100% Animalisti.” (เดเมียน เฮิร์สต์ไสหัวกลับบ้านไป! เอาศิลปะนี่ไปแดกซะ!) โดยในเว็บไซต์ของ 100% Animalisti มีแถลงการณ์ประณามเฮิร์สต์ว่าเป็น ‘ศิลปินจอมปลอม’ เคียงคู่ไปกับศิลปินอย่าง แฮร์มานน์ นิตช์ และ มัวริซิโอ คัตเตลาน ที่พวกเขากล่าวว่า “สร้างความมั่งคั่งและชื่อเสียงชั่วประเดี๋ยวประด๋าวของตนจากการสตัฟฟ์ ชำแหละ และฆ่าสัตว์ในนามของศิลปะ”

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

การประท้วงเดเมียน เฮิร์สต์ ด้วยการสาดเทปุ๋ยคอกหน้าพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Palazzo Grassi ของ 100% Animalisti, ภาพจาก https://news.artnet.com/art-world/damien-hirst-venice-exhibition-animal-rights-group-892277

อนึ่ง การใช้งานศิลปะในการประท้วงหรือขับเคลื่อนทางการเมืองด้วยความเกรี้ยวกราดนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ดังที่ปรากฏในผลงานของศิลปินชาวรัสเซีย พีเทอร์ ปาฟเลนสกี้ (Petr Pavlensky) ศิลปินนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ผู้ทำงานศิลปะแฮ็พเพ็นนิงในการประท้วงอย่างเกรี้ยวกราดจนเป็นที่เลื่องลืออื้อฉาวหลายต่อหลายครั้ง

ยกตัวอย่างเช่น ศิลปะแสดงสด Stitch (2012) การใช้ด้ายเย็บปากของตัวเองจนปิดสนิทเพื่อแสดงการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ ต่อการที่ Pussy Riot วงดนตรีพังก์ร็อกหญิงล้วนจากมอสโกถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและตัดสินจำคุกจากการแสดงคอนเสิร์ตต่อต้านประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน โดยปาฟเลนสกี้ปรากฏตัวขึ้นที่มหาวิหารคาซาน ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ด้วยปากที่เย็บปิดสนิท ในมือถือป้ายที่เขียนว่า “การกระทำของ Pussy Riot เป็นการเลียนแบบการกระทำอันเลื่องลือของพระเยซูคริสต์ (มัทธิว 21:12-13)”

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

พีเทอร์ ปาฟเลนสกี้ : Stitch (2012), ภาพจาก https://www.nytimes.com/2017/01/17/arts/design/russian-dissident-artist-will-seek-asylum-in-france.html

ภาพของปาฟเลนสกี้ประท้วงด้วยการเย็บปาก ถูกเผยแพร่และปลุกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับการกดขี่ไปในที่สุด แต่ตัวปาฟเลนสกี้กลับถูกจับเข้าสถานบำบัดจิต เพื่อตรวจสอบสภาพจิต แต่ก็ได้รับการวินิจฉัยว่าสภาพจิตปกติและได้รับการปล่อยตัวหลังจากนั้นไม่นาน ปาฟเลนสกี้ทำงานศิลปะประท้วงอย่างไร้การประนีประนอมเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการประท้วงและเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว มันยังแสดงให้เห็นถึงความขาดไร้พัฒนาการและตีบต้นขัดสนทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดเกี่ยวกับสังคมและการเมืองของวงการศิลปะร่วมสมัยของรัสเซียอีกด้วย

หรือศิลปะแสดงสด Carcass (2013) ที่เขานอนเปลือยกายและให้ผู้ช่วยพันตัวเขาด้วยลวดหนาม ตรงหน้าทางเข้าของอาคารสภานิติบัญญัติแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อประท้วงต่อต้านนโยบายอันจำกัดและริดรอนเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนของรัฐบาลรัสเซีย

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

พีเทอร์ ปาฟเลนสกี้ : Carcass (2013), ภาพจาก https://regnum.ru/news/2213312.html

โดยเขานอนนิ่งงัน เงียบกริบ ไร้สุ้มเสียง ภายในลวดหนามที่ห่อหุ้มพันธนาการตัวเขาเหมือนรังไหม โดยไม่ใส่ใจต่อปฏิกิริยาของคนรอบข้าง จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยตัดลวดหนามออกจากตัวของเขาด้วยกรรไกรตัดหญ้า แต่ทันทีที่ลวดหนามที่พันธนาการเขาถูกตัดออก และตัวเขาถูกปลดปล่อยออกมา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จับกุมตัวและจองจำพันธนาการเขาอีกครั้งหนึ่งอยู่ดี

ปาฟเลนสกี้อธิบายถึงแนวคิดเบื้องหลังศิลปะแสดงสดครั้งนี้ว่าเป็นการต่อต้านกฎหมายที่ปราบปรามการเคลื่อนไหวของพลเมือง ข่มขู่ประชาชน และทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของนักโทษการเมืองอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกฏหมายต่อต้านการชุมนุม ต่อต้านเอ็นจีโอ (องค์กรพัฒนาเอกชน) กฎหมายเซ็นเซอร์สื่อ กฏหมายการกำกับดูแลด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปจนถึงกฏหมายต่อต้านการรักร่วมเพศ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านอาชญากรรม หากแต่เป็นกฎหมายที่ต่อต้านประชาชนมากกว่า ซึ่งสำหรับเขา กฏหมายเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับลวดหนามที่ห่อหุ้มร่างกายเปลือยเปล่าของประชาชนเช่นเดียวกับคอกที่กักขังเราเอาไว้ไม่ให้มีอิสระ

หรือศิลปะแสดงสด Fixation (2013) ที่เขานั่งเปลือยกายหน้าสุสานเลนินในจัตุรัสแดง แล้วใช้ค้อนตอกตะปูขนาดใหญ่ตรึงถุงอัณฑะของตัวเองติดกับพื้นหินของจัตุรัส! โดยวันที่เขาทำการแสดงสดอันสุดแสนจะหวาดเสียวนั้นตรงกับวันตำรวจแห่งชาติประจำปีของรัสเซียด้วย

Paul jackson pollock ม ล กษณะน ส ยอย างไร

ปาฟเลนสกล่าวว่าเขาทำงานชิ้นนี้ขึ้นเพื่อประท้วงต่อระบอบการเมืองของรัสเซีย การนั่งเปลือยเปล่ามองอัณฑะของตัวเองที่ถูกตอกตรึงอยู่กับพื้นหินนั้นเป็นอุปมาถึงความเมินเฉยบอดใบ้ต่อความแตกต่างหลากหลายทางการเมือง และความคลั่งชาตินิยมสุดขั้วของสังคมรัสเซีย การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ด้วยศิลปะการแสดงสดครั้งนี้ ทำให้เขาถูกจับกุมในข้อหาอุกฉกรรจ์

ปาฟเลนสกี้ยังทำงานศิลปะการแสดงสด Segregation (2014) ด้วยการนั่งเปลือยบนหลังคาศูนย์วิทยาศาสตร์ Serbsky Center และใช้มีดทำครัวตัดปลายติ่งหูของตัวเองออก เพื่อแสดงการประท้วงต่อการล่วงละเมิดทางการเมืองของ สถาบันจิตเวชในรัสเซีย ในการวินิจฉัยโรคที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และการบำบัดรักษาด้วยการกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้ป่วยอย่างไร้มนุษยธรรม

หรือศิลปะแสดงสด Lubyanka’s burning door (2015) ที่เขาจุดไฟเผาทางเข้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานความมั่นคงกลางของรัสเซีย (FSB) ในกรุงมอสโก เพื่อแสดงการประท้วงระบอบการเมืองของรัสเซีย การแสดงสดในเชิงดื้อแพ่ง (civil disobedience) ครั้งนี้ ทำให้เขาถูกจับกุมและตั้งข้อหาร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยโดนมา อย่างการเสพสิ่งมึนเมาและทำลายทรัพย์สินราชการ ถึงแม้ความจริงแล้ว เขาต้องการที่จะโดนข้อหาก่อการร้ายเสียมากกว่า เขาถูกคุมขังเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะถูกศาลพิพากษาว่าผิดจริง และต้องโทษปรับเป็นเงิน 500,000 รูเบิล (ราวๆ 200,000 บาท)

แม้จะดูเป็นสิ่งที่ดูโหดร้ายทารุณ แต่การทำงานศิลปะแสดงสดของปาฟเลนสกี้ก็ไม่ได้สักแต่ว่าทำขึ้นมาให้อื้อฉาว หากเขาศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง และมีเหตุผลหนักแน่นอยู่เบื้องหลัง แม้การผลักดันร่างกายของตัวเองให้ทะลุขอบขีดจำกัดของเขาจะไม่ต่างอะไรกับภาพยนตร์ที่มีฉากโหดร้ายรุนแรง แต่ความโหดร้ายรุนแรงเหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่สื่อสารถึงปัญหาสังคมและการเมืองอย่างจะแจ้งตรงไปตรงมาอย่างยิ่งเสมอมา

กลับมาที่การสาดสีในการประท้วงในบ้านเรา ที่ก่อให้เกิดกระแสดการถกเถียง พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันทั้งในแวดวงศิลปะและแวดวงการเมืองอย่างมากมาย สำหรับเรา คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่ามันเป็นศิลปะหรือไม่? หากแต่อยู่ที่ว่า การกระทำที่ว่านี้สามารถสื่อสารประเด็นที่ผู้ทำต้องการจะสื่อออกไปสู่ผู้คนและสังคมได้สำเร็จไหม? ถ้าทำได้ ก็หมายความว่าการกระทำนั้นประสบความสำเร็จแล้ว ไม่ว่าจะถูกเรียกว่าอะไรก็ตาม