การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

จะเห็นว่าการที่เราจะสร้างประโยค Passive Voice ได้นั้น นอกจากต้องรู้โครงสร้างแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างนึงก็คือ V3 ของคำแต่ละคำนั่นเองค่ะ

English Parks Unlimited English For Your Success

เรียนไม่อั้น ครบทุกทักษะ สอนสดทุกวัน

Top Places To Buy Tadalista

เชื่อว่าน้องๆ หลายคนคงเคยสับสนว่า Active Voice กับ Passive Voice คืออะไร ใช้ต่างกันอย่างไร มีความสำคัญกับการใช้ในชีวิตประจำวันมากน้อยขนาดไหน แม้ว่าเป็นเรื่องที่เรียนกันมาตั้งแต่เด็ก แต่หลายๆ คนก็ยังสับสนวิธีการใช้อยู่ วันนี้พี่ๆ Interpass จะมาสอน Active Voice และ Passive Voice ตั้งแต่หลักโครงสร้าง วิธีใช้อย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประโยคที่เข้าใจง่าย ไปดูกันเลย!

การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

Active Voice คืออะไร

Active Voice คืออะไร? ให้เริ่มจากการจำหลักง่ายๆ ก่อนว่า Active = ผู้กระทำ เป็นคนทำสิ่งนั้นๆ เอง ยกตัวอย่างประโยค

  • I miss my cat แปลว่า ฉันคิดถึงแมวของฉัน ซึ่ง I = Subject หรือประธานผู้กระทำ + miss = กริยา (verb 1) + my cat = object กรรมของประโยค

เมื่อรวมประโยคแล้วจะแปลว่า ฉันคิดถึงแมวของฉัน (I เป็นประธานของประโยค = คนที่คิดถึงแมว) จึงใช้ Active Voice

  • She loves me แปลว่า เธอรักฉัน ในที่นี้ She = subject หรือประธานของประโยค + loves = กริยา (verb 1) + me = object กรรมของประโยค

เมื่อรวมประโยคแล้วจะแปลว่า เธอรักฉัน (ประธานเป็นผู้กระทำเอง = เป็นผู้รัก ไม่ได้เป็นผู้ถูกรัก) ดังนั้นประธานเป็นผู้กระทำ จะต้องใช้ Active Voice นั่นเอง

การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

โครงสร้างไวยากรณ์และตัวอย่าง

Active Voice จะใช้หลักโครงสร้างไวยากรณ์ตามปกติเลย ก็คือ Subject + Verb + Object แต่จะมีจุดเปลี่ยนไป ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ คือ กริยาของประโยค (Verb) ที่จะผันไปตาม Tenses หากน้องๆ คนไหนยังสับสนวิธีการใช้ Tenses สามารถตามไปดูคลิปสรุปTenseทั้ง12ใช้ยังไงได้เลย!

Present Simple

โครงสร้าง Subject + Verb 1

ตัวอย่างประโยค I make a cupcake แปลว่า ฉันทำคัพเค้ก

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + make = กริยา (verb 1) + cupcake = object กรรมของประโยค

Present Continuous

โครงสร้าง Subject + is/ am/ are + Verb -ing

ตัวอย่างประโยค I’m making a cupcake แปลว่า ฉันกำลังทำคัพเค้ก

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + am making = กริยา (is/am/are + verb-ing) + cupcake = object กรรมของประโยค

Present Perfect

โครงสร้าง Subject + has/ have + Verb 3

ตัวอย่างประโยค I have made a cupcake แปลว่า ฉันเพิ่งทำคัพเค้กเสร็จ (เพิ่งทำเสร็จเลย)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + have made = กริยา (has/have + verb 3) + cupcake = object กรรมของประโยค

Present Perfect Continuous

โครงสร้าง Subject + has/ have + been + Verb -ing

ตัวอย่างประโยค I have been making a cupcake แปลว่า ฉันกำลังทำคัพเค้ก (ทำมานาน และยังคงกำลังทำอยู่)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + have been making = กริยา (has/ have been + verb -ing) + cupcake = object กรรมของประโยค

Past Simple

โครงสร้าง Subject + Verb 2

ตัวอย่างประโยค I wrote a book แปลว่า ฉันเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง (ในอดีต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + wrote = กริยา (verb 2) + book = object กรรมของประโยค

Past Continuous

โครงสร้าง Subject + was/were + Verb -ing

ตัวอย่างประโยค I was writing a book แปลว่า ฉันกำลังเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง (ในอดีต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + was writing = กริยา (was/ were + verb -ing) + book = object กรรมของประโยค

Past Perfect

โครงสร้าง Subject + had + Verb 3 จะใช้ในการพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และจบลงไปแล้ว (Past Perfect) จากนั้นมีเหตุการณ์ในอดีตที่ตามมา (Past Simple)

ตัวอย่างประโยค I had written a book แปลว่า ฉันเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง (เขียนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งในอดีต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + had written = กริยา (had + verb 3) + book = object กรรมของประโยค

Past Perfect Continuous

โครงสร้าง Subject + had been + Verb -ing จะใช้คล้ายๆ กับ Past Perfect มีการพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และจบลงไปแล้ว (Past Perfect) จากนั้นมีเหตุการณ์ในอดีตที่ตามมา (Past Simple)

ตัวอย่างประโยค I had been writing a book แปลว่า ฉันกำลังเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง (กำลังเขียนอยู่อย่างต่อเนื่องในอดีต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + had been writing = กริยา (had been + verb -ing) + book = object กรรมของประโยค

Future Simple

โครงสร้าง Subject + will/ shall + Verb 1

ตัวอย่างประโยค I will write a book แปลว่า ฉันจะเขียนหนังสือ (ในอนาคต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + will write = กริยา (will/ shall + verb 1) + book = object กรรมของประโยค

Future Continuous

โครงสร้าง Subject + will be + Verb -ing

ตัวอย่างประโยค I will be writing a book แปลว่า ฉันกำลังจะเขียนหนังสือ (ในอนาคต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + will be writing = กริยา (verb -ing) + book = object กรรมของประโยค

Future Perfect

โครงสร้าง Subject + will have + Verb 3 พูดถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดในช่วงอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต โดยจะไปจบในอนาคต)

ตัวอย่างประโยค I will have written a book แปลว่า ฉันกำลังเขียนหนังสือ (เขียนอยู่ และจะใกล้เสร็จในอนาคต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + will have written = กริยา (will have + verb 3) + book = object กรรมของประโยค

Future Perfect Continuous

โครงสร้าง Subject + will have been + Verb -ing ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่ระบุได้ว่าได้ทำต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเท่าใด และเหตุการณ์นั้นจะไปจบลงที่อนาคต

ตัวอย่างประโยค I will have been writing a book แปลว่า ฉันจะเขียนหนังสือ (เขียนอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และจะไปจบในอนาคต)

ในที่นี้ I = subject หรือประธานของประโยค + will have been writing = กริยา (will have been + verb -ing) + book = object กรรมของประโยค

การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

Passive Voice คืออะไร

Passive Voice คือ ประโยคที่แสดงให้เห็นว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือไม่รู้ว่าผู้กระทำเป็นใคร แต่รู้ว่าใครเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่ง Passive Voice สามารถใช้ได้ในหลายสถานการณ์ จะเห็นได้จากบริบทสนทนาทั่วไป การเขียนนวนิยาย หรือแม้แต่การเขียนภาษาทางการอีกด้วย

การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

โครงสร้างไวยากรณ์และตัวอย่าง

สำหรับการใช้ Passive Voice ต้องมีโครงสร้าง Subject + Verb to be + Past Participle (Verb 3)

อยู่เสมอ และตัวที่จะเปลี่ยนรูปร่างไปตาม Tenses ก็คือ Verb to be นั่นเอง ก่อนที่จะไปดูตัวอย่างประโยค น้องๆ จะต้องรู้จักPast Participle กันก่อน

Past Participle คือ กริยาช่องที่ 3 ที่มีทั้งการเติม -ed ลงท้าย หรือผันรูปออกไปจากเดิมบางส่วน ซึ่งจะใช้กับการใช้ Passive Voice และ Perfect Tenses ซึ่งในการทำประโยคเป็น Passive Voice จะใช้ Past Participle วางหลัง Verb to be เพื่อแสดงว่า ประธานนั้น เป็นผู้ถูกกระทำนั่นเอง

Present Simple

โครงสร้าง Subject + is/ am/ are + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A cupcake is made (by me) แปลว่า คัพเค้กถูกทำขึ้นโดยฝีมือฉัน

ในที่นี้ A cupcake = subject หรือประธานของประโยค + is made = กริยา (is,am,are + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Present Continuous

โครงสร้าง Subject + is/ am/ are + being +Verb 3

ตัวอย่างประโยค A cupcake is being made (by me) แปลว่า คัพเค้กกำลังถูกทำขึ้นโดยฝีมือฉัน

ในที่นี้ A cupcake = subject หรือประธานของประโยค + is being made = กริยา (is,am,are + being + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Present Perfect

โครงสร้าง Subject + has/ have + been + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A cupcake has been made (by me) แปลว่า คัพเค้กถูกทำโดยฝีมือฉัน (เพิ่งถูกทำเสร็จเลย)

ในที่นี้ A cupcake = subject หรือประธานของประโยค + has been made = กริยา (has/ have + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Present Perfect Continuous

โครงสร้าง Subject + has/ have + been + being + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A cupcake has been being made (by me) แปลว่า คัพเค้กกำลังถูกทำขึ้นโดยฝีมือฉัน (ถูกทำมานาน และยังคงกำลังทำอยู่)

ในที่นี้ A cupcake = subject หรือประธานของประโยค + has been being made = กริยา (has/ have + been + being + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Past Simple

โครงสร้าง Subject + was/ were + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book was written (by me) แปลว่า หนังสือถูกเขียนโดยฉัน

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + was written = กริยา (was/ were + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Past Continuous

โครงสร้าง Subject + was/ were + being + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book was being written (by me) แปลว่า หนังสือกำลังถูกเขียนโดยฉัน (ในอดีต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + was being written = กริยา (was/ were + being + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Past Perfect

โครงสร้าง Subject + had + been + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book had been written (by me) แปลว่า หนังสือถูกเขียนโดยฉัน (ถูกเขียนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งในอดีต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + had been written = กริยา (had + been + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Past Perfect Continuous

โครงสร้าง Subject + had + been + being + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book had been being written (by me) แปลว่า หนังสือกำลังถูกเขียนโดยฉัน (ถูกเขียนอย่างต่อเนื่องในอดีต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + had been being written = กริยา (had + been + being + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Future Simple

โครงสร้าง Subject + will/ shall + be + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book will be written (by me) แปลว่า หนังสือจะถูกเขียนโดยฉัน (ในอนาคต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + will be written = กริยา (will/ shall + be + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Future Continuous

โครงสร้าง Subject + will + be + being + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book will be being written (by me) แปลว่า หนังสือกำลังจะถูกเขียนโดยฉัน (ในอนาคต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + will be being written = กริยา (will/ shall + be + being + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Future Perfect

โครงสร้าง Subject + will + have + been + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book will have been written (by me) แปลว่า หนังสือกำลังถูกเขียนโดยฉัน (ถูกเขียนอยู่ และจะใกล้เสร็จในอนาคต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + will have been written = กริยา (will + have + been + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

Future Perfect Continuous

โครงสร้าง Subject + will + have + been + being + Verb 3

ตัวอย่างประโยค A book will have been being written (by me) แปลว่า หนังสือกำลังถูกเขียนโดยฉัน (เขียนอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และจะไปจบในอนาคต)

ในที่นี้ A book = subject หรือประธานของประโยค + will have been being written = กริยา (will + have + been + being + verb 3) + by me = object กรรมของประโยค

การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

รู้ได้ยังไงว่า Active Voice หรือ Passive Voice จะใช้ตอนไหน

น้องๆ สามารถจำสูตรนี้ไปใช้ได้เลยว่า Active = ผู้กระทำเอง ส่วน Passive = ผู้ถูกกระทำ ซึ่งส่วนมากจะเห็นการใช้ Active Voice ในภาษาพูด เนื่องจากสื่อความหมายชัดเจน และฟังง่าย ในส่วนของ Passive Voice มักใช้ในงานเขียน

ใช้ Active Voice ตอนไหนดี

หลักการใช้ Active Voice มีดังนี้

  • ใช้ตอนที่มีประธานเป็นผู้กระทำเอง
  • เหมาะสำหรับการสื่อสารที่ต้องการความชัดเจน สั้นๆ แต่ว่าเข้าใจถูกต้อง เข้าถึงจุดประสงค์ของการพูดทั้งผู้พูด และผู้ฟังได้อย่างชัดเจน

ใช้ Passive Voice ตอนไหนดี

หลักการใช้ Passive Voice มีดังนี้

  • ใช้ในการเขียน essay ที่เป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นบทความข่าวสาร ข่าวอาชญากรรม
  • ใช้ในการเขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผลการทดลองต่างๆ
  • ใช้เมื่อต้องการให้ความสำคัญกับผู้ถูกกระทำมากกว่า เช่น B was shot yesterday จะแสดงว่า B ถูกยิงเมื่อวานนี้ แต่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครเป็นคนยิง
  • ใช้ในการแสดงอำนาจ, กฏเกณฑ์ต่างๆ เช่น Pets are not allowed in malls.
  • ใช้ในกรณีที่ไม่อยากระบุตัวตน หรือว่าการระบุบุคคลนั้นไม่ได้จำเป็นต่อรูปประโยค เช่น More than 80% of all cancers are diagnosed in persons during the age of 55-60 years ต้องการเน้นให้เห็นว่า คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งมากกว่า 80% จะอยู่ในช่วงอายุ 55-60 ปี
  • มักใช้ Passive Voice ในงานเขียน เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่าน เช่น ในการอ่านหนังสือแนวสืบสวน ต้องการเน้นไปที่เพชรที่ถูกขโมยไป จะใช้คำว่า The diamond was stolen แทนที่จะใช้ Somebody stole the diamond เพราะหากใช้ Active Voice ไปเลยก็จะทำให้ความอยากรู้ ความน่าสนใจที่จะตามต่อ น้อยลงกว่าการใช้ Passive Voice

เลี่ยง Passive Voice ตอนไหนดี

การใช้ Passive Voice อาจทำให้เกิดความสับสนในเนื้อหาที่เขียนได้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ในกรณี ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ Passive Voice กับประโยคที่อาจคลุมเครือว่าใครเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น Linda and Lisa had been walking at roadside before she was hit by a car ประโยคนี้สร้างความสับสนมาก เพราะไม่รู้ว่าใครกันแน่ที่ถูกรถชน เป็นลินดา หรือลิซ่ากันแน่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ Passive Voice ติดกันหลายๆ ประโยค สร้างความงุนงง และเข้าใจยาก ทำให้เนื้อหาซับซ้อนมากกว่าเดิม

เคล็ดลับอื่นๆ

เคล็ดลับอื่นๆ สำหรับการอ่าน หรือวิธีการเดาว่าต้องใช้ Active Voice หรือ Passive Voice ใส่ในประโยค ให้เริ่มจากการหาประธานของประโยคก่อนว่า ประธานคือใคร จากนั้นดูที่กรรมของประโยค แล้วลองแปลคำกริยาดูก่อนว่ามีความหมายว่าอะไร เช่น

Question: I … (play) … football yesterday

  1. played
  2. was played
  3. will play

I = Subject เป็นประธานของประโยค

football = Objectหรือกรรมของประโยค

จากประโยคจะแปลว่า ฉัน…(verb)…ฟุตบอลเมื่อวานนี้

ให้น้องๆ ลองเลือกใช้ดู หากเป็น Active Voice จะแปลว่า ฉันเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้

หากใช้ Passive Voice จะได้คำว่า ฉันถูกเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้

ดังนั้นให้ตัดข้อ B. was played ก่อนได้เลย เพราะฉัน = ประธาน จะต้องเป็นคนเล่นฟุตบอล

ต่อมาให้ตัดข้อ C. will play ที่แปลว่า ฉันจะเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้ เนื่องจาก will + verb 1 จะเป็นรูปใน Future Simple Tense

คำตอบของข้อนี้ คือ ข้อ A. played นั่นเอง

การใช passive voice ไม ม v to be ห อ

สลับใช้ประโยค Active Voice และ Passive Voice ต้องทำอย่างไร

ขั้นตอนในการเปลี่ยนจาก Active Voice เป็น Passive Voice

  1. ให้สลับประธาน (Subject) กับกรรม (Object)ก่อน
  2. ให้ดู Tenses ในประโยคก่อนว่าเป็น Tenses อะไร
  3. ให้เปลี่ยนกริยา (Verb) ให้เป็น Verb to be + Past Participle (V.3)

ยกตัวอย่างการเปลี่ยนประโยค I will buy a cat next year แปลว่า ฉันจะซื้อแมวปีหน้า

ให้วนกลับไปดูขั้นตอนการเปลี่ยนทั้ง 3 ขั้นตอนก่อน จึงจะสามารถเปลี่ยนได้ ดังนี้

  1. หาประธาน และกรรมของประโยค I = Subject และ A cat = Object
  2. ต้องเปลี่ยนเอากรรม (Object) ขึ้นนำก่อน A cat …(buy)… I next year ซึ่งแปลเป็นไทย จากฉันจะซื้อแมวในปีหน้า ต้องเปลี่ยนเป็นแมวจะถูกซื้อโดยฉันในปีหน้า ในที่นี้จะใช้ I ไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนเป็น กรรม จึงต้องใช้ Object Pronoun ของ I = me และเติม by me เข้าไป เพื่อระบุว่าแมวจะถูกซื้อโดยฉัน
  3. ต้องทำการเปลี่ยน Verb ให้เหมาะสมกับ Tenses ในที่นี้จะใช้ Future Simple โดยเปลี่ยนจาก Active Voice: will/ shall + V.1 ให้เป็น Passive Voice: will/shall + be + V.3
  4. จะได้ประโยค A cat will be bought by me next year แปลว่า แมวจะถูกซื้อโดยฉันในปีหน้านั่นเอง

สรุป

รู้กันไปแล้วว่า active voice และ passive voice คืออะไร และจะเห็นได้ว่าหลักการใช้ Active Voice และ Passive Voice นั้น เป็นเรื่องสำคัญมากในการใช้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน น้องๆ ควรเข้าใจเนื้อหาเรื่องนี้ให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะเรื่องหลักการใช้ Passive Voice เป็นที่นิยมในงานเขียน รวมทั้งในข้อสอบภาษาอังกฤษอีกด้วย หากน้องๆ อยากพัฒนาทักษะการเขียนเพิ่มเติม หัดเขียนโดยใช้ Passive Voice ให้ถูกต้อง และอัพคะแนนสอบพาร์ทการเขียนของตนเอง สามารถเข้าไปดูทริคการเขียน Essay Writing ได้เลย และนอกจากนี้ สำหรับน้องๆ ที่อยากเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ ติวเข้มพร้อมสอบทุกสนาม พัฒนาทักษะทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน สามารถลงเรียนคอร์ส Writing for IELTS หรือ Speaking for IELTS กับทาง Interpassได้เลย!