Olympus omd em10 mark iii ม ป ญหาอะไรบ าง

Olympus E-M10 Mark 3 ยังมีปัญหาเดิมๆอยู่หรือไม่ครับ เพราะตอนนี้ก็ออกมานานพอสมควรแล้ว ปัญหาน่าจะนิ่งแล้ว รุ่น 4 ก็ออกมาแล้ว Mark 3 เลยน่าเล่นเพราะราคาตกเยอ่ะแล้ว อีกอย่างผมสนใจเพราะรูปทรงมันรุ่นนี้ผมว่าโอเคมากแล้ว รุ่น 4 ผมเฉยๆ วิดีโอ 4k ก็ไม่ได้ใช้งานอะไรไม่ซีเรียสเลย อีกอย่างไฟล์ภาพ 16 MP สำหรับผมเหลือๆแล้ว ประหยัดทั้งเมมโมรี่และพื้นที่ HDD เพราะอัพลงโซเชี่ยล ก็โดนบังคับย่อไฟล์เหลือไม่ถึง 50% อยู่ดี อีกอย่างผมถ่ายรูปบ่อยมาก ไฟล์ 24MP เปลืองพื้นที่เอาเรื่อง แถมไม่ได้ใช้อัดรูปเลย เก็บแต่ HDD กับอัพรูปลง Facebook ตอนนี้จะขาย DSLR ทิ้งหมดแล้ว ช่วงนี้ผมเลยใช้แต่ Panasonic GX7 + M.Zuiko 14-150 ED ii กับ Pana 12-32 ชีวิตมีความสุขขึ้นมากเบาสบาย ถ่ายได้หลายโอกาส พกใส่กระเป๋าคาดอกยังได้เลย เลยมองๆ Olympus E-M10 Mark 3 ไว้ เพราะชอบรูปทรงมากครับ แต่รุ่นเดิมๆ ปัญหาผ่านมาถึง Mark 2 ก็ยังเหมือนเดิม เลยยังกลัวๆ เพราะค่าซ่อมม่านค้างทีนึงก็เหงือกแห้งเลยทีเดียว ส่วนปัญหาเลนส์ Kit ผมคงไม่ได้ใช้ เลยไม่กลัว

พอพูดถึง Olympus OM-D E-M10 หลายๆคนคงจะรู้จักกันดี เพราะมันเป็นกล้องที่สเปคค่อนข้างโอเค มีช่องมองภาพ ราคาเข้าถึงได้ ที่สำคัญคือหน้าตาดี ทำให้กล้อง Olympus OM-D E-M10 II (รุ่นที่แล้ว) ติดอันดับกล้องที่เราเองก็ชอบมากๆตัวนึง ถึงตอนนี้มันก็มีอายุครบ2ขวบพอดีครับ

เมื่อรุ่นสามอย่าง Olympus OM-D E-M10 III เปิดตัว ทาง Olympus ก็ใจดีเอากล้องมาให้เราลองเล่นครับ (ขอบพระคุณมากจีจี) กล้องตัวนี้มองๆแล้วหน้าตาคล้ายกับรุ่น2เลย มีจุดต่างอยู่ไม่กี่จุดเท่านั้น

Background

ชื่อ E-M10 เป็นชื่อรุ่นของกล้องภายใต้ซีรีส์ OM-D ครับ ความโดดเด่นของซีรีส์ OM-D คือมีช่องมองภาพอยู่ตรงกลาง ทำให้ดีไซน์บอดี้เค้าจะมีกระโหลกสูงๆยื่นขึ้นมาด้านบน จะต่างกับซีรีส์PEN ก็ตรงที่ซีรีส์PENจะมาในทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เซลฟี่ได้ และมักจะมาในขนาดที่เล็กกว่าหน่อย

ในซีรีส์ OM-D ก็จะมี E-M10, E-M5 และ E-M1 ซึ่งถ้าหากตัวเลขยิ่งน้อย สเปคยิ่งเข้าใกล้ปีศาจมากขึ้นเรื่อยๆ เจ้า E-M10 เป็นน้องเล็กสุดของซีรีส์นี้ครับ ไม่ใช่ว่าสเปคมันจะไม่ดีนะ มันดี แต่ไม่เข้าขั้นบ้าเท่านั้นเอง

ทีนี้ E-M10 เมื่อก้าวสู่เวอร์ชั่นที่3แล้ว มันจะเป็นยังไงบ้าง เข้าสู่ช่วงรีวิวเลยละกันเนอะ เราจะรีวิวแบ่งเป็นพาร์ทๆเช่นเดิมครับ ส่วนภาพตัวอย่างเราจะเอาไว้ท้ายบทความนะ

เซนเซอร์

เซนเซอร์ที่ใช้เป็นเซนเซอร์ Micro Four Thirds (จับเลขบนเลนส์คูณ2จึงจะได้ระยะเทียบเท่า) ความละเอียด 16.1 ล้านเท่าเดิม หลายๆคนอาจจะผิดหวังตรงนี้ว่าทำไมไม่เปลี่ยนเซนเซอร์ซักที อืมมม เค้าคงอยากสงวนไว้ในรุ่นสูงๆอะ

จริงๆขนาดภาพจากไฟล์16ล้านก็เหลือๆในชีวิตประจำวันอยู่ จะไม่พอก็กับพวกงานแนว Commercial เท่านั้นเองฮะ

เซนเซอร์ MFT

ขนาดภาพใหญ่สุดคือ 4608 x 3456 และRatioที่เหมาะสมของภาพคือ 4:3 นะ ตามชื่อของเซนเซอร์เลยนั่นแหละ

นี่จัดว่าเป็นเซนเซอร์ที่ขนาดไม่ได้ใหญ่มาก แต่ขนาดเซนเซอร์เท่านี้มันทำให้ชีวิตบางคนดีขึ้นนะ เพราะเลนส์ทั้งโคตรเหง้าจะมีขนาดเล็กหมดเลยเมื่อเทียบกันกับกล้องที่ใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่กว่า ความพกพาง่ายคือจุดแข็งของเค้าเสมอมาครับ

ชัตเตอร์

มีทั้งชัตเตอร์แบบปกติ(Mechanical)และแบบอิเล็กทรอนิกส์ แน่นอนว่ามีโหมด Silent ให้ใช้งาน ถ้าไม่อยากให้เสียงชัตเตอร์รบกวนชาวบ้านก็มาใช้โหมดนี้

กันสั่น

Olympus กับกันสั่นเป็นของคู่กันอะ ขาดไม่ได้เลย กันสั่นที่ใส่มาใน E-M10 III เป็นกันสั่น5แกน สามารถลดการสั่นไหวได้ 4 สต๊อปครับ ถือว่าเยอะเหลือเฟืออะ ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆอย่าง 1/10 วินาทีถือถ่ายได้สบาย ช่วยให้เราไม่ต้องดันค่า ISO สูงๆด้วย

อันนี้เรายืนถือถ่ายนิ่งๆที่1วินาทีเต็ม ก็ยังได้อยู่

1" f22 iso200 (Olympus 25mm f1.8)

ส่วนอันนี้เราวางพาดกับราวกลมๆที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใช้ชัตเตอร์6วินาที กลั้นหายใจสุดชีวิตแล้วกดถ่าย ปกติคนสติดีๆเขาไม่ทำกันอะไอ้6วิแบบไม่มีขาตั้งเนี่ย แต่นี่อยากลองไง อ่าว ได้เฉย

6" f13 iso200 (Olympus 25mm f1.8)

เป็นกันสั่นที่ประสิทธิภาพเยี่ยม พึ่งพาได้สบายเลย งานที่เหลือก็ไปตกอยู่ที่การกลั้นหายใจและการถือกล้องนิ่งๆของเรานั่นแหละ

ช่องมองภาพ

ได้ชื่อว่าเป็น OM-D ดังนั้นมันมีช่องมองภาพมาให้อยู่ละ ความละเอียด 2.36 ล้าน ในเมนูมีออปชั่นให้เราปรับอุณหภูมิและความสว่างของภาพที่เห็นในช่องมองภาพได้

หน้าจอ

หน้าจอ3นิ้ว ความละเอียด 1.04 ล้าน พับขึ้นลงได้แต่ไม่สามารถเซลฟี่ได้นะจ๊ะ หน้าจอเป็นแบบสัมผัส ทำให้การควบคุมต่างๆนานาสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะการเลือกจุดโฟกัส จะเอาตรงไหนก็จิ้มๆเอา

การโฟกัส

จุดโฟกัส 121 จุด และยังคงเป็น Contrast Detection เหมือนรุ่นก่อน ถามว่าเร็วมั้ย เร็วปรี๊ดเลยครับถ้าเราสั่งให้กล้องมันจับโฟกัสในจุดที่มีคอนทราสต์ แทบไม่ต้องรอเลย ถ่ายในชีวิตประจำวันนี่ไม่มีโมเม้นให้หงุดหงิด แต่ถ้าจะเอาไปโฟกัสต่อเนื่องจับอะไรที่เคลื่อนไหวเข้าออกเร็วๆต้องพึงระวังนิดนึงเพราะกล้องอาจจะคำนวนโฟกัสไม่ทันบ้าง

การโฟกัสในวิดีโอ เราสามารถแตะจอเลือกจุดโฟกัสได้ และเมื่อเปลี่ยนจุดโฟกัส กล้องจะค่อยๆปรับเลนส์เข้าหาจุดโฟกัสช้าๆ นุ่มนวล แต่เราไม่สามารถปรับความเร็วในการเปลี่ยนจุดโฟกัสได้นะครับ (ฟังก์ชั่นนี้จะไปอยู่ใน E-M1 II เท่านั้น)

นี่ ลองโฟกัสวิดีโอให้ดู กล้องจะค่อยๆ shift โฟกัสให้แบบนุ่มๆ

การถ่ายภาพต่อเนื่อง

ถ่ายต่อเนื่องเร็วสุดที่ประมาณ 8.6 ภาพต่อวินาที เร็วครับ

วิดีโอ

ใส่วิดีโอ 4K (3840 × 2160) มาให้แล้ว ที่ 30fps, 25fps และ 24fps ส่วน FHD (1920 x 1080) เฟรมเรตสุดที่ 60fps แต่ไม่มีช่องต่อไมค์มาให้เหมือนเคย 5555 ฮือ

ภายในตัวกล้องจะมีฟังก์ชั่นชื่อว่า Clip คือถ่ายวิดีโอและตัดต่อภายในตัวกล้องได้เลย เราสามารถเอาเพลงใส่ SD Card เพื่อใส่เพลงเข้าไปใน Clip ของเราได้

ในเมนูวิดีโอ เค้าจะมีโหมด High-speed Movie ด้วย คือถ่ายสโลว์โมชั่นที่ 120fps

ปุ่มต่างๆและการควบคุม

ปุ่มอยู่ในตำแหน่งเดิมหมดครับ แต่มีความแตกต่างที่เพิ่มเข้ามาคือที่ด้านหลัง

บนปุ่มกดขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา มีสกรีนISOและเครื่องหมายต่างๆเพิ่มเข้ามา รุ่นที่แล้วไม่มีนะ จะเป็นปุ่มเปลือยๆ

เดิมทีที่เราต้องกดปุ่ม OK เพื่อเข้าสู่เมนูลัด ปุ่มนั้นถูกย้ายมาอยู่ที่ด้านบนครับ ข้างๆปุ่มเปิดปิด ตามรูปข้างล่างที่เราชี้ (ถ้าไม่ชอบ ปรับย้ายมาที่ปุ่มOKเหมือนเดิมได้นะ) ปุ่มลัดนี้ได้ใช้บ่อยมากๆแน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นปุ่มเข้าเมนูลัดแล้วยังเป็นปุ่มที่เอาไว้เลือกลูกเล่นในโหมด SCN และ AP ด้วย (เดี๋ยวมาพูดเรื่องนี้)

ปุ่มนี้มาใหม่ ถูกใช้เป็นปุ่มลัด

อันนี้ก็จะเป็นหน้าตาของเมนูลัด เหมือนๆเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คนที่ยังใหม่สำหรับกล้องยี่ห้อนี้อาจจะต้องใช้เวลาศึกษาเครื่องหมายต่างๆนิดนึงครับ

หน้าตาเมนูลัด

เมนู Silent Shutter ที่ปกติจะอยู่ตรงนี้ดันหายไปจากเมนูลัดเฉยเลย และไปอยู่ในโหมด AP แทน

Dial เปิดปิดกล้องจะอยู่ทางด้านซ้าย ถ้าดันขึ้นเลยตำแหน่ง ON ไปอีก จะเป็นการปรับให้แฟลชเด้งขึ้นมา

หมายเหตุว่าแฟลชที่เด้งขึ้นมาไม่สามารถดันให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าในภาพได้นะครับ อด Bounce กะเพดานเลย

แฟลชหน้าตาแบบนี้

มี Dial ปรับความเร็วชัตเตอร์กับรูรับแสงมาให้ครบ ทีนี้มันจะมีปุ่มนึงข้างๆปุ่มกดวิดีโอ เป็นรูปไฟฉาย x2 อันนี้คือปุ่มครอปภาพสองเท่าครับ

เห็นปุ่มคูณ2นั่นมั้ย

เวลากดปุ่มนี้ภาพจะถูกซูมเข้าไปสองเท่า ช่วยได้เวลาเราซูมจนสุดไปแล้วแต่ยังอยากซูมอีก หรือเวลาที่เราจะถ่ายอะไรที่ห่างออกไปแต่บริเวณรอบๆดูรกและเราไม่ต้องการ

ผลลัพธ์ที่ออกมาจะต่างกันประมาณนี้ครับ

พวกเมนูข้างในตัวกล้องสามารถเข้าได้ด้วยการกดปุ่ม Menu ด้านหลัง เมนูยิบย่อยมีเยอะครับ แรกๆอาจจะต้องควานหานิดนึง สีของเมนูเปลี่ยนไปจากรุ่นเดิม จากเดิมที่เป็นน้ำเงิน เปลี่ยนเป็นสีดำ-เขียว

ระบบประมวลผลใหม่

กล้อง E-M10 III ใส่ระบบประมวลผลตัวเดียวกับ E-M1 II เร็วขึ้นแค่ไหน ลองทดสอบด้วยการเลื่อนดูภาพในPlaybackให้ดูครับ

โหมด SCN

โหมด SCN เป็นโหมดของคนชอบคิดน้อยๆครับ บางทีขี้เกียจคำนวนหรือขี้เกียจทำความเข้าใจอะไรไม่รู้เยอะแยะก็ให้เข้ามาในนี้ โหมดนี้จะรวบรวมสถานการณ์แบบต่างๆในการถ่ายภาพ หน้าที่เราก็แค่จิ้มให้โหมดมันตรงกับสิ่งที่เราจะถ่าย ค่าต่างๆช่างแม่งครับ ให้กล้องคิดให้

หลายโหมดที่เค้าเอามารวบรวมไว้ใน SCN มันก็เคยมีอยู่ในรุ่นก่อนแล้วแหละ แต่บางคนใช้รุ่นก่อนๆมาพันกว่าปียังงงว่ากล้องชั้นมีโหมดพวกนี้ด้วยเหรอ ในรุ่น3เค้าจึงเอามาทำให้ชัดเจนขึ้นครับ ให้กดเลือกใช้กันได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

หน้าตาของโหมด SCN

โหมดที่เราชอบที่สุดใน SCN คือโหมด Light Trails แปลเป็นไทยก็คือลากไฟ อันนี้ต้องใช้ควบคู่กับขาตั้งกล้องนะ พอใช้โหมดนี้กล้องจะปิดกันสั่นให้เราและลากไฟให้เราดูแบบ Real Time เลย ไม่ต้องห่วงว่าแสงจะมากไปหรือน้อยไปเพราะกล้องมันคิดให้ เราจะเห็นบนหน้าจอตลอดว่ามีแสงแบบไหนเข้ามาในภาพบ้าง เอาจนเราพอใจอะค่อยกดชัตเตอร์ซ้ำเพื่อเซฟภาพ

โหมด Light Trails

ข้อดีอีกอย่างของโหมดนี้คือมันสามารถใช้ถ่ายลากๆแบบนี้ในเวลาบ่ายแก่ๆได้ด้วย ซักสี่ห้าโมงงี้ ภาพที่ได้ออกมาก็แปลกตาดี ปกติคนเราไม่ค่อยถ่ายแนว Long Exposure ก่อนพระอาทิตย์ตกกันอยู่ละเพราะแสงมันจะเยอะเกินไป แต่โหมดนี้ก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้

ลากช่วงบ่ายๆก็ได้นะ แต่ออกจะแปลกๆนิดนึง 555

โหมด AP (Advance Photo)

โหมดนี้ก็จะเป็นลูกเล่นอีกรูปแบบนึงซึ่งจะมีความ Advance ขึ้นมาจากเมื่อตะกี๊หน่อย พวกSilent พาโนรามา และ Live Composite ก็จะมารวมอยู่ในนี้

โหมด AP (Advance Photo)

ฟังก์ชั่น HDR จะอยู่ใน AP เหมือนกัน เป็นโหมดที่เอาไว้ถ่ายย้อนแสง จากภาพข้างล่างนี้ไม่ใช้ HDR จะเห็นว่ามีส่วนมืดในภาพเยอะ

Without HDR

ภาพต่อมาเป็นภาพที่ได้จากโหมดHDR จะเห็นว่าส่วนมืดสว่างขึ้น แต่สังเกตได้ว่าภาพทั้งภาพจะมีคอนทราสต์ลดลง

With HDR

ส่วนอันนี้เป็นโหมด AE Bracket หรือการถ่ายรูปมาด้วยค่าแสงที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ได้ภาพหลายๆภาพที่มีความสว่างต่างกันออกไป หลังจากนั้นเราอาจจะเลือกภาพที่แสงถูกใจที่สุดมาภาพเดียว หรือจะเอามารวมภาพทีหลังให้ได้ผลลัพธ์แบบ HDR ก็ได้

AE Bracket ถ่ายออกมาหลายๆรูป ได้แสงต่างกัน

แต่โหมดที่เราชอบสุดใน AP คือ Multiple Exposure หรือการซ้อนภาพสองภาพเข้าด้วยกัน นั่นแหละ แค่นั้นเลย 555 แต่สนุกดีนะ เอาไปสร้างสรรค์กันได้ตามใจ

บอดี้ น้ำหนัก และการจับถือ

บอดี้หนัก 410 กรัม รวมแบตและ SD Card หน้าตานี่มาแนวเดิมตลอดคือเน้นย้อนยุคเข้าไว้ สีจะมีสองสีให้เลือกนะครับคือดำกับเงิน (ในรีวิวนี้คือสีเงิน) บอดี้ไม่ Weather Sealed จะพาไปเที่ยวลุยๆเจอน้ำเจอฝุ่นก็ระวังน้องหน่อย

บอดี้มีกริปด้านหน้าและด้านหลัง กริปด้านหน้าจะยื่นออกมาไม่เยอะมาก ยังไม่ถึงกับเต็มไม้เต็มมือนัก แต่เรื่องนี้ถูกลบล้างด้วยกริปด้านหลังที่เอาไว้ใช้วางนิ้วโป้ง เราว่าทำมาดี ช่วยแบ่งเบาภาระนิ้วด้านหน้าไปได้เยอะมากๆ

ที่วางนิ้วโป้งด้านหลังช่วยได้มาก

เลนส์คิต

เลนส์คิตเป็น 14–42mm f3.5–5.6 ใช้ถ่ายทั่วไป ระยะกว้างสุด(เทียบเท่า28mm)จะให้องศาประมาณกล้องมือถือทั่วๆไป

ราคา

บอดี้ E-M10 Mark III พร้อมเลนส์คิต 14–42mm ราคา 29,990 บาท เท่าสมัยรุ่นสองเปิดตัวใหม่ๆเลยครับ

สรุป

Olympus OM-D E-M10 III เป็นกล้องมิเรอร์เลสที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ง่ายขึ้น พร้อมอัปเกรดสเปคบางส่วนเข้ามาด้วย นี่จะเป็นกล้องที่เหมาะกับคนที่ขี้เกียจแบก ชอบเดินตัวปลิวๆ จริงจังกับการถ่ายรูประดับกลางๆ ไม่ถึงขั้นถ่ายเอาไฟล์ไปดึงจริงจังส่งลูกค้า แต่บางฟีลก็อยากมีผลงานภาพที่มัน Advance ขึ้นกว่าการกดชัตเตอร์ทั่วๆไป

เราจะสรุปข้อดีและข้อสังเกตเป็นข้อๆนะฮะ

ข้อดี

  1. หน้าตาดี
  2. มีช่องมองภาพ
  3. กันสั่นดีงามพระรามแปด
  4. ปุ่มปรับเยอะดี ปรับค่าเบสิกต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว
  5. โฟกัสวัตถุทั่วๆไปได้เร็วมาก
  6. หน้าจอพับขึ้นลงได้พอประมาณ ทัชสกรีนช่วยให้ง่ายต่อการเลือกจุดโฟกัส
  7. มี4Kละ ตัดต่อวิดีโอในกล้องได้ด้วย
  8. โหมด SCN กับ AP ทำออกมาได้น่าใช้จริงๆ ปลาบปลื้ม
  9. บอดี้ขนาดเล็ก กินเนื้อที่ไม่เยอะ
  10. เลนส์มีให้เลือกหลากหลาย และมีขนาดเล็กทั้งนั้น

ข้อสังเกต

  1. กริปด้านหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็ก เน้นถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วโป้งด้านหลัง สำหรับใครที่ชอบจับกริปเต็มๆมือแบบที่ใช้นิ้วกลางนิ้วนางนิ้วก้อยครบทุกนิ้วอาจจะไม่อินกับกริปลักษณะนี้
  2. เซนเซอร์ยังคง16ล้าน
  3. บอดี้ไม่ Weather Sealed
  4. โหมด Silent หายไปจากเมนูลัดเฉ้ย งง
  5. การโฟกัสเป็นแบบจับคอนทราสต์ เวลาจะถ่ายอะไรที่เคลื่อนไหวเข้าออกเร็วๆอาจจะยังไม่ทันบ้าง
  6. ไม่สามารถเร่งความเร็วในการโฟกัสต่อเนื่องของวิดีโอได้
  7. มี4K แต่น่าเสียดายที่ไม่มีช่องเสียบไมค์
  8. เซลฟี่ไม่ได้

เท่านี้ครับกับการรีวิว Olympus OM-D E-M10 III เตรียมไปอยู่ในลิสต์หนึ่งในกล้องที่คุ้มค่าที่สุดในความคิดเห็นของเราได้เลย อิ_อิ

เพื่อนๆสามารถติดตามเราได้ที่ Facebook , Twitter และ Instagram นะ และติดตามบทความอื่นๆได้ทาง medium.com/torcnn นะครับ

Olympus e

Olympus OM-D E-M10 Mark III เป็นหนึ่งในกล้อง Mirrorless ที่ขายดีที่สุดของ Olympus ด้วยรูปร่างหน้าตาที่สวยแบบย้อนยุคและขนาดตัวที่เหมาะจะพกพาไปเที่ยวได้สะดวกรวมถึงไฟล์ภาพที่แทบไม่ด้อยไปกว่า E-M5, E-M1 ทำให้หลายคนถูกใจในรุ่นนี้กันมาก

Olympus OMD em10 ดีไหม

ตัวกล้องดูดีมาก น้ำหนัก + การจับถือ ถือว่าทำได้สบายๆ ปุ่มควบคุมต่างๆ ใช้การหมุนแบบ classic หนุนง่าย ฟิลลิ่งการหมุนรู้สึกดีมาก รู้สึกว่าเป็นของดี ไม่ใช่ปุ่มหมุนแบบกิ๊กก๊อก ชอบจริงๆอันนี้ และปุ่มเปิดปิดแบบ classic ใช้การปัดก้านเอา ทำให้รู้สึกถึงฟิลลิ่งเก่าๆย้อนยุค

กล้อง Olympus ใช้เมาส์อะไร

กล้องOlympus : เมาส์ m4/3. กล้องPanasonic : เมาส์ m4/3.

Olympus em10 Mark IV ดีไหม

OM-D E-M10 Mark IV สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายคุณภาพสูงได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจและความสะดวกสบายในการพกพา ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพสแนปช็อต,ท่องเที่ยว,งานปาร์ตี้และถ่ายภาพคุณภาพสูงขณะเดินถือถ่ายไปตามสถานที่ต่างๆ