ตัวอย่าง การ ประเมิน ความ เสี่ยง hazop

Hazard and Operability หรือ HAZOP คือ เทคนิคการชี้บ่งอันตรายของระบบหรือ กระบวนการ หรือการปฎิบัติงานที่มุ่งเจาะศึกษาในด้านความปลอดภัยของกระบวนการ ความเป็นไปได้ของสาเหตุ หรือความอันตรายสูงสุดที่เป็นไปได้โดยสาเหตุมาจากการที่กระบวนการหรือเครื่องมือเกิดการทำงานผิดปกติออกไปจากระบบเดิมหรือจากที่ออกแบบไว้ เป็นการศึกษาที่มีระบบและมีขั้นตอนที่ชัดเจน

Hazard and Operability Study หรือ HAZOP เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป โดยระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543 ได้ระบุไว้ในหัวข้อ

4.3 Hazard and Operability Study (HAZOP) เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานในโรงงาน โดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยการตั้งคำถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่างๆ…

ประโยชน์ของ Hazard and Operability Study หรือ HAZOP คือ

  • เพื่อใช้ในการระบุ หรือวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของอันตรายของกระบวนการ หรือการปฎิบัติงานเนื่องจากสาเหตุจากการคลาดเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ
  • เพื่อใช้ในการประเมินความพอเพียงของระบบความปลอดภัยเดิมที่มีอยู่
  • เพื่อค้นหาอุปกรณ์ความปลอดภัยเพิ่มเติม
  • เพื่อค้นหาทางในการลดความรุนแรงหรือจำกัดความอันตรายของเหตุการณ์หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น

การชี้บ่งอันตรายของระบบ กระบวนการ หรือการปฎิบัติงาน Hazard and Operability หรือ HAZOP นั้นสามารถที่จะนำมาใช้ประเมินความอันตรายได้ตั้งแต่ช่วงการออกแบบเบื้องต้น basic engineering ช่วงการออกแบบที่มีข้อมูลรายละเอียด detailed engineering ก่อนการเริ่มเดินเครื่องจักร start up หรือจะใช้ประเมินความอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับในงานแก้ไข modification หรือปรับปรุงระบบ bottleneck

ซึ่งการระบุให้เห็นถึงความอันตรายร้ายแรงตั้งแต่เริ่มโครงการนั้น จะส่งผลทำให้โครงการมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจที่สำคัญๆต่อตัวโครงการ

ในการศึกษาการชี้บ่งอันตรายของทุกๆโครงการ ในการประชุมจำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยผู้มีประสบการณ์สูงจากหลายๆแขนง เช่น วิศวกรกระบวนการ process engineer วิศวกรโครงการ project engineer วิศวกรเครื่องกล mechanical engineer วิศวกรเครื่องมือวัด instrument engineer วิศวกรไฟฟ้า electrical engineer วิศวกรวางผัง layout engineer และอื่นๆ ต้องร่วมกันให้ความเห็นในที่ประชุม ผ่านการดำเนินการประชุมโดยประธานในที่ประชุม HAZOP facilitator หรือ HAZOP chairman โดยที่ในการประชุมจะมีตั้งคำถามพื้นฐาน standard guidewords หรือ checklist เพื่อให้ครอบคลุมทุกๆด้าน

แผนผังการชี้บ่งอันตรายเบื้องต้น HAZOP workflows

ตัวอย่าง การ ประเมิน ความ เสี่ยง hazop

  • เลือกระบบที่จะทำการศึกษา แบ่งออกเป็นระบบย่อยๆ system หรือ node
  • อธิบายถึงระบบที่จะทำการศึกษา หรือความตั้งใจที่จะออกแบบของระบบนั้น
  • เลือกคำถามพื้นฐาน guide word
  • ระดมความคิดเห็น หาสาเหตุ ทุกความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวตามคำถามพื้นฐาน guide word
  • ระบุความอันตรายสูงสุดที่เป็นไปได้จากแต่ละสาเหตุ โดยไม่พิจารณาการมีอยู่ของอุปกรณ์ลดหรือจำกัดความอันตราย
  • ระบุการมีอยู่เดิมของอุปกรณ์ลดหรือจำกัดความเสี่ยง
  • ประเมินความเสี่ยงที่เป็นไปได้ โดยดูจากความถี่ของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น likelihood โดยที่ตัวลดหรือกำจัดความเสี่ยงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กับ ความรุนแรงสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ severity
  • นำเสนอคำแนะนำถ้าในที่ประชุมพิจราณาว่า อุปกรณ์ลดหรือจำกัดความอันตรายที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอ
  • เริ่มกระบวนการใหม่กับคำถามพื้นฐานถัดไป
  • จนครบทุกๆคำถามพื้นฐาน ถ้าไม่มีคำถามเพิ่มเติมจากผู้ร่วมประชุม จะดำเนินการแบบเดิมที่ระบบถัดไป

HAZOP guide words คำถามพื้นฐานของการชี้บ่งอันตรายของระบบ กระบวนการ หรือการปฎิบัติงาน

ประธานในที่ประชุม HAZOP Chairman จะดำเนินการประชุมโดยเลือกคำถามพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการหรือระบบที่กำลังศึกษาอยู่ โดยจะเป็นการผสมกันระหว่าง ตัวแปรทางกระบวนการ parameter กับคำถามพื้นฐาน guidewords โดยที่มีตัวแปรทางกระบวนการ parameter กับคำถามพื้นฐาน guidewords ที่ใช้กันทั่วไปเป็นตามตารางข้างล่าง

ตัวอย่าง การ ประเมิน ความ เสี่ยง hazop
Parameter keyword

ตัวอย่าง การ ประเมิน ความ เสี่ยง hazop
Guideword keyword

ตัวอย่าง การ ประเมิน ความ เสี่ยง hazop
Parameter combines with guidewords

ความหมายของคำถามพื้นฐาน guidewords

ตัวอย่าง การ ประเมิน ความ เสี่ยง hazop
ความหมายของคำถามพื้นฐาน

ตารางประเมินความเสี่ยง Risk Matrix

Risk Matrix คือ ตารางประเมินความเสี่ยง ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงโดยวิธีกึ่งเชิงปริมาณ semi-qualitative เนื่องด้วยการประเมินความเสี่ยงด้วยแต่วิธีเชิงคุณภาพนั้นมีความยากตรงความเข้าใจ หรือบรรทัดฐานของผู้ประเมินแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือกลางมาช่วยเป็นบรรทัดฐานให้ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งตารางประเมินความเสี่ยงมีทั้งแบบ 4 x 4 หรือ 5 x 5 หรือ 6 x 6 แล้วแต่ความละเอียดของข้อมูลที่มีหรือความละเอียดของผลลัพท์ที่ต้่องการ

โดยตารางประเมินความเสี่ยง Risk Matrix นั้นจะถูกนำมาใช้ในช่วงสุดท้ายของการชี้บ่งอันตรายโดยพิจารณาตัวแปรสองตัวคือ ความถี่ในการเกิดเหตุ probability หรือ likelihood กับ ความอันตรายของเหตุการณ์ severity ซึ่งโดยทั้วไปจะประเมินความเสี่ยงผลกระทบกับ 1) ด้านความปลอดภัยของคน safety 2) ด้านความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม environment 3) ด้านค่าความเสียหายต่ออุปกรณ์หรือค่าความเสียโอกาสในการทำงานปกติ asset หรือ production loss และสุดท้าย 4) ด้านชื่อเสียง reputation หรือสังคมภายนอก social

วิธีการชี้บ่งความเสี่ยงประกอบด้วยกี่ประการ

การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ 1. การชี้บ่งอันตราย 2. ประมาณค่าความเสี่ยงของอันตรายแต่ละอย่าง ความเป็นไปได้และความรุนแรงของความเสียหาย 3. ตัดสินว่าความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้ การประเมินที่ดาเนินไปโดยปราศจากการวางแผนที่ดี หรือประเมินด้วยความเชื่อว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก จะทาให้เสียเวลา และไม่ สามารถ ...

ETA กับ FTA ต่างกันอย่างไร

FTA มีประสิทธิภาพสาหรับใช้ในการชี้บ่งด้วยการวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ร้ายแรงจะเกิดได้ ด้วยสาเหตุใด ETA มีประสิทธิภาพสาหรับใช้ในการชี้บ่งด้วยการวิเคราะห์ว่ากระบวนการที่ออกแบบใว้ให้มี หน้าที่ควบคุมสั่งการเกี่ยวเนื่อง ว่าจะมีสาเหตุใดที่ทาให้ความเกี่ยวเนื่องขั้นตอนใด ทางานไม่สาเร็จ

เทคนิคการชี้บ่งอันตรายมีกี่ประเภท

วิธีการชี้บ่งอันตรายตามวิธีของระเบียบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้กำหนดไว้จำนวน 6 วิธี ประกอบด้วย 1)วิธี CHECK LIST 2)วิธี What if Analysis 3)วิธี Hazard and Operability Study (HAZOP) 4)วิธี Fault Tree Analysis (FTA) 5)วิธี Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) 6)วิธี Event Tree Analysis (ETA) หากผู้ประกอบกิจการ ...

ความเสี่ยงจากแหล่งอันตรายมีกี่ระดับ

โอกาสที่จะเกิด ระดับความรุนแรงของอันตราย
อันตรายเล็กน้อย อันตรายร้ายแรง
ไม่น่าจะเกิด (น้อย) ความเสี่ยงเล็กน้อย ความเสี่ยงปานกลาง
เกิดขึ้นได้ยาก (ปานกลาง) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงสูง
มีโอกาสที่จะเกิด (มาก) ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) หลักการmedinfo.psu.ac.th › form_save › 20051005_Form_Risk_Assessmentnull