การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

หลังจากที่เราได้ศึกษาเนื้อหาใน PART I หรือ “การใช้งานและเลือกซื้อดิจิตอลมัลติมิเตอร์อย่างถูกต้องและปลอดภัย” ไปแล้วนั้น PART ต่อไป จะเป็นเรื่องของ “การใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆของดิจิตอลมัลติมิเตอร์” กันครับ โดยหลักๆเราจะใช้ผลิตภัณฑ์ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ Hioki มาเป็นตัวอย่าง

Show

ซึ่งหากผู้ที่ต้องการศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาเบื้องต้นจนครบแล้ว ก็สามารถ นำไปปรับใช้ได้กับดิจิตอลมัลติมิเตอร์เกือบทุกรูปแบบ และหากสนใจรับชมสินค้าก็สามารถ คลิกที่นี่เพื่อรับชมสินค้าประเภทมัลติมิเตอร์ ได้เลย

และสำหรับท่านที่ต้องการกลับไปดู PART I ก็คลิกที่นี่เพื่อ กลับไปอ่านบทความ “การใช้งานและเลือกซื้อดิจิตอลมัลติมิเตอร์อย่างถูกต้องและปลอดภัย”

ต่อจากนี้จะขอเข้าเรื่องของ “การใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆของดิจิตอลมัลติมิเตอร์” ซึ่งในหัวข้อ PART II นี้ จะมีเนื้อหาที่มีให้เรียนรู้กันดังนี้

ชื่อเรียกของส่วนต่างๆ บนดิจิตอลมัลติมิเตอร์

สวิตช์ปรับแบบหมุน (Rotary switch) เป็นสวิตช์ที่ถูกใช้เพื่อให้ผู้ใช้เปลี่ยนฟังก์ชั่นการวัด เช่น แรงดัน AC, แรงดัน DC, ฟังก์ชั่นเช็คความต่อเนื่อง, เช็คความต้านทาน, เช็คค่าความจุไฟฟ้า, เช็คกระแส และอื่นๆ โดยจะเป็นฟังก์ชั่นไหนนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้ฟังก์ชั่นไหน

ช่องสำหรับที่มีไว้เสียบเข็มวัด (Test lead, Measurement cable) จะใช้เพื่อการติดตั้งเข็มวัดสำหรับวัดค่าตามที่เราต้องการวัด โดยการติดตั้งเข็มวัดลงในช่องที่ถูกต้อง คือ เข็มวัดสีแดงจะต้องต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์ “VΩ” และเข็มวัดสีดำจะตัองต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์ “COM”(เกือบทุกค่าที่ต้องการวัดจะติดตั้งเข็มวัดที่ช่องเดียวกันในลักษณะนี้ ยกเว้นการวัดค่ากระแส)

ปุ่มกดฟังก์ชั่น (The operation keys) มีไว้เพื่อใช้สำหรับการเข้าสู่ฟังก์ชั่นกรวัดค่ากระแสและแรงดันในระบบไฟฟ้า AC และ DC และค่าอื่นๆ เช่น ค่าอุณหภูมิ, ฟังก์ชั่นการตรวจสอบไดโอด หรือ ปรับเป็นฟังก์ชั่นการแสดงผลอื่นๆ เช่นการค้างข้อมูลบนหน้าจอ การแสดงค่าสูงสุด/ต่ำสุดได้ด้วย

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน AC (AC Current)

ในการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น จาก ช่องเสียบปลั๊กไฟ, ตู้จ่ายไฟ หรือ ช่องเสียบอุปกรณ์จ่ายไฟ มีวิธีการตั้งค่าก่อนใช้งานดังนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ (Rotary switch) ไปที่สัญลักษณ์ ~V (หมายเลข “1” ดังรูป)
  2. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
  3. ต่อเข็มวัดเท่ากับจุดที่ต้องการวัดค่า (หมายเลข “3” ดังรูป) **เมื่อวัดค่าด้วยฟังก์ชั่น RMS ในระบบกระแสไฟฟ้าสลับ เราไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลเรื่องขั้วที่ใช้วัด**

ข้อควรระวัง!!

ห้ามต่อเข็มวัดที่ช่องวัดกระแส (“A” Terminal) ในกรณีที่เราไม่ใช้ฟังก์ชั่นวัดกระแส สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์บางรุ่นถูกออกแบบมาให้มีกลไกการปิดช่องวัดกระแส เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อที่ผิดพลาดหรือไม่ได้ตั้งใจ และบางรุ่นก็ไม่มีช่องวัดกระแสเลย (จงใจนำออกไป) ในขณะที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ Hioki นั้น ได้ติดตั้งฟิวส์เข้าไปเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเข็มวัดโดยไม่่ตั้งใจท่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเราดูได้จากข้อมูลจำเพาะของดิจิตอลมัลติมิเตอร์แต่ละชนิด โดยดูว่าค่าที่เราต้องการวัดนั้นอยู่ในช่วงการวัดที่วงจรของดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นทำการวัดได้หรือไม่

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน DC (DC Current)

ในการวัดแรงดันไฟฟฟ้ากระแสตรง เช่น แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์ หรือ แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ (Rotary switch) ไปที่สัญลักษณ์ :::V (หมายเลข “1” ดังรูป)
  2. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
  3. ต่อเข็มวัดกับจุดที่ต้องการวัดโดยให้เข็มวัดสีดำต่อในด้านที่เป็นลบ และ สีแดงต่อในด้านที่เป็นบวก

ข้อควรระวัง!!: ห้ามต่อเข็มวัดที่ช่องวัดกระแส (“A” Terminal) ในกรณีที่เราไม่ใช้ฟังก์ชั่นวัดกระแส สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์บางรุ่นถูกออกแบบมาให้มีกลไกการปิดช่องวัดกระแส เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อที่ผิดพลาดหรือไม่ได้ตั้งใจ และบางรุ่นก็ไม่มีช่องวัดกระแสเลย (จงใจนำออกไป) ในขณะที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ Hioki นั้น ได้ติดตั้งฟิวส์เข้าไปเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเข็มวัดโดยไม่่ตั้งใจท่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเราดูได้จากข้อมูลจำเพาะของดิจิตอลมัลติมิเตอร์แต่ละชนิด โดยดูว่าค่าที่เราต้องการวัดนั้นอยู่ในช่วงการวัดที่วงจรของดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นทำการวัดได้หรือไม่

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเช็คความต่อเนื่อง (Checking Continuity)

ในการตรวจสอบการขาดของสายไฟ หรือ ตรวจสอบต้นทาง/ปลายทางของชุดสายไฟ (Wire harness cable) มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
  3. ต่อเข็มวัดกับจุดที่ต้องการวัด โดยต่อระหว่างต้นสายและปลายสาย (ไม่จำเป็นต้องดูเรื่องขั้ว)

ถ้ามีการเชื่อมต่อจริง ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะตอบสนองโดยการแสดงบนหน้าจอ พร้อมมีเสียงแจ้ง แต่ถ้าไม่พบการเชื่อมตอ่เกิดขึ้น (เช่น ในกรณีที่สายไฟขาดอยู่ภายใน) ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะไม่ตอบสนองใดๆบนหน้าจอและไม่มีเสียงการแจ้งเตือน

ข้อควรระวัง!!

ก่อนจะลงมือตรวจสอบความต่อเนื่อง ต้องปิดแหล่งจ่ายไฟ หรือ ตัดแหล่งจ่ายไฟที่ไปยังจุดที่จะเช็คทุกครั้ง

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการเช็คไดโอด

ในการตรวจสอบว่าไดโอตเสียหรือไม่นั้น มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
  3. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
  4. นำเข็มวัดไปวัดกับไดโอดตัวที่เราต้องการ โดยให้เข็มวัดสีดำอยู่ด้านแคโทด (Cathode, ด้านไอโอดที่มีแถบ) และสีแดงอยู่อีกด้านหนึ่ง (Anode, ด้านที่ไม่มีแถบ)ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จะแสดงค่าแรงดันของไดโอด หากเชื่อมต่อในทิศทางที่ถูกต้อง และแสดงค่า “OVER” หากเราเชื่อมต่อในทิศทางกลับด้านกัน

ข้อควรระวัง!!: ก่อนจะลงมือตรวจสอบความต่อเนื่อง ต้องปิดแหล่งจ่ายไฟ หรือ ตัดแหล่งจ่ายไฟที่ไปยังจุดที่จะเช็คทุกครั้ง

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการวัดความต้านทาน (Resistance measurement)

ในการวัดความต้านทาน มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
  3. นำเข็มวัดไปเชื่อมต่อกับตัวต้านทาน (Resistor) ดังรูป “3” (ไม่จำเป็นต้องดูเรื่องขั้ว)

ข้อควรระวัง!!: ก่อนจะลงมือตรวจสอบความต่อเนื่อง ต้องปิดแหล่งจ่ายไฟ หรือ ตัดแหล่งจ่ายไฟที่ไปยังจุดที่จะเช็คทุกครั้ง

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดอุณหภูมิ

ในการวัดอุณหภูมิ เช่น การวัดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในขณะที่ระบบทำความเย็นถูกตัดแล้ว มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
  3. ในช่องต่อเข็มวัดของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เราใช้เทอร์โมคัปเปิ้ล Type-K (Model: DT-49010, Hioki) ในการเชื่อมต่อ ดังรูปที่ “3” (ระวังการเชื่อมต่อในเรื่องของขั้วบวกและลบ โดยดูจากสีของช่องต่อ และ หัวต่อของเทอร์โมคัปเปิ้ล)**เราสามารถใช้เทอร์โมคัปเปิ้ล Type-K ที่มีเซนเซอร์แบบอื่นได้ด้วยเช่นกัน

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดค่าความจุไฟฟ้า (Measuring capacitance)

ในการวัดตัวเก็บประจุ มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
  3. ใช้เข็มวัดเชื่อมต่อกับตัวเก็บประจุโดยสำหรับตัวเก็บประจุที่มีขั้ว ใช้เข็มวัดสีแดวเขื่อมต่อกับขั้วบวก และเข็มวัดสีดำเชื่อมต่อกับขั้วลบ**หน่วยของค่าความจุไฟฟ้า ของตัวเก็บประจุแสดงดังนี้: F, μF, nF, pF

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส DC (DC current)

ในการวัดค่ากระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้

**สำหรับการวัดกระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ดิจิตอลมมัลติมิเตอร์จะต้องเชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด ซึ่งเราต้องตัดสายไฟระหว่างแหล่งจ่ายไฟกับโหลดออกก่อนแล้วนำเข็มวัดทำการเชื่อมต่อในจุดที่มีเครื่องหมาย “X” ดังรูป

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
  3. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “A” (หมายเลข “3” ดังรูป)
  4. เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับวงจรโดยให้เข็มวัดสีดำเชื่อมต่อในด้านลบของแหล่งจ่ายไฟ และ เข็มวัดสีแดงเชื่อมต่อดับด้านที่เป็นโหลด (การเชื่อมต่อลักษณะนี้จะทำให้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์เชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด)

ข้อควรระวัง!!: ปิดแหล่งจ่ายไฟไปสู่โหลดก่อนทำการเชื่อมต่อ และ ทำการเปิดเมื่อเชื่อมต่อมัลติมิเตอร์เสร็จแล้ว ระวังเรื่องแรงดันที่เกิดจากแหล่งจ่ายไฟ (ไม่ควรเชื่อมต่อดิจิตอลมัลติมิเตอร์กับแหล่งจ่ายไฟในแบบขนาน) รวมถึงตรวจสอบค่ากระแสสูงสุดที่วัดได้ของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ และ ใช้เพื่อวัดกับวงจรที่มีค่ากระแสที่น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์เรามีเท่านั้น

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส DC (4-20 mA DC current)

ในการวัดค่ากระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้

**สำหรับการวัดกระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ดิจิตอลมมัลติมิเตอร์จะต้องเชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด ซึ่งเราต้องตัดสายไฟระหว่างแหล่งจ่ายไฟกับโหลดออกก่อนแล้วนำเข็มวัดทำการเชื่อมต่อในจุดที่มีเครื่องหมาย “X” ดังรูป

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
  3. ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “μA mA” (หมายเลข “3” ดังรูป)
  4. เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับวงจร โดยให้เข็มวัดสีดำต่อกับด้านของเซนเซอร์ และ ให้สีแดงต่อกับแหล่งจ่ายไฟ (Distributor side) ดังรูปที่ “4”

ข้อควรระวัง!!: ปิดแหล่งจ่ายไฟไปสู่โหลดก่อนทำการเชื่อมต่อ และ ทำการเปิดเมื่อเชื่อมต่อมัลติมิเตอร์เสร็จแล้ว ระวังเรื่องแรงดันที่เกิดจากแหล่งจ่ายไฟ (ไม่ควรเชื่อมต่อดิจิตอลมัลติมิเตอร์กับแหล่งจ่ายไฟในแบบขนาน) รวมถึงตรวจสอบค่ากระแสสูงสุดที่วัดได้ของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ และ ใช้เพื่อวัดกับวงจรที่มีค่ากระแสที่น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์เรามีเท่านั้น

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส AC โดยใช้แคลมป์ (Measuring AC current with a clamp-style sensor)

ในการวัดค่ากระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์คู่กับเซนเซอร์ที่มีลักษณะเป็นแคลมป์ มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
  2. กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
  3. เชื่อมต่อหัวแปลงกับเซนเซอร์แบบแคลมป์ ดังรูปที่ “3” (สังเกตการเชื่อมต่อของหัวแปลง โดยให้ด้านสีดำ (ลบ) ต่อกับด้านที่มีสัญลักษณ์ “COM” และสีแดง (บวก) เชื่อมต่อกับ “VΩ”
  4. ปรับช่วงการวัดของเซนเซอร์แบบแคลมป์ตามรูปที่ “4”
  5. ใช้ปุ่ม “RANGE” ปรับช่วงการวัดของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ให้สอดคล้องกับช่วงการวัดของเซนเซอร์แบบแคลมป์ที่ได้ปรับไว้ตามข้อก่อนหน้านี้ ดังรูปที่ “5”
  6. เชื่อมต่อเซนเซอร์แบบแคลมป์กับจุดที่ต้องการวัด ดังรูปที่ “6”ข้อควรระวัง!!: หากเซนเซอร์แบบแคลมป์มีการเปลี่ยนช่วงการวัดในขณะที่วัดอยู่ เราจะต้องเปลี่ยนช่วงการวัดของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ตามไปด้วย เพื่อให้สามารถแสดงค่าได้

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ

Auto hold function: เป็นฟังก์ชั่นที่เครื่องจะคงค่าที่วัดไว้ได้บนหน้าจอโดยอัตโนมัติ (ฟังก์ชั่นนี้จะคงค่าไว้มื่อค่าที่วัดได้นิ่งเพียงพอ) และสามารถวัดต่อได้เมื่อนำเข็มวัดไปสัมผัสจุดที่ต้องการวัดอื่นๆอีกครั้ง (เลือกเปิดใช้ฟังก์ชั่นนี้โดยการกดปุ่ม “HOLD” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาที) Recording function: ฟังก์ชั่นนี้จะบันทึกค่าสูงสุด และ ค่าต่ำสุดที่วัดได้ (เรียกใช้ฟังก์ชั่นนี้โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN”) Relative value function: ฟังก์ชั่นนี้คือ ฟังก์ชั่นที่ใช้ดูความแตกต่างที่เกิดจากการวัดเทียบกับค่าที่อ้างอิงไว้ (เรียกใช้ฟังก์ชั่นนี้โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาที)

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการตั้งค่าศูนย์

สำหรับการวัดแรงดัน, กระแส และ ค่าความต้านทาน มีวิธีการตั้งค่าดังต่อไปนี้

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปยังโหมดการวัดที่ต้องการตั้งค่าศูนย์ ตัวอย่างดังรูปที่ “1”
  2. เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยให้สีดำ (ลบ) ต่อที่ช่อง “COM” และสีแดง (บวก) ต่อที่ช่อง “VΩ” (สำหรับการวัดอื่นๆที่ไม่ใช้การวัดกระแส) และเชื่อมต่อสีดำ (ลบ) ที่ช่อง “COM” กับสีแดง (บวก) กับช่อง “A หรือ A, μA/mA ” (สำหรับการวัดกระแส) ดังรูปที่ “2”
  3. นำเข็มวัดสัมผัสกันเอง ดังรูปที่ “3”
  4. ทำการตั้งค่าศูนย์โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาทีดังรูปที่ “4”สำหรับการตั้งค่าศูนย์ของฟังก์ชั่นตัวเก็บประจุ มีวิธีการตั้งค่าดังต่อไปนี้

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

  1. หมุนปรับสวิตช์ไปยังโหมดการวัดที่ต้องการตั้งค่าศูนย์ ตัวอย่างดังรูปที่ “1”
  2. เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยให้สีดำ (ลบ) ต่อที่ช่อง “COM” และสีแดง (บวก) ต่อที่ช่อง “VΩ”
  3. นำเข็มวัดห่างออกจากกัน (เปิดวงจร) ดังรูปที่ “3”
  4. ทำการตั้งค่าศูนย์โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาทีดังรูปที่ “4”

การใช ม เตอร dt 9205 ว ดแรงต าน

บทสรุป

สำหรับใน PART II จะเป็นเรื่องของฟังก์ชั่นต่างๆของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยหลักๆแล้วเราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki เป็นผลิตภัณฑ์อ้างอิง ซึ่งวิธีการในการเข้าสู่ฟังก์ชั่น รวมถึงวิธีการกดปุ่มอาจจะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ความหมายและหลักการของการวัดค่าทางไฟฟ้าต่างๆยังคงเหมือนกัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือผลิตภัณฑ์แต่ละตัว หรือถามจากผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ท่านได้ซื้อผลิตภัณฑ์มา