กล อง cctv ต องขออน ม ต ผ ว าไหม

เผยแพร่: 28 ก.ย. 2557 12:36 โดย: MGR Online

สุราษฎร์ธานี - รมว.ท่องเที่ยว ลงพื้นที่เกาะเต่า สร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว ด้านคดี ผบช.ภาค 8 อุบผล DNA ผู้ต้องสงสัย 20 คน ขณะที่ผู้ว่าฯ ขอติดกล้องวงจรปิดทั่วเกาะ

เมื่อเวลา 10.00 น .วันนี้ (28 ก.ย.) นางกอบกาญจน์ วัฒนารางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนใน ต.เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น หลังเกิดคดีฆ่าโหด 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างหนัก

ซึ่งการเดินทางมาวันนี้ เพื่อรับฟังปัญหากับประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว ในเบื้องต้น มีการร่วมพูดคุยหาแนวทางป้องกัน ดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวที่เกาะเต่า พร้อมประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บรรยายสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมระบุปัญหาของเกาะเต่าขีดจำกัดของพื้นที่ โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้เสนอการติดตั้งกล้องจรปิดทั่วทั้งเกาะ ขอให้จัดตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ได้มาตราฐาน และขอเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า ขณะนี้กำลังประชุมกันอย่างเคร่งเครียด

ขณะที่ด้านความคืบหน้าของคดีวันนี้ พล.ต.ท.ปัญญา มาแม่น ผบช.ภาค 8 ได้ประชุมกับทีมชุดคลี่คลายตามปกติ แต่ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อ และไม่เปิดเผยผล DNA ผู้ต้องสงสัยจำนวน 20 คน ว่า ผลตรวจออกมาแล้วหรือไม่

กทม.จี้ ตร.เคลียร์ให้ชัดเรื่องกล้อง-เร่งแจง ผบ.ตร.กรณีกล้องซีซีทีวีคดี “เอ็กซ์ จักรกฤษณ์”

เผยแพร่: 29 ต.ค. 2556 12:57 โดย: MGR Online

กทม.โต้กลับยันไม่มีกล้องดัมมี่ ชี้ ตร.ที่ให้ข่าวอาจได้รับรายงานไม่ถูกต้อง เผยเร่งทำหนังสือชี้แจง ผบ.ตร.กรณีกล้องซีซีทีวี คดี “เอ็กซ์ จักรกฤษณ์” พร้อมส่งภาพจากกล้อง 10 ตัวในบริเวณรอบที่เกี่ยวข้องให้ ตร.นครบาลแล้ว

วันนี้ (29 ต.ค.) นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงข่าวชี้แจงกรณีมีรายงานข่าวจากการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่านหนึ่ง ระบุว่าอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการติดตามคดีลอบสังหารนายจักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม หรือ เอ็กซ์ อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย คือกล้องวงจรปิดของ กทม.ซึ่งเป็นกล้องที่ไม่ได้เสียบปลั๊กและกล้องดัมมี่นั้น ว่า ตนขอชี้แจงว่ากล้องซีซีทีวีของ กทม.ไม่มีกล้องดัมมี่ มีเพียงกล้องที่ติดตั้งใหม่ในโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดของ กทม.ซึ่งยังไม่ได้บรรจบกระแสไฟฟ้า จำนวน 27,063 ตัว ซึ่งจะดำเนินการเสร็จสิ้นตามโครงการในเดือน ธ.ค.2556 ขณะที่กล้องซีซีทีวี มีจำนวนทั้งสิ้น 20,345 ตัว

ส่วนกรณีของ นายจักรกฤษณ์ กทม.ได้ส่งข้อมูลจากภาพให้ทางตำรวจนครบาลไปแล้ว ซึ่งเป็นภาพจากกล้องบริเวณซอยรามคำแหง 170 จำนวน 3 ตัว ซอยรามคำแหง 166 จำนวน 3 ตัว และกล้องบริเวณซอยวัดบำเพ็ญเหนือ อีก 4 ตัว รวมทั้งสิ้น 10 ตัว ทั้งนี้ ในบริเวณดังกล่าวมีกล้องที่ติดตั้งใหม่และยังไม่ได้บรรจบกระแสไฟฟ้าอยู่จำนวน 20 ตัว อย่างไรก็ตาม กทม.จะเร่งทำหนังสือชี้แจงต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และขอเรียกร้องให้ทางตำรวจออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงแก่ประชาชนด้วย เพราะในกรณีดังกล่าวตำรวจที่ออกมาให้สัมภาษณ์เชิงกล่าวหา กทม.นั้นอาจไม่ได้รับรายงานที่ถูกต้อง

ไม่ติดป้ายแจ้งสิทธิ…อาจติดคุก! .. หากใครที่เดินทางไปต่างประเทศ อาทิ ยุโรป หรืออเมริกา จะพบเห็นได้บ่อยๆ มีการแจ้ง ‘CCTV Notice’ เช่น ในสนามบิน และร้านค้าต่างๆ ซึ่งเป็นป้าย หรือสติ๊กเกอร์แจ้งเตือนว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการติดกล้องวงจรปิด CCTV ซึ่งข้อมูลในนั้นนอกจากจะแจ้งเตือน และบอกสิทธิไว้อย่างชัดเจนแล้ว ยังมี QR Code ที่สามารถสแกนเข้าถึงคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวในการใช้กล้องวงจรปิด (CCTV Privacy Notice) ของสถานประกอบการต่างๆ โดยมักจะติดอยู่ในบริเวณที่สังเกตเห็นได้ง่ายเพื่อให้ผู้มาติดต่อหรือใช้บริการได้ทราบ

โดยสติ๊กเกอร์ CCTV Notice เป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับในกฎหมายของสหภาพยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลความเป็นส่วนตัว (General Data Protection Regulation : GDPR) โดยภาพถ่ายบุคคลไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงสนทนา ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นสถานประกอบการที่ติดกล้องวงจรปิด CCTV จึงมีสถานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) และได้มีการเก็บ รวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่จะให้ทุกคนที่มาติดต่อหรือใช้บริการมาเซ็นชื่อในข้อตกลงความยินยอม (Consent) ก็คงไม่ไหว

ทั้งการติดกล้องวงจรปิด CCTV ในสถานประกอบการ สามารถใช้ ‘ฐานประโยชน์โดยชอบธรรม’ อาทิ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นกฎหมายจึงระบุให้ มีการแจ้งสิทธิโดยจัดให้มีสติ๊กเกอร์ CCTV Notice แจ้งสิทธิแก่ผู้มาติดต่อหรือลูกค้าไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ไม่ใช่แค่จำเป็น …แต่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยกำลังบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ กฎหมาย PDPA มีผลต่อทุกองค์กร ทุกสถานประการที่ติดกล้องวงจรปิด CCTV ซึ่งข้อมูลภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อมูลที่ระบุไว้ในข้างต้น ดังนั้น จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย หากไม่ดำเนินการก็เป็นที่แน่นอนว่ามีบทลงโทษจนสามารถทำให้เจ้าของกิจการติดคุกได้จริงๆ !!!

ทั้งนี้ กฎหมาย PDPA กำหนดโทษทางอาญา ในกรณีที่ บุคคล หรือนิติบุคคลจะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในการเก็บ รวบรวมใช้ หรือเปิดเผย ซึ่งในกรณีการติดกล้องวงจรปิด ทำได้โดยการแจ้งสิทธิในรูปแบบ ‘สติ๊กเกอร์ CCTV Notice’ และหากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย จนนำไปสู่การละเมิดสิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือการฟ้องร้อง กฎหมายกำหนดโทษอาญา คือ จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และมีโทษทางคดีแพ่งในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดการละเมิด จนทำให้เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง เลือกปฏิบัติ หรือได้รับความอับอาย ความผิดทางแพ่ง คือ สถานประกอบการนั้นจะต้องชดใช้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

และแม้ทั้งสองกรณีไม่ได้เกิดขึ้น คือ ยังไม่มีการกล่าวโทษ ยังไม่เกิดการละเมิด หรือกระทำความผิด แต่กฎหมาย PDPA ยังพ่วง ‘โทษทางปกครอง’ ไว้ด้วย โดยระบุชัดเจนว่า หากบุคคล หรือนิติบุคคลไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด มีโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการ ‘ตักเตือน’ ซึ่งก็นับเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้น ถามว่าจำเป็นไหม ก็ลองถามใจเธอดู!

กล อง cctv ต องขออน ม ต ผ ว าไหม

โดยในที่นี้เราหยิบยกกรณีตัวอย่าง สถานบริการที่เราจะพบกล้องวงจรปิด CCTV ได้ทั่วไป และเราก็ไปใช้บริการกันบ่อยๆ เช่น ร้านกาแฟ และร้านอาหาร รวมถึงคำแนะนำหากผู้ประกอบการร้านกาแฟ ร้านอาหาร จะมีการติดกล้อง CCTV ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

1.สิ่งจำเป็นมากและทุกร้านที่ติดกล้องวงจรปิดต้องทำ คือ สติ๊กเกอร์ ‘CCTV Notice’ ซึ่งภายในสติ๊กเกอร์จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ร้านนี้ หรือบริเวนนี้ได้มีการติดกล้องวงจรปิด (ไว้นะ) ซึ่งเป็นการแจ้งสิทธิพื้นฐานให้แก่ผู้มาติดต่อ หรือผู้มาใช้บริการได้ทราบ และจะต้องติดไว้ในจุดที่ที่สังเกตเห็นได้ง่าย และชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่กำกวม หรือเจตนาทำให้เข้าใจผิด

2.จัดทำประกาศการคุ้มครองส่วนบุคคลเกี่ยวกับการใช้กล้องวงจรปิด (Privacy Notice on CCTV Use) ของทางร้าน ในกรณีที่ร้านกาแฟ หรือร้านอาหารนั้นๆ มีลูกค้าที่มาติดต่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยง่าย ซึ่ง Privacy Notice on CCTV Use จะต้องประกอบด้วย

  • ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม คือ บอกข้อมูลว่าเก็บภาพ ภาพนิ่ง หรือเสียงสนทนา อะไรบ้างนั้นเอง
  • วิธีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการจัดเก็บแล้วนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ มีการดำเนินการใดบ้าง
  • วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
  • หลักเกณฑ์ หรือฐานทางกฎหมาย ทางร้านในฐานใดบ้างในการเก็บและประมวลผลข้อมูลลูกค้าจากไฟล์ที่บันทึกโดบกล้องวงจรปิด CCTV เช่น ฐานกฎหมาย ฐานประโยชน์โดยชอบ หรือฐานสัญญา
  • ข้อมูลที่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อบุคคลที่สาม ควรระบุด้วยว่าข้อมูลจากกล้องวงจรปิดมีการเปิดเผยหรือส่งต่อแก่บุคคลที่สามใดบ้าง และเพื่อกิจกรรมใด
  • ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล มีการเก็บไว้นานเท่าใด และจะลบทำลายเมื่อใด
  • การแจ้งสิทธิ นั่นคือบอกอย่างตรงไปตรงมา โดยการจัดทำสติ๊กเกอร์แจ้งตามที่ระบุข้างต้น (ข้อที่ 1) ทั้งควรจัดทำ QR Code เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถสแกนเพื่อรับทราบสิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ เช่น สิทธิในการขอให้แก้ไข ขอสำนำ ระงับ ถ่ายโอน หรือลบทำลาย
  • ช่องทางการติดต่อของทางร้าน ในกรณีที่ลูกค้าต้องการทราบถึงรายละเอียดอื่นๆ หรือมีคำขอสำหรับการใช้สิทธิโดยชอบตามกฎหมาย PDPA
  • มาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ทางร้านจะต้องมีการป้องกันข้อมูลรั่วไหลหรือการละเมิดที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

ทั้งนี้ สิ่งที่ร้านกาแฟ ร้ายอาหาร หรือสถานประกอบการควรทราบอีกว่า คดีฟ้องร้องในกรณีเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอันก่อให้เกิดความเสียหายในรูปแบบต่างๆ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA มีอายุความ 3 ปี นับจากวันที่ผู้เสียหายรับรู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งก็นับว่าเป็นบทลงโทษที่ค่อนข้างแรงแถมมีอายุความที่ยาวนานพอสมควร ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อกฎหมาย PDPA ที่ค่อนข้างอ่อนไหวได้ง่ายนี้อย่างมาก