ต วอย างทะเบ ยนค มการจ ดเอกสารเข าแฟ ม

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นขั้นตอนสำคัญของการย้ายบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ หรือย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง การเตรียมเอกสารและขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในบทความนี้ แสนสิริจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน หลักเกณฑ์ และเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการย้ายทะเบียนบ้านกัน

ทะเบียนบ้านและเจ้าบ้านคืออะไรตามนิยามของกรมการปกครอง

กรมการปกครองนิยาม ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขประจำของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นๆ ซึ่งทะเบียนบ้านหนึ่งหลังจะมีจำนวนคนอยู่อาศัยได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีคนอยู่อาศัยได้ 1 คน ต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตร ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจะมีได้แค่ 1 คน

ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี? ฤกษ์ย้ายเข้าบ้านใหม่ สิงหาคม 2566 ตามวันเกิด


การย้ายเข้า - ออกทะเบียนบ้าน

  1. การย้ายเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอน และ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

    เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้า หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายเข้า 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:

    1. ไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
    2. เกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
    3. เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก 50 บาท แล้วต้องไม่เกิน 500 บาท

    เอกสารที่ใช้ในการย้ายเข้าทะเบียนบ้าน

    1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
    2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
    4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
    5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

    ขั้นตอนการย้ายเข้าทะเบียนบ้าน

    1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า
    2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง
    3. การย้ายออกทะเบียนบ้านมีขั้นตอน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

      เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายออก 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

      1. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
      2. การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
      3. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน

      เอกสารที่ใช้ในการย้ายออกทะเบียนบ้าน

      1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
      3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
      4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
      5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

      ขั้นตอนการย้ายออกทะเบียนบ้าน

      1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้ง ย้ายออกให้ได้ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้)
      2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และจำหน่าย รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
      3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป

      ซื้อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้างกับ 5 สิ่งที่คนอยากได้บ้านต้องรู้


      การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

      การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือ การย้ายทะเบียนบ้านไปยังที่อยู่ใหม่ที่อยู่นอกเขตของท้องที่ปัจจุบัน

      1. การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีขั้นตอน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

        ในกรณีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม และขอแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะทำให้เราประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่องหลาย ๆ ด้าน ต้องใช้เอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางทั้งหมด 6 อย่าง

        เอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

        1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
        2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้
        3. เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
        4. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
        5. หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
        6. หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (ข้อแนะนำคือ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)

        ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

        เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย

        1. ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
        2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ จากนั้นให้คุณเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด
        3. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 10 นาที ก็จะเสร็จเรียบร้อย

        เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ทะเบียนบ้านเล่มใหม่ที่มีรายชื่อของคุณอยู่ในนั้นแล้ว อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขเพิ่มเติมในเรื่องของการได้สิทธิ์เป็นเจ้าบ้านดังต่อไปนี้

        • การย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่บ้านที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ โดยยังไม่มีเจ้าบ้าน ผู้แจ้งย้ายจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินอย่างถูกต้องทันที ดังนั้นถ้าคุณเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงก็ควรมาแจ้งย้ายด้วยตนเองจะดีกว่า เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
        • การย้ายทะเบียนบ้านโดยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตั้งแต่แรก จะถือว่าย้ายเข้ามาเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น

        การย้ายทะเบียนบ้าน ประโยชน์ที่ควรรู้

        ความสำคัญหลักๆ ของทะเบียนบ้านนั้นก็คือ เป็นเอกสารทางราชการที่ใช้ยืนยันตัวตนว่าเรามีถิ่นที่อยู่ที่ชัดเจน และเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันสิทธิ์ในการเลือกตั้ง สิทธิ์ในการศึกษา การรักษาพยาบาล การเข้าถึงบริการของรัฐ การทำธุรกรรมทางการเงินและความมั่นคงที่ต้องอาศัยทะเบียนบ้านตัวจริง การย้ายทะเบียนบ้านจึงมีประโยชน์หลายด้านที่เราอาจยังไม่รู้


        แต่หากคุณไม่อยากรอคิวนาน สามารถติดต่อลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน โดยสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 15 วัน และอย่างช้าสุดไม่เกิน 16.00 น. ก่อนวันเข้ารับบริการ


        สุดท้ายแล้ว เมื่อซื้อบ้านจากโปรโมชันคุ้มๆ ได้เป็นเจ้าของบ้านในระยะเวลาอันรวดเร็วแล้ว มาถึงขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านมีทั้งข้อดี และข้อควรระวังที่ควรทราบ โดยข้อดี คือสิ่งที่คุณจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงบริการสาธารณูปโภค และสิทธิ์ประโยชน์อื่นๆ ตามท้องถิ่นที่คุณย้ายเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การรักษาพยาบาล หรือการเข้าถึงบริการของรัฐ อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวัง คือคุณต้องตรวจสอบ และเตรียมเอกสารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และยื่นในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คุณอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การทราบข้อมูลและขั้นตอนที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการย้ายทะเบียนบ้าน