ตัวอย่าง ประสบการณ์ การ ทํา งาน

สำหรับ ผู้ที่มี ประสบการณ์การทำงาน

ให้หา งานที่เราเคยทำแล้ว ประสบความสำเร็จ ได้ผลประโยชน์ ที่ดีต่อ บริษัท ทั้งด้าน การเงินทอง เพิ่มชื่อเสียงที่ดีขึ้นของบริษัท การเพิ่มยอดขาย คำชมจากลูกค้า ผ่าน หน้าที่การทำงานของเรา ที่ได้รับมอบหมาย ในตำแหน่งงานนั้นๆ โดยเราสามารถ เขียน อธิบาย และ บรรยาย ว่า ใน เหตุการณ์ดีๆ เหล่านั้น ตอนนั้น เราทำอะไรไปบ้าง โดยให้เน้น ใช้คำศัพท์ ที่แสดงผลของการกระทำ ในเชิงบวก

Show

คำศัพท์ ที่นิยม นำมาเขียน บรรยาย และ อธิบาย ประสบการณ์การทำงาน ในเรซูเม่ ภาษาอังกฤษ จะเน้น คำศัพท์ที่ แสดงให้เกิดผลของของการกระทำ

ตัวอย่างคำศัพท์ ที่ใช้เขียน บรรยาย ประสบการณ์การทำงาน

  • Initiate: เป็นผู้ริเริ่ม โปรเจคอะไร
  • Negotiate: เป็นผู้ต่อรอง กับ ลูกค้า หรือ บริษัทไหน แล้ว ได้อะไรต่อ
  • Perform: ดำเนินการ อะไร
  • Sell: ขาย อะไร
  • Reach: บรรลุเป้า ที่ตั้งไว้ กี่เปอร์เซ็น ถ้าระบุได้
  • Succeed: สำเร็จ ในสิ่งไหน โครงการอะไร
  • Develop: พัฒนา สินค้า ผลิตภัณฑ์ อะไร
  • Demonstrate: แสดงการสาธิต อะไรบ้าง
  • Establish: ก่อตั้ง อะไร
  • Create: สร้าง อะไร

อะไรที่เรียกว่า เป็น Feedback ที่ดี ได้รับคำชม จาก เจ้านาย ลูกค้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมทีม ในบริษัท ให้ดึงออกมา เขียน อธิบาย ตรงจุดนั้น เพราะเป็น การแสดง ความสามารถ ที่คุณมี ด้วยผลงาน ที่เป็นหลักฐาน ไม่ได้พูดออกมา ลอยๆ

สำหรับ ผู้ที่ไม่มี ประสบการณ์การทำงาน (นักศึกษาจบใหม่)

สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน เวลาเขียน เรซูเม่ ให้นำ ประสบการณ์การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เช่น โปรเจคงานกลุ่ม งานอาสาสมัคร การฝึกงาน ที่อาจจะไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ได้ทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม มาเขียน แทน

หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย ก็ถึงเวลาแล้วที่เหล่านักศึกษาจบใหม่ต้องเตรียมเขียน CV นักศึกษาจบใหม่เพื่อยื่นเข้าทำงานในที่ทำงานที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับการขอฝึกงาน หรือทำงานก็ตาม โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เกี่ยวกับผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในไตรมาส 3 ปีของพ.ศ. 2564 พบว่า ในไทยมีผู้ที่ว่างงานมากถึง 8.71 แสนคน โดยผู้ที่สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีคือผู้ที่ว่างงานมากที่สุด รวมแล้วจำนวน 2.30 แสนคน

ท่ามกลางสถิติของนักเรียนจบใหม่มากมายที่ยังว่างงาน ประกอบกับงานที่มีการรองรับจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่จากการระบาดของโควิด 19 การเขียน CV นักศึกษาจบใหม่ ให้น่าสนใจจึงสำคัญอย่างมาก และในบทความนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่ ให้กับคุณ

ตัวอย่าง CV นักศึกษาจบใหม่

สุชานันท์ รักษาชล พนักงานฝ่ายการตลาด

423 สามแยกกล้วยน้ำไท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

089-144-5578 [email protected] Linkedin.com/in/lsuchanun

จุดมุ่งหมายในการทำงาน ต้องการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา 4 ปีในสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 พร้อมประสบการณ์การฝึกงานที่ DD Agency มาสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับ Peace tea house ในตำแหน่งพนักงานฝ่ายการตลาด เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำงานกับบริษัทที่ชื่นชอบ และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดบนโลกดิจิทัล และสั่งสมประสบการณ์เพื่อเติบโตไปพร้อมกับองค์กร

ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี) บริษัทแปลภาษา DD Agency นักศึกษาฝึกงานด้านการตลาดออนไลน์ สิงหาคม – ตุลาคม 2564

  • ช่วยทีมจัดทำ Google Ad Campaign พร้อมทั้งดูแลตลอดโปรเจกต์ให้กับบริษัทชั้นนำในไทยกว่า 20 แห่ง
  • ดูแลโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ยูทูป และติ๊กตอก เป็นต้น
  • ติดตามผลพร้อมทำรายงานสำหรับความคืบหน้าของการโปรโมทสำหรับแต่ละโปรเจ็ค พร้อมปรับปรุงและพัฒนาให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น

การศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนาคม 2564

กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมาชิกชมรมอาสาของมหาวิทยาลัย

ใบประกาศนียบัตร TOEIC 650 คะแนน เกียรตินิยมอันดับ 1

วิธีการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่

CV ที่ดีควรมีการจัดโครงสร้างไว้อย่างดี มีการแสดงข้อมูลที่ครบครัน พร้อมทั้งสามารถแสดงให้คุณเห็นถึงศักยภาพในตัวคุณและสร้างความประทับใจแรกให้กับ HR และให้พวกเขาสนใจที่จะทำความรู้จักกับคุณมากขึ้นให้ได้

สำหรับโครงสร้างของ CV นักศึกษาจบใหม่โดยทั่วไปควรประกอบไปด้วยข้อมูลต่อไปนี้:

  • ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
  • ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
  • จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career objectives)
  • ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  • การศึกษา
  • ทักษะ
  • ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)

วิธีทำให้ CV ของคุณแตกต่างและน่าสนใจมากกว่า CV ของคนอื่น ได้แก่:

  • หลายคนชอบใช้ CV เพื่อสมัครหลาย ๆ งานทีเดียว แต่นั่นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง แล้วปรับเปลี่ยนให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานและแต่ละองค์กรให้ได้มากที่สุด ทั้งในเรื่องของรูปแบบและเนื้อหา และสิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสให้คุณได้รับเข้าทำงานได้มากกว่า
  • การเขียน CV ที่ดีที่สุดก็คือการเขียนด้วยข้อมูลตามความเป็นจริงและยังเขียนให้ตอบโจทย์ไปกับคุณสมบัติที่องค์กรต้องการในตัวพนักงานในตำแหน่งนั้น ๆ ให้ได้มากที่สุดด้วย
  • จัดโครงสร้างเรซูเม่ให้อ่านง่าย รูปแบบน่าอ่าน และไม่ใส่ข้อมูลเต็มจนล้นมากเกินไป
  • แม้คุณจะยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก ก็ยังสามารถบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่สามารถเชื่อมโยงกับตำแหน่งงานที่คุณต้องการได้ เช่น เคยฝึกงานด้านนั้นมาก่อน

โครงสร้างของ CV นักศึกษาจบใหม่

นิตยสารธุรกิจออนไลน์ชื่อดัง Forbes ได้พูดถึงปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณา CV ของ HR ไว้ว่า CV ควรมีการจัดทำที่ตอบโจทย์กับคุณสมบัติของพนักงานที่องค์กรตามหา ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลครบถ้วนตามที่องค์กรต้องการ มีการอธิบายถึงหน้าที่การทำงานของงานก่อนหน้า CV ไม่ควรมีความยาวจนเกินไป และข้อมูลต้องมีการอัปเดต มีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ ใช้ภาษาได้ดี และไม่มีคำสะกดผิดให้รบกวนใจ พร้อมทั้งเน้นถึงความสำเร็จด้านการทำงานที่เคยได้ทำมาด้วย

ข้อมูลใน CV ควรใช้ขนาดฟอนต์ประมาณ 10-12 และควรเป็นฟอนต์ที่อ่านได้ง่าย

โดยฟอนต์ที่แนะนำสำหรับเรซูเม่ภาษาอังกฤษ ได้แก่ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และ ฟอนต์แนะนำสำหรับเรซูเม่ภาษาไทย ได้แก่ TH Sarabun New

รูปแบบของ CV นักศึกษาจบใหม่

รูปแบบของเรซูเม่ที่ดีที่สุดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่

  • รูปแบบตามลำดับเวลา เล่าถึงประสบการณ์ไล่ตามลำดับเวลา เพื่อแยกออกมาให้ผู้อ่านได้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า คุณเคยมีประสบการณ์การทำงานอะไรบ้างในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหมาะสำหรับคนที่มีประสบการณ์ด้านการทำงานมาก่อนเท่านั้น
  • รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว ที่เน้นแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานนั้น ๆ เนื่องจากส่วนใหญ่นักศึกษาจบใหม่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา วิชาที่เรียน และทักษะต่าง ๆ ที่ได้สั่งสมมาระหว่างเรียน
  • รูปแบบผสม ทั้งโชว์ทักษะส่วนตัว และพูดถึงประสบการณ์การทำงานตามลำดับเวลาด้วย เพื่อแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่าคุณมีทั้งผลการเรียนที่ดี มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน และยังมีประสบการณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งทำให้คุณแตกต่างจากคนอื่น และเป็นบุคคลที่น่าดึงให้มาร่วมงานในองค์กรด้วยกันได้

หัวเรื่องและข้อมูลการติดต่อ

ตรวจสอบข้อมูลของหัวเรื่องและข้อมูลการติดต่อให้ดี เพื่อที่หาก HR สนใจคุณจะได้สามารถติดต่อเพื่อขอสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ในทันที โดยข้อมูลควรประกอบไปด้วย ชื่อ ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร ข้อมูลสำหรับติดต่อ ลิงก์โปร์ไฟล์ LinkedIn หรือเว็บไซต์ส่วนตัวที่พูดถึงผลงานด้านการทำงานมาก่อน

หัวเรื่องที่ดี

สุชานันท์ รักษาชล พนักงานฝ่ายการตลาด

423 สามแยกกล้วยน้ำไท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 089-144-5578 [email protected] Linkedin.com/in/lsuchanun

หัวเรื่องที่ไม่ดี

สุชานันท์ รักษาชล

423 สามแยกกล้วยน้ำไท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 วันเกิด 20 มีนาคม 2540 เบอร์โทร 089-144-5578 [email protected] Linkedin.com/in/lsuchanun

📌 คำแนะนำ: หัวข้อเรื่องควรเขียนให้กระชับ โดยใส่ข้อมูลที่สำคัญเท่านั้น มีการแบ่งพารากราฟให้น่าอ่าน รวมทั้งไม่ใช้คำยืดเยื้อ

คุณอาจใส่รูปภาพใน CV หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้าใส่ควรเป็นรูปที่แต่งกายสุภาพ และเหมาะสำหรับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร อย่างงานด้านการตลาด อาจไม่ได้เคร่งครัดแบบใส่สูทจนเกินไป แต่ก็ควรแต่งกายเรียบร้อยและเห็นใบหน้าชัดเจน

ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ใน CV นักศึกษาจบใหม่

เมื่อมาถึงส่วนของประสบการณ์การทำงาน โดยทั่วไปจะเขียนเกี่ยวกับชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน และระยะเวลาทำงาน รวมทั้งเขียนถึงหน้าที่รับผิดชอบที่ได้ทำด้วย โดยเขียนแยกออกมาเป็นข้อ ๆ ให้อ่านได้ง่าย สำหรับการหางาน นักศึกษาจบใหม่ ประสบการณ์อาจจะยังไม่มีมากนัก ทำให้อาจเขียนถึงประสบการณ์ฝึกงานแทน หรือถ้ายังไม่เคยฝึกงานมาก่อน ก็อาจจะเขียนถึงกิจกรรมที่ได้ทำในมหาวิทยาลัย งานพาร์ททาม หรือการเขียนที่ช่วยด้านการทำงานที่ตัวเองได้เรียนมา เป็นต้น

ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของนักศึกษาจบใหม่ที่ผ่านการฝึกงานมาแล้ว

บริษัทแปลภาษา DD Agency นักศึกษาฝึกงานด้านการตลาดออนไลน์ สิงหาคม – ตุลาคม 2564

  • ช่วยทีมจัดทำ Google Ad Campaign พร้อมทั้งดูแลตลอดโปรเจกต์ให้กับบริษัทชั้นนำในไทยกว่า 20 แห่ง
  • ดูแลโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ยูทูป และติ๊กตอก เป็นต้น
  • ติดตามผลพร้อมทำรายงานสำหรับความคืบหน้าของการโปรโมทสำหรับแต่ละโปรเจ็ค พร้อมปรับปรุงและพัฒนาให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น

ถ้าไม่มีประสบการณ์

หากยังไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน นอกจากจะเขียนถึงงานพาร์ททาม คลาสเรียนทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย หรือพอร์ทแล้ว ก็ให้เน้นพูดถึงทักษะที่คุณมีที่ตอบโจทย์ต่อการทำงานในตำแหน่งของคุณได้ เช่น เรียนจบคอร์สการตลาดออนไลน์จาก Google เคยดูแลเพจเฟสบุ๊คให้กับบริษัทต่าง ๆ หรือเรียนจบคอร์ส E-learning ของสถาบันดังด้านการตลาด เป็นต้น

การศึกษา

ในข้อมูลด้านการศึกษาจะประกอบไปด้วยชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา และถ้าคุณได้เกรดค่อนข้างดี หรือได้รับเกียรตินิยม ก็ให้ใส่ข้อมูลเหล่านี้เพื่อแสดงให้ HR ได้เห็นศักยภาพด้านการศึกษาและเรียนรู้ที่คุณมีด้วย

ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV

การศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนาคม 2564

ทักษะสำหรับไว้ใส่ใน CV นักศึกษาจบใหม่

ใน CV คุณสามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) รวมทั้งทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) ที่คุณมี รวมทั้งตรงตามทักษะที่องค์กรเหล่านั้นกำลังตามหาได้ด้วย โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่ด้านล่างนี้

ทักษะเฉพาะทาง

  • ทักษะในการค้นคว้า และวิเคราะห์ข้อมูล
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดี
  • มีทักษะการเขียนที่ดี
  • มีทักษะการใช้เครื่องมือทางการตลาดออนไลน์
  • ทักษะด้านการบริหารจัดการงาน
  • ทักษะการบริหารจัดการลูกค้า
  • มีทักษะในการพูดโน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อยตามได้
  • แปลงข้อมูลเป็นภาพสวยงาม
  • ติดตามกระแสสังคม

ทักษะการเข้าสังคม

  • ทักษะด้านการปรับตัว
  • การเรียนรู้สิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม
  • จัดการเวลาได้ดี
  • ตรงต่อเวลา
  • มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  • มีภาวะความเป็นผู้นำ
  • แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

การเขียนจุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective)

ในส่วนของจุดมุ่งหมายในการทำงานคือการเขียนอธิบายตัวเองโดยสรุป ซึ่งเป็นการพูดถึงคุณสมบัติด้านการศึกษา ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร รวมทั้งผลงานที่น่าสนใจแบบสรุปสั้น ๆ พร้อมเขียนให้เห็นว่าคุณต้องการทำงานร่วมกับองค์กรที่ต้องการจริง ๆ

ตัวอย่างที่ถูกต้อง

ต้องการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา 4 ปีในสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 พร้อมประสบการณ์การฝึกงานที่ DD Agency มาสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับ Peace tea house ในตำแหน่งพนักงานฝ่ายการตลาด เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำงานกับบริษัทที่ชื่นชอบ และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดบนโลกดิจิทัล และสั่งสมประสบการณ์เพื่อเติบโตไปพร้อมกับองค์กร

💡จากตัวอย่าง ได้มีการพูดถึงคุณสมบัติด้านการศึกษา ทักษะ รวมทั้งประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไว้อย่างครอบคลุม และยังแสดงความต้องการที่จะร่วมงานในองค์กรที่สมัครอย่างเจาะจงด้วย

ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง

จบการศึกษาจากสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องการสมัครงานด้านการตลาด เพราะชอบอาหารของ Peace tea house มาก เคยมีประสบการณ์การแปลจากการฝึกงานที่ DD Agency มาก่อน

💡 ตัวอย่างในข้างต้นเขียนสั้นเกินไป ซึ่งข้อมูลควรเขียนสักประมาณ 4-5 บรรทัด และควรพูดถึงประสบการณ์ ทักษะ และจุดประสงค์ของการทำงานเพิ่มเติมด้วย

ส่วนเพิ่มเติม

ส่วนเพิ่มเติมได้แก่ กิจกรรมที่เคยทำในรั้วมหาวิทยาลัย หรือประกาศนียบัตรที่คุณเคยได้รับ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในตัวคุณ และยังทำให้คุณแตกต่างและโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ ด้วย

ภาษา

ภาษาคือทักษะที่สำคัญสำหรับแทบทุกวิชาชีพ เพราะสามารถเพิ่มโอกาสในการทำงานของคุณได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติ เพราะฉะนั้นถ้ามีคะแนนทดสอบภาษา ก็สามารถใส่เพื่อดึงดูด HR ให้มากขึ้นได้ เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ หรือ JLPT สำหรับภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

เคล็ดลับสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV

CV ของคุณจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก หากทำตามเช็คลิสต์ต่อไปนี้:

  • เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสมกับงาน อย่างตำแหน่งงานที่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ CV ก็ควรดึงดูด HR ด้วยรูปแบบและสีสีนที่น่าสนใจ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือ CV ของคุณก็ต้องแสดงให้เห็นว่าคุณมีความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน
  • เขียนตำแหน่งที่ต้องการสมัครไว้ในส่วนต้นของ CV รวมทั้งชื่อเรื่องอีเมลด้วย เพื่อให้ HR เห็นได้ในทันทีว่า คุณสมัครเข้ามาในตำแหน่งใด
  • อ่านทวน CV หลาย ๆ รอบก่อนส่ง เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำที่สะกดผิด

สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV นักศึกษาจบใหม่

  • เรซูเม่ควรประกอบไปด้วยข้อมูลประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ, ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน, จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career objectives), ประสบการณ์ในการทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ, การศึกษา, ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
  • ใส่จุดมุ่งหมายในการทำงาน โดยเป็นการแนะนำตัวโดยสรุปว่าคุณจบการศึกษามาจากที่ไหน มีประสบการณ์และทักษะอะไรที่เหมาะสมสำหรับการทำงานในตำแหน่งงานที่คุณสมัครบ้าง
  • ใส่ประสบการณ์ในการทำงาน หากคุณเคยผ่านการฝึกงาน แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ให้เน้นเขียนถึงประสบการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจากกิจกรรมที่คุณเคยทำในระหว่างเรียน หรือทักษะในการทำงานที่คุณมีแทน
  • ใส่ข้อมูลด้านการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี) และละในส่วนของระดับอุดมศึกษาไว้ หรือจะเน้นแค่การศึกษาในระดับปริญญาตรีก็ได้ เพื่อไม่ให้เรซูเม่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากจนเกินไป
  • ใส่ทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมี
  • ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้เรซูเม่ของคุณมีความโดดเด่นจากเรซูเม่ของผู้สมัครรายอื่น ๆ เช่น ภาษา และกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ

การจัดทำ CV หรือเรซูแม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์กรที่คูณต้องการสมัคร โดยความแตกต่างก็คือ เรซูเม่พูดถึงการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถโดยสังเขป ทั้งหมดประมาณ 1-2 หน้า ในขณะที่ CV มีความยาวได้มากถึง 2-20 หน้า โดยเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ ทักษะ ความสามารถ และความสำเร็จที่ลงรายละเอียดมากกว่า

เรซูเม่มักถูกนำไปใช้ในการสมัครเพื่อขอฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ในขณะที่ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัยมากกว่า ซึ่งจะเน้นไปที่ทักษะเฉพาะสำหรับตำแหน่งงานเชิงวิชาการหรือต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ แต่ถ้างานที่คุณต้องการสมัครต้องการรายละเอียดที่มากกว่า ก็สามารถเขียน Cover letter เตรียมไว้สำหรับยื่น ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่าง Cover letter ได้ที่นี่เลย!

ประสบการณ์ ในการทํางานเขียนยังไง

หลักการเขียน “ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง” นี้ ให้เขียนเรียงลำดับตามช่วงเวลา ให้ช่วงเวลาล่าสุดขึ้นต้น โดยเขียนระยะเวลา (วัน/ เดือน/ ปี) ตามด้วยลักษณะการทำงาน (ชื่อหรือตำแหน่ง) และเขียนรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงทักษะที่ใช้ในการทำงาน (ทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะทางด้านเทคนิค) แต่ต้องเขียนให้สั้น กระชับ ได้ใจ ...

ประสบการณ์ในการทำงานคืออะไร

ประสบการณ์การทำงาน นับเป็นสิ่งที่ช่วยการันตีความพร้อมในการทำงานของบุคคลนั้น ๆ เพราะเป็นสิ่งที่แสดงว่าผู้สมัครนั้นได้ผ่านการทำงานมาแล้ว ซึ่งตัดปัญหาการต้องมานั่งสอนงาน หรือต้องลุ้นมาว่าจะสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามกำหนดเวลาหรือไม่ เพราะยิ่งมีประสบการณ์การทำงานมากเท่าไหร่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีประสบการณ์ในการทำงาน ...

จุดมุ่งหมายในการทํางาน เขียนยังไงดี

วิธีเขียนจุดมุ่งหมายในการทำงาน.

1. สั้น กระชับ ได้ใจความ ... .

2. จุดมุ่งหมายในการทำงาน จะแตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่งงาน ... .

3. ใส่จุดแข็งของตัวเองลงไป ... .

4. พูดถึงคุณสมบัติสำคัญของตัวเอง ... .

5. แสดงถึงมูลค่าของคุณต่อองค์กร.

Skill ใน resume มีอะไรบ้าง

Top Soft Skills ที่ควรมี ใน resume.

1. Problem solving. ... .

3. Flexibility. ... .

4. Communication. ... .

5. Teamwork. ... .

6. Organization. ... .

7. Creativity. ... .

8. Emotional Intelligence. ... .

9. Attention to Detail..