อาการ ออฟฟิศ ซิ น โดร ม ปวด หลัง

หนุ่มสาวชาวออฟฟิศคงคุ้นหูกับ “ ออฟฟิศซินโดรม ” กันเป็นอย่างดี และคงจะรู้กันดีด้วยว่าอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ที่เกิดจากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนี้ แต่ถึงจะรู้สาเหตุหลายคนก็ยังเลือกที่จะปล่อยไว้ คิดว่ากินยาเดี๋ยวก็ดีขึ้น ไปนวดเดี๋ยวก็หาย แต่จริงๆ แล้วการปวดเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แพทย์จึงอยากให้สังเกตอาการอื่น ๆ ด้วย ดังนี้

  • มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานกว่า 2-4 สัปดาห์
  • หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณเอว จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นหนักขึ้นกล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง ควบคุมการเดินไม่ได้
  • หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ คนไข้จะมีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรงหรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือได้
  • เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะรู้สึกปวดลึกๆ หรือมีอาการปวดร้าวไปแขนหรือขาได้ เนื่องจากเกิดแรงดันในไขสันหลัง

ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตหากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางก่อนที่อาการจะหนักขึ้น

ปัจจุบันโรคดังกล่าวสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย อ่านเพิ่มเติม : https://bit.ly/2RPeftp

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars 5 / 5 (4 Reviewers)
  • Spectacular
  • Your Rating

สาเหตุของ “ออฟฟิศซินโดรม” เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น

  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นต้น
  • สภาพร่างกายอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น

ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถแบ่งลักษณะอาการปวดได้ทั้งหมด 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. การปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวทั่วไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย มีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
  2. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึน งง หูอื้อ ตาพร่า
  3. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

อาการ ออฟฟิศ ซิ น โดร ม ปวด หลัง

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

การรักษากลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome )” นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพื่อรักษาการปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจาก “Office Syndrome” ได้นั้น คือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้แนะนำวิธีการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ที่ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น

1. การยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง

การยืดกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยให้เอ็นข้อต่อและเส้นใยกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการยืดเหยียดมีความยาวและมุมการเคลื่อนไหวที่ดี ทำให้สามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2. การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด ด้วยอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมและทันสมัย

การทำกายภาพบำบัด มีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะกำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆไป

3. การนวดแผนไทย

การนวด อาจกล่าวได้ว่าเป็นการรักษาอาการปวดวิธีแรกที่มนุษย์เรารู้จัดตั้งแต่โบราณกาล และเป็นวิธีทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ปวดตรงไหนก็ถู บีบนวดตรงนั้น ต่อมาจึงมีการสั่งสมประสบการณ์จนเป็นศาสตร์หนึ่งในการรักษา

4. การฝังเข็ม

การฝังเข็ม อาศัยกลไกในการยับยั้งความเจ็บปวด ช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางที่ระดับไขสันหลัง เพื่อช่วยระงับปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด ปรับสมดุลของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ

5.การรับประทานยา

การรับประทานยา เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ดังนั้น ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง จำเป็นต้องอ่านฉลากยาอย่างละเอียด และปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

1. ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมอ

2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา

3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง

ออฟฟิศซินโดรมปวดหลังตรงไหน

ปวดบริเวณคอ หลัง อก เอว หลังช่วงล่าง หรือบริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ โดยปวดแบบจิ๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต หรืออาจจะปวดจนสะดุ้งเบาๆ ปวดหลังร้าวลงสะโพก ขา จนถึงบริเวณน่องหรือเท้า มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม

อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึน งง หูอื้อ ตาพร่า อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

โรคออฟฟิศซินโดรม หายเองได้ไหม

ออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถรักษาได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ร่วมกับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง โดยวิธีการรักษานั้นมีหลายวิธีประกอบไปด้วย

อาการออฟฟิศซินโดรมอันตรายไหม

เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่ตึงตัวมากเกินไปจนเกิดเป็นอาการปวดตามบริเวณต่างๆ ขึ้น แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงถึงชีวิต เพราะไม่ได้มีการกดทับเส้นประสาทจนทำให้เกิดเป็นความพิการถาวร แต่หากเป็นนานๆ หรือเป็นมากขึ้นๆ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้ ...