ว ธ การข นทะเบ ยนสารเสร มมพร ม กซ

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิด ตามความเป็นอันตราย ความเสี่ยง และความจำเป็นในการควบคุม ดังนี้

Show

วัตถุอันตรายชนิดที่ 1

เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และ​ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ที่มีสารสำคัญเป็น สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ ( anionic surfactants) หรือสาร ลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ ( nonionic surfactants ) ยกเว้น nonylphenol ethoxylate • ผลิตภัณฑ์กาว ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม alkyl cyanoacrylate • ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ ที่มีสารสำคัญเป็น calcium hypochlorite, sodium hypochlorite, dichloroisocyanuric acid and its salts, trichloroisocyanuric acid and its salts

การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

วัตถุอันตรายชนิดที่ 2

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงกว่าชนิดที่ 1 กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองต้องขอและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ี่ทราบก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น • ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มี benzyl benzoate เป็นสารสำคัญ • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญที่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือวัตถุอันตรายชนิดที่ 3)

การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

แนวทางการพิจารณาเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

แนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณารับขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายเพื่อการส่งออกเท่านั้น (Export only)

ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

คู่มือการขออนุญาตวัตถุอันตรายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2

ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 จะต้องขอขึ้นทะเบียน และแจ้งการดำเนินการผลิตหรือนำเข้า วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ส่วนผู้ส่งออกจะต้องแจ้งการส่งออกผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา

สำหรับผู้ขอมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่มีสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากสถานที่เก็บอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ

​การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้

  • กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่​เคยได้รับอนุญาต
  • กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่ยังไม่เคยได้รับอนุญาต​

ค่าธรรมเนียม ไม่มี

ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ ไม่มี

อายุใบรับแจ้งการดำเนินการ ใช้ได้ถึง 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับแต่ปีที่ออกใบรับแจ้ง

​แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

  • บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบการขอยกเลิกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน/ใบอนุญาต/ใบรับแจ้งการดำเนินการ/ใบแจ้งข้อเท็จจริง
  • คำขอต่ออายุใบรับแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (แบบ วอ./สธ 12)
  • คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (แบบ วอ./สธ 11)
  • ใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (แบบ วอ./สธ 3)

ขั้นตอนการแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2

คู่มือการขออนุญาตวัตถุอันตรายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

วัตถุอันตรายชนิดที่ 3

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยง สูงกว่า วัตถุอันตรายสองชนิดแรก กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอและให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น • ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม pyrethroids • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค ที่มีกรด ด่าง หรือสารกลุ่ม ​aldehydes เป็นสารสำคัญ เป็นต้น

การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

การขออนุญาตวัตถุอันตราย

วัตถุอันตรายชนิดที่ 4

ได้แก่ วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งจากคุณสมบัติของตัวสารเองหรือจากลักษณะการใช้ เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือสารที่ห้ามใช้โดยอนุสัญญา กฎหมายจึงห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง

แจก e-book เรียนรู้ภาษาอังกฤษ "Easy English with DOPA" เดือนธันวาคม 2566 โดย ส่วนวิเทศสัมพันธ์ กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง

การให้บริการด้านทะเบียนในงานกาชาด 2566 จองชื่อสกุลพระเกจิอาจารย์ 9 รูป 9 วัด เมตตาอธิษฐานจิต 1010 ชื่อสกุล

7 ธันวาคม 2566

ระบบเปิดให้จองชื่อสกุล ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2566 และการจองชื่อสกุลนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2566 เป็นต้นไป

การรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ.ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

28 พฤศจิกายน 2566

กรมการปกครอง เชิญชวน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับบริการประชาชนทั่วไป และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ แสดงความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.ชื่อบุคคล..

โครงการสำคัญของกรมการปกครอง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

20 ตุลาคม 2566

โครงการสำคัญของกรมการปกครอง ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ 2567

กิจกรรมตอบคำถามท้ายเล่ม นิตยสารกรมการปกครอง (เทศาภิบาล) วันที่ 15 – 31 ต.ค. 2566

20 ตุลาคม 2566

ด้วย วช. (สสผ.) ได้จัดกิจกรรมตอบคำถามท้ายเล่มนิตยสารกรมการปกครอง (เทศาภิบาล) เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการอ่านของข้าราชการและบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง โดยคำ...

24 กรกฎาคม 2566

ตามที่ กรมการปกครอง ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ประชาชน ได้รับ SMS จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา.. ขอชี้แจงว่า กรมการปกครอง ไม่มีช่องทางไลน์ และ SMS

กรมการปกครอง แจ้งเตือน ประเด็น: มิจฉาชีพรับทำบัตรประจำตัวประชาชน โทษหนัก! ผู้จ้าง ผู้ทำ ผู้ใช้ เอกสารราชการปลอม

12 กรกฎาคม 2566

การดำเนินการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางทะเบียนราษฎร ทุกกรณี สามารถดำเนินการได้ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น เท่านั้น

รายงานการตรวจสอบข่าวปลอม ประเด็น: เพจสำนักบริหารการทะเบียนกลาง

18 มิถุนายน 2566

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องเพจ "สำนักบริหารการทะเบียนกลาง" โดยมีเนื้อหาเปิดรับลงทะเบียนบัตร บุคคลต่างด้าวก็สามารถใช้สิทธิได้นั้น สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ได้ตรวจสอบข้อ...