ม รายการช อ แต พ มพ แล วเสนอคำเลย

เผยแพร่: 23 พ.ค. 2566 12:28 ปรับปรุง: 23 พ.ค. 2566 12:28 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ช่วงนี้กระแสข่าวการเมืองกำลังร้อนแรง เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.66) ในรายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ ทางช่องยูทิวบ์ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ได้เล่าข่าวบรรยากาศ พรรคก้าวไกลลงพื้นที่ขอบคุณคะแนนเสียงที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง สรยุทธได้บอกว่า ช่วงหลังการเลือกตั้ง คอมเมนต์ในรายการก็มีหลากหลายฝั่ง ไม่ได้มีกองเชียร์สีส้มเยอะเหมือนเดิมแล้ว แต่ละคอมเมนต์มีหลากหลายมุม หากฟังแล้วมีเหตุผล คำพูดเหล่านี้ก็จะเป็นสาระที่น่าสนใจ

"บางคนบอกที่นำเสนอข่าวพรรคก้าวไกลมาก เป็นด้อมส้มหรือเปล่า ถ้าวันนี้ผมไม่นำเสนอข่าวพรรคก้าวไกล เลือกนำเสนอแบบเกลี่ย เอาฝ่ายค้านที่แทบจะไม่มีความเคลื่อนไหว ขุดเขาขึ้นมา ผมจะกลายเป็นสาวกลุงตู่ไหม สถานการณ์มันคือเขาชนะเลือกตั้ง เราจะมาถามไหมว่าฝ่ายค้านคุณจะมีนโยบายอะไร มันจะถามยังไงล่ะ ก็เขาเป็นรัฐบาล นี่ก็รอทางเพื่อไทย พยายามจะเชิญหลายคน แต่เขาบอกว่าให้คุยกันให้จบก่อน

ทำรายการ หรือจะไปยืนอยู่ข้างไหนมันไม่ได้หรอก ใช่ไหม ด่า เอ๊ย ต่อว่าสักนิดหนึ่ง อันนี้พูดเรื่องจริง ส่วนก้าวไกลไปลงพื้นที่แห่แหน มันเป็นการเมืองก็จริง แต่คนเป็นสื่อจะไม่นำเสนอได้ไหม คือบางทีเราก็อยากให้ พล.อ. ประยุทธ์ หรือ พล.อ. ประวิตร ไปแห่เหมือนกันนะ ผมจะได้นำเสนอข่าวง่าย อีกมุมที่บอก พล.อ. ประยุทธ์ เข้าทำงานที่ทำเนียบเป็นปกติ ก็บอกว่าไม่เห็นจะมีข่าวอะไรเลยจะนำเสนอทำไม ก็นำเสนอให้เห็นความเคลื่อนไหวทั้งสองฝั่ง"

ช่วงท้ายของรายการ สรยุทธ ยังยืนยันในไลฟ์ว่า “วันนี้ไม่ได้อารมณ์ขึ้น สบายใจมาก เวลาคนมาบอกว่า อย่างโน้นอย่างนี้ รู้หรือเปล่า ผมนี่โครตชอบเลย ชอบสวน ตั้งแต่ออกจากเรือนจำมา ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแล้ว กูฟาดหมด

คือจะเข้ามาทำให้เกรงกลัว เกรงใจ (ส่ายมือปฏิเสธ) รายการช่อง 3 ทำหรือไม่ทำก็ไม่ได้เดือดร้อน เงินทองก็มี แล้วมีโลกส่วนตัวของผมแบบนี้ โคตรสนุกเลย มาเลย เป็นความบันเทิงของชีวิตในช่วงบั้นปลาย แล้วเป็นการเยียวยาจิตใจที่ผมสูญเสียลำดวน

แหม ชอบจริงๆ แล้ววันไหนเดี๋ยวจะมีด่ากันสักนิด เอาความเห็นกวน... มาซัดกันตรงๆ มันจะเป็นรูปแบบใหม่ อ.วีระ เคยทำเอาไว้ เป็นแรงบันดาลใจของผม"

และวันนี้ (23 พ.ค.66) ในรายการกรรมกรข่าวนอกจอ พิธีกรข่าว สรยุทธ ยังสร้างมีมอย่างต่อเนื่อง จนขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ทวิตเตอร์ประเทศไทย #เรื่องเล่าเช้านี้ เมื่อมีคนส่งเอส SMS มาถึงรายการ ว่ารับไม่ได้ สรยุทธ จึงสวนกลับว่า… “รับไม่ได้ใช่ไหม กรี๊ดเลย ไม่ต้องกลั้นเอาไว้ กรี๊ด กรี๊ดสิครับ กรี๊ด กรี๊ด ไม่ต้องกลั้นเอาไว้ ระบายมันออกมา” และเจ้าตัวก็ทดลองพูดคำว่า กรี๊ดสิครับกรี๊ดในหลากหลายรูปแบบ พร้อมชวน ไบรท์ (พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ) ลองพูดด้วย

“เรียนตามปกติ ผลการเรียนก็อยู่ในระดับที่ใช้ได้เลย แล้วก็ไม่ได้มีสัญญาณของการความเครียดหรือว่าแรงกดดันอะไรตามที่เวลาพูดคุยกับไม่ว่าจะเพื่อนเพื่อนที่โรงเรียนหรือแม้แต่ตอนที่อยู่ที่บ้าน การพูดคุยแต่ละอย่างตามที่เจ้าหน้าที่รายงานมา น้องก็จะเป็นคนพูดเอง ไม่ได้มีการชี้นำ” รมว.พม. กล่าว

1. บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยศิลปากร อัตราบทความละ 4,000 บาท

2. บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร (ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง)

2.1 อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ อัตราบทความละ 1,500 บาท

2.2 นักศึกษา (ระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา) ไม่เสียค่าใช้จ่าย

โดยวารสารฯ จะเรียกเก็บเมื่อบทความได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์แล้ว

ประเภทบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อน ความยาวไม่เกิน 17 หน้า (รวมรายการอ้างอิง) ได้แก่

1. บทความวิจัย (Research article) คือบทความที่นําเสนอผลจากการศึกษาวิจัยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน โดยกล่าวถึงภูมิหลัง ความเป็นมา ความสําคัญของปัญหาวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีและกรอบแนวคิด การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการวิจัย รวมทั้งข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ รวมทั้งประเด็นในการวิจัยครั้งต่อไป ส่วนประกอบของบทความวิจัย ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่ระบุถึงที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ข้อค้นพบที่สำคัญ(ผลการวิจัย และการอภิปรายผล) และการนำไปประยุกต์ใช้ (มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และจบใน 1 ย่อหน้า) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระทัดรัด กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์ คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในฐานข้อมูล บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายข้อมูลพื้นฐาน ความสำคัญของปัญหา และสาเหตุ หรือข้อถกเถียงที่นำไปสู่การวิจัยเพื่อหาคำตอบ วัตถุประสงค์การวิจัย: เป็นส่วนที่ระบุถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิจัย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดการวิจัย: เป็นการศึกษาทบทวนสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสรุปมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเรื่องที่ทำวิจัย ทำให้มองเห็นภาพรวมของการทำวิจัย ทั้งนี้ อาจใช้การบรรยาย แผนภูมิ แผนภาพ หรือแบบจำลองก็ได้ ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นส่วนที่อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างครอบคลุมและชัดเจน ผลการวิจัย: ผลการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกระบวนการวิจัย ตารางหรือแผนภูมิประกอบแสดงให้เห็นถึงข้อค้นพบสำคัญ และไม่ควรเกิน 5 ตาราง สรุปและอภิปรายผล: การสรุปผลการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย และมีหลักการหรือทฤษฎีรองรับ รายการอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

ส่วนบทความงานศิลปะหรือสร้างสรรค์ (Creative work article) เป็นบทความที่นำเสนอผลจากงานศิลปะหรือสร้างสรรค์ รายละเอียดการเขียนบทความควรประกอบด้วยชื่อบทความ บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่มาและความสำคัญของงาน วัตถุประสงค์ แนวความคิด กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ที่ได้ ปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด (ถ้ามี) และข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ส่วนประกอบของบทความศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่ระบุถึงที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของงาน กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ ข้อค้นพบที่สำคัญ (องค์ความรู้ที่ได้ อุปสรรคและข้อจำกัด) (มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และจบใน 1 ย่อหน้า) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระทัดรัด กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์ คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในฐานข้อมูล บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายข้อมูลพื้นฐาน ความสำคัญของของงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์: เป็นส่วนที่ระบุถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ แนวความคิดในการสร้างสรรค์: เป็นการกล่าวถึงหลักการ แนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างสรรค์ กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์: เป็นการบรรยายถึงขั้นตอนหรือระเบียบวิธีที่ใช้ในการสร้างสรรค์งาน องค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์: เป็นการบรรยายผลที่ได้จากการสร้างสรรค์งาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกระบวนการสร้างสรรค์ ปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด (ถ้ามี) และข้อเสนอแนะ: บรรยายถึงปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด และข้อเสนอแนะในการสร้างสรรค์งาน เอกสารอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

2. บทความวิชาการ (Academic article) คือ บทความที่มุ่งวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ โดยสำรวจวรรณกรรมและมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนแนวคิด จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ มีเนื้อหาเน้นหนักไปในด้านวิชาการ เสนอความคิด องค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นการตีความ ค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ส่วนประกอบของบทความวิชาการประกอบด้วย ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาของบทความ เห็นถึงที่มาหรือความสำคัญของประเด็นที่ศึกษา องค์ความรู้หรือข้อเท็จจริงที่พบ การเสนอแนวคิด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์ โดยเขียน 1 ย่อหน้า และมีความยาว 250-300 คำ คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เขียน และจูงในให้ผู้อ่านสนใจ เนื้อหา: เป็นส่วนหลักของบทความ มีการวางเค้าโครงที่ความสอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา การนำเสนอร้อยเรียงอย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย บทสรุป: เป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดอย่างย่อและชัดเจน อาจมีการเปรียบเทียบถึงข้อแตกต่างหรือข้อดีข้อเสีย รายการอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

3. บทความปริทัศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review article) คือ บทความที่เรียบเรียงขึ้นโดยมุ่งวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบเพื่อนำเสนอแง่มุม แนวคิด ประเด็นปัญหา ตลอดจนแนวโน้มขององค์ความรู้และความเข้าใจใหม่ ๆ ส่วนประกอบของบทความปริทัศน์ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาของบทความ เห็นถึงที่มาหรือความสำคัญของประเด็นที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจารณ์ เสนอแง่มุมแนวคิดหรือองค์ความรู้ที่น่าสนใจใหม่ ๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์ โดยเขียน 1 ย่อหน้า และมีความยาว 250-300 คำ คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เขียน และจูงในให้ผู้อ่านสนใจ เนื้อหา: เป็นส่วนหลักของบทความ มีการวางเค้าโครงที่ความสอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา การนำเสนอร้อยเรียงอย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย บทสรุป: เป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดอย่างย่อและชัดเจน อาจมีการเปรียบเทียบถึงข้อแตกต่างหรือข้อดีข้อเสีย รายการอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

การเตรียมต้นฉบับ

ก. ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ ชื่อบทความควรตั้งให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ และมีความน่าสนใจ โดยต้องมีความยาวไม่เกิน 85 อักขระ (รวมการเว้นวรรค)

ข. ชื่อผู้แต่งและสังกัด ให้ระบุชื่อ นามสกุล อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน (ใส่ตัวเลขที่เป็นตัวยก (superscript) กำกับ ส่วนสังกัด อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงานของผู้เขียนให้ระบุในส่วนเชิงอรรถท้ายหน้า

ค. บทคัดย่อ บทคัดย่อภาษาไทยต้องปรากฏในหน้าแรกของบทความ ย่อหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ หรือไม่ควรเกิน 300 คำ โดยจะต้องมีใจความที่สั้น กะทัดรัด กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน อ่านแล้วเห็นถึงภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมด มีที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่างานวิจัยนี้ต้องการทราบอะไร มีขั้นตอนวิธีการในการดำเนินงานวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ มีผลการศึกษาที่ระบุข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยที่โดดเด่นและมีความสำคัญ มีการสรุปรวบยอดผลการวิจัยและมีข้อเสนอแนะ ที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกทึ่งกับผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ หรือมีประสิทธิภาพ และ/หรือมีคุณค่า สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปช่วยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้อย่างไร สำหรับบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ (Abstract) นั้น จะต้องมีใจความที่สอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย และมีการใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ง. คำสำคัญ คำหรือวลีที่เป็นคำสำคัญจะต้องเป็นคำที่เหมาะสมที่ใช้เป็นตัวแทนเนื้อหาสำหรับการสืบค้นบทความ (3-6 คำ)

จ. ส่วนเนื้อหา เนื้อหาบทความจะต้องแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้ 1. บทความวิจัย ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดการวิจัย 4) วิธีดำเนินการวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5) ผลการศึกษาวิจัย 6) อภิปรายและสรุปผลการวิจัย 7) ข้อเสนอแนะ 8) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) 9) References (รายการอ้างอิง) บทความศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ 3) แนวความคิดในการสร้างสรรค์ 4) กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ 5) องค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ 6) ปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด (ถ้ามี) 7) ข้อเสนอแนะ 8) References (รายการอ้างอิง) 2. บทความวิชาการ ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) เนื้อหา (ชื่อหัวข้อและจำนวนหัวข้อ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบทความ) 3) บทสรุป 4) References (รายการอ้างอิง) 3. บทความปริทัศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) เนื้อหา (ชื่อหัวข้อและจำนวนหัวข้อ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบทความ) 3) บทสรุป 4) References (รายการอ้างอิง)

ฉ. ภาพประกอบและตาราง คำอธิบายเพิ่มเติมของรูปภาพ ตาราง และเชิงอรรถควรจัดวางให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา โดยเชิงอรรถจะต้องมีตัวเลขที่เป็นตัวยกกำกับ ส่วนภาพประกอบควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi

ช. รายการอ้างอิง การเขียนรายการอ้างอิงของบทความในวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association: APA Citation Format) โดยประกอบด้วยการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

การอ้างอิงในเนื้อหา : ให้อ้างอิงชื่อสกุลผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งโดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และต่อด้วยปี ค.ศ.ที่พิมพ์ ทั้งเอกสารที่เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยมีรูปแบบดังนี้ (นามสกุลผู้เขียน, ปีพิมพ์: เลขหน้าที่ปรากฏ)

การอ้างอิงหน้าข้อความ ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนคนเดียว

- สุมาลี วีระวงศ์ (Weerawong, 2009: 37) กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะไปสื่อชักผู้ชายมาบ้านเรือนของตัวเองทั้ง ๆ ที่เขายังไม่ได้มาสู่ขอนั้น เป็นเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี…

- เช่นเดียวกับ Lowenfeld (1967) ที่ได้กล่าวถึง...

ผู้เขียนสองคน

- ในขณะที่ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (Dachakupt & Yindeesuk, 2014) กล่าวว่า...

- เช่นเดียวกับ Baron and Richardson (1994) ที่กล่าวว่า...

ผู้เขียนสามคนหรือมากกว่า อ้างครั้งแรก ให้ระบุนามสกุลครบทุกคน อ้างครั้งต่อไป ให้ระบุนามสกุลเพียงคนแรก ตามด้วย et al. - ในขณะที่ Alraimi, Zo, and Ciganek (2015) ได้อธิบายว่า MOOC ให้ความสำคัญกับความเปิดกว้าง... เช่นเดียวกับ Alraimi et al. (2015) ที่ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นภาพที่สะท้อนต่อคุณภาพ…

- สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริมงคล ทนทอง, สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, บุญเชิด ภิญญโญอนันตพงษ์, และเยาวพา เดชะคุปต์ (Thonthong, Pinyoanantapong, Pinyoanantapong, & Dechakup, 2010) ที่ได้ศึกษา... เช่นเดียวกับการศึกษาของ ศิริมงคล ทนทอง และคณะ (Thonthong et al., 2010) ที่อธิบายเพิ่มเติมว่า...

การอ้างอิงท้ายข้อความ ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนคนเดียว

- โสเกรติสย้ำว่าการอ่านสามารถจุดประกายได้จากสิ่งที่นักอ่านรู้อยู่แล้วเท่านั้นและความรู้ที่ได้รับมาไม่ได้มาจากตัวหนังสือ (Manguel, 2003: 127)

ผู้เขียนสองคน

- สันนิษฐานว่าลูกปัดรูปแบบดังกล่าว น่าจะถูกผลิตขึ้นเพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิตลูกปัดแก้วสีส้มและสีแดง ซึ่งเป็นสีที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากสามารถผลิตได้รวดเร็วกว่าและลดต้นทุนลงจากเดิม ทำให้เพียงพอต่อความต้องการลูกปัดในขณะนั้น (Dussubieux & Gratuze, 2013: 403)

ผู้เขียนสามคนหรือมากกว่า อ้างครั้งแรก ให้ระบุนามสกุลครบทุกคน อ้างครั้งต่อไป ให้ระบุนามสกุลเพียงคนแรก ตามด้วย et al.

- จากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่าประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวสามารถส่งผลต่อภาพลักษณ์ปลายทางในเชิงบวกและก่อให้เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวอีกครั้ง (Zhang, Fu, Cai, & Lu, 2014) นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า... (Zhang et al., 2014)

การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น งานของ Arnett ถูกอ้างอยู่ในงานของ Claiborne และ Drewery เราไม่สามารถหางานของ Arnett ได้ ให้ระบุงานของ Claiborne และ Drewery โดยให้ระบุชื่อผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ ปีที่พิมพ์ และคำว่า “as cited in” แล้วตามด้วยชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิและปีที่พิมพ์ สำหรับการลงรายการอ้างอิงท้ายบทความ ให้ลงชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิเท่านั้น

การอ้างอิงหน้าข้อความ ให้ระบุดังนี้

- Arnett (2000, as cited in Claiborne & Drewery, 2010) ...

การอ้างอิงท้ายข้อความ ให้ระบุดังนี้

- … (Arnett, 2000 as cited in Claiborne & Drewery, 2010)…

การอ้างอิงท้ายบทความ : การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความเป็นการระบุข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา (ยกเว้นการสื่อสารส่วนบุคคล เช่น การสื่อสารผ่านอีเมล ข้อความส่วนตัว หรือการสัมภาษณ์ เนื่องจากไม่อาจสืบค้นย้อนหลังได้และเป็นการปกป้องผู้ให้ข้อมูลการวิจัยตามข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์) โดยรูปแบบของรายการอ้างอิงจำแนกตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้ - การระบุผู้แต่ง ให้ใช้นามสกุล ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นสำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ส่วนเอกสารภาษาไทยที่เขียนโดยคนไทยให้ระบุนามสกุล และตามด้วยชื่อเต็ม - เอกสารที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ให้วงเล็บชื่อเรื่องภาษาไทยต่อท้ายชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเสมอ - ใช้เครื่องหมาย & แทนคำว่า and ในการอ้างอิงเสมอ ทั้งในการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยและเอกสารภาษาต่างประเทศ - ทุกรายการที่ยาวเกิน 1 บรรทัด เมื่อขึ้นบรรทัดต่อไปให้เยื้องเข้าไปอีก 8 อักขระ โดยเริ่มที่ตำแหน่งที่ 9

หนังสือ นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่องานประชุมวิชาการ,\เมือง.\เดือน\วันที่จัดงานประชุมวิชาการ