ข อด ของเศรษฐก จท ม ต อภ ตตาคาร

เบเกอรี่มิวสิก (Bakery Music) เป็นสังกัดค่ายเพลงที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดยผู้ก่อตั้งอย่าง บอย โกสิยพงษ์, กมล สุโกศล แคลปป์, สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ และ สาลินี ปันยารชุน มีผลงานอัลบั้มแรกของค่ายอย่าง โมเดิร์นด็อก ที่ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในฐานะค่ายเพลงแห่งใหม่ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของค่าย ได้แก่ โมเดิร์นด็อก, บอย โกสิยพงษ์, โจอี้ บอย, กรู๊ฟไรเดอร์สและอีกมากมาย เคยประสบกับภาวะการขาดทุนระยะหนึ่งก่อนจะถูกควบรวมเข้ากับค่ายเพลงสากลอย่าง บีเอ็มจี และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของค่ายเพลง โซนี่ มิวสิก ในปัจจุบัน

Show

จุดเริ่มต้นของเบเกอรี่มิวสิก[แก้]

สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์[แก้]

จุดเริ่มต้นของเบเกอรี่มิวสิก เริ่มจาก สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ หรือซี เป็นนักรีมิกซ์จากสไมล์ เรดิโอ ที่เริ่มโปรเจ็กต์ Z-Myx กับค่ายมูเซอร์ ของ จิก – ประภาส ชลศรานนท์ ด้วยคำแนะนำจากเอื้อง –สาลินี ปันยารชุน จนได้รู้จักและร่วมงานกับ สุกี้ - กมล สุโกศล แคลปป์ ซึ่งเข้ามารับหน้าที่เป็นซาวเอ็นจิเนียร์ ต่อมาได้รู้จักกับ บอย – ชีวิน โกสิยพงษ์ โดยการแนะนำของ ป็อป – ไพรัช นลินทรางกูร สมเกียรติขอให้บอยช่วยเขียนเพลงใหม่ให้ และทำงานด้วยกันเรื่อยมาจนถึงอัลบั้มชุด Volume 10 ของสมเกียรติ และเกิดการรวมตัวเป็นบริษัทโปรดักชันเฮ้าส์รับทำเพลงโฆษณา

กมล สุโกศล แคลปป์[แก้]

สุกี้ หรือ กมล สุโกศล แคลปป์ ชายหนุ่มลูกครึ่งที่จบการศึกษาด้านซาวด์เอนจิเนียร์จากต่างประเทศ สร้างชื่อจากการเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวง ทีเคโอ ในสังกัด คีตา เรคคอร์ดส ก่อนจะได้รับการติดต่อจากโมเดิร์นด็อก วงดนตรีระดับอุดมศึกษาที่เป็นแชมป์วงสตริงจากเวที โค้กมิวสิกอะวอร์ดส์ และเกิดความคิดว่า จะทำเป็นค่ายเพลง และเกิดเป็นเบเกอรี่มิวสิกในที่สุด

บอย โกสิยพงษ์[แก้]

ก่อนที่อัลบั้มแรกของโมเดิร์นด็อกจะเป็นรูปเป็นร่าง ป๊อด – ธนชัย อุชชิน นักร้องนำของวงก็มีโอกาสได้ร้องเพลง “ลมหายใจ” ในอัลบั้ม Volume 10 ของสมเกียรติและกลายเป็นเพลงดัง ซึ่งเพลงนี้เขียนโดยนักแต่งเพลงหน้าใหม่ในสมัยนั้น คือ บอย โกสิยพงษ์

บอย ยังเป็นคนที่ตั้งชื่อ เบเกอรี่มิวสิก ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกเขาต้องการชื่อที่ฟังดูถ่อมตัว ฟังแล้วรู้สึกถึงความเป็นโฮมเมด และเป็นชื่อที่คุ้นหูได้ง่าย รวมทั้ง การที่ค่ายตั้งอยู่ที่สยามสแควร์ ซึ่งมีร้านเบเกอรี่ตั้งอยู่หลายร้าน ชื่อดังกล่าวจึงถูกเลือกขึ้นมาตั้งเป็นชื่อค่าย

สาลินี ปันยารชุน[แก้]

ผู้หญิงคนเดียวในบรรดาผู้ก่อตั้งค่าย รับหน้าที่เป็นฝ่ายการจัดการทั่วไป ทั้งด้านธุรการ, การตลาดและโปรโมชั่น นอกเหนือจากการเป็นดีเจ ระยะหลัง เข้าไปดูแลการจัดการศิลปินด้วย

หลังจากความสำเร็จของอัลบั้มชุดแรกของค่าย พวกเขาออกมินิอัลบั้มของศิลปินหน้าใหม่ โจอี้ บอย ด้วยดนตรีฮิปฮอปในแบบแร็กก้ามัฟฟิน และซิงเกิลแรก “รักคุณเข้าแล้ว” ของ บอย โกสิยพงษ์ ตามออกมา และประสบความสำเร็จเช่นเดิม ทำให้เบเกอรี่มิวสิกกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ที่สร้างกระแสให้เกิดค่ายเพลงเล็กๆ ขึ้นเกือบร้อยบริษัท และเกิดเป็นยุคอัลเทอร์เนทีฟเฟื่องฟูในที่สุด

เหตุการณ์ต่างๆ ของเบเกอรี่มิวสิก[แก้]

โมเดิร์นด็อก ศิลปินกลุ่มแรกของค่าย[แก้]

โมเดิร์นด็อก ทำอัลบั้มแรกของตนเองโดยมีกมล สุโกศล แคลปป์ เป็นโปรดิวเซอร์ให้ ออกวางแผงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2537 โดยมีเพลง “บุษบา” และ “...ก่อน” ที่กลายเป็นเพลงโด่งดัง และสร้างชื่อให้คนฟังรู้จักทั้งชื่อวงและชื่อค่าย โมเดิร์นด็อกกลายเป็นศิลปินในดวงใจของนักร้องนักดนตรีรุ่นหลังจวบจนปัจจุบัน เช่นเดียวกับเบเกอรี่มิวสิก ที่กลายเป็นกระแสให้เกิดค่ายเล็กค่ายน้อยจำนวนมากที่ถือกำเนิดขึ้นตามมา

ฤดูที่แตกต่าง[แก้]

หลังจากซิงเกิลแรกอย่าง รักคุณเข้าแล้ว โด่งดังพอสมควร เพลงดังตลอดกาลเพลงถัดมาของเบเกอรี่มิวสิกคือ ฤดูที่แตกต่าง หรือ “Seasons Change” ที่ร้องโดย นภ พรชำนิ และทำให้บอยทำซิงเกิลรีมิกซ์ 7 เวอร์ชันของเพลงนี้ออกวางแผง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของวงการเพลงไทยอีกเช่นกันที่มีการออกซิงเกิลในรูปแบบการรีมิกซ์

ความแปลกใหม่ของวงการ[แก้]

ตลอดช่วง 3-4 ปีแรกของการผลิตอัลบั้ม เบเกอรี่มิวสิกปั้นศิลปินหน้าใหม่พร้อมด้วยแนวเพลงใหม่ๆ ให้กับวงการเพลงไทยอย่างไม่ขาด ไม่ว่าจะเป็น โจอี้ บอย เจ้าของฉายาแร็ปจรวดที่สร้างฮิปฮอปที่มีความเป็นไทยรายแรก, อรอรีย์ จุฬารัตน์ ผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นราชินีกรันจ์หญิงคนเดียวของเมืองไทยในเวลาต่อมา โยคีเพลย์บอย อินดี้ป็อปกับท่าเต้นยียวนอันเป็นเอกลักษณ์, พอส ที่โด่งดังมากๆ กับเพลง “ที่ว่าง” ขณะที่ โซลอาฟเตอร์ซิกซ์ จากเพลง “ก้อนหินละเมอ”, ทีฟอร์ทรี จากเพลง “ลมหนาว” รวมทั้งโปรเจ็กต์ เบเกอรี่แซมเพลอร์ ที่เป็นต้นกำเนิดของวงร็อคดังแห่งยุคอย่าง ซิลลี่ฟูลส์

ล้านตลับครั้งแรก[แก้]

โจอี้ บอย สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ให้กับค่ายเล็กๆ ด้วยยอดขาย 1 ล้านตลับของอัลบั้ม ‘Fun Fun Fun’ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2539

ขณะที่ปลายปี สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน ส่งผลกระทบต่อเบเกอรี่ฯ จนต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน ก็เป็นปีที่เอื้อง สาลินี ทำงานกับเบเกอรี่เป็นปีสุดท้าย ด้วยเหตุผลด้านความเห็นที่ไม่ตรงกัน

กำเนิดโดโจ ซิตี้[แก้]

หลังเกิดภาวะวิกฤติทางด้านการเงิน ปี พ.ศ. 2541 เบเกอรี่มิวสิกตัดสินใจหาทางออกด้วยการเปิดบริษัทจัดจำหน่ายขึ้นเอง ชื่อ แท็กซี่ ดิสตริบิวชั่น และออกผลงานเพลงที่อิงตลาดมากขึ้น ด้วยการส่งศิลปินกลุ่ม พีโอพี ที่นำโดย นภ พรชำนิ ออกมาวางตลาด และเปิดสังกัดย่อย โดโจ ซิตี้ เน้นตลาดวัยรุ่น ประเดิมด้วยศิลปินหญิงดูโอ นีซ ซึ่งเป็นซีดีอัลบั้มแรกของประเทศไทยที่มีการออกแบบให้เป็น Enhanced CD นอกจากนี้ ยังเปิดธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์เพิ่มเติม นั่นคือ นิตยสารแคตช์ (Katch) และมังงะแคตช์ (Manga Katch) นั่นเอง

การควบรวมกิจการกับบีเอ็มจี[แก้]

ในปี พ.ศ. 2543 เบเกอรี่มิวสิกประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก ในที่สุด ผู้บริหารของค่ายตัดสินใจควบรวมกิจการกับ บีเอ็มจี เอนเตอร์เทนเมนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียแปซิฟิค จนทำให้เกิดการปรับตัวด้านวิสัยทัศน์ มีการนำเพลงออกสู่ตลาดโลกมากขึ้น และนำเพลงจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย โดยที่เบเกอรี่มิวสิกยังคงเป็นผู้ควบคุมแนวทางและคุณภาพของเพลงเช่นเดิม บวกกับความเข้าใจในตัวศิลปินของผู้บริหาร ทำให้แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นก็ไม่ทำให้ภาพพจน์ของค่ายเสียไปมากนัก

เบเกอรี่ เดอะคอนเสิร์ต[แก้]

นับเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของวงการเพลงไทย ที่มีคลื่นวิทยุร่วมจัดคอนเสิร์ตเฉพาะให้กับค่ายเพลงค่ายเดียว โดยรวมเกือบทุกศิลปินที่เคยออกผลงานกับเบเกอรี่มิวสิกตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงวันจัดคอนเสิร์ต คลื่น 104.5 แฟตเรดิโอ คลื่นวิทยุในเครือคลิกเรดิโอ จัดคอนเสิร์ตดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ณ อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี ได้รับความสนใจจากแฟนเพลงอย่างล้นหลาม และมีการแสดงบนเวทีที่ยาวนานหลายชั่วโมง

นอกจากนี้ คอนเสิร์ตครั้งนี้ ยังเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของวง พรู และนักร้องนำที่ชื่อ กฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือน้อย น้องชายของสุกี้ - กมล สุโกศล แคลปป์ เจ้าของค่ายเบเกอรี่มิวสิกอีกด้วย

การควบรวมบริษัทหนที่สอง[แก้]

หลังจากบริษัทแม่ของ BMG Entertainment ได้ควบรวมกิจการกับ Sony Music Entertainment มีการใช้เวลาในการทำความตกลงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเกี่ยวกับรูปแบบการควบรวม เนื่องจาก Sony Music ในไทยตอนนั้นคือบริษัท Sony Music BEC-TERO Entertainment ซึ่งเป็นการควบรวมกันอยู่ก่อนแล้วระหว่าง 2 บริษัทกับทาง TERO Ent.

ในที่สุด เมื่อเกิดการควบรวมจึงทำให้เกิดบริษัทใหม่ที่ชื่อ Sony BMG Music Entertainment และอีกไม่นานนักทางโซนี่ก็ได้ทำการซื้อหุ้นอีกครึ่งนึงคืออีก 50% ของทาง BMG ทำให้ Sony ได้กลับมาถือหุ้นบริษัททั้งหมด 100% เหมือนเดิม ทำให้ก่อนหน้านี้ที่ชื่อบริษัท Sony BMG Music Entertainment เปลี่ยนกลับเป็น Sony Music Entertainment ดั่งเดิม โดยทาง TERO Entertainment ได้ทำการถอนหุ้นออกไป ทำให้ Bakery Music ก็กลายเป็นหนึ่งในค่ายย่อยของ Sony Music โดยปริยายและในตอนนั้นเองผู้บริหารชุดเดิมของ Bakery Music อย่าง สุกี้ และบอย ได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารเพราะเกิดปัญหากันด้านข้อตกลงเงื่อนไขของทาง Sony ที่เสนอให้ เช่นเงื่อนไขข้อที่ว่า ลิขสิทธ์เพลงทั้งหมดของ Bakery Music จะต้องตกมาเป็นของ Sony ทั้งหมด และอีกหลายๆเงื่อนไข จึงได้ทยอยกันลาออกจากการเป็นผู้บริหาร ส่วนสมเกียรติได้อยู่ช่วยบริหารอยู่พักหนึ่ง ก่อนภายหลังได้ตัดสินใจลาออกเช่นกัน โดยบอยและสุกี้ได้ออกไปก่อตั้งค่ายใหม่ในเครือ Sony ชื่อว่า LOVEiS Entertainment. และสุกี้ได้หันไปทำอีกหนึ่งธุรกิจเป็นรายการทีวี

10 ปีเบเกอรี่มิวสิก[แก้]

ข อด ของเศรษฐก จท ม ต อภ ตตาคาร
โลโก้ในโอกาสครบรอบ 10 ปีเบเกอรี่มิวสิก

ในช่วงเวลาที่เบเกอรี่มิวสิกดำเนินกิจการมาจนครบปีที่สิบ มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 10 ปีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการจัดคอนเสิร์ตใหญ่หลายรายการ โดยเฉพาะคอนเสิร์ตใหญ่ของ บอย โกสิยพงษ์ ในช่วงที่ออกอัลบั้มชุด 'Million Way To Love Part I' ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งบัตรของทั้งสองรอบถูกจัดจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว และคอนเสิร์ต "B.Day Bakery Music Independent Day" ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเบเกอรี่มิวสิกที่รวบรวมศิลปินของค่ายเอาไว้มากที่สุด จัดขึ้นที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพฯ และศูนย์การค้า เซ็นทรัลแอร์พอร์ตพลาซ่า จ.เชียงใหม่

ศิลปินที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงนั้น คือ บีไฟว์ ประกอบด้วย กลุ่มศิลปินเลือดใหม่ของเบเกอรี่มิวสิกอย่าง เบน – ชลาทิศ ตันติวุฒ, คิว – สุวีระ บุญรอด, โต๋ - ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร, เค้ก - อุทัย นิรัติกุลชัย, มาเรียม อัลคาลาลี่ ออกอัลบั้มชุด Event ซึ่งเป็นนำเพลงต่างๆ ของเบเกอรี่มิวสิกมาเรียบเรียงใหม่ในสไตล์ของบีไฟว์ เป็นอีกอัลบั้มหนึ่งที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร

มีการจัดทำนิตยสารเฉพาะกิจชื่อ 375 องศาฟาเรนไฮน์ ซึ่งเป็นนิตยสารที่รวบรวมเรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับเบเกอรี่มิวสิก ตั้งแต่ก่อตั้งจนกระทั่งปีที่สิบ (ปี ค.ศ. 1994-2004) จัดทำโดยทีมงานอะเดย์ พิมพ์ออกจำหน่ายเป็นจำนวน 10 เล่มเป็นเวลา 10 เดือน เริ่มวางจำหน่ายในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 ในราคาเล่มละ 100 บาท

เบเกอรี่มิวสิกในปัจจุบัน[แก้]

หลังจาก เบเกอรี่มิวสิก อยู่ภายใต้การบริหารงานของโซนี่ มิวสิก โอเปอเรติ้ง (ประเทศไทย) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารชุดเดิม คือ บอย โกสิยพงษ์ และกมล สุโกศล แคลปป์ ตัดสินใจลาออก ส่วน สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ ยังคงอยู่ช่วยดูแลอยู่ระยะหนึ่ง ขณะที่เบเกอรี่มิวสิกก็ยังคงออกผลงานเป็นระยะๆ โดยมีศิลปินที่ยังคงติดสัญญาตั้งแต่ก่อนควบรวมกิจการทยอยออกอัลบั้มจวบจนปัจจุบัน อาทิ เครสเชนโด้, โต๋ – ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร, เบน – ชลาทิศ ตันติวุฒ และ เค้ก – อุทัย ปุญญมันต์

ปัจจุบัน บอย โกสิยพงษ์ เป็นเจ้าของค่ายเพลง เลิฟอีส สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ ยังคงมีงานเพลงออกมาบ้างประปราย ขณะที่กมล สุโกศล แคลปป์ หันไปทำรายการทีวีประเภทเรียลลิตี้แทน

ช่วงเวลาของเบเกอรี่มิวสิค[แก้]

ช่วงก่อตั้งค่ายเพลง Bakery Music (พ.ศ. 2535-2540)[แก้]

หลังจากสาเร็จการศึกษาในด้าน Music Business จาก University of California at Los Angeles (UCLA) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบอย โกสิยพงษ์ ได้เดินทางกลับประเทศไทยและได้ร่วมกับเพื่อนอีก 3 คนคือ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์, สาลิณี ปันยารชุน และ กมล สุโกศล แคลปป์ ตั้งบริษัทขึ้นในปี พ.ศ. 2535 รับทำเพลงทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงโฆษณา จนกระทั่งบอย โกสิยพงษ์และเพื่อนมีโอกาสทำเพลงให้กับวงดนตรีของนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อวงว่า “โมเดิร์นด็อก” เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทำเพลง บอย โกสิยพงษ์และเพื่อน รวมทั้งวง โมเดิร์นด็อกมีความเห็นตรงกันว่าจะไม่ขายงานผ่านค่ายเพลงแต่จะดำเนินการทางด้านการตลาดเองและนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของบริษัทเบเกอรี่มิวสิค

ช่วงมรสุมทางเศษฐกิจ (พ.ศ. 2541-2542)[แก้]

ความมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของเบเกอรี่มิวสิคนอกจากจะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่วงการเพลงดังที่กล่าวไปแล้วยังส่งผลให้ระบบการทำงานของเบเกอรี่มิวสิคต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

ความขัดแย้งระหว่างการให้น้าหนักระหว่าง “ศิลปะ” และ “ธุรกิจ” ทำให้สาลินี ปันยารชุน หนึ่งในผู้ก่อตั้งเบเกอรี่มิวสิคลาออกและถอนหุ้น ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนั้นจนรัฐบาลต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทใน ปี พ.ศ. 2540 ส่งผลให้ค่ายเพลงจำนวนมากปิดตัวไป ด้วยแนวคิดของเบเกอรี่มิวสิคที่ให้ความสำคัญของศิลปะมากกว่าธุรกิจมาตั้งแต่ต้น จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานกระแสเศรษฐกิจตกตํ่าได้ ท้ายที่สุดเบเกอรี่มิวสิคมีบัญชีติดลบถึง 60 ล้านบาท

ช่วงร่วมทุนกับบริษัท BMG (พ.ศ. 2543-2547)[แก้]

วิธีการแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจของเบเกอรี่มิวสิค คือการหาบริษัทใหญ่มาร่วมทุนนั่นก็คือบริษัท BMG ซึ่งเป็นค่ายเพลงระดับโลกในปี พ.ศ. 2543 บริษัท BMG เป็นบริษัทสาขาของ กลุ่ม Bertsmann ซี่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโรงพิมพ์ในประเทศเยอรมันมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาพัฒนาเป็นบริษัทข้ามชาติที่มีแนวทางการทาธุรกิจโดยการร่วมทุนกับบริษัทต่างๆ บริษัท BMG หรือในชื่อเต็มว่า Bertelsmann Music Group เป็นบริษัทสาขาของ Bertsmann ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องดนตรีโดยเฉพาะ สำนักงานใหญ่ของ BMG อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาและมีสำนักงานย่อยใน 25 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย เบเกอรี่มิวสิคจึงจำเป็นต้องปรับวิธีการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น รวมไปถึงการลดขนาดองค์กรเพื่อประคับประคองบริษัทให้อยู่รอด

ช่วงค่ายเพลงเลิฟอีส (พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน)[แก้]

หลังจากบอย โกสิยพงษ์และเพื่อนอีกสองคนที่เป็นคณะผู้บริหารและผู้ก่อตั้งเบเกอรี่ลาออกสมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ เปลี่ยนไปทางานเพลงให้กับศิลปินในวงการ ส่วนกมล สุโกศล แคลปป์เปลี่ยนไปผลิตงานด้านโทรทัศน์ มีเพียงบอย โกสิยพงษ์ที่ยังคงมุ่งมั่นทำค่ายเพลงอีกครั้ง โดยค่ายเพลงใหม่ของบอย โกสิยพงษ์มีชื่อว่า เลิฟอีส เป็นค่ายเพลงขนาดเล็กเหมือนค่ายเบเกอรี่ ในยุคเริ่มแรก แต่มีระบบการจัดการในรูปแบบสหกรณ์ซึ่งบอย โกสิยพงษ์ได้แนวคิดนี้มาจากคริสต์ศาสนาที่เขาศรัทธา

เกร็ดประวัติ[แก้]

  • ชื่อของค่ายก่อนที่จะมาลงตัวที่ “เบเกอรี่มิวสิก” คือ “ชอร์นเบิร์ก” จากการเสนอของ บอย โกสิยพงษ์ และ “บอมบ์สควอด” (Bomb Squad) จากการเสนอของสุกี้ โดย บอมบ์สควอด เป็นชื่อทีมโปรดักชั่นของวงแร็ปที่ชื่อ Public Enemy
  • เพลงประกอบการเดินแบบของ Fly Now คือผลงานแรกๆ ของเบเกอรี่มิวสิก โปรดักชั่น
  • เบเกอรี่มิวสิกเป็นค่ายแรกที่ริเริ่มการติดสติกเกอร์บนปกเทป ซึ่งเริ่มตั้งอัลบั้มแรกของโมเดิร์นด็อก โดยที่ศิลปินในค่ายจะมาช่วยกันแปะสติ๊กเกอร์
  • บอย โกสิยพงษ์ และ สาลินี ปันยารชุน เคยได้รับการยกย่องจากนิตยสารเทรนดี้แมน (Trendy Man) ให้เป็น 2 ใน 50 Most Powerful People ในช่วงปี 2540
  • หลังจากสาลินี ปันยารชุน ออกไป เธอได้ไปตั้งค่ายเพลงขึ้นใหม่ ชื่อ เฮ้าส์ออฟฟัน (House of Fun)
  • กฤษดา สุโกศล แคลปป์ แม้จะเป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องนำวงพรู แต่ความจริงนั้น เขาเคยร้องเพลงให้กับอัลบั้ม "Rhythm & BOYd" อัลบั้มชุดแรกของ บอย โกสิยพงษ์ มาก่อน

ค่ายเพลงย่อย[แก้]

อีซี่เบก (EZ’ Baked) ในช่วงหนึ่งของเบเกอรี่มิวสิก เคยจัดให้อัลบั้มที่มีเพลงฟังสบายที่ไม่ใช่แนวตลาด ให้ออกในสังกัดชื่อดังกล่าว อาทิเช่น ธีร์ ไชยเดช, ทีฟอร์ทรี และ พนัส วิวัฒน์พนชาติ

เบเกอรี่ อินเตอร์เนชันแนล (Bakery International) ค่ายเพลงสากลในเครือเบเกอรี่มิวสิก ศิลปินในค่าย อาทิ เอเจ (A-Jay) , นิวตัน (Newton) , Rio & Mars, Art Garfunkel, Alex E, Bliss และ Beverley Knight

เบเกอรี่ คลาสสิก (Bakery Classic) ค่ายเพลงย่อยที่เน้นนำเพลงอมตะมาทำใหม่ ศิลปินในค่ายนี้ได้แก่ กมลา สุโกศล

โดโจ ซิตี้ (Dojo City) ค่ายเพลงย่อยที่มุ่งเน้นสร้างศิลปินวัยรุ่นเพื่อเจาะกลุ่มวัยรุ่นเป็นหลัก และช่วยพยุงสถานะทางการเงินให้กับเบเกอรี่มิวสิกไว้ได้อย่างดี มีศิลปินวัยรุ่นที่มีชื่อเสียงหลายกลุ่ม ได้แก่ ไทรอัมพ์ส คิงดอม, นีซ, เอช, ออย ช็อคกิ้งพิ้งค์ และ มิสเตอร์ซิสเตอร์

ครันช์เรคคอร์ดส (Crunch Records) ค่ายเพลงย่อยที่ดูแลโดย ธานินทร์ ช.สรพงษ์ มีศิลปินในสังกัด คือ บีน และ พาวเวอร์แพท

บลูมมิ่งเดล เรคคอร์ดส (Bloomingdale Records) เป็นค่ายเพลงย่อยที่ตั้งขึ้นเป็นออกอัลบั้มรวมเพลงจากค่ายอินดี้ต่างๆ แต่ออกอัลบั้มมาเพียงชุดเดียว คืออัลบั้ม "Indy Hits Chart" ในปี พ.ศ. 2544 ก่อนจะยุบตัวไป

โด๊บมิวสิก (Dobe Music Production) ไม่เชิงเป็นค่ายเพลง แต่เป็นกลุ่มโปรดักชั่นที่ก่อตั้งขึ้นโดย นภ พรชำนิ และเพื่อน มีผลงานออกมา 3 อัลบั้มและ 1 อีพี