ก จกรรม การออกก าล งกายในผ ส งอาย ม อะไรบ าง

การสงั เคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายใุ นประเทศไทย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 379.158 สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ส 691 ก การสงั เคราะห์งานวิจยั ผู้สงู อายใุ นประเทศไทย กรงุ เทพฯ, 2564 138 หน้า ISBN : 978-616-564-116-6 1. ชื่อเรอื่ ง 2. ผสู้ งู อายุ 3. งานวิจัยผู้สงู อายใุ นประเทศไทย 4. การจัดการศึกษาสำหรบั ผสู้ ูงอายุ การสงั เคราะห์งานวจิ ยั ผสู้ งู อายุในประเทศไทย สงิ่ พมิ พ์ สกศ. อันดบั ที่ 52/2564 ISBN 978-616-564-116-6 พมิ พค์ รั้งที่ 1 ธันวาคม 2564 จำนวนพมิ พ ์ 500 เลม่ พมิ พเ์ ผยแพรโ่ ดย กล่มุ พัฒนานโยบายดา้ นการมสี ่วนรว่ มและสมชั ชาการศกึ ษา สำนกั มาตรฐานการศกึ ษาและพัฒนาการเรยี นรู ้ สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ 99/20 ถนนสโุ ขทยั เขตดสุ ิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 0 2668 7123 ตอ่ 2528, 2529, 2525 โทรสาร 0 2243 1129 Website: www.onec.go.th พิมพท์ ี่ บริษทั พริกหวานกราฟฟคิ จำกดั 90/6 ซอยจรญั สนทิ วงศ์ 34/1 ถนนจรญั สนิทวงศ์ แขวงอรุณอมรนิ ทร ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศพั ท์ 0 2424 3249, 0 2424 3252 โทรสาร 0 2424 3249, 0 2424 3252 กการสังเคราะหง์ านวิจยั ผ้สู งู อายใุ นประเทศไทย คำนำ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะหน่วยงานระดับนโยบายของชาติที่มีภารกิจหลักในการ จัดทำและขับเคล่ือนนโยบาย แผน มาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ตระหนักถึง ความสำคัญของการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้สูงอายุซ่ึงเป็นกลุ่มกำลังสำคัญหลัก ในการขับเคล่ือน เศรษฐกิจของประเทศในอนาคต รวมทั้งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานด้านการศึกษาสำหรับ ผู้สูงอายุของประเทศ จึงได้แต่งต้ังคณะทำงานจัดทำแนวทางและข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับ ผสู้ งู อายอุ ยา่ งมสี ว่ นรว่ ม เพอื่ จดั ทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบายทส่ี ง่ เสรมิ ใหห้ นว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ งนำไปใชใ้ นการดำเนนิ การ จัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ และเพื่อความสมบูรณ์ของการจัดทำข้อเสนอฯ ดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษาจึงได้ดำเนินการสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2563 เพ่ือศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุในประเทศไทย ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสังคม มิต ิ ด้านสุขภาพ มิติดา้ นเศรษฐกจิ และมติ ดิ า้ นสภาพแวดลอ้ ม รายงานการสงั เคราะห์งานวจิ ัยผสู้ ูงอายุในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2563 ฉบบั นี้ ถือเป็น เอกสารรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ มีองค์ความรู้และแนวทาง การดำเนินงานท่ีเก่ียวกับผู้สูงอายุในมิติด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสภาพแวดล้อม ซ่ึงมิติด้านสงั คม ครอบคลุมเรอ่ื งระบบสวัสดิการทางสงั คม การศกึ ษา การสรา้ งพ้นื ท่ที ี่เป็นมติ รสาํ หรบั ผ้สู งู อายุ และการเสริมสร้างศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียนผู้สูงอายุ มิติด้านสุขภาพ ครอบคลุมเรื่องระบบสนับสนุน การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โภชนาการ การออกกําลังกาย และระบบสวัสดิการเพื่อสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ ครอบคลุมเร่ืองรายได้ การออมและการประกอบอาชีพ และมิติด้านสภาพแวดล้อม ครอบคลุมเร่ืองการสร้าง สภาพแวดล้อม/ส่ิงแวดล้อมทางกายภาพให้กับผู้สูงอายุ รวมท้ังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นส่วนหน่ึง ในการจดั ทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบายแนวทางการจดั การศกึ ษาสำหรบั ผสู้ งู อายใุ นประเทศไทยไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ขอขอบคณุ คณะทำงานฯ คณะผู้วจิ ยั ตลอดจนทุกฝา่ ยทเ่ี กยี่ วข้อง ที่ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างย่ิงว่า เอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม รวมถึงผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ และการดำเนินงานด้านนโยบายที่เก่ียวข้องกับ ผสู้ ูงอายุตอ่ ไป (นายอำนาจ วชิ ยานุวตั ิ) เลขาธกิ ารสภาการศึกษา ข การสังเคราะหง์ านวิจัยผู้สงู อายใุ นประเทศไทย บทสรปุ ผูบ้ รหิ าร การวิจัยคร้ังนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยที่เก่ียวข้องกับผู้สูงอายุในประเทศไทย ในมิติด้านสังคม มิตดิ า้ นสุขภาพ มิตดิ า้ นเศรษฐกิจ และมติ ิดา้ นสภาพแวดลอ้ ม ซ่งึ ผู้วจิ ยั ไดด้ ำเนินการวิจยั ออกเปน็ 4 ระยะ ดังน้ี ระยะท่ี 1 การสืบค้นและรวบรวมงานวิจัยผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การสืบค้นและรวบรวมงานวิจัย ผู้สูงอายุในประเทศไทย 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2563) โดยใช้คำสำคัญให้ครอบคลุมงานวิจัยในมิต ิ ด้านสงั คม มิตดิ ้านสุขภาพ มิตดิ า้ นเศรษฐกจิ และมติ ดิ า้ นสภาพแวดล้อม จากฐานข้อมูล TCI (Thai Journal Citation Index Center) เม่อื วันท่ี 26 พฤศจกิ ายน 2563 พบงานวิจยั จำนวน 233 เร่อื ง ระยะท่ี 2 การคัดเลือกงานวิจัยผู้สูงอายุ ผู้วิจัยตัดงานวิจัยท่ีซ้ำจากการสืบค้นงานวิจัย และพิจารณา คัดเลือกงานวิจัยตามเกณฑ์การคัดเลือกงานวิจัย แล้วจัดทำระเบียนงานวิจัย ได้งานวิจัยที่นำมาใช้ ในการสงั เคราะหค์ ร้ังนี้ 168 เร่ือง ระยะที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การอ่านและบันทึกสาระจากงานวิจัย และทำการวิเคราะหค์ วามถแี่ ละรอ้ ยละของงานวิจัยตามมติ กิ ารวิจยั ประเภทการวจิ ัย และปที ี่ตพี ิมพ ์ ระยะท่ี 4 การสังเคราะห์ข้อค้นพบจากงานวิจัยผู้สูงอายุ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพ่ือจัดกลุ่มงานวิจัย ท่ีศึกษาในเรื่องท่ีมีความคล้ายคลึงกัน หรือมีลักษณะร่วมกัน แล้วสังเคราะห์ข้อค้นพบจากงานวิจัยท่ีมีลักษณะ คลา้ ยคลงึ กนั หรอื มีลักษณะรว่ มกัน โดยใช้การวเิ คราะห์เน้อื หา การตคี วามเปรยี บเทยี บ และการสร้างขอ้ สรปุ แบบอปุ นัย ผลการวิจยั สรุปได้ดงั น ้ี งานวิจัยผู้สูงอายุในประเทศไทยที่นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการวิจัยคร้ังน้ี คือ บทความวิจัย ทีเ่ กี่ยวขอ้ งกบั ผสู้ งู อายุในประเทศไทย ทีไ่ ด้รับการตีพมิ พ์ในวารสารในฐานข้อมลู TCI ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 ใน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านสังคม มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสภาพแวดล้อม และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกงานวิจัย จำนวน 168 เร่ือง ประกอบด้วย งานวิจัยในมิติด้านสุขภาพ จำนวน 75 เรอ่ื ง (คดิ เปน็ รอ้ ยละ 44.64) มติ ดิ า้ นสงั คม จำนวน 72 เรอื่ ง (คดิ เปน็ รอ้ ยละ 42.86) มติ ดิ า้ นสภาพแวดลอ้ ม จำนวน 17 เร่อื ง (คดิ เปน็ รอ้ ยละ 10.12) และมิติด้านเศรษฐกจิ จำนวน 4 เรื่อง (คิดเปน็ ร้อยละ 2.38) งานวจิ ยั ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 121 เร่ือง (คิดเป็นร้อยละ 72.02) งานวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 36 เรื่อง (คดิ เปน็ รอ้ ยละ 21.43) และงานวจิ ัยแบบผสมวธิ ี จำนวน 11 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 6.55) งานวจิ ยั ส่วนใหญต่ พี ิมพใ์ นวารสาร ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 55 เร่ือง (คิดเปน็ ร้อยละ 32.74) รองลงมาคือ พ.ศ. 2561 จำนวน 47 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 27.98) และปีที่มีการตีพิมพ์งานวิจัยน้อยท่ีสุด คือ พ.ศ. 2560 จำนวน 17 เรอ่ื ง (คดิ เปน็ รอ้ ยละ 10.12) คการสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผสู้ งู อายุในประเทศไทย งานวิจัยผู้สูงอายุที่นำมาสังเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้ ครอบคลุมประเด็นการวิจัย 4 มิติ ได้แก่ มิต ิ ด้านสังคม มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสภาพแวดล้อม ผลการวิเคราะห์การวิจัยสามารถ จัดกลมุ่ งานวจิ ัยตามประเดน็ การวจิ ยั ย่อย ไดด้ งั น้ ี มติ ดิ ้านสงั คม จำนวน 72 เร่ือง ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ การเรียนรขู้ องผูส้ ูงอายุ จำนวน 18 เรื่อง ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ และการรวมกลุ่มผู้สูงอายุอื่น เช่น ศูนย์การเรียนรู้-ชุมชน วิทยาลัยผู้สูงอายุ เป็นต้น การดำเนินงานของกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 16 เร่ือง การส่งเสรมิ สุขภาพ/สุขภาวะ จำนวน 13 เรื่อง การส่งเสรมิ คุณภาพชวี ติ ผสู้ งู อายุ จำนวน 12 เร่อื ง การสง่ เสรมิ การเรียนรตู้ ลอดชีวิตผู้สงู อายุ จำนวน 8 เรอ่ื ง และการส่งเสรมิ คุณค่า/ความสขุ ของผสู้ ูงอายุ จำนวน 5 เร่ือง มิติด้านสุขภาพ จำนวน 75 เรื่อง ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ การออกกำลังกาย จำนวน 45 เรื่อง ภาวะโภชนาการ จำนวน 15 เร่ือง สภาพกายและสภาพจิตใจ จำนวน 10 เรื่อง การใช้ชีวิตของ ผสู้ ูงอายุ จำนวน3 เรื่อง และการดูแลผ้สู งู อายุ จำนวน 2 เรอ่ื ง โดยประเดน็ ยอ่ ยที่มงี านวิจยั จำนวนมาก ได้แก่ การออกกำลังกายภาวะโภชนาการ และสภาพกายและสภาพจิตใจ มีการจัดกลุ่มย่อยตามประเด็นการศึกษา ดงั นี้ - เร่ืองการออกกำลังกาย จัดกลุ่มย่อยตามประเด็นการศึกษาได้ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ ศึกษาเก่ียวกับโปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จำนวน 31 เร่ือง กลุ่มที่ศึกษาตัวแปรท่ีมี ความสัมพันธ์กับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จำนวน 3 เรื่อง กลุ่มที่ศึกษาสภาพการออกกำลังกายของ ผู้สูงอายุ จำนวน 4 เร่ือง และกลุ่มที่ศึกษาเก่ียวกับการส่งเสริมหรือพัฒนาการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จำนวน 3 เรื่อง - เรอื่ งภาวะโภชนาการ ประกอบด้วย 4 กลุม่ ไดแ้ ก่ กลุ่มทศี่ กึ ษาภาวะโภชนาการของผสู้ งู อายุ เปน็ ตวั แปรต้น จำนวน 2 เรือ่ ง กลุม่ ท่ีศึกษาภาวะโภชนาการของผู้สูงอายเุ ปน็ ตัวแปรตามของการวจิ ยั จำนวน 7 เร่ือง กลุ่มที่ศึกษาเกย่ี วกบั พฤติกรรมและการดูแลโภชนาการของผ้สู งู อายุ จำนวน 4 เรอื่ ง และกลุ่มท่ีศกึ ษา เกย่ี วกับการพฒั นาภาวะโภชนาการผ้สู งู อายุ จำนวน 2 เร่อื ง - เรื่องสภาพกายและสภาพจิตใจ ประกอบด้วย กลุ่มท่ีศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 10 เร่ือง กลุ่มที่ศึกษาเก่ียวกับความสุขของผู้สูงอายุ จำนวน 4 เรื่อง และกลุ่มท่ีศึกษาเกี่ยวกับ สภาพทางรา่ งกายผ้สู งู อายุ จำนวน 2 เร่อื ง มิตดิ า้ นเศรษฐกจิ จำนวน 4 เร่อื ง ประกอบดว้ ย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ รายได้และการออม จำนวน 3 เร่อื ง และการจัดตัง้ กองทนุ ชมุ ชน จำนวน 1 เรอ่ื ง มิติด้านสภาพแวดล้อม จำนวน 17 เรื่อง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมหรือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ จำนวน 11 เรื่อง และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 6 เรื่อง โดยส่ิงแวดลอ้ มหรือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ (1) งานวิจัยที่ทำการศึกษาเก่ียวกับส่ิงแวดล้อมหรือ สภาพแวดลอ้ มภายในบ้านหรอื ท่อี ยู่อาศยั จำนวน 8 เรอื่ ง และ (2) งานวจิ ยั ท่ที ำการศึกษาเกีย่ วกับสง่ิ แวดลอ้ ม หรือสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน จำนวน 3 เรือ่ ง ง การสังเคราะห์งานวจิ ยั ผสู้ งู อายใุ นประเทศไทย ผลการสงั เคราะห์งานวจิ ยั ผสู้ ูงอายุ ตามประเดน็ การวจิ ัย 4 มิติ ได้แก่ มิติดา้ นสังคม มิตดิ ้านสขุ ภาพ มติ ดิ า้ นเศรษฐกิจ และมิตดิ า้ นสภาพแวดลอ้ ม มีรายละเอยี ดโดยสรุป ดงั นี ้ 1. มติ ดิ ้านสงั คม จากการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า งานวิจัยผู้สูงอายุในมิติด้านสังคมมีการวิจัยมากที่สุด สามารถ จดั กลุ่มตามการรวมกลุม่ ของผ้สู ูงอายุไดเ้ ป็น 3 กลมุ่ ได้แก่ โรงเรียนผสู้ งู อายุ ชมรมผ้สู งู อายุ และกล่มุ ผูส้ งู อายุ อน่ื ๆ ในประเด็นวิจัยดงั นี้ 1.1 การเรียนรู้ของผูส้ งู อายุ ประเภทของการเรียนรู้ของผู้สูงอายุแบ่งได้ 2 แบบ ตามพฤติกรรมการใช้เวลาในการเรียนรู้ ของผู้สูงอายุ ได้แก่ การเรียนรู้อย่างเป็นทางการ ได้แก่ การเรียนเพ่ิมเติม/การศึกษานอกระบบหรือหลักสูตร ในช่วงเวลาว่าง และการฝึกอบรม/การเรียนเพ่ือพัฒนาอาชีพและวิชาชีพ และการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เชน่ การเขา้ ชมงานทางดา้ นวฒั นธรรม หรอื การเขา้ ชมสวนสาธารณะ เปน็ ตน้ จากการศกึ ษางานวจิ ยั การใชเ้ วลา ในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ในช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2558 พบว่า ผู้สูงอายุไม่ได้มีการเปล่ียนแปลงการใช้เวลา ในการเรียนรู้มากนัก กล่าวคือ ผู้สูงอายุไม่ค่อยได้ใช้เวลาในการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ และไม่ค่อยได้ใช้เวลา ในการเรยี นร้อู ยา่ งไมเ่ ป็นทางการ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับเน้ือหา ทักษะ หรือคุณลักษณะท่ีต้องการ ส่งเสริมให้กับผู้สูงอายุ บริบทของหน่วยงานหรือผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ บริบทด้านชุมชน และการร่วมมือกัน ของเครอื ข่ายในการจดั การเรยี นร ู้ ปญั หาสำคญั ด้านการเรยี นรูข้ องผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ไดแ้ ก่ ไมม่ คี วามรูเ้ ก่ยี วกบั แหลง่ การเรียนรู้ ไมเ่ คยเขา้ รว่ มกจิ กรรมการเรยี นรเู้ พอื่ พฒั นาตนเอง และไมร่ วู้ ธิ กี ารเรยี นรู้ และผสู้ งู อายสุ ว่ นใหญ่ มคี วามตอ้ งการ ไดร้ ับการพฒั นาทกั ษะในการเรียนรใู้ นดา้ นภาษาตา่ งประเทศ คณิตศาสตร์ การพฒั นาธรุ กจิ อาชพี และทักษะ การทำงานเพ่ือกอ่ ให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในกลุ่มอายุ 60 – 64 ปี ทีม่ รี ายไดน้ อ้ ยและไมม่ รี ายไดเ้ สรมิ 1.2 การดำเนินงานของกลุม่ ผู้สงู อาย ุ การดำเนินงานของกลุ่มผู้สูงอายุ ครอบคลุมถึงการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรม ผู้สูงอายุ และกลุม่ ผ้สู ูงอายอุ ่นื เชน่ ศูนย์การเรยี นรชู้ ุมชน มีลกั ษณะร่วมกนั ได้แก่ มีการดำเนนิ งานในลักษณะ คณะกรรมการบริหาร ท่ีประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วนท่ีมีความเก่ียวข้อง ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุ ตัวแทนจากชุมชน ตัวแทนจากภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นต้น การดำเนินงานของกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะจัดเพ่ือตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ โดยก่อนการดำเนินการมีการสำรวจความต้องการของ ผู้สูงอายุ กิจกรรมท่ีตอบสนองต่อความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ประกอบด้วย กิจกรรมด้าน สขุ ภาพกายและสขุ ภาพจติ เชน่ การดแู ลสขุ ภาพกายและใจ การดแู ลตนเองในภาวะเจบ็ ปว่ ย การออกกำลงั กาย และการนันทนาการ เป็นต้น กิจกรรมส่งเสริมรายได้และการประกอบอาชีพ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศ กจิ กรรมทางสงั คม เชน่ การเข้าร่วมงานประเพณีของชุมชน ลกั ษณะของกจิ กรรม ควรมคี วามยดื หย่นุ เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผูส้ งู อาย ุ การจัดกิจกรรมควรมีการจัดอย่างต่อเน่ือง บูรณาการร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ มีการ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบล่วงหน้า และเป็นกิจกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการ จดั กิจกรรม ใช้ทรพั ยากรที่มีในชุมชน และกอ่ ให้เกิดประโยชนต์ อ่ ชุมชน จการสงั เคราะห์งานวจิ ยั ผู้สงู อายใุ นประเทศไทย แนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ ได้แก่ การสนับสนุนแหล่ง เงินทุนจากสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุ การให้ข้อมูลข่าวสารท่ีเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิ สวัสดิการ และผลประโยชน์ท่ีจะได้รับ การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม การจัดกิจกรรมโดยบูรณาการร่วมมือ กับเครือข่ายต่าง ๆ มีการดูแลผู้สูงอายุท่ีไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างใกล้ชิด และการจัดกิจกรรมท่ีช่วย ส่งเสรมิ คุณภาพชีวิตของสมาชกิ 1.3 การส่งเสริมสขุ ภาพ/สขุ ภาวะ แนวทางการพฒั นากระบวนการเรยี นรดู้ า้ นสขุ ภาพของชมรมผสู้ งู อายุ คอื การพฒั นาทเ่ี กดิ จาก การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ชมรมผู้สูงอายุ และตัวผู้สูงอายุ ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและมีความเข้าใจในการ ดำเนนิ งาน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนอื่ ง การแนะนำและติดตามให้ผสู้ งู อายรุ ว่ มมอื ทำกจิ กรรมอยา่ งสม่ำเสมอ เนน้ การดำเนินการพฒั นาแบบบรู ณาการเปน็ องค์รวม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้สุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ประกอบด้วย 7 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ คือ กิจกรรมทางกาย นันทนาการและการท่องเที่ยว ทักษะอาชีพในยามว่าง เกษตรเพื่อสุขภาพ การสื่อสารภาษาและเทคโนโลยีทางการส่ือสาร การบริหารสมอง ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากน้ี มีการนำแนวทางไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของชุมชน ในการพัฒนานักเรียนผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมให้ทำกิจกรรมเพ่ือสุขภาพ การพัฒนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญา ท้องถ่ิน และการบูรณาการความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานสนับสนุน ท้ังเทศบาลหรือองค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถ่นิ หนว่ ยงานสาธารณสขุ และการสรา้ งผู้นำชุมชนด้านสขุ ภาพ ปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุในเขตชนบท ได้แก ่ ทตี่ ้ังชมรม แรงจงู ใจ การสอื่ สารในองค์กร จำนวนหมู่บา้ นทร่ี ับผดิ ชอบ ภาวะผ้นู ำ และระยะเวลาตง้ั ชมรม 1.4 การสง่ เสริมคุณภาพชีวิตผสู้ งู อาย ุ คุณภาพชีวิตของผู้สงู อายุไทยในภาพรวมอยู่ในระดบั มาก ไม่ว่าจะเปน็ ดา้ นรา่ งกาย ด้านจติ ใจ ดา้ นความสัมพันธ์ทางสงั คม และด้านส่งิ แวดลอ้ ม รวมไปถงึ ด้านสตปิ ญั ญาผู้สงู อายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตท่ีดี คือ ด้านร่างกาย ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ สามารถดูแลตนเองได้ อาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังดีข้ึน ด้านจิตใจ ผู้สูงอาย ุ มคี วามภาคภูมใิ จ มน่ั ใจ ความจำและสมาธิดขี ้นึ ดา้ นความสัมพนั ธท์ างสังคม ผ้สู งู อายุเขา้ รว่ มกจิ กรรมในชมุ ชน เปน็ ประจำ มเี พอื่ น มคี วามสขุ ทไ่ี ดเ้ ขา้ รว่ มกจิ กรรมจติ อาสา ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ ม ผสู้ งู อายอุ าศยั อยใู่ นสภาพแวดลอ้ ม ท่ดี ี ได้รับขา่ วสารต่าง ๆ ทีเ่ ปน็ ประโยชน์ รปู แบบการสง่ เสรมิ คุณภาพชีวติ ของผู้สูงอายุ ประกอบดว้ ย 5 องคป์ ระกอบ ไดแ้ ก่ หลักการ วัตถุประสงค์การดำเนินการกิจกรรมที่สำคัญ เง่ือนไขความสำเร็จ การติดตามและการประเมินผล ลักษณะ ของกิจกรรมท่ีสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมด้านสันทนาการ และการทำกิจกรรม การส่งเสรมิ ด้านสขุ ภาพ การส่งเสรมิ ด้านความสามารถในการพง่ึ พาตนเอง และความสัมพันธท์ างสังคม ข้อเสนอแนะในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอต่อการดำเนินงานและการจัดการเรียน การสอนของโรงเรียนผู้สูงอายุอย่างต่อเน่ือง การอำนวยความสะดวกในการรับส่งผู้อายุให้มาเข้าร่วมกิจกรรม กับโรงเรียนผู้สูงอายุ และโรงเรียนผู้สูงอายุควรจัดกิจกรรมท่ีหลากหลายมีความเหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ ฉ การสังเคราะห์งานวิจัยผู้สงู อายุในประเทศไทย และข้อเสนอแนะในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุควรมี การบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐท่ีมีบทบาทในการสนับสนุนโครงการชมรมผู้สูงอายุ ชมรม ผู้สูงอายุควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน ชมรมผู้สูงอายุ ควรจัดกิจกรรมในวันที่ผู้สูงอายุว่างตรงกัน หรือมีการแจ้งล่วงหน้าเพ่ือให้ผู้สูงอายุได้เตรียมตัวมาร่วมกิจกรรม ได้เต็มท่ี รวมถงึ การจดั กจิ กรรมท่ีหลากหลายน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้สงู อาย ุ 1.5 การส่งเสรมิ การเรียนรตู้ ลอดชวี ิตผสู้ งู อายุ สภาพการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุไทยมคี วามตอ้ งการการส่งเสรมิ การเรียนรู้ตลอดชวี ติ ในระดบั มาก ความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรายด้าน พบว่า แม้ว่าผู้สูงอายุในพ้ืนท่ีต่างกันมีลำดับ ความตอ้ งการการเรยี นรตู้ ลอดชวี ติ รายดา้ นทแี่ ตกตา่ งกนั แตม่ บี างดา้ นทมี่ ลี กั ษณะรว่ มกนั ไดแ้ ก่ ดา้ นสขุ ภาพกาย ด้านสุขภาพจติ และด้านการหารายได้และการออม รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตแบบทางการจะมีการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบ รายละเอียดการดำเนินการในแต่ละองค์ประกอบ เช่น การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมบทเรียนออนไลน์เพื่อ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ท่ีมีการบูรณาการหลักการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีบทเรียนออนไลน์ ทฤษฎี เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เป็นรูปแบบที่ประกอบด้วย ความฉลาดรู้ในทักษะดิจิทัล เคร่ืองมือ เทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ท้ังแบบเผชิญหน้า แบบอบรมเชิงปฏิบัติการ และ แบบอภปิ ราย แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ควรให้ผู้มีส่วนเก่ียวข้องได้ร่วมกัน กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ กิจกรรมมีความสอดคล้องกับบริบท และ วถิ ีชมุ ชน ทุนทางสังคม การประสานงานความรว่ มมือกับภาคเี ครอื ข่ายท่ีเก่ยี วข้องในพนื้ ท่ี การมีสว่ นร่วม และ คำนึงถงึ ความย่ังยนื และต่อเนอ่ื งของกิจกรรม 1.6 การส่งเสรมิ การมีคุณคา่ /ความสุขของผสู้ ูงอายุ ความรู้สึกมีคุณค่าของผู้สูงอายุเกิดจากการมองตนเองใน 3 ด้าน ประกอบด้วย การนับถือ ตนเองว่ามีสุขภาพดี มีความสามารถและมีรายได้ การช่วยเหลือผู้อ่ืนและสังคม และการได้รับการยอมรับและ เอาใจใสจ่ ากผู้อนื่ กระบวนการในการจัดกิจกรรมเสริมคุณค่าและความสุขให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การจัดทำหลักสูตรการเรียนโดยยึดตามหมวดวิชาในคู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ การคัดเลือกผู้สอนโดยพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้สอน ความสะดวกในการติดต่อและช่วงเวลาในการสอน การดำเนินการสอน เน้นการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมร่วมกัน การประเมินผล โดยใช้วิธีท ี่ หลากหลายข้นึ อย่กู บั สถานการณแ์ ละบริบท เน้นการประเมินผลภาคปฏิบตั ิ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณค่าและความสุขของผู้สูงอายุ ได้แก ่ ปัจจัยจากตัวผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ การเดินทาง ภารกิจ ส่วนตัว การสื่อสารและการปรับตัวของผู้สูงอายุ ปัจจัยจากโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วยงบประมาณ ที่ต้ัง อุปกรณ์และสถานที่ การประชาสัมพันธ์ และความพร้อมของบุคลการในการดำเนินงาน และปัจจัยจาก ชการสังเคราะหง์ านวจิ ัยผ้สู งู อายุในประเทศไทย สภาพแวดล้อม ประกอบด้วย ข้อจำกัดทางศาสนา การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การดำเนินงาน และ การประเมนิ ผลของโรงเรยี นผ้สู ูงอาย ุ แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขโดยใช้แนวทาง พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา และการใช้กิจกรรม การเรียนรู้ชุมชน เรื่องพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนาเพ่ือการเสริมสร้างสุขภาพจิต ซึ่งมีความสอดคล้องกับเรื่อง การใชแ้ หลง่ เรียนรใู้ นชุมชน และการผสมผสานภมู ปิ ญั ญาพน้ื บ้านด้านสุขภาพกบั การเรยี นรู้เชิงพทุ ธศาสนา 2. มิตดิ ้านสุขภาพ 2.1 การออกกำลังกาย โปรแกรมหรือรปู แบบการออกกำลังกาย โปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายของผสู้ ูงอายุ สามารถจำแนกได้เป็น 2 กล่มุ คือ กลมุ่ ผู้สูงอายุท่ัวไป และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีเง่ือนไขทางสภาพร่างกาย ประกอบด้วย ผู้สูงอายุท่ีใช้รถเข็น ผู้สูงอาย ุ ทีม่ ีภาวะขอ้ เข่าเสือ่ ม ผูส้ งู อายุที่เปน็ โรค ไดแ้ ก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรงั ลักษณะของตัวแปรโปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในการวิจัย สามารถ จำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มท่ีมีโปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเป็นตัวแปรตาม มีจุดเน้นท่ีกระบวนการในการพัฒนาโปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกาย เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาที่ไม่ได้ เน้นการศึกษาผลของโปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมหรือรูปแบบที่พัฒนาข้ึนมีคุณภาพ ผู้ท่ีม ี ส่วนเกี่ยวข้องมีความพอใจ และสามารถนำไปใช้ได้ และกลุ่มท่ีมีโปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายของ ผู้สูงอายุเป็นตัวแปรตน้ ส่วนใหญศ่ ึกษาสมรรถภาพทางกายเปน็ ตัวแปรตาม สมรรถภาพทางกายของผสู้ ูงอายุ ประกอบดว้ ย 5 องคป์ ระกอบ ไดแ้ ก่ 1) ขนาดของรา่ งกาย วัดจากรอบเอวและดัชนีมวลกาย 2) ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเน้ือ ทดสอบโดยการงอแขน ยกน้ำหนัก 30 วินาที และยืน-น่ังบนเก้าอ้ี 30 วินาที 3) ความอ่อนตัวยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทดสอบโดย การนั่งงอตัวไปข้างหน้าและการแตะมือด้านหลัง หรือการแตะมือด้านขวาสลับด้านซ้าย 4) ความคล่องแคล่ว ว่องไวและการทรงตัว ทดสอบโดยการลุกเดนิ จากเก้าอ้ไี ปและกลบั และ 5) ความทนทานของระบบหวั ใจและ ไหลเวียนเลือด ทดสอบโดยการยืนยกขาข้ึนลง 2 นาที แล้ววัดความดันโลหิต และทดสอบอัตราการเต้นของ หัวใจ เคร่อื งมือทีใ่ ชว้ ัดสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ นักวจิ ัยนยิ มปรับหรอื เลือกใชแ้ บบประเมนิ สมรรถภาพ ทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทยสำหรับผู้สูงอายุ (SATST) และมีงานวิจัยที่ศึกษาสมรรถภาพ ทางกายเฉพาะดา้ น เช่น ความยดื หยุน่ ของกลา้ มเนื้อและขอ้ ต่อ ความทนทานของปอดและหัวใจ ความแข็งแรง อดทนของกล้ามเนื้อ ดัชนีมวลกายและขนาดเส้นรอบวง สมรรถภาพปอด และความแข็งแรงของกล้ามเน้ือ หัวใจ และโดยเฉพาะอย่างยง่ิ เรอ่ื งการทรงตัวของผู้สงู อายุซ่งึ มที ง้ั การศึกษาผลเฉพาะการทรงตัวและการทรงตวั ร่วมกับตัวแปรอ่ืน รวมถึงการศึกษาสมรรถภาพทางกายร่วมกับตัวแปรอ่ืน เช่น พฤติกรรมการออกกำลังกาย และการปวดหลัง เป็นต้น ผลการวิจัยในงานวิจัยที่ศึกษาแบบกลุ่มเดียว วัดก่อน-หลังหรือวัดซ้ำ พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายต่าง ๆ มักจะมีสมรรถภาพทางกายในด้านต่าง ๆ สูงกว่า กอ่ นการเขา้ รว่ มโปรแกรมอยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ิ ผลการวิจัยงานกลุ่มท่ีศึกษาแบบ 2 กลุ่มหรือมีกลุ่มควบคุม วัดก่อน-หลังหรือวัดซ้ำ พบว่า ส่วนใหญก่ ล่มุ ท่เี ข้ารว่ มโปรแกรมการออกกำลังกายต่าง ๆ มีสมรรถภาพทางกายแตกตา่ งจากกล่มุ ควบคุม และ สงู ข้ึนกวา่ กอ่ นเขา้ ร่วมโปรแกรมการออกกำลงั กายอย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติ ซ การสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผสู้ งู อายุในประเทศไทย นอกจากการศึกษาผลของการใช้โปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพ ทางกายแล้วยังพบตัวแปรอื่นที่มีการศึกษา ได้แก่ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้สูงอายุ ซ่ึงผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายที่พัฒนาข้ึนสามารถพัฒนาตัวแปรตามเหล่านั้น ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เม่ือเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และผลระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ผลของการใช้โปรแกรมหรือรูปแบบการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุท่ีมีเงื่อนไขทางสภาพ รา่ งกาย พบวา่ งานวจิ ยั จะเน้นตวั แปรตามที่สอดรบั กบั ลกั ษณะเฉพาะของผู้สงู อายุในกลุม่ น้นั ตัวแปรท่มี คี วามสัมพันธ์กบั การออกกำลงั กาย พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุท่ีได้รับ โปรแกรมการสนับสนุนการออกกำลังกายโดยครอบครัวมีพฤติกรรมการออกกำลังกายสูงข้ึน ตัวแปรท่ีม ี ความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ปัจจัยทางสังคม การได้รับ การสนับสนนุ จากคนใกล้ชดิ ความรู้และเจตคตทิ ่ดี ตี ่อการออกกำลังกาย โดยมรี ายละเอยี ดดงั น ้ี ตัวแปรท่ีสามารถทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ของการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ภาวะโรคร่วม และดัชนีมวลกาย และปัจจัยด้านความพร้อมในการออกกำลังกายของตนเอง ปัจจัยท่ีส่งเสริม พฤติกรรมการออกกำลังกาย คือ ความรู้สกึ ทางบวกต่อการออกกำลังกาย อิทธิพลระหวา่ งกลมุ่ บคุ คล อทิ ธิพล จากสถานการณ์ ความมุ่งมัน่ ทจี่ ะปฏบิ ตั ิ พฤติกรรมการออกกำลงั กาย และพฤติกรรมทเ่ี กีย่ วข้องเดมิ ปัจจยั ที่มี อิทธิพลต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยทางสังคม ประกอบด้วย สังคมในระดับชุมชน ระดับ องค์การ และระดับระหว่างบุคคล ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา เจตคติ การได้รับข่าวสารและการได้รับสารสนเทศเก่ียวกับการออกกำลังกาย การได้รับ การสนับสนุนจากครอบครัว เพ่ือน บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ชมรมผู้สูงอายุ ตัวแปรท่ีมีผลกับ ความสุขที่แท้จริงในการออกกำลังกาย ได้แก่ สัมพันธภาพจากครอบครัว ญาติ เพ่ือน ผู้ดูแล และผู้บริหาร ศูนยด์ ูแลผสู้ ูงอาย ุ สภาพหรือรูปแบบการออกกำลังกาย สภาพการออกกำลังกายของผู้สูงอายุจากการสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนภาคเหนือ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีการออกกำลังกายใน 1 เดือนที่ผ่านมา ออกกำลังกายด้วยการป่ันจักรยาน ใช้เวลาในการ ออกกำลังกายแต่ละคร้ังมากกว่าสามสิบนาที ออกกำลังกายมากกว่าห้าคร้ังต่อสัปดาห์ และมีความเพลิดเพลิน ในการออกกำลังกาย กลุ่มผู้สูงอายุตอนปลายพฤติกรรมการออกกำลังกายแตกต่างกับกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น และกล่มุ ผู้สงู อายตุ อนกลาง จากการศึกษาที่ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบวา่ ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีน้ำหนักเกินมีความรู้การออกกำลังกายดีกว่า และมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุท่ีมี น้ำหนกั เกิน แต่ผูส้ ูงอายุทม่ี แี ละไมม่ นี ำ้ หนักเกนิ มีทัศนคตทิ ีด่ เี ก่ยี วกบั การออกกำลังกายไม่แตกต่างกนั รปู แบบ การออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี มี 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการเดิน กิจกรรมรำไม้พลอง กิจกรรมการว่ิง กจิ กรรมการเต้นแอโรบิก และกจิ กรรมลลี าศ ความตอ้ งการของการออกกำลงั กายของผ้สู งู อายุ ในจังหวัดอุดรธานี 3 อันดับแรก ได้แก่ กิจกรรมการเดิน กิจกรรมรำไม้พลอง และกิจกรรมลีลาศ ในขณะท ่ี ฌการสงั เคราะห์งานวจิ ยั ผู้สงู อายใุ นประเทศไทย ผู้สูงอายุเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีความต้องการการออกกำลังกาย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ในการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ด้านสถานท่ี วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้าน การบรหิ ารจัดการ ในระดบั มาก โดยผู้สูงอายุทมี่ ีรายได้เฉล่ียต่อเดือนต่างกนั มีความต้องการการออกกำลงั กาย ทต่ี า่ งกนั ทง้ั 4 ดา้ น ผสู้ งู อายทุ ม่ี ีเพศ อายุ และประเภทของโรคแตกตา่ งกนั มีความตอ้ งการการออกกำลงั กาย ท่ตี า่ งกัน 2 ดา้ น ได้แก่ ดา้ นสถานที่ วสั ดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และดา้ นการบรหิ ารจัดการ การสง่ เสรมิ หรือพฒั นาการออกกำลังกาย ผลการวิจยั พบการสง่ เสริมหรือพัฒนาการออกกำลงั กายจำนวน 3 รูปแบบ ทสี่ ามารถสง่ เสรมิ พฤติกรรมการออกกำลงั กายของผสู้ งู อายุได้ 2.2 ภาวะโภชนาการ ผลการสังเคราะห์พบว่า ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ปกติ โดยงานวจิ ัยสว่ นใหญพ่ ิจารณาจากดัชนมี วลกาย (Body Mass Index: BMI) รองลงมาคือ การพจิ ารณา ดัชนีมวลกายร่วมกับเส้นรอบเอว และมีบางงานวิจัยท่ีพิจารณาดัชนีมวลกายร่วมกับเกณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ ความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และเปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อในร่างกาย หรือ แรงบีบมือ และคะแนนคัดกรองโภชนาการ และมีงานวิจัยที่พิจารณาภาวะโภชนาการจากแบบประเมินภาวะ โภชนาการผูส้ ูงอาย ุ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถสังเคราะห์ ได้เป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ตัวแปรด้านสถานภาพส่วนบุคคล ด้านพฤติกรรมของผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต และด้านสังคม โดยมีรายละเอียดตัวแปร ดังนี้ ด้านสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ รายได้ เพศ สถานภาพสมรส และระดับการศกึ ษา ด้านพฤติกรรมของผสู้ ูงอายุ ไดแ้ ก่ การสูบบุหร่ี การไดร้ ับปริมาณ เหลก็ และพฤตกิ รรมการบรโิ ภคอาหาร ดา้ นสขุ ภาพกายและสขุ ภาพจิต ไดแ้ ก่ การเจบ็ ป่วยหรือปัญหาสขุ ภาพ ในช่วงระยะปัจจุบัน การมีโรคประจำตัว โรคกระดูกพรุน โรคสมองเสื่อม ภาวะโรคซึมเศร้า สมรรถภาพ ทางกายในเชิงปฏบิ ตั ิ ระยะเวลาการเจ็บปว่ ย การใชย้ า ปญั หาระบบประสาท ด้านการรบั กล่ินและการมองเหน็ จำนวนฟัน ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ความสามารถในการเคี้ยวอาหาร และด้านสังคม ได้แก่ การเป็น สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ภาวะโภชนาการยังส่งผลต่อความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ และ การสูงวยั อย่างมสี ขุ ภาวะ สำหรับการสำรวจภาวะทพุ โภชนาการของผู้สูงอายุ พบวา่ มีเพยี งส่วนน้อยทม่ี โี อกาส เกิดภาวะทุพโภชนาการ และพบภาวะทุพโภชนาการในกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบ กบั กล่มุ ตดิ บา้ นและตดิ สงั คม พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการ รบั ประทานอาหารประเภทต่าง ๆ ดงั น้ี การดมื่ นม ส่วนใหญด่ มื่ นมถ่ัวเหลือง อาหารประเภทเน้อื สตั ว์ ส่วนใหญ่ รับประทานเน้ือปลา ประเภทข้าว ส่วนใหญ่รับประทานข้าวเหนียว ประเภทน้ำมัน/ไขมัน ส่วนใหญ่ใช้น้ำมัน ถั่วเหลือง ประเภทผักผลไม้ ส่วนใหญ่รับประทานผักสีแดง ผลไม้รสไม่หวานจัด และประเภทเคร่ืองปรุง ส่วนใหญ่ใช้เคร่ืองปรุงที่ให้รสเค็ม เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น ผู้สูงอายุที่มีผู้ดูแล ผู้ดูแลจะจัดรายการ อาหารเฉพาะท่ีเหมาะสมกับผูส้ ูงอายุ และภาวะความเจ็บป่วยทง้ั 3 มอื้ และอาหารวา่ ง แตกต่างจากพฤติกรรม การบริโภคอาหารของผู้สูงอายุท่ีไม่มีผู้ดูแลเฉพาะ พบว่า ผู้สูงอายุเตรียมอาหารและรับประทานอาหาร ไม่เฉพาะเจาะจงกับวัย ผู้สูงอายุรับประทานอาหารท่ีเหมือนกับสมาชิกในครอบครัวในวัยอ่ืน โดยรับประทาน ญ การสงั เคราะหง์ านวิจยั ผู้สงู อายุในประเทศไทย อาหารพร้อมกับครอบครัว ทานอาหารท่ีทำเองในครอบครัว ที่บุตรหลาน หรือญาติเป็นผู้ซ้ือ รับประทาน อาหารมอ้ื หลกั วนั ละ 3 มอ้ื ไมร่ บั ประทานอาหารวา่ ง และดม่ื นำ้ วนั ละอยา่ งนอ้ ย 6 แกว้ อาหารในสถานสงเคราะห ์ ท่ีมีพยาบาลจัดรายการอาหารให้จะประกอบด้วย อาหารประเภทผัดและต้ม รสไม่จัด และไม่ใส่ผงชูรส ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ที่เป็นผู้ป่วยจะมีผู้ดูแลระหว่างการรับประทานอาหารทุกมื้อ หากผู้สูงอายุท่ีอยู่ใน ภาวะรา่ งกายไม่แข็งแรงหรอื กลุ่มทีม่ ีอาการหลงลมื จะมีผดู้ ูแลในการรับประทานอาหารอยา่ งใกลช้ ิด ปัญหาของผู้ดูแลหลักในผู้สูงอายุติดเตียงด้านโภชนาการ คือ ผู้ดูแลหลักไม่สามารถจัดการให้ ผู้ป่วยได้รับการใส่สายยางให้อาหารได้ทันเวลา เมื่อสายยางหลุดหรือผู้ป่วยดึงสายยางออก ผู้ดูแลหลัก จึงต้องการจะเรียนรู้วิธีการใส่สายยางให้อาหารแก่ผู้ป่วยได้ ซ่ึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถ ของผู้ดูแลในการจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุติดเตียงที่ใส่สายยางให้อาหารทางจมูก โดยโปรแกรม ท่ีพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการประเมินความสามารถของผู้ดูแล การให้ความรู้ผู้ดูแลเก่ียวกับโภชนาการ การเยยี่ มตดิ ตาม และการประเมนิ ผล การพัฒนาภาวะโภชนาการของผสู้ งู อายุ มที ง้ั ท่ีเป็นการพัฒนาความรอบร้ดู า้ นโภชนาการของ ผู้สูงอายุ และการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า เม่ือผู้สูงอายุได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุแล้ว ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความรอบรู้ด้านโภชนาการภาพรวมและในทุกด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของ ผสู้ งู อายพุ ัฒนาข้ึนจากผ้มู สี ่วนเกี่ยวขอ้ งประกอบดว้ ย ผู้สูงอายุจากชมรมผูส้ ูงอายุ ผเู้ กีย่ วขอ้ งกบั การดำเนนิ การ ชมรมผู้สูงอายุ และอาจารย์พยาบาล รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ ท่ีพัฒนาข้ึน ประกอบด้วย 2 ระบบ ได้แก่ ระบบการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม ด้วยกิจกรรมสื่อสาร สร้างการรับรู้สถานการณ์ปัญหา จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินการ สร้างความตระหนักด้านอาหาร และโภชนาการ และศกึ ษาสถานการณด์ า้ นอาหารโภชนาการและภาวะสขุ ภาพของผสู้ งู อายุ และระบบบริหาร จัดการโดยใช้หลักการ แนวทางอาหารของแม่ ประกอบด้วย อาหารสะอาดและปลอดภัย อาหารที่มี โภชนาการดแี ละเหมาะสม และอาหารทที่ ำด้วยความรัก 2.3 สภาพกายและสภาพจติ ใจ คุณภาพชีวิตผู้สงู อาย ุ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับการสูงวัยอย่างมีพลัง ของผู้สงู อายุ และความมนั่ คงของมนุษย์ในกลุม่ ผสู้ ูงอายุอยใู่ นระดบั สูง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้าน แรงสนบั สนนุ ทางสงั คมจากบคุ ลากรทางสาธารณสขุ ความเชอ่ื ประสทิ ธภิ าพแหง่ ตน การเรยี นรู้ สขุ ภาพ และเพศ สำหรับเครือข่ายสังคมการมีคนมาพบปะ ระดับการศึกษาที่สูงกว่ามัธยม การออกไปพบปะบุคคล และอายุ สามารถร่วมกันทำนายระดับการสูงวัยอย่างมีพลังของผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 13.40 นอกจากน้ีจากการศึกษา เชิงคุณภาพถึงประสบการณช์ ีวติ ของผ้สู งู อายโุ รคเบาหวานทม่ี คี ุณภาพชวี ติ ท่ดี ี พบว่า ผู้สงู อายโุ รคเบาหวานทม่ี ี คุณภาพชวี ติ ที่ดมี ลี กั ษณะร่วมกันดงั นี้ คุมเบาหวานได้ มสี ขุ ภาพกายดี สบายใจ และภาคภูมิใจในตวั เอง ฎการสงั เคราะห์งานวิจัยผสู้ งู อายใุ นประเทศไทย ความสุขของผ้สู งู อายุ ความสุขของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่วัดจากแบบประเมินความสุขที่นักวิจัยปรับปรุงจาก แบบประเมินหรือตัวช้ีวัดความสุขระดับชาติหรือนานาชาติ เช่น จากดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขขององค์การ อนามัยโลก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ รู้สึกสดช่ืนแจ่มใสและอารมณ์ดี รู้สึกสงบและผ่อนคลาย รู้สึกคึกคักและมีพลังวังชา ต่ืนข้ึนมาพร้อมความรู้สึกสดช่ืนและสงบ ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจ แบบประเมินความสุขของ Oxford และดชั นชี ว้ี ดั ความสุขคนไทยของกรม รวมถึง การวดั ความสุขของผ้สู งู อายุ ในชมรมผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินที่นักวิจัยสร้างข้ึน โดยความสุขผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ความสุขอันเกิด จากการเข้าร่วมกิจกรรม ความสุขอันเกิดจากการได้ช่วยเหลือผู้อื่น ความสุขอันเกิดจากการตระหนักถึงคุณค่า ในตนเอง และความสุขอันเกิดจากการมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี ผลการสำรวจพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ อยู่ในกลมุ่ ท่ไี มม่ ีความสขุ ตัวแปรท่ีมีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับ บริการจากกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ และการปฏิบัติธรรม ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุข ของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คุณภาพชีวิต ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง วิถีชีวิตด้าน การประกอบอาชีพและวิถีชีวิต ด้านการออกกำลังกาย ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขของ ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และอายุ ซ่ึงต่างจากบางงานวิจัย ที่พบว่า ผู้สูงอายมุ อี ายตุ ่างกนั มีความสุขไม่แตกตา่ งตา่ งกนั อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิ ตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุขของผู้สูงอายุ ได้แก่ ตัวแปรด้านคุณลักษณะ ทางประชากร ประกอบดว้ ย ระดับการศึกษา ความพอเพียงรายได้ สถานภาพสมรส บคุ คลผู้ดแู ล การใช้ชีวติ ประจำวัน และการรักษาพยาบาล ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ความรู้สึกมั่นคงในทรัพย์สิน การเข้าร่วม กจิ กรรมโรงเรียนผู้สงู อายุ สิทธกิ ารรกั ษา การไดร้ ับความช่วยเหลอื ของเพื่อนบา้ น ปัจจยั ภายใน ประกอบด้วย ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการยอมรับการเปลี่ยนแปลงความสามารถของร่างกาย ความสุขของผู้สูงอายุ ไม่แตกต่างกนั อย่างมนี ยั สำคัญทางสถติ ิ เม่ือมอี ายุ สถานภาพสมรส ฐานะทางเศรษฐกิจ ความถใ่ี นการเข้าร่วม กจิ กรรม และภาวะสุขภาพต่างกัน แต่ผสู้ งู อายทุ ม่ี เี พศต่างกัน มีความสขุ แตกต่างกันอย่างมีนยั สำคญั ทางสถติ ิ สภาพทางรา่ งกายผู้สงู อาย ุ สมรรถภาพทางกายของผูส้ ูงอายุ ประกอบด้วย 5 องคป์ ระกอบ ไดแ้ ก่ 1) ส่วนประกอบของ ร่างกาย หมายถึง รอบเอวและดัชนีมวลกาย 2) ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือ และความทนทานของกล้ามเนื้อ ทดสอบโดยการงอแขนยกน้ำหนัก 30 วนิ าที และยืน-น่ังบนเกา้ อ้ี 30 วนิ าที 3) ความอ่อนตัว ทดสอบโดยการ น่ังงอตัวไปข้างหนา้ และการแตะมอื ด้านหลัง 4) ความคลอ่ งแคล่วว่องไวและการทรงตวั ทดสอบโดยการลกุ เดนิ จากเกา้ อีไ้ ปและกลับ และ 5) ความทนทานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ทดสอบโดยการยืนยกเขา่ ขึ้นลง 2 นาที แล้ววัดความดันโลหิต และทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายและ รอบเอวสูงกว่าเกณฑ์ปกติซึ่งเส่ียงต่อโรคอ้วน การกำกับตนเอง และสิ่งแวดล้อมทางสังคม มีความสัมพันธ์กับ สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรทำนายสมรรถภาพ ทางกายของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การสังเกตตัวเอง กระบวนการตัดสินใจ การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง ลกั ษณะทอ่ี ยอู่ าศยั สัมพนั ธภาพในครอบครวั และการมีสว่ นรว่ มทางสังคม นอกจากนี้ยงั พบงานวจิ ยั ท่ีสามารถ ส่งเสริมสภาพร่างกายของผู้สูงอายุในเร่ืองความจำระยะส้ันได้ ด้วยโปรแกรมฝึกบริหารสมองซึ่งประยุกต์ใช้วิธี ฏ การสังเคราะหง์ านวจิ ยั ผูส้ งู อายุในประเทศไทย บริหารสมองร่วมกับการฝึกหายใจ เพื่อเพ่ิมความจำระยะส้ันในผู้สูงอายุ โดยใช้การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมอง สมั พนั ธก์ ับเหตุการณ ์ 2.4 การใชช้ ีวติ ของผสู้ ูงอายุ ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังหรือยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จะพยายามพึ่งตนเองให้มากท่ีสุด และ พ่ึงผู้อื่นเท่าที่จำเป็น กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังจะพยายามปรับตัวเพ่ือเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของบทบาท หน้าท่ีภายในครอบครัว รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ภายในบ้านท่ีอาจจะลดลง และสุขภาพและความเส่ือมถอย ของร่างกาย พึ่งพาผู้อ่ืนโดยการขอความช่วยเหลือเม่ือจำเป็น การยอมรับการให้ความช่วยเหลือเม่ือมีผู้เสนอ ความชว่ ยเหลือมาให้โดยไม่ไดร้ อ้ งขอ และการวา่ จ้างคนรู้จักทไ่ี วใ้ จได้ กลุ่มผู้สูงอายุย้ายถิ่นมีการย้ายถิ่นเพ่ือมาอาศัยอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวคนอ่ืนเพื่อช่วย ทำให้ผู้สูงอายุมีความสบายใจ กลุ่มผู้สูงอายุย้ายถิ่นสามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ ไม่รอรับการช่วยเหลือจาก ลูกหลานเพียงอย่างเดียว มีความสามารถในการปรับตัวตามข้อจำกัดของตนเอง เช่น ในเร่ืองของการประกอบ อาชพี จากเดมิ ท่เี ป็นเกษตรกรเปลย่ี นมาช่วยเหลืองานของลูก การประกอบกจิ กรรมทางศาสนา จากการเข้าวัด เปลี่ยนเป็นการบริจาคเพื่อทำบุญ การร่วมกิจกรรมชุมชน จากการได้ไปร่วมงานศพ งานแต่ง งานบวช เปล่ยี นเปน็ การรว่ มบรจิ าคเงนิ และสิง่ ของ และเข้าร่วมเพียงบางกิจกรรม วิถีชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการดำรงชีวิต มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ ประกอบด้วย การรับประทานอาหารท่ีมีประโยชน์ ไม่ทานอาหารรสจัด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีความรัก ความผูกพันกับครอบครัว เสียสละเพ่ือส่วนรวม เช่น การเป็นกรรมการชุมชน ช่วยเหลือดูแลเรื่องงานศพของ ผสู้ ูงอายุ การเข้าร่วมกจิ กรรมท่ีชมรมผู้สูงอายุรว่ มกนั จัดทำ เปน็ ต้น และการทำจติ ใจให้สงบใช้ธรรมะเป็นท่พี ่งึ เชน่ การสวดมนต์ก่อนเข้านอน อา่ นหนงั สือธรรมมะ ไปถือศลี ภาวนาท่ีวัดในวนั พระใหญ่ เปน็ ตน้ 2.5 การดแู ลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการดูแลตนเองท้ังในภาวะปกติ การดูแลตนเองตามพัฒนาการ การดูแล ตนเองในภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพและการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ท่ีผู้สูงอายุปฏิบัติอย่างจงใจ และมีเป้าหมายเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพท่ีดีสามารถปรับตัวเข้ากับ การเจ็บป่วยได้ และตัวแปรท่ีมีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ได้แก่ อาชีพผู้สูงอายุ การม ี โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ และแรงสนับสนุนทางสังคม ซ่ึงหมายถึงการรับรู้ของผู้สูงอายุว่าได้รับการช่วยเหลือ การส่งเสริมหรือประคับประคองจากสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเพื่อน และบุคคลท่ีเก่ียวข้อง สำหรับการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ผลการคัดกรองของเจ้าหน้าท่ีด้วยการถามคำถามส่วนใหญ่ไม่พบผู้สูงอายุที่มีอาการ ซึมเศร้า การดูแลผู้สูงอายุท่ีมีภาวะซึมเศร้าไม่ได้มีการดำเนินการแบบเฉพาะทาง ท้ังจากเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุข และจากผู้ดูแลในชุมชน เนื่องมาจากจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่มีภาระงานมาก ไม่เคยรับ การอบรมความรู้ด้านภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับผู้ดูแลในชุมชนท่ีไม่ทราบว่าจะดูแลผู้สูงอายุท่ีซึมเศร้า อย่างไร รวมไปถึงตัวผู้สูงอายุท่ีซึมเศร้าไม่รู้ว่าจะต้องดูแลตนเองอย่างไร คิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องได้รับ การดแู ลรกั ษา จึงยอมรับความทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าตอ่ ไป ฐการสังเคราะห์งานวิจัยผูส้ งู อายุในประเทศไทย 3. มติ ดิ า้ นเศรษฐกิจ 3.1 รายไดแ้ ละการออม รายได้เป็นตัวแปรสำคัญท่ีมีความเกี่ยวข้องกับการออมของผู้สูงอายุ โดยปัจจัยที่มีผลต่อ การออม 3 อันดับแรก ประกอบด้วย รายได้ประจำต่อเดือน ความมั่งคงในการทำงาน และค่าใช้จ่ายเฉล่ีย ของครอบครัว นอกจากน้ีรายได้ยังเป็นตัวแปรสำคัญที่มีความเก่ียวข้องกับผู้สูงอายุในมิติอ่ืนนอกเหนือ ไปจากด้านเศรษฐกิจ เช่น ด้านสุขภาพ ในเร่ืองปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมีโรคประจำตัวและความเพียงพอของ รายได้ท่ีมีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ตามความคดิ เหน็ ของผสู้ งู อายทุ ต่ี ดิ บา้ น กลมุ่ ผสู้ งู อายทุ งั้ ทมี่ รี ายไดพ้ อเพยี งและรายไดไ้ มพ่ อเพยี ง มคี วามตอ้ งการ การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมากกว่ากลุ่มท่ีมีเหลือเก็บ นอกจากน้ีพบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมีโรคประจำตัวและความเพียงพอของรายได้ที่ต่างกันต่อการดูแลผู้สูงอายุและ ความตอ้ งการการดแู ลสขุ ภาพของผสู้ งู อายจุ ากองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ กลา่ วคอื ผสู้ งู อายทุ ไ่ี มม่ โี รคประจำตวั แต่มีหนี้สิน ได้รับการดูแลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้สูงอายุท่ีมีโรคประจำตัว และมีรายได้ไม่พอเพียง สำหรับความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวและมีหน้ีสิน ต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากองค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถ่ินมากท่สี ุด รองลงมาคือผู้สูงอายุทีม่ โี รคประจำตัวและมรี ายไดพ้ อเพยี ง สำหรับแนวทางในการส่งเสริมการมีงานทำและการสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ ต้องการได้รับการสนับสนุนเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือการสร้างอาชีพและรายได้ 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัด กิจกรรมเพ่ือส่งเสริม หรือพัฒนาความรู้ทักษะการประกอบอาชีพเพ่ือต่อยอดภูมิปัญญาท้องถ่ิน หรือการสร้าง พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้สูงอายุ รองลงมาคือ การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลหางานให้ทำหรือ เพ่ิมโอกาสการทำงานให้แก่ผู้สูงอายุโดยการจัดฝึกอบรมเพ่ือฟื้นฟูทักษะการทำงานท่ีเหมาะสม และการสำรวจ ข้อมูลเก่ียวกับการประกอบอาชีพและการส่งเสริมอาชีพในชุมชน เช่นจัดทำทะเบียนอาชีพ ทะเบียน ปราชญ์ชาวบ้าน และขึ้นทะเบียนแรงงาน ซึ่งจากการศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุต่อการทำงานเพ่ือสร้าง อาชีพและรายได้ พบว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานแล้ว งานท่ีผู้สูงอายุส่วนใหญ่พอจะทำได้และ อยากทำเพ่ือหารายได้ คือ งานเก่ียวกับการผลิตของใช้จากหัตถกรรม รูปแบบลักษณะการส่งเสริมการทำงาน ให้แก่ผู้สูงอายุ คือ การทำงานกลุ่ม โดยมีการจัดหาสถานท่ีให้ผู้สูงอายุทำงานร่วมกันภายในชุมชน เช่น วัด ศาลาเอนกประสงค์ เป็นต้น แต่เมื่อเป็นการจ้างงานผู้สูงอายุส่วนใหญ่สะดวกท่ีจะรับงานไปทำที่บ้านมากท่ีสุด อปุ สรรคและข้อจำกัดในการทำงานตามความคดิ เหน็ ของผูส้ ูงอายสุ ว่ นใหญ่ ไดแ้ ก่ ปญั หาดา้ นสุขภาพ ลักษณะ งานท่ีต้องน่ังหรือยืนนาน ๆ และการถูกกีดกันเพราะไม่มีงานท่ีเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ สำหรับรูปแบบ การจัดการส่งเสรมิ การเรยี นรู้เพือ่ การประกอบอาชีพสำหรบั ผูส้ ูงอายุ จะไม่ไดเ้ นน้ เฉพาะเนอื้ หาของเร่อื งท่ีเรยี น เพยี งอยา่ งเดยี ว แต่จะมีการจัดการเรยี นรู้อยา่ งรอบดา้ น 3.2 การจัดตง้ั กองทนุ ชมุ ชน การช่วยเหลือของชุมชนในด้านเศรษฐกิจนอกเหนือไปจากส่งเสริมการมีงานทำและการสร้าง รายได้ของผสู้ งู อายแุ ล้ว การจดั ตัง้ กองทุนชมุ ชนเพื่อเปน็ แหลง่ เงินทุนหมุนเวียนใหก้ บั ประชาชนผู้สูงอายุ กเ็ ปน็ อีกทางเลือกหน่ึงในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ แนวทางในการดำเนินงานจัดต้ังกองทุนเพ่ือปรับปรุง ฑ การสังเคราะหง์ านวจิ ยั ผ้สู งู อายุในประเทศไทย ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ จะใช้กองทุนหรือสหกรณ์ที่มีอยู่แล้วนำมาแก้ไขสำหรับเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อ ปรับปรุงท่ีอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของกองทุนท่ีมีความใกล้เคียงกัน ความรู้ ความเข้าใจของสมาชิกในเรื่องปัญหาของท่ีอยู่อาศัยท่ีเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ขนาดของกองทุนและ เงินทุนหมุนเวียน รวมไปถึงความซับซ้อนในการแก้ไขข้อบังคับของกองทุน สำหรับชุมชนท่ีระบบการเงิน ยังไม่เข้มแข็งหรือไม่มีระบบการเงินภายในชุมชน ควรเร่ิมการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองก่อน เพ่ือ ต่อยอดส่กู องทนุ เพ่อื ปรับปรงุ ทีอ่ ยอู่ าศัยต่อไป 4. มติ ิดา้ นสภาพแวดลอ้ ม 4.1 สง่ิ แวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมหรอื สภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือทีอ่ ยู่อาศยั ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันกับญาติ พี่น้อง หรือลูกหลาน แม้ว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะไม่ได้เกิดอุบัติเหตุหกล้มภายในบ้าน แต่เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงด้านส่ิงแวดล้อมในบ้าน กบั การพลัดตกหกล้ม พบวา่ บริเวณบนั ไดท่มี ีแสงสวา่ งไมเ่ พียงพอ และบรเิ วณทางเดนิ ที่มสี ายไฟ สายโทรศพั ท์ หรือสายพ่วงต่อพาดผ่าน มีความสัมพันธ์กับการพลัดตกหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการประเมิน มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับท่ีอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ท่ีพักอาศัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ผ่านตามมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับท่ีพักอาศัย แต่มีบริเวณบ้านท่ีส่วนใหญ่ ไม่ผ่านมาตรฐานข้ันต่ำสำหรับที่พักอาศัยผู้สูงอายุ คือ ห้องน้ำ ในด้านการมีที่น่ังและสัญญาณฉุกเฉินบริเวณ ฝกั บวั และทอี่ าบนำ้ การมรี าวจบั ขนาดเสน้ ผา่ นศนู ยก์ ลาง 4 เซนตเิ มตร ทสี่ ามารถเดนิ ไดท้ ว่ั หอ้ งนำ้ การมโี ถสว้ ม แบบโถน่ัง ไม่ใช่แบบน่ังยอง และการมีพื้นผิวไม่ลื่นหรือใช้วัสดุปูพื้นไม่ล่ืนหรือแผ่นยางกันลื่น นอกจากน ้ี ยังมีบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ บริเวณบันไดท่ีไม่มีราวบันได แสงสว่างไม่เพียงพอ ไฟบริเวณ บันไดใช้สวิตช์เปิดปิดแบบทางเดียว หรือบริเวณบันไดมีผ้าหรือพรมเช็ดเท้า บริเวณครัว เช่น การใช้เตาแก๊ส ถังแก๊ส และสายแก๊สท่ีมีสายห้อยระโยงระยาง อาจจะก่อให้เกิดการสะดุดหกล้มได้ และบริเวณพื้นที ่ ท่ีมีความไม่ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุอีกบริเวณหนึ่ง คือ พื้นท่ีอเนกประสงค์ ได้แก่ พ้ืนท่ีที่มีการใช้งานมากกว่า 1 กิจกรรม เช่น บริเวณช้ันล่างของบ้านที่ผู้สูงอายุใช้งานในหลากหลายลักษณะ ไม่แน่นอน มักใช้เฟอร์นิเจอร์ แบบลอยตัวเคลื่อนย้ายได้ เช่น การใช้ฟูกหรือเบาะเพ่ือเป็นท่ีนอน ซึ่งมีความสูงไม่เหมาะกับร่างกายและ การเคลือ่ นไหวของผสู้ งู อายุ แนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดลอ้ มทีพ่ ักอาศัยสำหรับผสู้ งู อายุ บริเวณท่ีเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านมากที่สุด คือ บริเวณห้องน้ำ และบันได งานวจิ ยั สว่ นใหญจ่ งึ มขี อ้ เสนอแนะใหป้ รบั ปรงุ และพฒั นาพนื้ ทบ่ี รเิ วณหอ้ งนำ้ และบนั ไดใหป้ ลอดภยั เปน็ อนั ดบั แรก โดยบริเวณห้องน้ำควรใช้วัสดุปูพื้นผิวท่ีไม่ลื่น มีราวจับภายในห้องน้ำ บริเวณบันไดควรเพ่ิมไฟส่องสว่าง ให้เพียงพอ และจัดบริเวณทางเดินให้โล่ง ไม่มีสิ่งของกีดขวาง สำหรับบริเวณอื่นอาจใช้การเลือกเฟอร์นิเจอร์ และการจัดการใช้พ้ืนท่ีให้เหมาะกับร่างกายและการเคล่ือนไหวของผู้สูงอายุ เช่น การใช้เตียงแบบพับเก็บได้ แทนการปูฟูกหรือเบาะนอนกับพื้น นอกจากน้ีพบว่าในการปรับปรุงห้องน้ำให้มีราวจับและพื้นกันลื่น ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท อาจต้องใช้เวลามากกว่า 7 เดือน ในการผ่อนจ่าย ค่าอปุ กรณป์ รบั ปรงุ หอ้ งนำ้ ฒการสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผู้สงู อายุในประเทศไทย นอกเหนอื ไปจากการปรบั ปรงุ สภาพแวดลอ้ มทพ่ี กั อาศยั สำหรบั ผสู้ งู อายุ การออกแบบและสรา้ ง บา้ นพกั อาศยั สำหรบั ผสู้ งู อายใุ หมใ่ นพน้ื ทเี่ ดมิ กเ็ ปน็ อกี ทางเลอื กหนงึ่ ซงึ่ ในการออกแบบบา้ นนนั้ ควรเปดิ โอกาส ให้ผู้สูงอายุที่จะอาศัยอยู่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบตั้งแต่ก่อนเริ่มลงมือก่อสร้างเพื่อส่งเสริมความรู้สึก ในการเป็นเจ้าของบ้าน การออกแบบควรจัดสรรพื้นท่ีให้ผู้สูงอายุสามารถรับรู้ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคน ภายในบ้าน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมภายในครอบครัวที่มีคนต่างวัยอาศัยรวมกัน นอกจากน้ีการออกแบบ บริเวณต่าง ๆ ภายในบ้านสามารถนำหลักการออกแบบสำหรับคนทุกวัยมาปรับใช้ได้ (universal design guideline) ซงึ่ ปจั จบุ นั พบวา่ ผปู้ ระกอบการธรุ กจิ ทพี่ กั อาศยั ผสู้ งู อายใุ นประเทศไทยสว่ นใหญเ่ หน็ วา่ ความสำเรจ็ ของการจดั การธรุ กจิ ทพี่ กั อาศยั ผสู้ งู อายใุ นประเทศไทยอยใู่ นระดบั มาก เมอื่ พจิ ารณาจากสว่ นแบง่ ตลาดทเี่ พม่ิ ขนึ้ ประสิทธิภาพของการให้บริการ การสร้างการรับรู้ในกลุ่มลูกค้า ผลิตภาพและประสิทธิภาพของพนักงานและ ภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ โดยปัจจัยท่ีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจสูงสุด คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรมและประชากรศาสตร์ รองลงมาคือ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ การส่งเสริมทางการตลาด ปัจจัยการจัดการบุคคล ประกอบด้วย คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานเฉพาะ สำหรบั ตำแหนง่ จำนวนบคุ คลทเี่ หมาะสม การคดั เลอื ก แรงจงู ใจ และประสบการณ์ ปจั จยั ระบบการปฏบิ ตั งิ าน ประกอบด้วย เป้าหมายของการให้บริการ การบริหารจัดการ และการควบคุมการดำเนินงาน และท้ายสุด คือ ปัจจัยโครงสร้างองค์กร ประกอบด้วย สายการบังคับบัญชา การกระจายอำนาจ การแบ่งงานกันทำตาม ความชำนาญ และความเป็นทางการ สงิ่ แวดล้อมหรอื สภาพแวดลอ้ มภายนอกบ้าน (ชมุ ชนหรือสังคม) ชุมชนมีการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น โครงการธนาคารขยะ โครงการรณรงค์การจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม กิจกรรม ปลูกต้นไม้ และการเพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน เป็นต้น ปัญหาส่ิงแวดล้อมท่ีพบมากท่ีสุด คือ ปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เชน่ นำ้ ทว่ ม ภยั แล้ง ดนิ ถลม่ เป็นตน้ เน่อื งจากกลุ่มผใู้ ห้ข้อมลู อยใู่ นเขตพื้นทช่ี นบท องค์การบริหารส่วนตำบลมีการดูแลหรือจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุอย่าง ชัดเจนในเร่ืองการจัดท่ีน่ังสำหรับผู้สูงอายุ อาคารท่ีออกแบบเพ่ือสูงอายุในเร่ืองทางลาด ม้านั่งพัก และห้องน้ำ ที่ปลอดภัย การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย การมีเจ้าหน้าที่จาก หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูแลและจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุในชุมชน การมีเครื่องมืออุปกรณ์ และเครื่องอำนวย ความสะดวกที่มีความพร้อมสำหรับการดูแลและจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ มีอาคารสถานที่ท่ีมีความพร้อม สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ มีการประชาสัมพันธ์หรือช้ีแจงเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการดูแลผู้สูงอายุของ องค์การบริหารส่วนตำบลให้ทราบอย่างต่อเนื่อง และมีการรวมกลุ่มเพ่ือจัดกิจกรรมสำหรับดูแลผู้สูงอาย ุ ผู้สูงอายุเห็นว่า การทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมีประสิทธิผลมากในเรื่องการจ่ายเบ้ียยังชีพตามที่ กฎหมายกำหนด การส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพหลักและเสริม การติดต่อกับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อ ดูแลและติดตามปัญหาสุขภาพ การจัดหารือประสานงานเพ่ือให้บริการของใช้จำเป็นแก่ผู้สูงอายุท่ีพ่ึงพาตนเอง ไม่ได้ การบริการให้คำปรึกษาให้ความรู้เก่ียวกับสุขภาพ การจัดให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริม ศลิ ปวัฒนธรรมของชุมชน การจัดกจิ กรรมประชาสัมพนั ธ์เกีย่ วกบั การดแู ลผู้สงู อายุ และการมเี จา้ หน้าทีค่ วบคมุ การทำงานเกย่ี วกับการดแู ลผสู้ ูงอายุ ณ การสังเคราะหง์ านวิจัยผสู้ งู อายุในประเทศไทย 4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยสี ารสารเทศ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี รับรู้สารสนเทศผ่านสื่อมวลชน และ หนว่ ยงานบริการสารสนเทศ เช่น หอ้ งสมุดประชาชน ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นต้น ผูส้ ูงอายสุ ว่ นใหญ่รบั รู้สารสนเทศจากการฟงั การอา่ น และการดู ตามลำดบั โดยรบั รผู้ า่ นทาง โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือ ในขณะที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ท่ีมีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีข้ึนไปรับร ู้ สารสนเทศผ่านแหล่งสารสนเทศออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ของกรมอนามัย เพื่อรับชมคลิป อ่านหนังสือหรือบทความออนไลน์ ส่ือสังคม เช่น เฟซบุ๊ก และไลน์ เพ่ือติดตามข่าวสารและกิจกรรมเก่ียวกับ ผสู้ ูงอายุ เชน่ เพจสงู วยั เพจพลงั สงู วยั เปน็ ต้น และแอปพลเิ คชัน เพอื่ ตดิ ตามสารสนเทศท่ีเกย่ี วกบั สขุ ภาพและ ข่าวสารเกี่ยวกบั ผู้สงู อายเุ ชน่ สมุดสุขภาพประชาชน หมอครอบครัว เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจบริการทางสังคมของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะใช้ในด้าน การทอ่ งเทยี่ ว ดา้ นการตดิ ต่อสอ่ื สาร และด้านการดำรงชีวติ โดยปัจจัยทส่ี ง่ ผลต่อการใชธ้ ุรกิจบริการทางสังคม ได้แก่ ระดบั การศึกษา ภูมิลำเนา และอาชีพของผู้สงู อาย ุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าถึงสารสนเทศโดยได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าท่ี เช่น พยาบาล อาสาสมัคร และบุคคลใกลช้ ดิ เช่น สมาชิกในครอบครัวและเพ่อื น ความสามารถในการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุใน 5 ด้าน ประกอบด้วย การเขา้ ถงึ การประเมนิ การรวบรวม การจัดการ และการสรา้ ง พบวา่ ในภาพรวมผูส้ ูงอายไุ ทย มีความสามารถในการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง แต่เม่ือพิจารณา รายดา้ น พบวา่ ผสู้ งู อายไุ ทยมคี วามสามารถในการรเู้ ทา่ ทนั เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอื่ สารดา้ นการจดั การ ค่อนข้างสูง คือ ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่รู้จักพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีความระมัดระวังในเร่ืองของการแชร์ข้อมูลข่าวสาร และรู้ถึงบทลงโทษท่ีจะได้รับหากทำผิด แต่มีความสามารถในการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารด้านการสร้างต่ำ คือ ไม่สามารถสร้าง หรือเขียนองคค์ วามรู้ใหม่ ๆ หรอื ใหค้ ำแนะนำผู้อ่นื ความตอ้ งการสารสนเทศ ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการสารสนเทศท่ีเก่ียวกับ สุขภาพ เช่น การโภชนาการ การออกกำลังกาย การดูแลช่องปากและฟัน การดูแลสุขภาพเมื่อเป็นผู้ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังต้องการสารสนเทศที่มีเน้ือหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การใช้สมาร์ทโฟน สารสนเทศท่ีมีเนื้อหาด้านสังคม เช่น สวัสดิการของผู้สูงอายุ บรกิ ารทรี่ ฐั จัดใหผ้ ู้สูงอายุ สทิ ธทิ างกฎหมายของผูส้ ูงอายุ และการผ่อนคลายทางจิตใจ ผสู้ งู อายุมคี วามต้องการ สารสนเทศตา่ งกันไปตามบุคคล และสภาพแวดล้อมของผสู้ ูงอาย ุ นอกจากน้ี ผู้สูงอายุมคี วามต้องการด้านแหลง่ สารสนเทศ ประกอบดว้ ย มีวิทยากรท่ีมคี วามรู้ เฉพาะด้านมาให้ความรู้ มีบุคลากรเฉพาะประสานงานเก่ียวกับผู้สูงอายุ และมีหนังสือ หนังสือพิมพ์ท่ีจัดให้ บรกิ ารในชุมชน ในด้านอื่น ๆ ผูส้ ูงอายมุ ีความตอ้ งการสารสนเทศในเรอ่ื งการจัดกิจกรรมทเ่ี กีย่ วข้องกับผูส้ ูงอายุ การจดั กจิ กรรมทผี่ สู้ ูงอายุสามารถเขา้ ร่วมได้ และการเชิญผู้สูงอายเุ ปน็ วิทยากรและทปี่ รกึ ษา ดการสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผ้สู ูงอายุในประเทศไทย การพัฒนาสอื่ เทคโนโลยีสารสนเทศเพอ่ื ผสู้ งู อายุ ส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาข้ึนมุ่งหวังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก ่ ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สังคม และอาชีพ ระบบการเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศท่ีตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ คือ ระบบท่ีนำเสนอข้อมูลในลักษณะสื่อประสม หลากหลายรูปแบบ มีความเป็นมิตรกับผู้ใช้ สามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว และค้นหาส่ิงที่ต้องการได้ง่าย ใช้สื่อ ประเภทเกมส์เพื่อความสนุกสนาน เป็นการเล่นเพื่อเรียนรู้ หรือการใช้แอนิเมช่ันที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต ชมุ ชน กระบวนการการพัฒนาส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือผู้สูงอายุ มีข้ันตอนสำคัญ คือ การเก็บ รวบรวมข้อมูลความต้องการจากผูใ้ ชก้ อ่ นทีจ่ ะเร่ิมออกแบบสื่อเทคโนโลยสี ารสนเทศ การประเมนิ ประสิทธิภาพ ของส่ือทพ่ี ัฒนาขึน้ โดยผ้เู ช่ยี วชาญ และการทดลองใชจ้ รงิ กับผู้สงู อาย ุ องคค์ วามร้แู นวทางการจัดการศึกษาสำหรบั ผสู้ ูงอายุจากผลการสงั เคราะห์งานวิจยั องค์ความรู้แนวทางการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุจากผลการสังเคราะห์งานวิจัย ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ รูปแบบการจัดการศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จ และ กลยทุ ธ์ โดยมีรายละเอยี ดดังน้ ี การจัดการศึกษาผ่านการจัดต้ังศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพ่ือการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย (1) การจัดต้ังคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ฝ่าย คือ ชมรมผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และหน่วยงานสนับสนุน (2) ข้ันตอนการดำเนินงาน ประกอบดว้ ย ข้นั การจัดทำ แผนยุทธศาสตร์ ขั้นการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพ่ือการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ (3) ขั้นการดำเนนิ การตามแผน และ (4) ข้ันการตดิ ตามประเมนิ ผล การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพ่ือการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ควรมีการบริหาร จดั การแบบมสี ่วนร่วม ท้งั ของภาครัฐ ชมรมผสู้ งู อายุ ตวั ผูส้ งู อายุ และทกุ ฝา่ ยเห็นความสำคญั และมคี วามเข้าใจ ในการดำเนนิ งาน มเี ปา้ หมายชดั เจน และมกี ารจดั กจิ กรรมอยา่ งตอ่ เนอื่ ง มกี ารเรยี นรแู้ ละพฒั นาการดำเนนิ งาน อย่างต่อเนื่อง มกี ารบูรณาการความรว่ มมือจากชุมชนและหน่วยงานสนับสนุน ทง้ั เทศบาลหรือองคก์ รปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข ผู้นำชุมชน จิตอาสาในชุมชนดูแลผู้สูงอายุ การให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ ในการทำกิจกรรมท่เี ป็นประโยชนต์ ่อชมุ ชนและสงั คม เพื่อแสดงออกถึงศักยภาพท่มี ีอย่ ู รูปแบบการศึกษาเน้นหลักการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยการใช้กิจกรรม การเรียนรู้ในวิถีประจำวันของผู้สูงอายุและมีการพัฒนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ซ่ึงผู้สูงอายุสามารถ เลือกได้ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล รปู แบบการจดั การศึกษาตลอดชีวิต สามารถดำเนนิ การได้ในรปู แบบนวตั กรรมบทเรียนออนไลน์เพื่อการเรยี นรู้ ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุโดยใช้วัดเป็นฐาน และรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยให้ผู้มีส่วนเก่ียวข้องได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีตอบสนอง ความต้องการของผสู้ ูงอายุ กจิ กรรมมีความสอดคล้องกับบรบิ ทและวถิ ชี ุมชน ทุนทางสังคม มกี ารประสานงาน ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายท่ีเกี่ยวข้องในพ้ืนที่ เน้นการมีส่วนร่วมและคำนึงถึงความยั่งยืนและต่อเน่ืองของ ต การสงั เคราะห์งานวจิ ัยผู้สูงอายใุ นประเทศไทย กจิ กรรม การจดั กจิ กรรมใหผ้ สู้ งู อายไุ ดเ้ รยี นรจู้ ากการประกอบอาชพี การใชบ้ รกิ ารทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ การเขา้ ร่วมประชมุ หรืออบรม การเปน็ สมาชกิ ชมรมผูส้ งู อายุ ส่ือประชาสมั พันธ ์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุควรมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับเน้ือหา ทักษะ หรือ คุณลักษณะที่ต้องการส่งเสริมให้กับผู้สูงอายุ บริบทของหน่วยงานหรือผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ บริบทด้าน ชุมชน และการรว่ มมอื กันของเครือข่ายในการจัดการเรียนรู ้ การจัดกิจกรรม ควรเน้นการฝึกปฏิบัติและใช้สื่อ และวิธีท่ีหลากหลายมีความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับ รูปแบบ มีความทันสมัย เหมาะสมกับเหตุการณ์ โอกาส สถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ควรมีการจัด กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแนะนำและติดตามให้ผู้สูงอายุร่วมมือทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เน้นการดำเนิน การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม เน้นกิจกรรมในการยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมอาชีพและการสร้าง รายได้ และสง่ เสริมความสามารถในการพ่ึงพาตนเองและความสมั พันธท์ างสงั คม ปจั จยั /เงอื่ นไขความสำเรจ็ ของการจดั การศกึ ษาสำหรบั ผสู้ งู อายุ ไดแ้ ก่ การเขา้ ถงึ การเรยี นรู้ การเดนิ ทาง การขาดแคลนวิทยากรและบุคลากรท่ีมีความรู้ทางด้านการจัดกิจกรรม การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ ในการจดั กจิ กรรมทต่ี อบสนองกบั ความตอ้ งการ ปญั หาดา้ นการเรยี นรขู้ องผสู้ งู อายุ และการใชเ้ วลาในการเรยี นร ู้ ของผสู้ ูงอายุ ในช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2558 ทไี่ ม่ใชเ้ วลาในการเรยี นรมู้ ากนกั กลยทุ ธใ์ นการจัดการศกึ ษาเพื่อพฒั นาคุณภาพชวี ิตผ้สู ูงอายุ ประกอบดว้ ย การสง่ เสรมิ การนำนโยบาย สู่การปฏิบัติ การส่งเสริมการใช้งบประมาณ การส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตในชุมชนได ้ การพัฒนาสถานท่ีและสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการจัดการศึกษา การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัด การเรยี นรู้ การพฒั นาศกั ยภาพบคุ ลากรในการจัดการศกึ ษาผสู้ งู อายุ และการยกระดับคณุ ภาพการประเมินผล การจัดการศึกษา ขอ้ เสนอแนะ ขอ้ เสนอแนะในการนำผลการวจิ ยั ไปใช้ 1. ขอ้ เสนอแนะต่อหน่วยงานสนบั สนนุ การสรา้ งองคค์ วามรหู้ รอื การวจิ ัยท่เี ก่ยี วกับผ้สู งู อายุ จากผลการวิจัย พบว่า จำนวนงานวิจัยในมิติด้านเศรษฐกิจและมิติด้านสภาพแวดล้อมมีจำนวน นอ้ ยมาก เมอื่ เทยี บกบั มติ ดิ า้ นสงั คมและมติ ดิ า้ นสขุ ภาพซง่ึ มจี ำนวนงานวจิ ยั ในชว่ ง 5 ปี ใกลเ้ คยี งกนั หนว่ ยงาน สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้หรือการวิจัยหรือเก่ียวกับผู้สูงอายุ จึงควรจะได้รับการสนับสนุนให้มีการสร้าง องค์ความรู้ การทำวิจัยในด้านท่ียังมีจำนวนงานวิจัยน้อย เช่น มิติด้านเศรษฐกิจ เร่ืองรายได้และการออม การจัดตั้งกองทุนชุมชนเพื่อผู้สูงอายุ และมิติด้านสภาพแวดล้อม เรื่องการสร้างพื้นที่ท่ีเป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทการเปลี่ยนแปลง เชิงเศรษฐกิจและสังคมท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคตเพ่ือตอบโจทย์ให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง ม่ังคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง” ภายในปี พ.ศ. 2580 แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาเป็นกลุ่มประเทศท่ีมีรายได้สูง มีความ เหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุข และหลุดพ้นกับดักความยากจน การมีรายได้ ถการสังเคราะหง์ านวจิ ัยผสู้ ูงอายใุ นประเทศไทย และการออมจึงเป็นส่ิงที่ต้องเรียนรู้ให้มีองค์ความรู้และทักษะในการสร้างรายได้และอาชีพที่เหมาะสม อย่างต่อเน่ือง อีกทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสงั คมสงู วยั ควรใหค้ วามมนั่ คงปลอดภยั และมสี ง่ิ อำนวยความสะดวกใหผ้ สู้ งู อายสุ ามารถมคี ณุ ภาพชวี ติ ที่ดแี ละสามารถอยู่ในโลกของการเปลีย่ นแปลงในอนาคตได้ แนวทางการจดั การศกึ ษา ในมติ ิน้ีจงึ มีความจำเป็น ท่ีจะต้องให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปล่ียนอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลย ี สารสนเทศท่ีมีผลตอ่ วิถชี ีวิตหรือการดำรงชีวติ ของผ้สู งู อาย ุ 2. ข้อเสนอแนะระดับนโยบายตอ่ สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา ควรให้มีการบูรณาการเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานให้เป็น วาระแห่งชาติและมีการบูรณาการในการเชื่อมประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับ กระทรวง กรม ท้ังภาครัฐ ตลอดจนสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ท่ีดำเนินการเกี่ยวกับ การยกระดับพัฒนา ศกั ยภาพผสู้ งู อายุ ใหส้ ามารถพง่ึ พาตนเองไดแ้ ละเปน็ ผสู้ บื ทอดสง่ ตอ่ องคค์ วามรแู้ ละภมู ปิ ญั ญา ในการดำเนนิ งาน ดา้ นผู้สงู อายุควรบูรณาการความร่วมมือ และลดความซ้ำซอ้ นของหน่วยงาน ภาครัฐ ควรให้หน่วยงานท้องถิ่น เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน และควรใช้ทุนทางสังคมในพื้นที่เป็นฐานการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน เป็นกลไกในระดับพื้นท่ีในการ ดแู ลและเฝา้ ระวังทางสงั คม โดยนำกลมุ่ คนชว่ งวัยอื่น ๆ มารว่ มเรยี นรูแ้ ละพฒั นาทนุ สังคมนนั้ ใหเ้ กิดมูลค่าและ ร่วมกันสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน โดยใช้คลังปัญญาและภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เกิดประโยชน์และครอบคลุม ทุกมติ ิ ควรมหี นว่ ยงานหลกั ในการจัดการเรียนรู้ นอกเหนอื จากการดูแลคุณภาพชีวติ และพัฒนาศกั ยภาพ ของผู้สูงอายุ เช่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควรเป็นหน่วยส่งเสริม การเรียนรู้ ทม่ี ่งุ สร้างศกั ยภาพการใชช้ วี ติ การมรี ายได้ ความสัมพันธร์ ะหวา่ งวัย และมีรปู แบบการจดั การศกึ ษา ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ อาทิ โรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย ์ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย การเรียนรู้แบบออนไลน์ การเรยี นรผู้ า่ นการรวมตัวแบบไม่เป็นทางการ ฯลฯ โดยไมใ่ ช้ เพยี งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แตต่ ้องคำนงึ ถงึ ธรรมชาตกิ ารเรยี นรู้ทแ่ี ตกต่างกันของผ้สู ูงอายใุ นแตล่ ะพื้นท่ี ควรมี การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อเป็นการตอบสนองการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน รวมถึงการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ และการเข้าถึงข้อมูล ขา่ วสารที่รวดเร็ว ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยงานท่ีทำงานกับผู้สูงอายุ เพราะ เป็นการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างท้ังระดับอายุ เพศ ศักยภาพ ท้ังพ้ืนฐานร่างกาย ความร ู้ การปรบั ตัว การส่ือสาร ทมี่ ีความแตกตา่ งกนั จึงควรสร้างและพัฒนาบคุ คลากรด้านผู้สูงอายอุ ยา่ งเรง่ ดว่ น และ มีแผนการเสริมสร้างคุณภาพบุคลากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพทั้งระยะส้ัน และระยะยาว ให้เป็นบุคลากร ที่มีคุณสมบัติและสมรรถนะท่ีสามารถเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ เพราะ เป็นกลุม่ คนเปราะบาง และมีความแตกต่างจากกลมุ่ เปา้ หมายอื่น ๆ ควรส่งเสริมและสนับสนุนทุกพื้นท่ี ให้มีพื้นที่กลางที่เป็นมิตรและเข้าถึงได้สำหรับผู้สูงอายุ เพ่ือให้ เกิดการทำกิจกรรมภายใตก้ ารบริหารงานของผสู้ ูงอายเุ อง เพอ่ื การพง่ึ พาตนเองในอนาคต โดยหน่วยงานต่าง ๆ เปล่ียนบทบาทเป็นผู้ให้การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพผ่านพื้นท่ีกลางดังกล่าวได้ ในการแก้ไขปัญหาท่ีจะ ท การสังเคราะห์งานวิจัยผสู้ ูงอายุในประเทศไทย เกิดข้ึนในระยะยาว โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาครัฐท่ีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเน่ือง เพราะปัจจุบันเร่ิม จัดสรรค่าใช้จ่ายให้กับประชากรที่เป็นผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็ก อีกทั้งต้องเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตการเปล่ียนแปลง ของประชากรว่าปัจจุบันคนอายุยืนยาวมากข้ึน ดังน้ัน ปัญหาไม่ใช่เฉพาะอัตราการเกิดท่ีลดลง แต่ส่ิงที่ส่งผล ให้เกิดการเปลย่ี นแปลงของโครงสร้างประชากรมาก คอื การตาย ปจั จบุ นั ไทยมีประชากรท่ีอายมุ ากกวา่ 90 ปี เพม่ิ ขน้ึ เร่ือย ๆ ดังนนั้ ในครอบครวั หนึ่งจึงไม่ได้มผี ู้สูงอายุแค่ 1 รนุ่ แต่อาจมีถึง 2 รนุ่ การพจิ ารณาสถานการณ์ สังคมสูงวัยจึงต้องมองให้เห็นภาพรวมท้ังหมดในทุกมิติที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน เพื่อให้เห็นภาพและ สรา้ งความสมดลุ ในทกุ มติ ิ จงึ ควรมนี โยบายและแผนปฏบิ ตั กิ ารเชงิ รกุ ทมี่ กี ารเตรยี มการรองรบั อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ และทันต่อการเปล่ียนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น ซ่ึงไม่ใช่เป็นเพียงบทบาทของฝ่ายรัฐบาลเท่าน้ัน แต่ทุกภาคส่วน ต้องร่วมขับเคล่ือน เนื่องจากสังคมสูงวัยเป็นเร่ืองของทุกคน การผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อรองรับสังคม สูงวัย จึงเป็นความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้ การสร้างฐานชุมชนแห่งการเรียนรู้และ ระบบสงั คมสวสั ดกิ ารท่ีเขม้ แข็งและชดั เจน จะเปน็ ทางออกหนึ่งของการแก้ไขปญั หาในอนาคตได้ ควรมกี ารดำเนนิ งานในประเดน็ ทา้ ทาย ไดแ้ ก่ มติ ดิ า้ นเศรษฐกจิ เรอื่ งรายไดแ้ ละการออม การจดั ตงั้ กองทุนชุมชนเพ่ือผู้สูงอายุ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยนั้น พบว่า มีการศึกษาน้อยมาก เพยี ง 1 ใน 3 ของประชากรท่ีมกี ารเตรียมความพร้อม ดังนั้นควรให้ประชากรวัย 40 ปขี ึน้ ไปตระหนกั รอบรู้ และเตรียมการทุกด้าน ทุกมิติ ก่อนเข้าสู่วัยชรา ส่วนผู้ท่ีอายุ 60 ปีข้ึนไปแล้วน้ัน ต้องได้รับการส่งเสริม ใหถ้ า่ ยทอดความรู้ ภมู ปิ ัญญา และประสบการณใ์ ห้กับคนร่นุ หลงั รวมถึงการสรา้ งโอกาส สรา้ งงานใหผ้ ูส้ งู อายุ ท่ียังสามารถทำงานได้ เพื่อให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และที่สำคัญการแก้ไขสถานการณ์นี้ไม่ใช่เป็นเพียงภาระ ของหน่วยงานใดหน่วยงานหน่ึง แต่ต้องอาศัยกระบวนการมีร่วมส่วนของทุกฝ่าย และควรส่งเสริมให้กลุ่ม ชมรม โรงเรยี น ศนู ย์การเรียนรู้ ทดี่ ำเนนิ การเกี่ยวกบั ผสู้ ูงอายมุ ีการพัฒนาไปสกู่ ารเป็นผปู้ ระกอบการเพือ่ สังคม เพ่ือสรา้ งความเขม็ แข็งให้กับบคุ คล กลมุ่ องคก์ ร และชุมชน ใหส้ ามารถพง่ึ พาตนเองได้ และดำเนนิ การได้อยา่ ง ต่อเนอ่ื งและยัง่ ยืน ขอ้ เสนอแนะในการวิจัยครั้งตอ่ ไป ควรมีการสงั เคราะห์งานวิจัยด้วยวธิ เี ชงิ ปรมิ าณ เช่น การวิเคราะหอ์ ภิมาน ในกลุ่มงานวจิ ยั ทม่ี ีการวิจัย เชิงปรมิ าณ ได้แก่ งานวจิ ัยที่เกยี่ วกบั คุณภาพชวี ิตผูส้ งู อายุ การออกกำลงั กายของผ้สู งู อายุ สมรรถภาพทางกาย ของผสู้ งู อายุ และภาวะโภชนาการ เนอ่ื งจากมงี านวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณในจำนวนทสี่ ามารถจะวเิ คราะหไ์ ด้ โดยอาจจะ ขยายขอบเขตด้านระยะเวลาในการตพี มิ พใ์ นการสืบคน้ งานวจิ ัยเพมิ่ ขนึ้ เพอ่ื เพ่มิ จำนวนงานวิจัย ควรมกี ารศกึ ษาบทบาทขององคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ ในการพฒั นาและดแู ลผสู้ งู อายุ โดยการสงั เคราะห ์ องค์ความร้จู ากการวจิ ัยทีผ่ ่านมา เนอื่ งจากการอา่ นงานวจิ ยั พบองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่ินแทรกอยใู่ นงานวจิ ัย ที่เกี่ยวกับการพัฒนาและดแู ลผสู้ งู อายใุ นหลายมิติของการวจิ ัย ธการสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผู้สูงอายุในประเทศไทย สารบัญ หนา้ คำนำ ก บทสรุปผู้บริหาร ข ธ สารบัญ บ ป สารบัญตาราง 1 สารบัญภาพ 1 2 บทท่ี 1 บทนำ 2 ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย 4 วัตถุประสงค์การวจิ ยั 4 ขอบเขตการดำเนนิ งานวจิ ัย ขอ้ จำกดั ในการวจิ ัย 5 ประโยชนท์ ไ่ี ด้รบั 5 12 บทท่ี 2 การทบทวนเอกสารและงานวจิ ัยท่เี กย่ี วข้อง 18 การดำเนินงานด้านผ้สู งู อายุ 30 การดูแลผสู้ งู อาย ุ 34 สุขภาพของผสู้ ูงอาย ุ สภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสมสำหรับผสู้ งู อายุ 40 งานวจิ ัยที่เกย่ี วขอ้ งกบั การสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผู้สงู อาย ุ 40 42 บทที่ 3 วธิ ีดำเนนิ การวิจัย 42 ระยะที่ 1 การสืบค้นและรวบรวมงานวิจัยผ้สู งู อายุ 43 ระยะที่ 2 การคัดเลอื กงานวจิ ยั ผูส้ งู อายุ ระยะท่ี 3 การวิเคราะห์ข้อมลู งานวจิ ยั ผสู้ งู อายุ 46 ระยะที่ 4 การสังเคราะห์ขอ้ ค้นพบจากงานวิจยั ผูส้ ูงอายุ 46 48 บทที่ 4 ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มูล 79 ตอนท่ี 1 ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู ทว่ั ไปของงานวิจัย ตอนท่ี 2 ผลการสงั เคราะห์ข้อคน้ พบจากงานวิจัย ตอนท่ี 3 องค์ความร้แู นวทางการจัดการศกึ ษาสำหรบั ผสู้ ูงอาย ุ จากผลการสังเคราะห์งานวจิ ัย น การสังเคราะหง์ านวิจยั ผู้สงู อายุในประเทศไทย สารบัญ (ต่อ) หน้า บทท่ี 5 สรปุ ผลการวิจยั อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรปุ ผลการวจิ ยั 82 อภปิ รายผล 82 ข้อเสนอแนะ 98 101 บรรณานุกรม ภาคผนวก 104 แบบบันทกึ สาระงานวจิ ัย 107 108 รายช่ือคณะวิจยั คณะผู้จัดทำเอกสาร 111 112 บการสงั เคราะหง์ านวิจัยผู้สูงอายุในประเทศไทย สารบัญตาราง หน้า 3 9 ตารางท ่ี 20 1.1 ผลการสบื คน้ งานวิจัย 21 2.1 มาตรการฯ เพือ่ เป็นการเตรยี มความพร้อมรองรับสังคมสูงวยั คนไทยอายุยืน 39 ของกระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย ์ 41 2.2 องคป์ ระกอบของสมรรถภาพทางกายและรายการทดสอบ 43 สำหรบั ประชาชน อายุ 60 - 69 ปี 44 2.3 รายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรบั ประชาชน อายุ 60 - 69 ปี 47 2.4 การเปรยี บเทียบวิธีการสงั เคราะหง์ านวิจยั ผูส้ ูงอาย ุ 47 3.1 จำนวนงานวิจยั ที่ไดจ้ ากการสบื ค้นด้วยคำสำคญั 48 3.2 จำนวนงานวจิ ัยผสู้ ูงอายุจำแนกตามมิตกิ ารวจิ ัย 49 3.3 จำนวนงานวิจัยจำแนกผลการจัดกลุ่มงานวิจยั ในแตล่ ะมติ ิการวจิ ัย 49 4.1 ขอ้ มูลทั่วไปของงานวจิ ยั 59 4.2 ตารางวิเคราะหค์ วามถี่และรอ้ ยละงานวิจัยตามประเภทการวิจัยและมิตงิ านวจิ ยั 63 4.3 ตารางวิเคราะห์ความถแ่ี ละร้อยละงานวจิ ัยตามปที ่ีพมิ พแ์ ละมิติงานวจิ ัย 64 4.4 จำนวนงานวจิ ยั ผสู้ งู อายุในมิติด้านสังคมจำแนกตามการรวมกลุ่มของผู้สงู อายุ 67 และประเดน็ การวิจยั 71 4.5 จำนวนงานวิจัยผสู้ ูงอายุ มิติด้านสังคม จำแนกตามประเภทการวจิ ยั 73 4.6 จำนวนงานวจิ ยั ผู้สงู อายุ เร่อื งการออกกำลังกาย จำแนกตามประเภทการวจิ ัย 4.7 จำนวนงานวิจัยผูส้ ูงอายุ เร่อื งภาวะโภชนาการ จำแนกตามประเภทการวจิ ัย 4.8 ตัวแปรท่ีมคี วามสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอยา่ งมีนยั สำคญั ทางสถิติ 4.9 จำนวนงานวจิ ัยผสู้ ูงอายุ เรอ่ื งสภาพกายและจิตใจ จำแนกตามประเภทการวิจยั 4.10 จำนวนงานวิจัยผู้สูงอายุ มติ ดิ ้านเศรษฐกิจ จำแนกตามประเภทการวิจยั 4.11 จำนวนงานวิจยั ผสู้ ูงอายุ มิตดิ ้านสภาพแวดล้อม จำแนกตามประเภทการวิจัย ป การสังเคราะหง์ านวิจยั ผู้สงู อายุในประเทศไทย หน้า 77 สารบญั แผนภาพ แ ผนภาพที่ 4.1 จำนวนการวจิ ัยจำแนกตามมิติและประเด็นการสังเคราะห์งานวจิ ัย 1การสังเคราะห์งานวจิ ยั ผ้สู งู อายใุ นประเทศไทย บทท่ี 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคญั ของการวิจัย ประเทศไทยปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงการเปล่ียนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) สหประชาชาติระบุว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีข้ึนไป ในสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากร ท้ังประเทศ ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society และจะเป็น “สังคมผู้สูงอาย ุ เตม็ รปู แบบ” (Aged Society) เม่ือสัดสว่ นประชากรที่มอี ายุ 60 ปขี นึ้ ไปเพมิ่ ข้นึ ถึงร้อยละ 20 โดยตวั เลขของ ประเทศไทย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ไทยจะเข้าสู่สังคมประชากรสูงวัยแบบสมบูรณ์ โดยมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 13,311,787 คน ซงึ่ มากกวา่ 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด (เดลนิ ิวส,์ 2563) รัฐบาลไดใ้ ห้ ความสำคัญกับการดูแลและก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังจะเห็นได้จาก การท่ีรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร ์ การเตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ การจดั ทำแผนผ้สู งู อายแุ ห่งชาติ การกำหนดทิศทางการดำเนินงานหรือนโยบายในระดับประเทศเพื่อดูแลผู้สูงอายุควรจะได้รับข้อมูล ที่รอบด้านและเป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อค้นพบจากงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ในปัจจุบันมีผลการวิจัยเป็น จำนวนมากทีท่ ำการศึกษาเกี่ยวกบั ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์งานวจิ ัยเปน็ วธิ ีการหนงึ่ ทจี่ ะไดน้ ำผลการวจิ ัยอันเป็น องค์ความรู้ที่มีคุณค่าจากนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาเก่ียวกับผู้สูงอายุ มาหลอมรวมเป็น องค์ความรู้เพื่อให้หน่วยงานที่เก่ียวข้องจะได้นำไปใช้สำหรับการวางแผน การกำหนดนโยบาย หรือทิศทาง การดำเนนิ งานเกย่ี วกบั ผสู้ งู อายตุ อ่ ไป แมว้ า่ จากการทบทวนเอกสารและวรรณกรรมทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การสงั เคราะห ์ งานวิจัยผู้สูงอายุจะพบว่า มีการศึกษา ทบทวน หรือสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาบ้างแล้ว แต่การดำเนินงานที่ผ่านมาครอบคลุมถึงงานวิจัยปี พ.ศ. 2554 หรือเกือบ 10 ปีท่ีผ่านมา ซ่ึงสังคมในปัจจุบัน ได้มีการเปล่ียนแปลงไปอย่างมาก ทั้งน้ีเน่ืองมาจากการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ สภาพสังคม รวมไปถึง เทคโนโลยีทเ่ี ข้ามามบี ทบาทต่อทกุ ขัน้ ตอนในการดำเนนิ ชีวติ ประจำวนั ของทกุ คน รวมถงึ ผูส้ งู อายดุ ้วย การวิจัยคร้ังนี้ จึงได้ทำการกำหนดขอบเขตการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ให้เป็นปัจจุบัน มากข้ึน คือเป็นงานวิจัยเก่ียวกับผู้สูงอายุ ครอบคลุมใน 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสังคม มิติด้านสุขภาพ มิติด้าน เศรษฐกิจ และมิติด้านสภาพแวดล้อม เพ่ือผลการสังเคราะห์จะได้นำไปสู่การจัดทำแนวทางการจัดการศึกษา สำหรับผู้สูงอย่างมีส่วนร่วมในยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมผู้สูงอายุเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และสอดคล้อง กบั ยุทธศาสตรช์ าติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) นโยบาย และแผนตา่ ง ๆ ของประเทศทเี่ กี่ยวขอ้ งกบั ผูส้ ูงอายุ ต่อไป 2 การสังเคราะห์งานวิจยั ผู้สงู อายใุ นประเทศไทย วตั ถุประสงคก์ ารวิจยั เพ่ือสังเคราะห์งานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับผู้สูงอายุในประเทศไทย ในมิติด้านสังคม ด้านสุขภาพ ดา้ นเศรษฐกิจ และด้านสภาพแวดล้อม ระหวา่ งปี พ.ศ. 2558 – 2563 ขอบเขตการดำเนินงานวจิ ยั การวิจัยคร้งั นี้ กำหนดขอบเขตในการดำเนินงาน ดงั นี้ 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูล TCI (Thai- Journal Citation Index Center) ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 (5 ปียอ้ นหลัง) 2) การกำหนดปีที่ตีพมิ พ์เพ่อื การสบื คน้ งานวจิ ัยจากฐานขอ้ มูล TCI (Thai-Journal Citation Index Center) คณะผ้วู ิจัยทำการสืบค้นจากปี พ.ศ. 2563 จงึ ครอบคลมุ บทความที่ตีพมิ พ์ 5 ปี ย้อนหลัง ได้แก่ พ.ศ. 2563, 2562, 2561, 2560, 2559 3) งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุของประเทศไทย ใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ ดา้ นเศรษฐกิจ และดา้ นสภาพแวดลอ้ ม โดยมรี ายละเอียดในแตล่ ะมิติ ดงั น ี้ - ด้านสังคม ครอบคลุมเรื่อง ระบบสวัสดิการทางสังคม การศึกษา การสร้างพ้ืนท่ีท่ีเป็นมิตร สำหรบั ผสู้ งู อายุ และการเสริมสร้างศักยภาพชมรมผูส้ ูงอายุ/โรงเรยี นผสู้ ูงอายุ - ดา้ นสขุ ภาพ ครอบคลมุ เรอ่ื งระบบสนบั สนนุ การดแู ลสขุ ภาพผสู้ งู อายุ โภชนาการ การออกกำลงั กาย และระบบสวัสดิการเพอื่ สขุ ภาพ - ด้านเศรษฐกิจ ครอบคลุมเรือ่ งรายได้ การออม และการประกอบอาชีพ - ด้านสภาพแวดล้อม ครอบคลุมเร่ือง การสร้างสภาพแวดล้อม/ส่ิงแวดล้อมทางกายภาพให้กับ ผูส้ ูงอายุ 4) ผู้วิจัยได้สืบค้นงานวิจัย ซึ่งผลการค้นหางานวิจัยจากฐานข้อมูล TCI พบงานวิจัยรวม 233 เร่ือง แสดงดังตารางท่ี 1.1 3การสังเคราะห์งานวิจยั ผู้สงู อายุในประเทศไทย ตารางที่ 1.1 ผลการสบื ค้นงานวจิ ยั คำค้น (คำสำคญั ) จำนวนงานวจิ ยั ผสู้ ูงอายุ และ การศึกษา 18 ผ้สู งู อายุ และ การจัดการศกึ ษา 5 ผสู้ ูงอายุ และ การเรยี นรู้ 40 ผู้สูงอายุ และ การจดั การเรยี นร้ ู 4 การสรา้ งพน้ื ทท่ี ่ีเป็นมติ รสำหรบั ผสู้ งู อายุ - การเสริมสร้างศกั ยภาพชมรมผู้สูงอายุ - โรงเรียนผู้สงู อาย ุ 33 ชมรมผู้สูงอาย ุ 20 ผู้สูงอายุ และ ระบบสนับสนุนการดูแลสขุ ภาพ - ผู้สงู อายุ และ โภชนาการ 19 ผ้สู งู อายุ และ การออกกำลงั กาย 59 ผสู้ ูงอายุ และ ระบบสวัสดกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพ - ผ้สู ูงอายุ และ ระบบสวสั ดกิ ารทางสงั คม - ผสู้ งู อายุ และ รายได ้ 6 ผสู้ ูงอายุ และ การออม 3 ผู้สูงอายุ และ การประกอบอาชพี 2 ผู้สูงอายุ และ สิง่ แวดล้อม 11 ผู้สูงอายุ และ สภาพแวดลอ้ ม 7 ผ้สู ูงอายุ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 รวม 233 ท่ีมา: https://tci-thailand.org/wp-content/themes/magazine-style/tci_search/advance_search.html ขอ้ มูล ณ วันท่ี 26 พฤศจกิ ายน 2563 4 การสังเคราะหง์ านวิจยั ผู้สงู อายุในประเทศไทย ขอ้ จำกัดในการวิจัย การรวบรวมงานวิจัยเพื่อการสังเคราะห์งานวิจัยในคร้ังน้ี ครอบคลุมงานวิจัยท่ีได้รับการตีพิมพ ์ และเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Center) ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 ซ่ึงอยู่ภายใต้ขอบเขตระยะเวลาท่ีได้กำหนดไว้ในช่ือเรื่องและวัตถุประสงค์การวิจัย และเพ่ือให้การดำเนินงาน เป็นไปตามขอบเขตการวิจัยที่กำหนดไว้ในระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง ผู้วิจัยจึงได้กำหนดระยะเวลาท่ีใช้ในการ สืบค้นให้ตรงกับขอบเขตการวิจัยและความมุ่งหมายที่จะสังเคราะห์งานวิจัยให้เป็นปัจจุบันมากท่ีสุด จึงกำหนด ปี พ.ศ. ท่ีใช้ในการสืบค้น ดงั น้ี พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 การที่กำหนดปี พ.ศ. 2558 – 2563 ไวใ้ นชอื่ เรอื่ งวิจัยนน้ั เนื่องมาจากในช่วงแรกทเี่ ริ่มดำเนินการวจิ ัย ยังอยู่ในช่วงต้นปีที่งานวิจัยปี พ.ศ. 2563 ยังไม่ค่อยได้รับการเผยแพร่ จึงอาจจะทำให้ไม่ได้งานวิจัยในการ สืบค้นในปี พ.ศ. 2563 แต่เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติและดำเนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 น้ัน เป็นช่วงเวลาท่ีมีการเผยแพร่งานวิจัยปี พ.ศ. 2563 แล้ว ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตระยะเวลาในการสืบค้น ดงั กลา่ วเพอ่ื ใหง้ านวจิ ัยเป็นปจั จุบันมากท่สี ุด ประโยชน์ท่ไี ดร้ ับ ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยจะได้มาซึ่งองค์ความรู้และแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวกับผู้สูงอาย ุ ในมิติด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งหน่วยงานท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม สามารถนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุในประเทศ และ การดำเนนิ งานด้านนโยบายทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับผสู้ ูงอายตุ อ่ ไป 5การสังเคราะห์งานวจิ ยั ผูส้ ูงอายุในประเทศไทย บทที่ 2 การทบทวนเอกสารและงานวจิ ัยท่เี กี่ยวขอ้ ง การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุสิ่งที่ควรตระหนักคือความต้องการและสภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งม ี ส่ิงท่ีต้องศึกษาให้ครอบคลุมทุกมิติได้แก่ มิติด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจและด้านสภาพแวดล้อม ซ่ึงการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุท่ีผ่านมาพบในเร่ืองของการดูแลสุขภาพกาย โรคในผู้สูงอายุและสมอง ผู้สูงอายุ ในลกั ษณะตดิ บา้ น ตดิ เตยี ง ตดิ สงั คม มผี ลใหม้ มุ มองเรอื่ งผสู้ งู อายสุ ว่ นใหญอ่ ยใู่ นภาวะพง่ึ พงิ อกี ทง้ั ขาดการเตรยี ม ความพร้อมด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์อย่างมีคุณภาพเป็นไปได้ยาก เพื่อให้สอดคลอ้ งกบั ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่มงุ่ ให้เกิดการ พัฒนาคนในทกุ มติ ิและในทกุ ช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ ในประเด็นที่เก่ียวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ ได้แก ่ การพัฒนาศกั ยภาพคนตลอดชว่ งชวี ิต การส่งเสรมิ ให้ผู้สูงอายเุ ปน็ พลังในการ ขับเคลื่อนประเทศ และการสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์และการสร้างคุณค่าทางสังคม ในการพัฒนาประเทศ ผู้ศึกษาจึงได้ทบทวนเอกสารและงานวิจยั ทเ่ี กีย่ วข้องกับการวจิ ัยครั้งนี้ประกอบดว้ ย 2.1 การดำเนนิ งานดา้ นผู้สูงอายุ 2.2 การดแู ลผสู้ ูงอายุ 2.3 สุขภาพของผูส้ ูงอายุ 2.4 สภาพแวดลอ้ มท่เี หมาะสมสำหรับผู้สงู อายุ 2.5 งานวจิ ัยทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับการสงั เคราะหง์ านวิจัยผูส้ ูงอาย ุ 2.1 การดำเนินงานดา้ นผูส้ ูงอายุ ● นยิ ามของผ้สู งู อาย ุ อาชัญญา รัตนอุบล (2559) “ความสูงอายุ” หมายถึง กระบวนการเปล่ียนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในระยะสุดท้ายของช่วงอายุมนุษย์ ความสูงอายุหรือความชราภาพเกี่ยวข้องกับความเส่ือมถอยท้ังทางร่างกาย จิตใจและพฤตกิ รรม ทเ่ี กดิ ข้นึ ตามอายุ วยั สูงอายเุ ปน็ วยั ทีบ่ ุคคลตอ้ งเผชญิ กบั วกิ ฤตกิ ารณ์อย่างมากมาย อันเริ่ม มาตั้งแต่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งโดยมากเป็นไปในทางลบ ดังน้ัน ความชราภาพจึงเกี่ยวข้องกับความเสื่อมถอย ท้ังทางร่างกายและจติ ใจ ความสามารถทางร่างกายลดลง ความสามารถในการปรบั ตัวกับสภาพแวดลอ้ มตา่ ง ๆ ลดลง ซึง่ สอดคล้องกบั สทุ ธิพงศ์ บุญผุดง (2554) ที่กลา่ วว่า “ผ้สู งู อายุ” เป็นบุคคลทีอ่ ยู่ในวัยระยะสุดทา้ ยของ ชีวิต โดยถือว่าเป็นช่วงวัยมีการเปล่ียนแปลงทางด้านความเส่ือมทางร่างกายและจิตใจ ดังน้ัน บุคคลที่อยู่ใน 6 การสังเคราะหง์ านวิจยั ผู้สงู อายใุ นประเทศไทย ช่วงวัยนี้เป็นบุคคลท่ีมีความอ่อนแอทางร่างกายและจิตใจ และยังเป็นวัยที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ต้ังแต่ร่างกาย จิตใจ และสังคม และ วิภานันท์ ม่วงสกุล (2558) ยังกล่าวอีกด้วยว่า “ผู้สูงอายุ” เป็นคำท ่ี ใช้เรียกบุคคลท่ีเข้าสู่วัยชราหรือเป็นผู้ท่ีมีอายุมาก มีลักษณะทางร่างกายท่ีปรากฏเห็นได้ชัด ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมขาว เป็นตน้ วิภานนั ท์ มว่ งสกุล (2558) นยิ ามคำวา่ “สงู อายุ” คือ คำที่ใชเ้ รยี กบุคคลท่เี ข้าสู่วยั ชราหรือเป็นบุคคล ที่มีอายุมาก ซ่ึงหมายถึงว่าเป็นบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เม่ือทำการนับตามวัยตามปฏิทิน นอกจากน ้ี การนยิ ามความเปน็ ผสู้ งู อายยุ งั สามารถนยิ ามจากเสน้ แบง่ ชว่ งวยั โดยอา้ งองิ จากคำนยิ ามขององคก์ ารอนามยั โลก ที่กำหนดถึงความหมายของผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ท่ีมีอายุ 60 ปีหรือมากกว่าเม่ือนับ ตามวัย สำหรับประเทศ ท่ีพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ที่อายุ 65 ปี เช่นเดียวกับ สุวรรณา เตชะธีระปรีดา (2557) ท่ีอธิบายคำว่า “ผู้สูงอายุ” เป็นช่วงวัยที่เกษียณออกจากงาน โดยใช้เกณฑ์การเกษียณอายุเข้ามากำหนดความเป็นผู้สูงอายุ แตล่ ะพนื้ ที่กก็ ำหนดเกณฑ์ทแี่ ตกต่างกนั โดยเกณฑ์ของตา่ งประเทศ คอื บคุ คลทม่ี อี ายุต้ังแต่ 65 ปขี ึน้ ไป หรือ เกณฑ์ของประเทศไทย คอื บุคคลทม่ี ีอายุตงั้ แต่ 60 ปขี ึน้ ไป ท้งั น้ี สทุ ธิพงศ์ บุญผุดง (2554) กย็ ังอธบิ ายอกี ว่า “ผู้สูงอายุ” คือ ช่วงวัยหนึ่งของบุคคลที่มีอายุตามเกณฑ์ ตัดสินความชราว่าเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี เปน็ ตน้ ไป จากการศึกษาข้างต้นพอสรุปได้ว่า “นิยามของผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นบุคคลที่เข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเส่ือมถอยทางร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ในการปรับตวั กบั สภาพแวดลอ้ มต่าง ๆ ลดลง ● นโยบายการดำเนนิ งานด้านผสู้ ูงอาย ุ ปรากฏการณท์ ่ีเกดิ ขน้ึ กับประเทศตา่ ง ๆ ท่ัวโลก คอื การสงู อายุของประชากร ประเทศไทยก็ได้เข้าสู่ สังคมสูงอายุเช่นเดียวกัน โดยในปี พ.ศ. 2564 จะมีผู้สูงอายุในประเทศมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากร ท้ังหมด ความท้าทายจากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ คือ ประชากรสูงอายุจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีท้ังทางด้าน สขุ ภาพ เศรษฐกจิ สงั คม และสภาพแวดลอ้ ม และกลมุ่ ประชากรกอ่ นวยั ผสู้ งู อายุ จะตอ้ งมกี ารเตรยี มความพรอ้ ม เพ่ือก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุท่ีมีคุณภาพ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการขับเคล่ือนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ภายใต้แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 และได้มีการประกาศพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อให้การคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุน ผู้สูงอายุตามสิทธิที่พึงได้รับ แต่การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุที่ผ่านมา ยงั ไมเ่ ปน็ ไปในทศิ ทางเดยี วกนั ขาดการบรู ณาการระหวา่ งหนว่ ยงานและภาคเี ครอื ขา่ ยทเี่ กยี่ วขอ้ ง หากประเทศไทย ยงั ไมบ่ รู ณาการงานดา้ นผสู้ งู อายอุ ยา่ งแทจ้ รงิ อาจไมส่ ามารถจดั การกบั ความทา้ ทายทจ่ี ะเกดิ ขน้ึ จากการกา้ วเขา้ ส ู่ สังคมสูงอายุได้ สำหรับความท้าทายการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ พบว่า มี 5 มิติ คือ มิติด้านสังคม มิต ิ ด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งกรมกิจการ ผูส้ ูงอายุ (2562) ไดอ้ ธบิ ายไว้ดงั นี ้ 1. มติ ดิ ้านสังคม คอื ความจำเป็นดา้ นการดแู ล เป็นความท้าทายทเี่ พ่ิมมากขึน้ อยา่ งต่อเนือ่ ง โดยต้อง มีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ควบคู่ไปกับส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน เป็นกลไก ในระดบั พืน้ ทีด่ ูแลและเฝ้าระวังทางสังคม 2. มิติดา้ นสขุ ภาพ คอื ความจำเป็นต้องสง่ เสรมิ ปอ้ งกัน ฟื้นฟู และพฒั นาระบบสุขภาพ เพื่อรองรบั สงั คมสงู อาย ุ 7การสังเคราะห์งานวิจัยผ้สู ูงอายใุ นประเทศไทย 3. มิติด้านเศรษฐกิจ คือ ความจำเป็นต้องมีการส่งเสริมเร่ืองการออมเพื่อวัยเกษียณ รวมทั้งส่งเสริม ใหผ้ ้สู ูงอายุทีย่ ังแขง็ แรง มีสขุ ภาพดีใหไ้ ดร้ บั โอกาสในการทำงานและประกอบอาชีพอิสระ เพือ่ ให้สามารถพง่ึ พา ตนเองได้ และเปน็ กำลังในการผลิตและพฒั นาประเทศได้ตอ่ ไป 4. มติ ดิ ้านสภาพแวดล้อม คือ การปรับสภาพแวดล้อมภายในบา้ น จัดสง่ิ อำนวยความสะดวก บริการ ขนส่งสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างสะดวกและ ปลอดภัย 5. มติ ดิ า้ นเทคโนโลยแี ละนวตั กรรม คอื ควรมกี ารใชป้ ระโยชนจ์ ากเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมทที่ นั สมยั ให้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อเป็นการตอบสนองการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน รวมถึงสง่ เสรมิ ฟ้ืนฟูสขุ ภาพ การเข้าถึงข้อมูลขา่ วสารทร่ี วดเร็ว สำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ (2562) ไดร้ ายงานสถานการณส์ งั คมสงู วยั หนว่ ยงาน ภาครฐั จำเป็นต้องหามาตรการรองรับอย่างเปน็ ระบบ ซึง่ สำนกั งานคณะกรรมการสุขภาพแหง่ ชาติ (สช.) ไดจ้ ัด ประชุมสมัชชานโยบายรองรบั สังคมสูงวยั ครัง้ ท่ี 1 เม่ือวนั ท่ี 4 กรกฎาคม 2562 เพ่ือจดั ทำข้อเสนอเชงิ นโยบาย สาธารณะรองรับสังคมสูงวัยท่ีครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสุขภาพ มิติสภาพแวดล้อม และ มิติสังคม โดยจะเสนอต่อหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในท่ีประชุม ผศ.ทพ.วีระศกั ด์ิ พุทธาศรี ประธานกรรมการดำเนนิ การประชุมสมัชชานโยบายรองรับสงั คมสูงวัย ได้อธิบายว่า ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานท่ีขับเคลื่อนในเรื่องนี้ แต่มักแยกส่วนกันทำงานและทำเฉพาะประเด็นของตนเอง สช. จึงทำการศึกษาและรวบรวมข้อเสนอจากภาคส่วนต่าง ๆ มาทำให้เกิดการบูรณาการในการวางแผน รวมถึงจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนมติสมัชชาเฉพาะประเด็นว่าด้วยนโยบายรองรับสังคมสูงวัย ซ่ึงประกอบด้วยภาค ี ที่หลากหลาย คอยติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตลอด ระยะเวลาท่ีผ่านมาประเทศไทยยังมีช่องว่างด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรและการพัฒนาระบบ เพื่อรองรับสงั คมสงู วยั ท่ปี ระชมุ สมชั ชาฯ จงึ มีข้อเสนอเชงิ นโยบาย 4 มติ ิ ได้แก ่ 1. ด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นเร่ืองการออมหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างท่ีกำลังเริ่มเป็นที่สนใจ คือ การออมด้วยการปลูกไมย้ นื ตน้ โดยสมชั ชาฯ เสนอให้กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อมรับรองสิทธิ ของผู้ปลูกในการตัด แปรรูป และจำหน่ายไม้ยืนต้นในพ้ืนที่กรรมสิทธิ์ตนเองได้ และให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับส่วนอื่น ๆ จัดต้ังองค์กรส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อการออม โดยรับรองให้ไม้ยืนต้นเป็นหลักทรัพย ์ ในการทำธรุ กรรมตา่ ง ๆ ได้ เชน่ การประกันตวั การกูย้ ืม การลงทะเบยี นเรียน เป็นตน้ 2. ด้านสังคม เน้นการเสริมสร้างศักยภาพและชมรมผู้สูงอายุ เพราะการรวมกลุ่มเป็นเร่ืองสำคัญ ที่จะทำให้เกิดสุขภาวะ ข้อเสนอของสมัชชาฯ คือ การมีพ้ืนที่กลางที่เป็นมิตรและเข้าถึงได้สำหรับผู้สูงอาย ุ ในทุกพ้ืนที่ เพ่ือให้เกิดการทำกิจกรรมภายใต้การบริหารงานของผู้สูงอายุเอง โดยหน่วยงานต่าง ๆ สามารถ ให้การสนบั สนนุ ผ่านพ้นื ทีก่ ลางดงั กล่าวได้ 3. ด้านสภาพแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุท่ีช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ร้อยละ 5 ผู้สูงอาย ุ อยู่ตามลำพัง ร้อยละ 11 ผู้สูงอายุอยู่กับคู่สมรส ร้อยละ 21 แต่การเดินทางของผู้สูงอายุไทยเป็นไปอย่าง ยากลำบาก ต้องพ่ึงพงิ ผู้อน่ื ทำให้ผู้สูงอายสุ ว่ นใหญ่จำเปน็ ตอ้ งอยแู่ ต่บ้าน จงึ เสนอวา่ ให้ขยายโครงการ 1 ตำบล 1 ศนู ย์อยู่ดี ออกไปยงั พื้นทตี่ ่าง ๆ ทว่ั ประเทศ 8 การสังเคราะห์งานวิจยั ผสู้ ูงอายใุ นประเทศไทย 4. ด้านสุขภาพ เนื่องจากมีผู้สูงอายุที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ ที่ประชุม ได้เสนอให้มีการระดมทรัพยากรท่ีมีอยู่ในชุมชน เช่น ศาสนสถาน สถาบันการศึกษา หน่วยบริการสุขภาพ เข้ามาชว่ ยดูแลคนในชมุ ชน สรา้ งสหกรณ์ออมทรพั ย์ เพอ่ื สนบั สนุนการดูแลผสู้ ูงอายรุ ะยะยาว รวมถงึ การสรา้ ง ความรอบรดู้ า้ นสขุ ภาพผ่านเครอ่ื งมอื อย่างสมชั ชาสุขภาพพืน้ ท่ี ธรรมนญู สขุ ภาพพนื้ ที่ เป็นตน้ นอกจากนี้ ผศ.ทพ.วีระศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากท่ีประชุมรับรองมติท้ังหมดเป็นที่เรียบร้อย จะได้ นำเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี จากนั้นจะมีการหารือร่วมกับกระทรวง และหน่วยงานทเี่ ก่ยี วข้อง เพ่อื ตดิ ตามและขบั เคลือ่ นประเด็นเหล่านใี้ หเ้ กดิ ข้ึนจรงิ (สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสรา้ งเสรมิ สุขภาพ, 2562) ในทป่ี ระชมุ ดงั กล่าว ศ.กิตตคิ ุณ เทียนฉาย กรี ะนนั ทน์ อดตี ประธานสภาปฏริ ปู แหง่ ชาติ (สปช.) และ ที่ปรึกษากรรมการสนับสนุนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพ่ือสุขภาวะรองรับสังคมสูงวัย กล่าวปาฐกถาใน หัวขอ้ “อนาคตประเทศไทยกบั สังคมสูงวยั ” ตอนหน่ึงว่า สง่ิ ทนี่ ่ากังวลและควรอภปิ รายกนั ให้มากคือ นโยบาย รองรับสังคมสูงวัยซ่ึงเป็นเร่ืองใหญ่มาก ทุกองคาพยพของสังคมต้องร่วมมือกัน จึงควรขยายการศึกษาและ ดำเนินการให้ครอบคลุมยิ่งข้ึน เช่น มิติด้านเศรษฐกิจน้ันไม่ใช่เพียงเรื่องการออม แต่ต้องดูการบริโภค และ การใช้จ่ายของภาครัฐท่ีมีการเปล่ียนแปลงอย่างสำคัญ เพราะปัจจุบันเร่ิมใช้จ่ายกับผู้สูงวัยมากกว่าเด็ก อีกท้ัง ต้องทำความเข้าใจเกีย่ วกับพลวัตการเปล่ียนแปลงประชากรวา่ จดุ สำคญั คอื อตั ราการตาย นับตง้ั แตก่ ารเริม่ ทำ สำมะโนประชากรในปี 2490 ทำให้วิเคราะห์อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยได้ ในเวลานั้นอายุคาดเฉลี่ยอยู่ท ี่ 45 - 47 ปีเท่านั้น แต่ปัจจุบันคนอายุยืนยาวมากข้ึน ดังน้ัน ปัญหาไม่ใช่เฉพาะอัตราการเกิดที่ลดลง แต่สิ่งท ่ ี สง่ ผลใหเ้ ปลย่ี นโครงสร้างประชากรมาก คือ การตาย นกั ประชากรศาสตร์ต้องอธบิ ายให้คนท่ีเกย่ี วข้องกับเรื่อง สงั คมสูงวยั เขา้ ใจ ปัจจบุ ันไทยมีประชากรทีอ่ ายมุ ากกวา่ 90 ปเี พมิ่ ขึ้นเรอ่ื ย ๆ ดงั นนั้ ในครอบครวั หนง่ึ จึงไมไ่ ดม้ ี ผู้สูงวัยแค่ 1 รุ่น แต่อาจมีถึง 2 รุ่น ปัญหาน้ีน่าห่วงอย่างยิ่ง การพิจารณาสถานการณ์สังคมสูงวัยจึงต้องมอง ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา อดีตประธานกรรมาธิการปฏิรูปสังคมและ ชุมชนฯ สปช. สนบั สนนุ ว่า สังคมสูงวยั เป็น 1 ใน 5 ปัจจยั ทที่ ำให้ประเทศไทยอยแู่ บบเดิมไม่ได้ โดยอกี 4 เร่ือง ท่ีเหลือ คือ การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน อาหารและน้ำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ซ่ึงข้อเสนอ เชงิ นโยบายเรอื่ งสงั คมสงู วยั นน้ั ถงึ แมจ้ ะมกี ารขยายการศกึ ษาและนำเสนอเปน็ 4 มติ ิ แตก่ ย็ งั ไมเ่ พยี งพอภายใต ้ แบบแผนของสังคมท่ีเปล่ียนแปลงไป เนื่องจากสังคมมีระบบโครงสร้างวิธีคิดที่สูงวัยและยากต่อการเท่าทันโลก สงิ่ ทอี่ ยากใหม้ งุ่ เนน้ คอื ชมุ ชนยงั คงเปน็ ฐานพระเจดยี ท์ ส่ี ำคญั ปจั จบุ นั มหี ลายชมุ ชนทเ่ี ปน็ ตน้ แบบการเตรยี มพรอ้ ม เรื่องน้ีให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่นให้มากขึ้น เอ็นนู ซ่ือสุวรรณ ประธาน กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ กล่าวว่า หวั ข้อหนึ่งท่ีถอื วา่ สำคญั มากในยทุ ธศาสตร์ชาติ คอื สงั คมสงู วยั มกี ารพูดถงึ การดแู ลผ้สู งู วยั ในเชิงรุกมากขึ้น ซ่ึงไม่ใช่หน้าที่รัฐบาลเท่าน้ัน ทุกภาคส่วนต้องร่วมขับเคล่ือน เน่ืองจากสังคมสูงวัยเป็นเร่ือง ของทุกคน อีกทั้งประเด็นท้าทายมีหลายประการ เช่น การออมเงินเพ่ือเตรียมความพร้อมก่อนเป็นผู้สูงอาย ุ ซึ่งพบว่ามีน้อยมากเพียง 1 ใน 3 ของประชากรท่ีมีการเตรียมความพร้อม ดังน้ัน ในเบ้ืองต้นต้องทำให้ ประชากรวยั 40 ปขี น้ึ ไปตระหนกั รอบรู้ และเตรยี มการทกุ ดา้ นกอ่ นเขา้ สวู่ ยั ชรา สว่ นผทู้ อี่ ายุ 60 ปขี น้ึ ไปแลว้ นนั้ ตอ้ งไดร้ ับการส่งเสริมใหถ้ า่ ยทอดความรู้ ภูมิปญั ญา และประสบการณใ์ หก้ ับคนรนุ่ หลัง รวมถงึ การสร้างโอกาส สร้างงานให้ผู้สูงอายุที่ยังสามารถทำงานได้ เพ่ือให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การผลักดันนโยบายสาธารณะเพ่ือ รองรับสังคมสูงวัย เป็นความท้าทายท่ีประเทศไทยต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้ การสร้างฐานชุมชนและสังคม 9การสงั เคราะห์งานวจิ ยั ผสู้ งู อายุในประเทศไทย ท่ีเข้มแข็งอาจเป็นทางออกหน่ึงของปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่สำคัญการแก้ไขสถานการณ์นี้ไม่ใช่ภาระของ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซ่ึงต้องอาศัยกระบวนการมีร่วมส่วนของทุกฝ่าย (สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสรา้ งเสริมสุขภาพ, 2562) CONS magazine (2563) เม่ือวันที่ 29 กันยายน 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการ มาตรการขับเคลื่อนสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน 4 มิติ (เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สุขภาพ และสังคม) (มาตรการฯ) ตามท่ีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โดยให้ พม. เป็น หนว่ ยงานหลกั ในการดำเนนิ การและตดิ ตาม และใหห้ นว่ ยงานทเี่ กยี่ วขอ้ งนำไปสกู่ ารปฏบิ ตั ติ อ่ ไป โดยกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีว่า ปัจจุบันสัดส่วนผู้สูงอาย ุ ในประเทศเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทำให้ฐานภาษีของประเทศแคบลง ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้จาก ภาษีเงินได้ของภาครัฐที่จะนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศลดลงตามไปด้วย ในขณะท่ีค่าใช้จ่ายในการจัด สวัสดกิ ารแก่ผูส้ ูงอายุมีจำนวนเพม่ิ มากขน้ึ เชน่ เบี้ยยงั ชพี ผู้สงู อายุและคา่ รักษาพยาบาล เปน็ ตน้ ซึง่ อาจนำไปสู่ การขาดดุลงบประมาณและการสะสมหน้ีสาธารณะเพ่ิมข้ึนได้ในอนาคต จึงได้มีการจัดทำมาตรการฯ เพื่อ เป็นการเตรยี มความพรอ้ มรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนทัง้ ระบบ โดยใช้เทคโนโลยแี ละนวตั กรรมสนบั สนุน การขับเคลื่อนงานทุกมิติ และเพื่อให้มีกลไกขับเคล่ือนงานรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนอย่างต่อเนื่อง ทั้งน้ี ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เม่ือวันที่ 10 เมษายน 2563 ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มีมต ิ เห็นชอบให้ พม. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบมาตรการฯ และมาตรการดังกล่าวได้ผ่าน กระบวนการรับฟังความคิดเหน็ จากผู้มสี ว่ นไดส้ ว่ นเสยี ทกุ ภาคสว่ นท่เี กย่ี วข้องสรุปได้ (ตารางที่ 2.1) ดังน้ ี ตารางท่ี 2.1 มาตรการฯ เพ่ือเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนของกระทรวง การพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนษุ ย์ มาตรการ ตัวอยา่ งวิธีการดำเนินการ มิติเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย 8 ประเด็นเร่งดว่ น ไดแ้ ก ่ 1. การบรู ณาการระบบบำนาญ และระบบการออม เสนอร่างพระราชบญั ญตั คิ ณะกรรมการนโยบาย เพอ่ื ยามสูงอายุ และการปฏิรูประบบการเงินการคลงั บำเหน็จบำนาญแหง่ ชาติ พ.ศ. .... เพ่ือสรา้ งระบบบำนาญ ทีเ่ หมาะสมเพ่ือรองรบั สังคมสูงวัย และการออมที่ม่นั คง เพยี งพอ และยงั่ ยนื (คณะรฐั มนตร ี มมี ตอิ นุมตั ใิ นหลกั การแล้ว เมอ่ื วันท่ี 8 พฤศจิกายน 2559 2. การส่งเสริมและสนบั สนนุ ประชากรวัยทำงาน ปรบั ปรงุ พระราชบญั ญัติกองทุนการออมแห่งชาติ กล่มุ ที่ไม่ใช่ลูกจา้ งในการเตรยี มความพรอ้ มเพอ่ื การเข้าสู่ พ.ศ. 2554 โดยสง่ เสริมการสมคั รสมาชิกซึ่งมรี ปู แบบ การใช้ชวี ิตยามสูงอาย ุ สอดคล้องกบั อาชีพและรายได้ทแี่ ตกตา่ งกนั 3. การสง่ เสรมิ และสนับสนุนประชากรวัยทำงานกลุ่มลกู จา้ ง จดั ตงั้ กองทุนสำรองเลีย้ งชีพภาคบังคบั ในรูปแบบ ในการเตรียมความพรอ้ มเพอื่ การเข้าสกู่ ารใชช้ ีวติ ยาม ของกองทนุ บำเหน็จบำนาญแห่งชาต ิ สงู อายุ 4. การขยายอายกุ ารทำงาน - ขยายอายุเกษียณราชการเปน็ 65 ปี เฉพาะบางสายงาน (ไม่ครอบคลุมตำแหนง่ บรหิ าร) - กำหนดใหม้ มี าตรการส่งเสริมใหภ้ าคเอกชนขยายอายุ การทำงานของลูกจา้ ง 10 การสงั เคราะห์งานวจิ ยั ผ้สู ูงอายุในประเทศไทย ตารางท่ี 2.1 (ตอ่ ) มาตรการ ตวั อย่างวิธีการดำเนินการ 5. การสนบั สนุนและสร้างระบบการออมทงั้ แบบถ้วนหนา้ สร้างระบบการออมอยา่ งถว้ นหนา้ และส่งเสริมการออม และสมคั รใจผา่ นกลไกตา่ ง ๆ เพ่อื รองรบั ความต้องการ ภาคสมัครใจในรปู แบบต่าง ๆ ในยามสูงอาย ุ 6. การสนบั สนุนการเพ่ิมพนู ทกั ษะและอาชพี ทางเลือกท่ี 2 สนบั สนุนค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มพูน ในวยั ทำงานและหลงั เกษยี ณ เพอ่ื ใชป้ ระโยชนใ์ นยามสงู อาย ุ ทกั ษะจากสถาบนั และภาคธุรกิจเอกชน 7. การกระจายแหล่งการจา้ งงานใหอ้ ยใู่ กล้ชุมชนชนบท สรา้ งแรงจงู ใจให้อตุ สาหกรรม พาณชิ ยกรรม และบรกิ าร ไปตง้ั ในต่างจังหวัด 8. การจงู ใจให้คนตา่ งชาติที่มคี ณุ ภาพและต้องการทำงาน จงู ใจและอำนวยความสะดวกใหผ้ ทู้ ีม่ คี ณุ ภาพสนใจ ในประเทศไทยอย่างถาวรได้มีโอกาสทำงานและพำนัก และเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในประเทศไทย หน่วยงานรบั ผดิ ชอบ ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.), กระทรวงแรงงาน (รง.), กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคง ของมนษุ ย์ (พม.), กระทรวงอตุ สาหกรรม (อก.), สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนกั งาน ก.พ.), สำนกั งานคณะกรรมการส่งเสรมิ การลงทนุ และสำนักงานตรวจคนเขา้ เมือง มิติสภาพแวดลอ้ ม ประกอบด้วย 4 ประเดน็ เรง่ ดว่ น ได้แก่ 1. การปรับปรุงกฎกระทรวงให้มผี ลใชบ้ งั คบั ใหส้ อดคลอ้ ง แกไ้ ขกฎกระทรวงทเี่ กยี่ วขอ้ ง รวม 3 ฉบบั เชน่ กฎกระทรวง ครอบคลุม และมีประสทิ ธภิ าพในการบังคับใช้มากขนึ้ กำหนดสิง่ อำนวยความสะดวกในอาคารสำหรบั ผู้พกิ าร หรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวง กำหนดลักษณะ หรอื การจัดให้มอี ุปกรณ์ส่ิงอำนวย ความสะดวก หรือบรกิ ารในอาคาร สถานที่ หรือบริการ สาธารณะอ่ืน เพ่ือให้คนพิการสามารถเขา้ ถงึ และ ใชป้ ระโยชนไ์ ด้ พ.ศ. 2555 2. งบประมาณในการสรา้ งอาคาร โครงสรา้ งพื้นฐาน ขอมติคณะรัฐมนตรใี หห้ น่วยงานท่ีเกี่ยวขอ้ งดำเนนิ การ (เชน่ ถนน ระบบขนส่งมวลชน เปน็ ตน้ ) ตอ้ งสอดคลอ้ งกบั อย่างเครง่ ครดั กฎกระทรวงท่ีแกไ้ ขแลว้ 3. ให้มีการรายงานผลและตรวจตดิ ตามอาคารสว่ นราชการ ขอมติคณะรฐั มนตรีใหห้ น่วยงานทเ่ี กี่ยวข้องดำเนนิ การ ทง้ั หมดวา่ ได้ดำเนินการแก้ไขตั้งแต่เดอื นพฤษภาคม 2552 ร่วมกบั องค์กรผูส้ งู อายุ คนพกิ ารในพน้ื ทตี่ รวจติดตาม แล้ว แตข่ าดความครอบคลมุ และไม่ตอ่ เนือ่ ง และมอบประกาศรบั รองอาคารท่ีผ่านเกณฑ์ 4. ใหอ้ งคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ (อปท.) มภี ารกจิ ใหม้ ีประกาศกระทรวงมหาดไทย (มท.) และรายละเอยี ด ในการปรบั สภาพแวดลอ้ มบา้ นผู้สูงอายใุ นชมุ ชนได้ กฎเกณฑเ์ รอ่ื งการปรบั สภาพแวดลอ้ ม บา้ นผสู้ งู อายใุ นชมุ ชน หนว่ ยงานรับผดิ ชอบ ไดแ้ ก่ กระทรวงการคลัง (กค.), กระทรวงคมนาคม (คค.), กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมนั่ คง ของมนุษย์ (พม.), กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานทีเ่ ก่ียวขอ้ ง 11การสังเคราะหง์ านวจิ ัยผูส้ ูงอายใุ นประเทศไทย ตารางท่ี 2.1 (ตอ่ ) มาตรการ ตวั อย่างวิธีการดำเนินการ มิตสิ ุขภาพ ประกอบดว้ ย 3 ประเดน็ เร่งด่วน ไดแ้ ก ่ 1. บูรณาการศนู ยพ์ ฒั นาคณุ ภาพชีวิตระดบั ตำบล บรู ณาการกิจกรรมศูนยฟ์ ื้นฟสู มรรถภาพหลังการเจ็บปว่ ย เพือ่ ทำหน้าท่ีเป็นหนว่ ยปฏิบัตกิ าร (Operation Unit) เฉยี บพลันและศนู ย์พฒั นาคุณภาพชวี ิตและสง่ เสริมอาชพี ในการบรู ณาการกจิ กรรมและทรพั ยากร ผู้สงู อายเุ ขา้ ดว้ ยกนั 2. การยกระดับผู้บริบาลมืออาชพี - กำหนดคุณสมบัตมิ าตรฐาน Formal (Paid) Care Giver - มกี ารสอบและออกใบอนุญาต/รบั รองจากสว่ นกลาง 3. การจัดให้มศี นู ยฟ์ ืน้ ฟสู ุขภาพทกุ อำเภอควบคูก่ บั บรกิ าร การส่งเสรมิ ใหโ้ รงพยาบาล (ประจำอำเภอ) มีศนู ย์ฟน้ื ฟูฯ ฟืน้ ฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ผ้ปู ่วยระยะกลาง ครบทกุ อำเภอภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2567) (Intermediate Care) หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบ ไดแ้ ก่ พม. มท. กระทรวงวฒั นธรรม (วธ.) กระทรวงศกึ ษาธกิ าร (ศธ.) และกระทรวงสาธารณสขุ (สธ.) มิติสงั คม ประกอบด้วย 4 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก ่ 1. เพมิ่ บทบาท อปท. ให้เปน็ ผ้รู บั ผดิ ชอบหลัก คณะรัฐมนตรีควรมมี ติใหส้ ำนักงานคณะกรรมการ ในการบูรณาการและขับเคล่ือนงานพัฒนาคณุ ภาพชีวิต การกระจายอำนาจใหแ้ ก่ อปท. กำหนดกรอบภารกิจ ประชาชนในทกุ มิติ และพัฒนาระบบรองรบั สงั คมสูงวยั ของ อปท. ให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงระบบรองรับสงั คมสูงวัย คนไทยอายุยืนได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพและสอดคลอ้ งกับ คนไทยอายยุ นื ของ อปท. บรบิ ทของแต่ละทอ้ งถิ่น 2. การสร้างการมสี ่วนรว่ มของภาคส่วนต่าง ๆ “บวรวชร” - ใชม้ ตคิ ณะรฐั มนตรเี พอ่ื ขอความรว่ มมอื จากมหาเถรสมาคม (บา้ น วดั โรงเรยี น วิสาหกิจ ชมรม โรงพยาบาล) ใหจ้ ัดสรรงบประมาณจากเงินบริจาคที่วัดได้รบั มาใช้ ในการรองรับสังคมสงู วยั ในชมุ ชน ในกิจกรรมรองรบั สังคมสูงวัยในชมุ ชน - ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของภาคเอกชน/วิสาหกิจ ด้วยการขยายผลโครงการวสิ าหกิจเพ่อื สงั คม เชน่ ระบบการดูแลผ้สู ูงอายใุ นเขตเมือง 3. การกำหนดใหม้ ี “ผ้พู ิทกั ษส์ ิทธผิ สู้ ูงอายุ” บัญญัตกิ ฎหมายกำหนดให้มผี ู้พทิ ักษส์ ทิ ธิผสู้ งู อายใุ นกรณ ี ทมี่ ภี าวะพึง่ พงิ หรือสมองเส่ือมท่ไี ม่สามารถชว่ ยเหลอื ตนเอง ในกิจวตั รประจำวนั ได้ตามปกติ เพอื่ ทำหนา้ ทจี่ ัดการ ทรพั ย์สนิ และดูแลชีวิตความเปน็ อยขู่ องผสู้ งู อายุ 4. การส่งเสรมิ ผู้ทีม่ คี วามพร้อมใหม้ ีบตุ รและชะลอ - กำหนดใหห้ น่วยงานราชการ/เอกชน มสี ถานเลย้ี งดูเด็ก การต้งั ครรภข์ องผทู้ ่ไี มพ่ ร้อม - เพม่ิ ค่าลดหยอ่ นบตุ ร หนว่ ยงานรับผดิ ชอบ ได้แก่ กค. พม. รง. มท. วธ. สธ. สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจใหแ้ ก ่ องค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิน่ 12 การสงั เคราะหง์ านวจิ ยั ผู้สูงอายใุ นประเทศไทย ทง้ั น้ี มปี ระเดน็ เรง่ ดว่ นดา้ นเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมรองรบั สงั คมสงู วยั คนไทยอายยุ นื ทตี่ อ้ งดำเนนิ การ เพ่ือสนับสนุนการขบั เคลอ่ื นงานในทุกมิติ ได้แก ่ 1. การจดั ทำบญั ชีนวตั กรรมอุปกรณช์ ว่ ยเหลอื ในการดำรงชีวิตของผูส้ ูงอายุ 2. การออกระเบียบให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ดำเนินภารกิจด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อ พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ผู้สูงอายุ 3. การสง่ เสรมิ ให้มรี ะบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมทีช่ ่วยดูแลสขุ ภาพผู้สงู อาย ุ 4. การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ท้ังทักษะการทำงานและทักษะชีวิต การส่งเสริมการเพ่ิมพูนและ ปรับเปลี่ยนทักษะการทำงานและทักษะชีวิต เพื่อเตรียมคนในวัยทำงานให้พร้อมท่ีจะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ (เรยี นรูใ้ นทท่ี ำงานหรอื ออนไลน์) รัฐบาลได้กำหนดให้วาระผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ผู้สูงอายุแห่งชาติครอบคลุมท้ังกลุม่ กอ่ นวยั สูงอายุ (25 - 59 ป)ี และผ้สู งู อายุ (60 ปีขึ้นไป) สำหรบั กล่มุ กอ่ น วัยสูงอายุ รัฐบาลมีแผนส่งเสริมเน้นเรื่องการออม การไม่มองผู้สูงอายุเป็นภาระ วิธีการดูแลผู้สูงอายุและ การปรบั สงิ่ แวดลอ้ มใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพผสู้ งู อายุ สว่ นกลมุ่ ผสู้ งู อายไุ ดม้ กี ารจดั ทำแผนการดแู ลผสู้ งู อายรุ ะยะยาว ที่ครอบคลุมจำนวนผู้สูงอายุท่ีมีภาวะพ่ึงพิงมากข้ึน เน้นการเสริมทักษะใหม่แก่แรงงานผู้สูงอายุ การออกแบบ การทำงานให้ยืดหยุ่นและสร้างแรงจูงใจให้นายจ้างท่ีจ้างผู้สูงอายุ ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ กิจกรรม CSR ภาคประชาชนในการสร้างงานผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ พร้อมท้ังจัดทำแผนบูรณาการ ด้านสุขภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจ ป้องกัน และดูแลสุขภาพระยะยาวที่บ้านและในชุมชน ตามระดับความจำเป็น สามารถดำรงชวี ติ ได้อยา่ งมศี กั ดศ์ิ รี มีระบบการเงนิ การคลังทย่ี งั่ ยนื ในการดูแลผู้สูงอายุ ทม่ี ีภาวะพึ่งพิง 2.2 การดูแลผสู้ ูงอายุ สำนักส่งเสริมสขุ ภาพ กรมอนามยั (2556) การก้าวสสู่ งั คมผูส้ งู อายขุ องประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 พบว่า ขนาดหรือจำนวนของประชากรรวมและประชากรสงู อายเุ พ่มิ ขึ้น จากปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบันและ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต โดยประชากรผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ข้ึนไป เพ่ิมจาก 1.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 และคาดว่าจะเพิ่มถึง 17.7 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 เม่ือมองถึงสัดส่วน ประชากรวัยสูงอายุเพิ่มสูงข้ึนเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี พ.ศ. 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรไทย จะเป็นผู้สูงอายุ และภายในปี พ.ศ. 2573 คาดประมาณกันว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพ่ิมเป็น 1 ใน 4 ในขณะที่ แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากข้ึน โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 3.6 ในปี พ.ศ. 2537 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุท้ังทาง ร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเกิดความเสื่อมของร่างกาย พบว่า ผู้สูงอายุเกินครึ่ง (ร้อยละ 57.7) มีปัญหา ด้านการมองเห็น การได้ยิน การหกล้ม จากปัญหาของผู้สูงอายุดังกล่าว ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุท่ียังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรงเพ่ือยึดเวลาที่จะ เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังออกไป และในผู้สูงอายุท่ีเจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาจากการลดการเกิดความพิการ หรือ 13การสงั เคราะหง์ านวจิ ัยผสู้ ูงอายุในประเทศไทย ทุพพลภาพ และยึดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของ ผู้สูงอายจุ ึงเปน็ ประเด็นสำคญั ● หลักสูตรการอบรมผู้ดแู ลผู้สงู อายุ สำนักสง่ เสริมสุขภาพ กรมอนามยั (2556) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปญั หาดงั กลา่ วข้างตน้ จึงได้ พัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง สำหรับผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากโรงเรียน สถานบันหรือสถานประกอบการที่เก่ียวข้อง โดยเฉพาะ กลมุ่ อาสาสมคั รสาธารณสขุ (อสม.) เพอื่ ตอบสนองดชั นวี ดั ตามแผนพฒั นาผสู้ งู อายฉุ บบั ท่ี 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้เป็นผ ู้ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏบิ ตั ิการดูแลผสู้ ูงอายุไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ ● สมดุ บนั ทกึ สุขภาพผสู้ งู อายุ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย (2557) ได้มีการจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อใช้สำหรับ บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และเพ่ือการประเมินพฤติกรรมสุขภาพและ สภาวะสขุ ภาพ ซง่ึ สมดุ บนั ทกึ สขุ ภาพผู้สงู อายุ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดงั น ้ี สว่ นท่ี 1 บันทกึ การประเมินด้วยตนเองหรอื ครอบครวั สว่ นที่ 2 บนั ทกึ การประเมนิ ดว้ ยอาสาสมัคร หรือบุคลากรทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สว่ นที่ 3 บันทึกการตรวจรักษาพยาบาล (โดยบุคลากรทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข) สว่ นที่ 4 ภาคผนวก 4.1 การส่งเสริมสุขภาพผสู้ งู อายุ 4.2 โรคท่ีพบบอ่ ยในผู้สูงอายุและการดูแลรกั ษา ● ข้อแนะนำการดูแลผ้สู ูงอาย ุ โรงพยาบาลเปาโล (2564) ไดก้ ล่าวถงึ การปฏบิ ัตติ นที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลกั การดูแลสขุ ภาพ ผ้สู งู อายตุ ามหลัก 5 อ. ได้แก่ 1. อ.อาหาร รบั ประทานอาหารให้หลากหลาย ได้สดั ส่วนเพียงพออิม่ ครบ 5 หมู่ เนน้ ยอ่ ยง่าย และ สะอาด อาหารที่ควรหลกี เลี่ยง เช่น อาหารทม่ี ไี ขมันสงู หวานจัด เคม็ จัด และเครอ่ื งดืม่ ทม่ี ีแอลกอฮอล์ 2. อ.ออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายทุกส่วนสัด กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้สูงอายุควร เคล่ือนไหวออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลากหลายวิธี เช่น ยืดเส้นยืดสาย ยืดเหยียด ช่วยให้กล้ามเน้ือแข็งแรง เดินเร็ว ข่ีจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น และหลีกเล่ียง การแข่งขัน ออกแรง เกินกำลัง ความเรว็ สงู เกรง็ เบ่ง ยกนำ้ หนกั การอยใู่ นสถานที่รอ้ นอบอา้ ว อากาศไม่ถ่ายเท อยู่กลางแดดจา้ 3. อ.อารมณ์ คือ อารมณ์ร่ืนเริงยินดี ชีวีสดใสด้วยรอยยิ้ม จิตแจ่มใส มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด ช่วยเหลอื ใหค้ ำแนะนำแกล่ กู หลาน คนรอบข้าง 4. อ.อดเิ รก สร้างสรรคง์ านอดเิ รก เพมิ่ พูนคณุ ค่า เกือ้ กูลสงั คม หากิจกรรมงานอดเิ รกทชี่ อบ ทำแลว้ เพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟังเพลง ปลกู ตน้ ไม้ 14 การสังเคราะหง์ านวจิ ัยผู้สงู อายใุ นประเทศไทย 5. อ.อนามัย สร้างอนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพท่ีดี หม่ันตรวจ และรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ดูแลสุขภาพช่องปากและ ฟนั งด ละ เลกิ อบายมขุ บุหรี่ เหล้า ของมนึ เมา และสารเสพตดิ การท่ีผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรงมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตท่ีดีได้นั้นไม่เพียงแต่ การเตรียมความพร้อมหรือการปฏิบัติตัวผู้สูงอายุเองเท่าน้ัน ลูกหลาน ครอบครัวก็ควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุด้วย ทั้งน้ีเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตท่ีดี สมาชิกในครอบครัว อันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ ควรปฏิบัติต่อ ผ้สู งู อายุ ดังต่อไปน้ ี 1. ชว่ ยทำใหผ้ สู้ งู อายรุ สู้ กึ วา่ ตนเองยงั มคี ณุ คา่ มคี วามสำคญั และมคี วามหวงั ในชวี ติ เชน่ ขอคำแนะนำ ตา่ ง ๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้สงู อายใุ ห้ควบคุมดแู ลบ้านเรอื น เป็นที่ปรกึ ษาอบรมเลีย้ งดูลูกหลาน 2. ควรระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำท่ีแสดงออกต่อผู้สูงอายุ เน้นความสำคัญของผู้สูงอายุเป็น อนั ดบั แรก ตวั อยา่ งเชน่ เวลารับประทานอาหารเชิญชวนใหร้ บั ประทานอาหารกอ่ นและตกั ข้าวให้ 3. ชวนผู้สูงอายุเล่าเร่ืองเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างต้ังใจ จะทำให้ ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมคี นช่ืนชมในบางสว่ นของชีวติ ของตนอย่ ู 4. อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมท่ีน่าสนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้สูงอายุต้องการไปวัด หรือศาสนสถานตา่ ง ๆ ลูกหลาน ควรจัดเตรยี มข้าวของต่าง ๆ ให้ และจดั การรบั สง่ หรอื ไปเป็นเพ่ือน 5. เอาใจใส่ดูแลเรือ่ งอาหาร และการออกกำลงั กายหรอื ทำงานตามความถนัดใหเ้ หมาะสมกับวัย 6. ท่ีพักอาศัย หากผู้สูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานท่ีท่ีรัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลกู หลานไปเยย่ี มเมอ่ื มโี อกาส ถ้าหากผสู้ งู อายรุ ้สู กึ เปน็ สุข และตอ้ งการอยู่รว่ มกับลูกหลาน ก็ใหอ้ ยู่บา้ น เดียวกนั เพื่อเกดิ ความรสู้ กึ อบอุ่น 7. ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับญาติสนิท และเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน โดยการพาไป เย่ียมเยียน หรือเชิญเพ่ือนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นท่ีคลายเหงา พาไปสถานที่ท่ีเป็นศูนย์รวมของ ผ้สู ูงอายุ เช่น วดั หรอื ชมรมผสู้ ูงอายใุ นชมุ ชน 8. ให้ความสำคัญเห็นคุณค่า และเคารพยกย่องนับถือ ด้วยการเช่ือฟังคำส่ังสอนและข้อแนะนำจาก ผสู้ ูงอายุ รว่ มมือกนั รกั ษาฟ้นื ฟูขนบธรรมเนียมประเพณเี ดมิ ของไทย เชน่ ประเพณีรดนำ้ ดำหัวผ้สู ูงอายุเนอื่ งใน วันสงกรานต์ เป็นต้น 9. ใหอ้ ภยั ในความหลงลมื และความผดิ พลาดทผี่ สู้ งู อายกุ ระทำ และยง่ิ กวา่ นน้ั ควรแสดงความเหน็ อก เหน็ ใจท่เี หมาะสมด้วย 10. ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปตรวจสุขภาพให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเม่ือ เจ็บป่วยหนัก เรอ้ื รงั โรงพยาบาลบางปะกอก8 (2562) ผูส้ งู อายเุ ปน็ วยั ท่ีรา่ งกายเสื่อมสภาพจึงทำใหม้ ีโรคตามอายทุ จี่ ะตอ้ ง ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด การดูแลผู้สูงอายุควรจะดูแลเรื่องอะไรบ้าง และมีโรคของผู้สูงอายุอะไรบ้างที่ ลูกหลานจำเป็นต้องสังเกต เพ่ือการดูแลรักษาได้ทันท่วงที การดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญท่ีต้องเอาใส่ใจและ หมั่นสังเกต ทั้งเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพใจ เพราะอายุมากขึ้นทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพ ไม่กระฉับกระเฉง เหมอื นเดมิ รวมท้งั ครอบครวั ทีต่ อ้ งทำงานอาจทำใหล้ ะเลยการดแู ลผู้สงู อายุ ซง่ึ เปน็ สาเหตทุ ่ีทำใหผ้ สู้ งู อายหุ ดหู่ เศร้า น้อยใจ และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน โรคและอาการที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ โรคผู้สูงอายุที่ต้อง 15การสังเคราะห์งานวิจัยผู้สงู อายุในประเทศไทย ดูแล ไดแ้ ก่ โรคต้อกระจกตา โรคข้อเขาอักเสบ เข่าเส่อื ม ปวดเขา่ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดนั โลหิตสงู โรคหัวใจ และโรคในชอ่ งปาก เหงือกร่อน เหงือกอกั เสบ การสังเกตอาการของโรคที่มักเกิดในผู้สูงอายุ หลายโรคสามารถสังเกตและสอบถามผู้สูงอายุได้เอง เบ้ืองต้น เช่น โรคต้อกระจกตา อาจถามผู้สูงอายุว่ายังเห็นชัดเจนไหม หรือสังเกตว่ามีฝ้าขาวท่ีตาผู้สูงอายุ หรือไม่ โรคข้อเข่าอักเสบ อาจสอบถามว่าปวดหัวเข่าไหม เดิน ยืน ข้ึนบันไดเจ็บหัวเข่าไหม สำหรับบางโรค จะไม่สามารถสังเกตอาการได้ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เรามักจะทราบว่าผู้สูงอายุ ป่วยเป็นโรคเหล่าน้ี กต็ ่อเมื่อเกิดอาการและตอ้ งเข้าโรงพยาบาลแล้ว ดังนั้นส่ิงท่ีควรทำเพื่อปอ้ งกันโรคเหล่านั้น คอื การตรวจสุขภาพสำหรบั ผสู้ งู อายเุ พอ่ื ทราบโรค และไดร้ ับกาดแู ลรกั ษาอย่างถูกตอ้ ง การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 45 ปีข้ึนไป เพราะเป็นวัยท่ีร่างกายเริ่มเส่ือม การเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ จึงควรเลือกจากปัญหาสุขภาพท่ีผู้สูงอายุมักจะเป็นบ่อย ๆ เช่น การตรวจตา การตรวจหวั ใจ การตรวจเบาหวาน หรอื การตรวจการทำงานของไต เพอ่ื ใหม้ น่ั ใจวา่ ผสู้ งู อายจุ ะไดร้ บั การตรวจสุขภาพในรายการหรือโรคท่ีอาจมีความเส่ียงตามวัยท่ีเพิ่มมากขึ้น นอกจากการดูแลเร่ืองสุขภาพ และการตรวจสุขภาพผสู้ งู อายุแลว้ การดแู ลเรอื่ งจติ ใจก็สำคญั ควรมีเวลากับผูส้ ูงอายใุ ห้มากข้ึน ใหค้ วามสำคัญ หรือหากิจกรรมทำร่วมกันบ่อย ๆ เช่น มีเวลาพูดคุยกันหลังกลับจากทำงานหรือก่อนเข้านอน ทำกิจกรรม รว่ มกนั หรอื หาเวลาพาผสู้ งู อายไุ ปเทย่ี วเพอื่ ทำใหร้ สู้ กึ สดชนื่ เพราะเมอื่ ผสู้ งู อายมุ สี ภาพจติ ทดี่ กี ส็ ง่ ผลดตี อ่ สขุ ภาพ เชน่ กนั DoCare Protect (ม.ป.ป.) ปัจจุบนั สดั สว่ นประชากรสงู วัยเพ่มิ จำนวนมากข้นึ เร่อื ย ๆ จนเปน็ “สงั คม ผู้สูงอายุ” อย่างเต็มตัว ซ่ึงการดูแลผู้สูงอายุเป็นเร่ืองสำคัญท่ีลูกหลานต้องเอาใจใส่ สังเกตท้ังเร่ืองสุขภาพ ร่างกายและสุขภาพใจ วธิ กี ารดแู ลผสู้ ูงอายุท่คี วรรแู้ ละพึงปฏิบัติ มดี งั น้ ี 1. การเลอื กทานอาหาร การเลอื กทานอาหารทมี่ ปี ระโยชนเ์ ปน็ สงิ่ สำคญั สำหรบั ผสู้ งู อายเุ ปน็ อยา่ งมาก เน่ืองจากอายุที่มากข้ึน ทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การขับถ่าย มีประสิทธิภาพลดลง รวมไปถึงปัญหาช่องปากและฟัน ส่งผลทำให้การเค้ียวอาหารอาจไม่ละเอียด ดังน้ัน อาหารของผู้สูงอายุควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม เค้ียวง่าย และถ้าผู้สูงอายุเลือกทานอาหารในแต่ละม้ือให้ครบ 5 หมู่ เนน้ สารอาหารจำพวก ไฟเบอรห์ รอื เสน้ ใย โปรตนี วติ ามนิ คารโ์ บไฮเดรต และไขมนั ดี กจ็ ะชว่ ยใหส้ ขุ ภาพ ผสู้ งู อายุแขง็ แรงข้ึน 2. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายวันละนิดช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ตั้งแต่ กระดูก กลา้ มเน้ือ ระบบไหลเวยี นเลอื ด การขับถ่าย รวมไปถึงช่วยในเร่อื งของความจำ แตผ่ ู้สงู อายุสว่ นใหญม่ กั ไม่กล้า ออกกำลังกายเพราะกลัวหกล้ม เข็ดขัดยอก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุท่ีต้องช่วยส่งเสริม การออกกำลังกาย เช่น ช่วยพยุงให้ขยับกายบริหารเบา ๆ พาเดินหรือเดินแกว่งแขนช้า ๆ ให้ได้ทุกวัน อย่างนอ้ ยวันละ 10 - 20 นาที ก็สามารถช่วยให้ผสู้ ูงอายมุ สี ขุ ภาพรา่ งกายทแ่ี ขง็ แรงได้ 3. การออกไปสูดรับอากาศที่บริสุทธิ์ การที่อยู่ในท่ีท่ีมีอากาศบริสุทธิ์ช่วยป้องกันจากโรคต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ ฯลฯ เพราะอากาศท่ีบริสุทธิ์ช่วยล้างสิ่งสกปรกที่อยู่ในปอดได้ แต่ถ้า ผู้สูงอายุได้รับอากาศเสียหรือท่ีเป็นมลภาวะ สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล และเหน่ือยล้า ดังน้ันการอยู่ในท่ีท่ีมีอากาศบริสุทธ์ิจะช่วยให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากโรคและสภาวะ ดังกลา่ วได ้ 16 การสงั เคราะหง์ านวิจัยผูส้ งู อายุในประเทศไทย 4. การป้องกันการเกดิ อบุ ัติเหตุ ปัญหาหลกั ๆ ของผู้สูงอายุ นอกจากปญั หาสขุ ภาพร่างกายท่เี ป็นไป ตามวัยแล้ว คือเรื่องการหกล้มและการล่ืน เน่ืองจากสภาพร่างกายท่ีเส่ือมลงจึงทำให้มีโอกาสท่ีจะเกิดอุบัติเหตุ เหล่าน้ีได้ แต่หลายคนคงคิดว่าการให้ผู้สูงอายุอยู่แต่ในบ้านจะช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ แต่แท้ท่ีจริงแล้ว การเกดิ อุบัตเิ หตกุ บั ผู้สูงอายภุ ายในบ้านกส็ ามารถพบไดบ้ อ่ ย เช่น ลน่ื ล้มในห้องนำ้ ตกบนั ได 5. หลกี เลยี่ งสง่ิ อบายมขุ ทบ่ี น่ั ทอนสขุ ภาพ เมอ่ื อายเุ พม่ิ มากขนึ้ ควรเลกิ ทำสงิ่ ทเี่ ปน็ อนั ตรายตอ่ สขุ ภาพ เชน่ การดม่ื สรุ า สบู บหุ ร่ี และพฤตกิ รรมเสย่ี งตา่ ง ๆ เพราะสงิ่ บนั่ ทอนสขุ ภาพเหลา่ นเี้ ปน็ ตวั เรง่ ความเสอื่ มสภาพ ของรา่ งกายของผสู้ งู อายุใหเ้ ร็วขึ้น 6. ควบคุมนำ้ หนัก การควบคุมน้ำหนกั ไม่ใช่แคก่ ารทำใหร้ ่างกายหุ่นดีเพยี งอยา่ งเดียว แตก่ ารควบคมุ น้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุน้ัน จะช่วยควบคุมเรื่องคอเลสเตอรอล ไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคขอ้ เขา่ เส่อื ม ฯลฯ ได้เป็นอยา่ งด ี 7. สังเกตอาการหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสภาพร่างกาย ท่ีเสมือนยังแข็งแรงดีอยู่ แต่ลูกหลานต้องอย่าลืมสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุบ่อย ๆ เพราะบางครั้งความเจ็บป่วยก็ไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน พอรู้ตัวอีกทีอาจเอาจะอยู่ในระดับ ทร่ี นุ แรงแลว้ ได้ ซง่ึ นอกจากการสงั เกตการเปลย่ี นแปลงทางสภาพรา่ งกายภายนอกแลว้ การสงั เกตการเปลย่ี นแปลง ทางอารมณ์และสภาพจติ ใจของผสู้ งู อายุก็เปน็ เทคนิคทีด่ ีเพ่ือเป็นการเฝา้ ระวัง 8. จัดบ้านให้เหมาะสม การเตรียมบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุเป็นเร่ืองท่ีจำเป็นกับผู้สูงอายุ ภายใน บา้ นไม่ควรมพี นื้ ต่างระดบั เพอ่ื ป้องกนั การสะดุดลม้ พ้ืนในหอ้ งนำ้ ไม่ลืน่ จนเกนิ ไป ควรแยกพ้นื ท่เี ปยี กกบั พนื้ ที่ แหง้ ออกจากกนั มรี าวจับในหอ้ งน้ำหรือห้องท่มี ีการใช้งานบ่อย ๆ โดยมแี สงสว่างทเี่ พยี งพอ 9. ตรวจสุขภาพประจำปี ควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพ่ือตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพ่ือเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ หรือความเจ็บป่วยท่ีอาจเกิดขึ้น ถ้าเกิดพบเจอโรคก็จะสามารถดูแลรักษาได้ทันท่วงที และหมน่ั ทำตามคำแนะนำของแพทย์ 10. หางานอดิเรกใหผ้ ้สู ูงอายทุ ำยามว่าง การหางานอดิเรกให้กับผ้สู งู อายุ จะช่วยลดปัญหาความเหงา ความเครียดได้ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการอยู่คนเดียว ชินกับการอยู่ในสังคมท่ีมีผู้คนมาก ๆ มานาน ดังนั้นการหางานอดิเรกสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุคลายเหงาได้ เช่น การเต้นลีลาศในสมาคมผู้สูงอายุ เลน่ ดนตรี ถา่ ยภาพ อ่านหนังสอื ฝกึ อาชีพ ฯลฯ ถงึ แมว้ า่ ผสู้ งู อายจุ ะเคยมสี ขุ ภาพรา่ งกายทแี่ ขง็ แรง แตเ่ มอื่ อายทุ ม่ี ากขน้ึ ทำใหส้ ภาพรา่ งกายเสอ่ื มถอยลง ดังน้ันสมาชิกในครอบครัวสามารถช่วยดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด เพื่อผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข อยูต่ อ่ ไปในครอบครวั ทีอ่ บอุ่น อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม (2563) ในครอบครัวท่ีมีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอยู่อาศัยด้วย มีความ จำเป็นท่ีคนในบ้านจะต้องสละเวลาส่วนใหญ่มาคอยดูแลผู้สูงอายุหรือดูแลผู้ป่วยติดเตียงเหล่านี้ เพราะพวกเขา ท้ังหลายเป็นบุคคลที่ต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพกายและ สขุ ภาพจิต ดงั นนั้ ผูท้ ที่ ำหนา้ ท่ดี แู ลควรมีความรู้ทถ่ี กู ตอ้ งในการดูแลผ้ปู ว่ ยด้วยเชน่ กนั เนื่องจากเวลาท่ีต้องใช้ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยต้องใช้เวลามากและต้องมีความรู้ ทั้งในเร่ือง ของอาหารที่รับประทาน การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ สุขอนามัย สภาพอารมณ์ รวมถึงต้องคอยระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดข้ึนกับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยด้วยเช่นกัน 17การสังเคราะหง์ านวิจัยผู้สูงอายุในประเทศไทย จะเห็นว่างานเหล่าน้ี มีหลายอย่างที่ต้องจัดการดูแลและแต่ละเร่ืองยังต้องใช้ความละเอียดรอบคอบสูง ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีบริการเนอสซิ่งแคร์ท่ีรับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยเปิดบริการหลากหลายพื้นที่สำหรับคนที่ไม่มี เวลาดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้วยตนเอง หรือต้องการผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุมาทำงานน้ีโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดข้อผิดพลาดอะไร เกดิ ขึน้ ซึง่ การใช้บรกิ ารจะมอี ตั ราคา่ บริการดแู ลผสู้ ูงอายแุ ตกต่างกนั ออกไป โดยส่วนใหญแ่ ลว้ เนอสซิ่งแครจ์ ะมี ใหเ้ ลอื กหลากหลายราคา และยงั มหี ลาย ๆ พน้ื ทที่ เ่ี ปดิ เปน็ ศนู ยด์ แู ลผสู้ งู อายรุ าคาถกู สำหรบั ผทู้ ม่ี รี ายไดไ้ มม่ ากนกั แต่ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุเอง โดยบริการพ้ืนฐานของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมีการให้บริการดูแลฟ้ืนฟู ผู้สูงอายุ ทั้งระยะส้ัน ระยะยาว และรูปแบบเนอร์สซิ่งโฮมระดับพรีเมียม บริการดูแลหลังผ่าตัดการฟ้ืนฟู สมรรถภาพบริการดูแลผู้ป่วยท่ีมีปัญหาเฉพาะด้านหรือหลังออกจากโรงพยาบาล เช่น ภาวะสมองเสื่อม/ อัลไซเมอร์ ผู้สูงอายุที่ต้องการการพยาบาลดูแลใกล้ชิด นอนติดเตียงดูแลตัวเองได้น้อย มีปัญหาอ่อนแรงหรือ ปัญหาหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเคล่ือนไหวได้น้อย จำเป็นต้องได้รับการฟ้ืนฟูหรือกายภาพบำบัด ผู้ปว่ ยภาวะต่าง ๆ ในระยะท้าย และผปู้ ่วยเจาะคอ นอกจากนี้ยังมีบริการดูแลระหว่างวัน สำหรับผู้ท่ีไม่อยากให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยต้องรู้สึกโดดเดี่ยว หรือรู้สึกว่าตนถูกลูกหลานทอดทิ้ง โดยเน้นท่ีบริการด้านสันทนาการที่น่าสนใจและเหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย เนน้ การดแู ลผสู้ งู วยั ระหวา่ งวนั โดยทมี สหวชิ าชพี ทมี่ คี วามรแู้ ละประสบการณ์ บรกิ ารดแู ลจดั อาหารใหเ้ หมาะสม กับความต้องการของผู้ป่วยและผู้สูงอายุแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเสมือนอยู่บ้าน และชว่ ยลดความกงั วลของลกู หลานทตี่ อ้ งการฝากบคุ คลอนั เปน็ ทร่ี กั ใหช้ ว่ ยดแู ล การทำกจิ กรรมสำหรบั ผสู้ งู วยั นน้ั เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพที่ดีและมีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวัน มีการกำหนดกิจกรรม ต่าง ๆ ให้แตกต่างกันออกไปในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ อีกท้ังมีบริการกายภาพบำบัดฟ้ืนฟูผู้สูงวัยหรือ กายภาพบำบดั สำหรบั โรคเสน้ เลอื ดหวั ใจตบี เสน้ เลอื ดในสมองตบี เสน้ เลอื ดในสมองแตก โดยเนน้ ทกี่ ารบำบดั รักษาเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและสร้างทักษะใหม่ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกเดิน การฝึกน่ัง การฝึกหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ภายใต้การดูแลโดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ อย่างใกล้ชิด เน้นการดูแลและฝึกความแข็งแรงของกล้ามเน้ือในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังน้ันผู้ท่ีมีผู้สูงอายุ ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจึงสามารถวางใจในเร่ืองการดูแลผู้ป่วยได้เพราะจะได้รับการดูแลจากผู้เช่ียวชาญในด้านนี้ โดยตรง สำหรับการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเร้ือรังต้ังแต่แรกเข้าโดยทีมงานท่ีมีความรู้ ความสามารถ เพ่ือวางแผนการให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการรายงานผลสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วย แจง้ ให้ทราบอยา่ งต่อเนือ่ งและสมำ่ เสมอ สถานทีใ่ นการดแู ลผูส้ งู อายแุ ละผปู้ ่วยไดร้ บั ความใสใ่ จตัง้ แตโ่ ครงสรา้ ง การตกแต่ง การจัดวางตลอดจนการติดต้ังอุปกรณ์ส่ิงอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับกับสภาพร่างกาย ของผู้ป่วยและผู้สูงวัย มีความสะดวกและปลอดภัย ทุกอย่างได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงสรีระของผู้สูงวัย ภายใต้บรรยากาศที่สดช่ืนและบริสุทธิ์ และอีกส่ิงหนึ่งที่มีความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุคือระบบ รักษาความปลอดภัย มีการเฝ้าระวังด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV) และญาติยังสามารถตรวจสอบกล้องวงจรปิด (CCTV) 18 การสังเคราะห์งานวิจยั ผ้สู ูงอายใุ นประเทศไทย 2.3 สุขภาพของผู้สงู อาย ุ ● สมรรถภาพทางกายของผู้สงู อายุ กรมพลศกึ ษา กระทรวงการทอ่ งเท่ยี วและกฬี า (2562) ไดอ้ ธบิ ายวา่ ผ้สู ูงวัยเป็นกลุ่มบุคคลท่ี ตอ้ งการ การดูแลสุขภาพของตนเอง และในอนาคตประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุท่ีเพิ่มมากขึ้น เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ดังน้ันการประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายท่ีเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และ เหมาะสมของผู้สูงวัยจะทำให้ทราบข้อมูลพ้ืนฐานด้านสมรรถภาพทางกายท่ีสัมพันธ์กับสุขภาพ และยังเป็น ขอ้ มลู ในการสง่ เสรมิ ดา้ นสขุ ภาพและภาวะโภชนาการใหเ้ หมาะสม กบั การดแู ลและเสรมิ สรา้ งรา่ งกายใหแ้ ขง็ แรง อยูเ่ สมอ (กรมพลศกึ ษา กระทรวงการท่องเทีย่ วและกฬี า, 2562) สมรรถภาพทางกาย (physical fitness) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อช่วยให้ บคุ คลสามารถทำงานไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพลดอตั ราเสย่ี งของปญั หาสขุ ภาพทเ่ี ปน็ สาเหตุ จากการออกกำลงั กาย สร้างความสมบูรณ์และแข็งแรงของร่างกายในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายได้อย่างหลากหลาย บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะสามารถปฏิบัติกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการแกไ้ ขสถานการณต์ ่าง ๆ ไดอ้ ย่างดี สมรรถภาพทางกาย แบ่งออกเป็น 2 ชนดิ คือสมรรถภาพทางกาย ที่สัมพนั ธก์ ับสุขภาพ (health-related physicalfitness) และสมรรถภาพทางกายทสี่ ัมพันธ์กบั ทักษะ (skill- related physical fitness) (กรมพลศกึ ษา กระทรวงการท่องเทีย่ วและกฬี า, 2562) สมรรถภาพทางกายทสี่ ัมพันธ์กบั สุขภาพ (health-related physical fitness) หมายถึง สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพและเพ่ิมความสามารถในการทำงาน ของร่างกายซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงโรคปวดหลัง ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ท่ีเกิดจากการขาดการออกกำลังกาย (ตารางท่ี 2.2 และตารางที่ 2.3) ซงึ่ ประกอบดว้ ย 1. ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือ (muscle strength) เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อ หรือกลุ่ม กล้ามเน้ือที่ออกแรงด้วยความพยายามในคร้ังหนึ่ง ๆ เพื่อต้านกับแรงต้านทาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะทำให้เกิดความตึงตัว เพ่ือใช้แรงในการดึงหรือยกของต่าง ๆ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้ ร่างกายทรงตัวเป็นรูปร่างข้ึนมาได้หรือที่เรียกว่าความแข็งแรง เพ่ือรักษาทรวดทรงซ่ึงจะเป็นความสามารถ ของกล้ามเน้ือท่ีช่วยให้ร่างกายทรงตัวต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลกให้อยู่ได้โดยไม่ล้ม เป็นความแข็งแรงของ กล้ามเน้ือที่ใช้ในการเคล่ือนไหวข้ันพื้นฐาน เช่น การวิ่ง การกระโดด การเขย่ง การกระโจน การกระโดด ขาเดียว การกระโดดสลับเท้า เป็นต้น ความแข็งแรงอีกชนิดหน่ึงของกล้ามเน้ือเรียกว่าความแข็งแรงเพ่ือ เคล่ือนไหวในมุมต่าง ๆ ได้แก่ การเคล่ือนไหวแขนและขาในมุมต่าง ๆ เพื่อเล่นเกมกีฬา การออกกำลังกาย หรือการเคล่ือนไหวในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือในการเกร็ง เป็นความสามารถของ ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหน่ึงของร่างกายในการต้านทานแรงที่มากระทำจากภายนอกได้โดยไม่ล้ม หรือสูญเสีย การทรงตัวไป 2. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (muscle endurance) เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะรักษา ระดับการใช้แรงปานกลางได้เป็นเวลานาน โดยการออกแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนท่ีได้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ 19การสังเคราะห์งานวจิ ยั ผสู้ ูงอายุในประเทศไทย หรือหลายครั้งติดต่อกัน ความอดทนของกล้ามเนื้อสามารถเพิ่มมากขึ้นได้โดยการเพิ่มจำนวนคร้ังในการปฏิบัติ กจิ กรรม ซ่งึ ข้ึนอย่กู ับปจั จยั เช่น อายุ เพศ ระดับ สมรรถภาพทางกาย และชนิดของการออกกำลงั กาย 3. ความออ่ นตัว (flexibility) เปน็ ความสามารถของขอ้ ตอ่ ตา่ ง ๆ ของรา่ งกายที่เคลือ่ นไหวได้เตม็ ช่วง ของการเคลื่อนไหว การพัฒนาด้านความอ่อนตัวทำได้โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเอ็น หรือการใช ้ แรงต้านทานในกล้ามเน้ือและเอ็นให้ต้องทำงานมากข้ึน การยืดเหยียดของกล้ามเน้ือทำได้ท้ังแบบอยู่กับท่ี หรือแบบที่มีการเคล่ือนไหว เพ่ือให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรใช้การยืดเหยียดของกล้ามเน้ือในลักษณะอยู่กับท่ ี นนั่ คอื อวยั วะสว่ นแขนและขาหรอื ลำตวั จะตอ้ งเหยยี ดจนกวา่ กลา้ มเนอื้ จะรสู้ กึ ตงึ และอยใู่ นทา่ เหยยี ดกลา้ มเนอ้ื ในลักษณะนี้ประมาณ 10 - 15 วินาที 4. ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด (cardiovascular endurance) เป็นความ สามารถของหัวใจและหลอดเลือดที่จะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไปยังกล้ามเน้ือท่ีใช้ในการ ออกแรงในขณะทำงาน ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นระยะเวลานาน และขณะเดียวกันก็นำสารท่ีไม่ต้องการ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากกล้ามเนื้อท่ีใช้งานในการพัฒนาหรือเสริมสร้างสมรรถภาพ ด้านนจ้ี ะตอ้ งใหม้ กี ารเคลือ่ นไหวรา่ งกายโดยใช้ระยะเวลาติดตอ่ กันประมาณ 10 - 15 นาทีขึน้ ไป 5. องค์ประกอบของร่างกาย (body composition) หมายถึง สว่ นตา่ ง ๆ ท่ปี ระกอบขึน้ เป็นน้ำหนัก ตัวของร่างกายโดยแบง่ ออกเป็น 2 สว่ น คอื ส่วนทีเ่ ป็นไขมัน (fat mass) และส่วนที่ปราศจากไขมัน (fat-free mass) เช่น กระดูกกล้ามเนื้อและแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายโดยท่ัวไป องค์ประกอบของร่างกายจะเป็นดัชนี ประมาณคา่ ท่ีทำให้ทราบถงึ รอ้ ยละของน้ำหนกั ที่เปน็ ส่วนของไขมนั ทม่ี อี ย่ใู นร่างกาย ซึง่ อาจจะหาคำตอบท่ีเป็น สัดส่วนกันได้ระหว่างไขมันในร่างกายกับน้ำหนักของส่วนอ่ืน ๆ ท่ีเป็นองค์ประกอบ เช่น ส่วนของกระดูก กล้ามเน้ือ และอวัยวะต่าง ๆ การรักษาองค์ประกอบของร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาส เส่ียงต่อการเกิดโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นโรคท่ีเสี่ยงต่ออันตรายต่อไปอีกมาก เช่น โรคหลอดเลอื ดหัวใจตีบ หัวใจวาย และโรคเบาหวาน เป็นต้น สมรรถภาพทางกายทีส่ ัมพนั ธก์ ับทักษะ (skill-related physical fitness) เป็นสมรรถภาพทางกายท่ีเกี่ยวข้องในการสนับสนุนให้เกิดระดับความสามารถและทักษะในการ แสดงออกของการเคล่อื นไหวและการเล่นกฬี ามปี ระสิทธภิ าพมากข้ึน ซ่ึงนอกจากจะประกอบดว้ ย สมรรถภาพ ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบหวั ใจและไหลเวยี นเลอื ด และองคป์ ระกอบของรา่ งกายแล้ว ยังประกอบดว้ ยสมรรถภาพ ทางกายในดา้ นต่อไปน้ี คือ 1. ความเร็ว (speed) หมายถึง ความสามารถในการเคล่ือนไหวไปสู่เป้าหมายท่ีต้องการโดยใช ้ ระยะเวลาสนั้ ที่สดุ ซึง่ กลา้ มเนอ้ื จะต้องออกแรงและหดตวั ดว้ ยความเรว็ สูงสดุ 2. กำลังของกล้ามเนื้อ (muscle power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเน้ือในการทำงาน โดยการออกแรงสงู สดุ ในชว่ งทสี่ นั้ ทส่ี ดุ ซง่ึ จะตอ้ งมคี วามแขง็ แรงของกลา้ มเนอื้ และความเรว็ เปน็ องคป์ ระกอบหลกั 3. ความคล่องแคล่วว่องไว (agility) หมายถึง ความสามารถในการเปล่ียนทิศทางและตำแหน่งของ ร่างกายในขณะท่ีกำลังเคลื่อนไหวโดยใช้ความเร็วได้อย่างเต็มท่ี จัดเป็นสมรรถภาพทางกายที่จำเป็นในการ นำไปสกู่ ารเคลอื่ นไหวขนั้ พน้ื ฐานสำหรับทกั ษะในการเลน่ กฬี าประเภทตา่ ง ๆ ใหม้ ีประสิทธิภาพ 20 การสังเคราะหง์ านวิจัยผสู้ งู อายใุ นประเทศไทย 4. การทรงตัว (balance) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมและรักษาตำแหน่ง ท่าทาง ของรา่ งกายให้อยใู่ นลกั ษณะตามทีต่ ้องการได้ท้ังขณะอยกู่ ับทีห่ รอื ในขณะทมี่ ีการเคล่ือนไหว 5. เวลาปฏกิ ิริยา (reaction time) หมายถึง ระยะเวลาท่ีเรว็ ท่สี ุดที่รา่ งกายมกี ารตอบสนองหลังจาก ท่ีได้รับการกระตุ้น ซึ่งเป็นความสามารถของระบบประสาทเม่ือรับรู้การถูกกระตุ้นแล้วสามารถส่ังการให้ อวยั วะทำหน้าท่เี ก่ียวขอ้ งกับการเคลอื่ นไหวใหม้ ีการตอบสนองอยา่ งรวดเรว็ 6. การทำงานที่ประสานกัน (coordination) หมายถึง ความสัมพันธ์ในการทำงานของระบบ ประสาทและระบบกล้ามเน้ือในการเคลื่อนไหว ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถท่ีจะปฏิบัติกิจกรรม ทางกลไกทีส่ ลบั ซับซ้อนในเวลาเดยี วกันอยา่ งราบรื่นและแม่นยำ ตารางท่ี 2.2 องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายและรายการทดสอบ สำหรับประชาชน อายุ 60 - 69 ปี องค ์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย รายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรับประชาชน อายุ 60 - 69 ป ี องคป์ ระกอบของร่างกาย (Body Composition) 1. ช่ังน้ำหนกั (Weight) 2. วดั ส่วนสูง (Height) นำค่าท่ไี ด้มาคำนวณหาคา่ ดัชนี มวลกาย (Body Mass Index: BMI) ความอ่อนตวั (Flexibility) 3. แตะมือดา้ นหลงั (Back Scratch) ความแขง็ แรงและความอดทนของกล้ามเนอื้ 4. ยืน-นงั่ บนเก้าอ้ี 30 วินาที (30 Seconds Chair Stand) (Muscle Strength and Endurance) การทรงตวั (Balance) 5. เดนิ เรว็ อ้อมหลกั (Agility Course) ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลอื ด 6. ยืนยกเข่าขนึ้ ลง 2 นาท ี (Cardiovascular Endurance) (2 Minutes Step Up and Down) 21การสังเคราะหง์ านวิจยั ผู้สงู อายุในประเทศไทย ตารางท่ี 2.3 รายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรับประชาชน อายุ 60 - 69 ปี รายการท ่ี รายการทดสอบ องค์ประกอบทีต่ อ้ งการวดั 1 ช่งั น้ำหนกั (Weight) เพื่อนำไปประเมินสดั สว่ นของร่างกาย ในส่วนของ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) 2 วดั สว่ นสงู (Height) เพอื่ นำไปประเมนิ สดั ส่วนของร่างกาย ในส่วนของ ดชั นีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) 3 แตะมอื ด้านหลงั (Back Scratch Test) เพอ่ื ประเมนิ ความออ่ นตัวของเอน็ ข้อต่อ และกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ 4 ยนื - น่ัง บนเกา้ อี้ 30 วินาท ี เพื่อตรวจประเมนิ ความแข็งแรง และความอดทน (Chair Stand 30 Seconds) ของกลา้ มเน้ือขา 5 เดนิ เรว็ ออ้ มหลัก (Agility Course) เพ่ือตรวจประเมินความแคล่วคลอ่ งว่องไว และความสามารถในการทรงตวั แบบเคล่อื นที่ 6 ยนื ยกเข่า 2 นาท ี เพื่อตรวจประเมินความอดทนของระบบหวั ใจ (2 Minutes Step Up and Down) และไหลเวยี นเลือด ● การออกกำลังกายในผู้สูงอาย ุ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2563) ได้อธิบายว่า ผู้สูงอายุมีภาวะเจ็บป่วยและ ภาวะความเสื่อมของร่างกายมากกว่าวัยอื่น เช่น การปวดข้อ ข้อติด ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ เป็นต้น วิธีหน่ึง ที่นิยมในปัจจุบันเพื่อชะลอการเสื่อมและลดการเกิดโรค รวมทั้งภาวะการเจ็บป่วยทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุ แขง็ แรงและมสี มรรถภาพทางกายดขี น้ึ คอื การออกกำลงั กายทเ่ี หมาะสมกบั สภาพรา่ งกายและอายุ อยา่ งไรกต็ าม ถ้าออกกำลังกายไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ดังน้ันเพื่อให้การออกกำลังกายได้ประโยชน์ อยา่ งเตม็ ทแี่ ละไมเ่ กดิ อนั ตรายตอ่ ผสู้ งู อายจุ งึ จำเปน็ ตอ้ งมหี ลกั เกณฑใ์ นการเลอื กประเภทของการออกกำลงั กาย รจู้ กั ขอ้ หา้ ม ขอ้ ควรระวงั และวธิ กี ารสงั เกตความผดิ ปกตติ า่ ง ๆ ทอี่ าจเกดิ ขนึ้ ขณะออกกำลงั กาย (กรมพลศกึ ษา กระทรวงการท่องเทย่ี วและกฬี า, 2563) ประโยชนข์ องการออกกำลงั กาย เม่ือผสู้ ูงอายมุ ีการออกกำลงั กายเปน็ ประจำสม่ำเสมอ ครง้ั ละ 20 - 30 นาที สปั ดาห์ละ 3 ครัง้ จะเกิด การเปลยี่ นแปลงทางสรรี วิทยา ดงั น้ี 1. ผลตอ่ ระบบหัวใจ หลอดเลือด และการหายใจ 1.1 กล้ามเนื้อหวั ใจเพ่มิ ขนาดและมคี วามแขง็ แรงขึน้ 1.2 กล้ามเน้อื หัวใจหดตวั ได้แรงมากขน้ึ 1.3 จำนวนเลือดท่ีบีบออกจากหัวใจแต่ละคร้ังเพ่ิมขึ้นและจำนวนเลือดที่ส่งออกจากหัวใจต่อนาที ก็เพมิ่ ขึน้ ด้วย 1.4 การไหลเวียนเลอื ดในส่วนรอบนอก เช่น บรเิ วณแขนและขาดขี ้นึ 1.5 ระดบั ไตรกลเี ซอไรดใ์ นเลือดลดลง 22 การสังเคราะหง์ านวจิ ัยผ้สู ูงอายุในประเทศไทย 1.6 ความผดิ ปกติของคลน่ื ไฟฟ้าหวั ใจลดนอ้ ยลง ลดอนั ตรายของโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น โรคหวั ใจขาดเลอื ด โรคความดันโลหติ สูง เป็นต้น 1.7 ความยืดหยุ่นของปอดและทรวงอกเพ่มิ ขนึ้ 2. ผลทางด้านระบบกลา้ มเน้อื และโครงรา่ ง 2.1 เพมิ่ กำลงั ของกล้ามเนอื้ 2.2 กล้ามเนือ้ ทำงานไดน้ านข้นึ 2.3 ข้อต่อมคี วามมนั่ คงมากขึน้ 2.4 รกั ษามุมการเคลอื่ นไหวของข้อต่อให้อยู่ในภาวะปกติ 2.5 ป้องกันการเสื่อมสลายที่เกิดจากการไม่ได้ใช้งานของเนื้อเย่ือ เช่น ภาวะกระดูกพรุน กล้ามเนื้อฝอ่ ลบี 2.6 การทรงตัวในแตล่ ะทา่ ทางดขี ้นึ 3. ผลทางด้านเมตาบอลซิ ึมและนำ้ หนักตวั 3.1 ลดไขมนั ในรา่ งกาย พร้อมกับคงสภาพของกลา้ มเน้อื สว่ นอน่ื ไว้ 3.2 ป้องกนั ไม่ใหร้ ะดับน้ำตาลกลโู คสในเลือดเพิม่ ขน้ึ 3.3 อัตราการใช้พลังงานของรา่ งกายเพม่ิ ขน้ึ จงึ สามารถลดนำ้ หนกั ได้โดยไมต่ ้องลดอาหาร 4. ผลทางจติ ใจ 4.1 ทำใหอ้ ารมณ์และจติ ใจดีขึน้ 4.2 ลดความเครียดและความซมึ เศรา้ 4.3 มีความม่ันใจ พงึ พอใจในตวั เองและสามารถดูแลตนเองได้ 5. ผลด้านอน่ื ๆ 5.1 เพิ่มความตา้ นทานต่อโรค 5.2 การย่อยอาหารดีขึ้น 5.3 เพ่ิมสมรรถภาพทางเพศ 5.4 เพม่ิ ความกระฉบั กระเฉงในการทำกิจวตั รประจำวนั ข้อแนะนำการออกกำลงั กายในผสู้ ูงอาย ุ 1. เรมิ่ ตน้ การออกกำลงั ผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน เมื่อเริ่มออกกำลังกายจะทำให้เหนื่อยง่าย วิธีเริ่มต้น ที่ดีท่ีสุดคือให้เร่ิมออกกำลังกายจากการทำกิจวัตรประจำวัน โดยหลักการทั่วไปในการเลือกออกกำลังกาย หรือกฬี าในผู้สูงอายุ มีดังนี้ 1.1 หลักเกยี่ วกับความชา้ หรือเรว็ การออกกำลังกายทเ่ี หมาะสมน้นั ควรกระทำอยา่ งช้า ๆ เรอ่ื ย ๆ มีเวลาพักผ่อนได้ตามความจำเป็น การออกกำลังกายอย่างรวดเร็วไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเพราะทำให ้ เหนื่อยเกนิ ไป และรา่ งกายไม่มเี วลาพอสำหรบั การฟ้นื ตัวในระหวา่ งการเคลื่อนไหวนั้น ๆ 1.2 หลักเก่ียวกับความหนักหรือเบา ผู้สูงอายุไม่ควรออกกำลังกายแบบต้องใช้กำลังมาก ๆ หรือ ออกแรงเป็นเวลานาน ๆ เพราะอาจเกิดอันตราย แต่ไม่ควรเบาเกินไปชนิดท่ีแทบไม่ต้องออกแรงเลย เพราะ จะไมเ่ กิดประโยชนเ์ ตม็ ท่ี หากมอี าการผดิ ปกตหิ ลงั จากออกกำลงั กาย เช่น ออ่ นเพลีย หมดแรง ปวดกล้ามเนอื้ 23การสังเคราะหง์ านวจิ ยั ผู้สงู อายใุ นประเทศไทย แขน ขา การออกกำลงั กายครง้ั ตอ่ ไป ตอ้ งลดความหนกั ลง แตถ่ า้ พกั ผอ่ นแลว้ รสู้ กึ เปน็ ปกติ หรอื กระปรกี้ ระเปรา่ ขนึ้ ถือวา่ เป็นการออกกำลังกายท่เี หมาะสมแลว้ 1.3 หลักการเสริมสรา้ งและรักษา การออกกำลงั กายตอ้ งทำอย่างสมำ่ เสมอจึงจะได้ผลดี หากขาด ความต่อเน่ือง มักไม่เป็นผลดีกับร่างกายแต่กลับส่งผลเสีย ทั้งในเรื่องความแข็งแรงและรูปร่าง หากปฏิบัติได้ดี พอสมควรแล้วก็พยายามรักษาระดับความแขง็ แรงนีไ้ ว้ใหค้ งอยูเ่ สมอ 1.4 หลักการพักผ่อนและพักฟื้น หลังการออกกำลังกายทุกคร้ัง ต้องมีเวลาพักผ่อนให้หายเหนื่อย และพักฟ้ืน ให้ร่างกายมีโอกาสซ่อมแซมความสึกหรอที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรเลือกวิธีและเวลาออกกำลังกาย ท่มี คี วามสะดวกและเหมาะสม จากหลักการข้างต้น การออกกำลังกายและเล่นกีฬาท่ีเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต ่ 60 ปขี ้ึนไป ให้เริ่มจากการทำกจิ วัตรประจำวนั เชน่ การเดนิ หรอื ขจี่ ักรยานในระยะทางที่ไม่ไกลนัก เดนิ ข้นึ ลง บันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน ขี่จักรยานรอบหมู่บ้านในระยะทางที่ไกลขึ้น ทำงานบ้าน เช่น ทำสวน ล้างรถ กวาดถูบ้าน โดยทำกจิ วัตรเหลา่ นั้นทกุ วัน เป็นเวลา 2 – 3 เดือน หลังจากน้นั เพม่ิ กจิ กรรมการออกกำลงั กาย เพื่อใหร้ า่ งกายแข็งแรงขนึ้ เช่น เดินให้เร็วข้นึ สลับกับเดินช้า ขจี่ ักรยานนานขนึ้ (ประมาณ 30 นาท)ี เดินขนึ้ ลง บันไดหลาย ๆ ขั้น ขุดดิน ทำสวน เล่นกีฬา เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง เต้นแอโรบิก เต้นรำ ว่ายน้ำ รำมวยจีน ไทเ้ กก๊ ฯลฯ หลงั จากเตรยี มความพรอ้ มรา่ งกายแลว้ ใหเ้ พม่ิ เวลา ระยะทาง และความหนกั ของการออกกำลงั กาย เพ่ือให้อัตราการเต้นของหัวใจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยต้องตระหนักเสมอว่าการออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตซึ่งจะขาดเสียไม่ได้เหมือนการนอนหลับ หรือรับประทานอาหาร ดังนั้น จึงควรต้องปฏิบัติอย่าง สม่ำเสมอ ครั้งละ 20 – 30 นาที สปั ดาห์ละ 3 คร้งั สงิ่ สำคญั คอื หมั่นสงั เกตความเปล่ยี นแปลงของรา่ งกาย ขณะออกกำลังกายและภายหลังการออกกำลังกาย หากมีอาการเจ็บหรือเหนื่อยล้ามีมากกว่าปกติแสดงว่า การออกกำลงั กายทีท่ ำอยูอ่ าจหกั โหมมากเกนิ ไปซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ 2. ปจั จยั ต่าง ๆ ทีเ่ กี่ยวข้องกับการออกกำลงั กาย 2.1 เส้ือผา้ เครอ่ื งนงุ่ ห่มท่ใี ชใ้ นการออกกำลังกาย ขึน้ อยกู่ ับอุณหภูมิ สิ่งแวดล้อม ถา้ อากาศหนาว ควรมีเส้ือผ้าเพียงพอท่ีทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ถ้าอากาศร้อนควรสวมใส่ผ้าฝ้ายธรรมดาก็เหมาะสมแล้ว รองเทา้ และถงุ เทา้ ควรเลอื กใชใ้ หเ้ หมาะสมกบั เทา้ มสี ายรดั หรอื เชอื กผกู ใหก้ ระชบั มพี นื้ รองเทา้ ทนี่ มุ่ และยดื หยนุ่ จะชว่ ยใหเ้ ดินหรือวิง่ สะดวกยิ่งขึ้น 2.2 เวลาท่ีเหมาะสม ควรออกกำลังกายหลังเวลารับประทานอาหารแล้วประมาณ 2 ช่ัวโมง เพราะถ้าออกกำลังกายในขณะที่กระเพาะอาหารมีอาหารอยู่เต็ม อาหารท่ีรับประทานเข้าไปยังไม่ได้รับ การยอ่ ยเปน็ สารอาหาร อาจจะทำใหจ้ กุ เสยี ดแนน่ ทอ้ งได้ การออกกำลงั กายหลงั มอื้ เยน็ จะทำใหน้ อนหลบั สบาย พกั ผอ่ นไดเ้ ตม็ ท่ี ทั้งนค้ี วรขึ้นอยู่กับความสะดวกของผ้อู อกกำลังกายด้วย 2.3 สถานที่ออกกำลังกาย ควรเป็นกลางแจ้งไม่มีมลภาวะ แดดไม่จัดเกินไป หรือถ้าเป็นในร่ม ควรมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม 2.4 อาการผิดปกติสำคัญท่ีต้องระวัง ผู้สูงอายุท่ีไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนเลย ควรศึกษา หลักการให้เข้าใจ ค่อย ๆ ออกกำลังกายทีละน้อย แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย ์