การ เร ยน สาย อาช พ ม อะไร บ าง

ระหว่างสายสามัญกับสายอาชีพ

ตอนนี้หนูกำลังศึกษาในชั้นม.3 เหลือแค่อีกเทอมที่ตะจบการศึกษา ในตอนนี้หนูรู้สึกสับสนว่าจะต่อสายไหนดี ระหว่างสายสามัญกับสายอาชีพ แต่ก่อนคิดว่าจะต่อสายสามัญ เพราะไม่ชอบสายอาชีพ (ก็แบบเด็กเเว้นเยอะ) เลยตั้งใจตั้งแต่นั้นมา จนถึงปัจจุบันรู้สึกว่าทางของเรามันไม่ใช่สายมสามัญ เพราะสายนี้แลดูเหนื่อยมาก ทั้งด้านการเรียนก็เรียนหนัก งานก็เยอะ แบบตัวหนูเองไม่ชอบทำการบ้านเยอะๆ ไม่ชอบเรียนเยอะๆ แล้วตอนนี้ที่โรงเรียนของหนูได้เปิดให้โรงเรียนอื่นๆมาแนะแนวทางการต่อสายอาชีพและสายสามัญ ซึ่งไม่นานมานี้ได้มีโรงเรียนในเครือสายอาชีพมาแนะแนวทาง รู้สึกว่า เห้ยมันใช่วะ แต่ติดตรงที่พ่อกับแม่อยากให้เรียนสายสามัญ หนูเลยอยากรู้ว่าสายสามัญกับสายอาชีพอันไหนดีกว่ากันคะ

การ เร ยน สาย อาช พ ม อะไร บ าง

จุดเด่นสำคัญที่ทำให้หลายๆ คนเลือกเรียนต่อสายอาชีพนั้น เพราะจะได้มีโอกาสเรียนในสายวิชาที่เน้นการทำงานจริงเป็นหลัก ได้พุ่งเป้าไปที่การเรียนในด้านนั้นๆอย่างเต็มที่ ต่อให้เรียนจบระดับ ปวช. ก็สามารถทำงานได้ และทำให้นักเรียนได้เข้าใจถึงการเรียนตามหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ มีรายได้ระหว่างเรียน นอกจากการเรียนทฤษฎีแล้ว หลักสูตรสายอาชีพยังเน้นการลงมือภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้น ทุกหลักสูตรมีการฝึกงานเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และทักษะวิชาชีพตั้งแต่ยังเรียนอยู่ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง นักเรียนจะได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติงานจริง ฝึกใช้อุปกรณ์ เรียนรู้ กระบวนการในสายอาชีพนั้นๆ เป็นประสบการณ์ตรงจากหน้างาน

มีทักษะวิชาชีพติดตัว การได้มีโอกาสฝึกงานระหว่างเรียนสายอาชีพให้อะไรมากกว่าการเรียนรู้จากตำราเพียงอย่างเดียว เพราะการฝึกฝนปฏิบัติงานเป็นประจำย่อมทำให้เกิดทักษะและความเชี่ยวชาญติดตัวนักเรียนไปตลอด เมื่อศึกษาจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสามารถใช้เป็นใบเบิกทางสมัครงานได้เลย

สามารถเลือกเรียนได้หลากหลาย หลักสูตรสายอาชีพมีให้เลือกเรียนหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งแต่ละสาขามีความน่าสนใจ จบแล้วมีตำแหน่งงานรองรับ นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของตัวเอง

ได้รับความนิยมจากตลาดแรงงาน ตำแหน่งงานในปัจจุบันกำลังขาดแคลนช่างฝีมือและบุคลากรวิชาชีพทักษะเฉพาะอยู่เป็นจำนวนมาก หลายคนแม้จะเรียนจบปริญญาตรงกับสายงาน แต่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานจริง การเรียนสายอาชีพจึงมีข้อได้เปรียบมากกว่า

โอกาสเรียนต่อระดับอุดมศึกษา วุฒิการศึกษาในการเรียนสายอาชีพไม่ใช่แค่ ปวช. ปวส. เท่านั้น เพราะหลายๆ สถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบันหันมารับนักเรียนสายอาชีพให้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยเปิดหลักสูตรพิเศษที่น่าสนใจ เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนสายอาชีพได้เรียนต่อในระดับสูงขึ้น

เรียนต่อสายอาชีพ ทางเลือกที่กำลังมาแรงสำหรับน้อง ๆ ที่จบม. 3 และกำลังตัดสินใจเส้นทางการเรียนต่อ เพราะนอกจากผู้จบการศึกษาจากการ เรียนต่อสายอาชีพ จะเป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างสูงแล้ว หลักสูตรสายอาชีพ ยังถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจริงและลงมือปฏิบัติจริง เพื่อมีประสบการณ์ทำงานจริง รวมไปถึงสาขาวิชาที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นสายตรงของอาชีพ สมชื่อสายอาชีพ และยังมีสาขาให้เลือกหลากหลาย ซึ่งแต่ละสาขาก็จะมีวิชาเรียนไม่เหมือนกัน เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้ผู้เรียน และเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของตลาดงานในยุคปัจจุบัน

มาทำความรู้จักสาขาของสายอาชีพกันดีกว่า ว่ามีสาขาอะไรให้เลือกเรียนบ้าง

  1. อุตสาหกรรม
  2. สาขาวิชาเครื่องกลแบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
  3. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุงแบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
  4. สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
  5. สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
  6. สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
  7. สาขาวิชาการพิมพ์แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
  8. สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
  9. สาขาวิชาการต่อเรือแบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
  10. สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยางแบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยา

อาชีพตอนเรียนจบ :งานด้านเครื่องกล เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง โลหะ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง สิ่งพิมพ์ แว่นตาและเลนส์ การต่อเรือ ผลิตภัณฑ์ยาง

  1. พาณิชยกรรม บริหารธุรกิจ
  2. สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
  3. สาขาวิชาธุรกิจบริการแบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด

อาชีพตอนเรียนจบ :งานการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ งานจัดการ

  1. ศิลปกรรม
  2. สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม

อาชีพตอนเรียนจบ :งานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตกรรม เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรมการพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ เทคโนโลยีนิเทศศิลป์

  1. คหกรรม
  2. สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
  3. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
  4. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
  5. สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย

อาชีพตอนเรียนจบ :งานผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ เสริมสวย

  1. เกษตรกรรม
  2. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง

อาชีพตอนเรียนจบ :งานด้านพืช – สัตว์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป

  1. ประมง
  2. สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  3. สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำแบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
  4. สาขาวิชาประมงทะเลแบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล

อาชีพตอนเรียนจบ :การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แปรรูป สัตว์น้ำ ประมงทะเล

  1. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  2. สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว

อาชีพตอนเรียนจบ :การโรงแรมและการท่องเที่ยว

  1. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอแบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
  3. สาขาวิชาเคมีสิ่งทอแบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
  4. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบ่งออกเป็น สาขางานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป

อาชีพตอนเรียนจบ :เทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียงแบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง

อาชีพตอนเรียนจบ :เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีระบบเสียง

จุดเด่นของการเรียนสายอาชีพ

นอกจากจุดเด่นด้านความเฉพาะเจาะจงของวิชาเรียนที่เน้นให้ทำงานเป็นจริง ๆ ได้ใช้อุปกรณ์จริง อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ ที่ถ้าได้เรียนซ่อมคอม ก็จะได้แกะเครื่องคอมพิวเตอร์จริง ๆ หรือการเรียนเครื่องกล เครื่องจักรต่าง ๆ ก็จะได้จับเครื่องจักร เครื่องมือจริง ๆ ที่ใช้ทำงานด้วย เรียกได้ว่าในห้องเรียนมีอุปกรณ์เหมือนกับห้องทำงานจริง ๆ เลยก็ว่าได้ และยังรวมไปถึงความนิยมจากตลาดงานที่พร้อมอ้าแขนรับบุคลากรวิชาชีพที่มีทักษะเชี่ยวชาญจากการเรียนจบสายอาชีพมา

ระหว่างที่เรียนสายอาชีพอยู่ คุณยังมีโอกาสได้ทำงานจริง ๆ พร้อมกับได้มีรายได้จริง ๆ จากการทำงานพาร์ทไทม์ระหว่างเรียนไปด้วย และยังได้สร้างเสริมประสบการณ์ทำงาน ความรู้และทักษะความชำนาญ ไปพร้อม ๆ กับการเรียนที่เน้นการปฏิบัติจริงของสายอาชีพ เรียกได้ว่าให้โอกาสคุณได้มีประสบการณ์การใช้ชีวิตผ่านการทำงานจริงในระหว่างเรียน ฝึกความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานจริงหลังเรียนจบให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย

เรื่องระยะเวลาของหลักสูตรก็เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจ เพราะถ้าเรียน ปวช. (หลักสูตร 3 ปี) ต่อ ปวส. ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ปี ก็จะทำให้คุณสามารถมีวุฒิออกมาหางานทำได้เร็วกว่าคนที่เรียนสายสามัญ 2 – 4 ปีเลย แต่ถ้าใครเปลี่ยนใจอยากได้วุฒิป.ตรีด้วย ก็สามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา เพราะสามารถเทียบโอนหลังจากจบ ปวส. เพื่อมาเรียนต่อหลักสูตรปริญญาตรีอีก 2 ปี ก็จะได้วุฒิ ป.ตรี เหมือนกับคนที่เรียนสายสามัญแล้ว

ถ้ารู้ความชอบของตัวเองชัดเจน รู้แล้วว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไรในอนาคต การเลือกเรียนสายอาชีพที่ใช่ ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยติดจรวดให้กับเส้นทางอาชีพของคุณได้เลย

สนใจหางานเฉพาะทาง งานสายอาชีพ งานที่ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญสูง งานโรงงาน มาค้นหางานกับเราได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB แอปหางานที่มีงานทุกตำแหน่งให้คุณได้เลือกสมัคร

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad-%e0%b8%9b%e0%b8%a7%e0%b8%aa/

เรียนสายอาชีพ สาขาไหนดี ไม่ตกงาน

Top 5 คณะสายแข็ง อนาคตดี เรียนจบไม่ต้องกลัวตกงาน!.

สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ.

สายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมข้อมูล.

สายการเงิน การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์.

สายธุรกิจ การตลาดดิจิทัล และดิจิทัลมีเดีย.

สายการจัดการโลจิสติกส์ และวิศวกรรมโลจิสติกส์.

เรียนต่อสายอาชีพ สาขาไหนดี

9 สาขาสายอาชีพ ปวช. ที่น่าสนใจที่สุดในปี 2021 งานดี เงินดี อนาคต....

สาขาช่างยนต์ - สาขาช่างยนต์ หลักสูตรปกติ ... .

สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง(อิเล็กทรอนิกส์).

สาขาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์.

สาขาการบัญชี.

สาขาการตลาดดิจิทัล.

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล.

สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก (กราฟิกอาร์ต).

สาขาดนตรีและการแสดง.

จบ ม.6 เรียนต่อสายอาชีพ กี่ปี

การเรียนสายอาชีวศึกษาหรือสายอาชีพ คือ การเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. เป็นการเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้เน้นการเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกับสายสามัญ มีระยะเวลาในการเรียน 3 ปี โดยหากเรียนจบแล้วจะมีทางเลือกในการเรียนต่อ 2 ทางเลือกใหญ่ๆ คือ

แผนการเรียนสายอาชีพมีอะไรบ้าง

เรียนสายอาชีพใครว่าหางานไม่ได้ มาดูสายงานสำหรับนักศึกษาสายอาชีวะ....

อุตสาหกรรม ... .

พาณิชยกรรม และบริหารธุรกิจ ... .

ศิลปกรรม ... .

คหกรรม และสิ่งทอ ... .

เกษตรกรรม และการประมง ... .

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ การโรงแรม ... .

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ... .

ด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์.