การไฟฟ าส วนภ ม ภาคกระท มแบน ว ศวกรรมการตลาด

มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร? วันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันครับ !

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มีหน้าที่จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA จะจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นพื้นที่ 3 จังหวัดที่ MEA ดูแลอยู่ ซึ่งทั้ง 2 จะทำหน้าที่เหมือนกันคือ การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีไฟฟ้าใช้ มั่นคง และปลอดภัยในทุก ๆ บ้าน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT เป็นผู้จัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้า มีทั้งผลิตเอง และรับซื้อจากโรงไฟฟ้าเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยทำการส่งไปให้แก่ MEA PEA และผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าเหล่านั้นส่งต่อให้ผู้ให้บริการในพื้นที่ต่อไป

.

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าหน่วยงานใด เราก็พร้อมส่งต่อพลังงานไฟฟ้า และสิ่งดี ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกคนตลอด 24 ชม.เลยครับ

เผยแพร่: 25 ส.ค. 2558 22:03 ปรับปรุง: 26 ส.ค. 2558 00:11 โดย: MGR Online

ASTV ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหุ้นไทยเด้งสวนทางตลาดหุ้นภูมิภาค ปิดที่ 1,323.88 จุด บวก 22.82 จุด หรือ 1.75% ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิท ของจีน ยังร่วงต่ออีก 7.63% จนธนาคารกลางจีนต้องประกาศลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ด้านเอ็มดีตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างชาติยังถือหุ้นไทย 32% แม้ทยอยขายแล้วเกือบ 8 หมื่นล้านบาท

บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (25 ส.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่สามารถยืนเหนือแดนบวก สวนกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงแรง หลังจากนักลงทุนเริ่มคลี่คลายความกังวลวิกฤตเศรษฐกิจจีน และได้มีแรงแรงซื้อเข้ามาค่อนข้างหนาแน่นในช่วงบ่าย ทำให้ตลาดหุ้นคึกคักขึ้น

โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยทำระดับสูงสุดที่ 1,323.88 จุด และระดับต่ำสุดที่ 1,292.14 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,323.88 จุด เพิ่มขึ้น 22.82 จุด หรือคิดเป็น 1.75% มูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 60,200.19 ล้านบาท

ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศยังเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ยอดขายสุทธิ 3,311.92 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 3,143.31 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 1,076.53 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ขายสุทธิ 907.92 ล้านบาท

สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิด 252 บาท เพิ่มขึ้น 12 บาท หรือคิดเป็น 5.00% มูลค่าการซื้อขาย 5,106.75 ล้านบาท บมจ.อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ (IFEC) ราคาปิด 10.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ 4.12% มูลค่าการซื้อขาย 2,579.53 ล้านบาท และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ราคาปิด 9.30 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 1.06% มูลค่าการซื้อขาย 2,523.10 ล้านบาท

ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นเอเชีย มีแรงซื้อทำกำไรจากนักลงทุนทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวสลับกันทั้งแดนบวก-ลบ โดยดัชนีคอสปิ เกาหลีใต้ ขยับเพิ่มขึ้น 1.5% ปิดที่ 1,856.26 จุด, ดัชนีเอสแอนด์พี เอเอสเอ็กซ์ 200 ออสเตรเลีย ขยับขึ้น 2.4%

ดัชนีนิเคอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ค่อนข้างผันผวน ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 17,806.70 จุด ลดลง 733.98 จุด เปลี่ยนแปลง 3.96% เป็นการปิดในแดนลบต่อเนื่องครั้งที่ 6 ของช่วงเวลาการซื้อขายหุ้นตลอดหลายวันที่ผ่านมา และต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยตลอดช่วงเวลาเปิดตลาด 6 รอบที่ผ่านมา ดัชนีนิคเคอิได้ร่วงลงไปแล้ว 13% ด้านตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิท ลดลงไป 7.63% ปิดที่ 2964.97 จุดถือเป็นการปิดที่ระดับต่ำกว่า 3,000 จุดเป็นครั้งแรกในปีนี้ จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ตอนนี้ถูกมองว่าเป็นภัยต่อเศรษฐกิจโลก

ดัชนีฮั่งเส็ง ของฮ่องกง เด้งกลับมาอยู่ในแดนบวกได้หลังร่วงไปในตอนแรก โดยปิดตลาดในวันอังคารที่ 21,404.96 เพิ่มขึ้นมา 153.39 จุด คิดเป็น 0.72%

ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ตลาดหุ้นจีน ยังคงปรับตัวลดลง 244.94 จุด หรือ 7.63% ปิดที่ 2,964.97 จุด เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า รัฐบาลจีนจะยกเลิกการใช้มาตรการสนับสนุนตลาด ภายหลังจากที่ตลาดหุ้นจีนเผชิญกับสถานการณ์ “แบล็ค มันเดย์” โดยที่คณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ของจีนไม่มีวี่แววว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ผิดกับเมื่อเดือนที่แล้วที่ทางกลต.จีนได้ออกแถลงการณ์ทันทีหลังจากที่ตลาดหุ้นร่วงลงไป 8.5%

รายงานล่าสุดแจ้งว่า ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของจีน ได้ประการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง 0.25% หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปั่นป่วน โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 แต่เดือนพ.ย. 2557 รวมทั้งได้ประกาศปรับลดสัดส่วนเงินทุนสำรองลง 0.50% โดยมีผลเริ่มตั้งแต่วันนี้ 26 ส.ค.58)

นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่กระทบตลาดหุ้นไทยมาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังคงแข็งแกร่ง รวมทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงขยายตัว 6.4% ซึ่งดีกว่าบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอาเซียนที่มีอัตราการขยายตัว 4.5% แม้ว่าตั้งแต่ต้นปี 2558 นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยแล้ว 70,000-80,000 ล้านบาท แต่ยังคงมีนักลงทุนต่างประเทศที่ยังคงถือหุ้นไทยถึง 32% หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มผู้ลงทุนในปัจจุบัน

กรรมการและผู้จัดการ ตลท. กล่าวถึงการที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่เข้าทำหน้าที่นั้น เห็นว่าขนาดนี้ยังไม่จำเป็นต้องออกกองทุน หรือมาตรการพยุงหุ้น รวมทั้งลักษณะกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งนายสมคิด เคยออกในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะปัจจุบันนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยมีหลายกลุ่มและนักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นกว่าอดีต

นายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บัวหลวง ระบุตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวขึ้นมาได้จากปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกัน อาทิมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะทยอยผลักดันออกมา, ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาอยู่ใน valuation ที่สมเหตุสมผล ดังนั้น วันนี้ (26 ส.ค.) น่าจะยังคงปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง

“มองว่านายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีจะต้องดึงความมั่นใจของนักลงทุนกลับมาให้ได้ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอลงเรื่อยๆ นั้น ก็ต้องภาวนาให้เบาลง และราคาน้ำมันก็ต้องยืนที่ระดับแถว 39 เหรียญฯ/บาร์เรลให้ได้” นายชัยพร กล่าว