การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

เกิดขึ้นเมื่อมีการเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่เพลตของตัวเก็บประจุ เมื่อนำแบตเตอรี่ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็นบวก และลบ ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น

การคายประจุ เกิดขึ้นเมื่อตัวเก็บประจุที่ถูกเก็บประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที

ชนิดของตัวเก็บประจุ

แบ่งตามวัสดุการใช้งานได้ 2 ชนิด คือ ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ (Fixed Capacitor) และตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)

  1. ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ (Fixed Capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีขั้วบวกและขั้วลบบอกไว้ ซึ่งต้องคำนึงถึงการต่อขั้วเมื่อนำไปใช้งาน โดยขั้วลบจะมีลูกศรชี้ไปที่ขั้ว และในลูกศรจะมีเครื่องหมายลบระบุไว้

  1. ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ (Paper capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้กระดาษอาบน้ำยาทำเป็นแผ่นไดอิเล็กตริก นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มีค่าสูง และมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีในย่านอุณหภูมิที่กว้าง มีค่าความจุตั้งแต่ 1 ไมโครฟารัด (µF) ถึง 1,000 µF สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ 200 ถึง 1,600 โวลต์ (Volt)

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นไมก้าเป็นฉนวนไดอิเล็กตริก ไม่มีขั้วไฟฟ้า จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และสามารถทำงานได้ดีที่ความถี่สูง ส่วนมากตัวเก็บประจุชนิดนี้จะถูกทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพราะแผ่นไมก้าจะมีคุณสมบัติที่แข็งกรอบ โครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแผ่นเพลตโลหะบางๆ อาจใช้หลายๆ แผ่นวางสลับซ้อนกัน

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้เซรามิกมาทำเป็นแผ่นไดอิเล็กตริก ไม่มีขั้วไฟฟ้า โดยทั่วไปมีลักษณะกลมแบน บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบน ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 µF เป็นชนิดที่ไม่มีขั้วและสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ประมาณ 50 ถึง100 โวลต์ ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วงระหว่าง 1 พิโก (pF) ถึง 0.1 µF ค่าผิดพลาด ±5 ถึง ±10 %

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่นิยมใช้กันมากเพราะให้ค่าความจุสูง มีขั้วบวกลบ เวลาใช้งานต้องติดตั้งให้ถูกขั้ว โครงสร้างภายในคล้ายกับ แบตเตอรี่ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำหรือใช้สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง ส่วนข้อด้วยคือกระแสรั่วไหลและ ความผิดพลาดสูงมาก

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตลีน (Polyethylene capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่แบ่งได้หลายแบบเช่น โพลีเอสเตอร์ โพลีคาร์บอนเนต โพลีโพไฟลีน ค่าความจุจะอยู่ในช่วง นาโน - ไมโคร เช่นเดียวกับ ตัวเก็บประจุไมล่าการใช้งานแรงดัน อยู่ ในช่วง 50V - 100 V หรือมากกว่า ซึ่งจะเขียนติดไว้ที่ตัวเก็บ ประจุอยู่แล้วและค่าตัวเก็บประจุ จะพิมพ์อยู่บนตัวเก็บประจุ เลย โดยอาจจะเป็นค่า pF หรือ uF ขึ้นอยู่กับค่าความจุในการ ใช้งานส่วนมากจะใช้งานในระบบเสียง เสียงเครื่องเสียง ระบบ ความคม เป็นต้น

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม (Tantalum capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความผิดพลาดน้อยใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะใช้ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่ม แทนชนิดอิเล็กโตรไลต์ธรรมดา เพราะให้ค่าความจุสูงเช่นกัน

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบไมลา (Mylar capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่นิยมใช้มากเพราะมีเสถียรภาพสูง กระแสรั่วต่ำ มีค่าสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิสูง แต่ไม่มีขั้วบวกลบ เพราะฉะนั้นในงานบางอย่างจะใช้ไมลาแทนเซรามิค เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดและการรั่วไหลของกระแสน้อยกว่าชนิดเซรามิค เหมาะสำหรับวงจรกรองความถี่สูง

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบไบโพลา (Bipolar capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่นิยมใช้กันมากในวงจรภาคจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เครื่องขยายเสียง เป็นตัวเก็บประจุจำพวกเดียวกับชนิดอิเล็กโตรไลต์ แต่ไม่มีขั้วบวกลบ บางครั้งเรียก สั้น ๆ ว่า ไบแคป

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน (Polypropylene capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่มีประสิทธิภาพสูง หรือรู้จักกันในชื่อ MKP และถ้านำไปใช้กับไฟกระแสไฟฟ้าสลับ มีคุณสมบัติคล้ายกับชนิดโพลีสไตลีน

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

  1. ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)

เป็นตัวเก็บประจุที่ค่าการเก็บประจุจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน โครงสร้างภายในประกอบด้วย แผ่นโลหะ 2 แผ่นหรือมากกว่าวางใกล้กัน แผ่นหนึ่งจะอยู่กับที่ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้ ไดอิเล็กตริกที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกันคือ อากาศ ไมก้า เซรามิค และพลาสติก เป็นต้น

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

หน่วยความจุของคาปาซิเตอร์

คาปาซิเตอร์มีหน่วยเป็น ฟารัด (F) , ไมโครฟารัด (uF) หรือ MFD , นาโนฟารัด (nF) และพิโกฟารัด (pF)

ไมโครฟารัส(uF) \= \= 0.000001F นาโนฟารัส (nF) \= \= 0.001nF

พิโกฟารัส(pF) \= \= 0.001nF

การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์

1. การอ่านค่าโดยตรง

คาปาซิเตอร์ ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีความจุสูง และบอกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าสูงสุดมาด้วย

ยกตัวอย่าง

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

ค่าที่อ่านได้คือ

มีค่าความเก็บประจุ 2200 uF

มีค่าแรงดันไฟฟ้า 25 V

การใช ม ลต ม เตอร ว ดคาปาซ เตอร

ค่าที่อ่านได้คือ

20 MFD มีค่าความเก็บประจุ 20 uF

มีค่าแรงดันไฟฟ้า 440 VAC

มีค่าความผิดพลาด ± 6 %

2. การอ่านแบบตัวเลข

คาปาซิเตอร์ชนิดนี้จะบอกเป็นตัวเลขมา 3 ตำแหน่งด้วยกัน โดยที่ ตัวที่หนึ่งจะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง ตัวที่สองจะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง และตัวเลขตัวที่สามจะเป็นตัวเติมเลขศูนย์ลงไป(หรือตัวคูณก็ได้) หน่วยที่ได้จะเป็น พิโกฟารัส (