การว เคราะห อ นตราย สารก อภ ม แพ

ไรฝุ่น เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากจนมนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยด้วยตาเปล่า มีความยาวเพียง 0.1-0.3 มิลลิเมตร อยู่ปะปนกับฝุ่นภายในบ้าน กินผิวหนังของมนุษย์ที่ถูกผลัดออกมาเป็นอาหาร

ในคนที่แพ้ไรฝุ่น เมื่อหายใจเอาอากาศที่มีไรฝุ่นเข้าไปอาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นในระบบทางเดินหายใจได้ โดยไรฝุ่นที่พบได้บ่อยและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ มี 2 ชนิด คือ Dermatophagoides pteronyssinus (DP) และ Dermatophagoides farinae (DF)

รู้หรือไม่...

ใน 1 วัน ผิวหนังมนุษย์จะถูกผลัดเซลล์ออกมาถึง 1.5 กรัม ซึ่งสามารถเลี้ยงไรฝุ่นได้ถึง 1 ล้านตัว

โรคภูมิแพ้ไรฝุ่นคืออะไร?

โรคภูมิแพ้ไรฝุ่น เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ (ไรฝุ่น) เข้าไปในร่างกาย แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นขึ้นมา เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ (ไรฝุ่น) อีกในภายหลัง ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะกระตุ้นให้ร่างกายมีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นมากเกินไป ทำให้เกิดการตอบสนองที่มากผิดปกติ

อาการของโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น มีอะไรบ้าง?

อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • คัดจมูก
  • คันจมูก จาม น้ำมูกไหล
  • คันตา แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล
  • คันคอ ไอ
  • คันผิวหนัง เป็นผื่น อาการที่พบในคนที่เป็นโรคหืด (Asthma)

ได้แก่

  • หายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจมีเสียงวี๊ด
  • มีอาการหอบหืดในเวลากลางคืนหรือช่วงตื่นนอน

เราจะวินิจฉัยอาการของโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นได้อย่างไร?

แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ร่วมกับดูอาการของโรค หากสงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น อาจตรวจเพิ่มเติมโดยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Test, SPT) หรือการเจาะเลือดตรวจภูมิจำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ (Specific IgE Blood Test)

การรักษาโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น ทำได้อย่างไรบ้าง?

  1. จัดการที่ต้นเหตุ คือ กำจัดตัวไรฝุ่น
  2. ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ โดยแนะนำให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น
  3. ใช้เครื่องกรองอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ชนิด HEPA filter
  4. หลีกเลี่ยงการนำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
  5. ควรซักทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนประมาณ 60 องซาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อฆ่าไรฝุ่น
  6. ควรนำเครื่องนอนออกตากแดดจัดๆ ทุกสัปดาห์ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที
  7. ผลิตภัณฑ์เครื่องนอนควรทำมาจากผ้ากันไรฝุ่น หรือผ้าที่มีเส้นใยถี่แน่น มีรูห่างของผ้าทอเล็กมาก ซึ่งสามารถลดการเล็ดลอดของไรฝุ่นออกมาได้
  8. หลีกเลี่ยงการใช้พรม เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น
  9. รักษาโดยการใช้ยา
  10. ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เพื่อลดอาการคันจมูก น้ำมูกไหล ผื่นแพ้
  11. ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Nasal corticosteroids) เพื่อลดอาการบวมในโพรงจมูก ลดอาการคัดจมูก
  12. ยาสเตียรอยด์ชนิดทา (Topical corticosteroids) เพื่อลดอาการคัน อาการอักเสบบริเวณผิวหนัง โดยความแรงที่ใช้จะแตกต่างกันไปตามบริเวณที่เป็น
  13. ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน (Oral corticosteroids) กรณีที่มีอาการแพ้รุนแรง
  14. ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotics) กรณีที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย

ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยที่แพ้ไรฝุ่น

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

ภูมิคุ้มกันบำบัด คือการรักษาด้วยวิธีให้สารที่ผู้ป่วยแพ้ (ไรฝุ่น) เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งในปัจจุบัน การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด มี 2 วิธี คือ การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (subcutaneous immunotherapy, SCIT) และการอมใต้ลิ้น (sublingual immunotherapy, SLIT) ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทั่วทั้งร่างกายได้

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดนั้นต้องใช้ความสม่ำเสมอในการรักษา อาจต้องรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีจนผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่อไรฝุ่น ส่งผลให้อาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นลดลงได้

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง

United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย

ประเภท 1 : ระเบิดได้ Class 1 : Explosives ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดแก๊สที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) เช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น 1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด เช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น 1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด เช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น 1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ เช่น พลุอากาศ เป็นต้น 1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด 1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย

ประเภทที่ 2 : แก๊ส Class 2 : Gases

สารที่อุณหภูมิ 50°C มีความดันไอมากกว่า 300 kP หรือมีสภาพเป็นแก๊สอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP ได้แก่ แก๊สอัด แก๊สพิษ แก๊สในสภาพของเหลว แก๊สในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงแก๊สที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

2.1 แก๊สไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง แก๊สที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13% หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12% ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติแก๊สไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น 2.2 แก๊สไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง แก๊สที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20°C หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น 2.3 แก๊สพิษ (Poison Gases) หมายถึง แก๊สที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของแก๊สในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น

ประเภทที่ 3 : ของเหลวไวไฟ Class 3 : Flammable Liquids ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด หรือไม่เกิน 65.6°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ เช่น แอซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น ประเภทที่ 4 : ของแข็งไวไฟ Class 4 : Flammable solid สารที่ลุกไหใ้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ 4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง เช่น เกลือไดอะโซเนียม หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด เช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้ 4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด แก๊สไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย ประเภทที่ 5 :สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ Class 5 : Oxidizing and Organic peroxide 5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น 5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ เช่น แอซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น

ประเภทที่ 6 : สารพิษและสารติดเชื้อ Class 6 : Toxic

6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยแก๊สพิษ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น 6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน เช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น

ประเภทที่ 7 : วัสดุกัมมันตรังสี Class 7 : Radioactivity

วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น ประเภทที่ 8 : สารกัดกร่อน Class 8 : Corrosion ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา เช่น HCl, H2SO4, NaOH เป็นต้น

ประเภทที่ 9 : วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด Class 9 : Miscellaneous Dangerous Substances and Articles

สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100°C ในสภาพของเหลวหรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240°C ในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่