กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

เงินที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนจ่ายเข้ากองทุน โดยนายจ้างจะหักจากค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

ผลประโยชน์อันเกิดจากการลงทุนในส่วนของสมาชิก

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุน ซึ่งจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

ผลประโยชน์อันเกิดจากการลงทุนของเงินสมทบคือดอกผลที่เกิดจากในส่วนของนายจ้างสมทบไปลงทุน

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

ประโยชน์สำหรับนายจ้าง

เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่งผลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดภาระของนายจ้างในการจ่ายเงินบำเหน็จ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร เป็นเครื่องมือในการลดอัตราการเข้า-ออกของพนักงาน

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

ประโยชน์สำหรับสมาชิก

เหมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้ เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ เป็นหลักประกันแก่ครอบครัวกรณีสมาชิกทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เป็นโอกาสออมเงินเพื่อตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

กองท นส ารองเล ยงช พ ม ท กบร ษ ทไหม

ประเภทของกองทุน

กองทุนเดี่ยว (Single Fund)

เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีนายจ้างเพียงรายเดียว มีข้อบังคับและนโยบายการลงทุนเฉพาะของกองทุนนั้นๆ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีเงินทุนตั้งต้นขนาดใหญ่

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็น นิติบุคคล แยกต่างหากจาก นิติบุคคลของนายจ้าง และ นิติบุคคลของผู้จัดการกองทุน ทำให้มีความมั่นคง ปลอดภัย

  • เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งเงินสะสมที่นำส่งเข้ากองทุน ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุน และเงินที่ได้รับเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ

องค์ประกอบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

"จำนวนเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะได้จากเงินสะสมเข้ามาทั้งจากนายจ้างและลูกจ้าง อีกทั้งยังมีโอกาสได้เพิ่มขึ้นจากผลตอบแทนลงทุน"

นายจ้าง

เงินส่วนแรกมาจากการสบทบเงินเข้ากองทุนจากนายจ้าง และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบ

  • นายจ้างมีเงินสมทบ* 2%-5% ของเงินเดือน นำส่งกองทุน
  • ผลประโยชน์จากเงินสมทบ

ลูกจ้าง

อีกส่วนหนึ่งมาจากเงินสะสมของลูกจ้าง

  • พนักงานนำส่งเงินสะสม* 2%-15% ของค่าจ้างเข้ากองทุน
  • ผลประโยชน์จากเงินสะสม

ทั้งนี้สำหรับลูกจ้างสามารถนำเงินสะสมไปยกเว้นภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

*เงินสะสมและเงินสมทบ ต้องนำส่ง ภายใน 3 วันทำการของบริษัทนายจ้าง นับจากวันที่จ่ายค่าจ้าง

ในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุน เงินในแต่ละส่วนจะได้รับไม่เหมือนกัน โดย เงินสะสมของลูกจ้างจะได้รับคืนทั้งหมด ขณะที่เงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้างจะได้รับตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลาออกจากงานตอนอายุครบ 55 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรืออาจเรียกได้ว่า “เกษียณอายุ” ตามเงื่อนไขภาษี เมื่อนำเงินออกจากกองทุน สมาชิกจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินกองทุนทั้ง 4 ส่วน คือ เงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ เนื่องจากเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวเพื่อเกษียณอายุ

อย่างไรก็ดี แม้ชีวิตการเป็นมนุษย์เงินเดือนจะสิ้นสุดลง แต่การบริหารจัดการเงินเกษียณก้อนใหญ่ก้อนนี้ยังคงต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องและควรเพิ่มความระมัดระวัง เนื่องจากเป็นช่วงชีวิตที่คนส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ประจำเหมือนในวัยทำงานแล้ว ดังนั้น ก่อนเกษียณอายุ สมาชิกกองทุนควรพิจารณา 2 เรื่องหลัก ได้แก่ บริหารจัดการเงินเกษียณอย่างไร และนำเงินเกษียณไปไว้ไหนได้บ้าง

บริหารจัดการเงินเกษียณอย่างไร

เมื่อสมาชิกมีแผนจะเกษียณอายุ ควรปรับพอร์ตการลงทุนล่วงหน้า โดยปรับลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสขาดทุนสูง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความมั่นคงสูงและความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้นหรือพอร์ตการลงทุนขาดทุน เนื่องจากสมาชิกในวัยใกล้เกษียณมีระยะเวลาการลงทุนเพื่อรอให้พอร์ตกลับมามีกำไรไม่นานเหมือนสมาชิกวัยหนุ่มสาว (กรณีสมาชิกเลือกลงทุนในแผนสมดุลตามอายุหรือกอง Life Path ที่ปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำและสินทรัพย์เติบโตสูงโดยอัตโนมัติตามอายุที่เพิ่มขึ้นของสมาชิก ก็ไม่ต้องปรับพอร์ตการลงทุน เพียงแต่ติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อดูพอร์ตการลงทุนของตน)

นอกจากนี้ ประเด็นที่สมาชิกควรให้ความสำคัญและพึงระวังคือ การถูกหลอกลวงให้ร่วมลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยวิธีโฆษณาจูงใจให้ลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนสูง หรือพวกแชร์ลูกโซ่ ซึ่งหากหลวมตัวไปลงทุนอาจทำให้สูญเสียเงินก้อนโตที่เก็บออมมาทั้งชีวิตได้ (คลิก เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมตัวเกษียณ)

นำเงินเกษียณไปไว้ไหนได้บ้าง

สมาชิกที่ลาออกจากงานตอนเกษียณอายุหรือลาออกเมื่อมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน สมาชิกสามารถเลือกจัดการเงินเกษียณได้หลายทาง ดังนี้

คงเงิน

สมาชิกที่เกษียณอายุและมีรายได้หรือเงินออมในช่องทางอื่นที่เพียงพอไว้ใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณ อาจเลือกคงเงินกองทุนทั้งหมดไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่นเดิมและคงการเป็นสมาชิกต่อไปได้ โดยสมาชิกและนายจ้างไม่ต้องนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนแล้ว และสมาชิกสามารถนำเงินที่คงไว้ในกองทุนไปลงทุนและปรับเปลี่ยนนโยบายได้เช่นเดิม และในภายหลังหากสมาชิกต้องการนำเงินออกจากกองทุนก็ได้รับการยกเว้นภาษีเงินกองทุนทั้งหมด ทั้งนี้ สมาชิกควรศึกษาเงื่อนไขการคงเงินไว้ในกองทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนก่อนตัดสินใจ ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย

ถอนเงินบางส่วน

สมาชิกที่ต้องการกระแสเงินสดจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ใช้จ่ายในการดำรงชีวิต อาจขอทยอยนำเงินออกมาเป็นงวด ๆ เพื่อให้การลงทุนมีความต่อเนื่อง มีผลตอบแทนงอกเงย เช่น ทุกไตรมาส ทุกครึ่งปี หรือทุกปี ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เงินของแต่ละคน อย่างไรก็ดี ก่อนสมาชิกจะเกษียณอายุควรสอบถามเงื่อนไขการขอรับเงินจากกองทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้จากนายจ้าง รวมถึงตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดว่า สมาชิกมีอายุและเป็นสมาชิกกองทุนตามเงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ เพื่อให้สามารถวางแผนการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

ถอนเงินทั้งหมด

สมาชิกที่ต้องการถอนเงินทั้งหมดที่อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุหรือสมาชิกที่มั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการเงินด้วยตนเองได้ดี สามารถขอรับเงินกองทุนออกมาทั้งหมดได้ โดยจะได้รับเงินดังกล่าวภายใน 30 วันหลังจากสิ้นสมาชิกภาพ ทั้งนี้ สมาชิกควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดว่า สมาชิกมีอายุและเป็นสมาชิกกองทุนตามเงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ และต้องระมัดระวังในการบริหารจัดการดูแลเงินเกษียณก้อนใหญ่นี้ไม่ให้ขาดทุนหรือถูกหลอกลวงโดยผู้ไม่ประสงค์ดี เพื่อให้เงินก้อนนี้เพียงพอสำหรับใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพจนถึงสิ้นอายุขัย

เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดูตรงไหน

1. ตรวจสอบจากใบแจ้งยอดเงิน ใบแจ้งยอดเงินเป็นเอกสารรายงานการเงินที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนพบว่ามีเงินออมในกองทุนเท่าไรแล้ว ทั้งส่วนที่เป็นเงินสะสมจากลูกจ้าง เงินสมทบจากนายจ้าง และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ซึ่งจะจัดส่งให้สมาชิกเป็นประจำ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อแจ้งรายละเอียดทั้งหมดของการลงทุนให้ทราบ

เช็คกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ Tisco ยังไง

ขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้ สามารถเข้าที่ระบบ Help >> Bank & Fund Format. จากนั้นให้มาเลือก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ >> กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ TISCO จะแสดงรายละเอียดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ TISCO ดังภาพ 0.

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ปีได้100%

อายุงานตั้งแต่ 3 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 50% อายุงานตั้งแต่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 80% อายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 100%

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้กี่วัน

สมาชิกจะได้รับเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สิ้นสมาชิกภาพ ตามวิธีการรับเงินที่ระบุไว้ ดังนั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน สมาชิกควรทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากมีเจ้าหนี้ขอรับเงินแทนสมาชิกหรือมีบุคคลใดขอยึดหรือหน่วงเหนี่ยวเช็คไว้ จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เงินที่ ...