ปราสาท ขอ ม อ าเภอสว างแดนด น สกลนคร

ปราสาทขอมบ้านพันนา รายละเอียด : ประวัติบ้านพันนา บ้านพันนา มีประวัติยาวนานกว่า 800 ปี คนกลุ่มแรกที่เข้ามาบุกเบิกก่อตั้งบ้านเรือนมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยพระวอ พระตา และเหล่าทหารที่เดินทางรอนแรมมาเพื่อหาแหล่งทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์ พอมาถึงบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พระวอ พระตา จึงตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น ส่วนทหารที่ตามขบวนมานำโดยนายพรานนา ได้แยกตัวมาทางทิศตะวันออกและพบแหล่งพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์จึงตั้งหลักแหล่งอยู่บ้านผ้าขาวพันนา ซึ่งความอุดมสมบูรณ์นั้นเปรียบได้ดังนี้ "บ้านผ้าขาวพันนา หัวปลาเฮ็ดก้อนเส้า ข้าวเก่าเอาใส่หม่อน" หมายถึง ในน้ำมีปลาชุกชุม ปลามีตัวขนาดใหญ่ จนสามารถนำหัวปลาที่เหลือกินแล้วมาทำเป็นเตาที่ตั้งหม้อ (ก้อนเส้า) ข้าวในนาก็อุดมสมบูรณ์ ในยุ้งฉางมีข้าวเก็บไว้รับประทานอย่างเล้นเหลือ จนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ข้าวเก่า ในปีที่ผ่านมายังรับประทานไม่หมด จึงนำไปเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวหม่อนเพื่อนำเส้นใย ไปถักทอเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ผู้โพส : admin

ปราสาท ขอ ม อ าเภอสว างแดนด น สกลนคร

ปราสาท ขอ ม อ าเภอสว างแดนด น สกลนคร

ปราสาท ขอ ม อ าเภอสว างแดนด น สกลนคร

ปราสาท ขอ ม อ าเภอสว างแดนด น สกลนคร

สว่างแดนดิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เดิมมาจากเมืองสว่างแดนดิน จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอสว่างแดนดิน และในปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาจากบ้านหัน มาตั้ง ณ หมู่ที่ 11 ตำบลสว่างแดนดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน และต่อจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ซึ่งชัยมงคล ไชยรบ ชนะจากการเลือกตั้งซึ่งมีนโยบายคือเปลี่ยนสว่างแดนดินให้เป็นจังหวัดหรือผลักดันให้เป็นจังหวัด ซึ่งเป็นนโยบายที่ใกล้เคลียงกันกับโครงการเสนอแต่งตั้งจังหวัดสว่างแดนดินโดยแยกจากจังหวัดสกลนคร ในปี พ.ศ. 2536 และโครงการในปี พ.ศ. 2536 นั้นได้เงียบหายไป และในปัจจุบันจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ยังไม่มีการแถลงการณ์ของนโยบายนั้นก็คือ ให้อําเภอสว่างแดนดินเป็นจังหวัด หรือก็น่าจะคือการณ์แถลงนโยบายให้อําเภอสว่างแดนดินเจริญก่อนแล้วค่อยจะได้เป็นจังหวัด และต่อมาก็มีความคืบหน้าคือการเปลี่ยนเทศบาลตําบลสว่างแดนดิน เป็นเทศบาลเมืองสว่างแดนดิน ที่อาจจะแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2568

ประวัติ[แก้]

ในปีพุทธศักราช 2406 รัตนโกสินทร์ ศก. 82 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งบ้านภูหว้าฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองภูวดลสอางเมืองหนึ่ง ตั้งบ้านโพธิ์สว่างฝั่งขวาแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองสว่างแดนดินเมืองหนึ่ง ตั้งบ้านกุดลิงฝั่งขวาแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองวานรนิวาสเมืองหนึ่ง ทั้งสามเมืองเป็นเมืองขึ้นเมืองสกลนคร

เมืองภูวดลสอาง ริมน้ำบั้งไฟ แขวงเมืองมหาชัย ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนั้น โปรดเกล้าให้แต่งตั้งราชบุตรเหม็นเมืองสกลนคร เป็นพระภูวดลรักษ์เป็นเจ้าเมือง เจ้าเมืองจึงได้พาเอาบุตรภรรยา สมัครพรรคพวกของตนอพยพครอบครัวข้ามโขงไปยังเมืองภูวดลสอาง ตั้งบ้านเรือนทำการรักษาป้องกันราชอาณาเขตมิให้ญวน ซึ่งเป็นศัตรูกรุงสยามล่วงล้ำเข้ามากดขี่ไพร่ราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อน ส่วนเมืองสว่างแดนดิน นั้น โปรดเกล้าให้ท้าวเทพกัลยา ผู้เป็นหัวหน้าไทยโย้ย (ไทยเผ่าหนึ่ง) คือ พระสิทธิศักดิ์ เป็นเจ้าเมืองยกบ้านโพธิ์สว่าง หาดยาวริมน้ำห้วยปลาหาง ในเขตเมืองสกลนครเป็นเมืองสว่างแดนดิน บ้านโพธิ์สว่างขณะนี้เรียกตำบลสว่างอยู่ในเขตอำเภอพรรณนานิคม โดยพระสิทธิ์ศักดิ์ (หำ พงศ์สิทธิศักดิ์) เป็นเจ้าเมือง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 ได้ย้ายเมืองจากบ้านโพธิ์สว่างหาดยาวไปตั้งอยู่บ้านโคกสี (ปัจจุบันเป็นตำบลโคกสี อยู่ในเขตปกครองอำเภอสว่างแดนดิน) ตั้งอยู่บ้านโคกสีเป็นเวลา 14-15 ปี จึงย้ายไปจากบ้านโคกสี ไปตั้งอยู่ที่บ้านหัน (ปัจจุบันบ้านหันอยู่ในเขตปกครองตำบลสว่างแดนดิน) พุทธศักราช 2445 โปรดเกล้าฯ ที่เปลี่ยนระเบียบการปกครองใหม่เปลี่ยนนามเมืองเป็นอำเภอ ให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ ราชวงศ์เป็นสมุห์บัญชี ราชบุตรเสมียนตราอำเภอเมืองสว่างแดนดิน เป็นอำเภอบ้านหัน โดยมีพระสิทธิศักดิ์เป็นนายอำเภอคนแรก

จนปีพุทธศักราช 2452 อำเภอบ้านหัน เป็นชื่อเรียกกันมาจนพุทธศักราช 2482 นายสุพัฒน์ วงศ์รัตนะ นายอำเภอขณะนั้น ได้สืบประวัติของนายอำเภอบ้านหันได้ความว่า เดิมชื่อเมืองสว่างแดนดิน ตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานนาม จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสว่างแดนดิน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และ ในปีเดียวกันนี้ได้ย้ายที่ว่าการจากบ้านหัน มาตั้ง ณ หมู่ที่ 11 ตำบลสว่างแดนดิน ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสว่างแดนดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านดุง (จังหวัดอุดรธานี) และอำเภอเจริญศิลป์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวานรนิวาสและอำเภอพังโคน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว และอำเภอไชยวาน (จังหวัดอุดรธานี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองหาน อำเภอทุ่งฝน และอำเภอบ้านดุง (จังหวัดอุดรธานี)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสว่างแดนดินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 189 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สว่างแดนดิน (Sawang Daen Din) 27 หมู่บ้าน 9. ค้อใต้ (Kho Tai) 10 หมู่บ้าน 2. คำสะอาด (Kham Sa-at) 14 หมู่บ้าน 10. พันนา (Phan Na) 12 หมู่บ้าน 3. บ้านต้าย (Ban Tai) 7 หมู่บ้าน 11. แวง (Waeng) 11 หมู่บ้าน 4. บงเหนือ (Bong Nuea) 12 หมู่บ้าน 12. ทรายมูล (Sai Mun) 8 หมู่บ้าน 5. โพนสูง (Phon Sung) 9 หมู่บ้าน 13. ตาลโกน (Tan Kon) 11 หมู่บ้าน 6. โคกสี (Khok Si) 14 หมู่บ้าน 14. ตาลเนิ้ง (Tan Noeng) 9 หมู่บ้าน 7. หนองหลวง (Nong Luang) 12 หมู่บ้าน 15. ธาตุทอง (That Thong) 8 หมู่บ้าน 8. บงใต้ (Bong Tai) 15 หมู่บ้าน 16. บ้านถ่อน (Ban Thon) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสว่างแดนดินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสว่างแดนดิน
  • เทศบาลตำบลดอนเขือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแวง
  • เทศบาลตำบลบงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบงใต้ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลพันนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันนาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านต้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านต้ายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสว่างแดนดิน (นอกเขตเทศบาลตำบลสว่างแดนดิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบงเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสูงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค้อใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแวง (นอกเขตเทศบาลตำบลดอนเขือง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรายมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายมูลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลโกน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลโกนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลเนิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลเนิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านถ่อนทั้งตำบล

สถานศึกษา[แก้]

โรงเรียนรัฐบาล[แก้]

โรงเรียนระดับประถมศึกษา

  • โรงเรียนบ้านเตาไหสร้างแก้ว อ.1-ป.6
  • โรงเรียนบ้านหนองหว้า อ.2-ป.6
  • โรงเรียนบ้านดอนย่านาง ป.1-ป.6
  • โรงเรียนบ้านหนองชาด อ.1-ป.6
  • โรงเรียนทรายมูลหนองกุงทรายศรีพิทยา อ.1-ม.3
  • โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่126
  • โรงเรียนบ้านโนนเสาขวัญ
  • โรงเรียนบงเหนือ
  • โรงเรียนบ้านหวาย อ.1-ป.6
  • โรงเรียนบงใต้โนนรังพัฒนา
  • โรงเรียนอนุบาลสว่างแดนดิน
  • โรงเรียนบ้านโคกสีไคร
  • โรงเรียนบ้านหนองทุ่ม(พุทธานุเคราะห์) (อ.1-ม.3
  • โรงเรียนบ้านตาล อ.1-ป.6

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

  • โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์
  • โรงเรียนบงเหนือวิทยาคม
  • โรงเรียนแวงพิทยาคม
  • โรงเรียนสว่างแดนดิน
  • โรงเรียนหนองหลวงศึกษา
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ม.ปลาย)

สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน
  • วิทยาลัยเทคโนโลยี ไฮเทค สกลนคร
  • วิทยาลัยเทคโนโลยี สว่างแดนดิน
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีแดนสยาม

โรงเรียนเอกชน[แก้]

  • โรงเรียนอนุบาลสุวรรณเทน
  • โรงเรียนมารีย์พิทักษ์สว่างแดนดิน
  • โรงเรียนการกุศลวัดบูรพา
  • โรงเรียนภูพานหลวง

สถานพยาบาล[แก้]

มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการดังนี้

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน โรงพยาบาลทั่วไป S ขนาด 320 เตียง จำนวน 1 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสว่างแดนดิน จำนวน 1 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 16 แห่ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำสะอาด
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้าย
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบงเหนือ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อร้าง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบงใต้
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใต้
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพันนา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสร้างแป้น
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายมูล
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลเนิ้ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลโกน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธาตุทอง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านถ่อน

สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญ[แก้]

  • ปราสาทขอมบ้านพันนา

ปราสาทขอมบ้านพันนา หรือ "กู่พันนา" ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออกประมาณ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร ทางถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ลักษณะของตัวปราสาทมียอดเดียว ฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง บริเวณใกล้กับตัวปราสาทมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ มีน้ำขังตลอดปี เชื่อว่าสร้างสมัยเดียวกับปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบางส่วนยังคงสภาพสมบูรณ์

กู่พันนา เป็นศาสนสถานประจำ สถานพยาบาลเรียกว่า “อโรคยศาล” สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ประกอบด้วยปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมก่อมุข ทางด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกและวิหารที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุขด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีโคปุระหรือประตูซุ้มขนาดใหญ่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากรุด้วย ศิลาแลง

จากการขุดแต่งในปี 2542 พบโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่เศียรพระวัชรธร ชิ้นส่วนพระโพธิสัตว์วัชรปราณีทรงครุฑ พระยมทรงกระบือ พบชิ้นส่วนพระกรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประติมากรรมเหล่านี้เป็นรูปเคารพ ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน รูปแบบเขมรแบบบายน (ราว พ.ศ. 1720-1780) กรมศิลปากรประกาศ "กู่พันนา" เป็นโบราณสถานของชาติเมื่อ 8 มีนาคม 2478 และประกาศขอบเขต เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 พื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา

  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ที่กรมศิลปากรขุดค้นได้จากการขุดบูรณะปราสาทขอมบ้านพันนา ได้แก่ ห่วงคอสัมฤทธิ์ ภาพเขียนสี และอื่นๆอีกมากมาย

  • หอนาฬิกาสว่างแดนดิน (ปัจจุบันยังไม่เสร็จ)
  • เจดีย์วัดดอนวังเวิน

ตั้งอยู่ที่บ้านดอนวังเวิน ตำบลสว่างแดนดิน เป็นเจดีย์ที่สร้างครอบสถูปเก่าที่สร้างด้วยศิลาแลง สมัยขอม ยุคเดียวกันกับปราสาทขอมบ้านพันนา

  • ดอนปู่ตา

เป็นที่ดอนมีป่าไม้หนาแน่น เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้วคอยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานให้มีความสุข ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนจะพากันมาบนบานเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ในแต่ละปีจะมีการจัดงานเพื่อทำพิธีบวงสรวงในช่วงเดือนเมษายน

  • สวนสมเด็จย่า (สวนสาธารณะหนองคู)

สวนสมเด็จย่า หรือ หนองคู เป็นหนองน้ำสาธารณะ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสว่างแดนดิน มีการปรับปรุงให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นลานกีฬาชุมชน เป็นสถานที่ใช้ประกอบกิจกรรมในงานวันลอยกระทงประจำปี

  • วัดโพธิ์ศรี
  • วัดใต้
  • วัดใหม่บ้านตาล (พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมงคล)

วัดใหม่บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระบรมธาตุเจดีย์นี้ หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ ได้นำชาวบ้านตาลและชาวบ้านใกล้เคียง คณะญานุศิตย์และพุทธศาสนิกชน ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ แรม ๑๐ ค่ำเดือน ๖ ปีมะโรง และแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง ๔ ปี ๕ เดือน ๒๗ วัน เป็นพระบรมธาตุ ๙ ยอด (โลกสุตรธรรม ๙) ฐานสี่เหลี่ยมทรงระฆังคว่ำขนาดกว้าง ๓๖.๕๐ × ยาว ๓๙.๕๐ × สูง ๔๑.๙๑ เมตร ประดิษฐาน ณ วัดบ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แบ่งเป็น ๓ ชั้น

  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน

บ้านโคกคอน เป็นหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองหมู่ที่ 2 ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แม้ว่าชุมชนปัจจุบันจะมีประวัติการตั้งถิ่นฐานย้อนหลังไปไม่เกิน 300 ปีที่ผ่านมา ทว่ามรดกทางวัฒนธรรมโบราณทั้งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวดิน และที่ทับถมอยู่ใต้ดินแสดงให้เห็นว่า บนพื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้มีการอยู่อาศัยของผู้คนมาไม่น้อยกว่า 4,000 ปี