กระบวนการว จ ยทางธ รก จ ม ความหมายว าอย างไร

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒ ประกาศสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา โดยพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๒ เป็นต้นไป

ที่มา ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ กำหนดให้รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นและงานของรัฐ อย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทําบริการสาธารณะและการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ วรรคสอง รัฐพึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม โดยกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อํานาจหรือกระทําการโดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือกระบวนการแต่งตั้งหรือการพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ วรรคสาม รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว

มาตรา ๒๕๘ ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (๔) ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐเพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานในหน่วยงานของรัฐ และสามารถเจริญก้าวหน้าได้ตามความสามารถ และผลสัมฤทธิ์ของงานของแต่ละบุคคล มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีความคิดสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆเพื่อให้การปฏิบัติราชการและการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองป้องกันบุคลากรภาครัฐจากการใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา

๒. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับดูแลหน่วยงานผู้รับผิดชอบการดำเนินการเตรียมการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมบุคคลของหน่วยงานของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ วรรคสาม และมาตรา ๒๕๘ ข.(๔) ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ รับผิดชอบดำเนินการ

๓. สำนักงาน ก.พ. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม จำนวน ๔ ครั้ง (ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... และให้แจ้งเวียนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ พิจารณา

๔. ก.พ. ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ มีมติรับทราบข้อเสนอแนวทางการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... ที่สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ เป็นผู้จัดทำขึ้น และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

๕. สำนักงาน ก.พ. จัดทำเอกสารตามหลักเกณฑ์การร่างกฎหมายและการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ พร้อมจัดประชุมชี้แจงหน่วยงานที่มีข้อสังเกตต่อร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ และจัดส่งเอกสารพร้อมข้อยุติหน่วยงานที่มีข้อสังเกตให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

๖. คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม และกำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลในการจัดทำและปรับปรุงประมวลจริยธรรม กำหนดหลักเกณฑ์การนำจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมถึงวินิจฉัย ตีความ หรือให้ความเห็นในเรื่องที่ขัดแย้งกับมาตรฐานทางจริยธรรม ตลอดจนกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

๗. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานได้พิจารณาตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... จำนวน ๔ ครั้ง (ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) และเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือ ที่ นร ๐๙๐๔/๔๙๖ แจ้งผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... ดังนี้ (๑) แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติ เป็น “ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ....” เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ วรรคสาม (๒) กำหนดบทนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ให้เกิดความชัดเจนว่าไม่หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล และองค์กรอัยการ (๓) กำหนดกระบวนการรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงกำหนดกลไกและมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม พร้อมให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งยืนยันความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยตรงต่อไป

๘. สำนักงาน ก.พ. จัดทำเอกสารตามหลักเกณฑ์การร่างกฎหมายและการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ .... และรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. (www.ocsc.go.th) และเว็บไซต์การรับฟังความคิดเห็นกฎหมายไทย (www.lawamendment.go.th) ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยสรุปผลการรับฟังความเห็นพร้อมแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรอง และแจ้งยืนยันร่างพระราชบัญญัติฯ ไปยังสำนักเลขาธิกาคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑

๙. คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ....ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๘๙/๒๕๖๑ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๑ ซึ่งที่ประชุมฯ มีมติรับหลักการและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน และกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานภายใน ๔๕ วัน

๑๐. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. .... ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นรายมาตรา จำนวน ๗ ครั้ง พร้อมจัดทำรายงานและนำเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ เป็นพิเศษ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ โดยที่ประชุมฯ เห็นสมควรประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. .... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๑๗๐ เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๓ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง และเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

----------------