กรดซ ดร ก ม นเป นอ นตรายต อคนท องไหม

9 เดือนแล้วเหรอเนี่ย! เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน! เนื่องจากในตอนนี้ลูกสามารถเลือกที่จะออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ คุณแม่จึงควรเตรียมการทุกอย่างให้พร้อมเอาไว้เสมอนะคะ เช่น ถ้าได้เข้าเรียนคลาสดูแลทารกเมื่อสัก 2 - 3 เดือนก่อน ให้ลองเอาเอกสารมาอ่านทบทวนดูและฝึกเทคนิคการหายใจที่ได้เรียนมาพร้อมกับคุณพ่อ ทบทวนแผนในการเดินทางไปโรงพยาบาลและเงื่อนไขที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทางต่าง ๆ แจ้งหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานว่าตอนนี้งานที่คุณแม่ดูแลอยู่ถึงไหนแล้ว พวกเขาจะได้รู้ว่าต้องรับไม้ต่อจากตรงไหนถ้าอยู่ ๆ คุณแม่ก็จะต้องขาดงานไป สัปดาห์ที่ 36 นี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีในการออกไปเดทกับคุณพ่อด้วยนะคะ เราคิดว่าคุณแม่อาจจะเต้นไม่ค่อยไหวเท่าไหร่ แต่ถ้าได้รับประทานมื้อเย็นอร่อย ๆ ก็น่าจะดีทีเดียว จริงไหม

ทารกในครรภ์อายุ 36 สัปดาห์มีขนาดตัวเท่าใด

ในสัปดาห์ที่ 36 นี้ ลูกมีขนาดตัวเท่ามะละกอแล้วค่ะ ยาวประมาณ 18.7 นิ้วตั้งแต่หัวถึงเท้า และมีน้ำหนักประมาณ 5.8 ปอนด์

ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ แปลว่าคุณแม่ท้องได้ 9 เดือนแล้วนะคะ! เหลืออีกเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้นก่อนจะถึงวันคลอด เดินหน้าต่อไปอีกนิดเดียวเท่านั้นค่ะ อย่าลืมว่าการตั้งครรภ์กินระยะเวลา 40 สัปดาห์ ซึ่งแปลว่านานกว่า 9 เดือนตามที่คนทั่วไปเข้าใจกันเล็กน้อย

อาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์

เมื่อเหลือเวลาอีกแค่ 4 สัปดาห์ อาการต่าง ๆ ที่คุณแม่ต้องเจอก็มาจากการที่ลูกใกล้จะคลอดนี่ละค่ะ ซึ่งอาจมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • หายใจได้ดีขึ้น เมื่อลูกเคลื่อนตัวลงมาอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน ปอดของคุณแม่ก็จะมีพื้นที่มากขึ้น และคุณแม่จะหายใจได้สะดวกขึ้นกว่าเดิมค่ะ
  • รู้สึกอึดอัดบริเวณอุ้งเชิงกราน ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุเดียวกับอาการก่อนหน้านั่นเองค่ะ! นั่นคือลูกเคลื่อนตัวลงมาต่ำแล้ว และสร้างแรงกดในบริเวณอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ คอยสังเกตดูนะคะว่ามีสัญญาณของการคลอดหรือเปล่า รวมถึงการบีบตัวอย่างสม่ำเสมอที่ไม่หายไปด้วยนะคะ
  • มีปัญหาด้านการนอน ตื่นขึ้นมาตอนตีสามเพื่อเขียนโน้ตขอบคุณและจัดตู้เสื้อผ้าอีกแล้วหรือเปล่าคะ? เราเข้าใจค่ะ อยากให้คุณแม่หาวิธีการผ่อนคลายดูนะคะ แม้ว่าจะไม่ค่อยได้หลับก็ตาม
  • แสบร้อนกลางอก ลูกที่กำลังโตของคุณแม่รบกวนระบบการย่อยของคุณแม่อย่างมาก ทำให้มันไม่สามารถทำงานอย่างปกติเหมือนตอนก่อนท้อง ยาลดกรดสามารถช่วยได้ค่ะ (แต่ต้องให้คุณหมออนุญาตก่อนนะคะ) พยายามป้องกันอาการนี้ให้มากที่สุดโดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารหมักดอง หรืออาหารที่มีความมันนะคะ (ไม่สนุกเลยใช่ไหม เรารู้ค่ะ แต่ว่ายังไงก็ดีกว่ามีอาการขึ้นมาใช่ไหมล่ะ)
  • ข้อเท้าและเท้าบวม การบวมเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นเรื่องปกติในสัปดาห์ที่ 36 นี้ และคุณแม่มีโอกาสที่จะเกิดอาการนี้มากขึ้นหากท้องลูกแฝด คุณแม่อาจพบว่าทันทีที่คลอดลูก อาการบวมจะหายไปจนหมด แต่ต้องระวังนะคะ! ถ้ามีอาการบวมขึ้นมาแบบเฉียบพลันหรือรุนแรง เพราะนั่นคือสัญญาณของปัญหาที่น่ากังวล แจ้งคุณหมอให้ทราบโดยด่วนค่ะ
  • ตกขาวเปลี่ยนไป ในสัปดาห์นี้คุณแม่อาจมีตกขาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด แต่ให้เฝ้าระวังหากมีน้ำใส ๆ ไหลออกมา (นั่นอาจจะเป็นน้ำคร่ำได้ค่ะ รีบโทร.หาคุณหมอด่วนเลยนะคะ) มีเลือดออก (สัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด) และของเหลวที่มีลักษณะคล้ายมูกหรือตกขาวที่มีเลือดปน ซึ่งอาจจะเป็นมูกบริเวณปากมดลูก การที่มูกเหล่านั้นถูกขับออกมาเป็นสัญญาณว่าคุณแม่ใกล้คลอดมาก ๆ แล้ว แต่ใกล้แค่ไหน อันนี้เราก็ไม่สามารถบอกได้นะคะ!
  • เจ็บเตือนหรือเจ็บหลอก คุณแม่อาจจะยังรู้สึกว่าในท้องมีอาการบีบเกร็งอยู่ในระยะนี้ และอาจจะรุนแรงขึ้น ที่จริงแล้วมีคุณแม่บางคนที่มาโรงพยาบาลเพราะคิดว่าตัวเองใกล้คลอด แต่แล้วก็ต้องกลับบ้านไป ในสัปดาห์นี้ หากมีอาการปวดท้องในลักษณะเดียวกับปวดประจำเดือนเป็นอย่างน้อย นั่นไม่ใช่การเจ็บเตือนหรือเจ็บหลอกค่ะ และหากคุณแม่มีอาการเจ็บที่รุนแรงมาก รีบแจ้งคุณหมอโดยด่วนนะคะ

เพราะในสัปดาห์นี้สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังใกล้คลอดนั้นอาจแยกจากอาการไม่สบายตัวระหว่างตั้งครรภ์ตามปกติได้ยาก คุณแม่จึงอาจจะอยากแจ้งให้คุณหมอทราบถ้าหากมีอะไรที่ผิดปกติ โทร.ไปก็ไม่เสียหายนะคะ และใช่แล้ว ต่อให้ไปโรงพยาบาลแต่ยังไม่ได้คลอดก็ไม่เสียหายเช่นกัน อย่างแย่ที่สุดก็คือคุณแม่แค่กลับบ้านไปพักเท่านั้นเองค่ะ

ท้องของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ 36 นี้ ท้องของคุณแม่อาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปมากนักจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยรวมแล้วตอนนี้คุณแม่น่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาราว 25 - 35 ปอนด์ค่ะ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่แนะนำสำหรับผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกายปกติ ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณแม่เคลื่อนไหวลำบากมากขึ้น (หรืออาจจะต้องเดินอุ้ยอ้าย) น้ำหนักของคุณแม่อาจจะขึ้นอีกไม่มากนักหลังจากนี้ อาจประมาณครึ่งปอนด์ต่อสัปดาห์จนกว่าลูกจะคลอดค่ะ

ถ้าคุณแม่อุ้มท้องแฝดได้ 36 สัปดาห์ คุณแม่อาจน้ำหนักขึ้นมา 35 - 45 ปอนด์ การจะพูดว่าท้องแน่นไปหมดนั้นก็ยังถือว่าห่างไกลกับความเป็นจริงมากทีเดียวค่ะ ขณะที่ส่วนใหญ่แม่ลูกแฝดจะคลอดที่สัปดาห์ที่ 36 แต่ก็มีโอกาสที่คุณแม่จะต้องรอต่อไปอีกสัก 2 หรือ 3 สัปดาห์นะคะ อย่าลืมว่ายิ่งอุ้มท้องไปนานเท่าไร โอกาสที่ลูกจะต้องเข้าไปอยู่ในห้อง NICU หลังคลอดก็น้อยลงมากเท่านั้น ดังนั้นถึงแม้คุณแม่จะรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก ให้อดทนเอาไว้และท่องไว้ว่ายิ่งนานยิ่งดีกับลูกนะคะ!

การอัลตราซาวนด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ 36 นี้ ตับและไตของลูกทำงานสอดประสานกันเป็นอย่างดี การไหลเวียนและระบบภูมิคุ้มกันพร้อมแล้วเช่นกัน ตอนนี้ลูกเกือบจะสามารถหายใจเองได้แล้วนะคะ นอกจากนี้ ตัวอ่อนวัย 36 สัปดาห์ยังมีผิวที่เรียบลื่นและนุ่มขึ้นอีกด้วย ส่วนเหงือกก็เริ่มแข็งขึ้นแล้วค่ะ

ในการนัดฝากครรภ์สัปดาห์ที่ 36 คุณหมออาจจะตรวจดูตำแหน่งของลูกค่ะ ตอนนี้ลูกควรจะเอาหัวลงแล้ว แต่ถ้ายังไม่เอาหัวลง แปลว่า “ลูกไม่กลับหัว” ค่ะ อย่าตกใจไปนะคะถ้าลูกยังอยู่ในท่านั้นระหว่างสัปดาห์นี้ เพราะยังมีโอกาสที่ลูกจะกลับหัวเองได้ตามธรรมชาติอยู่ค่ะ

คุณหมออาจจะอยากช่วยหมุนเปลี่ยนท่าของทารกที่ไม่กลับหัวนะคะ การหมุนเปลี่ยนท่าคือความพยายามในการหมุนตัวทารกโดยการใช้มือดันผ่านหน้าท้องของคุณแม่ ฟังดูน่ากลัวใช่ไหมคะ (และอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายใจเท่าไร) แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ นี่เป็นกระบวนการที่มีความเสี่ยงต่ำและประสบความสำเร็จมากกว่า 50% โดยก่อนหน้านั้นคุณแม่จะได้รับยาที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก จะมีการอัลตราซาวนด์เพื่อที่คุณหมอจะได้เห็นว่าลูกอยู่ในท่าไหนและรกอยู่ที่ตำแหน่งใด ระหว่างกระบวนการจะมีการอัลตราซาวนด์ไปด้วยเพื่อให้คุณหมอรู้ว่าต้องเคลื่อนไปทางไหน และจะมีการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจลูกทั้งก่อน หลัง หรือแม้กระทั่งระหว่างทำด้วยค่ะ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างปกติดีที่สุด ขอให้ทุกอย่างออกมาราบรื่นนะคะ

คุณแม่จะได้รับการตรวจหาเชื้อ GBS ในช่วงสัปดาห์นี้ด้วยนะคะ เป็นการทดสอบว่าคุณแม่มีแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Group B Streptococcus อยู่ในร่างกายหรือไม่ ถ้ามี คุณแม่อาจไม่รู้ตัวเลย และอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้ สำหรับลูก แบคทีเรียนี้อาจทำให้เกิดปัญหาที่น่ากังวลกว่านั้นและอาจมีผลต่อชีวิตเลยทีเดียว คุณแม่ประมาณ 10 - 30% มีผลการตรวจเป็นบวกค่ะ ส่วนวิธีการรักษานั้นง่ายมาก นั่นคือคุณแม่จะได้รับยาปฏิชีวนะในระหว่างการคลอดเพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อให้แก่ลูก

แต่ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์น้องแฝด หรือมีภาวะที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต หรือโรคหัวใจ คุณแม่อาจต้องได้รับการตรวจ Biophysical profile ที่เป็นการตรวจอัลตราซาวนด์ ร่วมกับการตรวจ Non-stress test เพื่อให้คุณหมอสามารถประเมินได้ว่าทารกนั้นเป็นอย่างไรบ้าง อีกทั้งยังสามารถเตรียมการได้หากต้องคลอดก่อนกำหนดด้วยค่ะ

กรดไหลย้อนระยะ 3 อันตราย ไหม

ระดับที่ 3: มีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมากจนทำให้เกิดภาวะเรื้อรัง ซึ่งอาจลามไปถึงหลอดลมและกล่องเสียง (เรียกว่า กรดไหลย้อนภายนอก) ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีรสขมในปาก หากเป็นเรื้อรังมากๆ หากเกิดอาการอาเจียนเป็นเลือดได้

กินอะไรถึงจะหายเป็นกรดไหลย้อน

1.อาหารโปรตีนที่ไขมันต่ำ อย่างเช่น เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ 2.อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ควรเน้นอาการที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง อย่างเช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท ผัก ผลไม้ โดยผลไม้สำหรับคนเป็นกรดไหลย้อนนั้น ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีกรดมาก อย่างเช่น กล้วย แตงโม แคนตาลูป แอปเปิ้ล พีช ลูกแพร์ อะโวคาโด

อายุครรภ์กี่เดือนถึงจะเป็นตัว

พัฒนาการทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 1ช่วง 3 เดือนแรกเป็นระยะที่อสุจิปฏิสนธิกับไข่และเจริญเติบโตไปเป็นตัวอ่อน ซึ่งในช่วงนี้จะเริ่มสังเกตเห็นอวัยวะต่าง ๆ ของทารกพัฒนาขึ้นมา

กรดไหลย้อนอันตรายถึงชีวิตไหม

อันตรายของโรคกรดไหลย้อน หากไม่รักษา หากเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วปล่อยเนิ่นนานจนเป็นเรื้อรัง ก็จะส่งผลให้หลอดอาหารมีแผล หรือหลอดอาหารตีบ ทำให้กลืนติด กลืนลำบาก หรือบางคนร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งที่หลอดอาหารเลยก็ได้ เพราะหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด