กรณ ศ กษาการท จร ต สนามบ นส วรรณภ ม

ในสมัย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้มีการศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ที่ดำเนินการไม่ได้ตามแผน ให้กลายเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานหลักอันได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ตามหลักยุทธศาสตร์ภายใต้งบประมาณสองล้านล้านบาทของกระทรวงคมนาคม โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การบินในประเทศไทยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถึงขีดจำกัดที่ท่าอากาศยานสามารถรองรับได้ ซึ่งแผนที่รวดเร็วที่สุดที่จะสามารถบรรเทาปัญหาได้คือต้องมีการเปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองเพิ่มเติมนั่นก็คือท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการบินในประเทศให้กลับมาเป็นปกติ โดยในระยะแรกเป็นการศึกษาเพื่อขยายเส้นทางของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ไปยังเมืองพัทยา และท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยกลุ่มบริษัทซีเมนส์ที่เป็นเจ้าของขบวนรถก็ได้ให้การยืนยันว่าการขยายเส้นทางไปพัทยาสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหาในด้านการดำเนินการ เพราะตัวรถได้รับการออกแบบสำหรับใช้เดินทางระยะไกลตั้งแต่แรกแล้ว แต่แล้วแผนทั้งหมดก็ถูกระงับเนื่องมาจากเกิดเหตุรัฐประหารขึ้นก่อน

ต่อมาในสมัยประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจีนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอขอพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสำหรับไปยังภาคตะวันออกของประเทศไทย แต่ในขณะนั้นรัฐบาลเองก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงเสนอให้รัฐบาลดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงโดยใช้โครงสร้างเดิมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ใช้รางรูปแบบเดียวกันกับระบบรถไฟความเร็วสูง คือรางขนาดมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร หรือ Standard Gauge ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการดำเนินโครงการ เพียงแค่ก่อสร้างเส้นทางเพิ่ม และดำเนินการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณในระบบเดิมให้เป็นระบบกลางของรถไฟความเร็วสูง สั่งซื้อขบวนรถใหม่ ก็สามารถเปิดใช้งานต่อได้ทันที เพราะโครงสร้างโดยรวมนั้นถูกออกแบบให้รองรับต่อการปรับแบบเป็นรถไฟความเร็วสูงไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

ปัจจุบันรัฐบาลได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการก่อสร้างด้วยวิธีการสรรหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการและรับผลประโยชน์กับความเสี่ยงในการดำเนินการทั้งหมด หรือ PPP-Net Cost โดยก่อสร้างเป็นส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์เดิมทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ โดยจากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ให้ก่อสร้างเส้นทางไปยังศูนย์คมนาคมบางซื่อและท่าอากาศยานดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ให้ก่อสร้างเส้นทางไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และไปจนถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยใช้โครงสร้างทางแยกเดิมที่ทำไว้เป็นจุดเริ่มต้น โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเวนคืนที่ดินเพื่อเตรียมใช้ก่อสร้างโครงการ

แนวเส้นทาง[แก้]

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ และมีระบบรถไฟฟ้าให้บริการสองระบบในเส้นทางเดียว มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองและจังหวัดใกล้เคียงด้านตะวันออกและชานเมืองด้านทิศเหนือ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานทั้งสามแห่ง เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แนวเส้นทางเริ่มต้นจากท่าอากาศยานดอนเมืองทางฝั่งทิศเหนือ วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อโดยไม่จอดรับผู้โดยสารรายทาง และลดระดับลงเป็นรถไฟใต้ดินผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เลี้ยวขวาวิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วยกระดับกลับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีหัวหมาก จากนั้นวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี ไปจนถึงย่านลาดกระบัง เลี้ยวขวาเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นวิ่งย้อนกลับ ยกระดับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ แล้วเลี้ยวขวาวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเข้าสู่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา เชื่อมต่อกับสายแยกแก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา เพื่อมุ่งหน้าไปยังสายอีสาน แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่ง เข้าสู่สถานีรถไฟชลบุรี เชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังที่สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา เชื่อมกับเมืองพัทยาด้วยรถไฟฟ้าโมโนเรล เมืองพัทยาที่สถานีรถไฟเมืองพัทยา แล้ววิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่งจนถึงช่วงเขาชีจรรย์ แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟเดิมเพื่อตีโค้งเข้าจังหวัดระยองแล้วเลี้ยวขวาเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง จากนั้นวิ่งย้อนกลับแล้วเลี้ยวขวาวิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่งอีกครั้ง ผ่านจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่จังหวัดตราด รวมระยะทางทั้งโครงการ 413.2 กิโลเมตร

แนวเส้นทางต่อจากนี้จะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงที่มุ่งตรงไปยังเขตพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วไปต่อยังกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อเปลี่ยนเส้นทางมุ่งตรงไปยังนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งขึ้นทางเหนือ ไปยังฮานอย ประเทศเวียดนาม ก่อนจะแยกสายไปยังคุนหมิงและหนานหนิง ประเทศจีน ปัจจุบันในฝั่งเวียดนามกำลังวางแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ฮานอย-โฮจิมินห์ ระยะทาง 1,570 กิโลเมตร ที่เคยยกเลิกไปใน พ.ศ. 2553 ส่วนฝั่งกัมพูชากำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทางช่วง พนมเปญ-โฮจิมินห์ รวมถึงเส้นทางข้ามพรมแดนไทย-กัมพูชาด้วยเช่นกัน

รูปแบบการให้บริการ[แก้]

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีรูปแบบการให้บริการเมื่อแล้วเสร็จทั้งหมดสองรูปแบบ ทั้งแบบรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสายซิตี้ โดยแบ่งรูปแบบการให้บริการตามพื้นที่ตั้งของสถานีดังต่อไปนี้

  • ช่วงในเมืองและชานเมืองกรุงเทพมหานคร (Urban Area) (จากสถานีดอนเมือง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) : ให้บริการในรูปแบบ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สายซิตี้ จากสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง - สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วตีกลับ จอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท - ราชปรารภ - มักกะสัน - รามคำแหง - หัวหมาก - บ้านทับช้าง - ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน รับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - มักกะสัน และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 20 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ
  • ช่วงพื้นที่ระหว่างเมือง (Rural Area) (จากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา) : ให้บริการในรูปแบบ รถไฟฟ้าเอราวัน สาย Standard Line จากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา แล้วตีกลับ จอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทางทั้งสิ้น 6 สถานี คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี - ศรีราชา - พัทยา - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 40 นาทีจากกรุงเทพมหานคร และ รถไฟฟ้าเอราวัน สาย Airport Express รับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจำกัดความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 45 นาทีจากกรุงเทพมหานคร

รูปแบบของโครงการ[แก้]

ทางวิ่งและขบวนรถ[แก้]

  • เป็นระบบไฟความเร็วสูง (High-speed Rail) ชนิดขับเคลื่อนได้ทั้งสองทางโดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนรูปแบบขบวนรถ
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 20 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น (1) ช่วงสถานีกลางบางซื่อ - สถานีพญาไท รถไฟฟ้าจะลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวถนนบริเวณใต้ถนนกำแพงเพชร 5 หลังออกจากสถานีกลางบางซื่อ เมื่อพ้นแยกเสาวนีย์จะยกระดับกลับไปที่ความสูง 20 เมตร (2) ช่วงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะลดลงเป็นระดับดินหลังข้ามถนนสุวรรณภูมิ 2 แล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน และ (3) ช่วงเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา รถไฟฟ้าจะลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน ลอดใต้ถนนสุขุมวิท และย่านการค้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ[แก้]

รถไฟฟ้าในเมือง หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สายซิตี้ จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ซอยศูนย์วิจัย (ที่ตั้ง สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน) ส่วนรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ฉะเชิงเทรา (บางเตย-แปดริ้ว) ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยระยอง ที่จังหวัดระยอง และทางซ่อมบำรุง อยู่ที่จังหวัดตราด ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ซอยศูนย์วิจัย

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา และสถานีพัทยา

สถานี[แก้]

มีทั้งหมด 15 สถานี เป็นสถานียกระดับ 7 สถานี เป็นสถานีรูปแบบอาคารผู้โดยสาร 6 สถานี และเป็นสถานีใต้ดิน 2 สถานี

ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร (8 ตู้โดยสารสำหรับรถไฟความเร็วสูง) มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในสถานีประเภทยกระดับทุกสถานีและสถานีแบบอาคารผู้โดยสารบางสถานี และแบบ Full-Height ในสถานีใต้ดินและสถานีแบบอาคารผู้โดยสารบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ

ขบวนรถไฟฟ้า[แก้]

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 160-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40 - 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ย่านคลองตันที่ 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง

โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในระยะแรกนั้น ใช้ขบวนรถ ซีเมนส์ เดซิโร รุ่นบริติช เรล คลาส 360 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ จำนวน 9 ขบวน ผลิตโดย ซีเมนส์ มีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถ เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร

ความถี่ในการเดินรถ[แก้]

จากรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ได้มีการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสารเพื่อกำหนดความถี่ในการเดินรถแต่ละรูปแบบเบื้องต้น เมื่อเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566 จะมีรูปแบบและความถี่ในการเดินรถดังนี้

  • รถไฟธรรมดา (สายซิตี้) ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ จอดทุกสถานี ความถี่ 13 นาที
  • รถไฟความเร็วสูง (High Speed) ดอนเมือง - อู่ตะเภา จอดเฉพาะสถานีดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา ความถี่ 20-30 นาที

โครงการก่อสร้าง[แก้]

โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีโครงการสร้างทับบนเส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับท่าอากาศยานหลักในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งสามแห่ง อันได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ซึ่งรวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานคร และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยโครงการก่อสร้างมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ระยะที่หนึ่ง (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) (เตรียมการก่อสร้าง)[แก้]

พญาไท - บางซื่อ[แก้]

  • ระยะทาง ระยะทาง 7.8 กิโลเมตร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เขตพญาไท, เขตดุสิต และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
  • เส้นทาง หลังจากผ่านสถานีพญาไทเส้นทางรถไฟฟ้าจะค่อย ๆ ลดระดับมาอยู่ในระดับใต้ดินแล้วเลี้ยวขวาวิ่งเลียบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตรงบริเวณถนนกำแพงเพชร 5 ผ่านสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ผ่านสถานีรถไฟราชวิถี และสถานีรถไฟสามเสน แล้วยกระดับกลับไปอยู่ในระดับที่ 4 เพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่สถานีกลางบางซื่อ
  • ขบวนรถ ให้บริการเฉพาะ สายซิตี้

สำหรับส่วนต่อขยายส่วนนี้มีแผนเพื่อที่จะรองรับผู้โดยสารจากทางสถานีกลางบางซื่อ ให้สามารถไปยังสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อไปได้ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็สามารถไปยังสถานีกลางบางซื่อได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามแผนล่าสุดได้มีการยกเลิกการจอดที่สถานีราชวิถี เนื่องจากรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ไม่ได้มาเชื่อมต่อกับโครงการที่สถานีนี้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดรถที่สถานีนี้อีกต่อไป

บางซื่อ - ท่าอากาศยานดอนเมือง[แก้]

  • ระยะทาง ระยะทาง 14 กิโลเมตร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เขตบางซื่อ, เขตจตุจักร, เขตบางเขน, เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
  • เส้นทาง หลังจากออกจากสถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้าจะวิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ตีขนานไปกับทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ผ่านเขตหลักสี่ ตัดกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ และสิ้นสุดโครงการที่สถานีดอนเมือง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มเพื่อไปยังสถานีปลายทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้
  • สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี
  • ขบวนรถ ให้บริการทั้ง สายซิตี้ และ HST

ลาดกระบัง - อู่ตะเภา[แก้]

  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา, อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอเมืองชลบุรี, อำเภอศรีราชา, อำเภอบางละมุง, จังหวัดชลบุรี, อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
  • เส้นทาง หลังจากออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะเลี้ยวขวาแล้ววิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก เข้าเขตจังหวัดฉะเชิงเทราแล้วเปลี่ยนเส้นทางไปวิ่งเลียบตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่ง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี และเข้าสู่จังหวัดระยอง ก่อนเลี้ยวขวาแล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินลอดใต้ถนนสุขุมวิท ย่านการค้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา และจอดที่ใต้อาคารผู้โดยสาร 3 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จากนั้นออกจากอู่ตะเภาแล้วเลี้ยวขวา ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟระยอง รวมระยะทาง 193.5 กิโลเมตร แต่เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมบริเวณเส้นทางช่วงที่ผ่านนิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด ทำให้ต้องมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่ เส้นทางช่วงอู่ตะเภา - ระยอง จึงกลายเป็นเส้นทางศึกษาในอนาคตไปแทน ทำให้ระยะทางรวมลดเหลือ 170 กิโลเมตร นับจากสถานีลาดกระบัง
  • สถานี 5 สถานี
  • ขบวนรถ ให้บริการเฉพาะ HST เท่านั้น โดยแยกเป็น Standard Line เป็นรถโดยสารที่จอดรับ-ส่งผู้โดยสารทุกสถานี และ Airport Express เป็นรถโดยสารที่จะมุ่งตรงไปสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพียงสถานีเดียว

ระยะที่สอง (อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเส้นทาง)[แก้]

อู่ตะเภา - ตราด[แก้]

  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน อำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง, อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี, อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
  • เส้นทาง หลังจากออกจากท่าอากาศยานอู่ตะเภา แนวเส้นทางจะเลี้ยวขวา ผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เข้าสู่สถานีรถไฟระยอง และสถานีรถไฟแกลง ข้ามเขตเข้าจังหวัดจันทบุรี เข้าสู่สถานีรถไฟจันทบุรี และสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟตราด ในพื้นที่อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
  • สถานีศึกษา 4 สถานี
  • ขบวนรถ ให้บริการเฉพาะ HST Standard Line เท่านั้น

รายชื่อสถานี[แก้]

รหัส ชื่อสถานี กม.ที่ รูปแบบสถานี รูปแบบชานชาลา หมายเหตุ ขบวนรถ จุดเปลี่ยนเส้นทาง ARL HST รถในเมือง (สายซิตี้) รถธรรมดา (HST) รถด่วน (Airport Express) ช่วงที่ 1 : ดอนเมือง - พญาไท (ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์) A10 HE1 ท่าอากาศยานดอนเมือง (Don Mueang Airport) -20.122 ยกระดับ ชานชาลาด้านข้าง ● ● ●สายสีแดงเข้ม รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น (สายเหนือ) A9 HE2 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (Krung Thep Aphiwat Central Terminal) -6.375 อาคารผู้โดยสาร ชานชาลากลาง แยกพื้นที่ชานชาลาสำหรับ รถไฟในเมืองและรถไฟความเร็วสูง ● ● ●สายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ) ช่วงที่ 2 : พญาไท - สุวรรณภูมิ (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในปัจจุบัน) A8 - พญาไท 0.179 ยกระดับ ชานชาลาด้านข้าง ปรับปรุงโครงสร้างสถานีเดิม ให้รองรับรถไฟความเร็วสูง ● - -สายสุขุมวิท (พญาไท) สายสีแดงอ่อนA7 - ราชปรารภ 0.982 ● - -สายสีส้ม (ราชปรารภ) A6 HE3 มักกะสัน 3.000 (HST) 3.125 (ARL) อาคารผู้โดยสาร ชานชาลาด้านข้าง ● ● ●สายสีน้ำเงิน (เพชรบุรี) สายสีแดงอ่อนA5 - รามคำแหง 7.399 ยกระดับ ชานชาลาด้านข้าง ● - -สายสีแดงอ่อนA4 - หัวหมาก 12.305 ชานชาลาด้านข้าง ● - -สายสีเหลือง (หัวหมาก) สายสีแดงอ่อนA3 - บ้านทับช้าง 17.267 ชานชาลาด้านข้าง ● - -สายสีแดงอ่อนA2 - ลาดกระบัง 23.498 ● - -สายสีแดงอ่อนA1 HE4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 28.812 ใต้ดิน ชานชาลากลาง ● ● ●สายสีเงิน (สุวรรณภูมิ ฝั่งใต้) ช่วงที่ 3 : สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา (รถไฟฟ้าระหว่างเมือง) - HE5 ฉะเชิงเทรา 64.839 อาคารผู้โดยสาร ชานชาลากลาง ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ - ● - สายแยก แก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา ไปสายอีสาน - HE6 ชลบุรี 113.449 ชานชาลาด้านข้าง - ● - - HE7 ศรีราชา 136.119 - ● - - HE8 พัทยา 160.929 ชานชาลากลาง - ● - รถไฟฟ้าเมืองพัทยา อุโมงค์ลอด ช่วงเขาชีจรรย์ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี - HE9 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา 196.410 ชานชาลากลาง ใต้ดิน - ● ● ช่วงที่ 4 : อู่ตะเภา - ตราด (รถไฟฟ้าระหว่างเมือง) - HE10 ระยอง n/a อาคารผู้โดยสาร ด้านข้าง - ● - - HE11 แกลง n/a - ● - - HE12 จันทบุรี n/a - ● - - HE13 ตราด n/a - ● -

สัญญาการก่อสร้าง และขอบเขตการดำเนินการ[แก้]

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด) อันเป็นนิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน โดยกลุ่มผู้รับสัมปทานจะต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาโครงการ และจะมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการตามไปด้วย โครงการมีระยะเวลาของสัญญาสัมปทานที่ 50 ปี แบ่งเป็นระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการ การปรับปรุงสถานีเดิม และการพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 5 ปี หรือมากกว่า และระยะเวลาในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 45 ปีหลังเริ่มดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชิงพาณิชย์ โดยมีรายละเอียดเนื้องานดังต่อไปนี้

ลำดับที่ เนื้องาน ขอบเขตที่ 1.ก - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธาที่เกี่ยวกับรถไฟ ก่อสร้างงานโยธาที่เกี่ยวข้องกับรถไฟร่วม และงานระบบเครื่องกล ไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้า ก.1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ ระยะทาง 220 กม. (136.7 ไมล์) ก.2 งานออกแบบควบคู่ก่อสร้างและปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้า 15 สถานี แบ่งเป็น (ก) งานออกแบบควบคู่การปรับปรุงสถานีเดิม 8 แห่ง และงานออกแบบควบคู่การปรับปรุงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการรถไฟความเร็วสูงที่สถานีกลางบางซื่อ (ข) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างสถานีใหม่ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา ทั้งคู่ให้รวมงานปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสถานี และก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร (ถ้ามี) ก.3 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟร่วม แบ่งเป็น (ก) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงบางซื่อ - สวรรคโลก - กำแพงเพชร 5 ระยะทาง 4.8 กม. (2.98 ไมล์) ของทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วง บางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ - หัวลำโพง (ข) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. (13.55 ไมล์) ให้รองรับการการเดินรถในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ (กรุงเทพ - พิษณุโลก - เชียงใหม่) และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ - นครราชสีมา - หนองคาย) ก.4 งานก่อสร้างและปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ 2 แห่ง แบ่งเป็น (ก) งานปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงซอยศูนย์วิจัย (คลองตัน) เดิม ให้รองรับการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง (ข) งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ฉะเชิงเทรา ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ก.5 งานก่อสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย 1 แห่ง ก.6 งานจัดหาระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบประตูกั้นชานชาลา และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ช่วยให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ ก.7 งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า แบ่งเป็น (ก) ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่รองรับความเร็วในการเดินทางสูงสุดที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ข) ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสำหรับเดินรถช่วงในเมือง ความเร็วในการเดินทางสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ค) จัดหาขบวนรถให้เหมาะสมกับการดำเนินการทั้งโครงการ ก.8 งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ ขอบเขตที่ 1.ข - งานการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา ข.1 งานเดินรถไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 45 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟท. กำหนดให้มีการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ โดยให้ยกเว้น (ก) การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท - สุวรรณภูมิ กำหนดให้เข้าเดินรถได้ทันทีหลังชำระค่าระบบอาณัติสัญญาณและล้อเลื่อน โดยให้รอหมายแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจาก รฟท. หลัง รฟท. ดำเนินการบอกเลิกสัญญาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการโฆษณาบนพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า (ข) การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง กำหนดให้เข้าเดินรถได้หลัง รฟท. กำหนดให้มีการเดินรถส่วนต่อขยายอย่างเป็นทางการ ข.2 งานจัดการระบบเดินรถไฟฟ้าที่ศูนย์ควบคุมกลาง ข.3 งานจัดการรถไฟ ข.4 งานจัดการพื้นที่สถานี ข.5 งานซ่อมบำรุงรถไฟ ข.6 งานจัดเตรียมอะไหล่สำหรับซ่อมบำรุงรถไฟตามกำหนด ขอบเขตที่ 2 - งานพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ 2.ก งานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สถานีมักกะสันของ รฟท. จำนวน 150 ไร่ กำหนดให้มีพื้นที่ทุกอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 850,000 ตารางเมตร และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท 2.ข งานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สถานีศรีราชาของ รฟท. จำนวน 25 ไร่ กำหนดให้มีพื้นที่ทุกอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 20,000 ตารางเมตร และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ขอบเขตที่ 3 - งานดำเนินการเชิงพาณิชย์ 3.ก งานดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ รวมถึงจัดเก็บค่าโดยสาร จัดเก็บรายได้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากพื้นที่สถานี ภายนอก และภายในขบวนรถไฟฟ้า ทางเชื่อมต่อกับอาคารอื่น ๆ และการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

ภายใต้สัญญาว่าด้วยความเข้าใจภายในกลุ่ม กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร แต่ละบริษัทจะมีขอบเขตและหน้าที่การดำเนินงานต่อไปนี้

  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด : จะเป็นผู้นำการประมูล ผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดภายในโครงการ และจะเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามสถานีรายทาง บริเวณที่ดินมักกะสันคอมเพล็กซ์แปลง A และบริเวณที่ดินสถานีศรีราชา
  • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) : จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการ รวมงานปรับปรุงโครงสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดิม
  • ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน : จะเป็นผู้ออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมโดยรวมให้กับโครงการ และเป็นผู้จัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าให้กับโครงการ
  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) : จะเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการ

ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา[แก้]

ผู้รับเหมาก่อสร้าง

  • บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด
  • Ferrovie dello Stato Italiane บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม
  • บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
  • บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการเงิน
  • สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงินสนับสนุนโครงการและงบประมาณ[แก้]

โครงการได้รับการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการทั้งหมดที่ 224,544.36 ล้านบาท โดยรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนให้ไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณสูงสุดที่คำนวณจากค่าโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ โดยงบประมาณแบ่งออกเป็นสามรายการดังต่อไปนี้