กรณ บร ษ ทล ม จ ายหน เร ยงย งไง

เปิดบริษัทแล้วต้องเลิกรา ไม่ใช่เรื่องแปลกในวงการธุรกิจ แต่ทว่าหลายคนอาจลังเลสงสัยว่า จริงๆ แล้วธุรกิจของเราเป็นแบบนี้ มันมาถึงจุดที่ต้องเลิกแล้วจริงๆ ไหมนะ และถ้าต้องเลิกจริงๆ เราต้องทำอะไรบ้าง

ในวันนี้ FlowAccount จะมาสรุปให้ทุกคนฟังแบบครบจบทุกมุมมอง สำหรับเจ้าของธุรกิจที่คิดจะเลิกบริษัท ถ้าพร้อมแล้ว ไปอ่านพร้อมๆ กันเลยจ้า

สัญญาณบ่งบอกธุรกิจต้องปิดตัว มีอะไรบ้าง

คนที่เคยมีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก่อน จะรู้ดีว่าการที่ธุรกิจเจ๊ง จนถึงขั้นต้องปิดตัวนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในพริบตา แต่ทว่าเรามักจะค้นพบสัญญาณผิดปกติบางอย่างได้จากงบการเงิน สัญญาณที่ว่าคืออะไร ลองมาเช็กกันทีละข้อเลย

กรณ บร ษ ทล ม จ ายหน เร ยงย งไง

  • ขาดทุนติดต่อกันหลายปี ลองเปิดดูงบกำไรขาดทุนของกิจการตัวเองสักนิดว่ามี “ขาดทุน” ติดต่อกันมากกว่า 1 ปีขึ้นไปหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วอาจส่อแววธุรกิจไปต่อไม่ได้ในอนาคต
  • ไม่มีกำไรสะสม กำไรสะสมเป็นสิ่งที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน ในส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้ากิจการไม่มีกำไรสะสมเหลืออยู่เลย แปลว่า ทุกปีที่ทำธุรกิจมานั้น ไม่มีอะไรงอกเงยในส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเลยค่ะ แม้จะไม่ถึงขั้นขาดทุนสะสม แต่มันอาจหมายถึง การที่ต้องแยกย้ายจากธุรกิจนี้ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทนก็ได้
  • เงินสดไม่พอ สัญญาณตัวสำคัญอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ ก็คือ เรื่องกระแสเงินสด ธุรกิจที่เริ่มหมุนเงินไม่ทัน ต้องยืมเงินเจ้าของอยู่บ่อยๆ อาจเป็นสัญญานเตือนกลายๆ ว่า เราควรหยุดทำธุรกิจนี้ เพราะถ้ายิ่งทำ ก็จะยิ่งเข้าเนื้อ
  • หนี้สินล้นสินทรัพย์ ธุรกิจมีหนี้ได้ แต่ไม่ควรจะมีมากจนเกินกว่าสินทรัพย์ที่มี เพราะสัญญานแบบนี้ กำลังเตือนเราว่า ภาระจากหนี้สิน อาจจะมากเกินกว่า ที่บริษัทรับไหว สุดท้าย ขายสินทรัพย์ทิ้งทั้งหมด ก็ยังไม่สามารถปลดหนี้ได้เลย

ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง

ถัดมาเมื่อธุรกิจมีสัญญานการปิดตัวมาลางๆ แล้ว และผู้ถือหุ้นทุกคนต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า พวกเราควรหยุดทำธุรกิจ และปิดกิจการกันเถอะ ในความเป็นจริงแล้วมีขั้นตอนที่จะต้องทำมากมาย ไม่ใช่แค่แขวนป้ายปิดร้านค่ะ ขั้นตอนที่ว่ามีอะไรบ้าง ลองมาดูกันเลย

1. จดทะเบียนเลิกบริษัท

  • ออกหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีมติพิเศษในการเลิกบริษัท ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น และโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ครั้ง
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นจะต้องมีมติพิเศษให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม
  • ประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง และส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท
  • แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท

2. เคลียร์บัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญมากๆ สำหรับการจดเลิกบริษัท ที่เจ้าของธุรกิจจะต้องสำรวจสินทรัพย์ และหนี้สินที่เหลืออยู่ เพื่อเคลียร์รายการคงค้างทั้งหมด ก่อนที่จะทำงบเลิกกิจการค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น

  • ลูกหนี้ ติดตามรับชำระเงินให้ครบถ้วน
  • สินค้าคงเหลือ ที่เหลืออยู่จะต้องขายออกให้หมด
  • สินทรัพย์อื่น เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ก็ควรจะเคลียร์บัญชีขายออกไป และรับเงินสดเข้ามาเก็บไว้ในบริษัท
  • เจ้าหนี้ ติดตามจ่ายชำระเจ้าหนี้ให้ครบถ้วน เหลือเพียงแต่หนี้สินจากการเลิกกิจการ เช่น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี

การเคลียร์บัญชีเช่นนี้ จะทำให้เรารู้ว่ากิจการเหลือเงินสดจริงๆที่จะต้องจ่ายคืนผู้ถือหุ้นทุกคนเท่าใด และเมื่อจัดทำงบ จดทะเบียนชำระบัญชีก็จะได้แบ่งคืนง่าย ไม่ต้องมีเรื่องยุ่งยากกังวลใจค่ะ

3. ส่งภาษีให้ครบถ้วน และแจ้งเลิกกิจการกับสรรพากร

นอกจากเราจะจดเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว สิ่งที่ต้องทำนอกเหนือจากนั้นก็คือ การเช็กว่าส่งภาษีต่างๆ ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และถ้าใครจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ อย่าลืมไปแจ้งเลิกกิจการกับกรมสรรพากรด้วยนะ

สรุปภาษี 4 เรื่องที่ต้องเช็กก่อนปิดบริษัท

กรณ บร ษ ทล ม จ ายหน เร ยงย งไง

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม แจ้งเลิกกิจการที่สรรากร ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการภายใน 150 วัน นับจากวันที่จดทะเบียนเลิก
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3, 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากวันที่จดทะเบียนเลิกให้ครบถ้วน เช่น การหัก ณ ที่จ่าย ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ ยื่นแบบ ภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิกในกรณีที่มีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยในงบการเงิน

4. แจ้งเลิกบริษัทกับประกันสังคม

กรณีที่บริษัทได้ขึ้นทะเบียนประกันสังคมไว้ สิ่งที่เราต้องทำ 2 เรื่อง ตามกฎหมายมีดังนี้

  1. ทำหนังสือแจ้งพนักงานที่จะเลิกจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง และจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานในอัตราที่กฎหมายกำหนด
  2. แจ้งเลิกกิจการโดยยื่นแบบ สปส.6-15 การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง

5. ทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท และจดชำระบัญชี

แม้กิจการทำตามข้อ 1-4 เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ไปจะจดทะเบียนชำระบัญชีสำเร็จ ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ยังมีพิธีรีตองมากมาย ที่ต้องทำตามเช็คลิสดังนี้

  • ทำงบการเงินชุดสุดท้าย ณ วันเลิกบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก โดยให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นว่าถูกต้อง
  • นัดประชุมผู้ถือ เพื่ออนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ โดยต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 7 วันก่อนประชุมและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติในการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการและอนุมัติการชำระบัญชี
  • หลังจากจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีแล้ว หากมีเงินคงเหลือให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
  • ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
  • ผู้ชำระบัญชีจัดการทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับจากมีมติเสร็จการชำระบัญชี

กรณ บร ษ ทล ม จ ายหน เร ยงย งไง

ทั้งหมดนี้เป็น 5 ขั้นตอนโดยสรุปของการจดทะเบียนเลิกบริษัทค่ะ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะ และต้องจัดเตรียมเอกสารมากมายพอสมควรเลย แต่สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคนเก็บไปคิด การเลิกธุรกิจ อาจไม่ใช่สัญลักษณ์ของคำว่า “แพ้” เสมอไป เพราะทุกครั้งที่เราเลิก มันอาจหมายถึง “การเริ่มต้นครั้งใหม่” ในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเก่าก็เป็นได้ค่ะ