บร ษ ทช.การช าง ม ท ด นท ไหนบ าง

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ก่อตั้งโดยตระกูลตรีวิศวเวทย์ โดยตระกูลตรีวิศวเวทย์มีเชื้อสายมาจากคนจีน ก่อนที่จะอพยพมาทำมาหากินในจังหวัดสุพรรณบุรี

ในช่วงแรกนั้นตระกูลตรีวิศวเวทย์ พยายามสร้างตัวโดยทำสารพัดอาชีพ แต่ก็ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จมากนัก จึงตัดสินใจย้ายเข้ามากรุงเทพในปี 2495 และเริ่มต้นทำธุรกิจอู่ซ่อมรถ

หลังจากทำอู่ซ่อมรถมาสักระยะ ในปี 2515 คุณปลิว ตรีวิศวเวทย์ และพี่น้องร่วมกันก่อตั้ง ช.การช่าง ในช่วงแรกเป็นเพียงสำนักงานเล็กๆ ในตึกแถว 2 ชั้น และมีพนักงานเพียงไม่กี่คน

ในช่วงนั้นเป็นยุคที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การพัฒนาโครงาสร้างพื้นฐานในประเทศหลายอย่าง ซึ่งถือเป็นช่วงที่ดีสำหรับช.การช่างในการเข้าไปรับงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะงานโยธาและงานก่อสร้างอาคารทั้งของภาครัฐและเอกชน

และบริษัทก็ค่อยๆเติบโตเรื่อยมา

ในปี 2538 บริษัท ช.การช่าง ก็ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน ธุรกิจหลักของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่หลายแห่ง ที่เราคุ้นเคย เช่น โครงการก่อสร้างสถานีและอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เช่น สายสีเขียว สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน โครงการก่อสร้างอาคารจอดรถสนามบินสุวรรณภูมิ โครงการปรับปรุงสนามบินดอนเมือง เป็นต้น

2. ธุรกิจการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค โดยลงทุนผ่านบริษัทลูกที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ คือ

ธุรกิจด้านการคมนาคมขนส่งโดยมีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อสร้างและบริหารทางพิเศษ บริหารจัดการโครงการระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า ซึ่ง ช.การช่างถือหุ้นอยู่ 29.9%

ธุรกิจด้านผลิตจำหน่ายน้ำประปาและบริหารจัดการน้ำเสียโดยมีบริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งช.การช่างถือหุ้นอยู่ 19.4%

ธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งมีบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็น Holding Company ที่ลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยที่ช.การช่างถือหุ้นอยู่ 28.8%

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) มีมูลค่าตลาด 41,000 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 38,027 ล้านบาท กำไร 2,192 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 47,597 ล้านบาท กำไร 2,002 ล้านบาท

บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) (TTW) มีมูลค่าตลาด 53,000 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 5,677 ล้านบาท กำไร 2,681 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 5,513 ล้านบาท กำไร 2,476 ล้านบาท

บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (CKP) มีมูลค่าตลาด 31,000 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 6,886 ล้านบาท กำไร 412 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 6,386 ล้านบาท กำไร 55 ล้านบาท

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) มีมูลค่าตลาด 115,000 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 13,580 ล้านบาท กำไร 2,605 ล้านบาท

มูลค่าตลาดบริษัท ช.การช่าง และบริษัทลูกทั้งหมด รวมกันมีมูลค่า 240,000 ล้านบาท

ปี 2559 มีบริษัทที่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์มีจำนวน 20 บริษัท มีรายได้รวมกัน 212,064 ล้านบาท และกำไรรวมกัน 8,727 ล้านบาท โดย ช.การช่าง มีรายได้เป็นลำดับที่ 2 และมีกำไรเป็นลำดับที่ 1 ในบรรดาบริษัทรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์

ปี 2560 บริษัทเซ็นสัญญางานใหม่ประมาณ 48,000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันมีปริมาณงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ประมาณ 78,000 ล้านบาท ซึ่งเกือบ 60% เป็นโครงการรถไฟฟ้า MRT

จะเห็นว่าช.การช่าง เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่นอกจากจะมีงานก่อสร้างเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ และมีผลการดำเนินงานของบริษัทลูกมาช่วยกระจายความผันผวนของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างอื่น

เรื่องนี้ทำให้คิดได้ว่า เมื่อตอนที่เราก่อตั้งธุรกิจนั้น ถ้าเกิดขึ้นในช่วงที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ก็เสมือนเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปได้ดี

นอกจากนี้ การมองหาธุรกิจอื่นที่มีรายได้และกำไรที่มั่นคง เพื่อลดความเสี่ยงจากธุรกิจหลัก ก็จะทำให้บริษัทสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง

แล้วตอนนี้สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้เริ่มในธุรกิจประเภทไหน? แล้วถ้าเรามีธุรกิจของตัวเองอยู่แล้ว เรามีวิธีหารายได้เพิ่ม เพื่อลดความเสี่ยงจากธุรกิจหลักอย่างไร? ถ้าทำได้เราก็น่าจะยิ่งใหญ่ได้เหมือน ช.การช่าง

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: CH. KARNCHANG PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ: CK) เป็นหนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ 3 รายที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งมีลักษณะการประกอบธุรกิจที่แตกต่างจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งอื่น โดยมีโครงสร้างทางธุรกิจหลักของบริษัท 2 ประเภทด้วยกัน คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค ในส่วนของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างนั้น ช.การช่างสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในหลายรูปแบบ อาทิ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ท่าอากาศยาน, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, ทางด่วน, ท่าเรือน้ำลึก และในส่วนของธุรกิจการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค ช.การช่างได้มีการเข้าไปลงทุนในธุรกิจทั้งหมด 3 ด้านคือ ธุรกิจด้านการคมนาคมขนส่ง ธุรกิจด้านระบบน้ำและธุรกิจด้านพลังงาน

ประวัติ[แก้]

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ ช.การช่าง ก่อตั้งโดยตระกูลตรีวิศวเวทย์ สำหรับอักษรย่อ ช. มาจากชื่อพี่ชายคุณปลิว, พี่เทพ ภาษาจีนมีตัวย่อเป็น ช.ช้าง และยังสอดคล้องกับความเป็นสิริมงคลจึงตั้งเป็น ช. การช่าง(อ้างอิงจาก ข่าวช่าง, 2548) แต่เดิมเป็นอู่ซ่อมรถ ย่านสี่แยกบ้านแขก ตระกูลตรีวิศวเวทย์อพยพมาจาก จ.สุพรรณบุรี มีพื้นเพเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว แซ่เตียว ช่วงแรกพยายามสร้างตัวโดยการทำสารพัดอาชีพแต่ก็ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จ จนพี่น้อง รุ่นที่ 2 ที่มีอยู่ 10 คน อพยพมากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2495 จากอู่ซ่อมรถขยับขยายธุรกิจมาเป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยเริ่มจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนแรกเริ่มจำนวน 1,400,000 บาท เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยในระยะแรกลักษณะงานของบริษัทเป็นการก่อสร้างอาคารและงานโยธาทั่วไป ในปี พ.ศ. 2524 ได้ร่วมทุนกับบริษัทโตคิว คอนสตรัคชั่นจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่น ตั้งบริษัท ช.การช่าง-โตคิว มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยทาง ช.การช่าง ถือหุ้น 55% และฝ่ายโตคิวถือหุ้น 45%

ช.การช่าง ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อว่า "บริษัท ชายการช่าง (ช.การช่าง) จำกัด (มหาชน)" ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้พิธีเปิดการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบัน

ช.การช่าง ได้มีการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติอื่นๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้าง อาทิ บริษัท บิลฟิงเกอร์ เอจี จำกัด จากเยอรมัน บริษัท เธมส์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากประเทศอังกฤษ เป็นต้น

ประเภทธุรกิจ[แก้]

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจแบ่ง สายงานการผลิต, สายงานการรับเหมาก่อสร้าง และสายงานสัมปทาน ซึ่งกลุ่มบริษัทมีการแบ่งแยกสายงานการผลิตของบริษัทย่อย, กิจการร่วมค้า และบริษัทร่วม ตามกลุ่มลักษณะการดำเนินธุรกิจ

ธุรกิจการก่อสร้าง[แก้]

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มีโครงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในประเทศ อาทิ

ประเภทโครงการ โครงการ มูลค่า (ล้านบาท) ระยะเวลา ระบบขนส่งมวลชน โครงการก่อสร้างสถานีและอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล 23,900 2539–2545 ระบบขนส่งมวลชน โครงการงานวางรางรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล 3,020 2542–2545 ระบบขนส่งมวลชน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่–ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ บางซื่อ สัญญาที่ 1 งานโครงสร้างยกระดับ (ด้านทิศตะวันออก) 10,004 2552–2557 ระบบขนส่งมวลชน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง–บางแค และบางซื่อ–ท่าพระ สัญญาที่ 2: งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงสนามไชย–ท่าพระ 9,988 2554–2559 ระบบขนส่งมวลชน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง–บางแค และบางซื่อ–ท่าพระ สัญญาที่ 5: งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบวางรางรถไฟฟ้าทั้งโครงการ 4,672 2554–2559 ระบบขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ สัญญาที่ 1 : งานโครงสร้างยกระดับ 14,138 2554–2559 ระบบขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ สัญญาที่ 2 : งานวางราง 2,243 2554–2559 ระบบขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่–บางซื่อ สัญญา 4 : ออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า บริหารโครงการ 20,011 2556–2559 ท่าอากาศยาน โครงการงานส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารภายในประเทศท่าอากาศยานกรุงเทพ 1,113 2535–2536 ท่าอากาศยาน โครงการเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานกรุงเทพ 3,877 2543–2546 ท่าอากาศยาน โครงการงานปรับปรุงคุณภาพดินลานจอด บริเวณอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5,575 2548–2550 ถนนและทางด่วน โครงการสะพานพระราม 9 924 2527–2530 ถนนและทางด่วน โครงการทางด่วน บางนา-บางพลี-บางปะกง-ชลบุรี 25,193 2538–2543 ถนนและทางด่วน โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 34,778 2540–2543 ถนนและทางด่วน โครงการทางพิเศษ สายบางพลี–สุขสวัสดิ์ 14,520 2547–2550 ถนนและทางด่วน โครงการทางพิเศษศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร 22,500 2555–2559 ท่าเรือ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต 288 2529–2531 อาคาร โครงการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2,567 2526–2529 อาคาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1,690 2538–2541 อาคาร โครงการอาคารการสื่อสารแห่งประเทศไทย 2,334 2538–2542 อาคาร โครงการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2,325 2542–2547 อาคาร โครงการงานสาธารณูปโภคและภูมิสถาปัตย์มหกรรมพืชสวนโลก 667 2547–2549 อาคาร โครงการอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 1,513 2548–2552 อาคาร ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ สัญญา 3 งานก่อสร้างอาคาร B, C, D, E 2,557 2549–2552 อาคาร โครงการก่อสร้างอาคารโรงงานยาสูบแห่งใหม่ 4,619 2554–2557 พลังงาน โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 22,472 2549–2554 พลังงาน โครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี 76,000 2554–2562 พลังงาน โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 4,550 2554–2556 ระบบน้ำ โครงการผลิตน้ำประปาปทุมธานี 3,776 2538–2542 ระบบน้ำ โครงการผลิตน้ำประปาในจังหวัดนครปฐม และสมุทรสาคร 7,629 2545–2547 ระบบน้ำ โครงการอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 2,024 2547–2551

ธุรกิจของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า[แก้]

ธุรกิจการก่อสร้าง

  • บริษัท ช.การช่าง (ลาว) จำกัด
  • บริษัท ช.การช่างเรียลเอสเตท จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเสริฐวิทย์ก่อสร้าง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรหมประทานก่อสร้าง
  • บริษัท กมลา ซีเนียร์ ลิฟวิ่ง จำกัด
  • บริษัท เสริมมิตร เอ็กซ์เซคคิวทีฟ จำกัด
  • บริษัท ช.การช่าง-โตกิว คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • บริษัท เจอาร์ คิวชู แคปิทอล แมเนจเมนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด
  • กิจการร่วมค้า บีบีซีที ซึ่งประกอบด้วย บิลฟิงเกอร์ แอนด์ เบอร์เกอร์ โบคเตียน เกสเซลซอฟ, โตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด และบริษัท ช.การช่าง-โตกิว คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • กิจการร่วมค้า ซีเคทีซี ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และโตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด
  • กิจการร่วมค้า ช.การช่าง- กรุงธนเอนยิเนียร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด
  • กิจการร่วมค้า บีบีซีดี ซึ่งประกอบด้วย บิลฟิงเกอร์ แอนด์ เบอร์เกอร์ เอจี, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), วัลเทอร์เบา เอจี
  • กิจการร่วมค้า ซีเคซีเอช ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
  • กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค
  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 5.00 และถือผ่านบีอีเอ็มร้อยละ 10.00)
  • บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด
  • บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด
  • บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ประปาปทุมธานี จำกัด
  • บริษัท ไทยวอเตอร์ โอเปอเรชั่นส์ จำกัด
  • บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด
  • บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด
  • บริษัท นครราชสีมา โซล่าร์ จำกัด
  • บริษัท เชียงราย โซล่าร์ จำกัด
  • บริษัท บางเขนชัย จำกัด
  • บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด
  • บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

  • ข้อมูล ณ วันที่ 9 เมษายน 2558 ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น 1 บริษัท มหาศิริ สยาม จำกัด 340,412,365 20.10% 2 บริษัท ช.การช่าง โฮลดิ้ง จำกัด 175,496,530 10.36% 3 บริษัท ซีเค.ออฟฟิซ ทาวเวอร์ จำกัด 93,348,212 5.51% 4 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 38,950,000 2.30% 5 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 31,817,471 1.88%

อ้างอิง[แก้]

  • สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ลักษณะการประกอบธุรกิจ แบบรายงาน 56-1 ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2557
  • “ธนวัฒน์” GEN 3 ช.การช่าง
  • รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • กลุ่มบริษัทมีการแบ่งแยกสายงานการผลิตของบริษัทย่อย รถไฟฟ้า (ลอดแม่น้ำ) มาหานะเธอ เบื้องหลังวิธีคิดและสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะทำให้คนกรุงเทพฯ เดินทางได้ง่ายขึ้น