3 ม นาคม l5 สถาปนากร งศร อย ธยา

แบบประเมินความพึงพอใจ ŴŴŴ @* 9! ĉ5!ŴŴŴ 3!92?5ßDfi=L*/ +@D ĉ: 9"!:* 5"ŴàD#đ! /:) (A)<GG! /:)D#đ!D5 -9 1flč593/9ffi&+8! +0+=5*@ *: fi=L"ĉ"5 ff>/9! )!" )D!=*)#+8D&fl=E-80<-

8 +ĉ/)2)9*: 5ffi=fflff>#ď@"9! fiQ:G3Ċ5 č +*AD!2F Ċ#+8 :0 * >M!fi8D"=*!D#đ!)+ffi F- fi:/9! ++)D)?L5/9!fi=Lac 9!/: )&Ŵ0Ŵbecd G!:!85 č +# +52ĉ/!fiĊ5ff<L!+8ffi9"G3ĉ )= 3!Ċ:fi=L2!9"2!@!G!ffiĊ:! :+fiĉ5Dfi=L*/Fffi*D&:8 :+2ĉD2+<) :+fiĉ5Dfi=L*/G!93/9ffi&+8! +0+=5*@ *:G!#ď@"9!5*@ *: )= :+fiĉ5Dfi=L*/3-:*+A

E"" !5 : :+H3/Ċ&+8fi=LD#đ! 59ffl-9 1flčffi9MDffi<)5D)?5)+ffi F-  *9)= :+fiĉ5Dfi=L*/ D<5!@+9 1č ++):ffl< D<0> 1:#+8/9ffl<0:2ffl+čHfi*: +ĉ5+5*fi=LD3-?55*AĉfiQ:G3Ċ5*@ *:D <ffi @+ <ffiĊ:! :+G3Ċ"+< :+ !9 fiĉ5Dfi=L*/fi9M:/Hfi*E-8:/fflĉ::ffl< @+ <ffiĊ:! :+ fiĉ5Dfi=L*/>*:*ffl9/>M!5*ĉ:+/ffiD+K/ &+Ċ5)J 9" :+D+< Dffl<"Fffl5D)?55*@ *: G!#ď@"9! :+ )!: )28ffi/ ): >M! !9 fiĉ5Dfi=L*/ 2:):+ff):DĊ:D*K! -9" 3+?58&9 Ċ: ?!HffiĊffl:)28ffi/  Ċ5)A-fflĉ:J5*AĉG!3!92?5D-ĉ)!=M fiĉ:!ff?5D-ĉ)!=MD-ĉ)Dffi=*/ 2:):+ffDfi=L*/HffiĊfi9M/9!H)ĉD"?L5 -5):5*@ *:ffl:) /:)%ď! E-Ċ/8#+8fi9"G 9" -<L!H5 /:)D#đ!Hfi*2) 9" Q:/9 ß+: :!=D ĉ:5AĉĊ:/5Aĉ!QM:D-<0-QM: :!fič /= !ffi=0+=5*@ *:D-5 @fl ĉ:)+ffi F- à

1

2 สารบัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6 รู้จักจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8 ความส�ำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ 14 ความส�ำคัญทางศาสนา 35 ค�ำขวัญประจ�ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 37 ประเพณีและงานเทศกาลจังหวัด 59 –งานประจ�ำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 60 –เทศกาลตรุษจีนกรุงเก่า อยุธยามหามงคล 61 – มหกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย และไหว้ครูมวยไทยโลก อยุธยา 62 –งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า 63 – พิธีไหว้ครูบูชาเตา 65 –วิสาขบูชา ห่มผ้าพระเจดีย์ชัยมงคล 66 –งานประเพณีแห่เทียนพรรษากรุงเก่า 67 –ลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 68 –งาน “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก” พระนครศรีอยุธยา 69 –อยุธยามหามงคล (ไหว้พระเก้าวัด) 70 รูปแบบต่างๆ ในการเที่ยวชมอยุธยา 71 – นั่งรถรางล้อยาง ชมแสง เสียงสัญจร 71 –ตุ๊กตุ๊กอยุธยา 72

3 – ปั่นจักรยานไหว้พระ - ชมเมือง 73 ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยา 74 – ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ 74 – ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ 75 – ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน 79 ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยุธยา 83 –ศิลปะการท�ำหัวโขน 83 –การท�ำพัดสาน 86 –การประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นโสน 87 –การท�ำงอบ 89 –การปั้นตุ๊กตาดินเผาชาวบ้าน 91 –เครื่องประดับมุก 94 – มีดอรัญญิก 97 – ปลาตะเพียนสาน 100 สถานที่ส�ำคัญและแหล่งท่องเที่ยว 102 –วัดไชยวัฒนาราม 102 –วัดมเหยงคณ์ 107 – ปราสาทนครหลวง 109 –วัดพระศรีสรรเพชญ์ 110 –วัดพระราม 113 –วัดมหาธาตุ 116 –วัดกุฎีทอง 118

4 –วัดกุฎีดาว 119 –วัดบรมพุทธาวาส 120 –วัดราชบูรณะ 122 –วัดพนัญเชิงวรวิหาร 127 –วิหารพระมงคลบพิตร 131 –วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร 133 –วัดใหญ่ชัยมงคล 138 –วัดกษัตราธิราชวรวิหาร 142 –วัดธรรมิกราช 146 –วัดท่าการ้อง 150 –วัดแม่นางปลื้ม 152 –วัดเชิงท่า 155 ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ 159 – พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา 159 – พระราชวังบางปะอิน 160 –วัดนิเวศธรรมประวัติ 166 –ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 169 – พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน 173 – พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม 176 ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน : และของดีประจ�ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 179 แหล่งที่พักอยุธยา 200

5 แหล่งของกิน 213 ของฝาก ของที่ระลึก 229 สถานที่น่าสนใจ 235 – พุทธอุทยานมหาราช หลวงปู่ทวด 235 – พระราชวังบางปะอิน 237 –ตลาดน�้ำอโยธยา 238 –ตลาดน�้ำทุ่งบัวชม 239 –วังช้างอยุธยา แล เพนียด 241 –ศรีอยุธยา ไลอ้อน ปาร์ค 242 – ทุ่งบัวแดง 243 – หมู่บ้านญี่ปุ่น Japanese Village 244 – หมู่บ้านโปรตุเกส 246 – พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย 248 –เจดีย์ศรีสุริโยทัย 250 –เจดีย์ภูเขาทอง 252 – พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 253 –คุ้มขุนแผน 255 –ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา 257 –อยุธยามหามงคล 259 ข้อมูลการเดินทางมาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 265 เบอร์โทรศัพท์ที่ส�ำคัญ / โรงพยาบาล 269

6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รู้จักจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลัดเปลี่ยนเวียนแผ่นดินด้วยกษัตริย์ผู้ครองนคร หลายราชวงศ์ สู่ยุคปัจจุบัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาใน หลากหลายความรู้สึกของผู้คนเมื่อนึกถึงหรือเอ่ยถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศไทยที่ได้เคยเยือน ต่าง ก็จะนึกถึงสิ่งที่ตนได้เห็นได้รับรู้ได้สัมผัสสิ่งที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกับสถานที่ วัดใหญ่ชัยมงคล, พระประธาน วัดเณรพม่า, วัดหน้า พระเมรุ, พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ บรมไตรโลกนาถ โบราณสถาน, อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โรตีสายไหม ก๋วยเตี๋ยว, ก๋วยเตี๋ยวเรือ ตลาดกลาง (ขายกุ้งเยอะ ๆ), ตลาดน�้าอโยธยา คุ้มขุนแผน (ไม่ได้มีแต่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี) วัดพนัญเชิง หลวงพ่อโต, พระเจ้าสายน�้าผึ้ง, พระนางสร้อยดอกหมาก วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตลาดหัวรอ

7 เจดีย์ศรีสุริโยทัย, วัดสวนหลวงสบสวรรค์ กุ้งแม่น�้ำตัวใหญ่ๆ อาหารไทยร้านวัชราชัย คณะลิเกศรรามน�้ำเพชร ขนมบ้าบิ่นท่าเรือ กุ้งแม่น�้ำ ตุ๊กตุ๊กหัวกบ เซ็นทรัลอยุธยา, อยุธยาซิตี้พาร์ค ศูนย์ศิลปาชีพ, พระราชวังบางปะอิน ฯลฯ สิ่งหนึ่งที่ท�ำให้พระนครศรีอยุธยาไม่เคยเปลี่ยนคือมนต์เสน่ห์ ของเมืองเก ่าที่ดึงดูดให้เรามีความรู้สึกร ่วมไปกับสถานที่และ ประวัติศาสตร์อย่างเหลือเชื่อเมื่อได้เห็นร่องรอยอารยธรรมของจริง ที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงหน้า ไหนจะวัดเก่า ไหนจะวังเก่าที่ล้วนแล้ว แต่น่าชื่นชม ซึ่งยังไม่รวมความโดดเด่นในเรื่องของอาหารการกิน ที่เหมาะจะให้อยุธยาเป็นจุดหมายของการออกเดินทางพักผ ่อน ในวันหยุดสบายๆกับครอบครัว ด้วยความไม่ใกล้ไม่ไกลจนเกินไปจากกรุงเทพฯ แถมยังมี แหล่งที่ตอบรับทุกไลฟ์สไตล์ได้ทุกวัย และยิ่งความฮอตของแม่นาง การะเกดจากละครวาระแห่งชาติบุพเพสันนิวาสยังไม่จางหายและ หนูลิซ่าก็ยิ่งท�ำให้อยุธยามีชีวิตชีวามากขึ้นไปอีกจากเหล่านักเดินทาง ที่แวะเวียนมาตามรอยก็ดีเซลฟีก็ดี–แล้วคุณจะไม่ไปเยือนอยุธยา สักคราเล่า ?

8 »ÃÐÇÑµÔ ความเปšนมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมี หลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมืองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะต�านานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียง เหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมือง อยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และ มีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้าน เมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะ ทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู ่ทอง) ทรงสถาปนา กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง ของประเทศสยามสืบต ่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์ สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์บ้าน พลูหลวง กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรก ใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ »ÃÐÇÑµÔ ความเปšนมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

9 ใน พ.ศ.2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 พ.ศ.2310 สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่กวาดต้อนผู้คนจาก กรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้างยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้าน เดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัย อยู่รอบ ๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมืองจนทางการยกเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า“เมืองกรุงเก่า” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยก เมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรีหลัง จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการ ปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครอง ส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้ รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวง เทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปีพ.ศ.2438 ทรงโปรดให้จัดตั้ง มณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆคือ กรุงเก่าหรือ อยุธยาอ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรีและสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปีพ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อ จากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยาซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยา มีผลให้อยุธยามีความส�ำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย ่างมีผลต ่อการพัฒนา

10 เมืองอยุธยาในเวลาต ่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบ เทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มี นโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลอง ยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปีพ.ศ.2498 นายกรัฐมนตรี ประเทศพม ่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจ�ำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตรเป็นการ เริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย ่างจริงจัง ซึ่งต ่อมา กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานส�ำคัญในการด�ำเนินการ จนองค์การ ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น “มรดกโลก” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 มีพื้นที่ครอบคลุม ในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต ่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนาน ถึง417 ปีมีประวัติในการปกครองการกอบกู้เอกราชวีรกรรมและ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมายเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วย พืชพันธ์ธัญญาหารดังค�ำกล่าวว่า “ในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว” กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อ กันมา33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักร รวม 5 ราชวงศ์

11 1. ราชวงศ์อู่ทอง 3 พระองค์ 2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 13 พระองค์ 3. ราชวงศ์สุโขทัย 7 พระองค์ 4. ราชวงศ์ปราสาททอง 4 พระองค์ 5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 6 พระองค์ พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) ราชวงศ์อู่ทอง 2 สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 -1913 (1 ปี) ราชวงศ์อู่ทอง 3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913-1931 (18 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 - 1931 (7 วัน) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 5 พระราเมศวร 1931 -1938 ( 7 ปี) สมเด็จพระราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1938 -1952 (14 ปี) ราชวงศ์อู่ทอง 6 สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชา ของขุนหลวงพระงั่ว 1952-1967 (16 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์1967-1991 (16 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

12 9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่3(โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) ราชวงศ์สุพรรณถูมิ 10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034-2072 (38 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 -2076 (4 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 12 พระรัษฎาธิราช (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 -2077 (1 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 14 พระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) (โอรสไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 16 สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 17 สมเด็จพระมหาธรรมราชา 2112 - 2133 (21 ปี) ราชวงศ์สุโขทัย 18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) ราชวงศ์สุโขทัย 19 สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 -2153 (5 ปี) ราชวงศ์สุโขทัย 20 พระศรีเสาวภาคย์(โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2153 (1 ปี) ราชวงศ์สุโขทัย 21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2171 (17 ปี) ราชวงศ์สุโขทัย

13 22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2172 (8 เดือน) ราชวงศ์สุโขทัย 23 พระอาทิตยวงศ์(โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172-2199 (28วัน) ราชวงศ์สุโขทัย 24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172-2199 (27 ปี) ราชวงศ์ปราสาททอง 25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199-2199 (3-4 วัน) ราชวงศ์ปราสาททอง 26 พระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199-2199 (3 เดือน) ราชวงศ์ปราสาททอง 27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปรารสาททอง) 2199-2231 (32 ปี) ราชวงศ์ปราสาททอง 28 สมเด็จพระเพทราชา 2231-2246 (15 ปี) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246-2275 (6 ปี) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 30 สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275-2301 (24 ปี) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275-2301 (26 ปี) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301-2301 (2 เดือน) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301-2310 (9 ปี) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

14 ความส�าคัญทางด้านประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยาคือนครประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ายิ่งของคนใน ประเทศชาติ เพราะบรรดาสถานที่ต่างๆ ของบ้านเมือง เช่น ถนน หนทาง คูคลอง วัดวาอาราม และปราสาทราชวังทั้งหลายแหล่ ที่ยังมีร่องรอยเหลืออยู่เหล่านั้น หาได้เป็นสิ่งที่ถูกลืมเลือนไปจนสอบ ค้นหาความหมายและความเป็นมาไม่ได้ หากมีเอกสารโบราณทั้ง ภายในและภายนอก ตลอดจนความทรงจ�าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ถ่ายทอด กันสืบมาช้านาน เล่าไว้ กล่าวไว้ และบันทึกไว้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ ท�าให้ไม่ยากแก่การสร้างจินตนาการและการสร้างภาพพจน์ที่มีชีวิต ชีวาอันใกล้เคียงกับความเป็นจริงในอดีตจากบรรดาซากหักพังของ สถานที่ต่างๆ ของบ้านเมืองได้ ความส�าคัญทางด้านประวัติศาสตร์

15 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพระนคร ศรีอยุธยาก็คือนครที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ ผู้คนที่อยู่ในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยมาช้านาน นับแต่ยุค ต้นประวัติศาสตร์ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมา ซึ่งเป็นการพัฒนา จากการเกิดของบ้านเล็กเมืองน้อยที่อยู่ในที่ราบลุ่มแม่น�้ำขึ้นเป็น รัฐอิสระที่มีการนับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกับบรรดารัฐอื่นๆ ที่อยู ่ในประเทศเดียวกันแล้วต ่อมาก็มีภาษาเดียวกัน จนถึงการ รวมตัวเป็นรัฐใหญ่ที่เรียกว่าอาณาจักร กรุงศรีอยุธยาคือราชอาณาจักรแห่งแรกของประเทศสยาม หรือที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน และพระนครศรีอยุธยาก็คือ ราชธานีแห่งแรกของประเทศนี้ที่แท้จริง ก่อนที่จะมีกรุงธนบุรีและ กรุงเทพมหานครต่อมาตามล�ำดับ ความส�ำคัญที่โดดเด่นเป็นพิเศษเฉพาะตัวเองอีกอย่างหนึ่ง ของพระนครศรีอยุธยาก็คือ เป็นนครในระดับนานาชาติที่ไม่เคยมี มาก ่อนหน้านี้ในดินแดนประเทศไทย เห็นจะมีเปรียบเทียบได้ ก็มีแต่กรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว ตลอดช่วงเวลา 417 ปีที่ด�ำรงอยู่นั้น พระนครศรีอยุธยา มีพัฒนาการทางฝังเมือง ขนาดของเมืองและขอบเขตของเมืองจน เป็นศูนย์กลางของสังคมเมือง [Urbancenter] ที่สมบูรณ์แบบเช่น เดียวกันกับนครใหญ่ๆ ในโลกที่ร่วมสมัยเดียวกัน นั่นก็คือนอกจาก การเป็นเมืองที่มีแม่น�้ำธรรมชาติล้อมรอบเป็นคูเมือง มีก�ำแพงและ ป้อมปราการก่ออิฐถือปูนที่มั่นคงแข็งแรงและมีถนนคูคลองที่ตัดเป็น

16 ตาตะแกรงเพื่อการคมนาคม การระบายน�้ำ และความมีระเบียบ แบบแผนอย่างสวยงามแล้วยังมีการแบ่งผังบริเวณของพระนครออก เป็นย่านหรือบริเวณต่างๆกัน ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้าง ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของบ้านเมืองอย่างชัดเจน นับแต่บริเวณที่เป็นพระบรมมหาราชวังอันเป็นที่ประทับและ เป็นที่บริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์วัดวาอาราม ทั้ง ที่เป็นวัดหลวงและวัดราษฎร์ย่านตลาดร้านค้า ย่านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ไปจนถึงย่านที่อยู่อาศัย และสถานที่พักสินค้า ห้าง โกดังเก็บสินค้าของชาวต ่างประเทศหลายเชื้อชาติและเผ ่าพันธุ์ ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ความเป็นชุมชนในระดับนครของกรุงศรีอยุธยานั้น ไม่ได้ จำ�กัดอยู่เฉพาะภายในบริเวณเกาะเมืองที่มีก�ำแพงป้อมปราการและ แม่น�้ำล้อมรอบเท่านั้น แต่มีรัศมีแผ่กว้าง ครอบคลุมบริเวณรอบๆ เมืองที่อยู่ภายนอกในรัศมี3–4กิโลกเมตรโดยอาศัยแม่น�้ำล�ำคลอง เป็นเครือข่ายบริเวณตัวเมืองที่เป็นศูนย์กลางเข้ากับบรรดาย่าน อุตสาหกรรม หัตถกรรม ย่านตลาด ย่านที่พักอาศัย และเก็บสินค้า ของบรรดาพ่อค้านานาชาติที่เข้ามาในพระนคร ดังเช ่นบริเวณตอนใต้ของพระนคร เป็นบริเวณที่มีแม ่น�้ำ เจ้าพระยากว้างใหญ่ อันเนื่องมาจากการรวมกับแม่น�้ำป่าสักและ แม่น�้ำลพบุรีไหลลงไปทางใต้เป็นบริเวณที่บรรดาเรือสินค้าและเรือ เดินทะเลของนานาชาติมาจอดทอดสมอ มีบรรดาชุมชนและที่พัก สินค้าของชาวต่างชาติที่เป็นชาวตะวันตกเรียงรายไปทั้งสองฝั่งแม่น�้ำ

17 ต่างกันกับบริเวณตอนเหนือแถวย่านคลองสระบัว ที่เป็น แหล่งอุตสาหกรรมและย่านที่อยู่อาศัยของคนไทย คนลาว และอื่นๆ ที่เป็นพวกชาวนาและพวกช่างฝีมือต่างๆซึ่งล้วนแต่ตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนและวัดวาอารามตามริมแม่น�้ำล�ำคลองเหล่านั้นทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้น ความสำ�คัญที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ก็คือ ในช่วงเวลา417 ปีที่พระนครมีตัวตนอยู่ได้ทิ้งร่องรอยของ ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมและความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงการสืบทอดกันมาหลายสมัย พร้อมๆ กันกับการแสดงให้เห็นถึงความสามารถของคนในกรุงศรีอยุธยา ที่รับเอาอารยธรรมและวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกเข้ามาผสมผสาน ปรุงแต่งให้เกิดประโยชน์และความก้าวหน้าแก่บ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยานั้นคือพื้นฐานหรือรากเหง้าของ กรุงเทพมหานครในสมัยต่อมาถึงกับผู้รู้บางท่านมักกล่าวบ่อยๆว่า ถ้าไม่มีกรุงศรีอยุธยาแล้ว กรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพมหานคร ในทุกวันนี้คงไม่มีวันเกิดแน่ พระนครศรีอยุธยาคือนครที่เป็นอะไรหลายๆ อย่างในเวลา เดียวกัน คือนับแต่การเป็นราชธานีที่เป็นศูนย์กลางการปกครองเป็น ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มาเป็นเมืองที่ค้าขายติดต ่อกับ นานาชาติศูนย์กลางของการคมนาคมภายในกับบรรดาบ้านเมือง ที่อยู ่บริเวณเหนือน�้ำขึ้นไป และในที่สุดก็เป็นศูนย์กลางแห ่ง ศิลปวัฒนธรรมที่แผ่อิทธิพลไปยังบ้านเล็กเมืองน้อยอื่นๆ ทั่วประเทศ (ศรีศักร วัลลิโภดม บทบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ ปีที่20 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม-กันยายน 2537)

18

19 การขยายอาณาเขต ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยาได้รับการยอมรับ ว่าเป็นหนึ่งในชาติมหาอ�านาจที่สุดแห่งหนึ่งในอุษาคเนย์แผ่นดิน ใหญ ่ และได้เริ่มครองความเป็นใหญ ่โดยเริ่มจากการพิชิต ราชอาณาจักรและนครรัฐทางเหนือ อาทิ สุโขทัย ก�าแพงเพชรและ พิษณุโลก มีการโจมตีเมืองพระนครแห ่งอาณาจักรขอมซึ่งเป็น มหาอ�านาจของภูมิภาคในขณะนั้น จนอิทธิพลของอาณาจักรขอม ค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็น มหาอ�านาจใหม่แทน อย ่างไรก็ดี อาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็น หน ่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต ่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ ต ่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห ่งอ�านาจ หรือระบบมณฑล ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนออาณาเขตเหล่านี้ อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครอง ท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุน แก่เมืองหลวงยามสงครามก็ได้ อย่างไรก็ดีมีหลักฐานว่า บางครั้ง ที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่น�าโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้น เพื่อตั้งตนเป็นเอกราช อยุธยาก็จ�าต้องปราบปราม ด้วยไร้ซึ่งกฎการสืบราชสันติวงศ์และมโนทัศน์คุณธรรม การขยายอาณาเขต

20 นิยม(ในบางสมัย) (meritocracy) อันรุนแรง ท�ำให้เมื่อใดก็ตาม ที่การสืบราชสันติวงศ์เป็นที่พิพาท เจ้าปกครองหัวเมืองหรือผู้สูงศักดิ์ (dignitary) ที่ทรงอ�ำนาจจะอ้างคุณความดีของตนรวบรวมไพร่พล และยกทัพมายังเมืองหลวงเพื่อกดดันตามข้อเรียกร้อง จนลงเอย ด้วยรัฐประหารอันนองเลือดหลายครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 อยุธยาแสดงความสนใจในคาบ สมุทรมลายูที่ซึ่งมะละกาเมืองท่าส�ำคัญ อยุธยาพยายามยกทัพไป ตีมะละกาหลายครั้งแต่ไร้ผล มะละกามีความเข้มแข็งทั้งทางการทูต และทางเศรษฐกิจ ด้วยได้รับการสนับสนุนทางทหารจากราชวงศ์ หมิงของจีน หนึ่งในนั้นคือการที่แม่ทัพเรือเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิง ได้สถาปนาฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งขึ้นที่มะละกา เป็นเหตุให้จีน ไม่อาจยอมสูญเสียต�ำแหน่งยุทธศาสตร์นี้แก่รัฐอื่น ๆ ภายใต้การ คุ้มครองนี้มะละกาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการค้า ที่ยิ่งใหญ่ของอยุธยา กระทั่งถูกโปรตุเกสพิชิตเมื่อ พ.ศ. 2054

21 การแบ่งยุคสมัย การจัดการปกครองในสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออกได้เป็น สามช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยก ่อนการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ (1893-1991) ช่วงที่สอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จนถึงสมัยสมเด็จ พระเพทราชา (1991-2231) และช ่วงสุดท้ายการปฏิรูปการ ปกครองของสมเด็จพระเพทราชาเป็นต้นไป (2231-2310) อยุธยาตอนต้น (1893-1991) มีการปกครองคล้ายคลึงกับในช่วง สุโขทัย ในราชธานี พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรง หาก ก็ทรงใช้อ�านาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี ระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียก ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ารงราชานุภาพ อันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่านเมือง ชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบ กระจายอ�านาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานี ทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่ง เชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง หากก็น�ามาซึ่งปัญหาการ

22 แย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัด ออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดย เจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนใน ราชการสงคราม และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์ ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ ราชธานีทุกปี อยุธยาตอนกลาง (1991-2231) สมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถถึงพระเพทราชาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิก ระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติและขยาย อ�ำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ ราชธานีส�ำหรับระบบจตุสดมภ์ ทรงแยกกิจการพลเรือนออกจาก กิจการทหารอย ่างชัดเจน ให้อยู ่ภายใต้ความรับผิดชอบของ สมุหนายกและสมุหกลาโหมตามล�ำดับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยน ชื่อกรมและชื่อต�ำแหน่งเสนาบดีแต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิด ชอบเดิม ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการ รวมอ�ำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามา อยู่ภายใต้อ�ำนาจของราชธานีมีระบบการปกครองที่ลอกมาจาก ราชธานีมีการล�ำดับความส�ำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอกโท ตรี ส�ำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง การปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุม ความจงรักภักดีต ่อราชธานีหลายวิธีเช่น การเรียกเจ้าเมือง

23 ประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร ่วมพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก หรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานีการอภิเษก สมรสโดยการให้ส่งพระราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการ ไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส ่งข ่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลก และนครศรีธรรมราช อยุ ธย าตอนปล าย (2231-2310) สมัยสมเด็จ พระเพทราชาเป็นต้นมา ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ทรงกระจาย อ�ำนาจทางทหาร ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็น สามส่วน โดยให้สมุหกลาโหมเปลี่ยนไปควบคุมกิจการทหารใน ราชธานีกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ให้สมุหนายก ควบคุมกิจการพลเรือน ในราชธานีกิจการทหาร และพลเรือนของ หัวเมืองทางเหนือ และพระโกษาธิบดีให้ดูแลกิจการทหาร และ พลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ (2295-2301) ทรงลดอ�ำนาจของสมุหกลาโหมเหลือ เพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดี ด้วย นอกจากนี้ในสมัยพระมหาธรรมราชายังได้จัดก�ำลังป้องกัน ราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทาง เหนือวังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก ระบบดังกล่าวใช้มาจนถึง สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(เครดิตข้อมูล : http:// www.chaoprayanews.com)

24 การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่หนึ่ง เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชอาณาจักรอยุธยา ถูกราชวงศ์ตองอูแห ่งพม ่าโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ เมื่อ พ.ศ.2091-2092 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่ 2 ของพม่า หรือเรียกว่า “สงครามช้างเผือก” เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงบังคับให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ยอมจ�านน พระบรมวงศานุวงศ์ทรงถูกพาไปยังอังวะ และสมเด็จ พระมหิทรา พระราชโอรสองค์โต ทรงได้รับการแต ่งตั้งเป็น เจ้าประเทศราช เมื่อ พ.ศ. 2111 พม่ารุกรานอีกเป็นครั้งที่สาม และ สามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ในปีต่อมา หนนี้พระเจ้าบุเรงนองทรง แต่งตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นเจ้าประเทศราช การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่หนึ่ง

25 การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่สอง การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองหรือ สงครามคราวเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สอง ระหว่างราชวงศ์โก้นบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่ง อยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบ สี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้ เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค�่า เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ยุทธนาการนี้เป็นผลพวงของสงครามพระเจ้าอลองพญาเมื่อ พ.ศ. 2303 และอุบัติขึ้นใน พ.ศ. 2308 เมื่อพม่าส่งกองทัพเข้าบุก ครองอยุธยาเป็นสองทางแบบคีม ทัพพม่าพิชิตการป้องกันของฝ่าย อยุธยาที่ประกอบด้วยก�าลังอันเหนือกว่าแต่ขาดการประสานงานกัน การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่สอง

26 ได้ และเริ่มล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 14 เดือนกระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 พระเจ้าเอกทัศทรงยอมเป็นประเทศราชของพม ่า แต่พม่าประสงค์ให้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในที่สุด กองทัพพม่าหัก เข้าพระนครได้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ แล้วท�าลายล้าง พระนคร ท�าให้ความสัมพันธ์ไทย-พม่าเสื่อมลงจนถึงปัจจุบัน การเสียกรุงครั้งนี้ นอกจากจะส ่งผลให้อาณาจักรอยุธยา ล่มสลายลงแล้ว ตะนาวศรีตอนใต้ยังได้ตกเป็นของพม่าเป็นการถาวร และเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับต่าง ๆ จนแทบ น�าไปสู่การล่มสลายของรัฐไทย อย่างไรก็ดี พม่าจ�าต้องถอนก�าลัง ส่วนใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิมกลับคืนประเทศไปเมื่อถูกจีนบุก ครอง จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเถลิงอ�านาจและ ตั้งอาณาจักรของคนไทยใหม่ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห ่งการต ่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ “ยุคทอง” เมื่อศิลปะ วรรณกรรมและการ เรียนรู้เฟื ่องฟู ยังมีสงครามกับต ่างชาติ กรุงศรีอยุธยาสู้รบกับ เจ้าเหงียน (Nguyễn Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้ เพื่อการ ควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามา จากราชวงศ์อลองพญาซึ่งได้ผนวกรัฐชานเข้ามาอยู่ในอ�านาจ ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือด การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา

27 ระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการ กวาดล้างข้าราชส�านักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์ พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระอนุชาธิราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้นสละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์ แทน พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงยกทัพรุกรานอาณาจักร อยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกภายนอกมานานกว่า 150 ปี จะมี ก็เพียงการน�าไพร่พลเข้าต่อตีกันเองเพื่อแย่งชิงอ�านาจเท่านั้น ซึ่งใน ขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับ เจ้าฟ้าอุทุมพร อย ่างไรก็ดี พระเจ้าอลองพญาไม ่อาจหักเอา กรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น แต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้า อลองพญา ทรงแบ่งก�าลังออกเป็นสองส่วน และเตรียมการกว่า 3 ปี มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทาน การล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการกองทัพ รัฐอังวะได้ เนื่องจากมีก�าลังมาก และต้องการท�าลายศูนย์อ�านาจ อย่างอยุธยาลงเพื่อป้องกันการกลับมามีอ�านาจ อีกทั้งกองทัพอังวะ ยังติดศึกกับจีนราชวงศ์ชิงอยู่เนือง ๆ หากปล่อยให้เกิดการสู้รบยืด เยื้อต่อไปอีก ก็จะเป็นภัยแก่อังวะ และมีสงครามไม่จบสิ้น ในที่สุด กองทัพอังวะสามารถเข้าพระนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

28 การ¿„้นตัวของกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงประกาศเอกราชแก ่กรุง ศรีอยุธยาในอีกสามปีต่อมา อยุธยาต่อสู้ป้องกันการรุกรานของรัฐ หงสาวดี (พม่า) หลายครั้ง จนในครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ทรงปลงพระชนม์เมงจีสวา (Mingyi Swa) อุปราชของพม่า ได้ในสงครามยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ.2136 จากนั้น อยุธยากลับเป็นฝ่าย บุกบ้าง โดยยึดชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดขึ้นไปจนถึงเมาะตะมะใน พ.ศ. 2138 และล้านนาใน พ.ศ.2145 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงถึงกับรุกรานเข้าไปในพม่าลึกถึงเมืองตองอู ใน พ.ศ.2143 แต่ ทรงถูกขับออกมา หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 2148 ตะนาวศรีตอนเหนือและล้านนาก็ตกเป็นของ รัฐอังวะ (พม่า) อีกใน พ.ศ. 2157 อยุธยาพยายามยึดรัฐล้านนาและ ตะนาวศรีตอนเหนือกลับคืนระหว่าง พ.ศ.2205-07 แต่ก็ล้มเหลว การค้าขายกับต่างชาติไม่เพียงแต่ให้อยุธยามีสินค้าฟุ่มเฟีอย เท่านั้น แต่ยังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วย กลางคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยามีความ เจริญรุ่งเรืองมาก แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อยุธยาค่อย ๆ สูญเสีย การควบคุมเหนือหัวเมืองรอบนอก เจ้าเมืองเอกโทรอบนอกใช้ อ�านาจของตนอย่างอิสระ และเริ่มแข็งข้อต่ออยุธยา การ¿„้นตัวของกรุงศรีอยุธยา

29 การปกครองกรุงศรีอยุธยา การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 1893 – 1991 การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต ่รัชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู ่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรม ราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับ อิทธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้ 1.1 การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบเป็นกรมส�าคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้ กรมเวียง หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ท�าหน้าที่ เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง จัดงาน พระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและ การต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร ด้านการเงินท�าหน้าที่เก็บภาษี อากร ใช้จ่ายพระราชทรัพย์ จัดแต่งส�าเภาหลวงออกค้าขาย ในด้าน ต่างประเทศท�าสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ท�าหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่ว ราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้าน เมืองมีศึกสงคราม การปกครองกรุงศรีอยุธยา

30 1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค การจัดการปกครองส่วน ภูมิภาคจัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัยเพราะเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่ เคยอยู่ใต้อ�ำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้ เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการ เป็นเมืองที่มีความ สำ�คัญในการป้องกันราชธานีระยะทางไปมาระหว่างเมืองหน้าด่าน กับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน 2วัน มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมือง ที่มีความส�ำคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต ่งตั้ง พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมือง ลูกหลวง หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป พระมหากษัตริย์จะทรงแต ่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาด ใหญ่ ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย อยู่ห่างจากราชธานี ต้องใช้เวลา หลายวันในการติดต่อ มีเจ้าเมืองปกครองอาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจาก เจ้าเมืองเดิม หรือเป็นผู้ที่ทางเมืองหลวงต่างตั้งไปปกครอง เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ชายแดนของอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น จัดการ ปกครองภายในของตนเองแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตาม ก�ำหนด ได้แก่ ยะโฮร์ เขมร และเชียงใหม่ (ล้านนา)

31 การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ.1991– 2072 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์(พ.ศ.1991– 2031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะกรุง ศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง บรรดาเมือง ต่างๆเบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้นอกจากนั้นในระยะที่มีการ ผลัดแผ่นดิน หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง มีอ�ำนาจ ก็จะ ไม่มีปัญหาทางการปกครองแต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอ ไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์อยู่ บรรดาเมืองประเทศราชและ เมืองพระยามหานคร มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู ่เสมอ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้า ด่าน เจ้าเมืองมีอ�ำนาจมากและมักจะยกก�ำลังทหารเข้ามาแย่งชิง ราชสมบัติอยู่เนืองๆและอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้าง ขวางมากกว่าเดิม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปรับปรุงการ ปกครองใหม่ มีลักษณะส�ำคัญสองประการ คือ จัดการรวมอ�ำนาจ เข้าสู ่ศูนย์กลาง มีการควบคุมเข้มงวดขึ้น และแยกกิจการฝ่าย พลเรือนกับฝ ่ายทหารออกจากกัน (เป็นครั้งแรก) สาระส�ำคัญ ที่เปลี่ยนไปมีดังนี้ 1.1 การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้มีต�ำแหน่งสมุหกลาโหมและสมุหนายกสมุหกลาโหมรับผิด ชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตราการทหาร เกณฑ์ ไพร่พลในยามมีศึก ยามสงบรวบรวมผู้คน อาวุธ เตรียมพร้อม สมุหนายกท�ำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ ่ายพลเรือนทั่ว ราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์พระองค์ได้ทรงก�ำหนดหน่วยงาน ระดับกรม (เทียบได้กับกระทรวงในปัจจุบัน)ขึ้นอีก2กรม จึงมี หน่วยงานทางการปกครอง6กรม กรมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมีเสนาบดี รับผิดชอบในหน้าที่ ดังนี้

32 กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดีมีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่ว ประเทศ กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดีมีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่ว ประเทศ พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม่ ให้มีเสนาบดี รับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ กรมเมือง มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี 1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯ ให้ยกเลิกเมืองหน้าด ่านหรือเมืองลูกหลวง ให้จัดการ ปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้ หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้นจัตวาผู้ปกครองเมืองเรียกว่า “ผู้รั้ง”ไม่มีอ�ำนาจอย่างเจ้าเมือง ต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งของราชธานี เป็นเมืองที่ตั้งอยู่โดยรอบราชธานีเช่น ชัยนาท นครสวรรค์สุพรรณบุรี ปราจีนบุรีฉะเชิงเทรา และชลบุรีเป็นต้น พระมหากษัตริย์ทรงแต่ง ตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปท�ำหน้าที่ผู้รั้งเมือง หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู ่ถัดจากหัวเมืองชั้นใน ออกไป (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน) จัดเป็นหัวเมือง ชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความส�ำคัญของเมืองนั้นๆ อาจมี เมืองเล็กขึ้นด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ หรือขุนนางผู้ใหญ่ออกไปปกครองเป็นเจ้าเมือง มีอ�ำนาจเต็มในการ บริหารราชการภายในเมือง

33 เมืองประเทศราช โปรดฯ ให้มีการจัดการปกครอง เหมือนเดิม คือ ให้มีเจ้านายในท้องถิ่น เป็นเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง พระมหากษัตริย์แห่ง กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงแต่งตั้ง เมืองประเทศราชมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2072 – 2310 การจัดการปกครองแบบรวมอ�ำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอดแต่ได้ มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์(พ.ศ.2199–2231) ทรงให้ยกเลิกการแยกความ รับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของ สมุหนายกและงานด้านทหารของสมุหกลาโหม โดยให้สมุหกลาโหม รับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ และหัวเมืองอีสาน ส่วนหัวเมืองตอนกลาง และหัวเมืองชายทะเล ตะวันออกให้อยู่ในอ�ำนาจของเมืองหลวงโดยตรง ทั้งนี้ด้วยพระองค์ ทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน จากกันอย่างเด็ดขาด ไม่อาจท�ำได้อย่างได้ผลดีโดยเฉพาะในยาม สงคราม บ้านเมืองต้องการก�ำลังพลในการสู้รบจ�ำนวนมาก ชาย ฉกรรจ์ต้องออกรบเพื่อชาติบ้านเมืองทุกคน จึงเป็นการยากในทาง ปฏิบัติอีกประการหนึ่ง มีบทเรียนที่แสดงให้เห็นว ่า เมื่อให้ สมุหกลาโหมคุมก�ำลังทหารไว้มาก ท�ำให้สามารถล้มราชวงศ์ กษัตริย์ลงได้

34

35 ความส�าคัญทางศาสนา พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยานั้นมีความเป็นฮินดูปนอยู่ ค่อนข้างมาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์มากกว่า ที่ใดๆ ราษฎรอยุธยามุ่งในเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บ�ารุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้อง ประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนา หลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่ สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031) ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมือง ด้วยความสงบร่มเย็น ทรงท�านุบ�ารุงพระพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็น ภิกษุเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อ พ.ศ. 1998 และทรงให้พระราชโอรสกับ พระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้น ของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัย ของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติค�าหลวง ใน พ.ศ. 2025 สมัยอยุธยาช่วงที่สอง (พ.ศ. 2031 - 2173) สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และ ประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจ�าตระกูล ในสมัยพระเจ้า ทรงธรรมได้พบพระพุทธบาท สระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบ พระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ ความส�าคัญทางศาสนา

36 เมื่อ พ.ศ. 2170 และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ.2173-2275) พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อ ฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรง กล้า สมัยนี้ฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่ คริสต์ศาสนาและอาจทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีตแต่พระองค์ทรง มั่นคงในพระพุทธศาสนา มิชชันนารี่ฝรั่งเศสจึงต้องผิดหวังไป สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ.2275-2310) พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ได้แก่ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสวยราชเมื่อพ.ศ.2275การบวชเรียนกลาย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลังถึงกับก�ำหนดให้ผู้ที่จะ เป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมา เท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งต�ำแหน่งหน้าที่ให้ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุ เถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนา ในประเทศลังกาตามค�ำทูลขอของ กษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. 2296 จน ทำ� ให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรือง ในลังกาอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน และ เกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นใน ลังกา ชื่อว่านิกายสยามวงศ์นิกาย นี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

37 ค�าขวัญ ประจ�าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค�าขวัญจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ถูกก�าหนดขึ้นเมื่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจ�าปีพ.ศ. 2533 โดยได้ตั้งค�าขวัญว่า “รำชธำนีเก่ำ อู่ข้ำวอู่น�้ำ เลิศล�้ำกำนท์กวี คนดีศรีอยุธยำ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้เสนอความคิดเห็น ขอเพิ่มเติมค�าขวัญจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ครอบคลุม จุดเด่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห ่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ค�าขวัญ ประจ�าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

38 13 ธันวาคม พ.ศ.2534 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงประกาศใช้ ค�าขวัญประจ�าจังหวัดใหม่โดยเพิ่มค�าว่า “เลอคุณค่ำมรดกโลก” ต่อท้ายค�าขวัญเดิมเป็น “ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น�้า เลิศล�้ากานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก” ความหมายและความส�าคัญของค�าขวัญ “รำชธำนีเก่ำ” หมายถึง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในอดีตเคยเป็นเมือง หลวงเก่าของประเทศไทย ในนามว่า “กรุงเทพทวำรำวดีศรีอยุธยำ มหำดิลกภพนพรัตนรำชธำนีบุรีรมย์” หรือเรียกกันทั่วไปว ่า “กรุงศรีอยุธยำ” ที่มีความเจริญรุ ่งเรืองในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ ยาวนานถึง 417 ปี โดยมี พระมหากษัตริย์ปกครอง 5 ราชวงศ์ 33 พระองค์ “อู่ข้ำวอู่น�้ำ” หมายถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลาง ตอนล่างของประเทศไทย มีพื้นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่ การเพาะปลูก และยังมีแม่น�้า ไหลผ ่าน 4 สาย คือ แม ่น�้า เจ้าพระยา แม่น�้าป่าสัก แม่น�้า ลพบุรี แม ่น�้าน้อย ท�าให้ เหมาะแก ่การเกษตรกรรม และการประมงค้าขาย

39 “เลิศล�้ำกานท์กวี” หมายถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยามียุคทองของวรรณคดีคือใน สมัยสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชและสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กอปรด้วยกวีเอกที่มีความสามารถล�้ำเลิศเช่น สมเด็จพระนารายณ์ พระมหาราชครูศรีปราชญ์ เจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) พระ โหราธิบดีวรรณคดีที่ส�ำคัญ เช่น สมุทรโฆษ ค�ำฉันท์โครงก�ำศรวล ศรีปราชญ์กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดงจินดามณีมหาชาติ ค�ำหลวง “คนดีศรีอยุธยา” หมายถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยากอปรด้วยคนดีมีความ สามารถทุกยุคสมัยตลอดมาแม้เมื่อกรุงศรีอยุธยาต้องเสียกรุงให้กับ พม ่าถึง 2ครั้ง แต่ก็ยังกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ก็ด้วยเหตุ เพราะมีคนดีที่มีความสามารถนั่นเอง จนมีค�ำกล่าวมาแต่เดิมว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี” “เลอคุณค่ามรดกโลก” หมายถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับการขึ้นทะเบียนจาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห ่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่13 ธันวาคม พ.ศ.2534 จึงจัดงานประจ�ำปีเพื่อเฉลิมฉลองโดยใช้ชื่อ งานว่า“งานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก”โดยมีการจัดแสดงแสง สีเพื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

40 ค�าขวัญอ�าเภอพระนครศรีอยุธยา “เมืองหลวงเก่ำ ชนเผ่ำโบรำณ สืบสำนงำนท้องถิ่น แผ่นดินมรดกโลก” เมืองหลวงเก่า หมายถึง ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของ ประเทศไทยนามว่า “กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลก ภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์” เรียกกันทั่วไปว่า “กรุงศรีอยุธยา” เจริญ รุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี ชนเผ่าโบราณ หมายถึง มีประชาชนหลายเชื้อชาติและ ศาสนาอาศัยอยู่ ได้แก่ ชาวจีน ส่วนมากอาศัยอยู่ตามต�าบลหัวรอ ต�าบลหอรัตนไชย ต�าบลประตูชัย เรียกว่า “ชุมชนประตูจีน” ชาว มุสลิมอาศัยอยู่ต�าบลลุมพลี ต�าบลคลองตะเคียน ต�าบลส�าเภาล่ม ต�าบลปากกราน และต�าบลบ้านป้อม ส่วนคริสตชนอาศัยอยู่ต�าบล ส�าเภาล่ม บริเวณใกล้กับโบสถ์นักบุญยอแซฟ สืบสานงานท้องถิ่น หมายถึง มีศิลปหัตถกรรม ที่รับเอา มรดกวัฒนธรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาในท้องถิ่น มาพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์ ที่สามารถหล่อเลี้ยงลูกหลานให้ด�ารงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ งานประดิษฐ์หัวโขน งานแกะสลักไม้ งานสานปลาตะเพียน ใบลาน และงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น แผ่นดินมรดกโลก หมายถึง องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ อ�าเภอพระนครศรีอยุธยาภายใต้ชื่อ“นครประวัติศาสตร์พระนคร ศรีอยุธยาและเมืองบริวาร” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ค�าขวัญอ�าเภอพระนครศรีอยุธยา

41 ค�าขวัญอ�าเภอภาชี “ชุมทำงรถไฟ พระใหญ่ดอนกลำง เห็ดฟำงภำชี ของดีหลวงพ่อรวย” ชุมทางรถไฟ หมายถึง อ�าเภอภาชีเป็นชุมทางรถไฟ จากหัวล�าโพงขึ้นภาคเหนือ และสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระใหญ่ดอนกลาง หมายถึง อ�าเภอภาชีมีพระพุทธรูป องค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 18 เมตร สูง 30 เมตร สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2531 โดยพระครูสังฆการโกวิท อยู่ที่วัดดอนกลางหมู่ที่ 7 ต�าบลพระแก้ว อ�าเภอภาชี เห็ดฟางภาชี หมายถึง อ�าเภอภาชีมีแหล่งผลิตเห็ดฟางที่มี ชื่อเสียง และเห็ดฟางมีคุณภาพดีและยังเป็นสินค้าหนึ่งต�าบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรดีเด่น สาขาพืชสวน เป็นผู้มีความช�านาญ ในการเพาะเห็ดฟาง และเคยได้รับรางวัลการประกวดเห็ดฟางที่ศูนย์ ศิลปาชีพบางไทร ของดีหลวงพ่อรวย หมายถึง อ�าเภอภาชี มีพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงคือ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก มีสมณศักดิ์“พระครูสุนทร ธรรมนิวิฐ” อดีตเจ้าอาวาสวัดตะโก ต�าบลดอนหญ้านาง อ�าเภอภาชี เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองกรุงเก่ายุคปัจจุบัน ซึ่งเป็น ที่กล่าวขาน ศรัทธาเลื่อมใส ของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป หลวงพ่อรวย ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญสามารถสร้าง วัตถุมงคลได้หลายรูปแบบ เช่น เขียนยันต์พระเครื่อง เลสข้อมือ ตลอดจนสามารถประกอบพิธีพุทธาภิเษกมังคลาภิเษก ค�าขวัญอ�าเภอภาชี

42 ค�าขวัญอ�าเภอบ้านแพรก “หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อขำว หลวงพ่อเภำคู่บ้ำน พิพิธภัณฑ์ลือเรื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม เลิศล�้ำหัตถศิลป แผ่นดินลิเก” หลวงพ ่อเขียว หมายถึง พระพุทธรูปหินทรายสีเขียว อมเทา ชาวบ้านเคารพบูชาและเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อเขียว หมู่ 2 ต�าบลส�าพะเนียง อ�าเภอบ้านแพรก เดิมชื่อวัด ข้าวเขียว หรือวัดพุ่มข้าวเขียว ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดพระเขียว หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ทาด้วย ปูนสีขาว ชาวบ้านจึงเรียกว่าหลวงพ่อขาว ทุกวันขึ้น 1 ค�่า เดือน 5 และวันขึ้น 1 ค�่า เดือน 12 จะมีงานปิดทองประจ�าทุกปี หลวงพ่อเภาคู่บ้าน หมายถึง พระพุทธรูปของชาวอ�าเภอ บ้านแพรก เชื่อว่าสร้างขึ้นโดยชาวมอญที่อพยพหนีภัยจากสงคราม เดินทางมาทางเรือและเรือส�าเภาที่เป็นพาหนะนั้นมาล่มจมลงใน บริเวณวัดร้าง เมื่อเข้ามาอาศัยในวัดร้างจึงสร้างพระพุทธรูปเป็นที่ พึ่งทางใจ วัดหลวงพ่อเภาซ่อมครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2514 และทุก วันที่ 16 เมษายน ของทุกปีจะมีงานปิดทองสรงน�้าพระ พิพิธภัณฑ์ลือเลื่อง หมายถึง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับประวัติ และวิถีชีวิตของประชาชน ของใช้ภายในบ้าน ประเภทเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ เช่น ไหสี่หู โอ่ง อ่าง หม้อทะนน ค�าขวัญอ�าเภอบ้านแพรก “หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อขำว หลวงพ่อเภำคู่บ้ำน พิพิธภัณฑ์ลือเรื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม หลวงพ ่อเขียว

43 เป็นต้น พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ต�ำบล ส�ำพะเนียง อ�ำเภอบ้านแพรก รุ่งเรืองเกษตรกรรม หมายถึง ประชาชนในอ�ำเภอบ้าน แพรกส ่วนใหญ ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยท�ำนาเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ในอ�ำเภอบ้านแพรกมีแม ่น�้ำลพบุรีกับคลอง ตาเมฆซึ่งเป็นแหล่งน�้ำส�ำคัญ เลิศล�้ำหัตถศิลป์ หมายถึง ประชาชนในอ�ำเภอบ้านแพรก เป็นผู้มีฝีมือในการท�ำงานหัตถศิลป์โดยเฉพาะการสานพัดที่เป็น เอกลัษณ์ของอ�ำเภอบ้านแพรก หรือ “พัดสานบ้านแพรก” ซึ่ง เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านอันทรงคุณค่าที่เกิดจากภูมิปัญญาชาว อ�ำเภอบ้านแพรกโดยมีการประยุกต์ปรับปรุงรูปแบบตลอดเวลาและ พัดสานบ้านแพรกยังเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงและได้ รับการยกย่อง แผ่นดินลิเก หมายถึง อ�ำเภอบ้านแพรกเป็นบ้านเกิดของ หอมหวล นาคศิริราชาลิเกลูกบท เป็นครูลิเกที่มีชื่อเสียงและเป็น ลิเกชื่อดังของเมืองไทย มีงานแสดงและยังมีบรรดาลูกศิษย์ของ หอมหวลแยกไปตั้งคณะลิเกที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบัน อีกหลายคณะ เช่นคณะบุญเลิศ นาคพินิจ คณะวิโรจน์ หลานหอมหวล คณะ บรรหารศิษย์หอมหวล คณะประหาญ นาคสิริคณะหอมหวลน้อย นาคศิริเป็นต้น

44 ค�าขวัญอ�าเภอมหาราช “มหำรำชแขวงนครใหญ่ หลำกหลำยวัฒนธรรม ลุ่มน�้ำสำมสำย แหล่งขำยพริกมัน จักสำนไม้ไผ่ ต�ำหนักไทเจ้ำปลุก” มหาราชแขวงนครใหญ่ หมายถึง อ�าเภอมหาราชเดิม เรียกว่า “แขวงนครใหญ่” ต่อมาปี พ.ศ. 2457 ได้มาประกาศใช้ พระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่นขึ้น จึงได้เปลี่ยนแปลงการ ปกครองจากรูปของ “แขวง” มาเป็นอ�าเภอ เรียกว่า อ�าเภอนคร ใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการปกครองของกระทรวงมหาดไทยให้เปลี่ยนชื่อ อ�าเภอให้สอดคล้องกับอ�าเภอที่อยู่ในท้องถิ่นอ�าเภอ ดังนั้นอ�าเภอ นครใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “อ�าเภอมหาราช” ตามต�าบลที่ตั้ง อยู่เดิม หลากหลายวัฒนธรรม หมายถึง เนื่องมาจากอ�าเภอมหาราช มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล เช่น ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ ประเพณีโกนจุก ประเพณีงานสงกรานต์ มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การเล่นมอญช่อนผ้าการสรงน�้าพระ รดน�้าด�าหัวขอพร เป็นต้น ลุ ่มน�้าสามสาย หมายถึง อ�าเภอมหาราชเป็นอ�าเภอ ที่เดินทางทางน�้า จากจังหวัดอยุธยาไปจังหวัดลพบุรี และจากอ�าเภอ มหาราชไปจังหวัดอ่างทองประกอบด้วย แม่น�้าลพบุรี คลองบางแก้ว ค�าขวัญอ�าเภอมหาราช “มหำรำชแขวงนครใหญ่ หลำกหลำยวัฒนธรรม ลุ่มน�้ำสำมสำย แหล่งขำยพริกมัน จักสำนไม้ไผ่ ต�ำหนักไทเจ้ำปลุก” มหาราชแขวงนครใหญ่

45 (แยกมาจากแม่น�้ำเจ้าพระยา)คลองบางพระครู(แยกมาจากแม่น�้ำ ป่าสัก) ไหลมาบรรจบกันตรงหน้าวัดปากคลองตาโล่ จึงเป็นที่มา ของลุ่มแม่น�้ำสามสาย แหล่งขายพริกมัน หมายถึง ชาวอ�ำเภอมหาราชมีอาชีพ หลักคือการท�ำนา หลังฤดูกาลท�ำนา ชาวบ้านจะท�ำอาชีพเสริม โดยการปลูกพืชต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดหวานและพริกมัน การปลูกพริกมันจะปลูกมากในต�ำบลบางนา ซึ่งเป็นสินค้าที่มี คุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดทั่วไป จักสานไม้ไผ่ หมายถึง อ�ำเภอมหาราชถือได้ว่าเป็นพื้นที่ มีไม้ไผ่มากที่สุด ซึ่งสมัยก่อนจะนิยมปลูกเพื่อใช้แบ่งอาณาเขตบ้าน ต ่อมาชาวบ้านจึงได้น�ำไม้ไผ ่มาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มรายได้อีก ทางหนึ่งคือ การสานเข่งปลาทูที่ต�ำบลน�้ำเต้า การท�ำโครงงอบ ที่อ�ำเภอบางนา เป็นต้น ต�ำหนักไทยเจ้าปลุก หมายถึง พระต�ำหนักเจ้าปลุก ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 4 ตำ� บลเจ้าปลุก ปัจจุบันเรียกว่า วัดหน้าวัว (ร้าง) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช พร้อมๆ กับที่โปรดให้ปฏิสังขรณ์เมืองลพบุรีเป็นราชธานี ส�ำรอง โดยสร้างเป็นพระต�ำหนักประทับร้อนกลางทาง เวลาเสด็จ พระราชด�ำเนินจากพระนครศรีอยุธยาไปเมืองลพบุรีจากหลักฐาน เอกสาร เช่น จดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาร์ต

46 ค�าขวัญอ�าเภอบางปะหัน “งอบสวยวิจิตร อิฐทนทำน มันเทศหอมหวำน งำมตระกำรบ้ำนทรงไทย เมืองชัยพระเจ้ำตำก” งอบสวยวิจิตร หมายถึง งอบใบลานซึ่งเป็นงอบจักสาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์ของอ�าเภอ บางปะหัน การสานงอบเมื่อก่อนเป็นงานที่สามารถเป็นอาชีพสร้าง รายได้ให้กับชาวบางปะหันมาก่อน และบางปะหัน เป็นแหล่งผลิต งอบที่มีชื่อเสียง และมีความงดงามโดยเฉพาะที่ต�าบลบางนางร้า มีกลุ่มผลิตงอบเป็นสินค้า OTOP และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ การผลิตงอบให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ภูมิปัญญา ในการผลิตงอบแบบดั้งเดิมเอาไว้ให้รู้จักกันต่อ ๆ ไป อิฐทนทาน หมายถึง อาชีพการท�าอิฐนับเป็นอาชีพที่ ยั่งยืนคู่อ�าเภอบางปะหัน แห่งกรุงศรีอยุธยามาช้านานแล้ว เจ้าของ กิจการท�าอิฐหลายรายกล่าวท�านองเดียวกันว่า หากคิดจะยึดอาชีพ นี้ไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงให้มีความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพ เท่านั้น มันเทศหอมหวาน หมายถึง มันเทศเป็นสินค้าขึ้นชื่อ ของอ�าเภอบางปะหันโดยมีรสชาติหอมหวานและปลูกจ�านวนมาก ที่ต�าบลบ้านลี่และต�าบลทับน�้า ค�าขวัญอ�าเภอบางปะหัน “งอบสวยวิจิตร อิฐทนทำน มันเทศหอมหวำน งำมตระกำรบ้ำนทรงไทย เมืองชัยพระเจ้ำตำก”

47 งามตระการบ้านทรงไทย หมายถึง บ้านทรงไทยเป็น เอกลักษณ์อย ่างหนึ่งของความเป็นไทย ชาวบางปะหันมีความ สามารถในการปรุงแต่งบ้านเรือนไทย โดยเฉพาะต�าบลโพธิ์สามต้น อ�าเภอบางปะหัน เป็นแหล่งผลิตบ้านทรงไทย ที่มีชื่อเสียง เป็น ที่รวมของช่างเรือนไทยที่มีความช�านาญในการสร้างบ้านทรงไทย จนเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ และน�ารายได้สู่ชุมชน เมืองชัยพระเจ้าตาก หมายถึง ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยา ให้แก่พม่าครั้งที่สอง พม่าได้ยกทัพก�าลังพลประมาณ 500,000 คน มาล้อมรอบกรุงศรีอยุธยา และจัดตั้งกองทัพเพื่อเตรียมก�าลังพล ที่บ้านโพธิ์สามต้น ซึ่งมีประชาชนชาวไทยอาศัยก่อนหน้านั้นอยู่แล้ว เนื่องจากก�าลังพลของกรุงศรีอยุธยามีน้อย จึงพ่ายแพ้แก่พม่าและ อยู่เป็นเมืองอาณานิคมของพม่าระยะหนึ่ง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้ท�าสงครามชนะพม่าพร้อมทั้งประกาศ อิสรภาพ เหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติบริเวณโพธิ์สามต้นนั้น เป็นแหล่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมีประชาชนอพยพเข้ามา ค�าขวัญอ�าเภออุทัย “หลวงปู่ดู่คู่บ้ำน อนุสรณ์สถำนพระเจ้ำตำกสิน ทั่วถิ่นคนใจธรรมมะ โรจนะแหล่งอุตสำหกรรม” หลวงปู่ดู่คู่บ้าน หมายถึง พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติก�าเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู ่ เกิดเมื่อวันที่ 29 ค�าขวัญอ�าเภออุทัย

48 เมษายน พ.ศ.2447 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค �่ ำ เดือน 6 ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ต�ำบลข้าวเม่า อ�ำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค�ำสอนของหลวงปู่ดู่จึงสรุปลงที่การ ใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาท หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชาก็เพราะ เห็นประโยชน์เพราะบุคคลจ�ำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านมิได้จ�ำกัดศิษย์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นคณะศิษย์ของ ท่านจึงมีกว้างขวางออกไปทั้งที่ใฝ่ใจธรรมล้วนๆ หรือที่ยังต้องอิงกับ วัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า“ติดวัตถุมงคลก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุ อัปมงคล” หลวงปู่ดูได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ของวันพุธที่17 มกราคม พ.ศ.2533 อายุ85 ปี8 เดือน อายุพรรษา 65 พรรษา อนุสรณ์สถานสมเด็จพระเจ้าตากสิน หมายถึงอนุสรณ์สถาน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดพรานนกอ�ำเภออุทัยจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ท่านทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียให้แก่พม่า แน่นอน จึงตัดสินใจออกจากกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยทหารเอก 5 นายและทหารติดตามประมาณ 500 นายตีฝ่าวงล้อมพม่าไปทาง ทิศตะวันออก ทหารพม่ายกก�ำลังติดตามทันกันที่บ้านโพสังหาร (โพสาวหาญในปัจจุบัน)จึงสู้รบกับทหารพม่าจนสามารถชนะพม่า ได้และมุ ่งหน้าไปทางบ้านพรานนกและพักรบ รุ ่งขึ้นพม ่าออก ติดตามจนเกิดการต่อสู้กันและพระองค์ได้รับชัยชนะซึ่งเป็นวีรกรรม ที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่จดจ�ำของชาวบ้านพรานนกมาจนถึงทุกวันนี้