คำส งหน.คสช.ท 3 58 ประกาศใช ม.44 ให อำนาจทหาร 14ข อ

เครือข่ายภาคประชาสังคม 24 องค์กร รณรงค์ โครงการ"ปลดอาวุธ คสช. ทวงคืนสถานการณ์ปกติ" ล่า 10,000 ชื่อ ยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช. ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ แม้ก่อนหน้านี้คสช.จะประกาศว่าจะยกเลิกไปหากโรดแมปเป็นไปตามที่วางแผน

ในขณะที่นักสิทธิมนุษยชนชี้ว่าท่าทีของคสช.เป็นเครื่องวัดว่ามีความจริงใจต่อการเลือกตั้งหรือไม่

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันนี้ (15 ม.ค.) ว่าโครงการ "ปลดอาวุธ คสช. ทวงคืนสถานการณ์ปกติ" มีเป้าหมายที่จะล่ารายชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อจะได้นำเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนรวม 35 ฉบับด้วยกัน

นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศในปี 2557 นั้น ได้ออกประกาศและคำสั่งมาแล้ว 533 ฉบับ ซึ่งมีทั้งคำประกาศและคำสั่งตามอำนาจของคสช. ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญใช้ และคำสั่งหัวหน้าคสช. ซึ่งออกภายใต้ ม.44 เมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้ว

  • ฟังชาวบ้านมาบตาพุดและภาคอุตสาหกรรม หลัง ม.44 ล้มผังเมืองสามจังหวัดเพื่ออีอีซี
  • รัฐบาลใช้ ม.44 สั่ง 12 สายการบินหยุดบินนอกประเทศ
  • เลือกตั้ง 2561: เราจะทำตามสัญญา ?

นายจอนกล่าวว่า 35 ฉบับที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 ให้อำนาจทหารเรียกตัวประชาชนมารายงานตัวในสถานที่ปิดลับโดยไม่ตั้งขอกล่าวหาเป็นเวลา 7 วัน พร้อมยกเว้นความรับผิดให้กับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งห้ามประชาชนชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/ 2557 กำหนดให้คดีบางประเภทของพลเรือนขึ้นศาลทหาร หรือการดำเนินนโยบายทวงคืนผืนป่าตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64/2557 และ 66/2557 ทำให้มีการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้านหลายพันคนที่ถูกกล่าวหาว่ารุกพื้นที่ป่า ฯลฯ

เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม 23 องค์กรที่เข้าร่วมในการรณรงค์วันนี้ เช่น ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) สมัชชาคนจน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ผู้บริโภค แรงงาน ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดได้รับผลกระทบจากประกาศและคำสั่งดังกล่าว

นายจอนกล่าวว่าแม้ว่า"เราอยากเห็นการยกเลิกโดยเร็วที่สุด" แต่ก็จะไม่เสนอร่างพรบ.นี้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) "เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และยังทำงานให้ คสช." โดยจะนำเสนอให้กับรัฐสภาที่มาจากเลือกตั้งของประชาชนที่จะเกิดขึ้นมาในภายหลังแทน

นายอานนท์ ชวลาวัณย์ เจ้าหน้าที่ไอลอว์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า คาดว่าจะดำเนินโครงการนี้ไปในระยะเวลา 6-7 เดือน ซึ่งจะมีการรณรงค์หลากหลายทางอย่างเช่น การสัมมนาตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมีเป้าหมาย "เป็นการกระตุ้นและสร้างสำนึก เปิดการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง"

นายอานนท์กล่าวอีกว่าหวังว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมลงชื่อ 30,000-50,000 รายชื่อเป็นอย่างน้อย

คำส งหน.คสช.ท 3 58 ประกาศใช ม.44 ให อำนาจทหาร 14ข อ

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

จอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.ไอลอว์

แรงกดดัน คสช.ที่เพิ่มขึ้น

การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาสังคมนับเป็นการกดดันต่อคสช.ครั้งล่าสุดในเรื่องที่เกี่ยวพันกับการเลือกตั้ง ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองก็ได้ ออกมาเคลื่อนไหวหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยยังไม่ปลดล็อกพรรคเก่า แต่เปิดทางให้พรรคใหม่เตรียมทำเรื่องธุรการได้ก่อน พร้อมขยับเงื่อนเวลาในการเคลียร์ฐานสมาชิกและจ่ายค่าสมาชิกของพรรคเก่า จากเดิมครบกำหนด 5 ม.ค. 2561 เป็นให้เริ่มนับหนึ่ง 1 เม.ย. 2561

คำสั่งฉบับนี้กลายเป็นประเด็นร้อนส่งท้ายปี เมื่อพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยประสานเสียงกันว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีเนื้อหาขัดรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติในส่วนของเครือข่ายภาคประชาชนเองก็มีประเด็นที่เคลื่อนไหวอันเกี่ยวพันกับการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน โดยนายจอน ชี้ว่า "สิ่งที่ภาคประชาชนจะเดินหน้าระยะนี้ คือการทวงถามจุดยืนของพรรคการเมืองว่าจะยอมรับอำนาจของ คสช. หรือประเด็นนายกฯ คนนอกหรือไม่ หรือจะเดินหน้าให้ประเทศไปสู่ ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์"

แถลงการณ์ในการเปิดตัวโครงการรวบรวมรายชื่อ ระบุว่า ประกาศและคำสั่งของ คสช.เหล่านี้หากบังคับใช้อยู่ "การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใต้กลไกต่างๆ ของทหารย่อมไม่อาจเป็นการเลือกตั้งที่เป็นธรรม" และหลังเลือกตั้งสิทธิของประชาชนก็ยังคงถูกละเมิดได้ภายใต้ประกาศคำสั่งเหล่านี้

คำส งหน.คสช.ท 3 58 ประกาศใช ม.44 ให อำนาจทหาร 14ข อ

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

นายรังสิมันต์ โรม ผู้ประสานงานกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ซึ่งได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/ 2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน พร้อมด้วยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งนี้ ชี้ว่า การล่ารายชื่อสะท้อนว่า ประเทศต้องเข้าสู่การเลือกตั้ง หลังจากนี้ทางกลุ่มเตรียมจัดทำนโยบายสำเร็จรูปภายใต้แนวคิด "ความฝันของคนไทย" โดยมีเป้าหมายให้พรรคการเมืองได้หยิบแนวทางไปใช้ โดยจะเริ่มกิจกรรมในเดือน ก.พ.นี้

เสียงจากนักสิทธิมนุษยชน

สุณัย ผาสุข จากฮิวแมน ไรท์วอทช์ ระบุว่า ถ้ามองจากมุมด้านสิทธิมนุษยชน การออกประกาศและคำสั่งของ คสช. ทั้งเมื่อเข้ายึดอำนาจและภายใต้ ม.44 เป็นหลักฐานของความเป็นเผด็จการ "ปีนี้เป็นปีที่ คสช.ให้สัญญาว่าจะเป็นไปตามโรดแมป คือจะมีการเลือกตั้ง และการพิสูจน์ถึงความจริงใจว่าจะมีการเคลื่อนเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ ยกเลิกคำสั่งอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนออกไป"

นายสุณัยกล่าวอีกว่า "เราก็อยากเห็นการตอบสนองของ คสช. ซึ่งก่อนหน้านี้พรรคการเมืองก็เคลื่อนไหวเรียกร้องอยู่แล้ว และตอนนี้ก็เป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ร่วมกดดันด้วย"

"มันเป็นสิ่งที่ย้อนกลับไปถามจิตสำนึกของ คสช.ว่าให้คุณค่ากับคำพูดของตัวเองมากเพียงไร เพราะเท่าที่ผ่านมา คสช.ก็พูดมาสามปีแล้ว แต่ก็ไม่เคยทำตามคำพูดนั้น จนทำให้ทั้งพรรคการเมืองและภาคประชาสังคมต้องออกมาเตือนความจำ และเราก็ต้องคอยดูว่าคสช.จะมีท่าทีต่อการเตือนความจำนี้อย่างไร ถ้า คสช.ออกมาประชดประชันหรือเพิกเฉย ก็เห็นได้ชัดว่าการเลือกตั้งปีนี้จะไม่ใช่การเลือกตั้งในบรรยากาศประชาธิปไตย เป็นการเลือกตั้งแบบจัดฉากและปูทางไปสู่การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลทหารต่อไป" นายสุณัยกล่าว

นายกฯให้คำมั่นยกเลิกคำสั่งทั้งหมดหลังจบภารกิจ

สำหรับความเห็นของ คสช. ต่อการรณรงค์ครั้งนี้ บีบีซีไทยได้ติดต่อเพื่อขอความเห็นไปทางทีมโฆษก แต่ได้รับคำตอบว่ายังไม่สามารถให้ความเห็นได้ในขณะที่สอบถามไป

แต่เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา พล.อ. ประยุทธ์ก็ได้ให้คำมั่นว่าจะยกเลิกประกาศและคำสั่งทั้งหลายหากว่าจบภารกิจในระหว่างการประชุมครม.-คสช. ทบทวนหลักเกณฑ์การใช้อำนาจตามมาตรา 44

หลังจากนั้น พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาแถลงรายละเอียดการประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช.ได้ทบทวนหลักเกณฑ์การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ต่อที่ประชุมว่า

1. จะต้องเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิรูปด้านต่าง ๆ การรักษาความมั่นคง การรักษาความปลอดภัยในสังคม และ การแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

2. จะต้องไม่เกี่ยวข้องหรือแทรกแซงอำนาจตุลาการ

3.ใช้เท่าที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

และ 4.ใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหา หรือบริหารงานเฉพาะหน้า แล้วค่อยออกกฎหมายมารองรับให้ถูกต้อง

นอกจากนี้ พล.ท สรรเสริญก็ยังกล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ประกาศชัดเจนว่าเมื่อจบภารกิจตามโรดแมปให้ยกเลิกคำสั่ง และประกาศ คสช.ที่ออกมาทั้งหมด และกรรมการ คสช.ทุกคนเห็นชอบตามนั้น

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนภาคประชาสังคมหลายคนที่มาร่วมในงานแถลงข่าววันนี้ ระบุตรงกันว่าที่เครือข่ายฯ ต้องเดินหน้ารวบรวมรายชื่อ เนื่องจากไม่มั่นใจว่าการประกาศยกเลิกจะออกมาในรูปแบบใด และฉบับที่เป็นเนื้อหาที่กระทบต่อสิทธิประชาชนใน 35 ฉบับนี้จะอยู่ต่อไปหรือไม่ และต้องติดตามว่าอาจมีการแปรรูปหรือเปลี่ยนให้คำสั่งเหล่านี้เป็นกฎหมายถาวรหรือไม่