2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

การแก้ปัญหาค่าสายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง สามารถทำได้ด้วยการใช้ แว่นสายตา ใช้คอนแทคเลนส์ หรือใช้การแก้ปัญหาด้วยวิธีเลเซอร์ ที่หลายคนนิยมเรียกว่า “การทำเลสิค (LASIK)”

Show

การทำเลสิคมีข้อดี คือ ไม่ต้องวุ่นวายกับการสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ทำให้มีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น สะดวกในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบางชนิด และยังเหมาะกับคนที่จำเป็นต้องทำงานบางประเภท ที่มีข้อกำหนดห้ามใส่แว่นสายตา

นอกจากนี้ การทำเลสิคสำหรับบางคนที่เคยใช้แว่นสายตามาก่อน ถือเป็นการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้อีกด้วย ใครสนใจ วันนี้เราจะมาอธิบายการทำเลสิคอย่างละเอียดกัน!

ปรึกษาเพิ่มเติม หรือนัดหมายได้ที่

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

สารบัญ

เลสิค คืออะไร

การทำเลสิค (Lasik) คือ ชื่อเรียกโดยรวมของการปรับค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา คำว่า LASIK ย่อมาจาก Laser In Situ Keratomileusis เปรียบได้กับการเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด สามารถแก้ไขสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด โดยมุ่งเน้นการแก้ไขที่กระจกตาเป็นหลัก

เลสิค รักษาสายตาผิดปกติใดได้บ้าง

คนไข้ที่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการทำเลสิคได้ เป็นผู้ที่มีปัญหาทางสายตา ดังนี้

  1. สายตาสั้น (Myopia) คนไข้ที่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด แต่จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาที่โค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป
  2. สายตายาว (Hyperopia) คนไข้จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ไม่ชัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาโค้งน้อยกว่าปกติ (แบน) หรือกระบอกตาสั้นเกินไป หรือหากเป็นสายตายาวตามวัย มักจะมาจากสาเหตุของกล้ามเนื้อตาที่เสื่อมสภาพลงตามวัย
  3. สายตาเอียง (Astigmatism) คนไข้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เพราะมีการหักเหของแสงที่ตกกระทบโฟกัสที่จอประสาทตาไม่สม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน
  4. สายตาสั้นด้วย และมีสายตายาวตามวัยด้วย อาการนี้เกิดจากกระบวนการสายตาสั้นตามปกติ ซึ่งเกิดจากกระจกตาโค้งเกินไปหรือกระบอกตายาวเกินไป ทำให้มองไกลได้ไม่ชัด แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้หักเหแสงของกระจกตาเริ่มเสื่อมลง จึงไม่มีกำลังมากพอที่จะบีบกระจกตาให้โป่งออกเป็นเลนส์นูนได้เหมือนเดิม ทำให้มองใกล้ได้ไม่ชัด กรณีเช่นนี้ สามารถรักษาด้วยการทำเลสิคได้เช่นกัน

ทำเลสิค มีกี่แบบ แบบไหนดี?

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

1. PRK (Photorefractive Keratectomy)

PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ เป็นวิธีแก้ไขสายตารุ่นแรกสุด แต่ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ขั้นตอนการรักษาจะไม่แยกชั้นกระจกตา แต่จะลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุด (Epithelium) ออกก่อน แล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ปรับความโค้งของกระจกตาอีกที ก่อนจะปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์นาน 5-7 วันเพื่อลดอาการระคายเคืองตา ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที

ค่าใช้จ่ายประมาณ : 30,000-50,000 บาท

จุดเด่น

  • รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -600 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600
  • ไม่ต้องฉีดยาชา ใช้แค่ยาชาแบบหยอดตา
  • ไม่ต้องมีการเย็บแผล
  • ใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีกระจกตาบาง ซึ่งไม่สามารถใช้การรักษาแบบแยกชั้นกระจกตาได้
  • เกิดตาแห้งน้อยกว่าวิธีเลสิค

ข้อจำกัด

  • มีโอกาสเกิดฝ้าที่กระจกตาได้ หากออกแดดบ่อย
  • อาจมีอาการระคายเคืองมากกว่าวิธีอื่น
  • ใช้เวลาฟื้นตัวช้ากว่าการทำเลสิค

ใครควรทำเลสิคประเภทนี้

  • ผู้ที่มีสายตาสั้นและเอียงไม่มาก
  • ผู้ที่มีอาการตาแห้งเรื้อรัง
  • ผู้ที่ถูกกำหนดให้ทำการรักษาด้วยวิธี PRK เท่านั้น เช่น การเตรียมตัวเข้าสอบบางอาชีพที่มีความเสี่ยง เช่น สอบนักบิน สอบเตรียมทหาร
  • ต้องทำกิจกรรมและกีฬาบางประเภทที่มีความเสี่ยง เช่น นักมวย
  • ผู้ที่มีข้อจำกัดในการรักษาด้วยเทคนิคการแยกชั้นกระจกตา
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของกระจกตา ได้แก่ กระจกตาบางหรือผิดรูป มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย มีประวัติกระจกตาดำมีการลอกหลุด มีประวัติเป็นแผลที่กระจกตา

2. เลสิคใบมีด (Lasik)

เลสิคใบมีด (Microkeratome LASIK, Blade LASIK, หรือ LASIK) คือ เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมสูง โดยใช้ใบมีดที่มีขนาดเล็กเปิดฝากระจกตาขึ้น ก่อนใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ปรับแต่งความโค้งของกระจกตาให้ได้ค่าสายตาที่ต้องการ แล้วปิดกระจกตากลับเข้าที่เดิม ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที

ค่าใช้จ่ายประมาณ : 30,000-50,000 บาท

จุดเด่น

  • รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -1000 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600
  • ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นน้อย
  • สามารถกลับมามองเห็นได้เต็มประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว
  • อ่อนโยนต่อสภาพตา ระคายเคืองน้อย ทั้งในช่วงระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

ข้อจำกัด

  • ไม่สามารถใช้เทคนิคนี้กับผู้ที่มีภาวะกระจกตาบางหรือไม่สม่ำเสมอ
  • อาจเกิดรอยแผลบนผิวกระจกตา จากการแยกชั้นกระจกตา (แต่จะหายได้เอง)
  • มีโอกาสเกิดภาวะตาแห้งมากกว่าวิธีการทำเลสิคแบบอื่น และไม่เหมาะกับผู้ป่วยตาแห้งเรื้อรัง

ใครควรทำเลสิคประเภทนี้

ผู้ที่มีสายตาสั้นและเอียงไม่มาก มีสายตาสั้นและเอียงไม่เกิน 600

3.เฟมโตเลสิค (FemtoLASIK)

เฟมโตเลสิค (FemtoLASIK) คือ วิธีการรักษาที่ใช้เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในขั้นตอนการเปิดฝา กระจกตา จากนั้นจะปรับแต่งความโค้งของกระจกด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) เรียกได้ว่าใช้เลเซอร์เป็นหลักตลอดการรักษา โดยไม่ต้องใช้ใบมีดเปิดฝากระจกตา (Bladeless LASIK) จึงให้ความแม่นยำและความปลอดภัยที่ดีกว่าการทำเลสิคแบบใช้ใบมีด ระยะเวลาในการผ่าตัด 30 นาที

ค่าใช้จ่ายประมาณ : 70,000-100,000 บาท

จุดเด่น

  • รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -1000 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600
  • ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนต่ำ
  • อ่อนโยน และก่อความระคายเคืองน้อย
  • ไม่ต้องฉีดยาชา ใช้แค่ยาชาแบบหยอดตา
  • ฟื้นตัวได้เร็ว เพราะไม่ต้องผ่าตัด
  • สามารถกลับมามองเห็นได้เต็มประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว
  • มีความแม่นยำในการแยกชั้นกระจกตาสูง

ข้อจำกัด

  • อาจเกิดรอยแผลบริเวณกระจกตา
  • หากมีอุบัติเหตุกระทบกระเทือนตาอย่างรุนแรงมีโอกาสฝากระจกตาเคลื่อนที่
  • ทำให้เกิดตาแห้งได้มากกว่าวิธี ReLEx Smile

ใครควรทำเลสิคประเภทนี้

ผู้ที่มีภาวะกระจกตาบาง , ตาเล็กเปิดตาได้ไม่มาก

4.เลสิคแบบไร้ใบมีด (ReLEx Smile)

เลสิคแบบไร้ใบมีด (ReLEx Smile) หรือ Refractive lenticule extraction – Small incision lenticule extraction คือ เทคโนโลยีล่าสุดในการแก้ไขสายตาโดยใช้เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ซึ่งมีความแม่นยำสูง

เทคนิคดังกล่าว ไม่ต้องเปิดฝากระจกตาเพื่อแยกชั้นเหมือนวิธีเลสิคใบมีด แต่จะใช้เลเซอร์ตัดเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเลนส์ แล้วดึงออกผ่านแผลซึ่งมีขนาดเล็กเพียงประมาณ 2-4 มม. จึงเป็นเทคนิคที่รบกวนกระจกตาน้อยมาก ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที

ค่าใช้จ่ายประมาณ : 90,000-120,000

จุดเด่น

  • ไม่มีการแยกชั้นกระจกตาให้เกิดบาดแผล
  • ระคายเคืองหรือปวดตาน้อยมาก (หรือแทบไม่มีเลย)
  • โอกาสเกิดภาวะตาแห้งน้อยมาก
  • รักษาโครงสร้างทางกายภาพและความแข็งแรงของเนื้อกระจกตาได้ดี
  • ลดภาวะแสงฟุ้งกระจายตอนกลางคืน
  • ใช้เวลาผ่าตัดสั้น

ข้อจำกัด

  • ใช้ทักษะความชำนาญของแพทย์เป็นกรณีพิเศษ
  • มีระยะการฟื้นตัวใกล้เคียงหรืออาจช้ากว่าการทำเลสิคใบมีด
  • รักษาได้เฉพาะผู้ที่มีสายตาสั้นตั้งแต่ -50 ถึง -1000 และสายตาเอียงไม่เกิน -600

แต่ยังใช้รักษาภาวะสายตายาวไม่ได้

ใครควรทำเลสิคประเภทนี้

  • ผู้ที่ต้องการรักษาสายตาสั้นและสายตาเอียง
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงกระทบกระแทกบริเวณตา หรือ เล่นกีฬาเป็นประจำ
  • ผู้ที่ตาแห้ง

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

สรุปการเปรียบเทียบที่น่าสนใจ

หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย

ควรเลือกการทำเลสิคด้วยใบมีด (Lasik) หรือ การรักษาแบบ PRK

หากทำอาชีพ เล่นกีฬา หรือกิจกรรมที่เสี่ยงกับการกระทบกระเทือน

ควรเลือกการรักษาแบบ PRK หรือ ReLEx Smile

การฟื้นตัว

  • ฟื้นเร็วที่สุด: การรักษาแบบ FemtoLASIK
  • ฟื้นตัวเร็วปานกลาง: เลสิคใบมีด และ ReLEx Smile
  • ฟื้นตัวช้าที่สุด: การรักษาแบบ PRK

โอกาสเกิดการระคายเคือง :

  • โอกาสระคายเคืองน้อยที่สุด: การรักษาแบบ ReLEx Smile (รอยแผล 2-4 มม.)
  • โอกาสระคายเคืองน้อยรองลงมา: การรักษาแบบ FemtoLASIK (รอยแผล 20 มม.)
  • โอกาสระคายเคืองปานกลาง: เลสิคใบมีด (รอยแผล 20 มม.)
  • โอกาสระคายเคืองสูง: การรักษาแบบ PRK (รอยแผลประมาณ 30 ตร. มม.)

ข้อแนะนำ: ไม่มีเทคนิคการทำเลสิคประเภทไหนที่ดีที่สุดโดยสมบูรณ์ แต่ละเทคนิคจะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป และยังเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

คนไข้แต่ละคนต้องมาตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตา บางคนสภาพตาดีมากสามารถเลือกทำได้ทุกวิธี แต่บางคนทำได้แค่บางวิธีเท่านั้น เพราะฉะนั้นการตรวจประเมินสภาพตา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก คนไข้ควรปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุด ทั้งนี้ แพทย์จะให้ข้อมูลว่าคนไข้ทำวิธีไหนได้บ้าง และให้คนไข้เป็นผู้ตัดสินใจเลือก

ตารางเปรียบเทียบ การทำเลสิคประเภทต่าง ๆ

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

วิธีตัดสินใจ “ควรเลือกทำเลสิคที่ไหนดี?”

เพราะดวงตาของเรามีเพียงคู่เดียว การผ่าตัดแก้ไขสายตาหรือการทำเลสิคก็มักจะทำเพียงครั้งเดียวในชีวิต การจะตัดสินใจทำที่ไหนจึงมีความสำคัญมาก ควรพิจารณาถึงเกณฑ์ต่าง ๆ ในการเลือก ดังนี้

  1. สถานที่ให้บริการ ควรสะอาดและได้รับการรับรองตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
  2. แพทย์ที่ทำเลสิค ควรเป็นจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย
  3. เทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้ ควรได้มาตรฐานและเป็นรุ่นที่ทันสมัย เนื่องจากจะสามารถแก้ไขค่าสายตาได้แม่นยำและมีความปลอดภัย โดยมีผลข้างเคียงที่ต่ำ
  4. ควรมีทางเลือกหลากหลายให้ผู้ป่วยในการตัดสินใจ หากมีการรักษาครบทุกรูปแบบ ทั้ง PRK, LASIK, FemtoLASIK, ReLEx Smile และการผ่าตัดเลนส์เสริม (ICL) จะทำให้แพทย์สามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้
  5. หากเป็นศูนย์เลสิคที่ตั้งอยู่ในสถานพยาบาล จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครบวงจร เช่น หากผู้ป่วยมีตัวโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้งรุนแรง หรือมีต้อกระจก ต้อหินร่วมด้วย ก็สามารถรักษาต่อเนื่องได้เลย
  6. นอกจากแพทย์แล้ว ทีมเจ้าหน้าที่ก็มีความสำคัญเช่นกัน หากมีประสบการณ์ในด้านการดูแลผู้ป่วยเลสิค จะสามารถให้คำแนะนำปรึกษาได้อย่างละเอียดและครบถ้วน
  7. ระดับราคาที่ยอมรับได้ เนื่องจากเลสิคแต่ละประเภท มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคนิคการผ่าตัด และสถานที่ทำเลสิคแต่ละแห่งก็มีอัตราค่าบริการที่แตกต่างกันไป ผู้สนใจควรศึกษาและเปรียบเทียบให้แน่ใจก่อนว่า ระดับราคากลางของเทคนิคการทำเลสิคแต่ละประเภทคือเท่าไหร่? และความคาดหวังในรูปแบบการรับบริการของตนเป็นแบบไหน?

เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว ต่อไป

จะเลือกรักษาด้วยเลสิคที่ไหนให้เหมาะกับดวงตาคู่สำคัญของเราก็ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ

ใครทำเลสิคได้บ้าง

ทำไมบางคนทำเลสิคได้ บางคนทำไม่ได้?

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

คุณสมบัติทั่วไป ที่สามารถเข้ารับการทำเลสิคได้

  • อายุ 18 ปีขึ้นไป
  • มีสายตาคงที่ เปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 50 (0.5D) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสสายตากลับมาสั้นหรือเอียงเพิ่มได้
  • ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ให้รอประจำเดือนกลับมาแล้วอย่างน้อย 2 รอบ
  • ต้องไม่มีโรคของกระจกตาและโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวาน SLE เป็นต้น ซึ่งควรแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการรักษาด้วยเลสิค

ปัจจัยด้านลักษณะกระจกตาคนไข้ มีผลต่อการพิจารณาทำเลสิค

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดว่าคนไข้จะเข้ารับการรักษาด้วยเลสิคได้หรือไม่ คือ ความหนาและความแข็งแรงของกระจกตาคนไข้ เนื่องจากการทำเลสิคทุกชนิด จะเป็นการยิงเลเซอร์ไปที่กระจกตา ส่งผลให้กระจกตาบางลง

หมอจะไม่แนะนำให้ทำเลสิคหากคนไข้กระจกตาหนาหรือแข็งแรงไม่เพียงพอ แต่จะแนะนำให้ปรับค่าสายตาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกระจกตาแทน เช่น การใส่เลนส์ปรับค่าสายตาเข้าในดวงตา หรือที่เรียกว่า ICL

แม้อายุถึงเกณฑ์แล้ว ถ้าค่าสายตายังไม่นิ่ง ก็ยังทำเลสิคไม่ได้

ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการรักษา มักจะแนะนำให้ทำเลสิคได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เพราะเป็นอายุที่ค่าสายตาคงที่แล้ว แต่อายุก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาการรักษา สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ความนิ่งของค่าสายตา ผู้ที่จะทำเลสิคได้นั้น ควรมีค่าสายตาที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้วอย่างน้อย 1 ปี

เตรียมตัวก่อนมาทำเลสิค

ปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนแนวทางการรักษา

การปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจประเมินเบื้องต้น ว่าสามารถรักษาด้วยเลสิคได้หรือไม่? และควรใช้เทคนิคการเลสิคแบบไหน? แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ในสถาบันที่รองรับการทำเลสิคได้หลากหลาย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเลือกวิธีรักษาของตัวเราเอง เพราะถ้ามีทางเลือกน้อย อาจได้เทคนิคการรักษาที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับเรา

ในขั้นตอนนี้ เราต้องเดินทางเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอย่างละเอียดด้วย สามารถโทรสอบถามจากโรงพยาบาลหรือศูนย์เลสิค

โดยเบื้องต้นมีขั้นตอนเตรียมตัว ดังนี้

  1. กรณีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองมาด้วย
  2. หากใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน อย่างน้อย 3 วัน หากเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ให้ถอดอย่างน้อย 7 วัน เพราะจะช่วยให้แพทย์ตรวจวัดค่าสายตาได้อย่างแม่นยำขึ้น และทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. งดใช้ยารักษาสิว อย่างน้อย 1 เดือน (ทั้งก่อนตรวจสภาพตา และก่อนผ่าตัด) เพราะเป็นยาที่ส่งผลต่อเยื่อบุและผิวกระจกตา อาจทำให้การวัดประเมินดวงตามีความคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ถ้าใช้ยาประจำอยู่ ต้องแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ
  4. วันที่มาตรวจประเมินสายตา อาจต้องมีการหยอดยาเพื่อขยายม่านตาด้วย ซึ่งจะทำให้ตาสู้แสงไม่ได้ และเกิดอาการพร่ามัวชั่วคราว จึงควรเตรียมแว่นกันแดดไว้ และพาเพื่อนหรือญาติมาด้วยเพื่อคอยดูแล

วันตรวจประเมิน จักษุแพทย์จะใช้ยาหยอดขยายม่านตาเพื่อวัดสายตาโดยละเอียด ได้แก่ ตรวจวัดการมองเห็น วัดความดันลูกตา ตรวจสภาพจอประสาทตา ตรวจวัดความโค้งกระจกตาส่วนหน้าและส่วนหลัง ตรวจวัดความหนาของกระจกตา

จักษุแพทย์จะประเมินจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของคนไข้ว่า มีค่าสายตาสั้น ยาว หรือเอียงเท่าไหร่? สายตาคงที่แล้วหรือยัง? นอกจากนี้ จะประเมินอายุ โรคประจำตัว ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับดวงตา ยาที่ใช้ประจำ (หรือใช้อยู่ในปัจจุบัน) ลักษณะการดำเนินชีวิต เพื่อพิจารณาความจำเป็นด้านระยะเวลาพักฟื้น เป็นต้น

หลังจากนั้นจะประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้เพื่อสรุปผลแล้วให้คำแนะนำ พร้อมแผนการรักษากับคนไข้อีกครั้งหนึ่ง

2 ขั้นตอนการทำเลสิค

การทำเลสิคประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 : การเปิดฝากระจกตา

แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  1. เปิดฝากระจกตาด้วยใบมีด (Microkeratome) เป็นเทคนิคดั้งเดิมแต่ก็ยังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการเปิดฝากระจกตาด้วยเลเซอร์
  2. เปิดฝากระจกตาด้วยเลเซอร์ (Femtosecond laser) ซึ่งจะให้ความแม่นยำมากกว่า

ขั้นตอนที่ 2 : การยิงเลเซอร์เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา

โดยใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีความจำเพาะกับเนื้อเยื่อกระจกตา ไม่ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถปรับความโค้งของกระจกตาตามค่าสายตาของคนไข้ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว จากนั้นแพทย์จะปิดฝากระจกตากลับสู่ที่เดิม

การดูแลตัวเอง หลังการทำเลสิค

เพื่อป้องกันดวงตาจากการติดเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลให้การทำเลสิคไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

วันแรก หลังการทำเลสิค

สวมฝาครอบตา : คนไข้ต้องสวมฝาครอบตาตลอดเวลา ห้ามแกะฝาครอบเด็กขาด โดยสามารถมองผ่านรูเล็ก ๆ ของฝาครอบตาได้เท่านั้น

ซับน้ำตารอบ ๆ ฝาครอบตา: ในช่วงนี้ คนไข้อาจมีอาการเคืองตา คล้ายมีเศษผงอยู่ในตา บางคนอาจน้ำตาไหลออกมา ให้ซับออกได้เฉพาะน้ำตานอกฝาครอบตาเท่านั้น ห้ามแยงนิ้วเข้าไปซับน้ำตาในที่ครอบตา

นอนพักสั้น ๆ หลังการผ่าตัด : ควรนอนหลับสั้น ๆ (กรณีรักษาช่วงกลางวัน) หรือนอนหลับแต่หัวค่ำ (กรณีรักษาช่วงเย็น) ช่วงวันแรก ๆ ควรพักสายตาให้มากที่สุด

หากมีอาการปวดตา: สามารถกินยาแก้ปวดได้ ซึ่งถ้าเป็นมาก ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบในวันนัดติดตามผล

ทำกิจกรรมต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น : คนไข้ควรงดกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น แต่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยความระมัดระวัง ห้ามน้ำเข้าตาเด็ดขาด แต่สามารถอาบน้ำและแปรงฟันได้

ข้อปฏิบัติทั่วไป หลังทำเลสิค

เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด คนไข้ควรปฏิบัติดังนี้

  1. เข้าพบจักษุแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง และตรวจเช็คอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ปกติแล้วจักษุแพทย์จะแจ้งเวลานัดให้กับคนไข้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว โดยจะแบ่งเป็นการนัดระยะสั้น เช่น หลังผ่าตัด 1 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ไปจนถึงการนัดระยะยาว เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  2. หยอดยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ป้องกันการติดเชื้อ และสามารถหยอดน้ำตาเทียมได้บ่อยตามต้องการ
  3. ห้ามให้น้ำหรือฝุ่นเข้าตาโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หากต้องการทำความสะอาดใบหน้าให้ใช้ผ้าหมาด ๆ เช็ดหน้าแทน ส่วนการสระผม ควรให้ผู้อื่นสระให้
  4. ห้ามขยี้ตา การขยี้ยาเป็นเรื่องที่พลั้งเผลอกันง่ายมาก จึงไม่ควรเปิดฝาครอบตาออกหากไม่จำเป็น และต้องใส่ไว้ตลอดแม้แต่ตอนนอน เพราะจะช่วยป้องกันการเผลอขยี้ตาได้
  5. งดการแต่งหน้าบริเวณรอบดวงตา อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ลดโอกาสระคายเคืองต่อดวงตา
  6. สวมแว่นตากันแดด เพื่อป้องกันแสงแดดและลมเข้าตาเมื่ออยู่ในที่มีแสงจ้า ลดความไม่สบายตา หรืออาการตาแห้งได้
  7. ใช้สายตาได้บ้าง แต่ควรหยุดพักสายตาบ่อย ๆ เนื่องจากช่วงนี้สายตายังปรับตัวได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือล้าตาได้ง่าย
  8. งดกิจกรรมทุกชนิดที่ทำให้เหงื่อออก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือทำงานบ้าน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
  9. งดกิจกรรมทางน้ำ ได้แก่ งดว่ายน้ำ 1 เดือน และงดกิจกรรมดำน้ำ 3 เดือน นับจากวันผ่าตัด

การทำเลสิค มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงระยะสั้นของการทำเลสิค ซึ่งเมื่อกระจกตาเริ่มปรับสภาพได้ อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้น ได้แก่

  • เคืองตา คนไข้เลสิค มักมีอาการนี้ได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ช่วงนี้ให้พักสายตามาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีน้ำตาไหล ให้ซับน้ำตาที่ล้นออกมานอกฝาครอบตา (ห้ามแยงนิ้วเข้าไปซับน้ำตา) เมื่อผ่านวันแรกไปแล้ว อาการจะดีขึ้นเอง
  • สายตาไม่ชัด หรือมีอาการตาพร่า มักจะเป็นกันในสัปดาห์แรก อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากแผลหลังการทำเลสิค เมื่อแผลหายดีแล้ว อาการเหล่านี้จะดีขึ้น
  • การมองเห็นแสงไฟแตกกระจายในตอนกลางคืน อาจเป็นรูปแบบของแสงกระจาย (Glare) หรือ แสงรัศมีรอบดวงไฟ (Halo) ซึ่งจะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 เดือน มากน้อยแล้วแต่คน บางคนเป็นมากอาจส่งผลกระทบต่อการขับขี่ตอนกลางคืนได้ ควรงดขับขี่ยานพาหนะชั่วคราว
  • อาการตาแห้ง ซึ่งเกิดจากการทำงานของระบบน้ำตาลดลงชั่วคราว โดยจะเป็นอยู่ประมาณ 3-6 เดือน

นอกจากนี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อ (Infection) ซึ่งปกติจักษุแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อใช้หยอดตาหลังจากทำเลสิคอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

การทำเลสิคจะทำให้กระจกตาบางลง และการวัดความดันลูกตาจะได้ค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ไม่ส่งผลเสียกับคนไข้ ยกเว้นว่ามีการตรวจวัดความดันลูกตา เช่น ตรวจสุขภาพตาประจำปี หรือตรวจหาโรคต้อหิน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน ว่าทำเลสิคมาเพื่อคำนวณหาค่าความดันลูกตาที่แท้จริงของคนไข้ได้

การทำเลสิคซ้ำ ต้องดูความหนากระจกตา

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

โดยมากผู้ที่สายตากลับมาสั้นอีกหลังจากเคยทำเลสิคไปแล้ว จะใช้ระยะเวลานาน 5-10 ปีขึ้นไป และมักจะสั้นไม่มาก (ไม่เกิน 100-150) ซึ่งค่าสายตาระดับนี้ ไม่กระทบการมองมากนัก อาจพิจารณาใส่แว่นเสริมได้

อย่างไรก็ดี หากต้องการทำเลสิคซ้ำอีกครั้ง ต้องประเมินความหนาของกระจกตา ถ้าเหลือความหนาเพียงพอ สามารถทำซ้ำได้ แนะนำให้ติดต่อที่ศูนย์เลสิคเดิมที่เคยทำ จะได้มีข้อมูลกระจกตาของคนไข้ครบถ้วน

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า

2024 ใคร ท าอะไร ท ไหน เม อไหร อย างไร ทำไม

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด รวมถึงสายตาเอียง

โดยนำเทคโนโลยีทันสมัยจากประเทศเยอรมนีมาใช้ในการรักษา ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่รักษาสายตาได้ครบทุกมิติ ดูแลโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา

เทคโนโลยีการรักษา ศูนย์เลสิคพระรามเก้า

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า ให้บริการการทำเลสิค 4 รูปแบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการการรักษาของคนไข้ให้ครอบคลุมที่สุด