18 ม นาคม ค.ศ 1839 29 ส งหาคม ค.ศ 1842

(น.125) สิ้นสงครามคราวนี้อังกฤษได้แหลมเกาลูน ต่อมา ค.ศ. 1898 ขอเช่าที่เหนือแหลมขึ้นไปเรียกว่า New Territories เป็นเวลา 99 ปี เนื้อที่ 980 ตารางกิโลเมตร (เมื่อหมดสัญญา จีนไม่ยอมให้เช่าต่อ อังกฤษจึงคืนเกาะฮ่องกงและเกาลูนให้ด้วย เพราะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีดินแดน New Territories ซึ่งเป็นเมืองเบื้องหลังเมืองท่า (Hinterland)

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 284-285

(น.284) ดร. ซุนยัดเซ็น เดิมชื่อซุนอี้เซียน (ภาษากวางตุ้งอ่านออกเสียงว่า ซุนยัดเซ็น) เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ที่หมู่บ้านซุ่ยเฮิง อำเภอเซียงซาน (ชื่อสมัยนั้น) มณฑลกวางตุ้ง ได้ไปศึกษาที่ฮาวาย กวางโจว และศึกษาวิชาแพทย์ที่ฮ่องกง แล้วได้ดำเนินบทบาททางการเมืองเป็นนักปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์ชิง และเป็นผู้นำในการปฏิวัติชิงไห่ ค.ศ. 1911 ขบวนการประชาธิปไตยของเขาได้รับการสนับสนุนจากพวกคนจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก และจากรัสเซีย ต่อมาเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของจีน เสียชีวิตใน ค.ศ. 1925 ด้วยโรคมะเร็ง ใน ค.ศ. 1927 เจียงไคเช็ค เป็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งต่อ ไกด์กล่าวว่าเขาได้ปฏิบัติแตกต่างจากแนวคิดของ ดร. ซุน

(น.285) หมู่บ้านซุ่ยเฮิงอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจูเจี ยง ห่างจากเมืองจงซาน 25 กิโลเมตร ดร.ซุนใช้ชีวิตวัยเด็กที่นี่ ออกไปเมื่ออายุ 29 ปีก็ไม่ได้กลับมาอีก จน ค.ศ. 1912 หลังจากเป็นประธานาธิบดีแล้วได้กลับมาเยี่ยม 3วัน และไม่ได้มาอีกเลย เขาว่า ดร.ซุนเป็นผู้ออกแบบบ้านนี้ โดยที่พี่ชายซึ่งเป็นชาวจีนโพ้นทะเลอยู่ที่ฮาวาย เป็นผู้ออกเงิน มีลักษณะแปลกคือ ด้านนอกเป็นแบบตะวันตกและข้างในเป็นแบบจีน ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงชีวประวัติของดร. ซุน และวัฒนธรรมของชาวบ้านซุ่ยเฮิง ต้นมะขามที่อยู่ทางซ้ายของบ้าน เป็นต้นที่ดร. ซุนนำเมล็ดมาจากฮอนโนลูลูมาปลูก ลำต้นมีลักษณะพาดยาวไปกับพื้น ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า มังกรหลับ โต๊ะเขียนหนังสือในห้องเขากล่าวกันว่าเป็นตัวที่เขาใช้เขียนถึงขุนนางหลี่ฮุงจาง หารือเรื่องการโค่นล้มราชวงศ์ชิงแต่ไม่สำเร็จ

เจียงหนานแสนงาม เจียงหนานแสนงาม หน้า 92-93

(น. 92) คราวนี้ข้าพเจ้าจะได้ไปเมืองหยังโจว อยู่ห่างเมืองไท่จงที่ท่านหูเกิดและเติบโตเพียง 50 กิโลเมตร ตั้งแต่เด็กเคยไปหยังโจวหลายครั้ง ยังประทับใจชีวิตสมัยที่เป็นวัยรุ่น ที่ชอบมากคือ ทะเลสาบโซ่วซีหู มีทิวทัศน์สวยที่สุดในมณฑลเจียงซู การล่องเรือที่นี่ก็ไม่เหมือนที่อื่นเพราะทะเลสาบไม่กว้าง คดเคี้ยวไปมา เห็นทิวทัศน์ทีละแห่ง พอเลี้ยวไปก็จะเห็นอีกแห่ง ไม่ใช่เห็นทิวทัศน์กว้างๆ พร้อมๆ กันทั้งหมด แต่ก่อนกล่าวกันว่ามีทิวทัศน์เช่นนี้ถึง 30 แห่ง เดี๋ยวนี้เห็นได้ 10 กว่าแห่ง ในทะเลสาบยังมีภูเขาเล็กๆ บนเนินเขามีศาลเจ้าจินซาน มีตุ้ยเหลียน (คำขวัญคู่) ของกวีสมัยราชวงศ์ชิงกล่าวไว้ว่า เมื่อแสงจันทร์ส่องก็เห็นทั้งทะเลสาบ หากหมอกมากก็เห็นแต่ศาลเจ้าที่บนเนินเท่านั้น คราวนี้คงไม่ได้เห็นภาพเช่นนั้น เพราะไม่ได้ไปกลางคืน นอกจากนั้นยังมีสะพาน 5 ศาลา เมืองหยังโจวนั้นสถานที่ที่มีชื่อเสียงคือ วัดต้าหมิงซึ่งชาวญี่ปุ่นชอบไปมาก เป็นวัดที่สร้างเมื่อประมาณศตวรรษที่ 5 ในรัชศกต้าหมิงของจักรพรรดิเซี่ยวอู่ตี้ (ค.ศ. 454 – ค.ศ. 464) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (ค.ศ. 420 – ค.ศ. 479) ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ วัดเดิมถูกทำลายไปในสงคราม ที่เราเห็นอยู่สร้างใหม่ในสมัยจักรพรรดิถงจื่อ (ค.ศ. 1862 – ค.ศ. 1874) ราชวงศ์ชิง ที่มีชื่อเสียงเพราะในราชวงศ์ถังเป็นที่จำพรรษาของพระเจี้ยนเจิน ตอนหลังไป

(น. 93) ญี่ปุ่นนำพระธรรมและวิทยาการต่างๆ ไปสู่ญี่ปุ่น พยายามไปถึง 6 หน จึงไปถึง ไปเผยแพร่พุทธธรรม 10 ปี และมรณภาพที่นั่น ญี่ปุ่นระลึกถึงบุญคุณทำรูปไว้บูชา ค.ศ. 1963 ครบรอบ 1,200 ปีของการมรณภาพ รัฐบาลสร้างหอที่ระลึกเอาไว้ที่วัดต้าหมิงนี้ ยังมีโบราณสถานอีกมากในสี่เมืองนี้ (หนานจิง หยังโจว ซูโจว หังโจว) มีนิทานประกอบด้วย แต่ร้อยคำไม่สู้ไปดูหนเดียว จะกล่าวไปก็ยาวเปล่าๆ สู้ไปดูเองไม่ได้

เจียงหนานแสนงาม หน้า 108-111,116,132

(น. 108) จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์นานกิง หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลเจียงซู อาคารพิพิธภัณฑ์สร้างแบบจีนมุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีเหลือง เก็บสิ่งของที่พบในเจียงซู สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1933 ห้องโถงข้างหน้ามีสัตว์ในตำนานตั้งอยู่ กล่าวกันว่าเป็นสัตว์สิริมงคลชนิดหนึ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์เหลียง (ค.ศ. 502 – ค.ศ. 557) ตามทางเดินมีรูปคนที่ได้มาจากสุสานต่างๆ แสดงให้เห็นหน้าตาของคนสมัยนั้นๆ ได้ดูห้องที่จัดแสดงไว้ดังนี้

(น. 109) ห้องหยก แสดงหยกโบราณจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง ใส่ตู้ตั้งเรียงรายไปแบบเดิม มีคำอธิบายดีพอประมาณ ผู้อำนวยการอธิบายไปพลางออกตัวไปพลางว่า พิพิธภัณฑ์นี้ไม่ดีเท่าไร เพราะว่าสร้างมานานแล้ว อาคารใหม่เสร็จจะจัดแสดงได้ดีกว่านี้ ของเขาดีๆ ทั้งนั้น มีชุดหยกที่ใช้บรรจุศพ สมัยก่อนเชื่อกันว่าจะทำให้ศพไม่เน่า (แต่ก็ไม่เป็นจริงเพราะศพที่ขุดได้ก็เน่าทั้งนั้น) ด้ายที่ร้อยแผ่นหยก แบ่งออกเป็นหลายชั้น ถ้าเป็นของจักรพรรดิจะเป็นทอง ของเจ้านายชั้นสูงเป็นเงิน ทองแดงและไหม ลดหลั่นกันไป เสื้อที่จัดแสดงอยู่นี้ร้อยด้วยเงิน พบสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25 - ค.ศ. 220)

18 ม นาคม ค.ศ 1839 29 ส งหาคม ค.ศ 1842
(น. 109) รูป 88 ชุดหยกใส่ศพ Jade funeral suit.

18 ม นาคม ค.ศ 1839 29 ส งหาคม ค.ศ 1842
(น. 110) รูป 89 หุ่นสำริด แสดงจุดที่ให้นักเรียนหัดฝังเข็ม Bronze model with marks to indicate important spots on the human body for students to practise acupuncture.

(น. 110) หยกรูปกลมเรียกว่า ปี้ เป็นสัญลักษณ์ของท้องฟ้า หยกรูปเหลี่ยมหมายถึงดิน ใช้ในการบวงสรวง มีสายรัดเอวหยก และเครื่องหยกต่างๆ ที่ใช้ในราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 – ค.ศ. 1911) เครื่องสำริด เครื่องสำริดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง มีตะเกียงสำริด เครื่องเผากำยาน และเครื่องสำริดทรงต่างๆ โดยมากใช้ในพิธีกรรม หุ่นสำริดแสดงจุดต่างๆ ขอร่างกาย ตัวโตเท่าคนจริงหรืออาจจะโตกว่าเสียด้วยซ้ำ สำหรับให้นักเรียนฝึกฝังเข็มลงไปในตัวหุ่นซึ่งมีขี้ผึ้ง ถ้าจิ้มถูกที่ ขี้ผึ้งจะไหลออกมา หุ่นชนิดนี้มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง หุ่นที่มีในพิพิธภัณฑ์นี้เป็นของราชวงศ์หมิง ทางพิพิธภัณฑ์จำลองหุ่นนี้ให้นักศึกษาที่เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณได้ฝึก

(น. 111) เครื่องเขิน เดิมลงรักไปบนเครื่องปั้นดินเผาสมัยเมื่อ 5,000 – 6,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมาจึงใช้โครงไม้แล้วลงรัก ในตู้นี้เขาเก็บเครื่องลงรักทั้งสีดำและสีแดงของทุกสมัย เครื่องลงรักแบบหยังโจว คือลงรักสีแดงให้หนาแล้วแกะลายของบางชิ้นก็ฝังมุก มีทองแดงลงรักปิดทองก็มี หรูอี้ลงรักแดงแกะลายสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิง (ค.ศ. 1851 – ค.ศ. 1861) แห่งราชวงศ์ชิง ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นหรูอี้แบบนี้ เคยเห็นแต่ที่เป็นหยก นอกจากนั้นมีกล่องใส่อาหารลงรักแดงบนพื้นดำ แกะลายเป็นทิวทัศน์และเขียนตัวหนังสือ ยางรักส่วนใหญ่มาจากมณฑลยูนนาน เครื่องปั้นดินเผา มีศิลาดล มีประวัติว่าพวกเย่ว์เป็นผู้ทำตั้งแต่สมัยหินใหม่ พวกเย่ว์นี้อยู่ทางใต้ของแม่น้ำแยงซีในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จากนั้นมีมาเรื่อยจนถึงราชวงศ์ชิง เครื่องลายคราม เริ่มมีมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ที่จริงแล้วได้เศษมาชิ้นเดียว แต่ว่าพบในชั้นดินสมัยถัง ไม่ทราบว่าในวิชาโบราณคดีสันนิษฐานแบบนี้จะพอหรือไม่ นอกนั้นเป็นสมัยราชวงศ์หยวน หมิง ชิง มีข้าวของที่ประสมทั้งลายคราม ทั้งเขียนสีก็มี

(น. 116) พิพิธภัณฑ์นานกิงนี้มีสิ่งของทุกยุคทุกสมัยรวม 400,000 กว่าชิ้น ของที่สำคัญที่สุดคือเครื่องเคลือบเตาหลวงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง มีอยู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของของทั้งหมด ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑ์นี้คือ มีสถาบันวิจัย 14 แห่งขึ้นกับพิพิธภัณฑ์ เช่น สถาบันโบราณคดี สถาบันการอนุรักษ์ สถาบันวิจัยประเพณีพื้นบ้าน สถาบันวิจัยศิลปะโบราณ และสถาบันสถาปัตยกรรมโบราณ เป็นต้น เจ้าหน้าที่มี 200 กว่าคน 2 ใน 3 เป็นนักวิจัย มีนักวิจัยระดับสูงอยู่ประมาณ 1 ใน 3 การจัดแสดงสิ่งของเป็นผลงานของนักวิจัยเหล่านี้ที่ทำมา60กว่าปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีวารสารของพิพิธภัณฑ์อีกด้วย

(น. 132) หลังจากดูสวนพฤกษศาสตร์แล้ว เราไปที่หอดูดาว Purple Mountain Observatory หอดูดาวตั้งอยู่บนเขาซีจิ๋นในภูเขาจื่อจินซาน (จื่อจิน = สีม่วงอมทอง ซาน = ภูเขา) ทางตะวันออกของนานกิง สร้างเมื่อ ค.ศ. 1929 แล้วเสร็จใน ค.ศ. 1934 เป็นที่ศึกษาวิชาดาราศาสตร์สาขาต่างๆ มีกล้องส่องดาวของเก่าเขาก็ยังใช้อยู่ แต่งานใหม่ๆ ที่ทำก็ต้องใช้กล้องที่ดีควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ดาราศาสตร์โบราณอยู่หลายชิ้นเช่น ลูกฟ้า (Celestial Globe) เป็นเครื่องมือสำริดสร้างใน ค.ศ. 1905 ปลายสมัยราชวงศ์ชิง แสดงแผนที่ดาว 1,448 ดวง (ขณะนั้นยังไม่มีการใช้กล้องโทรทัศน์ใหญ่ๆ) แสดงตำแหน่งดาว และการเคลื่อนไหวของดาวเหล่านี้