129 1 ม.4 ต.หนองหาร อ.ส นทราย จ.เช ยงใหม

เทศบาลตำบลหนองหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอสันทราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสันทราย 14 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ 14 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 31,745 ไร่ หรือคิดเป็น 15.3% ของเนื้อที่ทั้งอำเภอ

สำนักงานเทศบาลตำบลหนองหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 399 หมู่ 7 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50290

ประชากรใน ต.หนองหารแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เป็นผู้ริเริ่มตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และกลุ่มที่อพยพโยกย้ายมาจากต่างถิ่นอื่น เช่น มาจากต่างอำเภอ เช่น อ.สันกำแพง, อ.ดอยสะเก็ด และมาจากต่างจังหวัด เช่น จ.ลำพูน มากที่สุด และมาจากภาคกลางเป็นบางส่วน เป็นต้น

มีจำนวนประชากร 12,262 คน และมี 7,520 หลังคาเรือน มีลักษณะชุมชนและวิถีชีวิตเป็นแบบพึ่งพาอาศัยกันและกันฉันท์พี่น้อง

สำนักงานเทศบาลตำบลหนองหาร

129 1 ม.4 ต.หนองหาร อ.ส นทราย จ.เช ยงใหม
129 1 ม.4 ต.หนองหาร อ.ส นทราย จ.เช ยงใหม

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.แม่แฝกใหม่ มีลำห้วยบงและแนวสันเขากั้นเป็นแนวเขต

ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.หนองจ๊อม มีลำเหมืองทุ่งในลำเหมืองฮ่อกั้นเป็นแนวเขต

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ป่าไผ่ และ ต.หนองจ๊อม มีที่นากั้นเป็นแนวเขต

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม และ ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง มีแม่น้ำหนองหารกั้นเป็นแนวเขต

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และจากทิศเหนือมาใต้ มีบริเวณภูเขาในหมู่ 1, 13 และ 10 ทางตอนเหนือของตำบลมีคลองชลประทาน, แม่น้ำไหลผ่านในแนวเหนือใต้

เส้นทางคมนาคม เส้นทางหลัก คือ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001 (ตอนเชียงใหม่-พร้าว) ผ่านในแนวใต้-เหนือ และมีเส้นทางแยกจากถนนเส้นนี้เข้าหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีถนนเลียบคลองชลประทาน

-ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001 เป็นถนนลาดยางอย่างดี ผิวจราจรกว้าง 6 เมตร มีไหล่ทางผิวลูกรังตั้งแต่หน้าตลาดแม่โจ้ข้างละ 1.5 เมตร ผ่านย่านชุมชนใน ต.หนองหาร มีเขตทางด้านซ้าย 15 เมตร และด้านขวา 25 เมตร

-ถนนเลียบคลองชลประทาน เป็นถนนลาดยางและลูกรัง กว้าง 4 เมตร มี 2 ข้างคลองชลประทานตลอดสาย ตั้งแต่คลองชลประทานแม่แฝกและสิ้นสุดที่ ต.เมืองเล็น

-ถนนภายในหมู่บ้าน สภาพถนนลาดยางบางส่วน และถนนลูกรัง กว้าง 3-6 เมตร

การตั้งบ้านเรือน ส่วนใหญ่ยังเกาะกลุ่มตามเส้นทางคมนาคม, แหล่งน้ำ, และอยู่กันเป็นกลุ่มตามแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งมีลำเหมืองไหลผ่านในหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ประชากรจะอยู่หนาแน่นที่สุดบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีบ้านและหอพักนักศึกษา รวมทั้งร้านค้าเกิดขึ้นมาก และคาดว่า จะขยายตัวขึ้นอีกในอนาคต และมีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ประชากรยังอยู่กันอย่างหนาแน่นกระจายไปตามเส้นทางที่สำคัญ คือ หมู่ 1, 3, 4, 5, 7, 10, 11 และ 12 ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001 และหมู่ 1, 8 และ 10 ตามเส้นทางถนนเลียบคลองชลประทานแม่แฝก

แหล่งน้ำ แหล่งน้ำสำคัญที่ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภค

-แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ใช้บ่อน้ำตื้น และระบบประปาหมู่บ้าน ใช้น้ำจากลำเหมืองและคลองชลประทาน บางหมู่บ้าน เช่น หมู่ 8 บางส่วนอยู่ในบริเวณสูง ในฤดูแล้งอาจจะมีปริมาณน้ำน้อย การเจาะน้ำบาดาลจะต้องเจาะให้ลึกกว่าที่อื่น หมู่ 13 กำลังจัดสร้างระบบประปาหมู่บ้าน

-แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ใช้น้ำจากโครงการชลประทานเข้าพื้นที่นาและสวน หรือมีคูน้ำส่งเข้าอีกที โดยได้รับจากโครงการชลประทานแม่แฝกเกือบทั้งหมด ทำให้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรมีอย่างทั่วถึง และในบริเวณฝั่งตะวันออกของคลองชลประทานที่อยู่สูงกว่าก็ใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน โดยการเจาะบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น

-แหล่งน้ำผิวดิน และสระน้ำ สาธารณะ ได้แก่ แม่น้ำหนองหาร, ลำน้ำคาว และคลองชลประทานแม่แฝก สระน้ำสาธารณะมีจำนวน 4 แห่งในหมู่ 5 จำนวน 2 แห่ง หมู่ 6 และหมู่ 12

-แหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ บ่อน้ำ และบ่อบาดาล

การปกครอง

นายกเทศมนตรี นายสุวัชรชัย สุทธาวาสน์

ปลัดเทศบาล -

กำนัน -

เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 13 หมู่บ้าน

เขตเทศบาลตำบลหนองหาร

เขตเทศบาลเมืองแม่โจ้

หมู่ 1 บ้านแม่เตาไห

หมู่ 1 บ้านแม่เตาไห

หมู่ 7 บ้านหนองหาร

หมู่ 2 บ้านป่าบง

หมู่ 8 บ้านวิเวก

หมู่ 3 บ้านห้วยเกี๋ยง

หมู่ 10 บ้านเกษตรใหม่

หมู่ 4 บ้านแม่โจ้

หมู่ 13 บ้านดอยน้อยพัฒนา

หมู่ 5 บ้านสหกรณ์นิคม

หมู่ 6 บ้านทุ่งป่าเก็ด

หมู่ 9 บ้านทุ่งหมื่นน้อย

หมู่ 10 บ้านเกษตรใหม่

หมู่ 11 บ้านสหกรณ์บ้านไร่

หมู่ 12 บ้านแม่โจ้ใหม่

โดยมีหมู่ 1 และหมู่ 10 มีพื้นที่อยู่ในเทศบาลเมืองแม่โจ้บางส่วน

จำนวนครัวเรือนและประชากร

ชื่อบ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

รวม

เกษตรกร

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ 1 บ้านแม่เตาไห

221

221

274

312

586

หมู่ 7 บ้านหนองหาร

526

458

585

601

1,186

หมู่ 8 บ้านวิเวก

426

393

421

461

882

หมู่ 10 บ้านเกษตรใหม่

359

285

274

265

539

หมู่ 13 บ้านดอยน้อยพัฒนา

249

226

285

330

615

รวม

1,781

1,583

1,839

1,969

3,808

เศรษฐกิจ

เทศบาลตำบลหนองหาร มีพื้นที่เขตรับผิดชอบ 28.28 ตร.กม. หรือ 17,675 ไร่

พื้นที่ชุมชน ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย, พาณิชยกรรม, สถาบันการศึกษา, สถาบันศาสนา, และสถาบันราชการ มีการใช้พื้นที่ 4.38 ตร.กม. หรือ 2,736 ไร่ คิดเป็น 15.48% ของพื้นที่ทั้งตำบล

พื้นที่เกษตรกรรม มีบริเวณครอบคลุมทั้งตำบล 10.83 ตร.กม.หรือ 6,769 ไร่ คิดเป็น 38.30% ของพื้นที่ทั้งตำบล ส่วนใหญ่ปลูกข้าว รองลงมา คือ ไม้ผล และไม้ประดับ

ชื่อหมู่บ้าน

พื้นที่เกษตรกรรม (ไร่)

ร้อยละของพื้นที่ทั้งตำบล

หมู่ 1 บ้านแม่เตาไห

245

1.39

หมู่ 7 บ้านหนองหาร

530

3.00

หมู่ 8 บ้านวิเวก

650

3.68

หมู่ 10 บ้านเกษตรใหม่

2,867

16.22

หมู่ 13 บ้านดอยน้อยพัฒนา

2,477

14.01

- พื้นที่ป่าไม้ (เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสันทราย) มีพื้นที่ 12 ตร.กม. หรือ 7,500 ไร่ คิดเป็น 42.43% ของพื้นที่ทั้งตำบล

- พื้นที่ทำประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ แหล่งน้ำ, หนอง, คลอง, บึง, ฯลฯ มีพื้นที่ 1.07 ตร.กม. หรือ 670 ไร่ คิดเป็น 3.79% ของพื้นที่ทั้งตำบล

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้น้ำฝนตามธรรมชาติ ทำการเกษตร และคลองชลประทาน ผันน้ำเข้าสู่ระบบเหมือง ฝาย นอกจากนี้ใช้น้ำจากลำห้วยแม่เตาไห

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตเทศบาลตำบลหนองหาร ส่วนใหญ่จะใช้น้ำฝนและน้ำบาดาล โดยจะมีโอ่งหรือถังซีเมนต์เก็บกักน้ำฝนไว้ใช้แทบทุกครัวเรือน และในบางครัวเรือน ประชาชนเข้าถึงระบบประปา จำนวน 4 หมู่บ้าน โดยได้รับการบริการจากระบบประปาประจำหมู่บ้านเป็นบางส่วน

อาชีพ

-อาชีพส่วนใหญ่ รับจ้าง

-อาชีพที่ 2 เกษตรกรรม เนื่องจากเกษตรกรอาจมีพื้นที่ทำกินแต่ให้คนต่างถิ่นมาเช่าที่ทำการเกษตร มีส่วนน้อยที่จะทำการเกษตรในที่ดินของตัวเอง

-อาชีพที่ 3 การค้าขาย มีการเชื่อมโยงกันภาคการเกษตร มีการค้าขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับตนเองและทางด้านเศรษฐกิจ

อาชีพที่ 4 รับราชการ

นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพ 2 อย่างควบคู่กันไป คือ การรับจ้างและเกษตรกรรม, รับจ้างและค้าขาย

อาชีพในภาคการเกษตรกรรม การปลูกพืช ได้แก่ ข้าว, พืชไร่, ไม้ผล และพืชผัก ส่วนการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โคนม, โคเนื้อ, สุกร, ไก่พันธุ์เนื้อ, ไก่พันธุ์พื้นเมือง, ไก่ไข่

อาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ช่างฝีมือ, ช่างไม้, อุตสาหกรรมในครัวเรือน, ค้าขาย และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม, ร้านอาหาร, ในบริษัท, และวงการก่อสร้าง

สภาพพื้นที่ของชุมชนอยู่ในเขตชลประทาน มีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร และอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง

พันธุ์พืชที่ปลูก/พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ

-ข้าวนาปี ข้าวขาวดอกมะลิ 105

-ข้าวนาปรัง กข.6, กข.10, สันป่าตอง 1

-มันเทศ มอญไข่

-เผือก เชียงใหม่ 1

-ข้าวโพด ไพร์คัลเลอร์ 58, ฮันนี่สวิสต์

-พืชผัก กะหล่ำปี, กะหล่ำคอก, มะระจีน, พริก, มะเขือเทศ, ถั่วฝักยาว

-ปทุมมา เชียงใหม่พิงค์, หงส์เหิน, เชียงใหม่เรด, สโนไวท์, กระเจียมส้ม ปทุมรัตน์, เขียวมรกต, สมิทเพอ

-มะม่วง น้ำดอกไม้, เขียวเสวย, หนังกลางวัน, โชคอนันต์

-ลำไย อีดอ, อีแห้ว, สีชมพู

-ลิ้นจี่ ฮงฮวย

-โคเนื้อ บรามันส์

-สุกร สุกรขุน

-ปลา ปลากินพืช

วิถีการดำเนินชีวิต สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

-ครัวเรือนของประชากรที่มีฐานะดีจะอาศัยอยู่บริเวณตลาดหรือแหล่งชุมชนและบริเวณเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001 ส่วนใหญ่จะมีอาชีพค้าขายหรือมีอาชีพค้าขายควบคู่กันไปกับอาชีพทำการเกษตร

-ครัวเรือนที่มีฐานะปานกลาง เช่น รับราชการ, ทำงานบริษัทเอกชน, อาชีพค้าขายเล็กน้อย, ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก จะตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ทั่วไป

-ครัวเรืองที่มีฐานะยากจน จะตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างออกไปตามหมู่บ้าน มีอาชีพทำการเกษตร ในพื้นที่ที่จำกัดและเช่าที่ทำกิน และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปตามที่จะมีผู้ว่าจ้างเป็นวันๆ ไป

สิ่งอำนวยความสะดวก แต่ละหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ มีน้ำกินน้ำใช้โดยไม่ขาดแคลน ครัวเรือที่มีฐานะดีเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้นไว้ใช้ ครัวเรือนที่มีฐานะยากจนจะมีบ่อน้ำตื้นที่ขุดไว้ใช้

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงทำให้มีประเพณีต่าง ๆ เช่น การทำบุญสลากพัตร, สรงน้ำพระธาตุ, เข้าพรรษา- ออกพรรษา, วันสงกรานต์, ประเพณีทำบุญกลางบ้าน, ประเพณีทำบุญข้าวเปลือก เป็นต้น

ในประเพณีงานสงกรานต์ มีความเชื่อว่า ปีหนึ่งที่ล่วงมาเราทำสิ่งไม่ดีไม่งามก็ขอขมารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และพ่อแม่ ท่านจะกล่าวให้พรเพื่อความสุขแก่ผู้มารดน้ำดำหัวต่อไป

ในการทำบุญข้าวเปลือก มีความเชื่อว่า ข้าวมีบุญคุณต่อเรา เราต้องรู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณ

ประเภทผู้นำ ประกอบด้วย

1. ผู้นำที่เป็นทางการ โดยการเป็นผู้นำที่ประชาชนคัดเลือกขึ้นมาปกครองหมู่บ้าน ตำบล คือ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน และเป็นที่ยอมรับของทางราชการ

2. ผู้นำของกลุ่มเกษตร จะถูกคัดเลือกให้มาดำเนินงานแทนตัวของสมาชิก โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน นอกจากค่าตอบแทนในการทำงานเป็นบางครั้ง

- สมาชิกของกลุ่มจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกติกา ของกลุ่มเกษตรกรและเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ดี เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการดำเนินงานไปด้วยดี

- การดำเนินงานจะทำโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ประธาน, รองประธาน, เลขานุการ, เหรัญญิก, กรรมการ, และหัวหน้าหน่วยเกษตรกรรม ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี

- การแบ่งผลประโยชน์ จะแบ่งสัดส่วนการถือหุ้น และการใช้บริการตามธุรกิจการซื้อ-ขาย ที่สมาชิกทำกับกลุ่ม

- ปัญหาที่ผ่านมาของกลุ่มเกษตรกร เป็นปัญหาที่สมาชิกกลุ่มไม่ชำระหนี้สิน ทำให้กลุ่มไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในปัจจุบันได้มีสมาชิกที่เป็นหนี้ได้เห็นความสำคัญในการจัดตั้งกลุ่ม ยินยอมใช้หนี้ และคณะกรรมการเป็นที่ยอมรับของสมาชิกกลุ่ม จึงทำให้กลุ่มเกษตรกรฟื้นตัวขึ้น สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้จนเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

การรวมกลุ่มของชาวบ้าน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองหาร จากเดิม 5 หมู่บ้าน ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 3 หมู่บ้านที่ยังดำเนินการอยู่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อกลุ่ม/ประเภทกลุ่ม

ประธานกลุ่ม

หมู่ 7 บ้านหนองหาร

กลุ่มเลี้ยงผึ้งพันธุ์

-วิสาหกิจชุมชน

ด.ต.ประพันธ์ บุญเกษม

โทร. 081-1113961

กลุ่มต้นกล้ามืออาชีพ

-วิสาหกิจชุมชน

นางมุกดา เต็มสวัสดิ์

โทร. 085-3549522

กลุ่มเกษตรปลอดภัย

-วิสาหกิจชุมชน

นายประกาย โกสุม

โทร. 085-7146543

กลุ่มตัดเย็บผ้า

-วิสาหกิจชุมชน

นายธนวัตร ฐณภัทรปิติกร

โทร. 089-8834856

หมู่ 8 บ้านวิเวก

กลุ่มผู้ทำนาปี

-วิสาหกิจชุมชน

นายสนิท วงศ์มา

โทร. -

หมู่ 10 บ้านเกษตรใหม่

กลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงหมูหลุม

-วิสาหกิจชุมชน

นายชุมพล สมบูรณ์ชัย

โทร. 086-1934638

กลุ่มปลูกดอกประทุมมา

-วิสาหกิจชุมชน

นางกุญชัชญา สวัสดิ์

โทร. 081-6039563

กองทุนหมู่บ้าน

-กองทุนสวัสดิการชุมชน

โรงงานอุตสาหกรรม / บริษัท (ประเภทอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เงินลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท)

-บริษัท วีพี สตรัคเจอรัล พาเนส จำกัด (หมู่ 7) 1 แห่ง

- บริษัท สยามทรอลปิคอลเนิสเชอรี่ จำกัด (หมู่ 7) 1 แห่ง

- บริษัท สยามสตาร์ชิดล์ จำกัด (หมู่ 7) 1 แห่ง

ตําบลหนองหาร มีกี่หมู่บ้าน

ตำบลหนองหาร มีจำนวน 13 ชุมชน คือ หมู่ที่ 1 ชุมชนแม่เตาไห 1. หมู่ที่ 1 ชุมชนแม่เตาไห 2.

อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ มีกี่ตำบล

อำเภอสันทราย.

ตำบลสันทรายหลวง 9 หมู่บ้าน.

ตำบลหนองจ๊อม 9 หมู่บ้าน.

ตำบลสันทรายน้อย 7 หมู่บ้าน.

ตำบลหนองหาร 13 หมู่บ้าน.

ตำบลสันพระเนตร 7 หมู่บ้าน.

ตำบลแม่แฝก 12 หมู่บ้าน.

ตำบลสันนาเม็ง 10 หมู่บ้าน.

ตำบลแม่แฝกใหม่ 12 หมู่บ้าน.

อ.สันทราย มีตําบลอะไรบ้าง

การปกครองส่วนภูมิภาค.

สันทรายหลวง San Sai Luang. 7,310. 7,310. (ทต. ... .

สันทรายน้อย San Sai Noi. 18,094. 18,094. (ทต. ... .

สันพระเนตร San Phra Net. 7,180. 1,152. 6,028. ... .

สันนาเม็ง San Na Meng. 11,912. 11,912. (ทต. ... .

สันป่าเปา San Pa Pao. 4,575. 4,575. ... .

หนองแหย่ง Nong Yaeng. 5,685. 5,685. ... .

หนองจ๊อม Nong Chom. 18,533. 1,772. ... .

หนองหาร Nong Han. 23,591. 18,471..

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ไหน

เลขที่ 63 หมู่ 4 ต. หนองหาร อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ 50290.