การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ควร ศึกษา จาก แหล่ง ข้อมูล ใด

เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากรุงเทพฯ ที่เราอาศัยอยู่นี้มีอายุกว่า 200 ปีแล้วนะ ! ในช่วงเวลากว่า 200 ปีที่ผ่านมา กรุงรัตนโกสินทร์ (รวมถึงราชธานีอย่างกรุงเทพฯ) มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ มากมายและต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การค้า ระบอบการปกครอง วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งถ้าเทียบวันนี้กับเมื่อสองร้อยปีก่อน กรุงรัตนโกสินทร์ก็เปลี่ยนไปจนแทบจะจำไม่ได้เลยใช่ไหมล่ะ ? แล้วปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราพัฒนามาได้ไกลขนาดนี้ วันนี้ StartDee จะพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบกัน !

กำเนิด "กรุงเทพฯ" ราชธานีใหม่

ย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีก่อนในปี พ.ศ.2325 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษก พระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มาเป็นฝั่งตะวันออก และได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใหม่ โดยพระราชทานชื่อให้ว่า

“กรุงรัตนโกสินทร์อินท์ อโยธยา” 

ซึ่งในภายหลังได้มีการแก้ไขชื่อของพระนครอีก 2 ครั้ง ครั้งแรกคือในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงแก้เป็น

“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ก็ทรงเปลี่ยนคำว่า “บวร” เป็น “อมร” เปลี่ยนคำว่า “มหินทอยุธยา” โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น “มหินทรายุธยา” เปลี่ยนการสะกดคำ “สินท์” เป็น “สินทร์” และเติมสร้อยนามต่อ เมืองหลวงของกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีชื่อเต็มว่า

“กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” [1]

ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ หลายคนรู้สึกว่ายาวไป จำไม่ได้ เราแนะนำให้ร้องออกมาเป็นเพลงแบบอัสนี วสันต์ได้เลย !

Did you know ? ปราบดาภิเษกคืออะไร ?

ปราบดาภิเษก เป็นคำสมาสแบบสนธิของคำว่า ปฺราปฺต + อภิเษก ในภาษาสันสกฤต โดยราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า “มีอภิเษกอันถึงแล้ว” หรือ “พระราชพิธีขึ้นเสวยราชสมบัติหรือได้ราชสมบัติ” แต่ในทางประวัติศาสตร์นั้นเป็นที่รู้กันว่า “ปราบดาภิเษก” หมายถึง การขึ้นเสวยราชสมบัติของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก ดังนั้นการขึ้นครองราชย์ในลักษณะนี้จึงมีเรื่องของการรบพุ่ง การแย่งชิงอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นศึกภายนอกหรือภายในราชสำนัก ซึ่งการสืบราชบัลลังก์นั้นมีทั้งการสืบราชสันตติวงศ์ (การสืบราชบัลลังก์โดยสายเลือดภายในราชวงศ์เดิม การสืบราชบัลลังก์ในลักษณะนี้เรียกว่า “ราชาภิเษก”)  และการปราบดาภิเษกซึ่งมักเป็นการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ (แต่บางครั้งก็เป็นการแย่งชิงราชสมบัติจากเจ้านายในสายราชวงศ์เดียวกัน) การปราบดาภิเษกนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยในยุคของกรุงศรีอยุธยานั้นมีพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ด้วยการปราบดาภิเษกถึง 12 รัชกาลด้วยกัน

ทำไมต้องเป็นกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงมีพระราชดำริว่ากรุงธนบุรี (เมืองหลวงเดิม) นั้นไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ตั้งอยู่ในที่คับแคบ ไม่สามารถขยายอาณาเขตพระราชวังให้กว้างขวางออกไปได้ เนื่องจากมีวัดตั้งขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน (วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด))[2] นอกจากนี้ลักษณะของเมืองยังไม่ถูกต้องตามหลักพิชัยสงคราม เนื่องจากเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านกลางเมือง ไม่สะดวกต่อการรับข้าศึก ซึ่งเป็นข้อสำคัญมาก เพราะในช่วงรัชกาลที่ 1 ยังมีสงครามติดพันรอบด้านอยู่

เหตุผลหลักในการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ จึงเป็นเรื่องของความมั่นคง ตามมาด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความความเจริญรุ่งเรือง และเหมาะสมต่อการเป็นราชธานีของประเทศไทยยังแบ่งเป็น 3 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. ปัจจัยด้านทำเลและที่ตั้ง 

การตั้งราชธานีที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาจะช่วยป้องกันการรุกรานของข้าศึกศัตรูในสมัยนั้นได้ (เช่น อาณาจักรพม่าที่มักยกมาจากทิศตะวันตก) เพราะถ้ากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นปราการธรรมชาติ 

2. ปัจจัยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ

เนื่องจากกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยาและติดกับอ่าวไทย ช่วยให้การค้าและการคมนาคมกับชาวต่างชาติสะดวกมากขึ้น และนำความมั่งคั่งมาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการเดินเรือของชาติอื่น ๆ กรุงรัตนโกสินทร์จึงพลอยได้อานิสงส์ความเจริญนี้ด้วย

3. ปัจจัยด้านผู้นำ

ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย ดังนั้นบทบาทของพระมหากษัตริย์จึงมีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ซึ่งบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 - 3) ที่โดดเด่นมีดังนี้

1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)
  • ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์
  • มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคง เช่น การย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งตะวันออกของของแม่น้ำเจ้าพระยา เสริมสร้างกองทัพไทยให้เข้มแข็ง จนมีชัยชนะในสงครามเก้าทัพ

2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) 

  • ทรงให้ความสำคัญกับศิลปะและวิทยาการของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การสร้างสรรค์วรรณคดี บทละครใน บทละครนอก รวมถึงการแสดงมหรสพมากมาย ตัวอย่างวรรณคดีที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เช่น อิเหนา เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน กวีที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่
  • การให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา

3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) 

  • ทรงมุ่งเน้นการค้าสำเภากับชาติต่าง ๆ เช่น จีน (คู่ค้าหลัก) ประเทศใกล้เคียง และอังกฤษ (ผ่านอาณานิคม) เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี ซึ่งถือเป็นประตูสู่โลกการค้าของสยามในสมัยนั้น
  • การให้ความสำคัญกับเรื่องการค้า ทำให้เศรษฐกิจของกรุงรัตนโกสินทร์มีความมั่งคั่งแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเงินถุงแดง เงินจากพระคลังข้างที่ (พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดินที่แบ่งถวายพระมหากษัตริย์เพื่อเสด็จใช้จ่ายส่วนพระองค์) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บสะสมไว้ในกำปั่นข้างพระแท่นบรรทม ซึ่งในเวลาต่อมารัฐสยามได้นำเงินนี้มาใช้จ่ายเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5
Did you know? วัดยานนาวามีเรือสำเภาด้วยนะ !

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นเจ้าสัวจากการค้าขายโดยเรือสำเภาจนมีกำไรมั่งคั่ง (นอกจากจัดการค้าเรือสำเภาหลวงยังทรงค้าสำเภาเป็นการส่วนพระองค์ด้วย) และทรงโปรดการสร้างวัดเป็นพิเศษ ในรัชสมัยของพระองค์จึงมีวัดเกิดขึ้นจำนวนมากในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เช่น วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดเทพธิดาราม วัดยานนาวา วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น นอกจากนี้ที่วัดยานนาวายังมีเรือสำเภาจำลองเพื่อเป็นหลักฐานแก่คนรุ่นหลังว่า ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้นกรุงเทพฯ มีการค้าสำเภากับจีนจนร่ำรวย นอกจากนี้ยังปรากฎเรือสำเภาจำลองที่วัดทองนพคุณในฝั่งธนบุรีด้วย

ขอบคุณรูปภาพจาก //www.matichon.co.th/columnists/news_1558369

จบกันไปอีก 1 บทเรียนแล้วนะเพื่อน ๆ ขอบอกว่าเรื่องนี้อยู่ในข้อสอบทุกสนามแน่นอน และถ้าเพื่อน ๆ อยากให้ความรู้แน่นขึ้นไปอีก อย่าลืมไปอ่านเรื่อง ปัญหาการเมืองไทยและการตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมไปถึงรูปแบบการปกครองด้วยนะ หรือจะข้ามไปวิชาภาษาไทยเรื่องอ่านโคลงโลกนิติ ก็ได้เช่นกัน

แล้วเจอกันใหม่บทความหน้า !

ที่มา:

//sites.google.com/a/srisawat.ac.th/prawatisastr-thiy/home/smay-ratnkosinthr-txn-tn

[1] //www.silpa-mag.com/history/article_38554

[2] //sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/ratnkosinthr3385/khxmul-swn-taw/thrng-mi-phra-rac h-winicchay-wa-krungthnburi-mi-hemaa-thi-ca-pen-rachthani-subpi-dwy-sahetu-hlay-prakar-khux

//www.silpa-mag.com/history/article_42217

//www.silpa-mag.com/history/article_10723

//www.facebook.com/notes/สามก๊ก/ปราบดาภิเษก-การขึ้นเสวยราชย์ด้วยศาสตรา/393198710730824/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้