ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน

อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องรู้ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านเสียก่อน เพื่อพิจารณาว่าคุณได้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้เพียงพอแล้วหรือยัง และคุ้มหรือไม่กับบางข้อเสนอที่คุณจะได้รับจากการรีไฟแนนซ์ เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมที่อาจใกล้เคียงกับยอดเงินกู้เดิมของคุณ

ก่อนจะเดินดุ่มๆ เข้าไปธนาคาร เรามีลิสต์ 7 รายการมาให้เพื่อนๆ ทราบกันก่อนว่าอะไรบ้างที่เราต้องสอบถามในการรีไฟแนนซ์นะคะ ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะมีโปรโมชั่นต่างกัน บางธนาคารฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้, ฟรีค่าจดจำนองและอัตราดอกเบี้ยก็ต่างกัน ดังนี้ค่ะ

  1. อัตราดอกเบี้ย แต่ละธนาคารจะมีให้เลือกหลายรูปแบบทั้งคงที่และลอยตัว
  2. ค่าประเมินราคา ประมาณ 1,900-5,750 บาท (ขึ้นอยู่กับธนาคารและบางธนาคารก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้)
  3. ค่าจดจำนอง 1% ของเงินต้นที่เหลือจากธนาคารเดิม (ค่าใช้จ่ายนี้เราเสียให้กรมที่ดิน กรณีฟรีค่าจดจำนองก็ต้องออกเงินส่วนนี้ก่อนแล้วธนาคารค่อยจ่ายคืนเรา)
  4. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ส่วนใหญ่ผู้ยื่นกู้จ่ายเอง
  5. ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ หรือ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร ช่วงนี้ธนาคารส่วนใหญ่จะฟรีค่าธรรมเนียมให้นะคะ
  6. ประกันอัคคีภัย ธนาคารส่วนใหญ่ให้ใช้ประกันฉบับเดิมที่เราเคยทำกับธนาคารเดิมได้ แค่สลักหลังให้ผู้รับผลประโยชน์เป็นธนาคารที่เราไปยื่นขอรีไฟแนนซ์แทน
  7. ประกัน MRTA คือ ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำหน้าที่ปิดหนี้ให้หากผู้กู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ซึ่งใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนประกันชีวิตทั่วไปเลยนะคะ โดยการคำนวณค่าประกันให้สอบถามกับธนาคารไว้เบื้องต้นเลย เพราะค่า MRTA จะขึ้นอยู่กับเพศ อายุ หรือเงื่อนไขอื่นๆ ของผู้กู้ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลนะคะ
  8. เงื่อนไขของระยะเวลา แต่ละธนาคารจะมีข้อกำหนดว่าห้ามปิดภาระหนี้หรือ Refinance ภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 3 ปี, 5 ปี หรือบางธนาคารก็อนุญาตให้สามารถปิดหนี้ก่อนนั้น

จากที่เราไปสอบถามธนาคารหลักๆ มาทั้งหมด 11 แห่งขอสรุปคร่าวๆ ว่าทางเลือกในการ Refinance จะมี 2 แบบหลักๆ ดังนี้

1 กรณีจ่ายค่าจดจำนองเอง

– ไม่ทำประกัน
– ทำประกัน MRTA

2 กรณีธนาคารจ่ายค่าจดจำนองเองให้

– ไม่ทำประกัน
– ทำประกัน MRTA

ทีนี้เรามาเปรียบเทียบดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายของแต่ละธนาคารกันเลย

อัตราดอกเบี้ยที่นำมาฝากกัน เป็นอัตราดอกบี้ยที่เรายกเอากรณีการกู้คอนโดของเราเองไปสอบถามกับธนาคารนะคะ ซึ่งแต่ละคนจะได้ตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันเป็น Case by Case สิ่งที่เพื่อนๆ จะนำไปใช้ได้คือ ใช้ตารางนี้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงให้สามารถหาธนาคารที่น่าจะให้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดกับเพื่อนๆ ได้รวดเร็วขึ้น แนะนำว่าให้ยื่นสัก 2-3 ธนาคารที่คาดว่าดอกเบี้ยน่าจะต่ำสุดและอย่าเพิ่งรีบตัดสินใจ!! ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่ได้มาในการต่อรองกับธนาคารอื่นๆ อีกครั้ง หากธนาคารต้องการให้เรา Refinance กับเค้า เค้าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกให้ถูกกว่าธนาคารอื่นได้ค่ะ

กรณีจ่ายค่าจดจำนองเอง หากเรามีเงินก้อนพอที่จะจ่ายค่าจดจำนองเองได้ ก็แนะนำให้เลือกแบบนี้นะ เพราะจะได้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่ากรณีธนาคารจ่ายค่าจดจำนองให้ และเงื่อนไขส่วนใหญ่จะอนุญาติให้สามารถ Refinance ได้เมื่อครบสัญญา 3 ปี ต่างจากกรณีที่ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ ซึ่งส่วนใหญ่สัญญาจะระบุว่า Refinance ได้เมื่ออยู่กับธนาคารครบ 5 ปีเลยนะคะ

ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ที่ต้องจ่ายแน่นอนก็คือ ค่าจดจำนอง 1% และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าประเมินราคาและค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ทั้งหมดนี้คือเงินก้อนที่ต้องเตรียมไว้ใช้ในการรีไฟแนนซ์ หากใครไม่มีเงินก้อนส่วนนี้ให้ไปดูตารางด้านล่างเลยค่ะ

กรณีธนาคารจ่ายค่าจดจำนองให้ ตามที่เราไปสำรวจมามีหลายธนาคารมากกว่าในตารางนี้อีกนะคะ ที่มีโปรโมชั่นนี้ธนาคารจ่ายค่าจดจำนองให้เลือก และมีให้เลือกทั้งแบบทำประกัน MRTA หรือไม่ทำประกัน MRTA ก็ได้ สิ่งที่เราคิดว่าต้องระวังหากเลือกโปรโมชั่นนี้คือ ดอกเบี้ยในปีที่ 4 และ 5 ซึ่งมักจะสูงกว่าปีที่ 1-3 แบบก้าวกระโดด และมักจะโดนสัญญาบังคับด้วยว่าห้าม Refinance ก่อน 5 ปีค่ะ

หากใครไม่สามารถออกค่าจดจำนอง 1% ได้จริงๆ และสนใจโปรฯนี้ ต้องลองคำนวนความคุ้มค่าให้ละเอียดถี่ถ้วน หรือเลือก Retention กับธนาคารเดิมก็จะเลี่ยงการเสียค่าจดจำนองได้ค่ะ

Previous

Next
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7

Image 1/7

อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ธนาคารออมสิน

Previous

Next

1/7

อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ธนาคารออมสิน

หากใครสนใจรายละเอียดว่าแต่ละแบบมีอัตราดอกเบี้ยแต่ละปีเท่าไหร่ เราเอาโบรชัวร์อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมาฝากกันด้วยค่ะ

รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) มีรูปแบบและประเภทไหนบ้างที่เหมาะกับเรา?

สำหรับการ รีไฟแนนซ์บ้าน นั้นมีหลายรูปแบบ หลายโปรแกรมอยู่เหมือนกันนะคะ เพราะธนาคารทุกแห่งก็จัดโปรโมชั่นออกมาแข่งขันกัน จึงมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันอยู่ โดยเราจะมาอธิบายให้ฟังกัน

สิ่งที่เราต้องพิจารณาต่อจากอัตราดอกเบี้ยก็คือ

A: ควรเลือกทำประกัน MRTA ดีมั้ย?
B: เลือกดอกเบี้ยแผนไหนดี คงที่หรือลอยตัว?
C: จ่ายค่าจดจำนองเองหรือธนาคารจ่ายค่าจดจำนอให้ คุ้มกว่ากัน?

A : ทำประกัน MRTA – ไม่ทำประกัน MRTA

MRTA = ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ หรือประกันชีวิตที่มีจุดประสงค์ในการคุ้มครองผู้ขอสินเชื่อเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินให้กับผู้กู้ (เรา) และผู้ให้กู้ (ธนาคาร) ตามจำนวนเงินทุนประกันและระยะเวลาในการทำประกัน หากเราทำประกันนี้ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยให้ถูกกว่าการไม่ทำประกันนะคะ แต่เราสามารถเลือกไม่ทำประกัน MRTA ได้ เพราะไม่มีข้อบังคับให้ต้องทำแต่อย่างใด

ก่อนอื่นเลยแนะนำว่าให้เจ้าหน้าที่ลองประเมินค่าทำประกันออกมาก่อน แล้วนำมาคำนวนความคุ้มค่าในระยะ 3 ปีว่าแบบทำประกันและไม่ทำประกันเราต้องเสียเงินต่างกันเท่าไหร่ อย่างตัวเราเองล่าสุดที่ให้ธนาคารคำนวณให้ ปรากฎว่าแบบทำประกันจะประหยัดค่าดอกเบี้ยได้เยอะกว่าด้วยค่ะ

ในความเห็นเราคิดว่าหากใครที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นมีคนที่ต้องอุปการะดูแล เช่น ลูกหลานหรือคุณพ่อคุณแม่ แนะนำให้ทำประกัน MRTA เผื่อกรณีเกิดอะไรขึ้น เงินประกันส่วนนี้จะชำระค่าบ้านที่เหลือให้ทั้งหมด และหากมีส่วนต่างก็จะคืนให้กับญาติที่เราแจ้งให้รับเงินส่วนต่างไปด้วย ดังนั้นการทำประกัน MRTA จะทำให้เราสบายใจได้ว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับเรา ครอบครัวจะไม่ต้องแบกรับภาระส่วนนี้ ในกรณีกลับกัน หากเราไม่ได้มีญาติพี่น้องหรือคนที่ต้องดูแลอุปการะ จะเลือกไม่ทำประกัน MRTA ก็ได้เช่นกันค่ะ ขึ้นอยู่กับ Condition ของแต่ละคนเลย

B : ดอกเบี้ยลอยตัว / ดอกเบี้ยคงที่

ดอกเบี้ยลอยตัว : หมายถึงดอกเบี้ยที่ไม่คงที่ โดยจะมีเรทเป็นไปตาม MRR = Minimum Retail Rate ของธนาคารนั้นๆ โดยแต่ละธนาคารจะมีค่า MRR ไม่เท่ากันนะคะ

โดยเราจะเห็นในตารางของ EX.1 MRR-4.30 สมมติ MRR = 6.87 ดังนั้นดอกเบี้ย ณ เวลานั้นจะเท่ากับ 6.87-4.30 = 2.57% ต่อปี (โดยสังเกตว่าตัวเลข 4.30 จะ Fix ไว้ แต่ MRR สามารถขยับขึ้นลงได้)

ดังนั้นการที่เราเลือกดอกเบี้ยลอยตัวจะมีความเสี่ยงกว่าดอกเบี้ยคงที่ ส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะให้เรทดอกเบี้ยสำหรับดอกเบี้ยลอยตัวต่ำกว่าดอกเบี้ยคงที่ เพราะความเสี่ยงที่มีมากกว่า โดยทั้งนี้ก็มีข้อดี-ข้อเสีย ข้อดีคือถ้าธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR เราก็จะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้น ธนาคารปรับ MRR ขึ้นเราก็เสียดอกเบี้ยมากขึ้นเช่นกัน

ดอกเบี้ยคงที่ : หมายถึงดอกเบี้ยที่ไม่มีปรับลงหรือขึ้น อัตราไหนอัตราไหนตลอด ยกตัวอย่าง EX.2 ที่เราจะเห็นว่าปีแรก อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.05%, ปีที่ 2 อยู่ที่ 3.25% และปีที่ 3 อยู่ที่ 3.5%

ซึ่งรูปแบบนี้จะเหมาะกับคนที่ต้องการความแน่นอน เพื่อนำไปคำนวณได้ หรือไม่ต้องการรับความเสี่ยงการผันผวนของดอกเบี้ย แต่โดยรวมแล้วอัตราดอกเบี้ยคงที่จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่หน่อยค่ะ

C : จ่ายค่าจดจำนองเอง และธนาคารออกค่าจดจำนองให้

จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายหลักๆในการรีไฟแนนซ์บ้าน ก็คือค่าจดจำนอง ทำให้ธนาคารหลายแห่งจัดโปรโมชั่นจ่ายค่าจดจำนองให้ เพื่อให้เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเงินก้อน เพราะถ้ากู้ซื้อบ้าน 2 ล้านก็ต้องมีเงินจดจำนอง = 2,000,000 x 1% =20,000 บาท นะคะ

จ่ายค่าจดจำนองเอง : หมายถึงเราจะต้องเสียค่าจดจำนองให้กรมที่ดิน 1% ของราคาเงินต้นบ้าน เช่น เราซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท ผ่อนมา 3 ปี เหลือเงินต้น 4.7 ล้านบาท เราจะต้องเสียค่าจดจำนองอยู่ที่ 47,000 บาท เป็นต้น

โดยค่าจดจำนองนี้ ข้อดีคือเราจะติดสัญญาว่าต้องอยู่กับธนาคารนั้นๆ เพียง 3 ปี ก็สามารถ Refinance ไปอีกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าได้ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใดใด

ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ : หมายถึง ฟรีค่าจดจำนองเลยค่ะ เราไม่ต้องเสียค่าจดจำนอง 1% ของราคาเงินต้นบ้านให้กับกรมที่ดิน แต่ธนาคารจะเป็นผู้ออกเงินให้ในส่วนนี้

โดยหากเราเลือกรูปแบบฟรีค่าจดจำนอง เราจะต้องอยู่กับธนาคารเป็นเวลา 5 ปีเป็นอย่างต่ำ ถึงจะสามารถ Refinance ไปธนาคารอื่นได้ **แต่ทั้งนี้ปีที่ 4 ที่ดอกเบี้ยมักจะสูงกว่าปีที่ 1-3 เราสามารถไปขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารได้ (Retention) และควรจะไปขอปรับลดดอกเบี้ยก่อน 1 เดือนที่จะถึงกำหนด

เลือกรีไฟแนนซ์ (Refinance) แบบไหนประหยัดเท่าไหร่?

เราขอยกตัวอย่างกรณีของคุณพะโล้ อาชีพเป็นพนักงานประจำ อายุ 32 ปี เดิมกู้กับธนาคาร A. โดยคุณพะโล้กู้ซื้อบ้านมาราคา 3.2 ล้านบาท จ่ายค่าผ่อนบ้านกับธนาคารเดือนละ 16,000 บาท ผ่อนครบ 3 ปี คุณพะโล้เหลือเงินต้นอยู่ที่ 2.7 ล้านบาท และหลังจากนี้ปีที่ 4 เป็นต้นไปคุณพะโล้จะเสียอัตราดอกเบี้ย = 5.1% ซึ่งนับเป็นดอกเบี้ยที่สูงทีเดียว

โดยคุณพะโล้จะมีทางเลือกเกี่ยวกับการ Refinance ทั้งหมด 5 ทาง เริ่มตั้งแต่การอยู่กับธนาคารเดิม ไปจนถึงการรีไฟแนนซ์ทั้ง 4 แบบที่เราอธิบายไปใน Part ที่แล้วนะคะ ดังนี้

กรณี 1 : คุณพะโล้อยู่ธนาคารเดิมไม่ Refinance

คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 2.25% = 7.35 – 2.25 = 5.1% ต่อปี

รวมค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) = ประมาณ 4,768,000 บาท แบ่งเป็น

  • เงินต้น = 2,700,000 บาท
  • ดอกเบี้ย = ประมาณ 2,068,000 บาท
  • จำนวนงวดที่ต้องผ่อนทั้งหมด 298 งวด = ประมาณ 24 ปี 10 เดือน

กรณี 2 : คุณพะโล้รีไฟแนนซ์แบบธนาคาร B แบบ จ่ายค่าจดจำนองเอง ไม่ทำประกัน

ปีที่ 1-3 = MRR – 3.62 = 2.6%
ปีที่ 4 เป็นต้นไป = MRR – 1.50 = 4.72%
**MRR ของธนาคาร B = 6.22% ต่อปี

รวมค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) = ประมาณ 3,968,000 บาท แบ่งเป็น

  • เงินต้น = 2,700,000 บาท
  • ดอกเบี้ย = ประมาณ 1,268,000 บาท
  • จำนวนงวดที่ต้องผ่อนทั้งหมด 248 งวด = ประมาณ 20 ปี 8 เดือน

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ = 30,850 บาท แบ่งเป็น

  • ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ = 27,000 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ = 1,350 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ = 2,500 บาท

ประหยัดจากธนาคารเดิม = 769,150 บาท ตลอดอายุสัญญา

กรณี 3 : คุณพะโล้รีไฟแนนซ์แบบธนาคาร B แบบ จ่ายค่าจดจำนองเอง ทำประกัน MRTA

ปีที่ 1-3 = MRR – 3.72 = 2.5%
ปีที่ 4 เป็นต้นไป = MRR – 1.50 = 4.72%
**MRR ของธนาคาร B = 6.22% ต่อปี

รวมค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) = ประมาณ 3,952,000 บาท แบ่งเป็น

  • เงินต้น = 2,700,000 บาท
  • ดอกเบี้ย = ประมาณ 1,252,000 บาท
  • จำนวนงวดที่ต้องผ่อนทั้งหมด 247 งวด = ประมาณ 20 ปี 7 เดือน

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์+ทำประกัน = 74,650 บาท แบ่งเป็น

  • ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ = 27,000 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ = 1,350 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ = 2,500 บาท
  • ค่าประกัน MRTA แบบจ่ายครั้งเดียว = 43,800 บาท (สอบถามเบี้ยจากธนาคารเป็นรายบุคคลนะคะ)

ประหยัดจากธนาคารเดิม = 741,350 บาท ตลอดอายุสัญญา

กรณี 4 : คุณพะโล้รีไฟแนนซ์แบบธนาคาร B แบบ ให้ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ ไม่ทำประกัน

ปีที่ 1 = 2.49%
ปีที่ 2-3 = MRR – 2.10 = 4.12%
ปีที่ 4 เป็นต้นไป = MRR – 1.50 = 4.72%
**MRR ของธนาคาร B = 6.22% ต่อปี

รวมค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) = ประมาณ 4,048,000 บาท แบ่งเป็น

  • เงินต้น = 2,700,000 บาท
  • ดอกเบี้ย = ประมาณ 1,348,000 บาท
  • จำนวนงวดที่ต้องผ่อนทั้งหมด 253 งวด = ประมาณ 21 ปี 1 เดือน

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ = 3,850 บาท แบ่งเป็น

  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ = 1,350 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ = 2,500 บาท

ประหยัดจากธนาคารเดิม = 716,150 บาท ตลอดอายุสัญญา

กรณี 5 : คุณพะโล้รีไฟแนนซ์แบบธนาคาร B แบบ ให้ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ ทำประกัน

ปีที่ 1 = 2.38%
ปีที่ 2-3 = MRR – 2.18 = 4.04%
ปีที่ 4 เป็นต้นไป = MRR – 1.50 = 4.72%
**MRR ของธนาคาร B = 6.22% ต่อปี

รวมค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) = ประมาณ 4,032,000 บาท แบ่งเป็น

  • เงินต้น = 2,700,000 บาท
  • ดอกเบี้ย = ประมาณ 1,332,000 บาท
  • จำนวนงวดที่ต้องผ่อนทั้งหมด 252 งวด = ประมาณ 21 ปี

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ = 47,650 บาท แบ่งเป็น

  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ = 1,350 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ = 2,500 บาท
  • ค่าประกัน MRTA แบบจ่ายครั้งเดียว = 43,800 บาท (สอบถามเบี้ยจากธนาคารเป็นรายบุคคลนะคะ)

ประหยัดจากธนาคารเดิม = 688,350 บาท ตลอดอายุสัญญา

จะเห็นว่าแต่ละทางเลือกในการรีไฟแนนซ์ (Refinance) จะช่วยประหยัดค่างวดไปได้มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละทางเลือก ทั้งคนที่ไม่มีเงินก้อนพอจะรีไฟแนนซ์ก็ยังมี Options ให้เลือกได้ หรือใครอยากทำประกันเพิ่มเพราะห่วงลูกหลานจะต้องมารับหนี้ผ่อนบ้านต่อก็ทำได้ อย่างนึงที่อยากให้เพื่อนๆ ลองทำคือการเปรียบเทียบหลายๆ แบบ หลายๆ ธนาคารเพื่อให้รีไฟแนนซ์ได้คุ้มค่าที่สุดนะคะ

สิ่งที่เราควรจะทำก็คือ พยายามลดอัตราดอกเบี้ยในทุกๆ 3 ปี ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมก็ได้ (สอบถามบางธนาคารให้ปรับลดได้ 1 ครั้งตลอดอายุสัญญา บางธนาคารปรับได้ทุก 3 ปี ควรเช็คก่อนตัดสินใจ Refinance ไปธนาคารนั้นๆ) ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่เราคิดกันไว้ข้างต้นอีกนะคะ และส่งผลให้เราผ่อนบ้านหมดเร็วยิ่งขึ้น

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านทุกคนที่กำลังเตรียมตัวหาข้อมูล Refinance เพื่อลดดอกเบี้ยกันนะคะ หวังว่าทุกคนจะเสียดอกเบี้ยจากสินเชื่อบ้านที่น้อยลงกัน และหากคุณผู้อ่านคนไหนมีประสบการณ์น่าสนใจเกี่ยวกับ Refinance ก็สามารถมาแชร์เรื่องราวใน Comment กันได้เลยนะคะ เชื่อว่าต้องเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ คนอื่นแน่นอนค่ะ นอกจากการลดดอกเบี้ยแล้ว ก็อย่าลืมนำดอกเบี้ยซื้อบ้านไปใช้ยื่นภาษีกันด้วย เพื่อนๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ ดอกเบี้ยบ้าน ใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ได้เลยค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้