ยึด เงินประกันค่าเช่า อ. สุ เทพ

วันที่เอกสาร

16 กันยายน 2541

เลขที่หนังสือ

กค 0811/13569

ข้อกฎหมาย

มาตรา 78/1(1), มาตรา 79, มาตรา 81(1)(ต), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541ฯ

ข้อหารือ

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในอาคารในการประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าว
บริษัทฯ มีการให้บริการที่ต่อเนื่องกันโดยเริ่มประกอบกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 บริษัทฯ ได้ยึดถือ
ขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจ โดยการเรียกเงินมัดจำค่าเช่าและเงินมัดจำค่าบริการเป็นจำนวน 3
เท่าของค่าเช่าและค่าบริการรายเดือน เพื่อประกันการเช่าและประกันความเสียหายจากการใช้บริการ
ของผู้เช่า ซึ่งเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวจะไม่ใช้ทดแทนการชำระค่าเช่าและค่าบริการรายเดือน และ
บริษัทฯ จะคืนให้แก่ผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โดยผู้เช่ามิได้ค้างชำระค่าเช่าและค่าบริการ หรือมิได้
ทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินของบริษัท ทั้งนี้บริษัทฯ มิได้นำเงินมัดจำดังกล่าวมาคำนวณชำระ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ต่อมากรมสรรพากรได้มีคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน
เงินมัดจำ หรือเงินจอง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2541 เป็นต้นไปนั้นมีผลกระทบต่อการ
ประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้เช่าพื้นที่ในอาคารและบริการต่อเนื่องกับการเช่าพื้นที่
ในอาคารดังกล่าว บริษัทฯจึงขอทราบว่า
1. เงินมัดจำค่าเช่า และเงินมัดจำค่าบริการ ที่บริษัทฯ เรียกเก็บเมื่อปี พ.ศ. 2534
โดยที่มิได้นำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
2. เงินมัดจำค่าบริการที่บริษัทฯ เรียกเก็บตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา บริษัทฯ ต้อง
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยหรือไม่
3. เงินมัดจำค่าเช่าที่บริษัทฯ เรียกเก็บเป็นจำนวน 3 เท่าของค่าเช่า และสัญญามีอายุ
ไม่เกิน 3 ปีอยู่ในข่ายยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามข้อ 3(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 หรือไม่
4. หากการปฏิบัติของบริษัทฯ ไม่ถูกต้องในข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.
73/2541 ซึ่งระบุว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2541 บริษัทฯ จะได้รับประโยชน์จากคำสั่ง
ดังกล่าวโดยไม่ถูกประเมินย้อนหลังหรือไม่ ประการใด และหากถูกประเมินย้อนหลังได้จะย้อนหลังได้กี่ปี

แนววินิจฉัย

1. กรณี ตาม 1. และ 3. บริษัทฯ ต้องนำเงินมัดจำค่าเช่า และเงินมัดจำค่าบริการตาม
สัญญาระยะยาวที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อน เพื่อตอบแทนการให้เช่าทรัพย์สิน หรือ
การให้บริการทั้งจำนวนมาเสียภาษี ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.
73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า
เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เว้นแต่เงินมัดจำค่าเช่า
อสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มี
เงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 3-6 เท่าของค่าเช่ารายเดือน
และ
(ง) สัญญาให้เช่าทรัพย์สินมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี
ทั้งนี้ ตามข้อ 3 (2) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ จะต้องนำเงินมัดจำค่าบริการทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับมารวม
คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นในขณะได้รับชำระเงินดังกล่าว ตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับ ข้อ 2 (3) (ข) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
สำหรับเงินมัดจำค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้
รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีตาม 4. หากบริษัทฯ มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวข้างต้น
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีย้อนหลังได้ 2 ปี กล่าวคือ ประเมินภาษีได้ตั้งแต่ปี 2539
เป็นต้นไป

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2020


STEP 1หลักการรับรู้รายได้
เงินประกัน เงินมัดจำค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นเงินได้ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%
*ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมามาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่
หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ตัวอย่าง 1
เลขที่หนังสือ : กค 0811/17110
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่า
ข้อหารือ : บริษัทได้เรียกเก็บเงินประกันการเช่าจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นประกันว่าผู้เช่าจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าทุกประการ
ตามสัญญาเช่า ดังนี้ เงินประกัน ผู้เช่าตกลงที่จะมอบเงินประกันการเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเพื่อเป็นการประกันว่าผู้เช่า
จะปฏิบัติตามสัญญาเช่านี้ทุกประการ หากผู้เช่าเดิมผิดสัญญาเช่าและ/หรือบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนวันครบกำหนดอายุ
สัญญาเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิ์ริบเงินประกันการเช่านี้โดยเต็มจำนวนโดยไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ให้เช่าที่จะได้รับชดใช้
ค่าเสียหายอื่นๆ อนึ่ง เงินประกันการเช่านี้ มิให้ถือหรือใช้เป็นการชำระเงินค่าเช่าหรือเงินอื่นๆ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
ในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือข้อกำหนดหรือข้อตกลงหรือข้อผูกพันใด ๆ ดังที่ระบุไว้ในสัญญาเช่านี้โดย
ถูกต้องครบถ้วน ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันดังกล่าวโดยปราศจากดอกเบี้ยให้กับผู้เช่าหลังจากที่ได้หักค่าเสียหาย (ถ้ามี)
ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เช่าส่งมอบอุปกรณ์และพื้นที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพเรียบร้อยพร้อมทั้ง
ชำระเงินหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่ค้างชำระทั้งหมดครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ ไม่ต้องนำเงินประกันมาคำนวณภาษีเงินได้
นิติบุคคลในขณะที่ได้เงินประกันนั้นมาเพราะเงินประกันนั้นยังไม่ตกเป็นสิทธิ์ของลูกค้าของบริษัทหรือเป็นเงินที่ลูกค้า
ของบริษัทฯ พึงได้รับแต่ประการใด ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : บริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าอาคาร อุปกรณ์ และให้บริการอื่น โดยมีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่า
และการรับบริการจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการประกันว่าผู้เช่าจะปฏิบัติตามสัญญา และผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันดังกล่าวโดย
ไม่มีดอกเบี้ยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้เช่าส่งมอบอุปกรณ์ และพื้นที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพเรียบร้อยโดยไม่
ตัดสิทธิ์ผู้เช่าที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอื่น ๆ (ถ้ามี) เงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงินประกันดังกล่าวถือเป็นค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้าจึงเป็นรายได้ที่บริษัทฯ ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
เงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่าง 2
เลขที่หนังสือ : กค 0811/3280
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินมัดจำตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าอาคาร โดยมีกำหนดสัญญาเช่า 3 ปี และเมื่อครบกำหนดสัญญา หากผู้เช่าประสงค์
จะเช่าต่อผู้เช่าจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดสัญญา
และจะต้องเช่าโดยมีกำหนดสัญญาเช่า 3 ปี เช่นเดียวกับสัญญาเดิม แต่เนื่องจากในสัญญาเช่าดังกล่าวมิได้ระบุเงื่อนไข
เรื่องการคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข ตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งกรมสรรพากรที่
ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 บริษัทฯ จึงหารือว่า เมื่อมีการจ่ายเงินมัดจำในกรณีดังกล่าว ผู้เช่าต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่
แนววินิจฉัย : เงินมัดจำที่ได้เรียกเก็บจากการประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น ถือเป็น
รายได้จากกิจการของบริษัทฯ ผู้ให้เช่า จึงถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อมีการจ่ายเงินมัดจำให้แก่บริษัทฯ ผู้ให้เช่าผู้จ่ายจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตามข้อ 6(2) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

STEP 2 เว้นแต่
1.เป็นการเรียกเก็บโดยขนบธรรมเนียมประเพณีธุรกิจ
2.ต้องมีการคืนเงินนั้นให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โดยไม่มีเงื่อนไข เว้น กรณีค้างค่าเช่า
,เกิดความเสียหาย มีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
3.เรียกเก็บไม่เกิน 6 เท่าของค่าเช่า
4.สัญญาให้เช่าไม่เกิน 3 ปี
ต้องระบุชัดเจนในสัญญา
ครบเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
*คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงิน
จ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง และหนังสือซ้อมความเข้าใจกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว.04068
ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2542

ตัวอย่าง 3
เลขที่หนังสือ : กค 0811/02740
เรื่อง :  บริษัทฯ ได้เช่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังสระปทุมเพื่อพัฒนาที่ดิน โดยสร้างโรงแรม ศูนย์การค้า ตลอดจนอาคาร
จอดรถ ธุรกิจส่วนใหญ่ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เป็นศูนย์การค้า และให้บริการในพื้นที่ส่วนกลางตลอดจนให้บริการ
ที่จอดรถ ในการให้เช่ามีการทำสัญญาเช่าและสัญญาบริการระยะสั้นเป็นสัญญาแยกอย่างละฉบับไม่รวมกัน อายุสัญญา
โดยปกติไม่เกิน 3 ปี และมีการเรียกเก็บเงินประกันสัญญาเช่าและสัญญาบริการอันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจ
เป็นจำนวน 6 เท่าของค่าเช่าและค่าบริการรายเดือน โดยมีเงื่อนไขจะคืนเงินประกันให้แก่ผู้เช่าเต็มจำนวนเมื่อสัญญา
สิ้นสุดลง เว้นแต่ว่ากรณีผู้เช่าปฏิบัติผิดสัญญา บริษัทฯ มีสิทธิหักเงินประกันเพื่อชดใช้ความเสียหายตามที่ระบุไว้ใน
สัญญาเช่าได้
บริษัทฯ เห็นว่า เงินประกันสัญญาเช่าและสัญญาบริการที่บริษัทฯ เรียกเก็บเงิน ไม่อยู่ในข่ายที่บริษัทฯ จะต้องนำมารวม
คำนวณเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีในปีที่ได้รับเงินมัดจำ หรือนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในปีที่จ่ายเงินมัดจำ ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริงเงินประกันการเช่าแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
(1) เงินประกันการเช่าพื้นที่อาคาร ซึ่งมีอายุการเช่าไม่เกิน 3 ปี และมีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าไม่เกิน 6 เท่าของ
ค่าเช่ารายเดือน บริษัทฯ ไม่ต้องนำเงินประกันข้างต้นมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด ตามข้อ 3 (1) ของคำสั่ง
กรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่องการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า
เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคมพ.ศ. 2541
(2) กรณีเงินประกันการเช่าพื้นที่อาคาร นอกจาก (1) บริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่
เริ่มให้เช่าทรัพย์สิน หรือจะนำรายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีตามสัญญา และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ใน
แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สินก็ได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่ง
กรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541
2. กรณีคำว่า "เงินก้อน"  ถ้ามีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็น
เงินก้อน
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณี
เกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 6 เท่าของค่าเช่าหรือค่าบริการรายเดือนและ
(ง) สัญญาการให้เช่าทรัพย์สินหรือการให้บริการมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี
ดังนั้น กรณีเงินประกันการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ หรือการให้บริการอื่น ถ้ามีการเรียกเก็บตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะไม่
ถือเป็นเงินก้อน จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ปัญหาการรับรู้รายได้และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย “ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้